task_alt

ครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรงสื่อสารพลังบวก ตำบลนาท่อม

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ ครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรงสื่อสารพลังบวก ตำบลนาท่อม

ชุมชน ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

รหัสโครงการ ุ65-10156-001 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 15 ตุลาคม 2566

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน กันยายน 2566 ถึงเดือน ธันวาคม 2566

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ชื่อกิจกรรมที่ 12 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แสดงผลงาน/สรุปบทเรียน

วันที่ 19 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิตและผลลัพธ์ 1.เกิดคณะทำงานพี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวก มาจาก  คณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลนาท่อมและมาจากแกนนำหลายภาคส่วน  เทศบาลตำบลนาท่อม ผู้ใหญ่ กำนัน  ผอ.รร อพม  อสม  รวมจำนวน  30 คน (กรรมการ 21 คน พี่เลี้ยง 9  คน) 2.คณะทำงาน มีความรอบรู้ ครอบครัวพลังบวก ทักษะ 5 ด้าน 3.มีขัอมูลสถานครอบครัว ตำบลนาท่อม และกรรมการและพี่เลี้ยงใช้ข้อมูล ออกแบบ ทำค่ายครัวตามข้อมูลปัญหาจริงในพื้นที่ 4.เกิดแผนพัฒนาครอบครัวเข้มแข็งตำบลนาท่อม.ที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล และนำใช้ข้อมูล ผ่านกิจกรรมค่ายครอบครัว  ผ่านหน่วยงานที่มีภารกิจ เช่น พบเด็กมีปัญหา ส่ง พมจ สู่บ้านพักเด็ก  คนต้องการทำอาชีพ ส่งผ่านศูนย์พัฒนาอาชีพภาคใต้  พบบ้านไม่มีห้องน้ำหรือบ้านไม่มั่นคง ส่งต่อเข้าโครงการบ้านมั่นคงของคนเปราะบาง 5.เกิดแผนดำเนินงานครอบครัวสื่อสารพลังบวก จากความต้องการของเด็ก ผู้ปกครอง เกิดครอบครัวต้นแบบ ทั้ง 8 หมู่บ้านเพื่อขยายผลในระดับพื้นที่ชุมชน สร้างและขยายครอบครัวอบอุ่น เข้มแข็ง ไร้ความรุนแรง 6.เกิดหลักสูตรครอบครัวอบอุ่นสื่อสารพลังบวกของตำบลนาท่อม ที่เน้น 5 ทักษะสู่การพัฒนาขยายผลในปีต่อไปสร้่างของศูนย์พัฒนาครอบครัว 7.เกิดพื้นที่ โชว์ แชร์ เพื่อรณรงค์สร้างครอบครัวพลังบวกไร้ความรุนแรงอย่างน้อย 1 แหล่ง  คือ หมู่ที่ 2  บ้านโคกแย้ม ตำบลนาท่อม ที่ทำควบคู่กับโรงเรียน เด็ก ผู้ปกครอง วัดโคกแย้ม(บวร) ใช้ศิลปะวัฒนธรรมมโนราห์เชื่อมเด็ก ผู้ใหญ่ทุกช่วงวัยร่วมกันสื่อสาร นำไปสู่กิจกรรมอื่น ที่พบปัญหาใหม่ส่งต่อเพื่อแก้ต่อไป 8.มีสื่อเพื่อเผยแพร่กิจกรรมครอบครัวอบอุ่นพลังบวกไร้ความรุนแรง อย่างน้อย 2 ช่องทาง  คือ เฟสบุก  กลุ่มไลน์  reels  Tikkok 9.เกิดครอบครัวอบอุ่นต้นแบบสื่อสารพลังบวกอย่างน้อย 8 ครอบครัว หมู่บ้านละ 1 ครอบครัว เกิดจริงทั้ง 8 หมู่บ้านและค้นพบต้องดำเนินการต่อให้เด็กในครอบครัวต้นแบบเป็นพี่เลี้ยงเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่ สนับสนุนให้แกนนำเด็ก หรือ พี่เลี้ยงในเด็กได้ทำงานเป็น  ในรูปแบบของสภาเด็กหรือแกนนำเด็ก โดยให้หน่วยงานภาระกิจสนับสนุน  ศูนย์พัฒนาครอบครัวหนุนเสริม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานทีมครอบครัวประกอบด้วย คณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัวและพี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปบทบทเรียนจากการดำเนินโครงการ

