directions_run

ชุมชนมีส่วนร่วมสร้างแกนนำป้องกันยาเสพติด หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งเกาะปาบ ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชุมชนมีส่วนร่วมสร้างแกนนำป้องกันยาเสพติด หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งเกาะปาบ ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล
ภายใต้องค์กร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล
รหัสโครงการ 65-10154-032
วันที่อนุมัติ 5 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 มกราคม 2566 - 15 พฤศจิกายน 2566
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ คณะทำงานแกนนำป้องกันยาเสพติด หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งเกาะปาบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพันนิภา ปังแลมาปุเลา
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 081-5994731
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ phannipha47@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายรุ่งศักดิ์ จอสกุล
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาขาว อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.925569,99.843492place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 ม.ค. 2566 31 พ.ค. 2566 5 ม.ค. 2566 31 พ.ค. 2566 50,000.00
2 1 มิ.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 1 มิ.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 25,000.00
3 1 ต.ค. 2566 15 พ.ย. 2566 1 ต.ค. 2566 15 พ.ย. 2566 5,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานสารเสพติด
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 หมู่ที่ 6 ตำบลเขาขาว กลุ่มอายุต่ำกว่า 15 ปี มีผู้สูบบุหรี่ จำนวน 203 ราย
1.00
2 หมู่ที่ 6 ตำบลเขาขาว มีผู้ใช้สารเสพติดที่มีอาการทางจิต ที่รับการรักษาในโรงพยาบาล จำนวน 10 ราย
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเสพติด เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทในส่วนของระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ เกิดการเปลี่ยนแปลงอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมของผู้ที่ใช้สาร โดยมีกลไกการออกฤทธิ์ที่ สำคัญที่ทำให้เกิดความอยากเสพและการใช้สารนั้นซ้ำๆ จนหยุดเสพหรือลดปริมาณการใช้ไม่ได้ แม้ว่าผู้ใช้สารนั้นจะมีความต้องการอยากเลิกหรือลดการใช้สารเพียงใดก็ตาม ทำให้เกิดผลเสียต่อตนเอง หรือบุคคล อื่น เมื่อบุคคลใดเกิดการเสพติดสารหรือพฤติกรรมใดๆ แล้ว จะสามารถกลับเป็นซ้ำได้แม้ว่าสามารถหยุดใช้ สารหรือหยุดการกระทำนั้นๆ มาได้ระยะหนึ่งปัญหาการติดสารเสพติด จัดเป็นปัญหาทางสุขภาพชนิดหนึ่งที่สามารถให้การดูแลรักษาได้ ผลกระทบจากการใช้สารเสพติด ที่พบได้ ส่งผลต่อผู้ใช้เอง สูญเสียบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ ในเรื่องภาวะแทรกซ้อนจากการใช้สารเสพติดที่มี ความก้าวร้าว วุ่นวาย มีหูแว่ว หรือเห็นภาพหลอน ครอบครัว สังคมและชุมชน ทำให้พร่องต่อหน้าที่รับผิดชอบ เป็นภาระของคนในครอบครัว ทำให้มีผลต่อสุขภาพคนในครอบครัว ก่อให้เกิดความเครียด มีผลต่อการดูแล และยังส่งผลกระทบต่อชุมชนในการเกิดความไม่ปลอดภัยกับผุ้ใช้สารเสพติดที่มีอาการทางจิต จากการประเมินสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในภาพรวมของอำเภอละงู ในช่วงปี พ.ศ.๒๕๖๒ – ๒๕๖๔ ยังพบปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพติดประเภท กระท่อม ยาบ้า และยาไอซ์ ถึงแม้ว่าทุกหน่วยงานราชการจะดำเนินการป้องกัน แก้ไข บำบัด รักษา ฟื้นฟู และปราบปรามอย่างต่อเนื่องแล้วก็ตาม ยังพบผู้ป่วยยาเสพติดรายใหม่ทุกประเภทเข้ามารับการบำบัดในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นทุกปีตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๖๒ – ๒๕๖๔ จำนวน ๒๖, ๒๘, ๑๔ราย ตามลำดับและในปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม – ๓๐ กันยายน ๒๕๖๕ มีผู้ป่วยจำนวนทั้งหมด ๕๑ ราย ชนิดของการใช้ยาเสพติดที่พบคือ ยาบ้า เมทาโดน กัญชา กระท่อมและไอซ์ ตามลำดับจากสถานการณ์ปัญหาที่กล่าวมาส่งผลให้ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันหากลยุทธ์ในการดำเนินงานอย่างจริงจังและเข้มข้นนโยบายผู้เสพเป็นผู้ป่วยต้องเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาเน้นการสมัครใจ สมัครใจกึ่งบังคับ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ค้นหาและคืนคนดีสู่สังคมการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด มีการจัดตั้งศูนย์คัดกรองผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติดอำเภอละงู ณ โรงพยาบาลละงู เพื่อคัดแยกผู้ป่วยให้ได้รับการบำบัดที่ถูกต้อง สร้างเครือข่ายในการค้นหาและส่งต่อผู้เสพ/ผู้ติดสารเสพติด เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษายาเสพติดแบบสมัครใจ
จากการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นของหมู่บ้าน ในหมู่ที่ 6 ตำบลเขาขาว มีประชากรที่อาศัยอยู่จริง ตามทะเบียนบ้านในกลุ่มอายุต่ำกว่า 15 ปี จำนวน 169 คน เป็นเพศชาย 89 คน เพศหญิง 80 คน กลุ่มอายุมากกว่า 15 ปีขึ้นไป จำนวน 522 คน เป็นเพศชาย 263 คน เพศหญิง 259 คน มีผู้สูบบุหรี่ จำนวน 203 รายมีผู้ใช้ยาเสพติดที่เข้ารับการบำบัดในโครงการชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ปี 2564 จำนวน 8 ราย มีผู้ใช้สารเสพติดที่มีอาการทางจิต ที่รับการรักษาในโรงพยาบาล จำนวน 10 ราย ซึ่งคนกลุ่มนี้ ยังมีการกลับไปใช้ยาซ้ำ ส่งผลให้อาการทางจิตกำเริบ จากสถานการณ์ปัญหาที่กล่าวมาส่งผลให้ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันหากลยุทธ์ในการดำเนินงานอย่างจริงจังและเข้มข้นนโยบายผู้เสพเป็นผู้ป่วยต้องเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาเน้นการสมัครใจ สมัครใจกึ่งบังคับ โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ค้นหาและคืนคนดีสู่สังคมการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด ดังนั้นแนวทางในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเป็นรูปธรรมคือ ส่งเสริมการสร้างความมีส่วนร่วมของชุมชนในการบำบัด ฟื้นฟู ผู้ใช้ยาเสพติดโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลาง (Community Base Treatment ) โดยการ 1. การสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน มีการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการสร้างการมีส่วนร่วมในการ ดำเนินการในทุกขั้นตอนโดยชุมชนเอง และได้รับการหนุนเสริมจากภาคีเครือข่ายต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชนเพื่อให้เกิดความสำเร็จ มีความต่อเนื่องและยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ผู้นำชุมชนที่จะช่วยเป็นทีมทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใน รพ.สต.ให้สามารถดำเนินงานเข้าถึงประชาชนในพื้นที่ได้ ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมป้องกันนักเสพหน้าใหม่ และให้องค์กรท้องถิ่นเข้าร่วมกระบวนการดำเนินงานและให้รองรับการดำเนินงานต่อเนื่องหลังจากจบโครงการ 2. การพัฒนาศักยภาพส่วนบุคคล ผู้ใช้ยาและสารเสพติด เข้าถึงระบบบริการการคัดกรอง บำบัด รักษา
ฟื้นฟูสมรรถภาพตามมาตรฐานลดการเสพซ้ำ แบบเชิงรุกที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั้งในขั้นตอนการสำรวจปัญหา การระดมความคิดและการเข้าร่วมกิจกรรมช่วยเลิกและกิจกรรมอื่นๆ ที่จัดขึ้นโดยให้มีความสอดคล้องกับบริบทของชุมชน จะทำให้ผู้ใช้ยาและสารเสพติด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การลด ละ และเลิกใช้สารเสพติด รวมถึงการป้องกันการกลับไปเสพซ้ำ 3. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ท้องทีและภาคประชาชน แบบมีส่วนร่วม สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นจากการทำโครงการนี้คือ คนในหมู่บ้านทราบข้อมูล สถานการณ์ การใช้สารเสพติดของคนในหมู่บ้าน และนำข้อมูลมาแก้ไขปัญหาร่วมกันระหว่างภาคีเครือข่าย เกิดการมีส่วนร่วมและการจัดการปัญหาโดยคนในชุมชนเอง

