directions_run

11. เสริมสร้างแกนนำเยาวชนต่อต้านยาเสพติด โรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล

assignment
บันทึกกิจกรรม
เบิกดอกเบี้ยนำมาคืน อบจ.8 พฤศจิกายน 2566
8
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย narumon Satun
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เบิกดอกเบี้ยนำมาคืน อบจ.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เบิกดอกเบี้ยนำมาคืน อบจ.

จัดทำเอกสารออนไลน์และเอกสารการเงิน30 กันยายน 2566
30
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ทำรายงานและบันทึกรายงานผ่านระบบออนไลน์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลลัพธ์
-จัดทำรายงานทางเว็บไซต์คนสร้างสุข อย่างสมบูรณ์ -ได้รายงาน เล่มรายงานที่สามารถจัดส่งให้กับทาง อบจ.จังหวัดสตูล

เวทีแสดงสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน27 กันยายน 2566
27
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมเวทีถอดบทเรียนโครงการเสริมสร้างแกนนำเยาวชนต่อต้านยาเสพติด โรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล วันพฤหัสบดี ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ รายละเอียดกิจกรรม -โดยเชิญกลุ่มเป้าหมาย นักเรียนบางส่วนของโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ภาคี ภายในภายนอกชุมชน รวม 100 คน ได้มาร่วมกันรับทราบผล การดำเนินงาน สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ บทเรียนที่ เกิดขึ้น และการวางแผนให้เกิดความต่อเนื่องใน อนาคต ใช้เวลา 1 วัน -จัดนิทรรศการ แสดงภาพกิจกรรม ผลการดำเนินโครงการ และมีการแสดงของนักเรียน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมเวทีถอดบทเรียน โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 100 คน ซึ่งจากการดำเนินกิจกรรมนั้นทำให้
-เยาวชนกลุ่มเป้าหมายนั้นได้สะท้อนถึงความรู้ที่ได้หลังจากการเข้าร่วมอบรมตามโครงการในเรื่องทักษะการป้องกันและปฏิเสธไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดทุกชนิด
-เยาวชนหรือแกนนำที่เข้าร่วมกิจกรรมนั้น สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และเป็นวิทยากร เพื่อส่งต่อความรู้ให้กับเด็กและเยาวชนตามพื้นที่ใกล้เคียงโรงเรียนได้
-แกนนำและเยาวชนสามารถทำงานกันเป็นกลุ่มและเกิดความรักความสามัคคี ดูแลและจัดการให้คำปรึกษากับเพื่อนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง
-เรียนรู้ระบบการทำงานในกิจกรรมเพื่อนที่ปรึกษา และสะท้อนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ การคิดการแสดงออกรู้จักคุณค่าของตนเอง การให้คุณค่าแก่ผู้อื่น และจากการดำเนินกิจกรรมนักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความสุข ได้รับประโยชน์จากการดำเนินกิจกรรมตามโครงการอย่างแท้จริง

สำรวจข้อมูลทางสถิติก่อน - หลัง ด้านพฤติกรรมการใช้สารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดสารเสพติด (2/2)26 กันยายน 2566
26
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมสำรวจข้อมูลทางสถิติก่อน-หลัง ด้านพฤติกรรมการใช้สารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดสารเสพติด (2/2) จัดวันพฤหัสบดี ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ มีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 1. ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม 2. ดำเนินกิจกรรม ดังต่อไปนี้ 3. ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวเปิดกิจกรรม 4. วิทยากรกล่าวแนะนำตัว 5. ผู้รับผิดชอบโครงการนำเสนอผลการแปลจากข้อมูลที่ได้รับจากการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในโครงการ 6. พักรับประทานอาหารว่าง 7. นำเสนอและสรุปผลจากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นของกลุ่มเป้าหมาย คิดร้อยละ และแปลผลจากค่าที่ได้ 8. พักรับประทานอาหารกลางวัน/ ละหมาด 9. นำเสนอและสรุปผลจากการสำรวจข้อมูลความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย คิดร้อยละ และแปลผลจากค่าที่ได้ 10. นำเสนอและสรุปผลจากการสำรวจข้อมูลความเสี่ยงในการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและบุหรี่ของกลุ่มเป้าหมาย คิดร้อยละ และแปลผลจากค่าที่ได้ 11. นำเสนอข้อมูลการติดตามพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายในเรื่องยาเสพติดทุกชนิดและบุหรี่ซึ่งเป็นข้อมูลรายเดือน จำนวน 7 เดือน
12. ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวปิดกิจกรรม/กล่าวขอบคุณวิทยากร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมสำรวจข้อมูลทางสถิติก่อน-หลัง ด้านพฤติกรรมการใช้สารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดสารเสพติด (2/2) จัดวันพฤหัสบดี ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 12 คน ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรม ดังต่อไปนี้ 1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 12 คนจากกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม 12 คนคิดเป็นร้อยละ 100 2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทราบถึงผลจากการสำรวจข้อมูลความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมาย และคิดร้อยละ พบว่า จากการทำกิจกรรมนั้นกลุ่มเป้าหมายนั้นมีความเป็นพอใจเกินร้อยละ 80 ขึ้นไป ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวนั้น ทำให้การดำเนินไปของกิจกรรมในโครงการประสบผลสำเร็จ 3. จากการสำรวจข้อมูลความเสี่ยงในการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและบุหรี่ของกลุ่มเป้าหมาย นำผลที่ได้มาคิดค่าร้อยละหลังการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ภายในโครงการ พบว่า กลุ่มเป้าหมายนั้น มีพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงลดน้อยลงเกินร้อยละ 80 จากการดำเนินกิจกรรม ทำให้ทราบว่ากิจกรรมต่างๆ ภายในโครงการนั้น บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ 4. จากการสรุปและติดตามพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายในเรื่องของยาเสพติดทุกชนิดและบุหรี่ ซึ่งเป็นข้อมูลรายเดือนจำนวน 7 เดือน 1 ฉบับ พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมหรือกลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมลดลงในเรื่องเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสารเสพติดและบุหรี่

เวทีแสดงสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน ครั้งที่ 225 กันยายน 2566
25
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูลร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพสสส มีกำหนดจัดกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการย่อยครั้งที่ 2 ในวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 เวลา 10:00 น เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลกำแพง ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรมดังนี้ 1. การแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติเพื่อให้คณะทำงานโครงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินร่วมกับโครงการอื่นๆและนำผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปปรับปรุงวิธีการดำเนินงานของโครงการให้บรรลุตามผลลัพธ์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ในโครงการ 2 สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 1 คนคือผู้รับผิดชอบโครงการนางสาวมณีดาว เอี่ยมบุตร โดยมีผลที่เกิดขึ้นหลังจากการเข้าร่วมอบรมดังนี้
1. เกิดการทราบถึงวิธีการดำเนินงานของโครงการในลักษณะที่ใกล้เคียงกัน ทราบถึงวิธีการดำเนินงานของแต่ละโครงการ แนะนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลสำเร็จภายในโครงการได้ 2. ทราบถึงวิธีการทำรายงานการเงิน และการลงเว็บไซต์ให้เป็นปัจจุบันรวมถึงการสรุปผลสำคัญของกิจกรรมต่างๆในโครงการ

การเยี่ยมบ้านติดตามผลการสร้างภูมิคุ้มกันและทักษะป้องกัน 2/223 กันยายน 2566
23
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการกิจกรรมการเยี่ยมบ้านและติดตามผลการสร้างภูมิคุ้มกันและทักษะป้องกันครั้งที่ 2 กำหนดจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 23 กันยายน 2566 เวลา 9:00 น เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมของโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 15 คน ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม ดังต่อไปนี้
1. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม 2. ผู้รับผิดชอบโครงการเก่าเปิดกิจกรรม 3. สันทนาการเพื่อเตรียมความพร้อมและละลายพฤติกรรม 4. ผู้เข้าร่วมอบรมร่มกันเสนอรายชื่อครอบครัวที่มีพฤติกรรมเชิงบวกและเชิงลบจำนวน 10 ครอบครัว 5. ลงพื้นที่เยี่ยมบ้านจำนวน 10 ครอบครัวและให้แต่ละครอบครัวหรือสัมผัสแต่ละครอบครัวทุกวิธีการเลี้ยงลูก ให้คำแนะนำในการเลี้ยงลูกและแจกข้อมูลถึงวิธีการเลี้ยงลูกให้เกิดพิธีกรรมเชิงบวกจากนั้นให้ครอบครัวกลุ่มเป้าหมายทั้ง 10 ครอบครัวถ่ายรูปกิจกรรมที่ทำร่วมกันในครอบครัวโดยจัดทำครอบครัวละ 1 กิจกรรมส่งมายังผู้รับผิดชอบโครงการเพื่อประเมินผลการทำกิจกรรมดังกล่าว
ซึ่งการลงพื้นที่นั้นทำตลอดทั้งวันในการดำเนินกิจกรรม 6. ถอดบทเรียนและสรุปผลของการลงพื้นที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เมื่อวันเสาร์ที่ 23 กันยายน 2566 เวลา 9:00 น เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมของโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 15 คน ผลของการดำเนินกิจกรรม โดยการลงพื้นที่เยี่ยมบ้านจำนวน 10 ครอบครัว ซึ่งเป็นพฤติกรรมเชิงบวก 5 ครอบครัวและพฤติกรรมเชิงลบ 5 ครอบครัว โดยผู้เข้าร่วมอบรมและครอบครัวกลุ่มเป้าหมาย ทราบถึงพฤติกรรมเชิงลบและการเลี้ยงเยาวชนหรือดูแลให้เกิดพฤติกรรมเชิงบวก ร้อยละ 80 ดังนี้ 1. การพัฒนาตนเองหรือการสร้างต้นทุนชีวิตให้กับเด็กและเยาวชนมีการเสริมแรง 5 พลัง คือพลังตนเอง พลังครอบครัว พลังสร้างปัญญา พลังเพื่อนและกิจกรรม และพลังชุมชน 2. ครอบครัวกลุ่มเป้าหมาย ทราบถึงวิธีการเสริมแรงหรือแนวทางการเลี้ยงลูกให้เกิดพฤติกรรมเชิงบวก เช่น การติดตามดูแลให้คำปรึกษาช่วยเหลือให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียน การเล่าเรื่องราวดีๆที่ประสบมาร่วมกันเพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเหตุการณ์จริง การสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนรู้ร่วมกันภายในครอบครัว ทำความรู้จักกับคนรอบบ้าน ครอบครัวต้องรู้จักกับเพื่อนๆของลูก การเป็นแบบอย่างที่ดีในบ้าน เป็นต้น 3. ครอบครัวกลุ่มเป้าหมายทั้ง 10 ครอบครัวได้ทำกิจกรรมร่วมกัน 1 กิจกรรม ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวสามารถส่งเสริมให้คนในครอบครัวเกิดความรักความผูกพันกันภายในครอบครัว และเป็นการสร้างบรรยากาศเชิงบวกที่ดี เพื่อลดกำแพงกั้นระหว่างวัย