 

20 0

2. ชื่อกิจกรรมที่ 10 ถอดบทเรียนครัวต้นแบบ

วันที่ 21 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลจากการจัดค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก
      ครัวเรือนต้นแบบ 8 ครัว 16 คน เป็นตัวแทน 8 หมู่บ้านของตำบลนาท่อมและคณะกรรมการของศูนย์21คน และพี่่เลี้ยง  9 คน เป็นตัวแทนในการขับเคลื่อน แต่ละหมู่บ้าน ตั้งแต่การเข้าถึงข้อมูล การออกแบบกิจกรรม การจัดกิจกรรม การส่งต่อปัญหาที่พบเรื่องครอบครัวสู่การสร้างความเข้มแข็งลดความรุนแรงในครอบครัวในชุมชน

หลังจากจัดค่ายกิจกรรมครอบครัวดำเนินกิจกรรมต่อไปนี้ 1.อบรมผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อเรียนรู้การสร้างสัมพันธภาพครอบครัวของผู้ปกครองกับเด็ก โดยใช้การเล่าเรื่องเน้นความรู้ในชุมชน.และเสนอเรื่องเล่า เข้าร่วมค่ายกิจรรม
    หลังจากร่วมค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก 1 ครั้งในระดับตำบล  ได้คัดเลือกเด็กในชุมชน 1 พื้นที่เพื่อขยายผลทำงานในระดับพื้นที่เชิงลึก คือ เด็กในชุมชนหมู่ที่ 2 บ้านโคกแย้ม ที่มีโรงเรียน มีแกนนำเด็ก มีแกนนำเยาวชน นำเด็กเรียนรู้ชุมชน ผ่านกิจกรรมในชุมชน  คือ เรื่องความเชื่อทวดตาลก  เรื่องมโนราห์ สืบค้นเป็นเรื่องเล่า ทำแผนที่เดินชุมชน  จัดกิจกรรมครอบครัวชวนเด็กเล่าเรื่องชุมชนของเรา จัดทุกวันเสาร์ ณ.ศาลาหมู่ที่ 2 จำนวน 4  ครั้ง  เริ่มสร้างความเข้าใจกับเด็กๆ  หาข้อมูลโดยการใช้กิจกรรมวาดภาพเรื่องเด่น เล่าเรื่องเด่นในชุมชนทำเป็นสมุดเล่มเล็ก  ลงพื้นที่ไปพบเรื่องเด่น ให้เด็กวาดเป็นแผนที่เดินชุมชน  นำเรื่องเด่นในชุมชนหมู่ที่ 2 คือ ทวดตาลกเป็นเรื่องเล่า  และนำเรื่องมโนราห์ที่เด็กชอบมาทำการแสดง และ ขยายผลไปพื้นที่อื่นๆ คือ หมู่ที่ 8 บ้านหูยาน เพื่อสร้างแกนนำเด็กในพื้นที่อื่นๆต่อไป

