directions_run

โครงการพัฒนากลไกดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดพัทลุง


“ โครงการพัฒนากลไกดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ”

ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นางพัชรี น้อยเต็ม

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนากลไกดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

ที่อยู่ ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 6510156026 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 ถึง 19 ธันวาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการพัฒนากลไกดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดพัทลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการพัฒนากลไกดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการพัฒนากลไกดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 6510156026 ระยะเวลาการดำเนินงาน 16 กุมภาพันธ์ 2566 - 19 ธันวาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 106,300.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดพัทลุง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ตำบลลำสินธุ์มีประชากรทั้งหมด 6,041 คน เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 1,160 คน คิดเป็นร้อยละ 19.20 ของจำนวนประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากสำนักงานทะเบียนอำเภอศรีนครินทร์ ณ วันที่ 30 กันยายน 2565) จะเห็นได้ว่า ตำบลลำสินธุ์มีผู้สูงอายุเกินกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด แสดงว่าตำบลลำสินธุ์กลายเป็นพื้นที่ที่เป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ โดยผู้สูงอายุ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มติดสังคม 1,102 คน กลุ่มติดบ้าน 51 คน และกลุ่มติดเตียง 7 คน ซึ่งผู้สูงอายุทุกกลุ่มล้วนมีปัญหาสุขภาพ ที่ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ทั้งด้านการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร รวมทั้งความเครียด วิตกกังวล อีกทั้ง สภาพที่อยู่อาศัยไม่ปลอดภัย ไม่สะอาด เนื่องจาก ขาดการเอาใจใส่ดูแลจากลูกหลาน บ้างถูกทิ้งให้อยู่ตามลำพัง ทำให้ผู้สูงอายุขาดที่พึ่ง ประกอบกับ
เมื่ออายุที่มากขึ้น ร่างกายเสื่อมถอยลง ประสิทธิภาพในการทำงานหรือทำกิจวัตรประจำวันลดลง ทำให้ถูกมองว่าขาดคุณค่า และเมื่อบุคคลอันเป็นที่รักอย่างเช่นคู่ครองหรือบุคคลในครอบครัวเสียชีวิต ทำให้ผู้สูงอายุยิ่งรู้สึก โดดเดี่ยว จากสาเหตุข้างต้น พบว่า การที่ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องทำให้ผู้สูงอายุตำบลลำสินธุ์ มีปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่ป่วยและเสี่ยงสูงเป็นโรคเรื้อรัง จำนวนผู้สูงอายุที่มีสุขภาพจิตดีลดน้อยลง ผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้น และจากสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย ทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการเกิดการพลัดตกหกล้ม
เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆตามมา นอกจากนี้ เมื่อบทบาทและความสำคัญในสังคมลดน้อยลง ทำให้รายได้ในครัวเรือนลดน้อยลง เกิดช่องว่างระหว่างวัย ผู้สูงอายุรู้สึกขาดคุณค่าในตนเอง จากปัญหาสุขภาพดังกล่าวที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในพื้นที่ ทำให้ทุกหน่วยงานต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมรับรองการเป็นสังคมผู้สูงอายุของตำบล ลำสินธุ์ โดยการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ทั้งด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ ด้านเศรษฐกิจให้มีรายได้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ด้านสังคมและวัฒนธรรมที่สร้างเสริมคุณค่าและศักดิ์ศรี ตลอดจนการเตรียมสภาพแวดล้อม ที่มั่นคงและปลอดภัย โดยตระหนักถึงการนำพลังความสามารถของผู้สูงอายุเข้ามาเป็นฐานดำเนินการ

ในพื้นที่ตำบลลำสินธุ์ได้มีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2552 โรงเรียนดอกลำดวน ปี 2559 โดยได้ทำกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเรียนรู้การดำเนินการร่วมกับเครือข่ายต่างๆที่อยู่ในชุมชน ส่งเสริมบทบาทของชมรมผู้สูงอายุโดยการมีกิจกรรมเป็นเครื่องชักชวนผู้สูงอายุที่มีอายุที่มีอายุยืนยาวและมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่วนมากมีการลดภาระจากการทำงานประจำ ทำให้มีเวลาว่างมากขึ้น ซึ่งมีความต้องการเพื่อน และต้องการติดต่อกับคนในสังคม กิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุในรูปแบบต่างๆ จะช่วยเติมเต็มในส่วนที่ผู้สูงอายุถูกลดทอนและขาดหายไป ทำให้เกิดความมีชีวิตชีวาให้แก่ผู้สูงอายุ นับเป็นการสร้างความสุขในวัยผู้สูงอายุ แต่สืบเนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด-19
ที่ผ่านมา ทำให้การทำกิจกรรมด้านการสร้างสุข สร้างสุขภาพของผู้สุงอายุลดน้อยลง ดังนั้นเทศบาลตำบลลำสินธุ์ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการดูแลสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มวัย
โดยการทำงานร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เครือข่ายอสม. แกนนำชุมชน วัด โรงเรียน และหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง จึงได้เห็นความสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงขอเสนอโครงการพัฒนากลไกดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตำบลลำสินธุ์ ภายใต้แผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดพัทลุง เป็นโครงการหนึ่งที่ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลลำสินธุ์ผ่านการดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อให้มีความรู้การจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ เกิดกลไกการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในตำบลลำสินธุ์ ปฏิบัติการเพื่อจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ รวมทั้งผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง จนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้มีความรู้การจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ
  2. เพื่อให้เกิดกลไกขับเคลื่อนการดูแลผู้สูงอายุในตำบลลำสินธุ์
  3. เพื่อปฏิบัติการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ
  4. เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลสุขภาพ
  5. เพื่อให้มีการบริหารจจัดการโครงการที่มีประสิทธิภาพ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. 11. พัฒนาศักยภาพผู้รับทุน ปฐมนิเทศโครงการ
  2. 4. ประชุม คณะทำงาน ครั้งที่ 1
  3. 1. เวทีสร้างความเข้าใจในการขับเคลื่อนโครงการ
  4. 11. จัดทำไวนิลโครงการพัฒนากลไกดูแลผู้สูงอายุตำบลลำสินธุ์
  5. 4. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2
  6. 9. ปฏิบัติการสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ครั้งที่ 1
  7. 9. ปฏิบัติการสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2
  8. 2. ศึกษาดูงาน ขับเคลื่อนการจัดการสุขภาพผูู้สูงอายุ
  9. 9. ปฏิบัติการสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ครั้งที่ 3
  10. 7. เพื่อนเยี่ยมเพื่อนโดยกลไกติดตามประเมินผล ครั้งที่ 1
  11. 8. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ และพัฒนา ARE ครั้งที่ 1
  12. 3. ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการรู้การดูแลสุขภาพโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุครั้งที่ 1
  13. กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการรู้การดูแลสุขภาพโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุครั้งที่ 2
  14. ถอดเงินฝากเปิดบัญชีโครงการ
  15. ประชุมการจัดทำระบบฐานข้อมูลการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุครั้งที่ 1
  16. 4. ประชุม คณะทำงาน ครั้งที่ 3
  17. 4. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4
  18. เวทีพัฒนาศักยภาพกลไกปฏิบัติการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ
  19. ค่าอินเตอร์เน็ตในการดำเนินโครงการ
  20. 11. 11. รายงานในระบบออนไลน์การดำเนินงานโครงการ ครั้งที่ 1
  21. 7. เพื่อนเยี่ยมเพื่อนโดยกลไกติดตามประเมินผล ครั้งที่ 1
  22. 7. เพื่อนเยี่ยมเพื่อนโดยกลไกติดตามประเมินผล ครั้งที่ 2
  23. 7. เพื่อนเยี่ยมเพื่อนโดยกลไกติดตามประเมินผล ครั้งที่ 3
  24. 7. เพื่อนเยี่ยมเพื่อนโดยกลไกติดตามประเมินผล ครั้งที่ 4
  25. ประชุมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 2
  26. 11. รายงานในระบบออนไลน์การดำเนินงานโครงการ ครั้งที่ 2
  27. เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการและสรุปผลการดำเนินโครงการ
  28. 11. รายงานในระบบออนไลน์การดำเนินงานโครงการ ครั้งที่ 3
  29. 4. ประชุม คณะทำงาน ครั้งที่ 5
  30. กิจกรรมติดตามและประเมินผลแบบมีส่วนร่วม ARE ครั้งที่ 2 ของแผนงานร่วมทุน
  31. กิจกรรมรวมพลคนสามวัยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลไกปฏิบัติการจากผู้สูงอายุ 18
คณะทำงานการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ 21
ผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลลำสินธุ์ 187

