directions_run

สร้างทักษะชีวิตและสร้างแกนนำเยาวชนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ในโรงเรียนละงูพิทยาคม อำเภอละงู จังหวัดสตูล

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สร้างทักษะชีวิตและสร้างแกนนำเยาวชนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ในโรงเรียนละงูพิทยาคม อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ภายใต้องค์กร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล
รหัสโครงการ 6510154019
วันที่อนุมัติ 5 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 มกราคม 2566 - 15 พฤศจิกายน 2566
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ไม่มี
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาววิญญู หิมมา
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0892985694
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ winyuhimma@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวพัทธ์ธิดา ช่างนุ้ย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 ม.ค. 2566 31 พ.ค. 2566 5 ม.ค. 2566 31 พ.ค. 2566 50,000.00
2 1 มิ.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 1 มิ.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 25,000.00
3 1 ต.ค. 2566 15 พ.ย. 2566 1 ต.ค. 2566 15 พ.ย. 2566 5,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 .....
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นกับนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียน เป็นประเด็นที่มีความสำคัญมาก เพราะส่งผลกระทบในหลาย ๆ ด้าน ทั้งทางด้านสุขภาพของตัวนักเรียนที่ตั้งครรภ์เอง ด้านเศรษฐกิจ ครอบครัวและสังคม โรงเรียน  การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นนำ มาซึ่งผลลัพธ์สองทาง คือ การเกิด (มีชีพและไม่มีชีพ) และการแท้ง (โดยธรรมชาติ และการทำ แท้ง) ซึ่งทั้งหมดนี้ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งด้าน สุขภาพ สังคม และเศรษฐกิจตามมาโดยผลกระทบด้าน สุขภาพที่เกิดขึ้นนั้น เกิดขึ้นโดยตรงต่อตัวมารดาวัยรุ่นเอง และทารก ในขณะที่ผลกระทบด้านสังคมและเศรษฐกิจ นั้น ไม่เพียงแต่เกิดในครอบครัวของวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์และ มารดาวัยรุ่นเท่านั้น แต่ยังมีผลทางสังคมและเศรษฐกิจ ในระดับชาติด้วยวัยรุ่นโดยเฉพาะกลุ่มที่มีอายุน้อย เป็นช่วงต้นของวัยเจริญพันธุ์ ที่ยังต้องอาศัยการพัฒนาระบบต่างๆ ของร่างกายเพื่อให้พร้อม ที่จะตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นจึงนำ มาซึ่งปัญหาด้านสุขภาพ มากกว่าผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ ในวัยอื่นๆ ทั้งระหว่างตั้งครรภ์ ระหว่างคลอด และหลังตั้งครรภ์ เช่น ภาวะเลือดจางในหญิงตั้งครรภ์ ภาวะความ ดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ การเพิ่มโอกาสของการผ่าตัดคลอดบุตร หรือการคลอดที่ต้องอาศัยหัตถการต่างๆ เข้าช่วยเหลือ รวมถึงภาวะ ซึมเศร้าหลังการคลอดบุตรการคลอดในวัยรุ่น มีผลกระทบต่อสุขภาพของแม่และ เด็กทารกที่เกิดมา ผลกระทบจากการคลอดของแม่วัยรุ่น อาจ ทำ ให้เกิดการคลอดทารกก่อนกำหนด(ก่อน 37 สัปดาห์) หรือ ทารกมีน้ำ หนักน้อย (น้ำ หนักน้อยกว่า 2,500 กรัม) ซึ่งทั้ง สองกรณีมีผลต่อการรอดชีวิตในช่วงขวบปีแรกของตัวทารกเอง นอกจากนี้พฤติกรรมการดูแลครรภ์และเลี้ยงทารกที่ไม่เหมาะสม ของแม่วัยรุ่นบางราย เช่น ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ เลี้ยงดูทารกด้วยอาหารที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งการที่แม่วัยรุ่นไม่ เอาใจใส่ดูแลและไม่กระตุ้นพัฒนาการตามวัย อาจส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสติปัญญาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น ส่วนใหญ่เป็นการตั้งครรภ์ที่ ไม่ต้องการและมักจบลงด้วยการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย นำไปสู่ความพิการหรือการเสียชีวิตของ หญิงตั้งครรภ์ในอัตราที่สูง