สรุปกิจกรรม/ถอดบทเรียน ครอบครัวชวนเด็กเล่าเรื่องชุมชนของเรา
  ค่ายกิจกรรมครอบครัวสื่อสารพลังบวกในชุมชนสามารถเข้าถึงครอบครัว  เข้าถึงเด็ก รับทราบข้อมูลที่เป็นปัญหาในพื้นที่จากการร่วมกิจกรรมและรับฟังปัญหาแต่ละชุมชน ข้อสังเกตุ กิจกรรมแต่ละพื้นที่จะไม่เหมือนกัน  ตัวอย่าง หมู่ที่ 2 บ้านโคกแย้มเด็กๆจะชอบรำมโนราห์  ส่วนหมู่ที่ 8  เด็กชอบเล่นสวนน้ำ  แต่มีเรื่องที่เด็กชอบร่วมกันทั้ง 2 คือ เรื่องกิน ใช้ กิจกรรมสุกี้มือถือ มุ่งเน้นการให้เด็กมีกติกา คิดเอง ทำเอง มีกติกาจัดการกันเอง โดยผู้ใหญ่สนับสนุน ส่วนคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวต้องเก็บข้อมูลปัญหาในพื้นที่เพื่อไปดำเนินงานปรับปรุง แก้ไข พัฒนา หรือส่งต่อ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ถอดบทเรียนกิจกรรมค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก วิธีการ       จากกิจกรรมค่ายครอบครัวพลังบวก พบ คณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อม จำนวน 21 คน มีศักยภาพเป็นพี่เลี่ยงได้ทุกคน เพราะได้รับการคัดเลือกมาจากกลุ่มองค์กร และหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวกับครอบครัว สำหรับ คณะกรรมการและแกนนำที่สมัครใจ อบรมหลักสูตรพี่เลี้ยงครอบครัวพลังบวก  มีความสามารถ คิดออกแบบกิจกรรมค่ายครอบครัวตามข้อมูลปัญหาที่พบ  เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาครอบครัวในชุมชน ตามหลักวิชาการรองรับ         จากกิจกรรมค่ายครอบครัวยังพบพี่เลี้ยง  ครอบครัวที่เข้าร่วม  เด็กและเยาวชนที่เข้าร่วม ได้ดำเนินการงานกิจกรรมในชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง  จนคณะกรรมการ  เทศบาล  โรงเรียนได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เป็นปัญหาในครอบครัวในชุมชน  ทำให้การทำงานของศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลนาท่อม  ทำงานได้ง่ายขึ้น  และสามารถทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนและสามารถทำงานเข้าถึงส่งต่อไปสู่หน่วยภาระกิจได้อย่างสะดวกขึ้น  ตัวอย่าง การส่งกลุ่มเปราะบางสู่ พมจ  และ พมจ.พัทลุงลงมาประเมินและส่งต่อผู้เปราะบางไปตามช่องทางต่าง ๆได้ง่ายขี้น         จากกิจกรรมค่ายครอบครัว ทำให้เกิดกิจกรรมต่อเนื่อง ในหมู่ที่ 2 ในการนำเอาการทำแผนที่เดินดิน  การทำเรื่องเล่าเร้าพลัง ของ เด็กคิด เด็กทำ  ผู้ใหญ่สนับสนุนกิจกรรม เรื่องเด่นที่เกิดขึ้น หนังสื่อเล่มเล็ก  สืบค้นทวดตาลก  แผนที่เดินดิน  หิ้งมโนราห์ และเกิดแกนนำเด็กรุ่นใหม่ ที่เขาเชื่อมและจัดการกันเองเพียงผู้ใหญ่เปิดพื้นที่คอยสนับสนุนกิจกรรมห่างๆ 2.ถอดบทเรียนครอบครัวต้นแบบ           จากกิจกรรมค่ายครอบครัว  พบ ผู้ปกครอบที่ไม่เป็นทั้งพ่อและแม่ เป็น ปู่  ย่า  น้า  อา หรือ ป้า ลุง  ที่ไปเป็นผู้ปกครอง ได้เรียนรู้เทคนิคต่างๆ ได้รู้เท่าทันเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นผ่านวิทยากรกระบวนการของพี่เลี้ยง เทคนิคการแก้ปัญหา การเป็นเพื่อนกับลูก  การชม  การกอด  ได้จากกิจกรรมค่ายครอบครัว  และถ้ามีปัญหาจะส่งต่อได้ที่ไหน อย่างไร

 

20 0

3. ชื่อกิจกรรมที่ 9 กิจกรรมผลิตสื่ออย่างน้อย 2 ช่องทางแสดงผลงานครอบครัวสื่อสารพลังบวก