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดคณะทำงานการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ

2.ผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนภูมิปัญญา

3.ได้ผู้สูงอายุต้นแบบ เขตละ 10 คน

4.ผู้สูงอายุที่ได้รับการดูแล

5.ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีขึ้น ร้อยละ 70


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. 11. พัฒนาศักยภาพผู้รับทุน ปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาศักยภาพภาพผู้รับทุน ในวันที่ 16ก.พ.66 ณ โรงแรมชัยคณาธานี จำนวน 1 วัน
- 08.30-09.00 น. ลงทะเบียน - 09.00-09.15 น.เตรียมความพร้อมกลุ่มเป้าหมาย กิจกรรมสันทนาการ - 09.15-09.30 น.เปิดการประชุม กล่าวมอบนโยบาย โดยนายวิสุทธิ์ ธรรมเพชร นายกอบจ.พัทลุง - 09.30-10.30 น. แนวทางการบริหารจัดการโครงการ การเงิน และจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดย นายเสนีย์ จ่าวิสูตร - 10.30-10.45 น. การจัดทำรายงานผลผ่านระบบ โดยนายอรุณ ศรีสุวรรณ - 10.45-12.00 น. ปฏิบัตินำเข้าข้อมูลสู่ระบบ และทดลองจัดทำรายงานผ่านระบบ โดยนายอรุณ ศรีสุวรรณ
- 12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน - 13.00-13.30 น. ความสำคัญของการออกแบบการจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัด โดยนายไพฑูร ทองสม
- 13.30-14.30 น. แบ่งกลุ่มย่อ ออกแบบการจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัด
- 14.30-15.00 น. ลงนามความร่วมมือตามข้อตกลงร่วมโครงการ
- 15.00-15.30 น. สรุปและประมวลผลการจัดกิจกรรมเรียนรู้ - 15.30 น. ปิดการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ได้ทราบลำดับขั้นตอนการดำเนินงานโครงการ และแนวทางการบริหารจัดการโครงการ
  2. ได้องค์ความรู้เรื่อง การจัดทำเอกสารการเงิน เอกสารรายงาน เอกสารรายงานผลทั้งในระบบและจัดทำเป็นเอกสารเพื่อการตรวจสอบ
  3. มีความรู้และสามารถออกแบบการจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์ได้ พร้อมนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการดำเนินโครงการให้สำเร็จตามเป้าหมายวัตถุประสงค์ที่กำหนด

 

1 0

2. 4. ประชุม คณะทำงาน ครั้งที่ 1

วันที่ 21 เมษายน 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
2.ประชุมคณะทำงาน ในวันที่ 21 เม.ย.66 เวลา 10.00-12.00น เพื่อร่วมคิด ร่วมทำ และสรุปผลการดำเนินงาน เพื่อวางแผนการดำเนินโครงการ
จัดทำกติกาข้อตกลงในการขับเคลื่อนการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ วิเคราะห์ทบทวนการดำเนินงานการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ปัญหา / อุปสรรค
รวมทั้งหาวิธีการออกแบบการทำงานในการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในระยะต่อไป
3.วางแผนในการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย และดำเนินการมอบหมายให้คณะทำงานช่วยกันคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.เกิดคณะทำงาน ในการดำเนินโครงการ จากภาคีเครือข่ายในตำบลลำสินธุ์ จำนวน 24 คน
2.ได้แนวทางการขับเคลื่อนโครงการ
3.ได้ข้อสรุปในการดำเนินการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย

 

21 0

3. 11. จัดทำไวนิลโครงการพัฒนากลไกดูแลผู้สูงอายุตำบลลำสินธุ์

วันที่ 15 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.สั้งจ้างทำไวนิลโครงการจำนวน 1 ป้าย ขนาด 1.2*2.4 ม.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ได้ป้าไยไวนิลโครงฃการจำนวน 1 ป้าย

 

60 0

4. ประชุมการจัดทำระบบฐานข้อมูลการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุครั้งที่ 1

