directions_run

โครงการ การฟื้นฟูอาชีพและสุขภาพในกลุ่มแรงงานนอกระบบกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านปากปิง ตำบลกำแพง อำเภอละงู

assignment
บันทึกกิจกรรม
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับ สสส ครั้งที่ 215 กรกฎาคม 2566
15
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nichkan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ได้รับเชิญจากหน่วยจัดการให้เข้าร่วมและเสนอผลงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯครั้งที่ 2 ณ โรงแรมเซาท์เทิร์นแอร์พอร์ต อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ จำนวน 3 คน

จัดเวทีคืนข้อมูลให้กับสมาชิกและเครือข่าย9 กรกฎาคม 2566
9
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nichkan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.จัดทำหนังสือเชิญแกนนำและสมาชิกกลุ่มเข้าร่วมกิจกรรมจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับสมาชิกและเครือข่าย 2. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม 3. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและแนวทางการดำเนินกิจกรรม 4. แบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่มตามแกนนำที่รับผิดชอบให้ดำเนินการดังนี้ 4.1 ให้สมาชิกทำแบบประเมินความเครียด 4.2 จัดทำใบงานถอดบทเรียน ซึ่งประกอบด้วยประเด็น
5. สรุปผลการถอดบทเรียนและคืนข้อมูล

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 31 คน
  2. ระดับความเครียดของแกนนำและสมาชิกหลังเข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 70 รองลงมาระดับน้อย จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 15 และระดับสูง 4 คน คิดเป็นร้อยละ 13
  3. ผลการวิเคราะห์ความมั่นคงทางด้านการเงินหลังเข้าร่วมโครงการ พบว่า   3.1 มีการเพิ่มรายได้ จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 80   3.2 ลดรายจ่าย จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 60
      3.3 เงินออม จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 50
พัฒนาศักยภาพแกนนำและประชุมทีม ครั้งที่ 52 กรกฎาคม 2566
2
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nichkan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. จัดทำหนังสือเชิญแกนนำเข้าร่วมประชุม
  2. ลงทะเบียน
  3. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและแนวทางการดำเนินงาน
  4. แกนนำรายงานผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการเงินของสมาชิก
  5. สรุปผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการเงินภาพรวมของกลุ่ม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. แกนนำเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 10 คน
  2. ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ส่วนใหญ่พบว่า ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนให้ได้ตามเป้าหมาย
  3. ผลการผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเงินส่วนใหญ่ พบว่า สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการผลิตและจำหน่ายขนม ร้อยละ 80
ออกร้านจำหน่ายขนมในเทศกาล ครั้งที่ 5/527 มิถุนายน 2566
27
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nichkan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ทำหนังสือเชิญแกนนำจำนวน 10 คน เข้าร่วมกิจกรรม
  2. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม แนวทางการดำเนินกิจกรรม และจัดสถานที่ในการจำหน่ายขนม
  3. จำหน่ายขนมพื้นเมือง ได้แก่ ขนมบุหงาบุดะ ขนมปะการัง ขนมผูกรัก  ขนมกลีบลำดวน
  4. สรุปผลการดำเนินกิจกรรม พร้อมจัดทำบัญชีรายได้และรายจ่าย
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. แกนนำเข้าร่วมกิจกรรมออกร้านจำหน่ายขนมจำนวน 10 คน
