directions_run

ชุมชนมีส่วนร่วมสร้างแกนนำป้องกันยาเสพติด หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งเกาะปาบ ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
กิจกรรมที่ 10 สนับสนุนกิจกรรมโครงการ 5 ม.ค. 2566

 

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 1 เวทีชี้แจงรายละเอียดโครงการ 24 ก.พ. 2566

 

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 9 วัสดุอุปกรณ์ ในการจัดกิจกรรม 24 ก.พ. 2566

 

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งคณะทำงานจัดตั้งคณะทำงานตามโครงการ 1 มี.ค. 2566

 

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 3 เวทีประชาคม 1 เม.ย. 2566

 

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมบำบัด ครอบครัวบำบัด ด้านการป้องกันยาเสพติดในครอบครัว จำนวน 2 รุ่น 19 เม.ย. 2566

 

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมประชุมกลุ่มเสี่ยง 19 เม.ย. 2566

 

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมส่งเสริม คุณภาพชีวิต 24 พ.ค. 2566

 

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 7 ติดตามผู้ผ่านการบำบัด 24 พ.ค. 2566

 

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 8 เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน 24 พ.ค. 2566

 

 

 

 

 

กิจกรรม เบิกคืนเงินค่าเปิดบัญชี 27 ก.ย. 2566

 

 

 

 

 

ปิดบัญชีธนาคาร ถอนดอกเบี้ยคืน 6 พ.ย. 2566 6 พ.ย. 2566

 

-ปิดปัญชีธนาคารกรุงไทย - ถอนดอกเบี้ยคืน

 

ทำเอกสารคืนเงินดอกเบี้ย สรุปบทเรียนกิจกรรมใที่ได้ทำโครงการชุมชนมีส่วนร่วมสร้างแกนนำป้องกันยาเสพติด หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งเกาะปาบ ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล วัตถุประสงค์
เกิดการมีส่วนร่วมในหมู่บ้าน สมาชิกในชุมชน ที่เข้มแข็งเพื่อสร้างเครือข่ายแบบบูรณาการในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ในพื้นที่ บ้านทุ่งเกาะปาบ ม.6 ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล

บทเรียนที่ได้รับจากการทำงาน
1. คน : ในการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย “คน” คือปัจจัยสำคัญที่สุด เพื่อให้ทำงานได้ เต็มศักยภาพจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาพร้อมกันทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย (Physical) จิตใจ (Mental) จิตวิญญาณ (Spiritual) และวิชาการ (Academy)
2. คิดนอกกรอบ : เป็นปัจจัยที่ขจัดอุปสรรคของการทำงาน ด้วยข้อขัดข้องที่ว่า ทำ ไม่ได้-ยาก-เบื่อ-เหนื่อย เกิดนวัตกรรมในการแก้ปัญหา เช่น การออกไปคัดกรอง/ให้ความรู้ และดูแลผู้ป่วยเพื่อช่วยในการเลิกใช้สารเสพติดในชุมชน ชุมชนสามารถควบคุม กำกับ ดูแลผู้ป่วยที่ที่บ้านได้อย่าง ปลอดภัย
3. การสร้างเครือข่ายคนทำงาน : ด้วยมิตรภาพในฐานะครอบครัวเดียวกัน การทำงาน ฉันท์พี่น้อง ทำให้คนทำงานรู้สึกถึงความเป็นพรรคพวกเดียวกัน ไม่เดียวดาย อยู่ในพื้นที่ยาก ลำบาก เสี่ยงภัยตามลำพัง
4. การมีส่วนร่วม : สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ ร่วมกันบริหารงาน บริหารงบประมาณ อย่างโปร่งใส ไม่ปิดบัง ทำให้เกิดความเป็นเจ้าของงานร่วมกัน
5. การเปิดใจ :ยอมรับการประเมินจากคนภายนอก ทั้งสิ่งที่ทำได้สำเร็จและสิ่งที่ล้มเหลว เป็นการสร้างโอกาสในการพัฒนา เปลี่ยนแปลงการทำงานสู่การบรรลุเป้าหมาย การทำงานอย่างมีทิศทาง มุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน มองข้ามข้อจำกัดโดยมองหาศักยภาพ ของเครือข่าย กล้าติดสินใจทำในสิ่งใหม่ เพื่อผลลัพธ์ที่มุ่งหวัง ด้วยความร่วมมือร่วมใจ สุดท้าย ได้เครือข่ายที่เข้มแข็ง เป็นทีมทำงานที่ผสมผสานศักยภาพ ทรัพยากร แบ่งปันข้อมูลอย่างแท้จริง วิธีการทำงานเป็นขั้นตอนมีหลักวิชาการรองรับ ทบทวนประเมินผล เพื่อปรับปรุงการทำงาน ทั้งจากผู้ปฏิบัติและเสียงสะท้อนจากภายนอก
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1. ผู้บริหาร ให้ความสำคัญกับงานยาเสพติด
2. คนทำงาน ต้องมีความมุ่งมั่น ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก
3. การวางแผน บริหารทรัพยากรอย่างคุ้มค่าคุ้มทุน วางระบบการทำงานสู่ความยั่งยืน
4. มีผู้ประสานงานตั้งแต่ระดับนโยบาย ระดับจังหวัด ระดับพื้นที่อย่างชัดเจน
5. การปรับเปลี่ยนทัศนคติมุมมองของคนทำงาน เป็นเรื่องสำคัญควบคู่กับการพัฒนา องค์ความรู้ที่ใช้ในการดำเนินงาน