วันที่ 16 พฤษภาคม 2566 เวลา 10:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
2.ประชุมคณะทำงาน ในวันที่ 16 พ.ค.66 เวลา 10.00-12.00น เพื่อร่วมคิดพูดคุยออกแบบการจัดทำข้อมูลการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ดูแลและผู้สูงอายุดูแลสุขภาพที่เหมาะสม ออกแบบแบบฟอร์มเก็บข้อมูลร่วมกันจนได้ข้อสรุป
3.วางแผนในการมอบหมายจ้างเก็บแบบสำรวจ พร้อมการออกแบบการเก็บและรวบรวมข้อมูล แบ่งบทบาทหน้าที่คณะทำงานในการสำรวจ กำหนดระยะเวลาในการสำรวจ 2 ระยะเพื่อเป็นข้อมูลเปรียบเทียบความเปลี่ยนแปลง 4.สรุปข้อมูลจากแบบสำรวจ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. มีคณะทำงานในการจัดทำระบบข้อมูลการจัดการสุขภาพของผู้สูงอายุจำนวน 11 คน ที่มีทักษะความชำนาญในการจัดทำข้อมูล
  2. ได้ข้อสรุปรูปแบบการเก็บข้อมูลและมอบหมายงานจ้างการเก็บข้อมูลให้กับอสม.ที่่ดูแลผู้สูงอายุ
  3. ได้ผลการเก็บข้อมูล จากการเก็บข้อมูล ดังนี้
    1) ความดันโลหิตสูง คัดกรอง 566 คน ปกติ 532 คน เสี่ยง 12 คน เสี่ยงสูง 22 คน
    2) เบาหวาน คัดกรอง 885 คน ปกติ 851 คน เสี่ยง 17 คน เสี่ยงสูง 17 คน
    3) CVD คัดกรอง 388 คน ต่ำ 38 คน ปานกลาง 103 คน สู่ง 72 คน สูงมาก 62 คน สูงอันตราย 113 คน
    4) สุขภาพช่องปาก คัดกรอง 1085 คน ปกติ 1085 คน
    5) สมองเสื่อม คัดกรอง 527 คน ปกติ 527 คน
    6) ซึมเศร้า 2Q คัดกรอง 1095 คน ปกติ 1095 คน
    7) ข้อเข่า คัดกรอง 1085 คน ปกติ 1084 คน ผิดปกติ 1 คน
    8) ภาวะหกล้ม คัดกรอง 1085 คน ปกติ 1075 คน ผิดปกติ 10 คน
    9) ADL คัดกรอง 1085 คน ติดสังคม 1042 คน ติดบ้าน 31 คน ติดเตียง 12 คน
    10) BMI คัดกรอง 649 คน ผอม 75 คน สมส่วน 345 คน เริ่มอ้วน 178 คน อ้วน 43 คน อ้วนอันตราย 8 คน
    จากผลการคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มติดสังคม คิดเป็นร้อยละ 96.04 ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีปัญหาสุขภาพเสี่ยงเป็นโรค CVD คิดเป็นร้อยละ 63.66 รองลงมา BMI เกิน คิดเป็นร้อยละ 35.29 เสี่ยงภาวะหกล้ม คิดเป็นร้อยละ 9.22 เสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ6.00 เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 3.98 มีปัญหาข้อเข่า คิดเป็นร้อยละ 0.092
    ดังนั้น จากผลการเก็บข้อมูล พบว่า เห็นควรจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุโดยการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการปรับพฤติกรรม ทั้งในเรื่องอาหาร ออกกำลังกาย ความเครียด เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมมากขึ้น และส่งเสริมองค์ความรู้ให้ผู้สูงอายุสามารถนำภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอยู่มาใช้ในการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัวได้

 

11 0

5. 1. เวทีสร้างความเข้าใจในการขับเคลื่อนโครงการ

วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
2.จัดกิจกรรมเวทีสร้างความเข้าใจในการขับเคลื่อนโครงการ ในวันที่ 18 พ.ค.66 เวลา 08.00-14.00น เพื่อสร้างความเข้าใจโครงการและการขับเคลื่อนการจัดการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โดยมีผู้สูงอายุ คณะทำงาน ผู้บริหาร ภาคีเครือข่าย รพ.สต. อสม.ผู้นำชุมชน สมาชิกสภา เข้าร่วมในการดำเนินการ
3.ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพ และแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดี และให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
4. รับสมัครผู้สูงอายุเข้าร่วมโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 74 คน
  2. ผู้เข้า่รวมกิจกรรมได้ทราบและเข้าใจที่มาที่ไปของการดำเนินโครงการ
  3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางในการส่งเสริมสุขภาพ และแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อสร้างสุขภาวะที่ดี และให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อเป็นทิศทางในการขับเคลื่อนกิจกรรมในโครงการ
  4. ได้ผู้สูงอ่ายุมีความรู้และความตระหนักความสำคัญของการจัดการสุขภาพที่เหมาะสมกับวัยของแต่ละคน พร้อมมีความตั้งใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพควบคู่กับลูกหลานเป็นผู้ดูแลสมัครเข้าร่วมโครงการ จำนวน 110 คน
  5. คณะทำงานในการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ 24 คน ที่มาจากตัวแทนที่หลากหลายส่วนของตัวแทนกลุ่ม ตัวแทนท้องที่ ท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น เทศบาลตำบลลำสินธุ์  รพ.สต.  กศน.

 

60 0

6. 4. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2

วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
2.ประชุมคณะทำงาน ในวันที่ 19 พ.ค.66 เวลา 09.30-12.00น เพื่อร่วมกันกำหนดกำหนดปฏิทินการดำเนินงาน วางแผนการำกิจกรรม
3.พูดคุยประเด็นการเก็บข้อมูลก่อน ระหว่างและหลังการดำเนินโครงการ
4.แบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบ และดำเนินการมอบหมายให้คณะทำงานช่วยกันดูแลกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ผู้เข้าร่วมประชุม 25 คน
2.ได้ปฏิทินการดำเนินกิจกรรม
2.ได้แบ่งหน้าที่ให้คณะทำงานได้ช่วยกันในดำเนินกิจกรรมแต่ละครั้ง
3.ได้ข้อสรุปในการเก็บข้อมูล ก่อน ระหว่าง และหลังดำเนินโครงการ

 

21 0

7. 9. ปฏิบัติการสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ครั้งที่ 1

วันที่ 23 พฤษภาคม 2566 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประสานวิทยากรเพื่อกำหนดวันจัดกิจกรรม
2.ประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
3.จัดกิจกรรมปฏิบัติการสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ จำนวน 3 ครั้ง 3 วันติดต่อกัน ดังนี้
ครั้งที่ 1 ในวันที่ 23 พ.ค.66 เวลา 08.00-15.00น. นันทนาการร้องรำทำเพลง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ครั้งที่1 จำนวน 62 คน
2.ผู้สูงอายุได้มีพื้นที่สรางสรรค์ในการทำกิจกรรมร่วมกัน
3.ผู้สูงอายุได้รับความรู้เรื่องอาหารและประโยชน์ของพืชผักท้องถิ่นที่นำมาใช้ในการทำอาหารและการแต่งกายเพิ่มขึ้น
4.ผู้สูงอายุมีความสุข และตระหนักถึงการกลับไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมากยิ่งขึ้น

 