  2. จำหน่ายขนมจำนวน 4 ชนิด ได้แก่   2.1 ขนมบุหงาบุดะ จำนวน 50 กล่อง ได้เงินจำนวน 1,670 บาท   2.2 ขนมปะการัง  จำนวน  48 ถุง  ได้เงินจำนวน 1,600 บาท   2.3 ขนมผูกรัก  จำนวน 50 กล่อง  ได้เงินจำนวน 1,670 บาท   2.4 ขนมกลีบลำดวน จำนวน 50 กล่อง ได้เงินจำนวน 1,670 บาท
  3. สรุปขายขนมได้ทั้งสิ้น จำนวน 198 กล่อง คิดเป็นเงิน 6,610 บาท
ทำขนมพื้นเมืองเพื่อจำหน่าย ครั้งที่ 5/525 มิถุนายน 2566
25
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nichkan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ทำหนังสือเชิญสมาชิกกลุ่มเข้าร่วมกิจกรรม
  2. ลงทะเบียน
  3. ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินกิจกรรม
  4. แบ่งกลุ่มทำขนมออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มขนมบุหงาบุดะ ขนมปะการัง ขนมกลีบลำดวน และขนมผูกรัก
  5. ดำเนินการทำขนม
  6. สรุปผลการทำกิจกรรม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สมาชิกจำนวน 30 คนเข้าร่วมกิจกรรม
  2. ขนมที่ผลิตได้ประกอบด้วย     2.1 ขนมบุหงาบุดะ จำนวน  30 กล่อง     2.2 ขนมปะการัง  จำนวน  30 ถุง     2.3 ขนมผูกรัก จำนวน  40  กล่อง     2.4 ขนมกลีบลำดวน  จำนวน 40 กล่อง
จัดทำศูนย์เรียนรู้การทำขนมพื้นเมือง ครั้งที่ 3/320 มิถุนายน 2566
20
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nichkan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ทำหนังสือเชิญแกนนำเข้าร่วมกิจกรรม
  2. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม
  3. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม และแนวทางการดำเนินกิจกรรม
  4. คัดเลือกบุคคลและสูตรขนมพื้นเมืองได้แก่ ขนมบุหงาบุดะ และขนมกลีบลำดวน เพื่อถ่ายทอดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซึ่งบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกในการถ่ายทอดประสบการณ์และให้ข้อมูล คือ นางสลาบี ไชยแก้ว และนางสาวจ๊ะ ไชยแก้ว
  5. จัดทำข้อมูลสูตรขนมพื้นเมือง ได้แก่   5.1 ขนมโรตีกรอบจิ๋ว วัตถุดิบ แป้งสาลีอเนกประสงค์ น้ำปูนใส ไข่ไก่สด น้ำตาลทราย เกลือ น้ำเปล่า น้ำมันพืช วิธีการทำ เตรียมอ่างผสม จากนั้นก็เทแป้งสาลีอเนกประสงค์ลงไป ผสมน้ำปูนใสกับไข่ไก่สดให้เข้าด้วยกัน จากนั้นเทลงไปในอ่างผสมที่มีแป้งสาลี กวนทุกอย่างให้เข้ากัน กวนให้เป็นเนื้อเดียวกันเลย ใส่น้ำเปล่าลงไปนิดหน่อย ถ้าหากแป้งที่เราผสมไว้ข้นเกิน ปรุงรสโรตีของเราด้วยเกลือนิดหน่อย แล้วนวดอีกครั้ง พยายามตัดแบ่งโรตีเป็นก้อนๆ แล้วใช้ไม้รีดให้เป็นแผ่นบางๆ เตรียมกระทะ ใส่น้ำมันพืชลงไป รอให้น้ำมันร้อนก็นำแป้งโรตีของเราลงไปทอดจนกรอบ เตรียมกระทะอีกครั้ง จากนั้นใส่น้ำเปล่า พอน้ำเดือดเราก็ทำการใส่น้ำตาลทรายลงไป เคี่ยวจนน้ำตาลละลาย นำโรตีทอดกรอบของเราลงไปคลุกน้ำตาลเชื่อมในกระทะจนทั่ว ตักขึ้นมา พักให้เย็นเพื่อให้น้ำตาลเกาะแป้งโรตี
    หมายเหตุ หากไม่ต้องการแบบหวาน ไม่ต้องนำโรตีทอดกรอบไปคลุกน้ำตาลเชื่อม ก็จะได้โรตีกรอบจิ๋วแบบไม่หวาน   5.2 ขนมถั่วอัด หรือขนมโกยหยา โกยยา หรือขนมถั่วอัดเป็นขนมพื้นเมืองจังหวัดสตูล และนิยมทำในเทศกาลต่าง ๆ มีรสชาติมันจากถั่วและหวานจากน้ำตาล นิยมรับประทานคู่กับโกปีออหรือน้ำชา ส่วนผสม ถั่วเขียว และน้ำตาลไอซิ่ง วิธีทำ นำถั่วเขียวมาล้างและคั่วด้วยไฟอ่อน ๆ จากนั้นนำไปบดให้ละเอียด นำน้ำตาลไอซิ่งใส่ในก้นแป้นพิมพ์แล้วอัดถั่ว ลงไปในแป้นพิมพ์ที่เป็นรูปลายดอกไม้ เคาะถั่วออกจากแป้นพิมพ์ พร้อมรับประทาน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. แกนนำเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 10 คน
  2. ได้สูตรขนมพื้นเมือง จำนวน 2 สูตร
ออกร้านจำหน่ายขนมในเทศกาล ครั้งที่ 4/516 มิถุนายน 2566
16
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nichkan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ทำหนังสือเชิญแกนนำจำนวน 10 คน เข้าร่วมกิจกรรม
  2. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม แนวทางการดำเนินกิจกรรม และจัดสถานที่ในการจำหน่ายขนม
  3. จำหน่ายขนมพื้นเมือง ได้แก่ ขนมปะการัง ขนมผูกรัก