วันที่ 25 กันยายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลลิต เกิดช่องทางการนำเสนอผลการดำเนินงานของศูนย์พฒนาครอบคร้ว จำนวน 4 ช่องทาง และมีคนติดตามดูผลการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อมมากกว่า 200 ครั้่ง ผลลัพธ์ มีผู้สนใจเข้าศึกษาเรียนรุ้ดูงาน จากการรับรู้ในช่องทางเหล่านี้จากต่างจังหวัดเพิ่มขึ้น  และ ครอบครัวในชุมชนให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมจำนวนมากขึ้นกว่่าแต่เดิมจากการจัดกิจกรรม และการหาผู้เข้าร่วมกิจกรรมนั้นไม่อยาก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. กิจกรรมทำสื่อโดย คณะทำงานทีมครอบครัวและทีมเด็กเพื่อสื่อสาร อย่างน้อย 2 ช่องทาง ทำได้จริงเกิด  4  ช่องทาง

- ช่องทางเฟสบุค - ช่องทางReal - ช่องทางTikk0k - กลุ่มไสน์ วิธีการดำเนินการทำ - คณะทำงานช่วยกันถ่ายรูปและคริปสั้น - ทำการสรุปประเด็น เขียนคอนเต้นหรือ เขียนสรุปเนื้อนา -นำภาพหรือคริปสั้นมาเรียบเรียงตามเนื้อหาสรุปคำบรรยาย -ส่งลงในช่องทางต่าง ๆ

 

20 0

4. ชื่อกิจกรรมที่ 7.2 สร้างหลักสูตรครอบครัวอบอุ่นสื่อสารพลังบวกของชุมชน ครั้ง 2

วันที่ 15 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลลิต 1) เกิดพี่เลี่ยงครอบครัวพลังบวกจำนวน 9 คนมีองค์ความรู้ ทักษะ 5 ด้านนำสู่การปฏิบัติได้ 2) เกิดพี่เลี่ยงเด็กและเยาวชน รุ่นใหม่เชื่อมโยงเด็กในชุมชนให้เข้าถึงกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ 8 คน แต่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยผู้ใหญ่ต้องสนับสนุนให้เด็กคิด และเด็กทำ ผลลัพธ์ 1) ที่มพี่เลี้ยงสามารถเป็นทีมวิทยากรขับเคลื่อนงานกระบวนการค่ายครอบครัวในชุมชนและสามารถรับการศึกษาดูงานได้ 2) ค้นพบเด็กและเยาวชนสามารถพัฒนาเป็นพี่เลี้ยงเด็กรุ่นถัดมาได้ เป็นตัวเชื่อมสำคัญระหว่างเด็กในชุมชนกับเด็กเรียนนอกชุมชนและเป็นพี่เลี้ยงเด็กรุ่นใหม่ไๆด้แต่มีเงื่อนไขผู้ใหญ่ต้องสนับสนุน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

รายละเอียดกิจกรรม
1. ถอดบทเรียนค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก ผลที่ได้จากค่ายครอบครัว ดังนี้     1) เกิดพี่เลี่ยงครอบครัวพลังบวกจำนวน 9 คนมีองค์ความรู้ ทักษะ 5 ด้านนำสู่การปฏิบัติได้     2) เกิดพี่เลี่ยงเด็กและเยาวชน รุ่นใหม่เชื่อมโยงเด็กในชุมชนให้เข้าถึงกลุ่มเด็กและเยาวชนในพื้นที่ได้ แต่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยผู้ใหญ่ต้องสนับสนุนให้เด็กคิด และเด็กทำ
2. จัดทำเป็นหลักสูตรครอบครัวสื่อสารพลังบวก จากการฝึกอบรม 5 ทักษะพี่เลี้ยงครอบครัวสื่อสารพลังบวกและทำเป็นหลักสูตรนำใช้ในชุมชนลดปัญหาความรุนแรง ด้วย 5 ทักษะดังนี้       1) ทักษะพี่เลี้ยงและที่ปรึกษาในชุมชน  ทักษะการใช้เทคนิคของพี่เลี่้ยง เช่น  การชมสุดซอย  การปลอบก่อนสอนทีหลัง       2) ทักษะพัฒนากิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กตามวัย  เก็บและวิเคราะห์ข้อมูล ออกแบบกิจกรรมตามข้อมูลที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย  เช่น เรื่องเล่าเร้าพล้ง  ค่ายครอบครัวสัมพันธ์       3) ทักษะบริหารจัดการความรุนแรงความขัดแย้ง  ทักษะพี่่เลี้ยงทำงานประสานร่วมกับทีมสหวิชาชีพ       4)ทักษะการเฝ้าระวัง  เช่น การออกแบบหลักสูตรที่สอดคล้องกับช่วงวัย สนับสนุนการทำกิจกรรมที่เกิดจากเด็กคิด  เด็กทำ  เช่น  เรื่องเล่า  เร้าพลัง  ค้นหามโนราห์    เรื่องเล่ากับข้าวหวันเย็น โดยมีกิจกรรมเสริมสุกี้มือถอ       5)ทักษะการให้ความช่วยเหลือ พี่เลี้ยงกับการทำงานร่วมกับภาคีสนับสนุนทั้งภายในและภายนอก
3. ชื่อหลักสูตร เด็กคิด เด็กทำ ผู้ใหญ่หนุนเสริม