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ไม่มี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เกิดการมีส่วนร่วมในหมู่บ้าน สมาชิกในชุมชน ที่เข้มแข็งเพื่อสร้างเครือข่ายแบบบูรณาการในการแก้ไขปัญหายาเสพติด

1.1 มีคณะกรรมการดำเนินโครงการที่ร่วมดำเนินการในทุกขั้นตอนครอบคลุมในหมู่บ้าน
1.2 มีที่ปรึกษาเป็นกลุ่มแกนนำชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้นำองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ที่สามารถประมวลและวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน นำไปสู่การใช้ข้อมูลในการป้องกันยาเสพติดในชุมชน 1.3 เกิดแผนปฏิบัติและการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 1.4 คณะกรรมการมีส่วนร่วมในการติดตามกำกับและสรุปบทเรียนการดำเนินงาน

2 2.เพื่อจัดทำฐานข้อมูลข้อมูลจำนวนผู้ใช้สารเสพติดและนำมาเรียนรู้วางแผนแก้ไขปัญหา เกิดการมีแกนนำเยาวชนต้นแบบที่มีทักษะในการป้องกันยาเสพติด

1.เชิงปริมาณ 2.1 เยาวชนและประชาชนใน ต.เขาขาว เข้าร่วมโครงการ จำนวน  100 คน 2.2 เยาวชนและประชาชนใน ต.เขาขาว ได้เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับพิษภัยยาเสพติด จำนวน  100 คน 2.3 ลดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้สารเสพติด ได้อย่างน้อยร้อยละ 50 (จำนวน 5 ราย) 2.4 เกิดบุคคลต้นแบบในการลดละเลิกใช้สารเสพติดอย่างน้อย 2 คน
2.เชิงคุณภาพ - คนในหมู่บ้านรับรู้สถานการณ์ในการใช้สารเสพติด (จำนวน 20 ราย) - สมาชิกในหมู่บ้านมีความรู้มีทักษะในการป้องกันยาเสพติด (จำนวน 20 ราย) - เกิดการช่วยเหลือดูแลกันเองในชุมชนมีแนวทางในการส่งต่อผู้เสพที่มีภาวะแทรกซ้อน