  4. สรุปผลการดำเนินกิจกรรม พร้อมจัดทำบัญชีรายได้และรายจ่าย
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. แกนนำเข้าร่วมกิจกรรมออกร้านจำหน่ายขนมจำนวน 10 คน
  2. จำหน่ายขนมจำนวน 3 ชนิด ได้แก่   2.1 ขนมปะการัง จำนวน 41 ถุง ได้เงินจำนวน 1,370 บาท   2.2 ขนมผูกรัก  จำนวน 65 กล่อง  ได้เงินจำนวน 2,170 บาท
  3. สรุปขายขนมได้ทั้งสิ้น จำนวน 106 กล่อง คิดเป็นเงิน 3,540 บาท
ทำขนมพื้นเมืองเพื่อจำหน่าย ครั้งที่ 4/515 มิถุนายน 2566
15
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nichkan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ทำหนังสือเชิญสมาชิกกลุ่มเข้าร่วมกิจกรรม
  2. ลงทะเบียน
  3. ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินกิจกรรม
  4. แบ่งกลุ่มทำขนมออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มขนมปะการัง และขนมผูกรัก
  5. ดำเนินการทำขนม
  6. สรุปผลการทำกิจกรรม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สมาชิกจำนวน 30 คนเข้าร่วมกิจกรรม
  2. ขนมที่ผลิตได้ประกอบด้วย     2.1 ขนมปะการัง จำนวน  50 ถุง     2.2 ขนมผูกรัก จำนวน  50  กล่อง
จัดทำศูนย์เรียนรู้การทำขนมพื้นเมือง ครั้งที่ 2/38 มิถุนายน 2566
8
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nichkan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ทำหนังสือเชิญแกนนำเข้าร่วมกิจกรรม
  2. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม
  3. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม และแนวทางการดำเนินกิจกรรม
  4. คัดเลือกบุคคลและสูตรขนมพื้นเมืองได้แก่ ขนมบุหงาบุดะ และขนมกลีบลำดวน เพื่อถ่ายทอดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซึ่งบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกในการถ่ายทอดประสบการณ์และให้ข้อมูล คือ นางอ้อย นุ้ยน้ำวงษ์ และนางรีอ๊ะ บาโห้ย
  5. จัดทำข้อมูลสูตรขนมพื้นเมือง
      5.1 ขนมผูกรัก ส่วนผสม ปลาทูนึ่งแกะเอาแต่เนื้อ 2 ตัว เครื่องพริกแกงเผ็ด 1 1/2 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย 3 ช้อนโต๊ะ เกลือป่น 1/4 ช้อนชา น้ำเปล่า 1/4 ถ้วย น้ำมันพืชสำหรับผัด 1 1/2 ช้อนโต๊ะ แผ่นแป้งเปาะเปี๊ยะ น้ำมันสำหรับทอด วิธีทำ เตรียมไส้ปลาโดยผัดเครื่องพริกแกงเผ็ดกับน้ำมันให้หอม ใส่เนื้อปลาทู น้ำตาลทราย เกลือ และน้ำเปล่า ผัดให้เข้ากันจนส่วนผสมแห้งล่อนออกจากกระทะ พักไว้ ตัดแผ่นแป้งเปาะเปี๊ยะให้มีขนาด 3.5×8 เซนติเมตร ใส่ไส้ปลาผัดตรงกลางเล็กน้อย พับแล้วผูกเป็นปม ตั้งกระทะน้ำมันให้ร้อน ใส่ขนมผูกรักลงทอดให้สุกเหลือง ตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน   5.2 ขนมปะการัง ส่วนผสม แป้งข้าวเหนียว เกลือ น้ำตาลทราย น้ำเปล่า และไข่ไก วิธีทำ ผสมแป้งข้าวเหนียว เกลือ น้ำตาลให้เข้ากัน จากนั้นเติมน้ำ และไข่ ลงไปคนจนเป็นเนื้อเดียวกัน นำไปใส่ในพิมพ์ขนม และทอดในน้ำมันจนสุกเหลือง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. แกนนำเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 10 คน
  2. ได้สูตรขนมพื้นเมือง จำนวน 2 สูตร
ออกร้านจำหน่ายขนมในเทศกาล ครั้งที่ 3/526 พฤษภาคม 2566
26
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nichkan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ทำหนังสือเชิญแกนนำจำนวน 10 คน เข้าร่วมกิจกรรม
  2. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม แนวทางการดำเนินกิจกรรม และจัดสถานที่ในการจำหน่ายขนม
  3. จำหน่ายขนมพื้นเมือง ได้แก่ ขนมปะการัง ขนมผูกรัก
  4. สรุปผลการดำเนินกิจกรรม พร้อมจัดทำบัญชีรายได้และรายจ่าย
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. แกนนำเข้าร่วมกิจกรรมออกร้านจำหน่ายขนมจำนวน 10 คน
  2. จำหน่ายขนมจำนวน 3 ชนิด ได้แก่   2.1 ขนมปะการัง จำนวน 52 ถุง ได้เงินจำนวน 1,735 บาท   2.2 ขนมผูกรัก  จำนวน 60 กล่อง  ได้เงินจำนวน 2,000 บาท
  3. สรุปขายขนมได้ทั้งสิ้น จำนวน 112 กล่อง คิดเป็นเงิน 3,735 บาท
