แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุต.พญาขัน

ชุมชน ตำบลพญาขัน อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

รหัสโครงการ 65-10156-017 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 15 ตุลาคม 2566

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กุมภาพันธ์ 2566 ถึงเดือน กรกฎาคม 2566

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การปฐมนิเทศ ในครั้งนี้ จัดที่โรงเเรมชัยคณาธานี มีตัวแทนเข้าร่วมการปฐมนิเทศของโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุในครัวเรือนตำบลพญาขัน จำนวน 3 คน คือ ผู้รับผิดชอบโครงการ , คณะทำงานกิจกรรม และเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ จากการปฐมนิเทศในครั้งนี้ คณะผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการ ด้านการเงิน การเบิก การคุมเงิน การจัดทำรายงาน และสามารถจัดทำเอกสารการเงินได้ รวมทั้งสามารถจัดทำรายงานผ่านระบบเว็บไซด์ happynetwork ได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

08.30น. - 09.00น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ 09.00น. - 09.15น. เตรียมความพร้อมให้กับกลุ่มเป้าหมาย และมีกิจกรรมนันทนาการ 09.15น. - 09.30น. เปิดการประชุม กล่าวมอบนโยบายการส่งเสริมสุขภาพประชาชนภายใต้แผนงานร่วมทุนการสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดพัทลุง โดยนายวิสุทธิ์ ธรรมเพชร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง
09.30น. - 10.30น. แนวทางการบริหารจัดการโครงการ การเงิน และการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยนายเสนีย์ จ่าวิสูตร 10.30น. - 10.45น. การจัดทำรายงานผ่านระบบ โดย นายอรุณ ศรีสุวรรณ 10.45น. - 12.00น ปฏิบัติการนำเข้าข้อมูลสู่ระบบ และทดลงจัดทำรายงานผ่านระบบ โดยนายอรุณ ศรีสุวรรณ
12.00น. - 13.00น. พัก รับประทานอาหารเที่ยง
13.00น. - 13.30น. ความสำคัญของการออกแบบการจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัด โดยนายไพฑูรย์ ทองสม
13.30น. - 14.30น.แบ่งกลุ่มย่อ ออกแบบการจัดกเ็บข้อมูลตัวชี้วัด
14.30น. - 15.00น. ลงนามความร่วมมือตามข้อตกลงร่วมโครงการ
15.00น. - 15.30น. สรุปและประมวลผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
15.30น.    ปิดการประชุม

 

3 0

2. 3. ประชุมจัดตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ทบทวนบทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน
  2. เพิ่มคณะทำงานได้ 15 คนจาก 11 คน
  3. ทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมา วิเคราะห์ข้อติดขัดต่างๆ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ติดตามความคืบหน้าในการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
  2. วิเคราะห์ทบทวนการดำเนินงานการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ปัญหา / อุปสรรค
  3. หาวิธีการออกแบบการทำงานในการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในระยะต่อไป

 

11 0

3. 1. เวทีสร้างความเข้าใจในการขับเคลื่อนโครงการ

วันที่ 11 มีนาคม 2566 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมดจำนวน 62 คน ประกอบไปด้วย ผู้ดูแลจำนวน 16 คน ผู้สูงอายุจำนวน 30 คน อสม.จำนวน 6 คน ท้องถิ่นจำนวน 4 คน ท้องที่จำนวน 5 คน ภาคี รพ.สต.บ้านเขาแดง 1 คน ปอช. จำนวน 1 คน
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
1. ผู้สูงอายุและผู้ดูแลได้ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น
2. ผู้เข้าร่วมโครงการได้เข้าใจถึงทิศทางในการขับเคลื่อนโครงการ
3. เกิดกลไกในการขับเคลื่อนโครงการ มีคณะทำงานในการขับเคลื่อนโครงการจำนวน 15 คน
4. ผู้สนใจสมัครเข้าร่วมอบรมโครงการจำนวน 65 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. สร้างความเข้าใจกับตัวแทน อสม. ผู้ดูแล รพ.สต.  ท้องถิ่นและภาคีพัฒนาอื่น
  2. ประชาสัมพันธ์โครงการ
  3. รับสมัครผู้เข้าอบรมโครงการ

 

60 0

4. 4. ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ครั้งที่1

วันที่ 18 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ติดตามการทำงานของคณะกรรมการกองทุนในการประสานงานและการเตรียมงานในการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งที่1
  2. ติดตามการประสานวิทยากรในมาฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ได้วิทยากรทั้งหมด 2 คนเป็นเวลา 2 วัน
  3. ปัญหาและข้อติดขัดในการดำเนินประสานงานและการเตรียมงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ติดตามความคืบหน้าในการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
  2. วิเคราะห์ทบทวนการดำเนินงานการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ปัญหา / อุปสรรค
  3. หาวิธีการออกแบบการทำงานในการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในระยะต่อไป

