directions_run

ผักปลอดสารพิษ เพื่อชีวิตที่ดีแบบพอเพียง ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ผักปลอดสารพิษ เพื่อชีวิตที่ดีแบบพอเพียง ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ภายใต้องค์กร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล
รหัสโครงการ 65-10154-027
วันที่อนุมัติ 5 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 มกราคม 2566 - 15 พฤศจิกายน 2566
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุตำบลนาทอน
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางละเมียด เพ็งหนู
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 093-5815935
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ pp.worakun@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายเจ๊อับดุลล่าห์ แดหวัน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 ม.ค. 2566 31 พ.ค. 2566 5 ม.ค. 2566 31 พ.ค. 2566 50,000.00
2 1 มิ.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 1 มิ.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 25,000.00
3 1 ต.ค. 2566 15 พ.ย. 2566 1 ต.ค. 2566 15 พ.ย. 2566 5,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การบริโภคผักที่มีสารพิษน้อยหรือไม่มีสารพิษอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีและรักษาโรคต่างๆ ที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคเกี่ยวกับระบบประสาท ผักที่ปลูกแบบปลอดสารพิษจะลดความเสี่ยงในการรับประทานสารพิษที่อาจพบได้ในผักที่ปลายทางหรือร้านค้า โดยเฉพาะสารเคมีเช่น สารฆ่าแมลง สารป้องกันโรคพืช หรือสารอื่นๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพ การปลูกผักปลอดสารพิษในบ้านหรือการทำสวนส่วนรวมของผู้สูงอายุ สามารถส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสวนผัก ซึ่งอาจช่วยเพิ่มพลังใจและเพิ่มความมั่นใจในการเลี้ยงดูตนเอง ส่งเสริมให้มีการเคลื่อนไหวและออกกำลังกายเบา ในการดูแลและเก็บเกี่ยวผัก นอกจากนี้ยังมีผลกระทบทางจิตใจที่ดี เพราะการสัมผัสกับธรรมชาติและการเพาะปลูกสิ่งมีชีวิตสามารถสร้างความรู้สึกผ่อนคลายได้ นอกจากนี้การมีสวนผักส่วนรวมยังเป็นโอกาสในการสร้างสัมพันธภาพร่วมกับผู้อื่น สร้างโอกาส สร้างพื้นที่ ในการพบปะพูดคุยกับสังคมมากขึ้น ในกรณีที่ผู้สูงอายุอาศัยร่วมกับครอบครัวหรือสังคมที่ใกล้เคียง โดยการแบ่งปันผักที่ปลูกขึ้นมาให้กับครอบครัวอื่นหรือขายในชุมชนก็สามารถเป็นโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์และสนับสนุนให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่ายังสามารถมีส่วนร่วมและมีความสำคัญต่อสังคมได้ จากข้อมูลพื้นฐานของตำบลนาทอน พบว่ามีแนวโน้มได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 (อ้างอิงตามนิยามของสหประชาชาติ) ซึ่งเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีผลกระทบต่ออัตราส่วนภาวะพึ่งพิง หรือภาวะโดยรวม ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงประชากรวัยสูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้น อาจนำไปสู่ปัญหาทาง เศรษฐกิจ สังคม รวมถึงปัญหาในด้านสุขภาพ ของผู้สูงอายุด้วย เนื่องจากผู้สูงอายุ มีภาวะด้านสุขภาพที่เปลี่ยนแปลง มีความเสื่อมของร่างกาย อวัยวะต่างๆทั่วไป เริ่มอ่อนแอ และเกิดโรคง่าย ภูมิต้านทานโรคน้อยลง รวมถึงมีการ เปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ และสังคม และพบว่าผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป ในพื้นที่มีโรคเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภค ได้แก่ โรคเบาหวาน ร้อยละ 12.78 ความดัน ร้อยละ 40.30 ซึ่งมีประชากรทั้งหมด 7,404 คน และเมื่อประชากรโดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมคิดเป็นร้อยละ 84.5 (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 ) และจากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคต่างๆ มีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่ชอบบริโภคผัก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคเรื้องรังต่างๆ หลายโรค ดังที่กล่าวไว้ในข้างต้น ส่วนประชาชนที่นิยมบริโภคผัก ส่วนใหญ่จะซื้อมาจากท้องตลาด เป็นผักที่ปนเปื้อนสารเคมี ซึ่งถ้าบริโภคเป็นประจำแล้วก็อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่น ๆ ตามมาด้วย เช่น โรคมะเร็ง เป็นต้น การส่งเสริมการบริโภคผักซึ่งบูรณาการร่วมกันกับการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลนาทอน จึงเป็นโอกาสในการส่งเสริมสุขภาพ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของผู้สูงอายุ ร่วมทั้งเป็นการสร้างรายได้ให้กับครัวเรือนของผู้สูงอายุอีกด้วย