ทำขนมพื้นเมืองเพื่อจำหน่าย ครั้งที่ 3/525 พฤษภาคม 2566
25
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nichkan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ทำหนังสือเชิญสมาชิกกลุ่มเข้าร่วมกิจกรรม
  2. ลงทะเบียน
  3. ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินกิจกรรม
  4. แบ่งกลุ่มทำขนมออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มขนมปะการัง และขนมผูกรัก
  5. ดำเนินการทำขนม
  6. สรุปผลการทำกิจกรรม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สมาชิกจำนวน 30 คนเข้าร่วมกิจกรรม
  2. ขนมที่ผลิตได้ประกอบด้วย     2.1 ขนมปะการัง จำนวน  70 ถุง     2.2 ขนมผูกรัก จำนวน  70  กล่อง
ออกร้านจำหน่ายขนมในเทศกาล ครั้งที่ 2/515 พฤษภาคม 2566
15
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nichkan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ทำหนังสือเชิญแกนนำจำนวน 10 คน เข้าร่วมกิจกรรม
  2. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม แนวทางการดำเนินกิจกรรม และจัดสถานที่ในการจำหน่ายขนม
  3. จำหน่ายขนมพื้นเมือง ได้แก่ ขนมบุหงาบุดะ ขนมปะการัง ขนมผูกรัก ณ หนองปันหยาบาติก ม.2 ต.ละงู ในงานการประกวดมิสแกรนด์ภาคใต้
  4. สรุปผลการดำเนินกิจกรรม พร้อมจัดทำบัญชีรายได้และรายจ่าย
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. แกนนำเข้าร่วมกิจกรรมออกร้านจำหน่ายขนมจำนวน 10 คน
  2. จำหน่ายขนมจำนวน 3 ชนิด ได้แก่   2.1 ขนมบุหงาบุดะ จำนวน 36 กล่อง ได้เงินจำนวน 1,200 บาท   2.2 ขนมปะการัง  จำนวน  39 ถุง  ได้เงินจำนวน 1,300 บาท   2.3 ขนมผูกรัก  จำนวน 50 กล่อง  ได้เงินจำนวน 1,670 บาท
  3. สรุปขายขนมได้ทั้งสิ้น จำนวน 125 กล่อง คิดเป็นเงิน 4,170 บาท
ทำขนมพื้นเมืองเพื่อจำหน่าย ครั้งที่ 2/513 พฤษภาคม 2566
13
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nichkan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ทำหนังสือเชิญสมาชิกกลุ่มเข้าร่วมกิจกรรม
  2. ลงทะเบียน
  3. ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินกิจกรรม
  4. แบ่งกลุ่มทำขนมออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มขนมบุหงาบุดะ ขนมปะการัง และขนมผูกรัก
  5. ดำเนินการทำขนม
  6. สรุปผลการทำกิจกรรม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สมาชิกจำนวน 30 คนเข้าร่วมกิจกรรม
  2. ขนมที่ผลิตได้ประกอบด้วย     2.1 ขนมบุหงาบุดะ จำนวน  50 กล่อง     2.2 ขนมปะการัง  จำนวน  50 ถุง     2.3 ขนมผูกรัก จำนวน  50  กล่อง
จัดทำศูนย์เรียนรู้การทำขนมพื้นเมือง ครั้งที่ 1/310 พฤษภาคม 2566
10
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nichkan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ทำหนังสือเชิญแกนนำเข้าร่วมกิจกรรม
  2. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม
  3. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม และแนวทางการดำเนินกิจกรรม
  4. คัดเลือกบุคคลและสูตรขนมพื้นเมืองได้แก่ ขนมบุหงาบุดะ และขนมกลีบลำดวน เพื่อถ่ายทอดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ซึ่งบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกในการถ่ายทอดประสบการณ์และให้ข้อมูล คือ นางสาวสอฝีย๊ะ สิมทอง และนางสาววรดา จิตต์หลัง
  5. จัดทำข้อมูลสูตรขนมพื้นเมือง 5.1 ขนมกลีบลำดวน วัตถุดิบ แป้งอเนกประสงค์ 380 กรัม น้ำตาลไอซิ่ง 150 กรัม เกลือ 2 ช้อนชา น้ำมันพืช 150 มิลลิลิตร สีผสมอาหารสีชมพู ¼ ช้อนชา วิธีทำ เตรียมแป้ง วอร์มเตาอบโดยใช้ไฟบน และล่างที่อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส นำแป้งอเนกประสงค์ มาร่อนกับน้ำตาลไอซิ่ง 2 - 3 ครั้ง เพื่อให้ขนมร่วน และเบา นำแป้งที่ร่อนแล้วมาผสมเกลือ และทยอยเทน้ำมันลงไปทีละน้อย คนเบา ๆ ไปเรื่อยจนเนื้อแป้งเกาะกัน แบ่งแป้งเป็น 2 ถ้วย โดยถ้วยแรกมีปริมาณ ¾ ของแป้งทั้งหมด ส่วนถ้วยที่สองคือแป้งส่วนที่เหลือ นำแป้งถ้วยที่สองมาผสมกับสีผสมอาหารสีชมพูจนเข้ากันดี พักแป้งทั้งสองถ้วยประมาณ 10 - 15 นาที ขึ้นรูป + อบขนม นำแป้งสีขาวมาปั้นเป็นก้อนกลมขนาดปริมาณ 20 กรัม ตัดออกเป็น 4 ส่วน แต่เราจะใช้แค่ 3 ส่วน มาประกอบสามกลีบ นำแป้งสีชมพูมาปั้นเป็นก้อนกลมเล็ก ๆ ขนาดปริมาณ 5 กรัม เพื่อนำไปวางตรงกลางเป็นเกสร นำ “ขนมกลีบลำดวน” เข้าอบที่อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส นาน 15 นาที จากนั้นนำออกมาพักให้เย็น