 

11 0

5. สรุปผลการดำเนินงาน งวดที่1 (รับเช็คสนามกลาง)

วันที่ 20 มีนาคม 2566 เวลา 13:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

รับเช็คงบประมาณจำนวนเงิน 28,150 บาท

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ไปรับเช็คงบประมาณ งวดงานที่ 1

 

0 0

6. 2. อบรมเชิงปฎิบัติการให้ความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

วันที่ 25 มีนาคม 2566 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ผู้เข้าร่วมการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำรงชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและสภาพแวดล้อม 69คน คิดเป็นร้อยละ 70
  2. ผู้ดูแลสามารถเข้าใจถึงพฤติกรรมความแตกต่างของผู้สูงอายุในการดำรงชีวิตที่ต่างจากวัยอื่น ผู้ดูแลที่เข้าร่วมโครงการ(วัยทำงาน) จำนวน 40 คน ผู้ดูแลที่เป็นเด็กเยาวชน 9 คน ผู้สูงอายุ 30 คน
  3. ผู้สูงอายุและผู้ดูแลเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในเชิงบวก สามารถอยู่ร่วมกันได้ เกิดครอบครัวที่อบอุ่น กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมมีความรู้ในการดูแลเพิ่มมากขึ้นและแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่นได้ คิดเป็นร้อยละ 70 ของผู้เข้าอบรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ประสานงานกับวิทยากรในการอบรม
  2. กำหนดหลักสูตรในการอบรม
  3. จัดอบรมตามหลักสูตร
      3.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสรีรวิทยาของผู้สูงอายุ
      3.2 ลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ดี
      3.3 วิธีการดูแลการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีร่างกายปกติ
          - ภาคทฤษฎี
          - ภาคปฏิบัติ
      3.4 วิธีการดูแลการช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
          - ภาคทฤษฎี
          - ภาคปฏิบัติ

 

60 0

7. 4. ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ครั้งที่2

วันที่ 3 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. เกิดคณะทำงาน 15 คน ประกอบด้วยตัวแทนจากชมรมผู้สูงอายุ  ท้องถิ่น  รพ.สต.  อสม.  ผู้ดูแลที่ผ่านการอบรม  กองทุนสวัสดิการชุมชน
  2. มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ
  3. มีข้อมูลและกำหนดแบบแผนการขับเคลื่อนการส่งเสริมดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
  4. มีกติการ่วมกันในการขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาวะของผู้สูงอายุ
  5. มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 1 คนต้องดูแลผู้สูงอายุ 5 คน ผู้สูงอายุและผู้ดูแลจะต้องร่วมกันออกกำลังกายอย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ติดตามข้อมูลตามแผนที่วางไว้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. จัดตั้งคณะทำงานตัวแทนจากชมรมผู้สูงอายุ  2  คน  ท้องถิ่น  1 คน  รพ.สต. 1  คน  อสม. 2  คน ผู้ดูแลที่ผ่านการอบรม  2 คน  กองทุนสวัสดิการชุมชน  3  คน
  2. กำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานและกำหนดกติกาในการทำงานร่วมกัน
  3. ออกแบบการทำงานร่วมกัน
  4. สรุปผลการดำเนินงาน

 

11 0

8. 4. ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ครั้งที่3

วันที่ 30 เมษายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. สรุปผลการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการให้ความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการดูแลผู้สูงอายุ
  2. ทบทวนคณะทำงานในการขับเคลื่อนโครงการการดูแลผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 15 คน จาก 11 คน
  3. ทบทวนกติการ่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ติดตามความคืบหน้าในการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
  2. วิเคราะห์ทบทวนการดำเนินงานการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ปัญหา / อุปสรรค
  3. หาวิธีการออกแบบการทำงานในการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในระยะต่อไป

 

11 0

9. 4. ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ครั้งที่4

วันที่ 28 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. สรุปผลการทำงานและการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา
  2. วิเคราะห์ทบทวนการดำเนินงานการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ปัญหา / อุปสรรค
  3. หาวิธีการออกแบบการทำงานในการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในระยะต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ติดตามความคืบหน้าในการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
  2. วิเคราะห์ทบทวนการดำเนินงานการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ปัญหา / อุปสรรค
  3. หาวิธีการออกแบบการทำงานในการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในระยะต่อไป

 

11 0

10. 8. จัดกิจกรรมสร้างสรรผู้สูงอายุที่สอดคล้องกับสถานการณ์ของพื้นที่

วันที่ 10 มิถุนายน 2566 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีผู้สนใจเข้าอบรมในการแปรรูปมะม่วงเบาในท้องถิ่น จำนวน 31 คน
1. ผู้เข้าร่วมอบรมได้รวมกลุ่มและจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรตำบลพญาขัน มีการจดทะเบียนทั้งหมด 11 คน มีแผนงานรองรับและท้องถิ่นเข้ามาช่วยเหลือในการประสานงาน ทางมหาวิทยาลัยได้เข้ามาช่วยเหลือในส่วนของการควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนความรู้และสถานการณ์ของผู้สูงอายุ
2. สามารถเปิดบูธจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากมะม่วงเบา โดยได้เปิดไปทั้งหมด 3 บูธ ได้แก่งานมหกรรมคูโบต้า งานกาชาดพัทลุง และงานมุทิตาจิตหลวงพ่อหมุน ยสโร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.  จัดกลุ่มส่งเสริมอาชีพให้กับผู้สูงอายุที่สนใจในการแปรรูปมะม่วงเบาในท้องถิ่น 2. จัดกลุ่มส่งเสริมอาชีพให้กับผู้สูงอายุที่สนใจในการจักสานไม้ใผ่และเครื่องมือประมงในท้องถิ่น

 

20 0

11. จัดทำพื้นที่เขตปลอดบุหรี่

วันที่ 10 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานได้ดำเนินการจัดทำป้ายโครงการ จำนวน 1 แผ่น โดยป้ายโครงการประกอบไปด้วย ชื่อโครงการ วันที่จัดทำโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

การจัดทำป้ายปลอดบุหรี่

 

0 0

12. 4. ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ครั้งที่5

วันที่ 25 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. สรุปผลการทำงานการจัดโครงการแปรรูปมะม่วงเบา
  2. ได้กลุ่มผู้สนใจเข้าร่วมการดำเนินโครงการต่อทั้งหมด 11 คน
  3. มีการจดแจ้งและจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ติดตามความคืบหน้าในการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
  2. วิเคราะห์ทบทวนการดำเนินงานการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ปัญหา / อุปสรรค
  3. หาวิธีการออกแบบการทำงานในการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในระยะต่อไป

 

11 0

13. 6. เวทีสรุปติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)

วันที่ 23 กรกฎาคม 2566 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประเด็นร่วมเรื่องผู้สูงอายุในมิติที่แตกต่าง ผู้สูงอายุและผู้ดูแลมีกิจกรรมร่วมกัน มีการดูสุขภาพมากยิ่งขึ้น
    1.1 ผู้สูงอายุและผู้ดูแล ได้ออกกำลังกาย 80 คน เช่น การเดิน การวิ่ง การปั่นจักรยาน
    1.2 เกิดกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากมะม่วงเบา ทั้งหมด 11 คน ทุกคนมีความตั้งใจและร่วมมือกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีการเปิดบูธสินค้าเพื่อวางจำหน่าย มีกติการ่วมกัน สามารถเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์และมีการเพิ่มรายได้ ทำให้ผู้สูงอายุมีความสุขมากยิ่งขึ้น
    1.3 มีผู้ดูแลผู้สูงอายุ 30 คน เป็นทั้งตัวแทน อสม. ลูกหลานและผู้สูงอายุด้วยกันที่ช่วยกันดูแล ทำให้ผู้สูงอายุไม่รู้สึกโดดเดี่ยว มีความรักใคร่ผูนพันกัน มีการถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ
  2. เกิดคณะทำงานจำนวน 15 คน ซึ่งเป็นตัวแทนจากทุกภาคส่วน ประกอบไปด้วย ตัวแทนกองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลพญาขัน 4 คน ตัวแทนผู้สูงอายุ 3 คน ท้องถิ่น 1 คน ท้องที่ 2 คน อสม. 2 คน รพ.สต.1 คน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 2 คน เห็นถึงความแตกต่างในการขับเคลื่อนในประเด็นผู้สูงอายุ
  3. เกิดกติกาข้อตกลงร่วมในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
  4. เห็นถึงการทำงานร่วมกันของภาคีหนุนเสริมและภาคีพัฒนาในระดับตำบลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานพััฒนาชุมชน สนับสนุนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปผลิตภัณฑ์มะม่วงเบา มีกองทุนส่งเสริมสุขภาพตำบล สปสช. สนับสนุนส่งเสริมสุขภาพในการดูแลผู้สูงอายุ
  5. ได้ทบทวนการทำงานของคณะกรรมการในการขับเคลื่อนงานต่อและเกิดการปรับปรุงการจัดทำข้อมูลสำหรับการรายงานผลการดำเนินโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. มีคณะทำงานประเมินผลการดำเนินงานระยะ 4 เดือน/ครั้ง
  2. ออกแบบและกำหนดแนวทางการทำงานเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และผลลัพธ์ของโครงการ

 

15 0

14. กิจกรรมติดตามประเมินผลแบบมีส่วนร่วม (ARE) ครั้งที่ 1

วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบและคณะทำงานของโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุในครัวเรือนตำบลพญาขัน ได้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ จำนวน 2 คน ได้เข้ากลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ในประเด็นผู้สูงอายุ ซึ่งได้ผลสรุปในโครงการรอบแรก ดังนี้ กลุ่มเป้าหมายปัจจุบัน  คน มีคณะทำงาน  คน แกนนำ  คน ดำเนินกิจกรรมไปแล้ว  กิจกรรมสร้างสรรค์ ในพื้นที่ตำบลพญาขัน  มีกติกาชุมชนจำนวน 2 ข้อ คือ 1. ให้ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมในวันจันทร์ และ 2.ให้ผู้สูงอายุออกมาออกกำลังกายในพื้นที่ส่วนกลางที่สร้างขึ้น อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง โดยกิจกรรมส่วนใหญ่ที่ทางคณะทำงานได้ดำเนินการส่วนใหญ่เป็นประเด็น การออกกำลังกาย,การกินและการเข้าร่วมกิจกรรม และผลลัพธ์ที่ได้ระหว่างการทำโครงการที่ผ่านมา คือ ทำให้ผู้สูงอายุติดบ้านเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมเพิ่มขึ้นและเกิดรายได้ระหว่างการดำเนินกิจกรรม เนื่องจากผู้สูงอายุบางรายได้ทำขนม/ผักสวนครัว มาขายในวันที่ดำเนินกิจกรรม

ในการประชุมครั้งนี้ผู้รับผิดชอบงานได้รับความรู้เกี่ยวกับการทำเอกสารการเงิน เพื่อดำเนินการเบิกเงินสนับสนุนในงวดถัดไปได้ทันเวลา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เรื่องที่ 1.ประชุมเเลกเปลี่ยนข้อมูลและผลลัพธ์ตามประเด็นของโครงการ แบ่งเป็น 4 กลุ่มคือ ประเด็นเยาวชนและครอบครัว,ผู้สูงอายุ,อาหารปลอดภัยและกิจกรรมทางกาย
เรื่องที่ 2. นำเสนอผลลัพธ์การดำเนินงานในระยะแรกเพื่อให้เห็นว่าผลลัพธ์อยู่ในบันไดขั้นที่เท่าไหร่ตามประเด็นที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้
เรื่องที่ 3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการดำเนินโครงการ ประกอบด้วย การจัดทำรายงานผ่านระบบออนไลน์ การบริหารจัดการทีมคณะทำงาน การเชื่อมโยงการทำงานกับภาคี จัดการเอกสารการเงิน สิ้นสุดการประชุม

 

3 0

15. 4. ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ครั้งที่6

วันที่ 30 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้ผู้สนใจที่ผ่านการอบรมในโครงการแปรรูปมะม่วงเบา ที่จะขับเคลื่อนในการแปรรูปมะม่วงเบา 11 คน
  2. จัดโครงสร้างกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และมีการแบ่งบทบาทหน้าที่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. ติดตามความคืบหน้าในการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
  2. วิเคราะห์ทบทวนการดำเนินงานการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ปัญหา / อุปสรรค
  3. หาวิธีการออกแบบการทำงานในการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในระยะต่อไป

 

11 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 30 15                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 56,300.00 34,800.00                  
คุณภาพกิจกรรม 60                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. 4. ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ครั้งที่5 ( 25 มิ.ย. 2566 )
  2. 6. เวทีสรุปติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ( 23 ก.ค. 2566 )
  3. กิจกรรมติดตามประเมินผลแบบมีส่วนร่วม (ARE) ครั้งที่ 1 ( 24 ก.ค. 2566 )
  4. 4. ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ครั้งที่6 ( 30 ก.ค. 2566 )
  5. 4. ประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ครั้งที่7 ( 27 ส.ค. 2566 )
  6. 5. จัดทำฐานข้อมูลสถานการณ์/ด้านสุภาวะของผู้สูงอายุ ( 2 ก.ย. 2566 )
  7. 7. ปรับสภาพแวดล้อมหาพื้นที่กิจกรรมสร้างสรรค์ลานบ้านลานใจ ( 10 ก.ย. 2566 )

(................................)
นายสกล กาฬสุวรรณ
ผู้รับผิดชอบโครงการ