 

ทำ MOUโครงการ 12 ม.ค. 2566 12 ม.ค. 2566

 

ลงนามmou โครงการกับ อบจ.สตูล

 

ทำ MOU เปิดบัญชีโครงการ ส่งเอกสารโครงการ

 

ปฐมนิเทศโครงการย่อย 29 ม.ค. 2566 29 ม.ค. 2566

 

ชี้แจงขั้นตอนการทำกิจกรรโครงการ
1. ขั้นตอนการดำเนินงานโครงการเมื่อได้รับทุนจาก สสส 2.การลงบันทึกกิจกรรมในเวปไซด์ 3.ปฎิทินโครงการ 4.บันทึกกิจจกรรมการใช้เงิน เอกสารต่างๆการเบิกจ่าย

 

โครงการได้รับการบันทึกในเวปไซด์ มีการบันทึกรายละเอียดโครงการ กิจกรรม

 

กิจกรรมที่ 10 ทำป้ายบันไดผลลัพธ์/ตรายาง/ป้ายปลอดบุหรี 24 ก.พ. 2566 24 ก.พ. 2566

 

  1. ทำป้ายไวนิลบันไดผลลัพธ์โครงการ/ตรายางโครงการ/ตรายางจ่ายเงินแล้ว /ป้ายปลอดบุหรี่
  2. ค่าจัดทำรายงานและบันทึกรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์  เป็นเงิน ๒,๐๐๐ บาท
  3. ค่าจัดทำป้ายไวนิลโรลอัพเพิ่มพื้นที่ปลอดบุหรี่ ๑  ป้ายๆละ ๒,๐๐๐ บาท เป็นเงิน ๒,๐๐๐ บาท

 

มีป้ายติดประชาสัมพันธ์กิจกรรมบันไดผลลัพธ์
ตรายางที่ใช้ในเอกสารโครงการ มีจัดทำรายงานและบันทึกรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ มีจัดทำป้ายไวนิลโรลอัพเพิ่มพื้นที่ปลอดบุหรี่ ๑ ป้าย

 

กิจกรรมที่ 1 เวทีชี้แจงรายละเอียดโครงการ 24 ก.พ. 2566 24 ก.พ. 2566

 

ชี้แจงโครงการและจัดตั้งคณะทำงานจัดตั้งคณะทำงานตามโครงการ - พี่เลี้ยงอธิบายที่มาโครงการ /บันไดผลลัพธ์ ทำความเข้าใจสมาชิกในรายละเอียดกิจกรรมโครงการ - ประชุมแบ่งโซน ขอบเขตความรับผิดชอบในการค้นหา จำแนกกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้ใช้ ผู้เสพ และผู้ติดในพื้นที่ เพื่อจัดบริการสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม
- สร้างแบบคัดกรองเพื่อจัดเก็บข้อมูลการสูบบุหรี่/ใช้สารเสพติดอื่นๆ - ชี้แจงรายละเอียดการใช้แบบคัดกรอง - มีการสำรวจคัดกรองการใช้สารเสพติดสมาชิกในหมู่บ้านที่อายุ 15 ปี ขึ้นไป โดยคณะทำงานและ อสม. ผู้รับผิดชอบ

 