        ผลกระทบด้านสังคมจากการที่วัยรุ่นมักไม่มีความสามารถเพียงพอที่จะ ตัดสินใจในเรื่องการเลี้ยงดูบุตรหรือการดำเนินชีวิต ครอบครัว การตั้งครรภ์ในคนกลุ่มนี้จึงทำ ให้มีผลกระทบ ด้านสังคมตามมา ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่แม่วัยรุ่นจำนวนมาก หยุดเรียนหรือเลิกเรียนกลางคัน แม้จะมีพรบ.ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นปี 2559 สามารถให้นักเรียนที่ตั้งครรภ์สามารถเรียนต่อได้ แต่ การตัดสินใจดังกล่าวเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ถูกกดดัน จากผู้บริหารสถานศึกษา ไม่ได้รับการยอมรับจากเพื่อน และคนในชุมชนเพราะทำ ผิดจารีตทางสังคม ถูกผู้ปกครอง ห้ามไปโรงเรียนเนื่องจากเห็นว่าเป็นความเสื่อมเสียของ ครอบครัว หรือมีความจำ เป็นต้องออกจากโรงเรียนเพื่อ หาเลี้ยงครอบครัว เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ประเทศไทย ยังไม่มีข้อมูลทางสถิติที่ชัดเจนว่ามีจำนวนนักเรียนเท่าไร ที่ออกจากโรงเรียนด้วยสาเหตุดังกล่าว  ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) แสดงให้เห็นว่า นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ในโรงเรียนสังกัด สพฐ. ถึงร้อยละ 14 ออกจากโรงเรียนกลางคัน เพราะสาเหตุสมรสแล้ว แต่ข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถยืนยันได้ว่า การออกจากโรงเรียนนั้นเกิดขึ้นจากการตั้งครรภ์หรือไม่ การไม่ได้รับการศึกษา หรือได้รับการศึกษาน้อยย่อมส่งผลต่อการหางานและประกอบอาชีพในอนาคตของ แม่วัยรุ่น ในกรณีที่ฝ่ายชายยังเป็นวัยรุ่นด้วยกัน ก็มักประสบ ปัญหาเดียวกัน คือไม่สามารถหางานที่ดีมีรายได้สูงได้ตามที่ต้องการทำให้มีรายได้ไม่พอจ่ายและไม่สามารถให้การเลี้ยง ดูที่เหมาะสมกับบุตรได้ ปัญหาเศรษฐกิจ ในครอบครัวมักก่อ ให้เกิดความเครียดตามมา นำไปสู่การใช้ความรุนแรงในครอบครัว และอาจจบลงด้วยการหย่าร้าง เกิดปัญหาต่อเนื่องไปยังตัวลูกที่ จะเติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่แตกแยกได้ การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม ส่งผลสืบเนื่องไปยังปัญหาสังคมด้านอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งที่มักเกิดขึ้นจากครรภ์ที่ไม่ ต้องการคือ การทอดทิ้งทารกไว้ตามที่สาธารณะ ซึ่งปรากฏ เป็นข่าวผ่านสื่อมวลชนไทยอยู่เป็นระยะๆ อย่างไรก็ตามจำนวน การทอดทิ้งเด็ก ที่มีการรายงานผ่านสื่อเหล่านี้ น่าจะน้อยกว่า ความเป็นจริงมาก เนื่องจากยังมีทารกแรกเกิดและเด็กเล็ก ถูกทอดทิ้งไว้ในโรงพยาบาลและสถานสงเคราะห์ที่ไม่เป็นข่าว รวมถึงการ ทอดทิ้งเด็กไว้กับ ปู่ย่า ตายาย หรือญาติ ซึ่งอาจจะ ไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร นอกจากนี้ยังมีการศึกษาใน ต่างประเทศที่แสดงให้เห็นผลกระทบข้ามรุ่นของการตั้งครรภ์ใน วัยรุ่น โดยพบว่าลูกของแม่วัยรุ่นมีโอกาสตั้งครรภ์และกลายเป็น แม่วัยรุ่นมากกว่าหญิงที่เกิดจากแม่ที่อายุ 20 ปีหรือมากกว่า โรงเรียนละงูพิทยาคม เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา ในอำเภอละงู ที่มีนักเรียนตั่งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียน 584 คน ในปี พ.ศ 2565 มีนักเรียน โรงเรียนละงูพิทยาคมตั้งครรภ์ไม่พร้อมจำนวน 2 ราย ต้องการยุติการตั้งครรภ์ 1 ราย มีนักเรียน พยายามทำร้ายตัวเอง จำนวน 4 ราย ซึ่งสาเหตุบางส่วนเกิดจากปัญหาความรัก เรื่องเพศ ในวัยเรียน มีความเครียดที่ไม่สามารถจัดการได้ ทางคณะผู้จัดโครงการจึงมีความเห็นว่าข้อมูลดังกล่าวมีความน่าสนใจ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา โดยในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวจะต้องมีการร่วมมือกันหลายภาคส่วน โดยเฉพาะหากเกิดขึ้นกับตัวเด็กเอง ที่เป็นคนขับเคลื่อน ก็จะมีความยั่งยืน มากขึ้น การสร้างแกนนำเยาวชน ในการเป็นแกนหลักในเรื่องดังกล่าว โดยพัฒนาทักษะชีวิตวัยรุ่น จะช่วยส่งเสริมวัยรุ่นรู้จักการคิด วิเคราะห์ การปฏิเสธในสถานการณ์เสี่ยง รวมทั้งมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างตนเอง ครอบครัว และสังคมได้ ซึ่งการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ ด้านพฤติกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและการอบรมเพศวิถีศึกษาและทักษะชีวิตในวัยรุ่น จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาเยาวชนของชาติ ให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพ สามารถที่จะคิด ตัดสินใจ แก้ปัญหาและปรับตัวเพื่อให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสม ถูกต้อง สามารถจัดการกับความต้องการปัญหาและสถานการณ์ต่างๆของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ไม่มี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างแกนนำเยาวชนในโรงเรียน ให้มีการเฝ้าระวังและขับเคลื่อนปัญหาการตั้งครรภ์ในโรงเรียน