30 0

8. 9. ปฏิบัติการสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2

วันที่ 24 พฤษภาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประสานวิทยากรเพื่อกำหนดวันจัดกิจกรรม
2.ประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
3.จัดกิจกรรมปฏิบัติการสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ จำนวน 3 ครั้ง 3 วันติดต่อกัน ดังนี้
ครั้งที่ 2 ในวันที่ 24 พ.ค.66 เวลา 08.00-15.00น. ปฏิบัติการทำอาหาร โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ครั้งที่ 2 จำนวน 48 คน
2.ผู้สูงอายุได้มีพื้นที่สรางสรรค์ในการทำกิจกรรมร่วมกัน
3.ผู้สูงอายุได้รับความรู้เรื่องอาหารและประโยชน์ของพืชผักท้องถิ่นที่นำมาใช้ในการทำอาหารและการแต่งกายเพิ่มขึ้น
4.ผู้สูงอายุมีความสุข และตระหนักถึงการกลับไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมากยิ่งขึ้น

 

30 0

9. 9. ปฏิบัติการสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ครั้งที่ 3

วันที่ 25 พฤษภาคม 2566 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประสานวิทยากรเพื่อกำหนดวันจัดกิจกรรม
2.ประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
3.จัดกิจกรรมปฏิบัติการสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ จำนวน 3 ครั้ง 3 วันติดต่อกัน ดังนี้
ครั้งที่ 3 ในวันที่ 25 พ.ค.66 เวลา 08.00-15.00น. ปฏิบัติการแต่งกายสร้างสรรค์จากพืชผักท้องถิ่น โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม ครั้งที่3 จำนวน 59 คน
2.ผู้สูงอายุได้มีพื้นที่สรางสรรค์ในการทำกิจกรรมร่วมกัน
3.ผู้สูงอายุได้รับความรู้เรื่องอาหารและประโยชน์ของพืชผักท้องถิ่นที่นำมาใช้ในการทำอาหารและการแต่งกายเพิ่มขึ้น
4.ผู้สูงอายุมีความสุข และตระหนักถึงการกลับไปปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพมากยิ่งขึ้น

 

30 0

10. 3. ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการรู้การดูแลสุขภาพโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุครั้งที่ 1

วันที่ 26 พฤษภาคม 2566 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประสานวิทยากรเพื่อกำหนดวันจัดกิจกรรม
2.ประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
3.จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการรู้การดูแลสุขภาพโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นดูแลสุขภาพผู้สูงอายุครั้งที่ 1 ในวันที่ 26 พ.ค.66 เวลา 08.00-15.30น.
เวลา 09.00-12.00 น. ให้ความรู้เรื่องการทำสมุนไพรแช่เท้า พร้อมฝึกปฏิบัติสมุนไพรแช่เท้าเพื่อสุขภาพ
เวลา 13.00-15.00 น. ให้ความรู้รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 77 คน
2.ได้รับความรู้เรื่องการนำสมุนไพรพื้นบ้านมาทำสมุนไพรแช่เท้า พร้อมฝึกปฏิบัติทำสมุนไพรแช่เท้าเพื่อสุขภาพ
3.ได้ความรู้เรื่องการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ พร้อมเทคนิคการปรับสมดุลอาหารสำหรับผู้สูงอายุ
4.ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ที่ได้รับกลับไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

 

60 0

11. กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการรู้การดูแลสุขภาพโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุครั้งที่ 2

วันที่ 2 มิถุนายน 2566 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประสานวิทยากรเพื่อกำหนดวันจัดกิจกรรม
2.ประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
3.จัดกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการรู้การดูแลสุขภาพโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุครั้งที่ 2 ในวันที่ 2 มิ.ย.66 เวลา 08.00-15.30น.
เวลา 09.00-12.00 น. เรียนรู้วิธีการ พร้อมประโยชน์ของการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า รวมทั้งฝึกปฏิบัติออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้าตามท่าต่างๆและประกอบจังหวะเพลง
เวลา 13.00-15.00 น. รับฟังการบรรยายการส่งเสริมให้สุขภาพจิตดี ชีวิตมีความสุข โดยได้เรียนรู้เคล็ดลับ วิธีการให้ชราอย่างมีความสุข

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 80 คน
2.ได้ทราบประโยชน์ของการออกกำลังกายด้วยผ้าขาวม้า พร้อมกับวิธีและได้ฝึกปฏิบัติ ท่าออกกำลังกายประกอบจังหวะเพลง
3.ได้ทราบเทคนิคการสร้างสุขภาพจิตที่ดีในวัยชรา และได้แรงบรรดาลใจในการดำรงชีวิตอยู่ต่อไปอย่างมีความสุข
4.ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ที่ได้รับกลับไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

 

60 0

12. ถอดเงินฝากเปิดบัญชีโครงการ

วันที่ 12 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ถอนเงินจากการเปิดบัญชีธนาคารของโครงการ โดย ผู้รับผิดชอบโครงการได้นำเงินการบัญชี จำนวน 100 บาท  ได้ทำการถอดเงินคืนออกจากบัญชีธนาคารให้เป็นไปตามระบบบัญชี รับจ่ายของโครงการ ให้กับคณะทำงานที่ได้สำรองฝากเงินแรกเปิดบัญชีธนาคารของโครงการฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ถอนเงินคือคณะทำงานได้ทดรองจ่าย  การเปิดบัญชีธนาคารของโครงการ

 

3 0

13. 2. ศึกษาดูงาน ขับเคลื่อนการจัดการสุขภาพผูู้สูงอายุ

วันที่ 14 มิถุนายน 2566 เวลา 07:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประสานงานสถานที่ศึกษาดูงานกำหนดวันจัดกิจกรรม
2.ประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
3.จัดกิจกรรมศึกษาดูงานการจัดการสุขภาพผูู้สูงอายุ ณ อบต.บางด้วน อ.ปะเหลียน จ.ตรัง ในวันที่ 14 มิ.ย.66 เวลา 07.30-11.30น. เพื่อสรุปผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการที่ได้ดำเนินการแล้ว ติดตามผลการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์ พร้อมกับร่วมกันสะท้อนและเติมเต็มความสำเร็จสู่การดำเนินการโครงการระยะต่อไป
4.สรุปผลการประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรม ผลลัพธ์ การใช้เงิน การรายงานผลการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 94 คน
2. ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การขับเคลื่อนกลไกการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เกิดพลังบวกในการกลับมารวมตัวให้ผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่เข้มแข็งในทุกมิติ
3. ได้แนวคิดการดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาาวะผู้สูงอายุ
4. ได้ทำกิจกรรมร่วมกันทำให้ผู้สูงอายุมีความสุข

 

52 0

14. 7. เพื่อนเยี่ยมเพื่อนโดยกลไกติดตามประเมินผล ครั้งที่ 1

วันที่ 15 มิถุนายน 2566 เวลา 09:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