  • มีการจัดตั้งคณะกรรมการโครงการ
    -กำหนดบทบาท ประธาน เลขาฯ คณะกรรมการโครงการ -แบ่งโซนการคัดกรองตามแบบคัดกรอง ตามความรับผิดชอบของเขต อสม. -ลองใช้แบบคัดกรองกับคณะกรรมการโครงการ

 

กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งคณะทำงานจัดตั้งคณะทำงานตามโครงการ 12 เม.ย. 2566 12 เม.ย. 2566

 

ประสานผู้ใหญ่บ้าน อสม.ในพื้นที่ เพื่อ จัดตั้งคณะกรรมการระดับหมู่บ้าน /ชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน 9 ขั้นตอนเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ประชุมคณะกรรมการหมูบ้าน เพื่อชี้แจงกิจกรรม/เป้าหมายการดำเนินงาน เพื่อความร่วมือและเข้าใจในกิจกรรมโครงการ

 

-มีการจัดตั้งคณะทำงานโครงการประกอบไปด้วย ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. อสม. ตัวแทนหมูบ้าน ในการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการจำนวน 20 คน
- ออกแบบการทำงานเพื่อสำรวจข้อมูล วางแผนการสำรวจข้อมูลที่ยังตกหล่นในการเก็บข้อมูล จัดตั้งคณะกรรมการระดับหมู่บ้าน /ชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน 9 ขั้นตอนเพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็งในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ประชุมคณะกรรมการหมูบ้าน เพื่อชี้แจงกิจกรรม/เป้าหมายการดำเนินงาน เพื่อความร่วมือและเข้าใจในกิจกรรมโครงการ มีค่าใช้จ่าย -ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมประชุม 20 คน มื้อละ 80 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 1,600 บาท -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าร่วมประชุม 20 คน มื้อละ 35 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 1,400 บาท
รวมเป็นเงิน 3,000 บาท

 

กิจกรรมที่ 9 วัสดุอุปกรณ์ ในการจัดกิจกรรม 18 เม.ย. 2566 18 เม.ย. 2566

 

จัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมตลอดกิจกรรมโครงการ

 

มีอุปกรณืในการจัดทำกิจกรรม ตลอดการทำโครงการ

 

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมประชุมกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้เสพ ครั้งที่1 19 เม.ย. 2566 19 เม.ย. 2566

 

นำกลุ่มเยาวชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง/เสพ มาทำกิจกรรมให้ความรู้ในเรื่อง เส้นทางสู่การเลิกยา โรคสมองติดยา วงจรการใช้ยาและการจัดการตัวกระตุ้น เทคนิคการหยุดความคิด

 

เยาวชน มีความเข้าใจ และสามารถบอกได้ถึง การเลิกยามี 4 ระยะ สิ่งที่ยากที่สุดของการเลิกยาในช่วงถอนพิษยา และ การหากิจกรีรมทำถึงการจัดการตัวกระตุ้น เข้าใจถึงความอยากยา ที่ไม่มีตัวช่วย นอกจากกำลังใจ และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

 

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมประชุมกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้เสพ ครั้งที่2 2 พ.ค. 2566 2 พ.ค. 2566

 

นัดเยาวชน 15 คนมาทำกลุ่มและให้ความรู้ในเรื่อง การเปลี่ยนแปลงของร่างกายในระยะเลิกยา การฝึกทักษะปฏิเสธ การจัดการตัวกระตุ้น ทักษะการหยุดเสพยาทีละวัน

 

เยาวชนมีความรู้สามารถบอกได้ถึง อาการที่เกิดขึ้น ในช่วงที่ไม่ได้ใช้สารเสพติด แล้วมีความอยากเกิดขึ้น เช่น เพลีย หงุดหงิด นอนมาก และสามารถฝึกบทบาทสมมติ ในกิจกรรม ทักษะปฏิเสธ มีเหตุผลที่หนักแน่นพอ แม้เพื่อนจะชวนซ้ำ  และเป้าหมายบทีละวัน สั้นๆ ที่คิดว่า น่าจะทำได้จริง ขอเพียงวันนี้ "ฉันจะไม่ใช้ยา"

 

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมประชุมกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้เสพ ครั้งที่3 11 พ.ค. 2566 11 พ.ค. 2566

 

นัดเยาวชนครั้งที่3 สำหรับ การฝึกทักษะการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ/ความไว้วางใจ อารมณือันตรายที่ทำให้เสพยา การพูดความจริง การหาเหตุผลในการเสพยา

 