    5.2 ขนมบุหงาบุดะ วัตถุดิบ

แป้งข้าวเหนียว 800 กรัม  มะพร้าวขูดขาว 800 กรัม  น้ำตาลทราย 2 ถ้วยตวง  น้ำเปล่าสำหรับผัดไส้ ½ ถ้วยตวง น้ำเปล่าสำหรับผสมแป้ง 1 ถ้วยตวง  เกลือ 1 - 2 ช้อนชา  สีผสมอาหารตามใจชอบ  วิธีทำ ทำไส้มะพร้าว นำมะพร้าวขูดขาวมาผัดกับ น้ำ น้ำตาลทรายและสีผสมอาหาร ผัดจนเริ่มแห้ง แล้วนำไปตากแดดจนแห้งสนิท 1 วัน
ผัดแป้ง ผสมน้ำ ผัดแป้งข้าวเหนียวด้วยไฟอ่อนจนมีลักษณะขึ้นเงา นำขึ้นพักไว้ ค่อย ๆ ใส่น้ำผสมลงในแป้งข้าวเหนียวที่ผัดไว้ทีละนิด คอยใช้มือขยำไม่ให้แป้งจับตัวกันเป็นก้อน เมื่อแป้งชื้นได้ที่แล้วแป้งจะไม่เป็นฝุ่นติดมือ
ประกอบร่าง ตั้งกระทะไฟปานกลาง นำแป้งมีผสมน้ำแล้วมาร่อนผ่านกระชอนลงในกระทะ ใส่ไส้มะพร้าวที่แห้งสนิทแล้วลงตรงกลาง เมื่อแป้งในกระทะร่อนเป็นแผ่น พับทั้ง 4 ด้านให้เป็นทรงสีเหลี่ยม ตักขึ้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. แกนนำเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 10 คน
  2. ได้สูตรขนมพื้นเมือง จำนวน 2 สูตร
พัฒนาสูตรทำขนมพื้นเมือง29 เมษายน 2566
29
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nichkan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. แกนนำเชิญวิทยากรเป็นนักโภชนาการจากโรงเรียนละงูพิทยาคม มาให้ความรู้เรื่องการผลิตขนมพื้นเมืองสูตรซิกเนเจอร์ จังหวัดสตูล การคำนวณค่าโภชนาการ และการบรรจุภัณฑ์ ให้แก่สมาชิก 30 คน ซึ่งการผลิตขนมพื้นเมืองในครั้งนี้ คือ ขนมปะการังรสแกงเขียวหวาน (ทางกลุ่มขอสงวนลิขสิทธิ์สูตรขนม) มีการคำนวณค่าทางโภชนาการโดยใช้การคำนวณจาก โปรแกรมคำนวณปริมาณสารอาหาร ThaiNutriSurvey ของกรมอนามัย และการปรับการบรรจุภัณฑ์ให้สวยงาม และสามาถพกพาได้สะดวกในการซื้อเป็นของฝาก
  2. ลงมือผลิตทำขนมพื้นเมืองและจดเป็นสูตรต้นแบบของกลุ่มและคำนวณค่าโภชนาการ
  3. ประเมินความรู้ความเข้าใจของสมาชิกที่เข้าร่วมอบรม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สมาชิกเข้าอบรม จำนวน ร้อยละ 100
  2. สมาชิกมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 86
ออกร้านจำหน่ายขนมในเทศกาล ครั้งที่ 1/518 เมษายน 2566
18
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nichkan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ทำหนังสือเชิญแกนนำจำนวน 10 คน เข้าร่วมกิจกรรม
  2. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม แนวทางการดำเนินกิจกรรม และจัดสถานที่ในการจำหน่ายขนม
  3. จำหน่ายขนมพื้นเมือง ได้แก่ ขนมบุหงาบุดะ ขนมไข่เต่า ขนมผูกรัก
  4. สรุปผลการดำเนินกิจกรรม พร้อมจัดทำบัญชีรายได้และรายจ่าย
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. แกนนำเข้าร่วมกิจกรรมออกร้านจำหน่ายขนมจำนวน 10 คน
  2. จำหน่ายขนมจำนวน 3 ชนิด ได้แก่   2.1 ขนมบุหงาบุดะ จำนวน 42 กล่อง ได้เงินจำนวน 1,400 บาท   2.2 ขนมไข่เต่า จำนวน 45 กล่อง ได้เงินจำนวน 1,500 บาท   2.3 ขนมผูกรัก จำนวน 50 กล่อง ได้เงินจำนวน 1,600 บาท
  3. สรุปขายขนมได้ทั้งสิ้น จำนวน 137 กล่อง คิดเป็นเงิน 4,500 บาท
ทำขนมพื้นเมืองเพื่อจำหน่าย ครั้งที่ 1/517 เมษายน 2566
17
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nichkan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ทำหนังสือเชิญสมาชิกกลุ่มเข้าร่วมกิจกรรม
  2. ลงทะเบียน
  3. ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินกิจกรรม
  4. แบ่งกลุ่มทำขนมออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มขนมบุหงาบุดะ ขนมไข่เต่า และขนมผูกรัก
  5. ดำเนินการทำขนม
  6. สรุปผลการทำกิจกรรม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สมาชิกจำนวน 30 คนเข้าร่วมกิจกรรม
  2. ขนมที่ผลิตได้ประกอบด้วย   2.1 ขนมบุหงาบุดะ จำนวน 50 กล่อง   2.2 ขนมไข่เต่า จำนวน 50 กล่อง   2.3 ขนมผูกรัก จำนวน 50 กล่อง
พัฒนาศักยภาพแกนนำและประชุมทีม ครั้งที่ 418 มีนาคม 2566
18
มีนาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nichkan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

แกนนำรายงานผลการติดตามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการเงิน ตามที่แกนนำรับผิดชอบ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. สรุปผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของแกนนำและสมาชิก เดือนที่ 2 พบว่า สมาชิกยังสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้เพิ่มขึ้น มีการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งวิธีการออกกำลังกายส่วนใหญ่ได้แก่ การเดินออกกำลังกาย และแอร์โรบิค ที่สำคัญมีการปรับเปลี่ยนอิริยาบทในขณะที่มีการทำขนมพื้นเมืองและการประกอบอาชีพเพิ่มมากขึ้น เพื่อป้องกันการปวดเมื่อย ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ จะทำงาน 1 ชั่วโมง แล้วพักเปลี่ยนอิริยาบท 15 นาที 2. สรุปผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการเงิน เดือนที่ 2 พบว่า สมาชิกส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการเงินโดยการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นเพิ่มขึ้น ได้แก่ การลดซื้อเสื้อผ้า (CF เสื้อผ้า) การลดรายจ่ายค่ากับข้าวในบ้าน และพบว่ามีการเพิ่มรายได้ และเงินออมเพิ่มขึ้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการเงินครั้งที่ 2 แกนนำรายงานผลการติดตามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการเงิน ตามที่แกนนำรับผิดชอบ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. สรุปผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของแกนนำและสมาชิก เดือนที่ 2 พบว่า สมาชิกยังสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้เพิ่มขึ้น มีการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งวิธีการออกกำลังกายส่วนใหญ่ได้แก่ การเดินออกกำลังกาย และแอร์โรบิค ที่สำคัญมีการปรับเปลี่ยนอิริยาบทในขณะที่มีการทำขนมพื้นเมืองและการประกอบอาชีพเพิ่มมากขึ้น เพื่อป้องกันการปวดเมื่อย ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ จะทำงาน 1 ชั่วโมง แล้วพักเปลี่ยนอิริยาบท 15 นาที จำนวน 18 คน 2. สรุปผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการเงิน เดือนที่ 2 พบว่า สมาชิกส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการเงินโดยการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นเพิ่มขึ้น ได้แก่ การลดซื้อเสื้อผ้า (CF เสื้อผ้า) การลดรายจ่ายค่ากับข้าวในบ้าน และพบว่ามีการเพิ่มรายได้ และเงินออมเพิ่มขึ้น จำนวน 21 คน

ถอนเงินเปิดบัญชี15 กุมภาพันธ์ 2566
15
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nichkan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ถอนเงินเปิดบัญชี ณ ธนาคารกรุงไทย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ถอนเงินเปิดบัญชี จำนวน 500 บาท

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ สสส ครั้งที่ 112 กุมภาพันธ์ 2566
12
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nichkan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เข้าร่วมประชุมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นำเสนอผลงานพร้อมวิเคราะห์ข้อมูล

พัฒนาศักยภาพแกนนำและประชุมทีม ครั้งที่ 321 มกราคม 2566
21
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย nichkan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

แกนนำรายงานผลการติดตามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและการเงิน ตามที่แกนนำรับผิดชอบ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. สรุปผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของแกนนำและสมาชิก เดือนที่ 1 พบว่า สมาชิกยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้เท่าที่ควร แต่มีการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งวิธีการออกกำลังกายส่วนใหญ่ได้แก่ การเดินออกกำลังกาย และแอร์โรบิค 2. สรุปผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการเงิน เดือนที่ 1 พบว่า สมาชิกส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการเงินโดยการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นเพิ่มขึ้น ได้แก่ การลดซื้อเสื้อผ้า (CF เสื้อผ้า) การลดรายจ่ายค่ากับข้าวในบ้าน และการลดรายจ่ายค่าจัดซื้อวัตถุดิบในการทำขนม โดยให้กลุ่มซื้อในปริมาณมาก แล้วสมาชิกก็ไปซื้อจากกลุ่มดังกล่าว เป็นต้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สรุปผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของแกนนำและสมาชิก เดือนที่ 1 พบว่า สมาชิกยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้เท่าที่ควร แต่มีการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งวิธีการออกกำลังกายส่วนใหญ่ได้แก่ การเดินออกกำลังกาย และแอร์โรบิค จำนวน 11 คน
  2. สรุปผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการเงิน เดือนที่ 1 พบว่า สมาชิกส่วนใหญ่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการเงินโดยการลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นเพิ่มขึ้น ได้แก่ การลดซื้อเสื้อผ้า (CF เสื้อผ้า) การลดรายจ่ายค่ากับข้าวในบ้าน และการลดรายจ่ายค่าจัดซื้อวัตถุดิบในการทำขนม โดยให้กลุ่มซื้อในปริมาณมาก แล้วสมาชิกก็ไปซื้อจากกลุ่มดังกล่าว เป็นต้น จำนวน 16 คน
อบรมความรอบรู้ทางการเงินและสุขภาพ17 ธันวาคม 2565
17
ธันวาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย narumon Satun
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ชี้แจงวัตถุประสงค์และการดำเนินกิจกรรม 2.บรรยายเรื่องพฤติกรรมสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3.ทำใบงาน ประกอบด้วย แบบวัดความเครียด และวิเคราะห์พฤติกรรมสุขภาพของตนเอง 4.เลือกประเด็นที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่เสี่ยงมากที่สุดมาจัดทำแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 5.บรรยายเรื่องการวิเคราะห์ความเสี่ยงทางด้านการเงิน 6.ทำใบงานวิเคราะห์ความเสี่ยงทางด้านการเงินโดยใช้โมเดลโอ่งมหาสมบัติ 7.จัดทำแผนการจัดการด้านการเงิน ประกอบด้วย การเพิ่มรายได้ การลดรายจ่าย และการออม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-สมาชิกกลุ่มทำขนม 30 คน ได้รับความรู้เรื่อง ความรอบรู้ทางการเงินและสุขภาพ -สมาชิก 30 คน สามารถ วิเคราะห์ความเสี่ยงทางด้านการเงินโดยใช้โมเดลโอ่งมหาสมบัติ ผลการวิเคราะห์ สมาชิกส่วนใหญ่มีรายจ่ายเกินกว่ารายรับ และมีการนำเงินออมมาใช้มากขึ้น -สมาชิก 30 คน จัดทำแผนการจัดการด้านการเงิน ประกอบด้วย การเพิ่มรายได้ การลดรายจ่าย และการออม - สมาชิก 30 คน ได้จัดทำแบบประเมินความเครียด ผลการประเมิน พบว่า สมาชิกที่มีความเครียดอยู่ในระดับสูง จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 80 และสมาชิกที่มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 20

พัฒนาศักยภาพแกนนำและประชุมทีม ครั้งที่ 23 ธันวาคม 2565
3
ธันวาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย nichkan