รับสมัครคณะทำงานในการติดตาม  เพื่อนเยี่ยมเพื่อนอย่างน้อยเดือนละ 1  ครั้ง  มีการบันทึกและติดตามประเมินผลระบบออนไลน์และออนไซน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.  ได้คณะทำงานติดตามส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุจำนวน 20 คน มีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้สูงอายุ  พร้อมทั้งแนะนำการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมกับแต่ละคนได้

 

5 0

15. 8. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ และพัฒนา ARE ครั้งที่ 1

วันที่ 16 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
2.จัดกิจกรรมเวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ และพัฒนา ARE ครั้งที่ 1 ในวันที่ 16 มิ.ย.66 เวลา 09.00-11.30น. เพื่อสรุปผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการที่ได้ดำเนินการแล้ว ติดตามผลการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์ พร้อมกับร่วมกันสะท้อนและเติมเต็มความสำเร็จสู่การดำเนินการโครงการระยะต่อไป
3.สรุปผลการประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรม ผลลัพธ์ การใช้เงิน การรายงานผลการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 32 คน
2.กลุ่มเป้าหมายได้ทราบความก้าวหน้าของการดำเนินกิจกรรมในโครงการ
3.กลุ่มเป้าหมายได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันสรุปผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา พบว่าทำให้ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น บริโภคอาหารที่ถูกหลักเพิ่มมากขึ้น และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปบอกต่อบุคคลในครอบครัว ชักชวนกันดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มมากขึ้น จากกิจกรรมศึกษาดูงานขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพ ทำให้กลุ่มเป้าหมาได้แนวคิดและแบบอย่างในการพัฒนาการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เข้มแข็ง เกิดแรงผลักดันในการช่วยกันออกแบบกิจกรรมเพื่อให้ผู้สูงแอายุในโรงเรียนดอกลำดวนมุสุขภาพภาย ใจ สังคมที่ดีอย่างต่อเนื่อง
4.กลุ่มเป้าหมายได้ร่่วมกันเสนอแนะแนวทางการดำเนินงาน และร่วมกันออกแบบกิจกรรมในระยะต่อไปร่วมกัน

 

30 0

16. 7. เพื่อนเยี่ยมเพื่อนโดยกลไกติดตามประเมินผล ครั้งที่ 1

วันที่ 10 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.คัดเลือกผู้สูงอายุ ที่จะลงเยี่ยมโดยคณะทำงานโครงการ
2.ประสานญาติ /ผู้สูงอายุ แจ้งวันที่ลงเยี่ยม พร้อมวัตถุประสงค์ในการลงเยี่ยม
3. ประสานทีมลงเยี่ยมผู้สูงอายุ
4. ลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุจำนวน 10 ราย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.มีทีมคณะทำงานร่วมลงพื้นที่เยี่ยม จำนวน 10 คน

2.ผู้สูงอายุได้รับการเยี่ยม จำนวน 10 คน
  - ม.1 จำนวน 5 ราย
  - ม.2 จำนวน 5 ราย

3.ผู้สูงอายุที่ได้รับการเยี่ยม ได้ขวัญกำลังใจ และได้เกร็ด องค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพ จากเพื่อนผู้สูงอายุด้วยกัน

 

5 0

17. 7. เพื่อนเยี่ยมเพื่อนโดยกลไกติดตามประเมินผล ครั้งที่ 2

วันที่ 16 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.คัดเลือกผู้สูงอายุ ที่จะลงเยี่ยมโดยคณะทำงานโครงการ

2.ประสานญาติ /ผู้สูงอายุ แจ้งวันที่ลงเยี่ยม พร้อมวัตถุประสงค์ในการลงเยี่ยม
3. ประสานทีมลงเยี่ยมผู้สูงอายุ
4. ลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุจำนวน 10 ราย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.มีทีมคณะทำงานร่วมลงพื้นที่เยี่ยม จำนวน 15 คน

2.ผู้สูงอายุได้รับการเยี่ยม จำนวน 10 คน
  - ม.5 จำนวน 5 ราย
  - ม.6 จำนวน 5 ราย

3.ผู้สูงอายุที่ได้รับการเยี่ยม ได้ขวัญกำลังใจ และได้เกร็ด องค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพ จากเพื่อนผู้สูงอายุด้วยกัน

 

4 0

18. 7. เพื่อนเยี่ยมเพื่อนโดยกลไกติดตามประเมินผล ครั้งที่ 3

วันที่ 18 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.คัดเลือกผู้สูงอายุ ที่จะลงเยี่ยมโดยคณะทำงานโครงการ
2.ประสานญาติ /ผู้สูงอายุ แจ้งวันที่ลงเยี่ยม พร้อมวัตถุประสงค์ในการลงเยี่ยม
3. ประสานทีมลงเยี่ยมผู้สูงอายุ
4. ลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุจำนวน 10 ราย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.มีทีมคณะทำงานร่วมลงพื้นที่เยี่ยม จำนวน 12 คน

2.ผู้สูงอายุได้รับการเยี่ยม จำนวน 10 คน

  - ม.3 จำนวน 5 ราย

  - ม.4 จำนวน 5 ราย

3.ผู้สูงอายุที่ได้รับการเยี่ยม ได้ขวัญกำลังใจ และได้เกร็ด องค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพ จากเพื่อนผู้สูงอายุด้วยกัน

 

6 0

19. 7. เพื่อนเยี่ยมเพื่อนโดยกลไกติดตามประเมินผล ครั้งที่ 4

วันที่ 21 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.คัดเลือกผู้สูงอายุ ที่จะลงเยี่ยมโดยคณะทำงานโครงการ
2.ประสานญาติ /ผู้สูงอายุ แจ้งวันที่ลงเยี่ยม พร้อมวัตถุประสงค์ในการลงเยี่ยม
3. ประสานทีมลงเยี่ยมผู้สูงอายุ
4. ลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุจำนวน 15 ราย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.มีทีมคณะทำงานร่วมลงพื้นที่เยี่ยม จำนวน 13 คน

2.ผู้สูงอายุได้รับการเยี่ยม จำนวน 15 คน
  - ม.7 จำนวน 5 ราย
  - ม.8 จำนวน 5 ราย
    - ม.9 จำนวน 5 ราย
3.ผู้สูงอายุที่ได้รับการเยี่ยม ได้ขวัญกำลังใจ และได้เกร็ด องค์ความรู้ในการดูแลสุขภาพ จากเพื่อนผู้สูงอายุด้วยกัน

 