 

20 0

5. ชื่อกิจกรรมที่ 11. ติดตามผลโครงการ ARE ครั้งที่ 2

วันที่ 26 ตุลาคม 2566 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต/ผลลัพธ์  จากโครงการครอบครัวพลังบวก คือ  กรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลนาท่อม 21 คนมีความรู้เข้าใจครอบครัวสื่อสารพลังบวก เกิดพี่เลีี้ยงครู ก ครู ข 9 คน มีข้อมูลสถานการณ์ครอบครัวนำมาสู่การ ออกแบบสร้างกระบวนการค่ายครอบครัวได้ โดยใช้องค์ความรู้จากการเรียนผ่านระบบออนไลน์  เกิดแกนนำเด็ก จำนวน 3 คนที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และสามารถเป็นแกนนำชักชวนเด็กๆ เข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่องแม้ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษาในชุมชนยังมาร่วมงานได้ เกิดหลักสูตรการเป็นพี่เลี้ยง  เกิดสื่อสารออนไล ผ่านคนไก คณะกรรมการ  พี่เลี่ยง  เด็กและผู่้ปกครอล เกิดชุมชนต้นแบบ คือ ชุมชนหมู่ที่ 2 บ้านโคกแย้ม เด็กนักเรียน  ครูโรงเรียนวัดโคกแย้ม ผู้ปกครองให้ความรุวมมือ สามารถทำกิจกรรมกับเด็กทำให้เข้าถึงครอบครัวที่เปราะบาง สู่การส่งต่อหน่วยงานที่เป็นภารกิจ เช่น พมจ  บ้านพักเด็ก เทศบาล แก้ปัญหาได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัว โดยประธานศูนย์ฯ ได้เชิญ คณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัว แกนนำพี่เลี้ยงครู ก ครู ข พี่เลี้ยงแกนนำเด็กและเยาวชน แกนนำเด็ก  ครอบครัวต้นแบบ นักพัฒนาชุมชน  มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ได้เช็ญชุมชนต้นแบบมาร่วมแสดงผลการขับเคลื่อนกิจกรรมต่อจากค่ายครอบครัวพลังบวก  โดยนำผลงานของแกนนำเด็กได้ไปขยายทำกิจกรรมกับเด็กในชุมชน บ้านโคกแย้ม  เพื่อมาสื่อสารให้กับคณะกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัวได้เห็น และพี่เลี่ยงครู ก ข ได้เป็นผลการขับเคลื่อนจากค่ายครอบครัว

 

20 0

6. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนากับหน่วยจัดการ ครั้งที่ 2(ARE2)