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 120
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงาน ประชาชนหมู่ที่ 6 ตำบลเขาขาว 20 -
เยาวชน ประชาชนในหมู่ที่ 6 ตำบลเขาขาว 100 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66
1 กิจกรรมที่ 10 สนับสนุนกิจกรรมโครงการ(5 ม.ค. 2566-31 ต.ค. 2566) 5,000.00                      
2 กิจกรรมที่ 1 เวทีชี้แจงรายละเอียดโครงการ(24 ก.พ. 2566-24 ก.พ. 2566) 2,750.00                      
3 กิจกรรมที่ 9 วัสดุอุปกรณ์ ในการจัดกิจกรรม(24 ก.พ. 2566-31 ส.ค. 2566) 1,100.00                      
4 กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งคณะทำงานจัดตั้งคณะทำงานตามโครงการ(1 มี.ค. 2566-18 เม.ย. 2566) 3,000.00                      
5 กิจกรรมที่ 3 เวทีประชาคม(1 เม.ย. 2566-1 เม.ย. 2566) 4,100.00                      
6 กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมบำบัด ครอบครัวบำบัด ด้านการป้องกันยาเสพติดในครอบครัว จำนวน 2 รุ่น(19 เม.ย. 2566-24 พ.ค. 2566) 22,200.00                      
7 กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมประชุมกลุ่มเสี่ยง(19 เม.ย. 2566-31 พ.ค. 2566) 10,350.00                      
8 กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมส่งเสริม คุณภาพชีวิต(24 พ.ค. 2566-31 ส.ค. 2566) 10,000.00                      
9 กิจกรรมที่ 7 ติดตามผู้ผ่านการบำบัด(24 พ.ค. 2566-31 ส.ค. 2566) 6,500.00                      
10 กิจกรรมที่ 8 เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน(24 พ.ค. 2566-31 ส.ค. 2566) 15,000.00                      
11 กิจกรรม เบิกคืนเงินค่าเปิดบัญชี(27 ก.ย. 2566-27 ก.ย. 2566) 500.00                      
รวม 80,500.00
1 กิจกรรมที่ 10 สนับสนุนกิจกรรมโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 5,000.00 4 5,000.00
12 ม.ค. 66 ทำ MOUโครงการ 0 0.00 0.00
29 ม.ค. 66 ปฐมนิเทศโครงการย่อย 0 0.00 0.00
24 ก.พ. 66 กิจกรรมที่ 10 ทำป้ายบันไดผลลัพธ์/ตรายาง/ป้ายปลอดบุหรี 0 1,100.00 1,100.00
27 ก.ย. 66 จัดทำรายงานและบันทึกรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์/จัดทำป้ายไวนิลเพิ่มพื้นที่ ปลอดบุหรี่ 0 3,900.00 3,900.00
2 กิจกรรมที่ 1 เวทีชี้แจงรายละเอียดโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 2,750.00 1 2,750.00
24 ก.พ. 66 กิจกรรมที่ 1 เวทีชี้แจงรายละเอียดโครงการ 15 2,750.00 2,750.00
3 กิจกรรมที่ 9 วัสดุอุปกรณ์ ในการจัดกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 1,100.00 1 1,100.00
18 เม.ย. 66 กิจกรรมที่ 9 วัสดุอุปกรณ์ ในการจัดกิจกรรม 0 1,100.00 1,100.00
4 กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งคณะทำงานจัดตั้งคณะทำงานตามโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 3,000.00 1 3,000.00
12 เม.ย. 66 กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งคณะทำงานจัดตั้งคณะทำงานตามโครงการ 20 3,000.00 3,000.00
5 กิจกรรมที่ 3 เวทีประชาคม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 4,100.00 1 4,100.00
12 พ.ค. 66 กิจกรรมที่ 3 เวทีประชาคม 60 4,100.00 4,100.00
6 กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมบำบัด ครอบครัวบำบัด ด้านการป้องกันยาเสพติดในครอบครัว จำนวน 2 รุ่น กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 22,200.00 2 22,200.00
26 พ.ค. 66 กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมบำบัด ครอบครัวบำบัด ด้านการป้องกันยาเสพติดในครอบครัว รุ่น1 50 11,100.00 11,100.00
27 พ.ค. 66 กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมบำบัด ครอบครัวบำบัด ด้านการป้องกันยาเสพติดในครอบครัว รุ่น2 50 11,100.00 11,100.00
7 กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมประชุมกลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 10,350.00 3 10,350.00
19 เม.ย. 66 กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมประชุมกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้เสพ ครั้งที่1 15 3,450.00 3,450.00
2 พ.ค. 66 กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมประชุมกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้เสพ ครั้งที่2 15 3,450.00 3,450.00
11 พ.ค. 66 กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมประชุมกลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้เสพ ครั้งที่3 15 3,450.00 3,450.00
8 กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมส่งเสริม คุณภาพชีวิต กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 10,000.00 1 10,000.00
15 มิ.ย. 66 กิจกรรมส่งเสริม คุณภาพชีวิต 20 10,000.00 10,000.00
9 กิจกรรมที่ 7 ติดตามผู้ผ่านการบำบัด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 6,500.00 1 6,500.00
3 - 23 มิ.ย. 66 ติดตามผู้ผ่านการบำบัด และ คัดเลือกบุคคลต้นแบบ 100 6,500.00 6,500.00
10 กิจกรรมที่ 8 เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 15,000.00 1 15,000.00
14 ก.ค. 66 เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน 100 15,000.00 15,000.00
11 กิจกรรม เบิกคืนเงินค่าเปิดบัญชี กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 500.00 1 500.00
27 ก.ย. 66 เบิกคืนเงินค่าเปิดบัญชี 0 500.00 500.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 1 4.82
6 พ.ย. 66 ปิดบัญชีธนาคาร ถอนดอกเบี้ยคืน 0 0.00 4.82

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดคณะทำงานที่มีความเข้าใจมีความสามารถดำเนินโครงการ 2.เกิดการมีส่วนร่วมในหมู่บ้าน สมาชิกในชุมชน ที่เข้มแข็งเพื่อสร้างเครือข่ายแบบบูรณาการในการบำบัดฟื้นฟู โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
  2. ลดจำนวนผู้ใช้สารเสพติดรายใหม่และเกิดแกนนำเยาวชนต้นแบบที่มีทักษะในการป้องกันยาเสพติด
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2566 14:01 น.