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ไม่มี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสร้างแกนนำกลุ่มที่บริโภคพืชผักปลอดสารพิษ และมีความสุขจากการรวมกลุ่มปลูกและบริโภคผักในชุมชน
  1. เกิดแกนนำกลุ่มผู้บริโภคพืชผักปลอดสารพิษ อย่างน้อย 1 กลุ่ม มีสมาชิกไม่น้อยกว่า 20 คน
  2. มีการกำหนดหน้าที่บทบาทของแกนนำ
  3. มีการวางแผนการดำเนินงาน
  4. มีการเก็บข้อมูลเพื่อมาติดตามผลการดำเนินงานอย่าต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุง/แก้ไขปัญหาการดำเนินงาน และสรุปผลการดำเนินงาน
  5. มีบันทึกข้อตกลงกลุ่ม/กฎ/กติกา 6.ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการ มีความสุขเพิ่มขึ้นจากการรวมกลุ่ม
2 2. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย เห็นความสำคัญของการบริโภคพืชผักปลอดสารพิษ
  1. มีผู้เข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของจำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด (40 คน)
  2. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ และตระหนักถึงประโยชน์และความสำคัญของการบริโภคพืชผักปลอดสารพิษ (จำนวน 40 คน)
3 3. เพื่อส่งเสริมการปลูกและบริโภคพืชผักปลอดสารพิษ เข้าใจวิธีการทำปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพโดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ
  1. เกิดแปลงสาธิตการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ อย่างน้อย 1 แปลง
  2. ได้ผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษเพื่อใช้ในการเพาะปลูก อย่างน้อย 2 ชนิด ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการ มีพืชผักปลอดสารพิษที่ปลูกเองไว้บริโภค (จำนวน 50 คน)
  3. ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด มีความรู้ความเข้าใจในการทำผลิตภัณฑ์ และสามารถนำไปใช้ได้ (จำนวน 40 คน)
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป 50 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 1 4.72
14 พ.ย. 66 นำส่งดอกเบี้ยคืน อบจ. 0 0.00 4.72
16 ม.ค. 66 เซนสัญญาข้อตกลง 3 200.00 200.00
51 5,000.00 11 5,500.00
29 ม.ค. 66 ปฐมนิเทศโครงการย่อย 2 208.00 208.00
6 ก.พ. 66 ประชุมชี้แจงโครงการ (คลี่โครงการ) 8 1,012.00 1,012.00
19 เม.ย. 66 จัดซื้อตรายาง "จ่ายเงินแล้ว" 0 200.00 200.00
28 เม.ย. 66 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการย่อย ครั้งที่ 1 3 500.00 500.00
28 เม.ย. 66 คืนเงินยืมเปิดบัญชี 1 0.00 500.00
1 มิ.ย. 66 แผนงานร่วมทุนลงพื้นที่ติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการย่อย ครั้งที่ 1 20 700.00 700.00
18 ส.ค. 66 ประชุมชี้แจงรายละเอียดการจัดทำเอกสารการเงินให้กับโครงการย่อย 2 500.00 500.00
21 ก.ย. 66 แผนงานร่วมทุนลงพื้นที่ติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการย่อย ครั้งที่ 2 10 350.00 350.00
26 ก.ย. 66 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการย่อย ครั้งที่ 2 2 500.00 500.00
30 ก.ย. 66 จัดทำรายงานและบันทึกรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ 0 830.00 830.00
3 พ.ค. 66 ประชุมคัดเลือกแกนนำ 1/4 50 3,750.00 3,765.00
110 5,850.00 4 5,865.00
29 มิ.ย. 66 ประชุมติดตามงานโครงการ 2/4 20 700.00 700.00
20 ก.ค. 66 ประชุมติดตามงานโครงการ 3/4 20 700.00 700.00
6 ก.ย. 66 ประชุมติดตามงานโครงการ 4/4 20 700.00 700.00
19 พ.ค. 66 จัดทำแผ่นพับรณรงค์การปลูกและบริโภคพืชผักปลอดสารพิษ 200 1,000.00 1,000.00
250 15,650.00 2 15,650.00
22 พ.ค. 66 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญและประโยชน์ของการบริโภคพืชผักปลอดสารพิษ 50 14,650.00 14,650.00
30 พ.ค. 66 ผลิตปุ๋ยและน้ำหมักชีวภาพโดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ 50 25,450.00 25,450.00
150 53,500.00 3 53,512.00
15 - 16 มิ.ย. 66 การจัดทำแปลงสาธิต 50 24,000.00 24,012.00
29 ก.ย. 66 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และคืนข้อมูลความรู้ให้ชุมชน 50 4,050.00 4,050.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

การดำเนินงานโครงการ ผักปลอดสารพิษ เพื่อชีวิตที่ดีแบบพอเพียง เป็นการส่งเสริมให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคพืชผักปลอดสารพิษให้กับกลุ่มผู้ที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป ของตำบลนาทอน ซึ่งงบประมาณของ สสส. เป็นตัวตั้งต้นในการกระตุ้นให้กลุ่มเป้าเกิดการตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเอง การกินอาหารปลอดสารพิษ และการรวมกลุ่มกันเพื่อทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ เมื่อมีการดำเนินกิจกรรม และได้ผลลัพธ์ที่เกิดประโยชน์กับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวแล้วในระยะหนึ่ง ก็เป็นการกระตุ้นให้มีการดำเนินกิจกรรมต่อเนื่อง สร้างกลุ่มผู้ที่บริโภคผักปลอดสารพิษที่เข้มแข็ง และเป็นรูปธรรม ต่อยอดกิจกรรม และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเป็นการรวบรวมข้อมูลสถานการณ์  ของกลุ่มเป้าหมายในตำบล เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาต่อยอดในระยะต่อไป

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2566 14:48 น.