เยาวชน คิดว่า เรื่องที่ของการใช้ยาหรือสารเสพติดบางครั้งเกิดจากสิ่งแวดล้อมที่บ้าน เมื่อมาทำความเข้าใจในเรื่องความไว้วางใจกับพฤติกรรมวัยรุ่น จึงได้ทบทวนบทบาทของตัเอง และมองถึงในบางครั้งถ้าไม่ได้คิด ทุกคนจะมีเหตุผลในกิจกรรมที่ตนเองทำอยู่ การทำกลุ่มทำความเข้าใจในเรื่อง การป้องกันการเสพซ้ำ การหาเหตุผลต่างๆ ขึ้นอยู่กับความคิด อารมณืที่เกิดขึ้น ถ้าโกรธและใจร้อนหรือโมโห ทำให้เกิดมีการประชดได้

 

กิจกรรมที่ 3 เวทีประชาคม 12 พ.ค. 2566 12 พ.ค. 2566

 

1 จัดเวทีประชาคม สร้างนโยบายและมาตรการสังคมในการแก้ไขและป้องกันยาเสพติด/เวทีคืนข้อมูลผู้ใช้ยาและสารเสพติดในพื้นที่หมู่ที่ 6 ต. เขาขาว ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย 60 คน 2. ประกาศนโยบายและมาตรการทางสังคมและลงพันธะสัญญา ร่วมสร้างร่วมปฏิบัติ

 

คนในหมู่บ้านเข้าร่วมประชุมเวทีประชาคม รับทราบข้อมูลที่ ทางคณะกรรมการโครงการได้สรุปและรวบรวมข้อมูล
คนในชุมชนได้ แสดงข้อคิดเห็นและการแก้ปัญหาในชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด วางแผนเพื่อเดินหน้าต่อไป ในการลดความรุนแรงจากผู้ป่วยอาการทางจิตจากยาเสพติด และ ลดนักเสพหน้าใหม่ เกิดมาตราการของหมู่บ้าน กติกาหมู่6บ้านทุ่งเกาะปาบ 1. ห้ามจำหน่ายบุหรี่/ยาสูบ ให้เด็ก/เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี 2. ผู้ติดยาเสพติดและครอบครัวเข้าสู่กระบวนการบำบัด 3. หากมีการซื้อขายยาเสพติดในพื้นที่ให้แจ้งฝ่ายปกครองและไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้ค้ายาเสพติด 4. จัดให้มีเขตปลอดบุหรี่ 100% คือมัสยิด โรงเรียนตาดีกา และบ้านที่มีเด็กอายุต่ำกว่า5ปี 5. สร้างแกนนำต้านยาเสพติดในเยาวชนอายุ 12 ปี 6. ติดตามผู้ที่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดให้เข้าร่วมกิจกรรมที่มัสยิดอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง

 

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมบำบัด ครอบครัวบำบัด ด้านการป้องกันยาเสพติดในครอบครัว รุ่น1 26 พ.ค. 2566 26 พ.ค. 2566

 

ประชุมกลุ่มในกลุ่มครอบครัวที่มีการสูบบุหรี่/และใช้ยาและสารเสพติด
ให้ความรู้ในเรื่องโรคสมองติดยา วงจรการใช้ยา การจัดการตัวกระตุ้น บทบาทของครอบครัวในการช่วยเหลือและดูแลในการเลิกยา

 

ผู้เข้าร่วมประชุม สามารถบอกได้ถึง อาการที่เกิดขึ้นกับตนเอง จากการใช้สารเสพติด และบอกได้ถึง สิ่งที่ต้องทำให้สูบบุหรี่ซ้ำ
บอกได้ถึง วงจรการใช้ยา และต้องหากิจกรรม และการดูแลช่วยเหลือ ในการหยุดการใช้

 

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมบำบัด ครอบครัวบำบัด ด้านการป้องกันยาเสพติดในครอบครัว รุ่น2 27 พ.ค. 2566 27 พ.ค. 2566

 

นำกลุ่มครอบครัวและเยาวชน มารับฟังความรู้เกี่ยวกับโรคสมองติดยา การจัดการตัวกระตุ้น บทบาทของครอบครัวที่ช่วยเหลือในการเลิกยา

 