กิจกรรมประชุมจัดตั้งกลไกขับเคลื่อนงานสู่เป้าหมาย (ประชุมครั้งที่ 5/5)21 กันยายน 2566
21
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการประชุม จัดตั้งกลไกขับเคลื่อนงานสู่เป้าหมาย (ประชุมครั้งที่ 5/5) ครั้งที่ 5 / 2566 วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ มีขั้นตอนและกระบวนการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 1. ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม 2. ประชุมเรื่อง ดังต่อไปนี้
- งบประมาณการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาและงบประมาณคงเหลือ - ข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับนักเรียนที่มีโอกาสเสี่ยงเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด - ผลลัพธ์การจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักและความเข้าใจอย่างต่อเนื่องครั้งที่ 6 - เสนอรายชื่อผู้รับผิดชอบกิจกรรม - รูปแบบการจัดกิจกรรมการออกเยี่ยมบ้าน - รูปแบบการจัดกิจกรรมสำรวจข้อมูลทางสถิติก่อน - หลัง ด้านพฤติกรรมการใช้สารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดสารเสพติด (2/2) - รูปแบบการจัดกิจกรรมเวทีแสดงสรุปผลการดำเนินงานและถอดบทเรียน - การดำเนินงานและการทำบัญชีค่าใช้จ่ายและการทำเอกสารการเงิน - มอบหมายงานให้กับนักเรียนแกนนำที่ทำกิจกรรมเร่งด่วน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุม จัดตั้งกลไกขับเคลื่อนงานสู่เป้าหมาย (ประชุมครั้งที่ 5/5) ครั้งที่ 5 / 2566 วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วม 10 คน สรุปความสำคัญหรือผลการจัดกิจกรรม 5 ประเด็น 1. ที่ประชุมรับทราบเรื่องงบประมาณจากการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา และงบประมาณคงเหลือและงบประมาณคงเหลือ โดยมีการนำเข้าเช็คเงินงวดที่ 2 จำนวนเงิน 25,000 บาท และเงินติดลบจากบัญชี 996 บาท
2. ที่ประชุมรับทราบเรื่องข้อมูลทางสถิติ เกี่ยวกับนักเรียนที่มีโอกาสเสี่ยงเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด พบว่า จากการเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ถึงพฤติกรรมการ เสพ ค้า ในช่วงระยะเดือนแรกนักเรียนกลุ่มเป้าหมายบางส่วน มีพฤติกรรม เสพ แต่ไม่ปรากฏพฤติกรรมการค้ายาเสพติด และหลังการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆภายในโครงการ นักเรียนกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว มีพฤติกรรมเสพ ลดลงอย่างเห็นได้ชัด 3. ที่ประชุมรับทราบผลลัพธ์ทั้งหมดจากการจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักการสะท้อนผลหลังการจากการดำเนินกิจกรรม นักเรียนกลุ่มเป้าหมายและผู้รับผิดชอบกิจกรรมจำนวน 50 คน ได้ร่วมกันสะท้อนผลหลังจากการดำเนินกิจการ พบว่า การเสี่ยงยาเสพติดหรือการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงอาจก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ โดยภาวะซึมเศร้าหรือความเครียดวิกกะกังวลมากขึ้น ส่งผลทำให้ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวนั้น บรรเทาอาการของตนเอง โดยการใช้สารเสพติดเพื่อลดคาวมเครียดหรือความวิตกกังวลและแสวงหาความสุขความสบายใจ ดังนั้น แนวทางการป้องกันตนเอง คือ ควรทำตัวเองให้มีจิตใจที่นิ่งแน่วแน่ ไม่มีความเครียด หรือไม่เกิดการคิดมาก และการนำตัวเองไปอยู่ในสังคม และการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดการสร้างความสุขให้กับตนเอง เพื่อสร้างทักษะในการป้องกันในเรื่องยาเสพติดและบุหรี่ 4. มิติจากที่ประชุมเรื่องรูปแบบการจัดกิจกรรมการออกเยี่ยมบ้าน โดยให้จัดกิจกรรมเหมือนกับครั้งที่ 1 ซึ่งให้คุณครูมีการเยี่ยมบ้าน ก่อนการเยี่ยมบ้านนั้น ทางโครงการเชิญวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถมาให้ความรู้กับคุณครูและบุคคลที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการลงตรวจติดตามถึงเรื่องพฤติกรรมเชิงบวกและพฤติกรรมเชิงลบในเรื่องของยาเสพติด ทั้งนี้ได้เสนอครอบครัวที่จะจัดแจงในการลงเยี่ยมบ้านจำนวน 10 ครอบครัว และให้แต่ละครอบครัวหรือสัมผัสแต่ละครอบครัวทุกวิธีการเลี้ยงลูก พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการเลี้ยงลูกและแจกข้อมูลถึงวิธีการเลี้ยงลูกให้เกิดพฤติกรรมเชิงบวก จากนั้นให้ครอบครัวกลุ่มเป้าหมายทั้ง 10 ครอบครัวถ่ายรูปกิจกรรมที่ทำร่วมกันในครอบครัว โดยให้จัดทำครอบครัวละ 1 กิจกรรม ส่งมายังผู้รับผิดชอบโครงการ เพื่อประเมินผลจากการทำกิจกรรมดังกล่าว 5. มิติจากที่ประชุม ให้อนุมัติและจัดทำกิจกรรม ตามหัวข้อประชุม ที่ 4.6, 4.7, 4.8 และ 4.9 เสนอรายชื่อผู้รับผิดชอบกิจกรรม ดังนี้ -กิจกรรมการเยี่ยมบ้านนักเรียน ดำเนินกิจกรรม โดยติดต่อครอบครัวทั้ง 10 ครอบครัว พร้อมทั้งชี้แจ้งรายละเอียดและกิจกรรม เก็บรวบรวมข้อมูล รับผิดชอบโดย นางสาวมณีดาว เอี่ยมบุตร นางสาวชารีตา บายศรี นายอนันต์ ดวงตา -กิจกรรมสถิติหลังการจัดกิจกรร ดำเนินกิจกรรม โดยติดต่อวิทยกร จัดทำกำหนดการ จัดทำหนังสือเชิญ และการลงแบบสรุปสถิติข้อมูลหลังจากการทำกิจกรรมหลักๆภายในโครงการ รับผิดชอบโดย นางสาวมณีดาว เอี่ยมบุตร นางสาวฟาริดา หลงสะเตีย นายอาริฟ มาราสา - กิจกรรมเวทีสรุปและถอดบทเรียน ดำเนินกิจกรรม โดยติดต่อวิทยกร จัดทำกำหนดการ จัดทำหนังสือเชิญ และการลงแบบสรุปสถิติข้อมูลหลังจากการทำกิจกรรมหลักๆภายในโครงการ รับผิดชอบโดย นางสาวมณีดาว เอี่ยมบุตร นางสาวฟาริดา หลงสะเตีย นายอาริฟ มาราสา นางสาวชารีตา บายศรี นายอนันต์ ดวงตา -กิจกรรมเพื่อนที่ปรึกษา ดำเนินกิจกรรม โดยออกแบบกิจกรรม การทำฮาลาเกาะ การพูดคุยให้คำปรึกษา กับเพื่อนที่มีปัญหาส่วนตัว และการเป้นตัวเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อนในโรงเรียนด้วยกัน บผิดชอบโดย นางสาวณูรีญา  สุวาหลำ
นางสาวมารีน่า  สมจริง นางสาวกิตติมา มาลียัน นายซาฟารี    ใจสมุทร นายเฟาซาน  ลิงาลาห์

ให้ความรู้และทักษะการปฏิเสธและการป้องกันสารเสพติดทุกชนิด โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลท่าแพ (ครั้งที่3/3)20 กันยายน 2566
20
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมให้ความรู้และทักษะการปฏิเสธและการป้องกันสารเสพติดทุกชนิด โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลท่าแพ (ครั้งที่ 3/3) หัวข้อกิจกรรม เพื่อนที่ปรึกษา วันพุธ ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายจำนวน 15 คน มีขั้นตอนและการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 1. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม 2. พิธีเปิดกิจกรรมโดยนางสาวมณีดาว เอี่ยมบุตร ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวต้อนรับวิทยกรและกล่าวเปิดกิจกรรม 3. สันทนาการโดยนักเรียนแกนนำ 4. บรรยายภาคทฤษฎี หัวข้อ เพื่อนที่ปรึกษา โดยวิทยากรพิเศษ นายณรงค์เวทย์ แซ่ห้าว ตำแหน่งวิชาการสาธรณสุขชำนาญการ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลท่าแพ 5. บรรยายภาคทฤษฎี หัวข้อ การเป็นวิทยกรที่ดีสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่สำคัญในเรื่องยาเสพติด โดยวิทยากรพิเศษ นายณรงค์เวทย์ แซ่ห้าว ตำแหน่งวิชาการสาธรณสุขชำนาญการ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลท่าแพ 6. พักรับประทานอาหารหลัก/ละหมาด 7. ภาคปฏิบัติ หัวข้อ วิทยกรตัวน้อย โดยวิทยากรพิเศษ นายณรงค์เวทย์ แซ่ห้าว ตำแหน่งวิชาการสาธรณสุขชำนาญการ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลท่าแพ 8. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็น การสร้างความมั่นใจในการเป็นนักพูด และเป็นผู้ให้กำลังใจที่ดีต่อเพื่อนที่มีปัญหาในเรื่องยาเสพติด 9. ประเมินกิจกรรม 10. ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวขอบคุณวิทยากรและกล่าวปิดกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต (Output)
1.รายชื่อกลุ่มเป้าหมาย 15 คน ประกอบด้วย 1.1. ครูผู้รับผิดชอบโครงการ 5 คน 1.2. นักเรียนแกนนำที่ผ่านการคัดเลือกจากนักเรียนในกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 10 คน 2.รายงานการจัดทำกิจกรรมบนเว็บไซต์ 3. แผนการดำเนินกิจกรรมการเป็นวิทยกรตัวน้อย ผลลัพธ์ (Outcome) กิจกรรมให้ความรู้และทักษะการปฏิเสธและการป้องกันสารเสพติดทุกชนิด โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลท่าแพ (ครั้งที่3/3) วันพุธ ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ โดยมีผลการดำเนินกิจกรรมแยกย่อยเป็น 3 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ 1 โดยวิทยากรพิเศษ นายณรงค์เวทย์ แซ่ห้าว ตำแหน่งวิชาการสาธรณสุขชำนาญการ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลท่าแพ กล่าวโดยสรุปความรู้เกี่ยวกับ เพื่อนที่ปรึกษา
1. การใช้หลักจิตวิทยาของกลุ่มเพื่อน (Peer Psychology / Peer to Peer-P 2 P) เป็นพื้นฐานในการสร้างสัมพันธภาพและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะบุคคลที่มีพื้นเพ วัย วิถีชีวิตประจำวันและมีกิจกรรมร่วมกันจะสนิทสนม คุ้นเคย และไว้วางใจกันสามารถสื่อสารกันได้อย่างเปิดเผยและเข้าใจซึ่งกันและกันได้ง่าย 2. การให้คำปรึกษาโดยเพื่อน (Peer Counseling) มุ่งให้นักเรียนที่มีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อน ๆได้มีบทบาทสำคัญในการมีส่วนร่วมในกระบวนการแนะแนวโดยทำหน้าที่บริการให้คำปรึกษาเพื่อนนักเรียนด้วยกันและได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3. นักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา (Youth Counselor : YC) คือ นักเรียนที่โรงเรียนพิจารณาคัดสรรว่าเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์สามารถคิดวิเคราะห์ มีจิตอาสาในการรับฟัง ให้คำปรึกษาหารือ และได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษาเบื้องตนและปฏิบัติหน้าที่ให้คำปรึกษา โดยการดูแลชี้แนะอย่างใกล้ชิดของครูแนะแนว ประเด็นที่ 2 บรรยายภาคทฤษฎี หัวข้อ การเป็นวิทยกรที่ดีสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่สำคัญในเรื่องยาเสพติด โดยวิทยากรพิเศษ นายณรงค์เวทย์ แซ่ห้าว ตำแหน่งวิชาการสาธรณสุขชำนาญการ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลท่าแพ กล่าวโดยสรุปความ วิทยากร หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในภาษาอังกฤษเรียกวิทยากรว่า Resource Person วิทยากรมาจากวิทยาแปลว่า ความรู้ กรแปลว่า มือ หรือ ผู้ถือ วิทยากรก็คือผู้ทรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถนั่น ก็คือ บุคคลที่เป็นวิทยากรได้จะต้องเป็นผู้มีความรู้ และความสามรถในการทำให้ผู้อื่นมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ ตามที่ตนต้องการ
คุณสมบัติของวิทยากร 12 ประการ
๑. มีความมุ่งมั่น ๒. ต้องมีความรู้จริงในเรื่องที่จะถ่ายทอดอย่างชัดเจน ๓. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ๔. มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ๕. ช่างสังเกต ๖. มีไหวพริบปฏิภาณ แก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าเก่ง
๗. มีความเชื่อมั่นในตนเอง ๘. มีการวางแผนที่ดี ๙. มีความจริงใจตั้งใจให้ความรู้ ๑๐. มีลีลาแบบฉบับเป็นของตัวเอง ๑๑. ทำให้ผู้เข้าสัมมนามีส่วนร่วมในการบรรยาย ๑๒. บุคลิกภาพการแต่งกายโดดเด่น ดูดีมีสง่า วางตัวเหมาะสมเป็นวิทยากร ประเด็นที่ 3 ภาคปฏิบัติ หัวข้อ วิทยากรตัวน้อย กล่าวโดยสรุปความ นักเรียนแกนนำและคุณครูแกนนำร่วมกันถ่ายทอดและวางแผนการนำความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดไปเสริมสร้างให้บุคคลที่มาฟังการบรรยายและเกิดองค์ความรู้และนำไปปฏิบัติได้จริง การวางกำหนดการและเพลงสันทนาการเพื่อให้ผู้ฟังไม่เกิดความเบื่อหน่าย
ผลสรุป การเข้าร่วมกิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้จากกิจกรรมไปถ่ายถอดให้กับผู้ฟังตามศูนยืตาดีกา บรรยายความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการอย่างมีแบบแผน มีการนำเสนอได้ดี มีความมั่นใจ กล้าที่จะพูดคุยและถ่ายทอดองค์ความรู้นั่นๆ ได้อย่างเต็มที่และมีศักยภาพ

การประเมินและติดตามความก้าวหน้าของโครงการครั้งที่ 219 กันยายน 2566
19
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อบจ.จังหวัดสตูล ร่วมกับสสส. ได้กำหนดจัดกิจกรรมการประเมิน และการติดตามความก้าวหน้าของโครงการครั้งที่ 2 ในวันที่ 19 กันยายน 2566 โดยมีการลงพื้นที่ เพื่อรับทราบผลการรายงานการดำเนินโครงการ และงบประมาณที่ใช้ของโครงการดังกล่าว