วันที่ 31 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วิธีการดำเนินงานโครงการโดยสรุปต่อกรรมการศูนย์พัฒนาครอบครัว 1.รับสมัครพี่เลี้ยง ครู ก ครู ข เป็นพี่เลี้ยงครอบครัวในชุมชน ได้จำนวน 9 คน 2.เรียนรู้องค์ความรู้จากมหาวิทยาลัย มศว  ม.มหิดล ม.ราชภัฎคเชียงใหม่ 12 ครั้งผ่านระบบซูม 3.เก็บข้อมูลจำนวน 80 ชุด ร่วม วิเคราะห์ ออกแบบกิจกรรมค่ายครอบครัว 4.จัดกิจกรรมค่ายครอบครัว 1 ครั้ง โดยพี่เลี้ยงครู ก ครู ข ได้ผลลัพธ์ ครัวเรือนต้นแบบ 8 หมู่บ้านละ 1 ครัวเรือน ได้แกนนำเด็กไว้สืบทอด สร้างความต่อเนื่อง ได้แกนนำเด็กจำนวน 3 คน
5.หลังจากจบกิจกรรมค่ายครอบครัวได้คัดเลือกชุมชนที่มีความพร้อม คือ หมู่ที่ 2  บ้านโคกแย้มเป็นชุมชนนำร่องต้นแบบการแก้ปัญหาในประเด็กเด็กและครอบครัว  โดยมีทั้งโรงเรียน ครู เด็ก ผู้ปกครอบให้ความร่วมมือ โดยมีครูเชื่อมงานกับ ผู้นำ เทศบาล ศพค พมจ ศูนย์คุ้มครองเด็กทำงานลงสู่พื้นที่กับครอบครัวที่ไม่ปกติสู่การแก้ปัญหาเบื้องต้น 6.ชุมชนนำร่อง เริ่มจากการรวมเด็กโดยมีพี่เลี้ยงแกนนำเด็ก ใช้ศิลปะในการเข้าถึงชุมชน เริ่มด้วยการสืบค้นทำข้อมูลด้วยแผนที่เดินชุมชน  คนหาเรื่องเด่นในชุมชน ได้เรื่องเล่าทวดตาลก  กับมโนราห์ ต่อมาแปลงจากเรื่องเล่ามาเป็นการแสดงมโนราห์ตามความถนัดของเด็กๆในชุมชนนั้นๆ 7.นำชุมชนนำร่องไปขยายผลสู่ชุมชนอื่น คือ จากเด็กๆหมู่ที่ 2 บ้านตาลก สู่เด็กๆ หมู่ที่ 8 บ้านหูยาน ขายผล และจะขยายผลไปสู่เด็กๆทั้งตำบลต่อไป

หลังจากจัดค่ายกิจกรรมครอบครัวดำเนินกิจกรรมต่อไปนี้ 1.อบรมผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อเรียนรู้การสร้างสัมพันธภาพครอบครัวของผู้ปกครองกับเด็ก โดยใช้การเล่าเรื่องเน้นความรู้ในชุมชน.และเสนอเรื่องเล่า 1เข้าร่วมค่ายกิจรรม
    หลังจากร่วมค่ายครอบครัวสื่อสารพลังบวก 1 ครั้งในระดับตำบล  คัดเลือกเด็กในชุมชน 1 พื้นที่เพื่อขยายผลทำงานในระดับพื้นที่เชิงลึก คือ เด็กในชุมชนหมู่ที่ 2 บ้านโคกแย้ม ที่มีโรงเรียน มีแกนนำเด็ก มีแกนนำเยาวชน นำเด็กเรียนรู้ชุมชน ผ่านกิจกรรมในชุมชน  คือ เรื่องความเชื่อทวดตาลก  เรื่องมโนราห์ สืบค้นเป็นเรื่องเล่า ทำแผนที่เดินชุมชน  จัดกิจกรรมครอบครัวชวนเด็กเล่าเรื่องชุมชนของเรา จัดทุกวันเสาร์ ณ.ศาลาหมู่ที่ 2 จำนวน 4  ครั้ง  เริ่มสร้างความเข้าใจกับเด็กๆ  หาข้อมูลโดยการใช้กิจกรรมวาดภาพเรื่องเด่น เล่าเรื่องเด่นในชุมชนทำเป็นสมุดเล่มเล็ก  ลงพื้นที่ไปพบเรื่องเด่น ให้เด็กวาดเป็นแผนที่เดินชุมชน  นำเรื่องเด่นในชุมชนหมู่ที่ 2 คือ ทวดตาลกเป็นเรื่องเล่า  และนำเรื่องมโนราห์ที่เด็กชอบมาทำการแสดง และ ขยายผลไปพื้นที่อื่นๆ คือ หมู่ที่ 8 บ้านหูยาน เพื่อสร้างแกนนำเด็กในพื้นที่อื่นๆต่อไป