8 0

20. 4. ประชุม คณะทำงาน ครั้งที่ 3

วันที่ 14 กันยายน 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม

2.ประชุมคณะทำงาน ในวันที่ 14 ก.ย.66 เวลา 13.30-16.00น เพื่อร่วมคิด ร่วมวางแผนกิจกรรมต่อไป การประสานงานกลุ่มเป้าหมาย การเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ ในการมาร่วมกิจกรรมของวันที 15 ก.ย.66 และสรุป พัฒนากิจกรรมในโครงการครั้งต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 25 คน
2.ได้ร่วมกันแบ่งบทบาทหน้าที่ในการเตรียมมาทำกิจกรรมในวันที่ 15 ก.ย.66
3.ได้ข้อสรุปในการพัฒนาโครงการ ในกิจกรรมถัดไป

 

21 0

21. เวทีพัฒนาศักยภาพกลไกปฏิบัติการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ

วันที่ 15 กันยายน 2566 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประสานวิทยากรเพื่อกำหนดวันจัดกิจกรรม
2.ประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
3.จัดกิจกรรมเวทีพัฒนาศักยภาพกลไกปฏิบัติการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ  ในวันที่ 15 ก.ย. 66 เวลา 08.00-15.30น.
เวลา 09.00-12.00 น. ให้ความรู้ เรือง ปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย การนำสมุนไพรมาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพ
เวลา 13.00-15.00 น. ให้ความรู้เรื่อง การจัดการสุขภาพผู้สูงอายุด้วยศาสตร์แพทย์แผนไทย เวลา 15.00 -15.30 น. สรุปผลที่ได้จากการดำเนินกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 40 คน
2.ได้รับความรู้เรื่องการนำความรู้เรื่องสมุนไพร มาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพ
3.ได้ความรู้เรื่องการการจัดการสุขภาพด้วยศาสตร์การแพย์แผนไทย มีการฝึกทำยาดมจากสมุนไพรที่มีในพื้นถิ่น
4.ผู้สูงอายุสามารถนำความรู้ที่ได้รับกลับไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

 

30 0

22. 4. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4

วันที่ 18 ตุลาคม 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม

2.ประชุมคณะทำงาน ในวันที่ 18 ต.ค. 66 เวลา 13.30-16.00น
2.1 คัดเลือกผู้สูงอายุติดบ้านลงเพื่อลงเยี่ยม ทั้ง 9 หมู่บ้าน ในการลงเยี่ยมให้กำลังใจ และให้ความรู้ผู้สูงอายุติดบ้านในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
2.2  กำหนดวันลงพื้นที่เยี่ยมผู้สูงอายุติดบ้าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.มีผู้เข้าร่วมประชุม  จำนวน 26  คน
2. ได้จำนวนผู้สูงอายุที่ลงเยี่ยม จำนวน 30 ราย
3. ได้กำหนดวันลงเยี่ยม พร้อมแบ่งหน้าที่กันในการประสานงานกลุ่มเป้าหมาย

 

21 0

23. 4. ประชุม คณะทำงาน ครั้งที่ 5

วันที่ 30 ตุลาคม 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม

2.ประชุมคณะทำงาน ในวันที่ 30 ต.ค. 66 เวลา 13.30-16.00น
2.1 วางแผนการดำเนินกิจกรรม เวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินโครงการ
2.2 คัดเลือกผู้สูงอายุต้นแบบทางด้านสุขภาพ จำนวน 20 ท่าน
2.3 แบ่งบทบาทหน้าทีของคณะทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. มีจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม  25 คน
  2. ได้รูปแบบการดำเนินกิจกรรมเวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินโครงการ
  3. ได้จำนวนผู้สูงอายุต้นแบบทางด้านสุขภาพ จำนวน 20 ท่าน
  4. ได้ทราบบทบาทหน้าที่ของตนเอง เพื่อประสานงานและเตรียมความพร้อม ในการดำเนินกิจกรรมเวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินโครงการ

 

0 0

24. กิจกรรมติดตามและประเมินผลแบบมีส่วนร่วม ARE ครั้งที่ 2 ของแผนงานร่วมทุน

วันที่ 31 ตุลาคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประสานงานตัวแทนคณะทำงาน เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 5 คน

2.เข้าร่วมกิจกรรม ตามวัน เวลา ที่กำหนด

3.ร่วมกิจกรรม แบ่งกลุ่มสัมพันธ์ตามประเด็น โดยได้เข้าร่วมประเด็น ผู้สูงอายุ

  1. เสนอแนะ แลกเปลี่ยนผลลัพธ์ที่ได้จากการดำเนินโครงการ สะท้อนกลับ รายโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.มีจำนวนตัวแทนเข้าร่วมโครงการ จำนวน 5 คน

2.ได้ข้อสรุปผลที่ได้จากการดำเนินโครงการ แยกรายประเด็น

3.ได้รับทราบกระบวนการดำเนินโครงการ การรายงานผล การปิดโครงการ การเตรียมเอกสารต่างๆ

 

5 0

25. เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการและสรุปผลการดำเนินโครงการ

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประสานวิทยากรเพื่อกำหนดวันจัดกิจกรรม
2.ประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
3.จัดกิจกรรมเวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินโครงการ ในวันที่ 8  พ.ย. 66 เวลา 08.00-15.00น.
เวลา  08.00-09.00  น.  ลงทะเบียน เวลา  09.00-11.00  น. - เวทีเสวนาต้นแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ถอดบทเรียนที่ได้จากการดำเนินโครงการ
เวลา  11.00-12.00 น. - มอบเกียรติบัตรให้ผู้สูงอายุทุกท่านที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการ
เวลา  12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน
เวลา  13.00-13.30 น.  - มอบเกียรติบัตร พร้อมของที่ระลึกให้ผู้สูงอายุที่เป็นต้นแบบด้านสุขภาพ จำนวน 20 ท่าน เวลา  13.30-14.30  น. - กิจกรรม การแสดง 3 ชุด และร้องรำทำเพลง สร้างสุขให้ผู้สูงอายุ เวลา  14.30- 15.00  น. สรุปผลที่ได้จากการดำเนินกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน
2.มีผู้สูงอายุที่ผ่านการเข้าร่วมทำกิจกรรมในโครงการ  82 คน 3. ได้ผู้สูงอายุที่เป็นต้นแบบทางด้านสุขภาพ 20 คน
4.ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเคล็ดลับการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นต้นแบบทางด้านสุขภาพ และการนำองค์ความรู้จากการเข้าร่วมโครงการไปประยุกต์ใชในชีวิตประจำวัน
5.ได้ร่วมกันสรุปผล ถอดบทเรียนสิ่งที่ได้จากการดำเนินโครงการ ดังนี้     ผู้สูงอายุ ร้อยละ 100 ที่มาเข้าร่วมโครงการมีความสุขจากการได้มาเข้าร่วมทำกิจกรรมกลุ่มกับเพื่อนผู้สูงอายุด้วยกัน  และนำความรู้ไปปรับใช้กับตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และบอกต่อเคล็ดลับ  องค์ความรู้ต่างๆ ให้เพื่อนผู้สูงอายุที่อยู่บ้าน  ไม่สามารถมาร่วมกิจกรรมได้ ทำให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลจากโครงการนี้ 150 คน นอกจากนี้ยังสร้างความรักความสามัคคีกันในสังคมผู้สูงอายุ  จากการถอดบทเรียน ผู้สูงอายุอยากให้มีโครงการแบบนี้อีก เพราะสะท้อนกลับว่าเป็นโครงการที่ดี สร้างสุข สร้างรอยยิ้ม สร้างสังคมให้ผู้สูงอายุ ลดภาวะพึ่งพิง ลดภาระของลูกหลาน อยากให้มีการต่อยอดโครงการต่อไป