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การรายงานผลโครงการเสริมสร้างแกนนำเยาวชนต่อต้านยาเสพติด ที่มีวัตถุประสงค์ ในการมุ่งเน้นให้เยาวชนกลุ่มเป้าหมายหรือนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย มีพฤติกรรม มีทักษะในการป้องกันตนเองในเรื่องของยาเสพติดและบุหรี่ โดยนางสาวมณีดาว เอี่ยมบุตร ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้รายงานผลการดำเนินโครงการ พบว่า โครงการนั้น ดำเนินไปแล้ว 80% ทั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่ได้แนะแนวข้อปฏิบัติในเรื่องของการทำเอกสารหลักฐาน การเงิน การรายงานผลโครงการบนเว็บไซต์ และเสนอแนะ หรือสอบถามเกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคอื่นๆ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้และเสริมสร้างความสามัคคีด้วยการแข่งขันกีฬา (กิจกรรมที่ 6/6)7 สิงหาคม 2566
7
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมสร้างความตระหนักและความเข้าใจอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกกลุ่มที่มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด (6/6) หัวข้อกิจกรรม โรคซึมเคร้า ภัยเสี่ยงยาเสพติด วันจันทร์ ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ กลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 คน มีรายละเอียดการจัดกิจกรรม ดังนี้ 1. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมและกล่าวต้อนรับผู้อบรม โดยผู้รับผิดชอบโครงการ 2. วิทยากรกล่าวแนะนำตัว 3. สันทนาการ โดยนักเรียนแกนนำ 4. อบรมให้ความรู้และปฏิบัติในหัวข้อ โรคซึมเศร้า เสี่ยงภัยยาเสพติด 5. จัดทำป้ายและอุปกรณ์ที่แสดงถึงการรณรงค์ในเรื่องของยาเสพติด เพื่อประกอบการเดินรณรงค์ในกิจกรรมวันกีฬาสีของโรงเรียน โดยสะท้อนให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงโทษและคิดไปของยาเสพติด 6. กิจกรรมการถอดบทเรียนและสรุปแลกเปลี่ยนแนวคิด การสะท้อนผลหลังการจากการดำเนินกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมสร้างความตระหนักและความเข้าใจอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกกลุ่มที่มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด (6/6) หัวข้อกิจกรรม โรคซึมเคร้า ภัยเสี่ยงยาเสพติด จัดขึ้นเมื่อวันจันทร์ ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 คน โดยผลจากการดำเนินกิจกรรมสรุปแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ประเด็นที่ 1 โรคซึมเศร้า เสี่ยงภัยยาเสพติด มีใจความว่า ภาวะซึมเศร้า เครียดวิตกกังวลเพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศไทย ภาวะซึมเศร้าจะเป็นปัญหาที่มี Dalys สูงเป็นอันดับ 2 ของโลกในปี ค.ศ. 2020 comorbidity ของการใช้สารเสพติดและโรคทางจิตเวช ได้รับความสนใจในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วยจิตเวชมักใช้สารเสพติดด้วยตนเองโดยเหตุผลเพื่อลดความเครียด กังวล แสวงหาความสุขสบายใจ รพ.จิตเวชสงขลาราชนครินทร์ เป็นหน่วยงานของกรมสุขภาพจิตที่ดูแลจิตใจของประชาชนภาคใต้ตอนล่างดำเนินการค้นหารวบรวมข้อมูลภาวะซึมเศร้าโดยรวบรวมปัจจัยทางจิตสังคมด้วย วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของการใช้สารเสพติดในภาวะซึมเศร้า วิธีการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Description) ศึกษาในผู้ป่วยที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกและในของโรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์ช่วงเวลา มิ.ย. 2548 ถึง 30 เม.ย. 2550 มีช่วงอายุระหว่าง 18-70 ปี โดยใช้แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า, ฆ่าตัวตายของกรมสุขภาพจิตกับผู้ป่วย จำนวน 398 ราย ที่มาด้วยพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตาย/ทำร้ายตนเอง ผู้ป่วยที่มีเพิ่งมีประวัติการสูญเสีย มีโรคทางกายเรื้อรังหรือที่ผ่านการค้นหาสาเหตุแต่ไม่พบ นอนไม่หลับเรื้อรัง เมื่อคัดกรองพบว่ามีภาวะซึมเศร้าจึงใช้แบบเฝ้าระวังภาวะซึมเศร้าและทำร้ายตนเองประเมินต่อ (รง. 506 DS) พบภาวะซึมเศร้ารวมทั้งสิ้น 105 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ผลการศึกษา พบว่า เพศชายร้อยละ 64.8 เพศหญิง ร้อยละ 35.2 มีอายุระหว่าง 21-40 ปี ร้อยละ 48.6 และมีอายุระหว่าง 41-60 ปี ร้อยละ 33.3 สถานภาพสมรส คู่ ร้อยละ 44.8 รองลงมาเป็นสภานภาพโสด ร้อยละ 41.0 อาชีพ เกษตรกรรม ร้อยละ 29.5 รองลงมาอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 19.0 พบภาวะซึมเศร้าร้อยละ 49.5 ภาวะซึมเศร้าร่วมกับความคิดฆ่าตัวตาย ร้อยละ 29.5 พฤติกรรมการฆ่าตัวตายโดยที่ไม่มีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 21.0 พบพฤติกรรมส่วนบุคคลของผู้มีภาวะซึมเศร้าที่ใช้สารเสพติดสูงถึงร้อยละ 44 บุหรี่เป็นสารเสพติดที่ใช้มากเป็นอันดับแรก ร้อยละ 32 รองลงมาคือ สุรา ร้อยละ 22 ส่วนสารเสพติดอื่นๆ เช่น กัญชา ยาบ้า ร้อยละ 18 สรุปและข้อเสนอแนะ ผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าที่ใช้สารเสพติดพบในกลุ่มวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นเป็นเพศชายมากกว่า การศึกษานี้สามารถนำไปพัฒนาระบบเฝ้าระวังคัดกรองและค้นหาภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้ที่ใช้สารเสพติด ซึ่งเป็นวัยศึกษาและวัยทำงานจะนำมาสู่การดูแลรักษาที่เหมาะสม ทำให้ไม่สูญเสียโอกาสในการเรียนการทำงาน ควรมีการพัฒนาแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้าและภาวะเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่และศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเสพติดในผู้ป่วยกลุ่มนี้
ประเด็นที่ 2 จัดทำป้ายและอุปกรณ์ที่แสดงถึงการรณรงค์ในเรื่องของยาเสพติด เพื่อประกอบการเดินรณรงค์ในกิจกรรมวันกีฬาสีของโรงเรียน โดยสะท้อนให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงโทษและคิดไปของยาเสพติด ซึ่งคนในชุมชนให้ความสนใจกับป้ายและสื่อที่นักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้จัดทำขึ้น โดยมีบุคคลในชุมชน บริเวณใกล้โรงเรียน ตามคาดการณ์ได้ประมาณ 100 คน ที่ได้รับรู้ถึงกิจกรรมการเดินรณรงค์และสื่อของนักเรียนกลุ่มเป้าหมายในเรื่องของโทษและพิษภัยของยาเสพติด ประเด็นที่ 3 การสะท้อนผลหลังการจากการดำเนินกิจกรรม นักเรียนกลุ่มเป้าหมายและผู้รับผิดชอบกิจกรรมจำนวน 50 คน ได้ร่วมกันสะท้อนผลหลังจากการดำเนินกิจการ พบว่า การเสี่ยงยาเสพติดหรือการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ยังมีพฤติกรรมเสี่ยงอาจก่อให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ โดยภาวะซึมเศร้าหรือความเครียดวิกกะกังวลมากขึ้น ส่งผลทำให้ผู้ที่มีภาวะดังกล่าวนั้น บรรเทาอาการของตนเอง โดยการใช้สารเสพติดเพื่อลดคาวมเครียดหรือความวิตกกังวลและแสวงหาความสุขความสบายใจ ดังนั้น แนวทางการป้องกันตนเอง คือ ควรทำตัวเองให้มีจิตใจที่นิ่งแน่วแน่ ไม่มีความเครียด หรือไม่เกิดการคิดมาก และการนำตัวเองไปอยู่ในสังคม และการทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดการสร้างความสุขให้กับตนเอง เพื่อสร้างทักษะในการป้องกันในเรื่องยาเสพติดและบุหรี่

กิจกรรมประชุมจัดตั้งกลไกขับเคลื่อนงานสู่เป้าหมาย (ประชุมครั้งที่ 4/5)1 สิงหาคม 2566
1
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการประชุม จัดตั้งกลไกขับเคลื่อนงานสู่เป้าหมาย (ประชุมครั้งที่ 4/5) ครั้งที่ 4 / 2566 เมื่อวันอังคาร ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ มีขั้นตอนและกระบวนการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 1. ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม 2. ประชุมเรื่อง ดังต่อไปนี้
- งบประมาณการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาและงบประมาณคงเหลือ - ข้อมูลทางสถิติเกี่ยวกับนักเรียนที่มีโอกาสเสี่ยงเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด - รูปแบบการจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักและความเข้าใจอย่างต่อเนื่องครั้งที่ 6 - เสนอรายชื่อผู้รับผิดชอบกิจกรรม - รูปแบบการจัดกิจกรรมที่ตาดีกา แป-ระใต้ การให้ความรู้เด็กและเยาวชนในเรื่องของยาเสพติด - การดำเนินงานและการทำบัญชีค่าใช้จ่ายและการทำเอกสารการเงิน - มอบหมายงานให้กับนักเรียนแกนนำที่ทำกิจกรรมเร่งด่วน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ในการจัดกิจกรรมการประชุมจัดตั้งกลไกขับเคลื่อนงานสู่เป้าหมาย ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 4 เมื่อวันอังคารที่ 1 สิงหาคม 2566 เวลา 8:30 น เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมของโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมหรือกลุ่มเป้าหมายจำนวน 10 คน สรุปความสำคัญหรือผลการจัดกิจกรรม 6 ประเด็น 1.ที่ประชุมรับทราบเรื่องงบประมาณจากการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา และงบประมาณคงเหลือและงบประมาณคงเหลือ โดยมี การเบิกเงินจากบัญชี ทั้งหมด 30,000 บาท คงเหลือตามบัญชี 20,000 บาท จำเป็นจะต้องทำการเบรกเงินจากบัญชีมาจ่ายเงินชดเชยกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว 2. ที่ประชุมรับทราบเรื่องข้อมูลทางสถิติ เกี่ยวกับนักเรียนที่มีโอกาสเสี่ยงเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด พบว่า จากการเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ถึงพฤติกรรมการ เสพ ค้า ในช่วงระยะเดือนแรกนักเรียนกลุ่มเป้าหมายบางส่วน มีพฤติกรรม เสพ แต่ไม่ปรากฏพฤติกรรมการค้ายาเสพติด และหลังการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆภายในโครงการ นักเรียนกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว มีพฤติกรรมเสพ ลดลงอย่างเห็นได้ชัด 3. มติที่ประชุมเห็นชอบการจัดกิจกรรมรูปแบบการจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักและความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง ครั้งที่ 6/6 ในวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ซึ่งตรงกับกิจกรรมกีฬาสีของโรงเรียน และทางโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ มีความประสงค์ให้นักเรียนแกนนำ จัดทำสื่อที่มีการรณรงค์ในเรื่องของยาเสพติด ให้นักเรียน และคนในชุมชน เกิดความตระหนักถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด ทั้งนี้ รูปแบบของการจัดกิจกรรม ดำเนินตามกำหนดการ ภาคเช้า อบรมให้ความรู้จากวิทยกร และจัดเตรียม จัดทำสื่อที่มีการรณรงค์ในเรื่องของยาเสพติด พร้อมทั้งเดินรณรงค์ 4. มติที่ประชุมเห็นชอบเสนอรายชื่อผู้รับผิดชอบกิจกรรม ทั้งกิจกรรมสร้างความตระหนัก ครั้งที่ 6 และกิจกรรมให้ความรู้ในศูนย์ตาดีกา มีรายชื่อและหน้าที่ ดังนี้ -นางสาวมารีน่า สมจริง วิทยกรหลัก และให้ความรู้ในเรื่องของยาเสพติด พร้อมทั้งจัดหาอุปกรณ์ -นางสาวกิตติมา มาลิยัน วิทยกรสันทนาการ และให้ความรู้ในเรื่องของยาเสพติด พร้อมทั้งจัดหาอุปกรณ์ -นางสาวณูรีญา สุวาหลำ จัดเตรียมสื่อในการเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ -นายชาฟารี ใจสมุทร จัดเตรียมสื่อในการเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ -นายเฟาซาน ลิงาล่าห์ จัดเตรียมสื่อในการเดินรณรงค์ประชาสัมพันธ์ 5. มติที่ประชุมเห็นชอบการจัดกิจกรรมรูปแบบการจัดกิจกรรมที่ตาดีกา แป-ระ ใต้ การให้ความรู้เด็กและเยาวชน ในเรื่องของยาเสพติด จัดกิจกรรมตามข้อมูลจากการฝึกฝนเป็นวิทยกรตัวน้อย โดยจัดให้มีวิทยากรหลัก วิทยากรสันทนาการ และผู้ช่วย
6. ที่ประชุมมอบหมายงานให้นักเรียนแกนนำทำกิจกรรมที่เร่งด่วน โดยการประชาสัมพันธ์ โครงการ และร่วมประเมินความเสี่ยงของนักเรียนในโรงเรียนที่มีพฤติกรรมการใช้สารเสพติด และกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดสารเสพติด

กิจกรรมอบรมให้ความรู้และเสริมสร้างความสามัคคีด้วยการแข่งขันกีฬา (กิจกรรมที่ 5/6)24 กรกฎาคม 2566
24
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมสร้างความตระหนักและความเข้าใจอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกกลุ่มที่มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดครั้งที่ 5 ในหัวข้อกิจกรรม ยาเสพติดภัยร้ายใกล้ตัว กำหนดวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 เวลา 9:00 น ถึง 16:30 น ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์
ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม ดังต่อไปนี้ 1. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม 2. ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวเปิดกิจกรรม 3. วิทยากรกล่าวแนะนำตัว 4. สันทนาการโดยนักเรียนแกนนำ 5. อบรมให้ความรู้และปฏิบัติจากวิทยากรในหัวข้อยาเสพติดภัยร้ายใกล้ตัว 6. พักรับประทานอาหารว่าง 7 .สันทนาการโดยนักเรียนแกนนำ 8. อบรมให้ความรู้จากวิทยากรในหัวข้อกิจกรรมความรู้ที่เกี่ยวกับการบำบัดยาเสพติดการสมัครใจและยาเสพติด 9 .รับประทานอาหารกลางวันและละหมาด 10 .สันทนาการโดยนักเรียนแกนนำ 11. จัดกิจกรรมภาคปฏิบัติโดยการจัดทำคลิปวีดีโอละครสั้นประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับยาเสพติดภัยร้ายใกล้ตัว 12. บำเพ็ญประโยชน์และทำความสะอาดและเก็บขยะตามจุดสำคัญต่างๆของโรงเรียน 13. ถอดบทเรียนสรุปกิจกรรมแลกเปลี่ยนแนวคิดและการสะท้อนผลการดำเนินหลังกิจกรรม 14. ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวปิดการจัดกิจกรรมและกล่าวขอบคุณวิทยากร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมสร้างความตระหนักและความเข้าใจอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกกลุ่มที่มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดครั้งที่ 5 ในหัวข้อกิจกรรม ยาเสพติดภัยร้ายใกล้ตัว กำหนดวันที่ 24 กรกฎาคม 2566 เวลา 9:00 น ถึง 16:30 น ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ เกิดกลุ่มเป้าหมาย จำนวนทั้งสิน 50 คน ดำเนินกิจกรรมร่วมกัน และเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบำบัดยาเสพติดและการสมัครใจเลิกยา รวมทั้ง ตระหนักถึงพิษภัยอันตรายของยาเสพติด ซึ่งเป็นภัยร้ายใกล้ตัว โดยมีวิทยากรบรรยาย นางอินทิรา ทองเกื้อ เป็นวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ มีการบรรยายและกลุ่มเป้าหมายสามารถถอดบทเรียนได้แบ่งออกเป็น 4 ประเด็น ประเด็นที่ 1 วิธีการส่งผู้ป่วยเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษามีขั้นตอนง่ายๆ ดังนี้ 1) เตรียมความพร้อมผู้ป่วยและญาติ/ผู้ดูแล หมายความว่า ผู้ป่วยและญาติต้องเข้าใจขั้นตอนการบำบัดรักษาผู้ป่วยเสพติดว่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง และที่สำคัญคือต้องใช้ระยะเวลานานตั้งแต่ 4 เดือนถึง 1 ปีในการบำบัด 2) ต้องเตรียมเอกสารที่แสดงตัวตนของผู้ป่วย เช่น บัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน หรือบัตรที่ทางราชการออกให้ และมีรูปถ่ายของผู้ป่วยติดไว้ 3) ติดต่อสถานบำบัดรักษาที่ใกล้บ้าน เพื่อความสะดวกในการช่วยเหลือขณะที่ผู้ป่วยอยู่รับการบำบัด 4) ในกรณีที่ผู้ป่วยเสพติดมีสิทธิบัตรทอง บัตรประกันสังคม สามารถใช้สิทธิการบำบัดรักษาได้ในสถานพยาบาลตามที่ระบุในบัตร หากสถานพยาบาลที่ท่านมีสิทธิในการรักษาไม่สามารถให้การบำบัดรักษาได้จะมีระบบการส่งต่อไปรักษาต่อเนื่องในสถานพยาบาลที่มีศักยภาพที่สูงกว่า ประเด็นที่ 2 คลิปวีดีโอละครสั้นประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับยาเสพติดภัยร้ายใกล้ตัว ทำการแบ่งนักเรียนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 45 คน และครูกลุ่มเป้าหมายจำนวน 5 คน โดยแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่ม ให้ร่วมกันออกแบบละครสั้นในการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโทษและภัยของยาเสพติด มีความยาวของคลิปวีดีโอไม่เกิน 5 นาที ร่วมกันจัดทำและนำเสนอคลิปวีดีโอดังกล่าว ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย สามารถแสดงบทบาทและกล่าวถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติดได้ โดยรายละเอียดของคลิปดังกล่าว เป็นไปในทางของการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดนั้น ทำให้สูญเสียการเรียน สูญเสียความสามารถในการคิดวิเคราะห์และไม่สามารถเรียนในระบบได้ รวมทั้งอาจจะต้องติดคุกติดตารางทำให้เสียเวลา ประเด็นที่ 3 บำเพ็ญประโยชน์และทำความสะอาดและเก็บขยะตามจุดสำคัญต่างๆของโรงเรียน ทำการแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 7 จุดสำคัญที่เป็นมุมอับของโรงเรียนในการจัดการขยะและการจัดการให้พื้นที่สะอาด เพื่อสร้างความสดใสให้กับพื้นที่ไม่ให้เกิดมุมอับ ลดการเป็นแหล่งมั่วสุมภายในโรงเรียน การเสริมสร้างกลุ่มเป้าหมายให้เกิดมีจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือผู้อื่น ยังสามารถช่วยสร้างคุณค่าให้กับตนเองให้กลุ่มเป้าหมาย รักตนเองมากขึ้น เพื่อไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

ให้ความรู้และทักษะการปฏิเสธและการป้องกันสารเสพติดทุกชนิด โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลท่าแพ (ครั้งที่2/3)12 กรกฎาคม 2566
12
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมให้ความรู้และทักษะการปฏิเสธและการป้องกันสารเสพติดทุกชนิด โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลท่าแพ (ครั้งที่2/3) วันพุธ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ โดยมีการดำเนินกิจกรรม ดังนี้
1. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม 2. พิธีเปิดกิจกรรมโดยนางสาวมณีดาว เอี่ยมบุตร ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวต้อนรับวิทยกรและกล่าวเปิดกิจกรรม 3. สันทนาการโดยนักเรียนแกนนำ 4. บรรยายภาคทฤษฎี หัวข้อ เพื่อนที่ปรึกษา โดยวิทยากรพิเศษ นายณรงค์เวทย์ แซ่ห้าว ตำแหน่งวิชาการสาธรณสุขชำนาญการ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลท่าแพ 5. บรรยายภาคทฤษฎี หัวข้อ การเป็นวิทยกรที่ดีสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่สำคัญในเรื่องยาเสพติด โดยวิทยากรพิเศษ นายณรงค์เวทย์ แซ่ห้าว ตำแหน่งวิชาการสาธรณสุขชำนาญการ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลท่าแพ 6. พักรับประทานอาหารหลัก/ละหมาด 7. ภาคปฏิบัติ หัวข้อ วิทยกรตัวน้อย โดยวิทยากรพิเศษ นายณรงค์เวทย์ แซ่ห้าว ตำแหน่งวิชาการสาธรณสุขชำนาญการ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลท่าแพ 8. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็น การสร้างความมั่นใจในการเป็นนักพูด และเป็นผู้ให้กำลังใจที่ดีต่อเพื่อนที่มีปัญหาในเรื่องยาเสพติด 9. ประเมินกิจกรรม 10. ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวขอบคุณวิทยากรและกล่าวปิดกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต (Output)
1.รายชื่อกลุ่มเป้าหมาย 15 คน ประกอบด้วย 1.1. ครูผู้รับผิดชอบโครงการ 5 คน 1.2. นักเรียนแกนนำที่ผ่านการคัดเลือกจากนักเรียนในกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 10 คน 2.รายงานการจัดทำกิจกรรมบนเว็บไซต์ 3. แผนการดำเนินกิจกรรมการเป็นวิทยกรตัวน้อย ผลลัพธ์ (Outcome) กิจกรรมให้ความรู้และทักษะการปฏิเสธและการป้องกันสารเสพติดทุกชนิด โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลท่าแพ (ครั้งที่2/3) วันพุธ ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ โดยมีผลการดำเนินกิจกรรมแยกย่อยเป็น 3 ประเด็น ดังนี้ ประเด็นที่ 1 โดยวิทยากรพิเศษ นายณรงค์เวทย์ แซ่ห้าว ตำแหน่งวิชาการสาธรณสุขชำนาญการ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลท่าแพ กล่าวโดยสรุปความรู้เกี่ยวกับ เพื่อนที่ปรึกษา
1. การใช้หลักจิตวิทยาของกลุ่มเพื่อน (Peer Psychology / Peer to Peer-P 2 P) เป็นพื้นฐานในการสร้างสัมพันธภาพและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพราะบุคคลที่มีพื้นเพ วัย วิถีชีวิตประจำวันและมีกิจกรรมร่วมกันจะสนิทสนม คุ้นเคย และไว้วางใจกันสามารถสื่อสารกันได้อย่างเปิดเผยและเข้าใจซึ่งกันและกันได้ง่าย 2. การให้คำปรึกษาโดยเพื่อน (Peer Counseling) มุ่งให้นักเรียนที่มีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อน ๆได้มีบทบาทสำคัญในการมีส่วนร่วมในกระบวนการแนะแนวโดยทำหน้าที่บริการให้คำปรึกษาเพื่อนนักเรียนด้วยกันและได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3. นักเรียนเพื่อนที่ปรึกษา (Youth Counselor : YC) คือ นักเรียนที่โรงเรียนพิจารณาคัดสรรว่าเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์สามารถคิดวิเคราะห์ มีจิตอาสาในการรับฟัง ให้คำปรึกษาหารือ และได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ความสามารถในการให้คำปรึกษาเบื้องตนและปฏิบัติหน้าที่ให้คำปรึกษา โดยการดูแลชี้แนะอย่างใกล้ชิดของครูแนะแนว ประเด็นที่ 2 บรรยายภาคทฤษฎี หัวข้อ การเป็นวิทยกรที่ดีสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่สำคัญในเรื่องยาเสพติด โดยวิทยากรพิเศษ นายณรงค์เวทย์ แซ่ห้าว ตำแหน่งวิชาการสาธรณสุขชำนาญการ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลท่าแพ กล่าวโดยสรุปความ วิทยากร หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในภาษาอังกฤษเรียกวิทยากรว่า Resource Person วิทยากรมาจากวิทยาแปลว่า ความรู้ กรแปลว่า มือ หรือ ผู้ถือ วิทยากรก็คือผู้ทรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถนั่น ก็คือ บุคคลที่เป็นวิทยากรได้จะต้องเป็นผู้มีความรู้ และความสามรถในการทำให้ผู้อื่นมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ ตามที่ตนต้องการ
คุณสมบัติของวิทยากร 12 ประการ
๑. มีความมุ่งมั่น ๒. ต้องมีความรู้จริงในเรื่องที่จะถ่ายทอดอย่างชัดเจน ๓. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ๔. มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ๕. ช่างสังเกต ๖. มีไหวพริบปฏิภาณ แก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าเก่ง
๗. มีความเชื่อมั่นในตนเอง ๘. มีการวางแผนที่ดี ๙. มีความจริงใจตั้งใจให้ความรู้ ๑๐. มีลีลาแบบฉบับเป็นของตัวเอง ๑๑. ทำให้ผู้เข้าสัมมนามีส่วนร่วมในการบรรยาย ๑๒. บุคลิกภาพการแต่งกายโดดเด่น ดูดีมีสง่า วางตัวเหมาะสมเป็นวิทยากร ประเด็นที่ 3 ภาคปฏิบัติ หัวข้อ วิทยากรตัวน้อย กล่าวโดยสรุปความ นักเรียนแกนนำและคุณครูแกนนำร่วมกันถ่ายทอดและวางแผนการนำความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดไปเสริมสร้างให้บุคคลที่มาฟังการบรรยายและเกิดองค์ความรู้และนำไปปฏิบัติได้จริง การวางกำหนดการและเพลงสันทนาการเพื่อให้ผู้ฟังไม่เกิดความเบื่อหน่าย
ผลสรุป การเข้าร่วมกิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้จากกิจกรรมไปถ่ายถอดให้กับผู้ฟังตามศูนยืตาดีกา บรรยายความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการอย่างมีแบบแผน มีการนำเสนอได้ดี มีความมั่นใจ กล้าที่จะพูดคุยและถ่ายทอดองค์ความรู้นั่นๆ ได้อย่างเต็มที่และมีศักยภาพ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้และเสริมสร้างความสามัคคีด้วยการแข่งขันกีฬา (กิจกรรมที่ 4/6)10 กรกฎาคม 2566
10
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมสร้างความตระหนักและความเข้าใจอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกกลุ่มที่มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดครั้งที่ 4 ในหัวข้อกิจกรรม เสี่ยงยา เสี่ยงเพศสัมพันธ์อันตราย ตามโครงการเสริมสร้างแกนนำเยาวชนต่อต้านยาเสพติด โดยกำหนดจัดกิจกรรม ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 เวลา 9:00 น เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ กลุ่มเป้าหมายจำนวน 50 คน โดยมีรายละเอียดการดำเนินกิจกรรม ดังต่อไปนี้ 1. ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวเปิดกิจกรรมและลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม 2. วิทยากรกล่าวแนะนำตัว 3.สันทนาการโดยนักเรียนแกนนำ 4.อบรมให้ความรู้จากวิทยากร ในหัวข้อ เสี่ยงยา เสี่ยงเพศสัมพันธ์อันตราย 5. พักรับประทานอาหารว่าง 6. อบรมให้ความรู้จากวิทยากร ในหัวข้อ แนะนำวัยรุ่นเรียนรู้ เข้าใจ เรื่องเพศ ลดปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร 7. สันทนาการ โดยนักเรียนแกนนำ และพักรับประทานอาหารพร้อมละหมาด 8. อภิปรายผลแลกเปลี่ยนเรียนรู้ยาเสพติดกับเพศสัมพันธ์ 9. เล่นเกมกิจกรรมที่เสริมสร้างความแข็งแรงและความสามัคคี 10. ถอดบทเรียน สรุปกิจกรรม ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวปิดกิจกรรมและกล่าวขอบคุณวิทยากร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 เวลา 9:00 น เป็นต้นไปมีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 50 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการตามที่ระบุภายในโครงการ โดยจัดกิจกรรมสร้างความตระหนักและความเข้าใจอย่างต่อเนื่องครั้งที่ 4 ในหัวข้อกิจกรรมเสี่ยงยา เสี่ยงเพศสัมพันธ์อันตราย ซึ่งมีวิทยากรที่มีความรู้ ความสามารถ มาสร้างกิจกรรมและถอดบทเรียนร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย นางอินทิรา ทองเกื้อ วิทยากร ให้ความรู้และสร้างทักษะกลุ่มเป้าหมาย มีใจความของการจัดกิจกรรม ดังนี้
-โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือ กามโรค สามารถเป็นได้ทุกเพศทุกวัย เกิดจากการติดต่อผ่านกันทางเพศสัมพันธ์ กับผู้ที่มีเชื้อโรคนั้นๆ ซึ่งมีความอันตรายอยู่ตรงที่อาการแสดงมีหลายระดับ และมีความรุนแรงตั้งแต่น้อยถึงมากจนทำให้เสียชีวิต ผู้ที่ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะไม่ค่อยแสดงอาการ และการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน ทำให้เชื้อโรคติดต่อผ่านกันได้ง่าย และผู้ป่วยส่วนใหญ่มาทราบว่าตนเองมีความผิดปกติเมื่อเวลาผ่านไปนาน บางรายก็ไม่สนใจต่ออาการเหล่านั้น หรืออายที่จะเข้ารับการรักษา จึงทำให้โรคนั้นรุนแรงลุกลามเกินกว่าที่จะแก้ไขได้ทันเวลา ซึ่งจากงานวิจัยในกลุ่มของคนที่ติดยาเสพติดนั้น จะเสี่ยงเป็นผู้ติดเชื้อติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เพราะผู้ที่ใช้ยาเสพติด มีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรง และมีหลายคู่นอน จึงทำให้มีความเป็นอันตรายอย่างมาก
-ทางวิทยากรยังคงกล่าวถึงปัจจัยการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปัจจัยในการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรในหมู่ของวัยรุ่นนั้น มีปัจจัยอยู่หลายอย่าง อันได้แก่ การละเลย การคุมกำเนิดและขาดความรู้ด้านการคุมกำเนิดที่ถูกต้อง เช่น การรับประทานยาคุมกำเนิดผิดวิธี การเกิดแรงกดดันจากสังคมรอบตัว ส่งผลให้ต้องแต่งงานและตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร การใช้ยาและสารเสพติด การอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่อาจปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ได้ โดยไม่ป้องกัน เช่น การถูกฝ่ายชายบังคับโดยใช้อารมณ์และความรุนแรงถูกข่มขืนกระทำชำเรา
-กลุ่มเป้าหมายได้ถอดบทเรียนร่วมกัน ในเรื่องแนวทางการป้องกัน โดยได้ระบุแนวทางการป้องกันไว้ ดังนี้ การป้องกันปัญหาท้องก่อนวัยอันควรที่ได้ผลที่สุด คือ การหลีกเลี่ยง การมีเพศสัมพันธ์ และการคุมกำเนิดอย่างถูกต้องเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ การที่วัยรุ่นหรือเยาวชนไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด สามารถช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรได้ และลดความเสี่ยงในเรื่องของการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ -นักเรียนแกนนำและนักเรียนกลุ่มเป้าหมายนั้นได้ร่วมกันทำกิจกรรมเล่นเกมสันทนาการ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงและความสามัคคี โดย มีเกมและกิจกรรมดังนี้ เกมการตั้งไข่ เกมการใช้เชือกดึงไม้เพื่อไปให้ถึงจุดหมาย เกมการวิ่งเปรี้ยวต่อตัว เพื่อนำลูกโป่งไปถึงจุดเป้าหมาย ทั้งนี้ เกมดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง และความสามัคคี ลดเวลาในการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด และสร้างความสุข รู้จักคุณค่าของตัวเอง