4.สรุปกิจกรรม/ถอดบทเรียน ครอบครัวชวนเด็กเล่าเรื่องชุมชนของเรา
  ค่ายกิจกรรมครอบครัวสื่อสารพลังบวกในชุมชนสามารถเข้าถึงครอบครัว  เข้าถึงเด็ก รับทราบข้อมูลที่เป็นปัญหาในพื้นที่จากการร่วมกิจกรรมและรับฟังปัญหาแต่ละชุมชน ข้อสังเกตุ กิจกรรมแต่ละพื้นที่จะไม่เหมือนกัน  ตัวอย่าง หมู่ที่ 2 บ้านโคกแย้มเด็กๆจะชอบรำมโนราห์  ส่วนหมู่ที่ 8  เด็กชอบเล่นสวนน้ำ  แต่มีเรื่องที่เด็กชอบร่วมกันทั้ง 2 คือ เรื่องกิน ใช้ กิจกรรมสุกี้มือถือ มุ่งเน้นการให้เด็กมีกติกา คิดเอง ทำเอง มีกติกาจัดการกันเอง โดยผู้ใหญ่สนับสนุน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

หลังจากลงทะเบียนสร้างความเข้าใจ ได้แบ่งกลุ่มตามประเด็น ให้นำเสนอผลลัพธ์การดำเนินงานโครงการ โดยการให้คณะทำงานแต่ละโครงนำเสนอมีพี่เลี้ยงเก็บประเด็น เช่น การดำเนินการค้นพบอะไรจากการดำเนินโครงการครอบครัวอบอุ่นไร้ความรุนแรงสื่อสารพลังบวก และมีข้อเสนอแนะอะไรจากการดำเนินงานโครงการ  สิ่งดีๆที่พบมีอะไรบ้าง

 

3 0

7. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

วันที่ 31 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

รายงานโครงการฉบับสมบูรณ์ ที่บันทึกเข้าระบบ คนใต้สร้างสุข รายงานการเงินงวดที่ 1 แลงวดที่ 2

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

รวมรวมเอกสารจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์โดยมีรายละเอียดดังนี้ -ค่าอินเตอร์เน็ตในการบันทึกข้อมูลเข้าระบบออนไลน์คั้งแต่เริ่มทำรายงานถึงสรุป
-เก็บร่วมรวมภาพกิจกรรมเพื่อบันทึกเข้าระบบ -เก็บรวมเอกสารรายงาน ทำสรุปกิจกรรมเป็นรายงานเพื่อบันทึกเข้าระบบ -จัดทำบัญชีและสรุปการเงินกิจกรรมโครงการเพื่อส่งตรวจสอบ เป็นการจัดทำรายงานทั้งโ่ครงการ งวดที่ 1 และงวดที่ 2

 

3 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 17 17                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 106,150.00 104,700.00                  
คุณภาพกิจกรรม 68                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ชื่อกิจกรรมที่ 12 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แสดงผลงาน/สรุปบทเรียน ( 19 ก.ย. 2566 )
  2. ชื่อกิจกรรมที่ 9 กิจกรรมผลิตสื่ออย่างน้อย 2 ช่องทางแสดงผลงานครอบครัวสื่อสารพลังบวก ( 25 ก.ย. 2566 )
  3. ชื่อกิจกรรมที่ 7.2 สร้างหลักสูตรครอบครัวอบอุ่นสื่อสารพลังบวกของชุมชน ครั้ง 2 ( 26 ก.ย. 2566 )

(................................)
นายถาวร คงศรี
ผู้รับผิดชอบโครงการ