เชิงปริมาณ:
- มีแกนนำเยาวชน ตามคุณสมบัติที่กำหนด 30 คน เชิงคุณภาพ :
1. เกิดกลุ่มแกนนำที่มีโครงสร้าง แบ่งบทบาทหน้าที่ มีข้อมูลในการทำงาน 2. มีแผนการดำเนินงานและมีการทำงานตามแผน

1.00
2 เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเพศวิถี ทักษะการให้คำปรึกษาเบื้องต้นแก่เยาวชนกลุ่มเป้าหมาย

เชิงปริมาณ:  ร้อยละ 80 (จำนวน 24 คน) ของแกนนำวัยรุ่นในโรงเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
เชิงคุณภาพ :  เกิดกลุ่มแกนนำที่มีความรู้ สามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ได้อย่างเหมาะสม

1.00
3 เพื่อสร้างระบบ เครือข่าย เฝ้าระวัง ในโรงเรียน ลด ละ เลิก พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ป้องกันปัญหาการตั้งครรภ์ในโรงเรียน

เชิงปริมาณ : นักเรียนกลุ่มเสี่ยง ที่มีปัญหา สามารถเข้าถึงบริการ ได้ 80 % เชิงคุณภาพ : นักเรียนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด ละ เลิก พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ

1.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนละงูพิทยา 30 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66
1 ประชุมคณะทำงาน(5 ม.ค. 2566-31 ต.ค. 2566) 1,400.00                      
2 กิจกรรมร่วมกับแผนร่วมทุน(5 ม.ค. 2566-31 ต.ค. 2566) 200.00                      
3 ประชุม ชี้แจงโครงการ จัดตั้ง คณะทำงาน ติดตามการทำงาน จำนวน 3 ครั้ง(5 ม.ค. 2566-31 ต.ค. 2566) 5,000.00                      
4 อบรมสร้างทักษะแกนนำเยาวชน(5 ม.ค. 2566-31 ต.ค. 2566) 34,975.00                      
5 กิจกรรมการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมโดยแกนนำ จัดกิจกรรมทุก 1 เดือน จำนวน 3 ครั้ง(5 ม.ค. 2566-31 ต.ค. 2566) 18,750.00                      
6 สำรวจข้อมูลสถานการณ์ คัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียน(5 ม.ค. 2566-31 ต.ค. 2566) 9,250.00                      
7 ติดตาม การทำงานของแกนนำ(19 ก.ย. 2566-19 ก.ย. 2566) 7,025.00                      
รวม 76,600.00
1 ประชุมคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 6 1,400.00 3 1,400.00
5 ม.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1/5 2 0.00 0.00
27 เม.ย. 66 กิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการย่อย ครั้งที่ 1 2 1,000.00 1,000.00
25 ก.ย. 66 แลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการย่อยครั้งที่ 2 2 400.00 400.00
2 กิจกรรมร่วมกับแผนร่วมทุน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1 200.00 1 200.00
12 ม.ค. 66 เดินทางมาลงนามในสัญญาโครงการ 1 200.00 200.00
3 ประชุม ชี้แจงโครงการ จัดตั้ง คณะทำงาน ติดตามการทำงาน จำนวน 3 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 5,000.00 3 5,000.00
31 ม.ค. 66 ประชุม ชี้แจงโครงการ ครั้งที่ 1/3 10 2,000.00 2,000.00
10 ก.พ. 66 ประชุมชี้แจงโครงการ ครั้งที่ 2/3 10 1,500.00 1,500.00
23 พ.ค. 66 ประชุมชี้แจงโครงการ ครั้งที่ 3/3 10 1,500.00 1,500.00
4 อบรมสร้างทักษะแกนนำเยาวชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 105 34,975.00 3 34,975.00
13 ก.พ. 66 อบรมสร้างทักษะแกนนำเยาวชน ครั้งที่ 1 35 8,475.00 8,475.00
24 พ.ค. 66 อบรมสร้างทักษะแกนนำเยาวชน ครั้งที่ 2 35 7,650.00 7,650.00
11 ก.ค. 66 อบรมสร้างทักษะแกนนำเยาวชน ครั้งที่ 3 35 18,850.00 18,850.00
5 กิจกรรมการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมโดยแกนนำ จัดกิจกรรมทุก 1 เดือน จำนวน 3 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 105 18,750.00 3 18,750.00
14 ก.พ. 66 กิจกรรมการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมโดยแกนนำ ครั้งที่ 1 35 6,350.00 6,350.00
26 มิ.ย. 66 กิจกรรมการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมโดยแกนนำ ครั้งที่ 2/3 35 7,150.00 7,150.00
6 ก.ย. 66 กิจกรรมการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมโดยแกนนำ ครั้งที่ 3/3 35 5,250.00 5,250.00
6 สำรวจข้อมูลสถานการณ์ คัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 35 9,250.00 1 9,250.00
25 พ.ค. 66 สำรวจข้อมูลสถานการณ์ คัดกรองกลุ่มเสี่ยงในโรงเรียน จัดทำตั้งศูนย์ให้คำปรึกษา “เพื่อนใจวัยรุ่น“ ในโรงเรียน 35 9,250.00 9,250.00
7 ติดตาม การทำงานของแกนนำ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 35 7,025.00 1 7,025.00
19 ก.ย. 66 ติดตาม การทำงานของแกนนำ ดำเนินกิจกรรมตามแผนการดำเนินงาน 35 7,025.00 7,025.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 5 3,926.23 6 3,926.23
29 ม.ค. 66 ปฐมนิเทศโครงการ 2 400.00 400.00
30 ม.ค. 66 จัดทำป้ายโครงการ บันไดผลลัพธ์ ป้ายปลอดบุหรี่ สำหรับโครงการ 0 1,100.00 1,100.00
31 มี.ค. 66 ถอนเงินฝากบัญชี 0 500.00 500.00
3 เม.ย. 66 จัดทำป้าย จัดทำตรายาง สำหรับโครงการ 0 420.00 420.00
27 ก.ย. 66 ค่าจัดทำรายงานและบันทึกรายงานความก้าวหน้าในระบบออนไลน์ 1 1,480.00 1,480.00
10 ต.ค. 66 ถอนเงินคืนดอกเบี้ย ให้ อบจ. 2 26.23 26.23

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดแกนนำเยาวชนในการป้องกันและลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
  2. แกนนำมีภาวะผู้นำ กล้าแสดงออก และสร้างสรรค์กิจกรรม และสื่อสารสร้างความร่วมมือในกลุ่มนักเรียน
  3. ขยายผลในเชิงกลุ่มเป้าหมาย ไปสู่โรงเรียนอื่นๆ
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2566 14:39 น.