กิจกรรมเยี่ยมบ้านติดตามผลการสร้างภูมิคุ้มกันและทักษะป้องกัน 1/28 กรกฎาคม 2566
8
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการกิจกรรมเยี่ยมบ้านติดตามผลการสร้างภูมิคุ้มกันและทักษะป้องกัน 1/2 วันที่ 7-8 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ โดยมีรายละเอียดการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 1.ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม 2.ดำเนินกิจกรรมดังต่อไปนี้
วันที่ 7/7/2566 -กล่าวเปิดกิจกรรมโดยนางสาวมณีดาว เอี่ยมบุตร ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวต้อนรับวิทยากรและกล่าวเปิดกิจกรรม - ให้ความรู้ถึงแนวทางการตรวจเยี่ยมบ้านของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย โดยวิทยากร นายอดุลย์ เลิศอริยะพงษ์กุล
- พักรับประทานอาหารว่าง - ร่วมออกแบบ แบบฟอร์มการเยี่ยมบ้าน และการเก็บข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลสำคัญในเรื่องการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและบุหรี่ - วางแผนการดำเนินการการออกเยี่ยมบ้านนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย และแนวทางการสรุปข้อมูลผลจากการเยี่ยมบ้าน
- มอบหมายลงตรวจเยี่ยมบ้านนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย - ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวปิดกิจกรรม วันที่ 8 /7/66 - ดำเนินการออกตรวจเยี่ยมบ้านนักเรียน และลงบันทึกข้อมูลการเยี่ยมบ้านและการประเมินพฤติกรรมเสี่ยงในการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและบุหรี่ โดยครูทุกคน และครูประจำชั้นของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-เมื่อวันศุกร์ ที่ 7 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ทางผู้รับผิดชอบโครงการ กำหนดจัดกิจกรรม การให้ความรู้ถึงแนวทางการตรวจเยี่ยมบ้านของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย โดยมีนายอดุลย์ เลิศอริยะพงษ์กุลเป็นวิทยากร โดยมีใจความว่า การที่ผู้บริหาร ครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาจะจัดบริการ เพื่อให้การดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สนองตอบความต้องการของนักเรียนเป็นรายบุคคลนั้น จำเป็นต้องมีข้อมูลรายละเอียดของนักเรียนแต่ละคนอย่างชัดเจน สามารถรู้จุดอ่อนจุดแข็ง ข้อจำกัด รวมถึงสัญญาณอันตรายหรือข้อบ่งบอกที่จำเป็นต้องให้การดูแลช่วยเหลือการพิทักษ์ ปกป้อง คุ้มครอง และการพัฒนาส่งเสริมจากครู อาจารย์ ผู้ปกครอง และผู้มีหน้าที่รับผิดชอบได้อย่างถูกวิธี อาจต้องอาศัยเทคนิคและเครื่องมือต่าง ๆ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล อาทิ ระเบียนสะสมแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสำรวจ แบบสอบถาม แบบบันทึกสุขภาพ บันทึกประจำวัน การศึกษารายกรณี สังคมมิติ บทบาทสมมติ ภาพวาด เรียงความ อัตชีวประวัติ เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของการเยี่ยมบ้าน
1. เพื่อเยี่ยมเยือนสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบ้านกับโรงเรียน
2. เพื่อให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวนักเรียน ได้แก่ สภาพความเป็นอยู่ ครอบครัว ฐานะทางการเงิน พฤติกรรมเชิงบวกและเชิงลบด้านยาเสพติดและอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยให้เห็นสภาพที่แท้จริง ไม่ใช่เพียงได้ยินแต่คำบอกเล่าเท่านั้น
3. เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำกับผู้ปกครองเกี่ยวกับเรื่องการศึกษา การอบรมสั่งสอน และการเลี้ยงดูนักเรียน
4. เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนในการพัฒนา ส่งเสริม ป้องกันและแก้ปัญหาของนักเรียน
วิธีการรวบรวมข้อมูล
1. การสังเกตสภาพที่อยู่อาศัย และพฤติกรรมของนักเรียน และบุคคลในบ้านนักเรียน
2. การพูดคุยสนทนากับพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักเรียน
ข้อมูลที่ได้จะรวบรวมไว้หลายระดับ เพื่อใช้ประโยชน์ในการส่งเสริม ป้องกัน และแก้ไขปัญหา นักเรียน
· ครูที่ปรึกษา จะรวบรวมข้อมูลเด็กเป็นรายบุคคล ทั้งด้าน ความสามารถทางการเรียน ด้านสุขภาพกาย สุขภาพใจ ด้านความประพฤติ ด้านครอบครัว เศรษฐกิจ ด้านสวัสดิภาพ ความปลอดภัย
· ระดับโรงเรียน จะประมวลข้อมูลเป็นสารสนเทศในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียน - ร่วมออกแบบ แบบฟอร์มการเยี่ยมบ้าน และการเก็บข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลสำคัญในเรื่องการประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดและบุหรี่ - วางแผนการดำเนินการการออกเยี่ยมบ้านนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย และแนวทางการสรุปข้อมูลผลจากการเยี่ยมบ้าน
- มอบหมายลงตรวจเยี่ยมบ้านนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย   กำหนดออกเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายวันที่ 8 /7/66 - โดยดำเนินการออกตรวจเยี่ยมบ้านนักเรียน และลงบันทึกข้อมูลการเยี่ยมบ้านและการประเมินพฤติกรรมเสี่ยงในการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดและบุหรี่ โดยครูทุกคน และครูประจำชั้นของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย

ให้ความรู้และทักษะการปฏิเสธและการป้องกันสารเสพติดทุกชนิด โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลท่าแพ (ครั้งที่1/3)4 กรกฎาคม 2566
4
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมให้ความรู้และทักษะการปฏิเสธและการป้องกันสารเสพติดทุกชนิด โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลท่าแพ (ครั้งที่1/3) วันอังคาร ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ โดยมีการดำเนินกิจกรรม ดังนี้
1. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม 2. พิธีเปิดกิจกรรมโดยนางสาวมณีดาว เอี่ยมบุตร ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวต้อนรับวิทยกรและกล่าวเปิดกิจกรรม 3. สันทนาการโดยนักเรียนแกนนำ 4. บรรยายภาคทฤษฎี หัวข้อ ความสำคัญของกำลังใจจากคนรอบข้างสู่แรงผลักดันในการเลิกยาเสพติด โดยวิทยากรพิเศษ นายณรงค์เวทย์ แซ่ห้าว ตำแหน่งวิชาการสาธรณสุขชำนาญการ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลท่าแพ 5. บรรยายภาคทฤษฎี หัวข้อ การเป็นวิทยกรที่ดีสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่สำคัญในเรื่องยาเสพติด โดยวิทยากรพิเศษ นายณรงค์เวทย์ แซ่ห้าว ตำแหน่งวิชาการสาธรณสุขชำนาญการ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลท่าแพ 6. พักรับประทานอาหารหลัก/ละหมาด 7. ภาคปฏิบัติ หัวข้อ วิทยกรตัวน้อย โดยวิทยากรพิเศษ นายณรงค์เวทย์ แซ่ห้าว ตำแหน่งวิชาการสาธรณสุขชำนาญการ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลท่าแพ 8. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็น การสร้างความมั่นใจในการเป็นนักพูด และเป็นผู้ให้กำลังใจที่ดีต่อเพื่อนที่มีปัญหาในเรื่องยาเสพติด 9. ประเมินกิจกรรม 10. ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวขอบคุณวิทยากรและกล่าวปิดกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต (Output)
1.รายชื่อกลุ่มเป้าหมาย 15 คน ประกอบด้วย 1.1. ครูผู้รับผิดชอบโครงการ 5 คน 1.2. นักเรียนแกนนำที่ผ่านการคัดเลือกจากนักเรียนในกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 10 คน 2.รายงานการจัดทำกิจกรรมบนเว็บไซต์ 3. แผนการดำเนินกิจกรรมการเป็นวิทยกรตัวน้อย ผลลัพธ์ (Outcome) กิจกรรมให้ความรู้และทักษะการปฏิเสธและการป้องกันสารเสพติดทุกชนิด โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลท่าแพ (ครั้งที่1/3) วันอังคาร ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ โดยมีผลการดำเนินกิจกรรมแยกย่อยเป็น 3 ประเด็น ดังนี้
ประเด็นที่ 1 บรรยายภาคทฤษฎี หัวข้อ ความสำคัญของกำลังใจจากคนรอบข้างสู่แรงผลักดันในการเลิกยาเสพติด โดยวิทยากรพิเศษ นายณรงค์เวทย์ แซ่ห้าว ตำแหน่งวิชาการสาธรณสุขชำนาญการ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลท่าแพ กล่าวโดยสรุปความ กำลังใจจะเป็นเครื่องส่งเสริมพลังให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก นอกเหนือจากวิธีการบำบัดอาการติดยาเสพติดตามขั้นตอนที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ความรู้ของผู้เชี่ยวชาญด้านการบำบัดอาการติดยาเสพติด แต่แม้ว่าเจ้าหน้าที่ หมอ หรือแพทย์ต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบำบัดอาการติดยาเสพติด จะเชี่ยวชาญในการบำบัดอาการติดยาเสพติดมากเท่าไหร่ แต่ถ้าหากผู้ป่วยไม่มีกำลังใจแล้วก็ คงยากที่จะประสบความสำเร็จ เพราะผู้ป่วยอาจจะหันกลับไปเสพยาเสพติดได้ทุกเมื่อ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในขั้นตอนที่ยากลำบากในการบำบัดอาการติดยาเสพติด กำลังใจดูเหมือนจะเป็นสิ่งเดียวที่จะประคับประคองให้ผู้ป่วยยืนหยัดและเชื่อมั่นที่จะเข้ารับการบำบัดต่อไป ประเด็นที่ 2 บรรยายภาคทฤษฎี หัวข้อ การเป็นวิทยกรที่ดีสู่การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่สำคัญในเรื่องยาเสพติด โดยวิทยากรพิเศษ นายณรงค์เวทย์ แซ่ห้าว ตำแหน่งวิชาการสาธรณสุขชำนาญการ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลท่าแพ กล่าวโดยสรุปความ วิทยากร หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ความสามารถในภาษาอังกฤษเรียกวิทยากรว่า Resource Person วิทยากรมาจากวิทยาแปลว่า ความรู้ กรแปลว่า มือ หรือ ผู้ถือ วิทยากรก็คือผู้ทรงไว้ซึ่งความรู้ความสามารถนั่น ก็คือ บุคคลที่เป็นวิทยากรได้จะต้องเป็นผู้มีความรู้ และความสามรถในการทำให้ผู้อื่นมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ ตามที่ตนต้องการ
คุณสมบัติของวิทยากร 12 ประการ
๑. มีความมุ่งมั่น ๒. ต้องมีความรู้จริงในเรื่องที่จะถ่ายทอดอย่างชัดเจน ๓. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ๔. มีมนุษย์สัมพันธ์ดี ๕. ช่างสังเกต ๖. มีไหวพริบปฏิภาณ แก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าเก่ง
๗. มีความเชื่อมั่นในตนเอง ๘. มีการวางแผนที่ดี ๙. มีความจริงใจตั้งใจให้ความรู้ ๑๐. มีลีลาแบบฉบับเป็นของตัวเอง ๑๑. ทำให้ผู้เข้าสัมมนามีส่วนร่วมในการบรรยาย ๑๒. บุคลิกภาพการแต่งกายโดดเด่น ดูดีมีสง่า วางตัวเหมาะสมเป็นวิทยากร ประเด็นที่ 3 ภาคปฏิบัติ หัวข้อ วิทยากรตัวน้อย กล่าวโดยสรุปความ นักเรียนแกนนำและคุณครูแกนนำร่วมกันถ่ายทอดและวางแผนการนำความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดไปเสริมสร้างให้บุคคลที่มาฟังการบรรยายและเกิดองค์ความรู้และนำไปปฏิบัติได้จริง การวางกำหนดการและเพลงสันทนาการเพื่อให้ผู้ฟังไม่เกิดความเบื่อหน่าย
ผลสรุป การเข้าร่วมกิจกรรม และการนำความรู้ที่ได้จากกิจกรรมไปถ่ายถอดให้กับผู้ฟังตามศูนยืตาดีกา บรรยายความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการอย่างมีแบบแผน มีการนำเสนอได้ดี มีความมั่นใจ กล้าที่จะพูดคุยและถ่ายทอดองค์ความรู้นั่นๆ ได้อย่างเต็มที่และมีศักยภาพ

กิจกรรมประชุมจัดตั้งกลไกขับเคลื่อนงานสู่เป้าหมาย (ประชุมครั้งที่ 3/5)3 กรกฎาคม 2566
3
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการประชุม จัดตั้งกลไกขับเคลื่อนงานสู่เป้าหมาย (ประชุมครั้งที่ 2/5) ครั้งที่ 3 / 2566 เมื่อวันจันทร์ ที่ 3 กรกฏาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ มีขั้นตอนและกระบวนการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 1. ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม 2. ประชุมเรื่อง ดังต่อไปนี้ 1. งบประมาณจากการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา และงบประมาณคงเหลือ 2.พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายที่มีพฤติกรรมเชิงบวกต่อการไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดทุกชนิด 3.เรื่องการส่งเอกสารการเงินงวดที่ 1 การลงรายละเอียดกิจกรรมต่างๆ บนเว็บไซต์คนสร้างสุข และการประเมินเอกสารการเงิน 4.งบประมาณจากการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา งบประมาณคงเหลือ และงบประมาณการเบิกเงินงวดที่ 2 5. รูปแบบการจัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการปฏิเสธและการป้องกันสารเสพติดทุกชนิด โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลท่าแพ (ครั้งที่1/3) 6.เสนอรูปแบบการจัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านติดตามผลการสร้างภูมิคุ้มกันและทักษะป้องกัน ครั้งที่ 1 / 2 7. มอบหมายงานให้นักเรียนแกนนำทำกิจกรรมที่เร่งด่วน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต (Output) 1.รายชื่อกลุ่มเป้าหมาย 10 คน ประกอบด้วย 1.1. ครูผู้รับผิดชอบโครงการ 5 คน 1.2. นักเรียนแกนนำที่ผ่านการคัดเลือกจากนักเรียนในกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 5 คน 2.รายงานพฤติกรรมและการติดตามจำนวน 1 ฉบับ 3. รายงานการเงิน หรืองบประมาณที่เป็นปัจจุบัน จำนวน 1 ฉบับ 4. รายงานการประชุม ครั้งที่ 3 จำนวน 1 ฉบับ
ผลลัพธ์ (Outcome) 1. เกิดแผนการดำเนินกิจกรรมในขั้นตอนต่อไปอย่างชัดเจน โดย กำหนดจัดกิจกรรมหลังการประชุม ทั้งสิน 3 กิจกรรม ดังนี้ -กิจกรรมให้ความรู้และทักษะการปฏิเสธและการป้องกันสารเสพติดทุกชนิด โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลท่าแพ (ครั้งที่ 1/3) โดยเชิญวิทยากรที่มีความสามารถเสริมสร้างให้แกนนำเกิดความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะการปฏิเสธ การป้องกันสารเสพติดทุกชนิด ยังสามารถนำไปถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่นได้ สามารถฝึกการพูดในที่สาธารณะ หรือฝึกการเป็นวิทยากรอย่างมีคุณภาพได้ -การจัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านติดตามผลการสร้างภูมิคุ้มกันและทักษะป้องกัน ครั้งที่ 1 / 2 โดยให้เกิดผลในด้านดี อาทิเช่น ได้รู้จักนักเรียนกลุ่มเป้าหมายเป็นรายบุคคล ได้เห็นสภาพชีวติ ความเป็นอยู่ที่แท้จริงของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย สามารถช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้ตามสภาพความเป็นจริงเพื่อการป้องกันและแก้ไข และมีความสัมพันธ์อันที่ต่อกันระหว่างครูและผู้ปกครองในการช่วยกันเฝ้าระวังนักเรียนกลุ่มเป้าหมายในเรื่องของยาเสพติดและบุหรี่ - การมอบหมายงานให้นักเรียนแกนนำทำกิจกรรมที่เร่งด่วน ดังนี้
- การกระจายข้อมูลผลเสียต่อการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดให้กับกลุ่มเพื่อนนักเรียนในโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ ได้รับทราบและเกิดความรู้และร่วมด้วยช่วยกันป้องกันหรือสอดส่องดูแล
- การทำกิจกรรมฮาลาเกาะ ใช้ศาสนาในการสร้างความตระหนักถึงบาปบุญคุณโทษในเรื่องของยาเสพติด - นัดหมายการประชุมในครั้งถัดไป ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2566

คืนเงินเปิดบัญชี1 มิถุนายน 2566
1
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เบิกเงินและคืนเงิน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

การประเมินและติดตามความก้าวหน้าของโครงการ30 พฤษภาคม 2566
30
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้และจัดบอร์ดให้ความรู้ หัวข้อกิจกรรม TKY.goodbye ยาเสพติด (กิจกรรมสร้างความตระหนักครั้งที่ 3/6)29 พฤษภาคม 2566
29
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมสร้างความตระหนักและความเข้าใจอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกกลุ่มที่มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด (3/6) ห้วข้อกิจกรรม TKY.goodbye ยาเสพติด คุณธรรมจริยธรรมอิสลามกับแนวคิดด้านการใช้สารเสพติด เมื่อวันจันทร์ ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 คน โดยมีรายละเอียดกิจกรรม ดังนี้ 1. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม 2. ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวเปิดกิจกรรม 3. วิทยากรกล่าวแนะนำตัว
4. สันทนาการ โดยนักเรียนแกนนำ 5. อบรมให้ความรู้ จากวิทยากร ในหัวข้อ กิจกรรม TKY.goodbye ยาเสพติด คุณธรรมจริยธรรมอิสลามกับแนวคิดด้านการใช้สารเสพติด 6. จัดบอร์ดแสดงแนวคิด ในหัวข้อ กิจกรรม TKY.goodbye ยาเสพติด โดยมีการแบ่งกลุ่มนักเรียน สร้างสรรค์แสดงแนวคิด ซึ่งจัดทั้งหมด 3 องค์ความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรมต่างๆ ภายในโครงการ เพื่อนำไปเผยแพร่ให้กับเพื่อนนักเรียนแกนนำในโรงเรียน นำเสนอ และกล่าวชื่นชมผลงานซึ่งกันและกัน 7. ถอดบทเรียนสรุปกิจกรรม
8. ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวปิดกิจกรรม/กล่าวขอบคุณวิทยากร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.กิจกรรมสร้างความตระหนักและความเข้าใจอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกกลุ่มที่มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 3/6 หัวข้อกิจกรรม t k y goodbye ยาเสพติด คุณธรรมจริยธรรมอิสลามกับแนวคิดด้านการใช้สารเสพติด กำหนดจัดขึ้น เมื่อวันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม 2566 เวลา 9:00 น ถึง 16:30 น ณห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 51 คนประกอบด้วยโปรแกรมนำจำนวน 5 คนนักเรียนแกนนำหลักจำนวน 15 คนและนักเรียนแกนนำรองหรือกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน วิทยากรจำนวน 1 คน 2. วิทยากรกล่าวแนะนำตัว โดยมีใจความว่า ชื่อนายมูรีดัน ยาพระจันทร์ เป็นผู้นำองค์ความรู้ในเรื่องของศาสนาอิสลาม โดยเป็นผู้ที่มีความรู้ในการให้องค์ความรู้ต่างๆเกี่ยวกับศาสนาอิสลามในหลักคำสอนหลักการปฏิบัติและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเรื่องของหลักการในการห้ามเกี่ยวกับยาเสพติด 3. อบรมให้ความรู้จากวิทยากรในหัวข้อกิจกรรม tky goodby ยาเสพติดคุณธรรมจริยธรรมอิสลามกับแนวคิดด้านการใช้สารเสพติด โดยมีรายละเอียดการบรรยายและปฏิบัติ ใจความดังนี้   ท่านพี่น้องผู้ศรัทธาทั้งหลาย เรื่องยาเสพติดที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในสังคมทั่ว ๆ ไป กำลังคุกคามสังคมมุสลิมเราอย่างหนักและเป็นเรื่องด่วนที่ควรหาทางแก้ไขให้เด็ดขาดก่อนที่จะสายเกินไป เพราะเหยื่อของผลร้ายจากยาเสพติด คือ เยาวชนที่เป็นพลังสำคัญของสังคมเรานั่นเอง     ยาเสพติดประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประเภทออกฤทธิ์กดประสาท กระตุ้นประสาทหรือหลอนประสาท ล้วนแล้วแต่ให้โทษใหญ่หลวงกับผู้เสพ อาจเป็นอาชญากรโดยไม่รู้ตัว เมื่อติดก็จะหยุดเสพไม่ได้แต่จะต้องเพิ่มปริมาณของการเสพขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งร่างกายทรุดโทรมและสุดท้ายก็ตกอยู่ในสภาพตายผ่อนส่ง     ผู้ศรัทธาที่รัก เยาวชนมุสลิมที่ดีจะเป็นกำลังที่สำคัญในการที่จะพัฒนาสังคมมุสลิมให้มีเสถียรภาพและความมั่งคงโดดเด่นในสังคมโลก แต่เยาวชนที่ติดยาเสพติดได้เป็นผู้ทำลายเกียรติของอิสลามเสียเอง เพราะยาเสพติดเป็นตัวการบ่อนทำลายสิ่งสำคัญ 3 ประการด้วยกัน ซึ่งได้แก่ สติสัมปชัญญะ ชีวิต และทรัพย์สิน เยาวชนที่ติดยาเสพติดอาจไม่ประสบความสำเร็จในการศึกษา อนาคตมืดมน หากตกเป็นทาสยาเสพติดก็จะทำให้กลายเป็นคนเห็นผิดเป็นชอบ ประกอบอาชญากรรมเพื่อหาเงินมาซื้อยาเสพ เมื่อถูกจับกุมแผนการชีวิตก็ล้มเหลว     ในกลุ่มนักเรียนนั้นบุหรี่หาง่ายโดยทั่วๆ ไป และเป็นตัวการหนึ่งที่สำคัญที่จะพาพวกเขาไปสู่การเสพยาเสพติดประเภทร้ายแรงอื่นๆ เช่น ดมกาว กัญชา ยาบ้า และผงขาว เมื่อได้รับการชักชวนและสภาพทางจิตใจทีขาดความอบอุ่นทางครอบครัว ลูกหลานจำนวนไม่น้อยของเราจึงเกิดความรู้สึกอยากทดลองและตกเป็นทาสของยาเสพติดในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตามความหวังที่จะพึ่งศาสนาในการแก้ปัญหายาเสพติดยังคงมีอยู่ แต่ทุกฝ่ายจะต้องให้ความร่วมมือกันอย่างจริงจังดังต่อไปนี้     1. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับมัสยิดอันเป็นศูนย์กลางการปกครองหมู่บ้านมุสลิม จะต้องใช้หลักการศาสนาโดยตรงที่สั่งห้ามเรื่องยาเสพติดออกประกาศแก่สัปปุรุษทุกคน     2. รัฐจะต้องส่งเจ้าหน้าที่ปราบปรามและแพทย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับผลร้ายและวิธีการป้องกัน รวมถึงการออกกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดของคดียาเสพติดอย่างจริงจังและจริงใจ     3. ครูสอนศาสนาจะต้องปลูกฝังอีหม่ามที่เข้มแข็งให้กับเยาวชนและบุคคลทั่วไป ให้มีสภาพจิตใจที่พร้อมสำหรับการต่อสู้กับวิถีชีวิตและค่านิยมที่หลั่งไหลมาจากตะวันตก     4. ครูสามัญรวมทั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านจะต้องเป็นตัวอย่างในการรณรงค์ต่อต้านยาเสพติดที่แพร่ระบาดในสังคมเรา     5. สถาบันครอบครัวจะต้องมีบทบาทในการสังเกต และสามารถกวดขันพฤติกรรมเด็กและให้ความสำคัญในการดูแลอบรมลูกหลานตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นบิดามารดา เมื่อไม่สนใจต่อปัญหาของพวกเขาไม่ปลูกฝังศีลธรรมและจรรยาก็จะเกิดช่องว่างระหว่างเด็กกับความอบอุ่นทางครอบครัว ในที่สุดเยาวชนที่ควรจะเป็นคนดีของสังคมหันไปพึ่งยาเสพติดและสร้างจุดบอดขึ้นในสังคมมุสลิม     พี่น้องที่รัก อิสลามห้ามการดื่มเหล้าและยาเสพติดต่างๆ ก็เพราะมันเป็นสิ่งโสมม เผาผลาญประโยชน์และคุณค่าอันมากมายที่ชีวิตควรได้รับเพราะการเสพย์สิ่งเสพติดเป็นการทำลายสุขภาพ ทำลายสังคม ทำลายเศรษฐกิจ ซ้ำยังเป็นผลร้ายในการปฏิบัติศาสนกิจอีกด้วย เพราะเป็นที่แน่นอนชัดเจนว่าการประกอบศาสนกิจที่ถูกต้องทางศาสนาล้วนมีแรงผลักดันจากสติปัญญาที่รอบคอบและร่างกายที่แข็งแรง ด้วยเหตุนี้ท่านรอซู้ลลุลลอฮฺ จึงแจ้งว่า     “มุมินที่แข็งแรงนั้นเป็นที่รักของอัลลอฮฺยิ่งกว่ามุมินที่อ่อนแอ”     อิสลามมิเพียงแต่จะประกาศอุดมการณ์สิทธิแห่งของการดำรงชีวิตนี้เท่านั้น หากแต่ยังประกาศพร้อมกันนั้นว่า จำเป็นที่จะต้องเอาใจใส่กับสุขภาพพลานามัย ขจัดปัดเป่าโรคภัยและโรคระบาดทั้งหลาย ให้พ้นจากคนในสังคม ดังเหตุการณ์ของเรื่องการระบาดของโรคอหิวาในสมัยของท่านคอลีฟะห์อุมัร ท่านได้ห้ามกองทัพมิให้ไปยังดินแดนที่มีโรคระบาดทั้งนี้เพื่อปฏิบัติตามพระวจนะของท่านรอซู้ล ที่ว่า     “หากเกิดโรคอหิวาระบาด ณ ดินแดนใดและท่านไม่ได้อยู่ในดินแดนนั้น ท่านก็จงอย่าเข้าไป แต่ถ้าหากมันเกิดขึ้นในดินแดนของท่าน ท่านก็จงอย่าออกไป”     จากวจนะดังกล่าวศอฮาบะห์ได้ชี้ให้เห็นว่า มุสลิมจะต้องมีการปกป้องสังคมให้พ้นไปจากความเสียหายที่จะเข้ามาบ่อนทำลายสังคม เช่นเดียวกันกับพิษร้ายของยาเสพติดต่าง ๆ ที่กำลังคุกคามสังคมของเรา ซึ่งเราควรจะร่วมมือกันต่อต้านเพื่อมิให้ลูกหลานของเราต้องถูกยาเสพติดครอบงำ และจะต้องพัฒนาบุคลิกภาพอันดีงามให้กับพวกเขาเพื่อจะใช้สร้างเกียรติภูมิและเป็นกำลังเสริมที่สำคัญของอิสลามและสังคมมุสลิมในปัจจุบันให้มีความมั่นคงเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ ตราบนานเท่านาน 4. ดำเนินการจัดบอร์ด โดยสร้างสรรค์ร่วมกันระหว่างนักเรียนแกนนำและนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้นักเรียนได้เกิดการสร้างองค์ความรู้และทักษะการป้องกันเกี่ยวกับยาเสพติดด้วยตนเอง นักเรียนแกนนำและนักเรียนกลุ่มเป้าหมายและผู้ร่วมทำกิจกรรมทั้งหมด 51 คนเกิดความภาคภูมิใจ เกิดความตระหนักรู้ในการปกป้องตนเองและปกป้องผู้อื่นในสังคมไม่ให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด

กิจกรรมอบรมให้ความรู้และวาดภาพแสดงออกถึงโทษและพิษภัยของยาเสพติด ภายใต้หัวข้อ TKY GOODBYE ยาเสพติด (กิจกรรมที่ 2/6)26 พฤษภาคม 2566
26
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมสร้างความตระหนักและความเข้าใจอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกกลุ่มที่มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด (2/6) ห้วข้อกิจกรรม TKY.goodbye ยาเสพติด เมื่อวันศุกร์ ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 50 คน โดยมีรายละเอียดกิจกรรม ดังนี้ 1. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม 2. ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวเปิดกิจกรรม 3. วิทยากรกล่าวแนะนำตัว
4. สันทนาการ โดยนักเรียนแกนนำ 5. อบรมให้ความรู้ จากวิทยากร ในหัวข้อ กิจกรรม TKY.goodbye ยาเสพติด
6. วาดภาพแสดงแนวคิด ในหัวข้อ กิจกรรม TKY.goodbye ยาเสพติด โดยมีการแบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 10 กลุ่มสร้างสรรค์ภาพวาดแสดงแนวความคิดในหัวข้อกิจกรรม จากนั้นนำมาแสดงผลงานบนบอร์ดกิจกรรมและโปรโมทภาพวาดของตนเอง โดยสมาชิกที่ทำกิจกรรมสามารถโหวตและให้คะแนนสำหรับภาพที่แสดงแนวความคิดได้อย่างเยี่ยมยอดและสวยงามที่สุด 7. ถอดบทเรียนสรุปกิจกรรม
8. ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวปิดกิจกรรม/กล่าวขอบคุณวิทยากร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. กิจกรรมสร้างความตระหนักและความเข้าใจอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทุกกลุ่มที่มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด (2/6) ห้วข้อกิจกรรม TKY.goodbye ยาเสพติด
    กำหนดจัดขึ้น เมื่อวันศุกร์ ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 51 คน ประกอบด้วย ครูแกนนำ จำนวน 5 คน นักเรียนแกนนำหลัก จำนวน 15 คน และ นักเรียนแกนนำรองหรือกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน วิทยากร 1 คน
  2. วิทยากรกล่าวแนะนำตัว โดยมีใจความว่า ซอร์ฟีเย๊าะ สองเมือง หัวหน้ากลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติดโรงพยาบาลควนโดน
    ประวัติการศึกษา พ.ศ. 2537 ประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์ การพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้น 2 จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีตรัง พ.ศ. 2549 พยาบาลศาสตร์ จากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสงขลา พ.ศ. 2551 ประกาศนียบัตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต จากโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ พ.ศ. 2556 พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (ปริญญาโท) จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
    ประวัติการทำงาน พ.ศ. 2537-2538 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอควนโดน
    พ.ศ. 2538-2540 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพควนโดน
    พ.ศ. 2540-2565 โรงพยาบาลควนโดน
  3. อบรมให้ความรู้ จากวิทยากร ในหัวข้อ กิจกรรม TKY.goodbye ยาเสพติด โดยมีรายละเอียดการบรรยายและปฏิบัติ ใจความว่า
    -จังหวัดสตูล เป็นจังหวัดที่มีการลักลอบนำยาเสพติดออกมากที่สุด ในพื้นที่ อำเภอเมือง อำเภอละงู และอำเภอท่าแพ ซึ่งเป็นการขนส่งทางเรือสู่ทะเลอันดามัน โดยเรือ ขนาดเล็กและขนาดกลาง

- การแยกประเภทของยาเสพติดให้โทษ ทางกฏหมาย แบ่งเป็น 5 ประเภทตามพรบ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522
ประเภท1 เช่น เฮโรอีน, แอมเฟตามีน (ยาม้า) และอนุพันธุ์,เมทแอมเฟตามีน(ยาบ้า), เอ็มดีเอ็มเอ(ยาอี), เอ็มดีเอ (ยาเลิฟ) และ แอล เอส ดี เป็นต้น ประเภท2 เช่นฝิ่น, โคเคน, มอร์ฟีน,เมทาโดนและโคเดอีน เป็นต้น
ประเภท3 เป็นยาสำเร็จรูปที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายตามร้านขายยาได้ เช่น ยาแก้ไอที่มีโคเดอีน,ยาแก้ท้องเสียที่มีไดเฟนอกซีน, ยาระงับปวดทั้งกินและ ฉีดที่มีสารกลุ่มฝิ่นผสมอยู่ เช่น มอร์ฟีนฉีด เป็นต้น ประเภท 4 เป็นน้ำยาเคมีที่นำมาใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 และ 2 ได้แก่ น้ำยาเคมีอาเซติดแอนไฮไดรด์, อาเซติลคลอไรด์ใช้เปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีน, สารเออร์โกเมทรีนและคลอซูโดอีเฟดรีน และสารตัวอื่นๆที่นำมาผลิตยาอีและยาบ้า ประเภท 5 ได้แก่ พืชกัญชา,พืชกระท่อม,พืชฝิ่น และพืชเห็ดขี้ควาย เป็นต้น - ยาบ้า : กลุ่มยากระตุ้นประสาท เมื่อเสพ ครื้นเครง กระวนกระวาย แน่นหน้าอก, ใจสั่น,ปวดหัว,ม่านตาขยาย, หัวใจวาย หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง ไข้ขึ้น อาการประสาทหลอน หวาดกลัว หลงผิด เมื่อไม่ได้เสพ - จะหงุดหงิด กระสับกระส่ายง่วงนอน ซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย - กระท่อม : กลุ่มยากระตุ้นประสาท เมื่อเสพ ครื้นเครง กระวนกระวาย แน่นหน้าอก, ใจสั่น,ปวดหัว,ม่านตาขยาย, หัวใจวาย หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง ไข้ขึ้น อาการประสาทหลอน หวาดกลัว หลงผิด เมื่อไม่ได้เสพ จะหงุดหงิด กระสับกระส่ายง่วงนอน ซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย - กัญชา : สารออกฤทธิ์หลายอย่าง เมื่อเสพ ปริมาณน้อย กระตุ้นประสาท ร่าเริง ปริมาณมาก เสพมากขึ้นจะซึม หลับ เสพขนาดสูงจะมีอาการประสาทหลอน กดการหายใจเสียชีวิตได้ อาการพิษเฉียบพลันจากการสูบกัญชา
ตาแดง ใจสั่น แน่นหน้าอก กระวนกระวาย หวาดกลัว อาการพิษเรื้อรัง การเสพในระยะเวลานานเกิดอาการซึมเฉย - โรคจิตที่ถาวรได้ -บุหรี่ : กลุ่มยากระตุ้นประสาท เมื่อเสพ ครื้นเครง กระวนกระวาย แน่นหน้าอก ใจสั่น ปวดหัวม่านตาขยาย, หัวใจเต้นเร็ม หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง ไข้ขึ้น อาการประสาทหลอน หวาดกลัว หลงผิด เมื่อไม่ได้เสพ - จะหงุดหงิด กระสับกระส่ายง่วงนอน ซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย 4. วิทยากรร่วมเสนอแนวคิด แนวทางการป้องกัน   1. เกี่ยวกับตนเอง   - ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยขอยาเสพติด มีความภูมิใจโดยนับถือตนเอง สำนึกในบทบาทหน้าที่ของตน ทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส เลือกคบเพื่อนที่ดี ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ รู้จักแก้ไขปัญหาชีวิตไปในทางที่ถูกปรึกษาผู้ใหญ่เมื่อมีปัญหา   2. เกี่ยวกับครอบครัว
  - สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองในการเป็นสมาชิกของครอบครัว 5. ถอดบทเรียนสรุปกิจกรรม ซึ่งมีข้อสรุปหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมของสมาชิกทั้งหมด 50 คน ถอดบทเรียนมีใจความว่า ยาเสพติดทุกชนิดเป็นพิษต่อร่างกาย คนเสพหรือคนติดยาไม่ใช่ผู้ต้องหาแต่เป็นผู้ป่วย ดังนั้นแกนนำจะต้องมีความเห็นอกเห็นใจ เข้าใจ ในเรื่องยาเสพติด ควรนำข้อมูลที่ได้หลังการอบรมไปเผยแพร่ให้กับเยาวชนรุ่นต่อต่อไป เผยแพร่ให้กับคนในครอบครัวและสังคม เพื่อสร้างสังคมที่เข้มแข็ง โดยปราศจากยาเสพติด

สำรวจข้อมูลทางสถิติก่อน - หลัง ด้านพฤติกรรมการใช้สารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดสารเสพติด (1/2)23 พฤษภาคม 2566
23
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม 1. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม 2. ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวถึง วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มี 1 ข้อ คือ พัฒนากลไกการติดตามดูแลช่วยเหลือกลุ่มเด็กและเยาวชนที่มีปัญหายาเสพติด 3. เชิญวิทยากร 2 ท่าน อบรมให้ความรู้แกนนำและร่วมออกแบบแบบฟอร์มการสำรวจพฤติกรรมการใช้สารเสพติด เพื่อให้ทราบข้อมูล ได้แก่ ชนิด ความถี่ รายจ่าย แรงจูงใจ มีความต้องการลด ละ เลิก หรือไม่ และมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการใช้สารแสพติดทุกชนิดหรือไม่ 4. ทีมแกนนำสร้างแบบฟอร์ม ในการเก็บข้อมูล ก่อน-หลัง ข้อมูลทางสถิติก่อน - หลัง ด้านพฤติกรรมการใช้สารเสพติดและกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดสารเสพติด 5. หากลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสติดสารเสพติดที่มีความสมัครใจเข้าร่วมการทำกิจกรรม และทำแบบสอบถาม เน้นการรักษาความลับ ไม่ต้องลงชื่อในแบบสอบถามและให้ใช้รหัสแทนตัวบุคคลแทน มีแต่ครูเท่านั้นที่ทราบที่มาข้อมูล 6. แกนนำลงเก็บข้อมูล โดยแบ่งให้แกนนำ 1 คน เก็บข้อมูลจากเพื่อน 10 คน รวมได้แบบสอบถาม 50 ชุด /รอบ 7. มอบหมายงานให้นักเรียนแกนนำทำกิจกรรมเก็บข้อมูลเร่งด่วน 8. ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวขอบคุณวิทยกรและปิดกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
กิจกรรมประชุมจัดตั้งกลไกขับเคลื่อนงานสู่เป้าหมาย (ประชุมครั้งที่ 2/5)17 พฤษภาคม 2566
17
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการประชุม จัดตั้งกลไกขับเคลื่อนงานสู่เป้าหมาย (ประชุมครั้งที่ 2/5) ครั้งที่ 2 / ๒๕๖๖ เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์ มีขั้นตอนและกระบวนการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 1. ลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม 2. ประชุมเรื่อง ดังต่อไปนี้ - งบประมาณจากการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา และงบประมาณคงเหลือ - การจัดกิจกรรมอบรมสร้างข้อมูลทางสถิติ เกี่ยวกับนักเรียนที่มีโอกาสเสี่ยงเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด - เสนอรายชื่อนักเรียนแกนนำเพิ่มเติม 3. พักรับประทานอาหารว่าง - เสนอรูปแบบการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ตามโครงการในกิจกรรมสร้างความตระหนักและความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง ครั้งที่ 2/5 - มอบหมายงานให้นักเรียนแกนนำทำกิจกรรมที่เร่งด่วน 4. นัดหมายการประชุมครั้งถัดไป 5. ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวปิดการประชุม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต (Output) 1.รายชื่อกลุ่มเป้าหมาย 10 คน ประกอบด้วย 1.1. ครูผู้รับผิดชอบโครงการ 5 คน 1.2. นักเรียนแกนนำที่ผ่านการคัดเลือกจากนักเรียนในกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 5 คน
2. รายชื่อกลุ่มแกนนำรองที่เป็นแกนนำนักเรียน จำนวน 10 คน 3. รายงานการเงิน หรืองบประมาณที่เป็นปัจจุบัน จำนวน 1 ฉบับ 4. รายงานการประชุม ครั้งที่ 2 จำนวน 1 ฉบับ ผลลัพธ์ (Outcome) 1. เกิดแผนการดำเนินกิจกรรมในขั้นตอนต่อไป อย่างชัดเจน โดย กำหนดจัดกิจกรรมหลังการประชุม ทั้งสิน 3 กิจกรรม ดังนี้ 1.1 กิจกรรมสำรวจข้อมูลทางสถิติก่อน-หลัง ด้านพฤติกรรมการใช้สารเสพติดและกลุ่มเลี่ยงที่มีโอกาสติดสารเสพติด 1.2 กิจกรรมสร้างความตระหนักและความเข้าใจอย่างต่อเนื่อง กิจกรรมที่ 2/6 1.3 การเยี่ยมบ้านติดตามผลการสร้างภูมิคุ้มกันและทักษะป้องกัน 2. รายชื่อกลุ่มแกนนำรองที่เป็นแกนนำนักเรียน จำนวน 10 คน ดังนี้ 2.1 นายฮุสนี ดำท่าคลอง 2.2 นายฮาซาน หมีพราน 2.3 นางสาวฮาฝีเซ๊าะ ลำโป 2.4 นางสาวดิศรินทร์ เตาวโต 2.5 นางสาวอุลยา หลงเจ๊ะฮา 2.6 นายทิวากร เดียสะ 2.7 นายซัยฟรุดีน อาหน่าย 2.8 นายมูฮัมหมัดอาริฟ เตาวโต 2.9 นายกอซีย์ แซะอาหลี 2.10 นางสาวซารีนา ศรียาน 3. รายงานการเงิน หรืองบประมาณที่เป็นปัจจุบัน จำนวน 1 ฉบับ โดยทำการเบริกเงินจากบัญชี ทั้งหมด 10,000 บาท คงเหลือตามบัญชี 40,100 บาท
4. รายงานการประชุม ครั้งที่ 2 จำนวน 1 ฉบับ โดยผู้รับผิดชอบในการเขียนรายงาน จำนวน 1 คน คือ นางสาวมณีดาว เอี่ยมบุตร