ครอบครัวและเยาวชนเข้าร่วมกิจกรรม ครอบครัวบำบัด มีความรู้/ความเข้าใจ ในเรื่อง -โรคสมองติดยา ในเรื่องสาเหตุ และความพึงพอใจที่ทำให้ต้องใช้เพิ่ม ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการทำตัวไม่ให้ว่างจึงจะหลีกเลี่ยงจากวงจรการใช้ยาได้ -อาการและภาวะแทรกซ้อนจากการใช้สารเสพติ ใน 5 อาการ มีหงุดหงิดฉุนเฉียว เดินไปเดินมา ก้าวร้าว พูดคนเดียว ทำลายข้าวของ -มีสมาชิกในหมู่บ้านที่ใช้สารเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักาาต่อเนื่อง -มีผู้สูบบุหรี่ สนใจเลิกสูบบุหรี่ รับน้ำยาอดบุหรี่/ยาอม ช่วยลดความอยากบุหรี่

 

ติดตามผู้ผ่านการบำบัด และ คัดเลือกบุคคลต้นแบบ 3 มิ.ย. 2566 14 ก.ย. 2566

 

ลงติดตามเยี่ยมบ้านในหมู่บาน ให้ความรู้ ในการจัดการตัวกระตุ้น การส่งเสริมสุขภาพ

 

จากการติดตาม
-ชี้แจงอาการทางจิตที่ต้องไปพบแพทย์แก่ครอบครัว
ชุมชน -ประชาคม  100 หลังคาเรือน -กติกาชุมชน
-สัปพบุรุษรับทราบถึงสภาพชุมชน -รับทราบแนวทางในการรักษาดูแล
กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด
-ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 8 คน
(จนถึงกิจกรรมสุดท้าย) -สร้างเสริมอาชีพ -สร้างแรงจูงใจ
-บอกแนวทางในการรักษา

 

กิจกรรมส่งเสริม คุณภาพชีวิต 15 มิ.ย. 2566 15 ก.ย. 2566

 

สนับสนุนคุณภาพชีวิต ด้านเกษตรกรรม เลี้ยงปลาดุก  โดยการบูรณาการร่วมเครือข่ายที่เกี่ยวข้องประชุมกลุ่มให้ความรู้ เพื่อ ลด ละเลิก สารเสพติด ในกลุ่มผู้เสพ

 

สนับสนุนพันธ์ปลา/อุปกรณ์การเลี้ยงปลา ให้แก่กลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม 4 กลุ่มๆ ละ2,500 บาท

 

เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน 14 ก.ค. 2566 15 ก.ย. 2566

 

ติดตามผู้ผ่านการบำบัดครบตามเกณฑ์และเฝ้าระวังการกลับไปเสพซ้ำ - มอบอุปกรณ์การส่งเสริมอาชีพ ให้กับกลุ่มบุคคลต้นแบบ บุคคลพึงประสงค์ ในการลด ละ เลิก สารเสพติด -บุคคลต้นแบบ (บอร์ดภาพติดที่ทำการหมู่บ้าน.)

 

กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด
-ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 8 คน
(จนถึงกิจกรรมสุดท้าย) -สร้างเสริมอาชีพ -สร้างแรงจูงใจ
-บอกแนวทางในการรักษา -ชี้แจงอาการทางจิตที่ต้องไปพบแพทย์แก่ครอบครัว กลุ่มเสี่ยง -นักเรียนตาดีกา เข้าร่วมกิจกรรม และสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในตัวเอง
-จำนวน 60 คน ชุมชน -ประชาคม  100 หลังคาเรือน -กติกาชุมชน
-สัปพบุรุษรับทราบถึงสภาพชุมชน -รับทราบแนวทางในการรักษาดูแลและแนวทางการส่งต่อผู้ป่วยที่มีความก้าวร้าวรุนแรงในชุมชน และแนวทางการดูแลเยาวชนกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

 

จัดทำรายงานและบันทึกรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์/จัดทำป้ายไวนิลเพิ่มพื้นที่ ปลอดบุหรี่ 27 ก.ย. 2566 27 ก.ย. 2566

 

จัดทำรายงาน/ลงข้อมูล

 

มีการบันทึกข้อมูลลงข้อมูลในระบบ/มีป้ายไวนิลเพิ่มพื้นที่ปลอดบุหรี่ ในเวลาที่มีผู้เสียชีวิตในศาสนาอิสลาม  ต่อยอดกิจกรรม "เยี่ยมด้วยหัวใจไร้ควันบุหรี่"

 

เบิกคืนเงินค่าเปิดบัญชี 27 ก.ย. 2566 27 ก.ย. 2566

 

เบิกคืนเงินค่าเปิดบัญชี

 

รับคืนเงินค่าเปิดบัญชี 500 บาท