 

100 0

26. ประชุมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 2

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประสานงานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 2.จัดกิจกรรมเวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ และพัฒนา ARE ครั้งที่ 2 ในวันที่ 9 พ.ย.66 เวลา 09.00-15.30น. เพื่อสรุปผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการที่ได้ดำเนินการแล้ว ติดตามผลการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์ พร้อมกับร่วมกันสะท้อนและเติมเต็มความสำเร็จสู่การดำเนินการโครงการระยะต่อไป 3.สรุปผลการประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรม ผลลัพธ์ การใช้เงิน การรายงานผลการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 32 คน 2.กลุ่มเป้าหมายได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันสรุปผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา พบว่าทำให้ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น มีความสุข ทั้งสุขสบาย สุขสนุก สุขสง่า สุขสว่าง และสุขสงบ  มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ออกกำลังกายเพิ่มขึ้น บริโภคอาหารที่ถูกหลักเพิ่มมากขึ้น นอนหลับพักผ่อนเพียงพอ และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปบอกต่อบุคคลในครอบครัว ชักชวนกันดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มมากขึ้น  นอกจากนี้ การดำเนินโครงการดังกล่าวยังเป็นการสร้างความรัก ความสามัคคัของนักเรียนผู้สูงอายุ เพิ่มความถี่ในการพบปะ ห่วงใย มีน้ำใจ เอื้ออาทรกัน ลดช่องว่างของสังคมผู้สูงอายุ  ผู้สูงอายุมีความกล้าแสดงออก ลดช่องว่างในครอบครัว สร้างการมีส่วนร่วมของกิจกรรมในชุมชน
3.กลุ่มเป้าหมายได้ร่่วมกันเสนอแนะแนวทางการดำเนินงาน และร่วมกันเสนอแนะความต้องการในการดำเนินกิจกรรม โครงการครั้งต่อไป  เช่น อยากให้มีกิจกรรม ร้องรำทำเพลง มีวงกลองยาวผู้สูงอายุ กิจกรรมที่าร้างอาชีพ รายได้ให้กับผู้สูงอายุ กิจกรรมดูแลสุขภาพช่องปาก สายตา เพื่อนเยี่ยมเพื่อน  เป็นต้น เพื่อสร้างรอยยิ้มและความสุขให้กับสังคมผู้สูงอายุในตำบลลำสินธุ์

 

30 0

27. 11. 11. รายงานในระบบออนไลน์การดำเนินงานโครงการ ครั้งที่ 1

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ตรวจสอบรายละเอียดของการดำเนินกิจกรรมต่างๆในโครงการ

  1. รวบรวมเอกสารการเบิกจ่าย ภาพถ่ายกิจกรรม เพื่อรวบรวมจัดทำไว้ทั้งในเอกสาร และรายงานในระบบ

  2. รายงานผลกิจกรรมที่ทำมาแล้ว ในงวดที่ 1 ในระบบ และจัดทำแฟ้มเอกสาร จัดเอกสารการเบิกจ่ายและหลักฐานการเบิกจ่าย เป็นรายกิจกรรม เพื่อการตรวจสอบที่ง่าย

  3. จัดส่งเอกสารในแฟ้มที่รวบรวมไว้ให้แผนงานร่วมทุนตรวจสอบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ได้รายงานผลกิจกรรมทั้งหมด 15 กิจกรรม ที่ดำเนินการในงวดที่ 1

 

1 0

28. 11. รายงานในระบบออนไลน์การดำเนินงานโครงการ ครั้งที่ 3

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ตรวจสอบรายละเอียดของการดำเนินกิจกรรมต่างๆในโครงการ

  1. รวบรวมเอกสารการเบิกจ่าย ภาพถ่ายกิจกรรม เพื่อรวบรวมจัดทำไว้ทั้งในเอกสาร และรายงานในระบบ

  2. รายงานผลกิจกรรมที่ทำมาแล้ว ในงวดที่ 3 ในระบบ และจัดทำแฟ้มเอกสาร จัดเอกสารการเบิกจ่ายและหลักฐานการเบิกจ่าย เป็นรายกิจกรรม เพื่อการตรวจสอบที่ง่าย

  3. จัดส่งเอกสารในแฟ้มที่รวบรวมไว้ให้แผนงานร่วมทุนตรวจสอบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ได้รายงานผลกิจกรรม ที่ดำเนินการในงวดที่ 3 จำนวน 7กิจกรรม

 

1 0

29. 11. รายงานในระบบออนไลน์การดำเนินงานโครงการ ครั้งที่ 2

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ตรวจสอบรายละเอียดของการดำเนินกิจกรรมต่างๆในโครงการ

  1. รวบรวมเอกสารการเบิกจ่าย ภาพถ่ายกิจกรรม เพื่อรวบรวมจัดทำไว้ทั้งในเอกสาร และรายงานในระบบ

  2. รายงานผลกิจกรรมที่ทำมาแล้ว ในงวดที่ 2 ในระบบ และจัดทำแฟ้มเอกสาร จัดเอกสารการเบิกจ่ายและหลักฐานการเบิกจ่าย เป็นรายกิจกรรม เพื่อการตรวจสอบที่ง่าย

  3. จัดส่งเอกสารในแฟ้มที่รวบรวมไว้ให้แผนงานร่วมทุนตรวจสอบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ได้รายงานผลกิจกรรมที่ดำเนินในโครงการ งวดที่ 2 จำนวน  7 กิจกรรม

 

1 0

30. ค่าอินเตอร์เน็ตในการดำเนินโครงการ

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จ่ายค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วมโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ติดต่อประสานงานกลุ่มเป้าหมายในการเข้าร่วมโครงการ

 