จัดทำไวนิลบันไดผลลัพธ์ของโครงการ1 พฤษภาคม 2566
1
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำป้ายไวนิลบันไดผลลัพธ์ของโครงการเสริมสร้างแกนนำเยาวชนต่อต้านยาเสพติด โดยมีการสั่งจากร้านค้าที่รับทำป้ายไวนิล และจัดส่งให้กับผู้รับผิดชอบโครงการตามวันและเวลาที่กำหนด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต (Output)
-เกิดป้ายกำหนดทิศทางการดำเนินโครงการตามบันไดผลลัพธ์ จำนวน 1 ป้าย ผลลัพธ์ (Outcome) -ผู้ดำเนินโครงการมีการดำเนินโครงการตามกรอบทิศทางของบันไดผลลัพธ์ที่จัดทำในป้ายไวนิล โดยคำนึงถึงกระบวนการ การจัดทำกิจกรรม และการเก็บรวบรวมข้อมูลตามบันไดผลลัพธ์

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการ28 เมษายน 2566
28
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ร่วมนำเสนอความก้าวหน้าของโครงการ โดยผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้นำเสนอ
โดยมีขั้นตอนของกิจกรรมดังต่อไปนี้ 1.ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม 2.ร่วมรับฟังและรอการนำเสนอโครงการ 3.สอบถามปัญหาวิธีการแก้ปัญหาและรับฟังประสบการณ์ของโครงการอื่นๆ 4.ดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ให้เป็นปัจจุบันในเว็บไซต์คนสร้างสุข 5.เพิ่มเติมในรายละเอียดของการจัดทำรายงานการเงินและการสอบถามปัญหาในการจัดทำรายงานการเงินรวมถึงเอกสารที่สำคัญในการจัดทำรายงาน 6.ร่วมทราบกระบวนการนิเทศติดตามของเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงของโครงการที่จะลงพื้นที่มายังโครงการในการนำเสนอความก้าวหน้า

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 3 คน คือผู้รับผิดชอบโครงการ 1 คนและนักเรียนแกนนำจำนวน 2 คน 2 . เว็บไซต์คนสร้างสุขตามโครงการเสริมสร้างแกนนำเยาวชนต่อต้านยาเสพติดมีการจัดทำเป็นปัจจุบันโดยมีผู้จัดทำคือนักเรียนแกนนำจำนวน 2 คน 3.  มีแบบฟอร์มการจัดทำรายงานการเงินที่เป็นไปในทางเดียวกันจำนวน 1 ฉบับ 4.  เกิดกระบวนการการนิเทศติดตามของพี่เลี้ยงที่จะลงพื้นที่มายังโครงการมีหัวข้อการนำเสนอดังนี้
    4.1 รายงานความก้าวหน้า 1 ฉบับ     4.2 รายงานการเงินการเบิกจ่ายตามบัญชีและรายงานการเงินการเบิกจ่ายตามโครงการ     4.3 รายชื่อของนักเรียนที่มีปัญหาหรือมีพฤติกรรมเสี่ยงในเรื่องของการเกี่ยวข้องยาเสพติด     4.4 การจัดชมรมหรือกลุ่มแกนนำที่มีการดำเนินงานตามโครงการ จำนวน  1 ชมรม

กิจกรรมอบรมให้ความรู้และเสริมสร้างความสามัคคีด้วยการแข่งขันกีฬา (กิจกรรมที่ 1/6)1 มีนาคม 2566
1
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ลงเบียนเข้าร่วมกิจกรรมนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน
  2. ผู้อำนวยการโรงเรียนตัรกี้ยะตุลอุมมะห์กล่าวเปิดกิจกรรม และกล่าวต้อนรับวิทยากร และนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม
  3. นันทนาการ ละลายพฤติกรรม โดยกลุ่มนักเรียนแกนนำหลัก จำนวน 5 คน
  4. อบรมให้ความรู้ในหัวข้อ "เสริมสร้างแกนนำเยาวชน รู้เท่าทันภัยของยาเสพติด" โดยวิทยากรที่มีความรู้และความชำนาญ คุณ นิศาสีนี แวเต๊ะ ตำแหน่งนักจิตวิทยาชำนาญการ
  5. กิจกรรมแข่งขันกีฬาเสริมสร้างความสามัคคี และเกิดการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  6. มอบรางวัล/ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวปิดกิจกรรม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต (Output)

  1. รายชื่อนักเรียนแกนนำหลัก จำนวน 5 คน

  2. รายชื่อนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีพฤติกรรมขาดทักษะการป้องกันสารเสพติด จำนวน 40 คน

  3. รายชื่อนักเรียนกลุ่มที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในการยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด จำนวน 5 คน

ผลลัพธ์ (Outcome)

  1. นักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องถึงวิธีการป้องกันยาเสพติดจำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 90

  2. นักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้รับการสร้างทักษะชีวิตเพื่อป้องกันยาเสพติด จำนวน 45 คน คิดเป็นร้อยละ 90

  3. นักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้รับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 100

  4. นักเรียนกลุ่มเป้าหมายได้ทำกิจกรรมกีฬา จำนวน 50 คน คิดเป็นร้อยละ 100

จดทำตรายางชื่อโครงการและตรายางจ่ายเงินแล้ว9 กุมภาพันธ์ 2566
9
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สั่งจัดทำตรายางชื่อโครงการ 1 อัน สั่งจัดทำตรายางจ่ายเงินแล้ว 1 อัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตรายางชื่อโครงการ 1 อัน ตรายางจ่ายเงินแล้ว 1 อัน

จัดทำไวนิลโครงการ และไวนิลสถานที่นี้ปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์9 กุมภาพันธ์ 2566
9
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-สั่งจัดทำจัดซื้อตามร้านค้าในจังหวัดสตูล

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต (Output) 1.ไวนิลชื่อโครงการ 1 ผืน 2.ไวนิลรณรงค์เรื่องบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลลัพธ์ (Outcome) ที่เกิดขึ้นจริง 1. เกิดการประชาสัมพันธ์ในเรื่องของการดำเนินโครงการเสริมสร้างแกนนำเยาวชนต่อต้านยาเสพติดภายในโรงเรียนตัรกี้ตุลอุมมะห์ ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ทำให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักเรียนในโรงเรียนที่อาศัยในพื้นที่ตำบลท่าแพทราบถึงกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นจำนวน 158 คนคิดเป็นร้อยละ 100

กิจกรรมประชุมจัดตั้งกลไกขับเคลื่อนงานสู่เป้าหมาย (ประชุมครั้งที่ 1/5)9 กุมภาพันธ์ 2566
9
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.คัดเลือกแกนนำหลักจากกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 4 คน
2.ผู้ดำเนินกิจกรรมโดยมาจากบุคลากรของโรงเรียน จำนวนทั้งสิ้น 6 คน ประกอบด้วย 1. ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน 2. ครูผู้รับผิดชอบโครงการ 5 คน 3.กำหนดบทบาทหน้าที่ของแกนนำหลักทั้ง 10 คน 4.กำหนดและร่วมสร้างกติกากลุ่มแกนนำ ร่วมกัน จำนวน 5 ข้อ 5.จัดทำปฏิทินการทำงาน 1 ฉบับ
6.วางแผนการดำเนินการทำงานในกิจกรรมต่างๆ ที่จะจัดขึ้นภายหลังการประชุม 7.กำหนดการติดตามผล พร้อมรวบรวมผลลัพธ์ของกลุ่ม 8.กำหนดจัดประชุมทุก 2 เดือนครั้ง รวม 5 ครั้ง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เกิดกลุ่มเป้าหมาย 10 คน ประกอบด้วย

1.1. ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน

1.2. ครูผู้รับผิดชอบโครงการ 5 คน

1.3. นักเรียนแกนนำที่ผ่านการคัดเลือกจากนักเรียนในกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 4 คน

2.บทบาทหน้าที่ของแกนนำหลักทั้ง 10 คน ดังนี้

2.1. นายอดุลย์ เลิศอริยะพงษ์กุล ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน หน้าที่ รับผิดชอบดำเนินการประชุม

2.2. ครูผู้รับผิดชอบ

  • นางสาวมณีดาว เอี่ยมบุตร ผู้รับผิดชอบโครงการ หน้าที่รับผิดชอบติดตามผลการดำเนินกิจกรรมและรายงานการเงินของกิจกรรมที่ 1 ,2 และ 5

  • นายอาริฟ มาราสา คณะกรรมการ หน้าที่รับผิดชอบติดตามผลการดำเนินกิจกรรมและรายงานการเงินของกิจกรรมที่ 3 และ 7

  • นายอัซรอน หลีเส็น คณะกรรมการ หน้าที่รับผิดชอบติดตามผลการดำเนินกิจกรรมและรายงานการเงินของกิจกรรมที่ 3 และ 6

  • นางสาวฟารีดา หลงสะเตีย คณะกรรมการ หน้าที่รับผิดชอบติดตามผลการดำเนินกิจกรรมและรายงานการเงินของกิจกรรมที่ 2 และ 5

  • นางสาวชารีตา บายศรี เจ้าหน้าที่บัญชี หน้าที่รับผิดชอบติดตามผลการดำเนินกิจกรรมและรายงานการเงินของกิจกรรมที่ 2 และ 5

2.3. นักเรียนแกนนำหลัก 5 คน

  • นางสาวกิตติมา มาลียัน

  • นางสาวมารีน่า สมจริง

  • นางสาวณูรีญา สุวาหลำ

  • นายชาฟารี ใจสมุทร

  • นายเฟาซาน ลิงาล่าห์

    หน้าที่ รับผิดชอบติดตามผลการดำเนินกิจกรรมและรายงานการเงินของกิจกรรมที่ 3 และ 4

3.กำหนดและร่วมสร้างกติกากลุ่มแกนนำ ร่วมกัน จำนวน 5 ข้อ ดังนี้

3.1 ให้ความร่วมมือและเข้าร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรมของโครงการ ขาดได้อย่างน้อยไม่เกิน 2 กิจกรรม

3.2 ร่วมแสดงความคิดเห็นและให้เกียรติรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

3.3 ทำงานเป็นทีม

3.4 ตรงต่อเวลานัดหมาย

3.5 ปฏิบัติตามบรรทัดฐานกลุ่ม/กติการ่วมกัน

  1. เกิดแผนการทำงาน ปฏิทินการวางแผนกิจกรรม 1 ฉบับ

  2. มีการกำหนดกิจกรรมที่จัดภายหลังการประชุม 1 กิจกรรม

กิจกรรมปฐมนิเทศโครงการย่อย28 มกราคม 2566
28
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ลงทะเบียน 2.รับฟังรายละเอียดการดำเนินโครงการ 3.ดำเนินการจัดทำรายงานผลในเว็บไซต์ คนสร้างสุข 4.นัดหมายกับพี่เลี้ยงในการจัดกิจกรรมในขั้นแรก

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต (Output) 1. รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 2 คน   นางสาวมณีดาว เอี่ยมบุตร ผู้รับผิดชอบโครงการ   นายรอซี สำมะเนี๊ยะ ผู้มีความสามารถรายงานโครงการบนเว็บไซต์คนสร้างสุข
ผลลัพธ์ (Outcome) 1. กลุ่มเป้าหมายเกิดความรู้ ความเข้าใจในการจัดกิจกรรม การดำเนินโครงการในกิจกรรมต่างๆ และการรายงานผลการดำเนินโครงการบนเว็บไซต์คนสร้างสุข จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 100

พิธีลงนามโครงการเสริมสร้างแกนนำเยาวชนต่อต้านยาเสพติด แผนงานร่วมทุน สสส.กับ อบจสตูล12 มกราคม 2566
12
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย maneedow_23
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-ลงทะเบียน -รับฟังรายละเอียดของกิจกรรมและโครงการ -ลงนาม 2 คน ในแต่ละโครงการ -ถ่ายรูปร่วมกับนายกอบจ.จังหวัดสตูลเพื่อเป็นหลักฐาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต (Output)
-กลุ่มเป้าหมายลงนาม จำนวน 2 คน ผลลัพธ์ (Outcome)
-เกิดความตระหนักและความตั้งใจในการที่จะดำเนินกิจกรรมตามโครงการเสริมสร้างแกนนำเยาวชนต่อต้านยาเสพติด ให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ และเกิดผลสำเร็จให้ได้มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 100