task_alt

ครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรงสื่อสารพลังบวก ตำบลนาท่อม

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรงสื่อสารพลังบวก ตำบลนาท่อม

ชุมชน ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

รหัสโครงการ ุ65-10156-001 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 15 ตุลาคม 2566

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กุมภาพันธ์ 2566 ถึงเดือน กรกฎาคม 2566

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ชื่อกิจกรรมที่ 1 อบรม กลไกทำงานครอบครัวในพื้นที่ ให้ความรู้ครอบครัวสื่อสารพลังบวก เพื่อสร้างคณะทำงานพี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวก

วันที่ 9 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนเข้าร่วมประชุมจำนวน 20 คน สมัครใจเป็นครู ก  ครู ข ในการเป็นพี่่เลี้ยงชุมชนจำนวน 8  คน  ที่เหลือ 12 คน ร่วมเรียนรู้ช่วยเหลือ ครู ก ครูข
  2. เรียนรู้ผ่านระบบซูมจำนวน 12  ครั้ง สนับสนุนวิชาการโดย ศูนย์คุณธรรมองค์การมหาชน เป็นหลักสูตรการเป็นพี่เลี้ยงชุมชน

ผลลัพธ์ เกิดระบบพี่เลี้ยงครอบครัวในชุมชนที่มีความรู้คิดออกแบบกิจกรรมและมีเทคนิคในการจัดค่ายครอบครัว และนำไปสู่การเข้าถึงปัญหาในพื้นที่ได้และสามารถเป็นนักจัดกระบวนการในชุมชน จำนวน 8  คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประชุมสร้างความเข้าใจคณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อม จำนวน 20 คน เพื่อสร้างคณะทำงานพี่เลี้ยงหรือที่ปรึกษาครอบครัวในชุมชน โดยมีการอบรมผ่านระบบซูมทุกวันอาทิตย์ สอนโดยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยประสานมิตร โดยมีภาคีเครือข่าย ศูนย์คุณธรรมองค์การมหาชนสนับสนุนองค์ความรู้ทีมวิทยากร
  2. วิทยากรครอบครัวให้ความรู้กับคณะทำงานพี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวก มาจาก กรรมการศูนย์ศพค /ทต/รร/ปก/อพม 20 คน
  3. คณะทำงานพี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวก มีความรอบรู้ครอบครัวสื่อสารพลังบวกกับครอบครัวในชุมชน

 

20 0

2. ชื่อกิจกรรมที่ 2 อบรมหลักสูตรเป็นพี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวก

วันที่ 16 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต คณะกรรมการศูนย์ ศพค จำนวน 20 คนมีความรู้และเข้าใจหลักสูตรเป็นพี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวก โดยคณะกรรมการและคณะทำงานสมัครเป็นแกนนำครู ก และ ข เข้าร่วมอบรม Online เพื่อพัฒนาศักยภาพทักษะเป็นพี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวก จำนวน 8 คน
ผลลัพธ์ ที่เกิดขึ้นจริง
กรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัวและแกนนำ จำนวน 8 คนได้ฝึกอบรมมีความรู้โดยจาก มหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรจน์ ผ่านระบบ ซูม ในทุกวันอาทิตย์เวลา 10.30-12.30 น จำนวน 12 ครั้ง เริ่มเรียนวันอาทิตย์ที่ 9 เมษายน - 30 กรกฎาคม 66 และมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.จัดทำข้อมูลสถานการณ์สภาพปัญหาในพื้นที่ โดย สำรวจข้อมูลสถานการณ์ครอบครัว ด้วยแบบประเมินรูปแบบการดูแลเลี้ยงดูเชิงบวก (สำหรับครอบครัวที่มีบุตรหลาน อายุ 8-20 ปี) จำนวน 240 ครอบครัว วิเคราะห์ผล และจัดทำรายงานสรุปผล 2.คณะกรรมการศูนย์ ศพค และคณะทำงานเป็นแกนนำเข้าร่วมอบรม Online เพื่อพัฒนาศักยภาพทักษะเป็นพี่เลี้ยง ที่ปรึกษาในชุมชน ทั้ง 3 หัวข้อ ได้แก่ 1 รูปแบบการดูแลเลี้ยงดูเชิงบวกและเทคนิคการให้คำปรึกษา  2. การพัฒนาต้นแบบระบบพี่เลี้ยงที่ปรึกษาในชุมชน  3. การสร้างความร่วมมือเครือข่ายภายในและภายนอก  โดยมีเป้าหมายพัฒนาความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน  ด้วย 5 ทักษะที่สำคัญ คือ 1) ทักษะพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาในชุมชน 2) ทักษะพัฒนากิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กตามวัย 3) ทักษะบริหารจัดการความรุนแรงความขัดแย้ง 4) ทักษะการเฝ้าระวัง และ 5) ทักษะการให้ความช่วยเหลือ

 

20 0

3. ชื่อกิจกรรมที่ 3 เก็บข้อมูลสถานการณ์ครอบครัวของตำบลนาท่อม

วันที่ 23 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต คณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัวตั้งเป้าหมายเก็บข้อมูลหมู่ละ 30 ชุด 8 หมู่บ้าน 240 ชุด เก็บได้จำนวน 81 ชุด/ครอบครัว ผลการวิเคราะห์ข้อมูลรามแนบ ผลลัพธ์ คณะกรรมการศูนย์ได้สำรวจสถานการณ์ครอบครัวโดยใช้แบบประเมินในการเก็บข้อมูลและได้สร้างสัมพันธภาพกับครอบครัวในแต่ละชุมชน ง่ายต่อการเข้าถึงสมาชิกครอบครัวในแต่ละชุมชนเพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการออกแบบทำกิจกรรมแก้ปัญหาครอบครัวในตำบล แบ่งได้ 2 รูปแบบ คือ ครอบครัวปกติ และครอบครัวไม่ปกติ ใช้ข้อมูลออกแบบกิจกรรมค่ายครอบครัวพลังบวกโดยทีมพี่เลี้ยงครอบครัวในชุมชนที่ผ่านการเรียนรู้และได้ออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อมร่วมออกแบบประเมินและเก็บข้อมูลในระดับตำบลทุกหมู่บ้าน 8 หมู่บ้าน เพื่อนำมาใช้วิเคราะห์และใช้ออกแบบกิจกรรมค่ายครอบครัว 1. ผู้ให้คำตอบแบบประเมินนี้ คือ พ่อแม่ หรือผู้ปกครอง ที่มีบุตรหลาน อายุระหว่าง 8 – 20 ปี 2. แบบประเมินนี้ แบ่งออกเป็นทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่
2.1 การมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายการใช้ชีวิตของลูก ขอบเขตพฤติกรรม และกฏระเบียบภายในบ้าน (ข้อ 1-5) 2.2 การยอมรับ และตอบสนองความต้องการตามวัยของลูก (ข้อ 6-11) 2.3 ทักษะการใช้เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวก (ข้อ 17-29) ข้อ 26-29 เป็นการให้คะแนนแบบย้อนกลับ 3. การตอบแบบประเมิน: ให้พ่อแม่ หรือผู้ปกครอง ประเมินตนเองว่าอยู่ในระดับใด (1-7 คะแนน) 4. (ตัวอย่าง) วิธีการให้คะแนนในแต่ละคำถาม เช่น ฉันให้อิสระลูกในการคิดแก้ไขปัญหาด้วยตนเองระดับใด ให้พ่อแม่หรือผู้ปกครอง ประเมินตนเองว่า เราได้ ให้โอกาส หรือ ให้อิสระ กับลูก (หรือหลาน) คิดแก้ไขปัญหาของตัวเองมากน้อยแค่ไหน เกณฑ์การให้คะแนน : 1 = ฉันเป็นคนคิดแก้ไขปัญหาให้ ทุกครั้ง 2 = ฉันเป็นคนคิดแก้ไขปัญหาให้ บ่อยครั้ง 3 = ฉันเป็นคนคิดแก้ไขปัญหาให้ ค่อนข้างบ่อย 4 = ฉัน และ ลูก ช่วยกันคิดแก้ไขปัญหา 5 = ลูกเป็นคนแก้ไขปัญหาเอง ค่อนข้างบ่อย
                        6 = ลูกเป็นคนแก้ไขปัญหาเอง บ่อยครั้ง                         7 = ลูกเป็นคนคิดแก้ไขปัญหาเอง ทุกครั้ง

 

20 0

4. กิจกรรมที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลและออกแบบกิจกรรมร่วมบรรจุในแผนพัฒนาประเด็นครอบครัวตำบลนาท่อม

วันที่ 21 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แบบประเมิน 240  ชุด มีผู้ตอบมา 81  ชุด ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1 การมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายการใช้ชีวิตของลูก ขอบเขตพฤติกรรม และกฏระเบียบภายในบ้าน (ข้อ 1-5)   1.1  รูปแบบการเลี้ยงดูแบบเข้มงวด (5-15 คะแนน)  จำนวน 3  ครอบครัว   1.2  รูปแบบการเลี้ยงดูแบบมีส่วนร่วม (16-24 คะแนน) จำนวน 28  ครอบครัว   1.3  รูปแบบการเลี้ยงดูแบบตามใจ (25-35 คะแนน) จำนวน 50  ครอบครัว 2 การยอมรับ และตอบสนองความต้องการตามวัยของลูก (ข้อ 6-11)     2.1 รูปแบบการเลี้ยงดูแบบปกป้องมากเกินไป (55-77 คะแนน)  จำนวน 46  ครอบครัว   2.2  รูปแบบการเลี้ยงดูแบบเหมาะสมตามวัย (34-54 คะแนน) จำนวน 34  ครอบครัว   2.3  รูปแบบการเลี้ยงดูแบบปล่อยปะละเลบ (11-33 คะแนน) จำนวน 1  ครอบครัว 3 ทักษะการใช้เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวก (ข้อ 17-29)
  3.1  รูปแบบการเลี้ยงดูแบบเชิงลบ (13-39 คะแนน)  จำนวน 0  ครอบครัว   3.2  รูปแบบการเลี้ยงดูเชิงบวก (65-91 คะแนน) จำนวน 66  ครอบครัว   3.3  รูปแบบการเลี้ยงดูแบบไม่แน่นอน (40-64 คะแนน) จำนวน 15  ครอบครัว โดยสรุปจากข้อมูลร้อยละ 33.75  ตำบลนาท่อม
-  สถานการณ์การเลี้ยงดูแบบมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายการใช้ชีวิตลูก แบบตามใจร้อยละ 61.73  แบบมีส่วนร่วมร้อยละ  34.56 -  สถานการณ์การยอมรับและการตอบสนองตามช่วงวัย  รูปแบบการเลี้ยงดูแบบปกป้องมากเกินไปร้อยละ 56.79  รูปแบบการเลี้ยงดูแบบเหมาะสมตามวัย ร้อยละ 41.98 -  สถานการณ์การใช้เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวก  รูปแบบการเลี้ยงดูเชิงบวกร้อยละ 81.48  รูปแบบการเลี้ยงดูแบบไม่แน่นอน ร้อยละ 18.52 คณะกรรมการและทีมพี่เลี้ยงได้ออกแบบตามข้อมูล ในกิจกรรมค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวกเพื่อหาครอบครัวต้นแบบครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เป้าหมายคณะทำงานมีความรอบรู้และขับเคลื่อนงานได้  เกิดแผนพัฒนาครอบครัวเข้มแข็งตำบลนาท่อม.ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล และเกิดแผนดำเนินงานครอบครัวสื่อสารพลังบวก จากความต้องการของเด็กและผู้ปกครอง หลังจบโครงการมีการพัฒนาเป็นหลักสูตรครอบครัวอบอุ่นสื่อสารพลังบวกของตำบลนาท่อมใช้กับศูนย์พัฒนาครอบครัว     คณะกรรมการและคณะทำงานที่เป็นพี่เลี้ยงร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลแปลผลออกมาเป็น 9 องค์ประกอบรูปแบบการเลี้ยงดูดังนี้ 1 การมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายการใช้ชีวิตของลูก ขอบเขตพฤติกรรม และกฏระเบียบภายในบ้าน (ข้อ 1-5) 2 การยอมรับ และตอบสนองความต้องการตามวัยของลูก (ข้อ 6-11) 3 ทักษะการใช้เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวก (ข้อ 17-29)

 

20 0

5. ชื่อกิจกรรมที่ 8 กิจกรรมค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก โชว์ แชร์ เพื่อหาต้นแบบครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรง

วันที่ 27 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต มีผู้เข้าร่วม 80  คน แบ่งเป็น ผู้ปกครองกับเด็ก 70  คน ครู ก ข(ทีมพี่เลี้ยงชุมชน) จำนวน 10 คน ผลลัพธ์ 1, เกิดพี่เลี้ยงชุมชน 8 คนที่มีความรู้และสร้างกระบวนการค่ายครอบครัวสามารถร่วมกันได้  และจัดกิจกรรม จัดกระบวนการที่ได้ใช้เทคนิคหรือองค์ความรู้ในกระบวนการ 2. เกิดครอบครัวต้นแบบครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรงอย่างน้อยหมู่ละ 1 ครอบครัว 3. เกิดทีมวิทยากรกระบวนการที่เป็นทีมพี่เลี้ยงชุมชน หรือ ครู ก ข สามารถขับเคลื่อนงานได้ และเป็นทีมวิทยากรครอบครัวให้ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

จากข้อมูลและการออกแบบค่ายครอบครัวมีรายละเอียดขั้นตอนดังนี้ 1. ค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก 2 วัน 1 คืน โดยเด็กร่วมออกแบบกิจกรรม  หาดปากเมงรีสอร์ท จ.ตรัง . วิธีดำเนินการ     1. ประชุมสร้างความเข้าใจคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวหรือแกนนำครอบครัวพลังบวก เพื่อออกแบบครอบครัวต้นแบบด้านการสื่อสารพลังบวกในครอบครัวคัดเลือกตัวแทนกลุ่มเป้าหมายจาก ๘ หมู่บ้าน จำนวน 30 ครอบครัวเรือน ๆ ละ 2  คน(ผู้ปกครอง รวมเด็กอายุ ๗-๒๐ ปี) รวมกลุ่มเป้าหมาย 70  คนรวมแกนนำด้วย 80  คน รวม ครู ก/ข 2. ประชุมสร้างความเข้าใจผู้เข้าร่วมกิจกรรมของครู ก/ข ค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก จำนวน 20 คน  โดยออก แบบมีส่วนร่วม เด็กคิด เด็กทำ ผู้ใหญ่หนุนเสริม เพื่อทำแผนการดำเนินงานโครงการครอบครัวพลังบวก 3. ดำเนินกิจกรรมตามแผนการดำเนินโครงการดังนี้ แบ่ง 2  กลุ่ม ผู้ปกครอง กับ เด็กและเยาวชน   ภาคเข้า จัดค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก โดยมีกระบวนการ การให้ความรู้ในภาคเช้า เรื่อง การสื่อสารพลังบวกในครอบครัว ผ่านกิจกรรมที่สมาชิกเลือกเองเพื่อการเรียนรู้ ของครู ก ข กับ ผู้ปกครอง  เป็นเกมส์ เทคนิคพี่เลี้ยงชุมชนทำกับผู้ปกครอง  เทคนิคการสื่อสารที่เกิดจากไม่เข้าใจของลูกและหลาน  กิจกรรมอื่นตามความเหมาะสม
ภาคบ่าย สันธนาการกับเด็กและเยาวชนพร้อมผู้ปกครองศึกษาเรียนรู้ธรรมชาติ ภาคภาคค่ำ กลับมาสรุปบทเรียนที่ได้ ทำกิจกรรม ครอบครัวสื่อพลังบวกร่วมกันกำหนด กิจกรรในแผนของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อม     4. สรุปกิจกรรม

 

80 0

6. ชื่อกิจกรรมที่ 6 ออกแบบกิจกรรมร่วมกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการแก้ปัญหาผู้ปกครอบร่วมกับเด็ก

วันที่ 10 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต มีผู้เข้าร่วมจำนวน 40 คนประกอบด้วย พี่เลี้ยงในชุมชน  เด็กในชุมชน ผู้ปกครองในฐานะพี่เลี้ยงเด็ก มีความรู้และร่วมกันเรียนรู้ชุมชนทำแผ่นที่เดินดิน สำรวจชุมชน พื้นที่สร้างสรรค์และพื้นที่เสี่ยง

ผลลัพธ์ -เกิดแผนที่เดินดิน บ้านโคกแย้มในการเรียนรู้ของเด็กคิด เด็กทำ  วิธีการโดยเด็กเก็บข้อมูล เรียนรู้ชุมชน ผ่านกระบวนการเรียนรู้มีครูพี่เลี้ยงแนะนำ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วิธีการดำเนินงาน 1. นำกิจกรรมจากแผนมาร่วมออกแบบร่วมกันกับเด็ก ผู้ปกครอง  ให้เด็กคิดเด็กทำผู้ใหญ่สนับสนุน ครูพี่เลี้ยงทำร่วมกับเด็กหมู่ที่ 2 บ้านโคกแย้ม ตำบลนาท่อม 2. ประสานเด็กกลุ่มต่างๆมาร่วมกิจกรรมตามแผน ค่ายกิจกรรมครอบครัวสื่อสารพลังบวก หลังจากการทำค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก โดยการกลับมาสำรวจชุมชนร่วมกับครอบครัวอื่นในพื้นเป้าหมาย

 

40 0

7. ชื่อกิจกรรมที่ 7.1 สร้างหลักสูตรครอบครัวอบอุ่นสื่อสารพลังบวกของชุมชน ครั้งที่ 1

วันที่ 17 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต     คณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัว จำนวน 21 คนมีความรู้และเข้าใจและเป็นกลไกศูนย์พัฒนาครอบครัวในการทำงานด้านพัฒนาครอบครัวและจัดค่ายครอบครัวอย่างต่อเนื่อง และสร้างการเรียนรู้ด้วนระบบออนไลน์ ซูม ในวันอาทิตย์ จำนวน 12 ครั้งของพี่เลี้ยงครู ก และ ข จำนวน 9 คน เพื่อเป็นครูพี่เลี้ยงในชุมชน และเรียนรู้เทคนิคการแก้ปัญหาครอบครัวในชุมชน ของคนในแต่ละช่วงวัย โดย มศว  ศูนย์คุณธรรม องค์การมหาชน  ม.มหิดล  ม.ราชภัคเชียงใหม่ สนับสนุนองค์ความรู้

ผลลัพธ์     คณะกรรมการ 21 คน ครูพี่เลี่้ยง จำนวน 9 คน สามารถให้คำปรึกษา สามารถออกแบบแก้ปัญหาในระดับเบื้องต้น  คิดวิธีหาวิธีในการออกแบบกิจกรรมค่ายครอบครัวได้ สามารถออกแบบเทคนิคต่างๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ถอดบทเรียนค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก หลังจากการทำกิจกรรมค่ายครอบครัว คณะทำงาน ครูพี่เลี่้ยงชุมชน ได้สรุปบทเรียนดังนี้   จากการเก็บข้อมูลและสรุปวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า 9 องค์ประกอบรูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กตำบลนาท่อม  สุ่มเก็บข้อมูล 81  ครัวเรือน พบว่า 1.1 การมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายการใช้ชีวิตลูก และขอบเขตการดูแลเลี้ยงดู พบว่า
          3  ครัวเรือนมีรูปแบบการดูแลเลี้ยงดูแบบเข้มงวด
          30 ครัวเรือนมีรูปแบบการเลี้ยงดูแบบมีส่วนร่วม       48 คร้วเรือนมีรูปแบบการเูแลเลี้ยงดูแบบตามใจ 1.2 การยอมรับและตอบสนองความต้องการตามวัย       46 ครัวเรือนมีรูปแบบเบี้ยงดูแบบปกป้องมากเกินไป       34 ครัวเรือนมีรูปแบบการดูแลเลี้ยงดูแบบเหมาะสมตามวัย         1 ครัวเรือนมีรูแแบบการดูแบเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลย 1.3  วิธีการสร้างวินัย       0 ครัวเรือนมีรูปแบบการดูแลเลี้ยงดูเชิงลบ     ุุ66  ครัวเรือนมีรูปแบบการดูแลเลี้ยงดูเชิงบวก     15  ครัวเรือนมีรูปแบบการดูแลเลี้ยงดูแบบไม่แน่นอน

      โดยสรุปจากคณะทำงาน การดูแลเลี้ยงดูอบรมของครอบครัว  แบบมีส่วนร่วมของครอบครัว รูปแบบที่มีการปกป้องมาเกินไปรองลงมามีความเหมาสมตามช่วงวัย และเป็นการดูแลเลี่้ยงดูเชิงบวก จากข้อสังเกตุและพูดคุยหาข้อมูลเพิ่ม ปัจจุบันครอบครัวมีขนาดเล็กลง จำนวนลูก 1-2 คน จะถูกดูแลตามใจ  ซึ่งกิจกรรมกรรมค่ายครอบครัวพลังบวกจะเป็นกิจกรรมที่เหมาะสมกับครอบครัวปกติ มีผู้ปกครองในการดูแลอย่างเหมาะสมตามช่วงวัย เป็นการเสริมพลังป้องกันครอบครัวสร้างความเข้มแข็งยิ่งขึ้นนำไปสู่การชักชวน ชี้เป้าครอบครัวที่ไม่ปกติให้เข้าถึงได้ร่วมกิจกรรมและเข้าถึงของหน่วยงานอื่นให้การช่วยเหลือ

  1. การจัดทำเป็นหลักสูตรครอบครัวสื่อสารพลังบวกที่เหมาะสม คือ  2 วัน 1 คืน
    หลักสูตร แบ่งเป็น 2 ส่วน
    ส่วนที่ 1 พัฒนาครูพี่เลี้ยงอบรม 5 ทักษะพี่เลี้ยงครอบครัวสื่อสารพลังบวก 1)ทักษะพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาในชุมชน ฝึกทักษะพี่เลี้ยงครู ก ขยายผลสู่ ผู้ปกครอง และสร้างพี่เลี้ยงเด็กและเยาวชน เป็นข้อต่อเชื่อมงานเด็กและเยาวขนในชุมชน 2)ทักษะพัฒนากิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กตามวัย  ผลักดันให้เกิดหลักสูตรท้องถิ่นเป็นวิชาทางเลือก 3)ทักษะบริหารจัดการความรุนแรงความขัดแย้ง ใช้สหวิชาชีพในการจัดการ 4)ทักษะการเฝ้าระวัง  คือ ออกแบบสร้างกิจกรรม 5)ทักษะการให้ความช่วยเหลือ  คือการส่งต่อ ส่วนที่ 2 หลักสูตรค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก นำความรู้และเทคนิคใช้กับครอบครัวปกติและไม่ปกติ       วิชาหรือหลักสูตร เป็นรูปแบบการเลี้ยงดูเชิงบวก ใช้เทคนิคการให้คำ ปรึกษา ครู ก. : ความรู้เรื่องการให้คำปรึกษา    พี่เลี้ยงที่ปรึกษา คือ ผู้ที่ให้คำ แนะนำ ดูแลช่วยเหลือ เด็กและวัยรุ่น บทบาทพี่เลี้ยงที่ปรึกษาในชุมชน จะดูแลให้คำ แนะนำ ช่วยเหลือเด็ก และคนในชุมชนให้มีสุขภาวะที่ดี พัฒนาศักยภาพ ช่วยเหลือเด็กและ วัยรุ่น
          ขั้นตอน สู่การพัฒนาระบบพี่เลี้ยงในชุมชน ต้องมีทักษะ 5 ด้าน โดย เฉพาะเทคนิคที่ปรึกษา หัวใจสำคัญการให้คำปรึกษา คือ การพูดคุย สื่อสาร ให้เข้าใจ เเละ พัฒนาศักยภาพได้ (ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะรู้คิด) โดยต้องมี "ผู้ให้ และผู้รับ" ทุกคนสามารถเป็นพี่เลี้ยงได้ เช่น ครู ผู้นำ ผู้ที่ได้รับการนับถือ หรือ ไว้ใจจากชุมชน  เป้าหมายการให้คำ ปรึกษา คือ เข้าใจปัญหา วิเคราะห์สาเหตุ คุณสมบัติที่ดี คือ ตั้งใจช่วยเหลือ ผู้ฟังที่ดี เป็นมิตร อดทน รักษา ความลับ และคิดบวก ขั้นตอนการให้คำปรึกษา ภาษาที่ใช้ ไม่เป็นทางการ (พี่เลี้ยงในชุมชน) และทางการ (ครู) แบ่งเป็น 3 ช่วง ก่อนดำ เนินการ ดำ เนินการให้คำ ปรึกษา และ ขั้นยุติการให้คำ ปรึกษา

 

20 0

8. ชื่อกิจกรรมที่ 5. ติดตามผลโครงการ ARE ครั้งที่ 1

วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.เกิดคณะทำงานพี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวก จำนวน 9 คน ที่มาจาก มาจากกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัว มาจากเทศบาลตำบลนาท่อม มาจากอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อาสาสมัครกลุ่มออกกำลังกาย 2.คณะทำงาน มีความรอบรู้ ครอบครัวพลังบวก 5 ด้าน
  1)ทักษะพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาในชุมชน
  2)ทักษะพัฒนากิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กตามวัย
  3)ทักษะบริหารจัดการความรุนแรงความขัดแย้ง
  4)ทักษะการเฝ้าระวัง
  5)ทักษะการให้ความช่วยเหลือ 3.มีขัอมูลสถานครอบครัว ในตำบลนาท่อม 4.มีแผนพัฒนาครอบครัวเข้มแข็งตำบลนาท่อม.ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล 2 แบบ คือ แผนพัฒนาครอบครัวปกติ กับแผนพัฒนาครอบครัวไม่ปกติ 5.มีแผนดำเนินงานครอบครัวสื่อสารพลังบวก จากความต้องการของเด็ก ผู้ปกครอง กับครอบครัวปกติ คือครอบครัวที่อยู่กับผู้ปกครอง 3.เกิดร่างหลักสูตรครอบครัวอบอุ่นสื่อสารพลังบวกของตำบลนาท่อม ที่ใช้กับครอบครัวปกติ ในกิจกรรมค่ายครอบครัวพลังบวก

ผลลัพธ์ 1. เกิดคณะทำงาน ที่่เรียกว่า ที่พี่เลี้ยงครอบครัวในชุมชน
2. คณะทำงานทีมพี่เลี้ยงครอบครัวในชุมชน มีความรอบรู้และขับเคลื่อนงานได้ โดยร่วมคิดออกแบบกระบวนการแก้ปัญหาในชุมชนตามข้อมูลปัญหาได้สะท้อน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

รายละเอียดกิจกรรม 1. คณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัว  ตัวแทนภาคีร่วมขับเคลื่อนเทศบาลตำบลนาท่อม พี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวก จำนวน 20 คน ร่วมประชุมติดตามประเมินผลลัพธ์ โดยใช้บันไดผลลัพธ์เป็นเครื่องมือในการวัดผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มต้น ระหว่างทาง และตอนสุดท้ายของการเข้าร่วม 2. วิเคราะห์ข้อมูลความก้าวหน้า และปรับแผนการดำเนินงาน โดยใช้บันไดผลลัพธ์ของโครงการตั้งแล้วดูผลการดำเนินการหรือตัวชี้วัดของโครงการว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในระหว่างการทำกิจกรรมโครงการ 3. สรุปการประเมินผลการดำเนินงาน (กิจกรรม ผลลัพธ์ การใช้เงิน การรายงานผลงวดที่ 1)

 

20 0

9. ถอนเงินสดเปิดบัญชี

วันที่ 2 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานโครงการได้ถอนเงินออกจากบัญชี  2  ใน 3  โดยกำนันอนุชา คนหลักถอนเงินถอนเงินออกจากโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้มีอำนาจลงนามในบัญชีโครงการ 2ใน 3 คนโดยนายอนุชา เฉลาชัยเป็นคนหลัก เพื่อถอนเงินออกจากบัญชี

 

3 0

10. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนากับหน่วยจัดการ ครั้งที่ 1

วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีคณะทำงานเข้าร่วม  3 คน  1 นายอนุชา  เฉล่ชัย  ผู้รับผิดชอบโครงการ  2 นายถาวร  คงศรี  3  นส ธนภรณ์  นำเสนอ ผลลัพธ์ จากการดำเนินงานโครงการตามบันไดผลลัพธ์อยู่ในขั้นที่ 2 เกิดคณะทำงานเป็นพี่เลี้ยงครอบครัวสื่อสารพลังบวกจำนวน 9 คน จากคณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัวจำนวน 21 คนมีข้อมูลสถานการณ์ครอบครัวตำบลนาท่อม และคณะทำงานพี่เลี่้ยงครอบครัว  มีความรอบรู้และสามารขับเคลื่อนงานได้ คือ มีแผน ทำกิจกรรมค่ายครอบครัวเพื่อแก้ปัญหา และเกิดร่่างหลักสูตรเพื่อใช้ในการเรียนการสอน  ต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

แบ่งกลุ่มตามประเด็นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนา ในประเด็น เด็ก เยาวชนและครอบครัว ระดมความคิดแต่ละพื้นที่เกิดอะไรบ้าง

 

3 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 17 10                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 106,150.00 74,400.00                  
คุณภาพกิจกรรม 40                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ชื่อกิจกรรมที่ 5. ติดตามผลโครงการ ARE ครั้งที่ 1 ( 1 ก.ค. 2566 )
  2. ถอนเงินสดเปิดบัญชี ( 2 ก.ค. 2566 )
  3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนากับหน่วยจัดการ ครั้งที่ 1 ( 24 ก.ค. 2566 )
  4. ชื่อกิจกรรมที่ 7.1 สร้างหลักสูตรครอบครัวอบอุ่นสื่อสารพลังบวกของชุมชน ครั้งที่ 1 ( 15 ก.ย. 2566 )

(................................)
นายถาวร คงศรี
ผู้รับผิดชอบโครงการ