2 0

31. กิจกรรมรวมพลคนสามวัยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

วันที่ 19 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

1.ประสานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม

2.ร่วมกิจกรรมรวมพลคนสามวัย ณ รร.อุบลรัตน์ราชกัญญาวิทยาลัยพัทลุง ในวันที่ 19 ธ.ค.66 โดยร่วมจัดนิทรรศการและรับชมการมอบรางวัลและฟังเวทีเสวนา

3.นำเสนอผลงานนิทรรศการให้กับประธาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 20 คน

2.ได้ร่วมดำเนินกิจกรรม ทำให้เห็นภาพรวมของผลงานโครงการทุกโครงการที่ขอรับงบของแผนงานร่วมทุน

  1. สร้างสรรค์ผลงานจากการดำเนินโครงการ รวมทั้งสร้างสุขให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม

 

20 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้มีความรู้การจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ
ตัวชี้วัด : 1. จำนวนกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุมีความรู้และความตระหนักการจัดการสุขภาพที่เหมาะสมอย่างน้อยร้อยละ 80 2. ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้และความตระหนักการจัดการสุขภาพ 3. มีจำนวนผู้ดูแลและผู้สูงอายุมีแผนการจัดการสุขภาพได้อย่างน้อยร้อยละ 80
100.00

มีการวางแผนเพื่อดำเนินการต่อเนื่อง

2 เพื่อให้เกิดกลไกขับเคลื่อนการดูแลผู้สูงอายุในตำบลลำสินธุ์
ตัวชี้วัด : 1. เกิดคณะทำงานขับเ่คลื่อนการส่งเสริมการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. เกิดกลไกการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ มีกติกาและแบ่งงานปฏิบัติการอย่างน้อยร้อยละ 20 3. มีข้อมูลสถานการณ์และการจัดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของผู้ดูแลและผู้สูงอายุ
100.00

มีการติดตาม/การให้คำแนะนำจากกลุ่มแกนนำ และมีการวางแผนการรับมือการเจ็บป่วยภายในชุมชน

3 เพื่อปฏิบัติการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ
ตัวชี้วัด : 1. กลุ่มเป้าหมายมีปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤิตกรรมไม่น้อยกว่า 130 คน ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมาย 2. ผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาการจัดการสุขภาพ 3. กลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลไม่น้อยกว่า 130 คน ร้อยละ 70 และมีผู้ดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างน้อย 20 คน 4. ได้ผู้สูงอายุต้นแบบปรับเปลี่ยนจัดการสุขภาพเหมาะสมอย่างน้อย 20 คน
100.00

ผู้สูงอายุตระหนักถึงการปรุงอาหารให้ถูกหลักมากขึ้น ถูกอนามัยและสมวัย เหมาะกับธาตุของแต่ละคน

4 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลสุขภาพ
ตัวชี้วัด : 1. จำนวนผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจัดการสุขภาพอย่างน้อย 130 คน 2. ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมาย 3. มีกลไกการจัดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีความเข้มแข็ง
100.00

แกนนำใช้กระบวนการเพื่อนเยี่ยมเพื่อนเพื่อสร้างคุณค่าให้กับผู้สอูงอายุ

5 เพื่อให้มีการบริหารจจัดการโครงการที่มีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด : 1.เข้าร่วมกิจกรรมของแผนงานร่วมทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ80 2.มีรายงานประจำงวด
100.00 0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 226
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลไกปฏิบัติการจากผู้สูงอายุ 18
คณะทำงานการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ 21
ผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลลำสินธุ์ 187

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้มีความรู้การจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ (2) เพื่อให้เกิดกลไกขับเคลื่อนการดูแลผู้สูงอายุในตำบลลำสินธุ์ (3) เพื่อปฏิบัติการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ (4) เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลสุขภาพ (5) เพื่อให้มีการบริหารจจัดการโครงการที่มีประสิทธิภาพ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 11.  พัฒนาศักยภาพผู้รับทุน ปฐมนิเทศโครงการ (2) 4.  ประชุม คณะทำงาน ครั้งที่ 1 (3) 1.  เวทีสร้างความเข้าใจในการขับเคลื่อนโครงการ (4) 11.  จัดทำไวนิลโครงการพัฒนากลไกดูแลผู้สูงอายุตำบลลำสินธุ์ (5) 4.  ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 (6) 9.  ปฏิบัติการสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ครั้งที่ 1 (7) 9.  ปฏิบัติการสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2 (8) 2.  ศึกษาดูงาน ขับเคลื่อนการจัดการสุขภาพผูู้สูงอายุ (9) 9.  ปฏิบัติการสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ครั้งที่ 3 (10) 7.  เพื่อนเยี่ยมเพื่อนโดยกลไกติดตามประเมินผล ครั้งที่ 1 (11) 8.  เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ และพัฒนา ARE ครั้งที่ 1 (12) 3.  ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการรู้การดูแลสุขภาพโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุครั้งที่ 1 (13) กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการรู้การดูแลสุขภาพโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นดูแลสุขภาพ  ผู้สูงอายุครั้งที่ 2 (14) ถอดเงินฝากเปิดบัญชีโครงการ (15) ประชุมการจัดทำระบบฐานข้อมูลการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุครั้งที่ 1 (16) 4. ประชุม คณะทำงาน ครั้งที่ 3 (17) 4. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 (18) เวทีพัฒนาศักยภาพกลไกปฏิบัติการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ (19) ค่าอินเตอร์เน็ตในการดำเนินโครงการ (20) 11. 11. รายงานในระบบออนไลน์การดำเนินงานโครงการ ครั้งที่ 1 (21) 7. เพื่อนเยี่ยมเพื่อนโดยกลไกติดตามประเมินผล ครั้งที่ 1 (22) 7. เพื่อนเยี่ยมเพื่อนโดยกลไกติดตามประเมินผล ครั้งที่ 2 (23) 7. เพื่อนเยี่ยมเพื่อนโดยกลไกติดตามประเมินผล ครั้งที่ 3 (24) 7. เพื่อนเยี่ยมเพื่อนโดยกลไกติดตามประเมินผล ครั้งที่ 4 (25) ประชุมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 2 (26) 11. รายงานในระบบออนไลน์การดำเนินงานโครงการ ครั้งที่ 2 (27) เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการและสรุปผลการดำเนินโครงการ (28) 11. รายงานในระบบออนไลน์การดำเนินงานโครงการ ครั้งที่ 3 (29) 4.  ประชุม คณะทำงาน ครั้งที่ 5 (30) กิจกรรมติดตามและประเมินผลแบบมีส่วนร่วม ARE ครั้งที่ 2 ของแผนงานร่วมทุน (31) กิจกรรมรวมพลคนสามวัยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการพัฒนากลไกดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 6510156026

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางพัชรี น้อยเต็ม )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด