directions_run

โครงการรณรงค์และส่งเสริมการลดปริมาณขยะในชุมชนบ้านโตนปาหนัน ตำบลทุ่งนุ้ย อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล

assignment
บันทึกกิจกรรม
ถอนเงินปิดบัญชีโครงการ ส่งเงินคืน อบจ.8 พฤศจิกายน 2566
8
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sasuk.thungnui
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ถอนเงินปิดบัญชีโครงการ ส่งเงินคืน อบจ.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ถอนเงินปิดบัญชีโครงการ ส่งเงินคืน อบจ.

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 226 กันยายน 2566
26
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sasuk.thungnui
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1 แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานร่วมกับโครงการอื่นๆ 2 แบ่งกลุ่มปฏิบัติเพื่อให้คณะทำงานโครงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานร่วมกับโครงการอื่นๆ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปปรับปรุงวิธีการดำเนินงานของโครงการให้บรรลุผลลัพธ์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้

ถอดบทเรียน25 กันยายน 2566
25
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sasuk.thungnui
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดกิจกรรมถอดบทเรียน กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 ครัวเรือน วันที่ 27 กันยายน 2566        ณ ศาลาอเนกค์ประสงค์ หมู่ที่ ๕ บ้านโตนปาหนัน เวลา 09.30 – 15.30 น. - มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 60 ครัวเรือน จำนวน 62 คน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลลัพธ์ของโครงการ     ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะในชุมชน   1) กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 100 (จำนวน 60 ครัวเรือน) เข้าร่วมกิจกรรมให้ความรู้การคัดแยกประเภทขยะมูลฝอย   2) กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในการคัดแยกขยะมูลฝอย และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้  ร้อยละ 100 (จำนวน 60 ครัวเรือน)
  • เกิดครัวเรือนต้นแบบในการจัดการขยะ   1) กลุ่มเป้าหมายมีการคัดแยกขยะในครัวเรือนร้อยละ 100 (จำนวน 60 ครัวเรือน)   2) กลุ่มเป้าหมายสามารถคัดแยกขยะมูลฝอยแต่ละประเภทและนำไปกำจัดได้อย่างถูกต้อง (จำนวน 60 ครัวเรือน)
  • เพื่อลดปริมาณขยะมูลฝอยตั้งแต่ครัวเรือนและนำไปใช้ประโยชน์   1) ปริมาณขยะมูลฝอยลดลง ร้อยละ 31.8 ของปริมาณขยะทั้งหมด ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด (เป้าหมายกำหนดให้ปริมาณขยะมูลฝอยลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 30) และปริมาณขยะมูลฝอยลดลงร้อยละ 100 (จำนวน 60 ครัวเรือน มีปริมาณขยะมูลฝอยลดลงทุกครัวเรือน)   2) นำขยะมูลฝอยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ นำขยะรีไซเคิลมาใช้ทำ ไม้กวาดจากขวดพลาสติก และถังขยะจากขวดพลาสติก

    • ปัจจัยที่ทำให้โครงการเกิดความสำเร็จ
    1. ผู้นำชุมชน ร่วมกับ คณะทำงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอยประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านโตนปาหนัน มีความเข้มแข็งปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชุมชน       2. กลุ่มเป้าหมายมีความสนใจ ให้ความร่วมมือและร่วมใจกันในการดำเนินโครงการ ให้ความสำคัญกับการจัดการขยะที่ต้นทาง เพื่อชุมชนที่สะอาด และน่าอยู่
    • บทเรียนที่ได้เรียนรู้จากโครงการ
    1. การจัดการขยะที่ต้นทางเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการจัดการขยะของครัวเรือน สามารถลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้นได้มาก และลดภาระการกำจัดขยะที่ปลายทางได้ง่ายที่สุด
    2. ควรส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเข้าร่วมโครงการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะที่ต้นทาง เพื่อปลูกฝังให้จัดการขยะที่ถูกต้อง เนื่องจากเด็กและเยาวชนจะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้ในอนาคต
การลงพื้นที่ติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการย่อย ครั้งที่ 222 กันยายน 2566
22
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sasuk.thungnui
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1 ลงพื้นที่ติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
2 เร่งรัดการดำเนินงานโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1 ได้ความรู้ในการดำเนินงานของโครงการเมื่อสิ้นสุดโครงการ 2 ได้ความรู้การบันทึกข้อมูลลงแว็บไซต์

จัดอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย19 กันยายน 2566
19
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sasuk.thungnui
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย (ประชาชนในพื้นที่บ้านโตนปาหนัน)
- กิจกรรมการคัดแยกขยะมูลฝอยนำมาใช้ประโยชน์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย (ประชาชนในพื้นที่บ้านโตนปาหนัน) จำนวน 60 คน 2 วัน - มีการคัดแยกขยะ และนำขยะไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น - ถังขยะจากขวดพลาสติก - ไม้กวาดจากขวดพลาสติก - สามารถคัดแยกขยะรีไซเคิลและขยะอันตราย ออกจากขยะทั่วไป เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี

อุปกรณ์ในการอบรม18 กันยายน 2566
18
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sasuk.thungnui
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดซื้ออุปกรร์ในการอบรม ดังนี้ 1 กรรไกร ขนาด 9 นิ้ว
2 คัดเตอร์ ขนาด 18 มม.
3 ลวดขนาดกลาง จำนวน 3 กิโลกรัม 4 คีม ขนาด 8 นิ้ว
5 ตาข่าย ขนาด 2x2 เมตร 6 เชือกไนลอนขนาด 3 มม.

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

อุปกรร์ในการอบรม ดังนี้ 1 กรรไกร ขนาด 9 นิ้ว จำนวน 6 เล่ม 2 คัดเตอร์ ขนาด 18 มม. จำนวน 6 เล่ม 3 ลวดขนาดกลาง จำนวน 3 กิโลกรัม 4 คีม ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 3 อัน 5 ตาข่าย ขนาด 2 x 2 เมตร 6 เชือกไนลอนขนาด 3 มม.

ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน29 มิถุนายน 2566
29
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sasuk.thungnui
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การติดตาม ประเมินผล ครั้งที่ 1
- มีผู้เข้าร่วมติดตาม ประเมินผล จำนวน 14 ท่าน ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมทำโครงการ จำนวน 4 ท่าน และคณะทำงานจัดการบริหารจัดการขยะมูลฝอยประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านโตนปาหนัน จำนวน 10 ท่าน - แบ่งกลุ่มผู้ติดตาม ประเมินผล เป็น 2 กลุ่ม สุ่มตรวจติดตามการจัดทำถังขยะอินทรีย์ฝังดิน หรือถังขยะเปียกลดโลกร้อน จากการอบรมเมื่อวันที่ 6 – 7 มิถุนายน 2566 สาธิตการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน และมอบถังขยะให้กับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 60 ครัวเรือน เพื่อนำไปใช้ในครัวเรือน การติดตาม ประเมินผล ครั้งที่ 2 (ครัวเรือนไม่ซ้ำกับ การติดตามครั้งที่ 1) -  มีผู้เข้าร่วมติดตาม ประเมินผล จำนวน 14 ท่าน ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมทำโครงการ จำนวน 4 ท่าน และคณะทำงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอยประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านโตนปาหนัน จำนวน 10 ท่าน - แบ่งกลุ่มผู้ติดตาม ประเมินผล เป็น 2 กลุ่ม สุ่มตรวจติดตามการคัดแยกขยะ และการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน
การติดตาม ประเมินผล ครั้งที่ 3 -  มีผู้เข้าร่วมติดตาม ประเมินผล จำนวน 14 ท่าน ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมทำโครงการ จำนวน 4 ท่าน และคณะทำงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอยประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านโตนปาหนัน จำนวน 10 ท่าน - ผู้รับผิดชอบโครงการ นำตะแกรงคัดแยกขยะอันตราย จำนวน 1 ชุด มอบให้กับคณะทำงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอยประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านโตนปาหนัน คณะทำงานฯ มีมติให้วางตะแกรงคัดแยกขยะบริเวณด้านหน้าศาลาอเนกค์ประสงค์ หมู่ที่ ๕ บ้านโตนปาหนัน เพื่อรองรับขยะอันตรายของหมู่บ้าน การติดตาม ประเมินผล ครั้งที่ 4 -  มีผู้เข้าร่วมติดตาม ประเมินผล จำนวน 14 ท่าน ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ร่วมทำโครงการ จำนวน 4 ท่าน และคณะทำงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอยประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านโตนปาหนัน จำนวน 10 ท่าน - เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 มอบหมายให้คณะทำงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอยประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านโตนปาหนัน นำแบบบันทึกการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน ให้แจกกับกลุ่มเป้าหมายทั้ง 60 ครัวเรือน เพื่อบันทึกปริมาณขยะหลังจากการดำเนินโครงการ เก็บข้อมูลระหว่าง วันที่ 11 – 24 กันยายน 2566

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปการติดตาม ประเมินผล ครั้งที่ 1 - กลุ่มที่ 1 สุ่มตรวจติดตามการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน จำนวน 14 ครัวเรือน พบว่ามีการจัดทำแล้ว 11 ครัวเรือน ยังไม่ดำเนินการ 3 ครัวเรือน คณะทำงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอยประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านโตนปาหนันและเจ้าของบ้านทั้ง 3 หลังช่วยกันดำเนินการจัดทำถังขยะฯ
- กลุ่มที่ 2 สุ่มตรวจติดตามการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน จำนวน 17 ครัวเรือน พบว่ามีการจัดทำแล้วทุกครัวเรือน
สรุปการติดตาม ประเมินผล ครั้งที่ 2
- กลุ่มที่ 1 สุ่มตรวจติดตามการคัดแยกขยะ และการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน จำนวน 16 ครัวเรือน พบว่ามีการคัดแยกขยะทุกครัวเรือน และมีการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อนทุกครัวเรือน - กลุ่มที่ 2 สุ่มตรวจติดตามการคัดแยกขยะ และการจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน จำนวน 13 ครัวเรือน พบว่ามีการคัดแยกขยะทุกครัวเรือน และพบว่ามีการจัดทำถังขยะฯแล้ว 11 ครัวเรือน ยังไม่ดำเนินการ 2 ครัวเรือน คณะทำงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอยประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านโตนปาหนันและเจ้าของบ้านทั้ง 3 หลังช่วยกันดำเนินการจัดทำถังขยะฯ สรุปการติดตาม ประเมินผล ครั้งที่ 3 -  ผู้รับผิดชอบโครงการ อธิบายและให้ความรู้ในเรื่องของการคัดแยกขยะอันตราย ให้กับคณะทำงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอยประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านโตนปาหนัน ทราบ และมอบหมายให้นำข้อมูลไปเผยแพร่ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการและประชาชนทั่วไปทราบ
- จากการตรวจติดตามครั้งที่ 2 มอบหมายให้คณะทำงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอยประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านโตนปาหนัน ทั้ง 10 ท่าน ติดตามการคัดแยกขยะ และลดปริมาณขยะของแต่ละครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ สรุปผลดังนี้
1. มีการคัดแยกขยะทุกครัวเรือน ครบทั้ง 60 ครัวเรือน แต่ยังมีบางครัวเรือนยังคัดแยกไม่ถูกวิธี กรณีเปลือกขนมที่ทำจากธรรมชาติทิ้งปนกับขยะทั่วไป ได้ชี้แจงเรียบร้อยแล้วว่าคือขยะเปียก สามารถย่อยสลายได้ 2. ในช่วงวันหยุดช่วยกันเก็บขยะบริเวณริมถนน และประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย เรื่องข้อตกลงหมู่บ้านเพื่อลดปริมาณขยะ ให้กับประชาชนในหมู่บ้านรับทราบและปฏิบัติตาม 3. รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายลดการใช้ถุงพลาสติก นำตะกร้า หรือถุงผ้า มาใช้แทนถุงพลาสติก และขอความร่วมมือร้านค้าในหมู่บ้านห้ามใช้โฟมในการบรรจุอาหาร โดยได้รับความร่วมมืออย่างดีจากกลุ่มเป้าหมาย 4. มีปัญหาเรื่องการทิ้งขยะบริเวณเส้นทางไปน้ำตกโตนปาหนัน คณะทำงานฯ ร่วมกันจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ ข้อตกลงหมู่บ้านเพื่อลดปริมาณขยะ ติดประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวรับทราบ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว สรุปการติดตาม ประเมินผล ครั้งที่ 4 คณะทำงานการบริหารจัดการขยะมูลฝอยประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 บ้านโตนปาหนัน เก็บรวบรวมแบบบันทึกการคัดแยกขยะมูลฝอยในครัวเรือน ของกลุ่มเป้าหมายทั้ง 60 ครัวเรือน สรุปผลได้ดังนี้ 1. มีการคัดแยกขยะ จำนวน 60 ครัวเรือน คิดเป็น ร้อยละ 100 ของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ 2. มีปริมาณขยะ ประมาณ 4,282 กิโลกรัม/เดือน/60 ครัวเรือน  คิดเป็น 0.63 กิโลกรัม/คน/วัน 3. ปริมาณขยะลดลง ร้อยละ 31.8 ของปริมาณขยะทั้งหมด ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด เป้าหมายกำหนดให้ปริมาณขยะมูลฝอยลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 30

ตะแกรงคัดแยกขยะอันตราย25 มิถุนายน 2566
25
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sasuk.thungnui
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ตะแกรงคัดแยกขยะอันตราย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตะแกรงคัดแยกขยะอันตราย จำนวน 1 ชุด

กิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะต้นทาง(ครัวเรือน)และการจัดการขยะอินทรีย์6 มิถุนายน 2566
6
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sasuk.thungnui
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดอบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย (ประชาชนในพื้นที่บ้านโตนปาหนัน) จำนวน 60 คน 2 วัน - ให้ความรู้ในการคัดแยกขยะ ตามหลัก 3Rs - ให้ความรู้ในการคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกออกจากขยะทั่วไปตั้งแต่ครัวเรือน - ขั้นตอนและวิธีการกำจัดขยะอินทรีย์และขยะเปียกในครัวเรือน - แบบทดสอบก่อนและหลังการอบรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีความรู้ในการคัดแยกขยะ ตามหลัก 3Rs
  2. มีความรู้ในการคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกออกจากขยะทั่วไปตั้งแต่ครัวเรือน
  3. รู้ขั้นตอนและวิธีการกำจัดขยะอินทรีย์และขยะเปียกในครัวเรือน
การลงพื้นที่ติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการย่อย ครั้งที่ 12 มิถุนายน 2566
2
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sasuk.thungnui
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ลงพื้นที่ติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ แนะนำเอกสารการเบิกเงิน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1 วิธีการเบิกจ่ายเงินในการดำเนินโครงการ 2 ได้ความรู้ในการดำเนินงานในโครงการได้นำปรับปรุงใช้ในการดำเนินงานต่อไป

จัดทำป้ายไวนิลบันไดผลลัพธ์โครงการฯ31 พฤษภาคม 2566
31
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sasuk.thungnui
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำป้ายไวนิลบันไดผลลัพธ์โครงการฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ป้ายไวนิลบันไดผลลัพธ์โครงการฯ จำนวน 1 ป้าย

จัดทำเอกสารคู่มือ และอุปกรณ์ในการอบรม31 พฤษภาคม 2566
31
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sasuk.thungnui
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำเอกสารคู่มือ และจัดซื้ออุปกรณ์ในการอบรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เอกสารคู่มือ จำนวน 60 เล่ม
  2. สมุด จำนวน 60 เล่ม
  3. ปากกา จำนวน 60 เล่ม
  4. แฟ้ม A4 มีกระดุม จำนวน 60 อัน
จัดทำป้ายไวนิลรณรงค์ประชาสัมพันธ์ จำนวน 3 ป้าย และป้ายให้ความรู้การคัดขยะ(Roll up) จำนวน 2 ป้าย31 พฤษภาคม 2566
31
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sasuk.thungnui
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. จัดทำป้ายไวนิลรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และป้ายให้ความรู้การคัดขยะ(Roll up)
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ป้ายไวนิลรณรงค์ประชาสัมพันธ์ จำนวน 3 ป้าย
  2. ป้ายให้ความรู้การคัดขยะ(Roll up) จำนวน 2 ป้าย
จัดซื้ออุปกรณ์ประกอบการอบรมสาธิต26 พฤษภาคม 2566
26
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sasuk.thungnui
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดซื้ออุปกรณ์ประกอบการอบรมสาธิต เรื่อง การทำถังขยะอินทรีย์ฝังดิน ถังพลาสติกมีฝาปิดตัดท้าย ขนาดไม่น้อยกว่า 11 แกลลอน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ถังพลาสติกมีฝาปิดตัดท้าย ขนาดไม่น้อยกว่า 11 แกลลอน จำนวน 60 ใบ

กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการสำรวจปัญหาและปริมาณขยะครัวเรือน22 พฤษภาคม 2566
22
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sasuk.thungnui
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดประชุมกลุ่มเป้าหมาย (ประชาชนในพื้นที่บ้านโตนปาหนัน) จำนวน 60 คน 1 วัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คณะทำงานการบริหารจัดการประจำหมู่บ้าน  จำนวน 13 คน         1.1 นายดนมาหนับ  จิแอ   ประธานกรรมการ         1.2 นายบีสอน  ลัสมาน   รองประธาน         1.3 นายดนสอหมาด  หาสกุล   กรรมการ         1.4 นายยะโกบ  ใจดี     กรรมการ         1.5 นายหมาดสุกรี  เศษระนำ             กรรมการ         1.6 นายสาม๊ะ  เส็นสัน     กรรมการ         1.7 นางกอหรี  เส็นสัน     กรรมการ         1.8 นายอนุชัย  เส็นสัน     กรรมการ         1.9 นายยุทธนา  มาลินี     กรรมการ         1.10 นายซุลัยมาน  มรรคาเขต     กรรมการ         1.11 นายรอหมัด  เส็นสัน     กรรมการ         1.12 นายสนิ  หมัดหลี     กรรมการ         1.13 นายอับดลอาซีด  มรรคาเขต             เลขานุการ

  2. ข้อตกลงหมู่บ้าน (กฎเกณฑ์ของหมู่บ้านในการบริหารจัดการขยะ)         2.1 ห้ามทิ้งขยะสองข้างถนนภายในหมู่บ้าน          2.2 ห้ามทิ้งขยะอินทรีย์(เปลือกผลไม้ กิ่งไม้ ฯลฯ) ลงถัง/ถุงขยะ          2.3 ร่วมคัดแยกขยะอินทรีย์นำไปใช้ประโยชน์/ทิ้งลงถังขยะเปียก/เสวียน,คอกล้อมรอบต้นไม้/ทำปุ๋ยหมักปุ๋ยน้ำหมัก         2.4 ร่วมคัดแยกขยะรีไซเคิลเพื่อนำไปขาย
            2.5 ร่วมคัดแยกขยะอันตรายในครัวเรือน/ชุมชน แล้วนำไปเก็บ  ณ จุดรวบรวมขยะอันตรายประจำหมู่บ้าน
            2.6 ร่วมมัดปากถุง นัดเวลาทิ้งขยะตามวันเวลาที่กำหนด          2.7 ร่วมลด ละ เลิกใช้ถุงพลาสติก         2.8 ห้ามใช้โฟมบรรจุอาหารภายในหมู่บ้าน/ครัวเรือน/ร้านค้า ฯลฯ

  3. ปริมาณขยะก่อนเริ่มโครงการ (เริ่มเก็บข้อมูลวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 – 5 มิถุนายน 2566)

กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 128 เมษายน 2566
28
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sasuk.thungnui
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานร่วมกับโครงการอื่นๆ
  2. กิจกรรมฐานการเรียนรู้ แบ่งออกเป็น 3 ฐาน   2.1 การติดตามและประเมินผลโครงการย่อย   2.2 การเงิน   2.3 เว็บไซต์ คนสร้างสุข
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้เรียนรู้การดำเนินงานแต่ละโครงการ และนำผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปปรับปรุงการดำเนินงานของโครงการให้บรรลุผลลัพธ์ และเป้าหมายที่กำหนดไว้ในโครงการ
  2. ได้ความรู้ในการบันทึกข้อมูล ลงว็บไซต์ คนสร้างสุข ได้ถูกต้อง
  3. ได้ความรู้วิธีการเบิกจ่ายเงินโครงการได้ถูกต้อง
จัดทำป้ายโครงการ และป้ายรณรงค์งดสูบบุหรี่10 กุมภาพันธ์ 2566
10
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sasuk.thungnui
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำป้ายโครงการ และป้ายรณรงค์งดสูบบุหรี่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.จัดทำป้ายโครงการจำนวน 1 ป้าย 2. จำทำป้ายรณรงค์งดสูบบุหรี่จำนวน 2 ป้าย

พบพี่เลี้ยง ช่วยคลี่โครงการ10 กุมภาพันธ์ 2566
10
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sasuk.thungnui
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. กำหนดตัวชี้วัดของโครงการ
  2. ชี้แจงบันไดผลลัพธ์
  3. ชี้แจงรายละเอียดโครงการ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 7 คน 2. มีตัวชี้วัดที่ใช้ในการดำเนินงาน 6 ตัวชี้วัด

ปฐมนิเทศโครงการ29 มกราคม 2566
29
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย sasuk.thungnui
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

แกนนำโครงการ 2 คน เข้าร่วมกิจกรรมที่ เทศบาลตำบลกำแพง โดยมีเนื้อหาการเรียนรู้ดังนี้ -ผลลัพธ์ผลิต -ปฎิทินโครงการ -การเก็บตัวชี้วัด -การใช้เวปคนสร้างสุข

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต แกนนำโครงการ 2 คน เข้าร่วมกิจกรรมการปฐมนิเทศ ผลลัพธ์ -แกนนำ โครงการ 2 คน มีความสามารถทำแผนโครงการ ทำรายละเอียดการจัดกิจกรรม ออกแบบเก็บตัวชี้วัด การเงิน/เอกสารการเงิน และการลงเวปไซด์ ได้