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พัฒนาศักยภาพแกนนำจำนวน 10 คน เรื่อง ความรอบรู้ทางด้านการเงิน และความรอบรู้ทางด้านสุขภาพ โดยดำเนินการดังนี้ 1. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม 2. ชี้แจงและให้ความรู้ เรื่อง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และตัวอย่างการจัดทำแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยให้แกนนำวิเคราะห์สุขภาพตนเองว่ามีปัญหาสุขภาพอะไรบ้าง เช่น โรคประจำตัว เป็นต้น เมื่อได้ประเด็นปัญหาสุขภาพแล้ว ให้ดำเนินการจัดทำแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประกอบด้วย เป้าหมายของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วิธีการปรับเปลี่ยนเพื่อไปสู่เป้าหมาย ผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปัญหา/อุปสรรค โดยให้ดำเนินการประเมินทุก 2 เดือน จำนวน 3 ครั้ง 3. ชี้แจงและให้ความรู้ เรื่อง ความรอบรู้ด้านการเงิน และตัวอย่างการจัดทำแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการเงิน โดยให้แกนนำวิเคราะห์ความมั่นคงทางด้านการเงินโดยใช้ โมเดลโอ่งใส่เงินของฉัน เมื่อวิเคราะห์แล้วให้แต่ละคนนำประเด็นปัญหาด้านการเงิน เป้าหมายประกอบด้วย การเพิ่มรายได้ การลดรายจ่าย และเงินออม แล้วจัดทำแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการเงิน ประกอบด้วย จะทำอะไร เช่น ลดรายจ่ายค่ากับข้าว ทำอย่างไร เช่น ลดจากการซื้อกับข้าวทุกวัน เป็นซื้อสัปดาห์ละครั้ง หรือ 2 - 3 วัน/ครั้ง และทำแล้วได้อะไร เช่น สามารถลดรายจ่ายค่ากับข้าวลง เดือนละ 500 บาท เป็นต้น โดยให้ดำเนินการประเมินทุกเดือน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แกนนำมีความรู้ความเข้าใจด้านการเงินและสุขภาพ และสามารถถดำเนินการจัดทำแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการเงินได้ร้อยละ 100

พัฒนาศักยภาพแกนนำและประชุมทีม ครั้งที่ 127 พฤศจิกายน 2565
27
พฤศจิกายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย narumon Satun
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-จัดประชุมแกนนำ เพื่อชี้แจงโครงการ กิจกรรม -ทำข้อตกลงแกนนำ เพื่อเป็นแนวทางการทำงาน ซึ่งข้อตกลงของแกนนำ ประกอบด้วย   1. เข้าร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรมอย่างน้อย 90%   2. แกนนำ 1 คน รับผิดชอบสมาชิก 2 คน รวมกับแกนนำเป็นจำนวน 3 คน   3. ติดตามผลการดำเนินงาน/รายงาน/แผนปฏิบัติงาน ของสมาชิกในความรับผิดชอบ   4. หากแกนนำมีภารกิจเร่งด่วน ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ให้แกนนำมอบหมายให้สมาชิกที่อยู่ในความรับผิดชอบดำเนินการแทน -แบ่งบทบาทหน้าที่การทำงานของแกนนำ ดังนี้   1. นางอ้อย นุ้ยน้ำวงษ์ ประธานกลุ่ม/ผู้รับผิดชอบโครงการ   2. นางจ๊ะ ไชยแก้ว รองประธาน
  3. นางสาลาบี ไชยแก้ว รองประธาน   4. นางสาวกรรณิกา พลาอาด กรรมการ   5. น.ส.พัทธ์ธิดา ช่างนุ้ย  กรรมการ   6. นางรุ่งนภา แซ่ตัน  กรรมการ   7. นางวรดา จิตต์หลัง  กรรมการ   8. นางรีอ๊ะ บาโง้ย  กรรมการ   9. นางนูรีย๊ะ นุ้ยน้ำวงษ์  กรรมการ   10. นางสาวสอฝีย๊ะ สิมทอง กรรมการและเลขานุการ   11. นางสุจิตรา แซ่ตัน  กรรมการและการเงิน -ทำแผนการทำงานในรูปปฏิทินกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • แกนนำคณะทำงาน จำนวน 11 คน ประกอบด้วย   1. นางอ้อย นุ้ยน้ำวงษ์ ประธานกลุ่ม/ผู้รับผิดชอบโครงการ   2. นางจ๊ะ ไชยแก้ว รองประธาน
      3. นางสาลาบี ไชยแก้ว รองประธาน   4. นางสาวกรรณิกา พลาอาด กรรมการ   5. น.ส.พัทธ์ธิดา ช่างนุ้ย  กรรมการ   6. นางรุ่งนภา แซ่ตัน  กรรมการ   7. นางวรดา จิตต์หลัง  กรรมการ   8. นางรีอ๊ะ บาโง้ย  กรรมการ   9. นางนูรีย๊ะ นุ้ยน้ำวงษ์  กรรมการ   10. นางสาวสอฝีย๊ะ สิมทอง กรรมการและเลขานุการ   11. นางสุจิตรา แซ่ตัน  กรรมการและการเงิน
  • ข้อตกลงแกนนำ ประกอบด้วย   1. เข้าร่วมกิจกรรมทุกกิจกรรมอย่างน้อย 90%   2. แกนนำ 1 คน รับผิดชอบสมาชิก 2 คน รวมกับแกนนำเป็นจำนวน 3 คน   3. ติดตามผลการดำเนินงาน/รายงาน/แผนปฏิบัติงาน ของสมาชิกในความรับผิดชอบ   4. หากแกนนำมีภารกิจเร่งด่วน ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ให้แกนนำมอบหมายให้สมาชิกที่อยู่ในความรับผิดชอบดำเนินการแทน
อบรมความรอบรู้ทางการเงินและสุขภาพกับ สสส19 พฤศจิกายน 2565
19
พฤศจิกายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย narumon Satun
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ร่วมอบรมกับหน่วยจัดการ เรื่อง ความรอบรู้ทางการเงินและสุขภาพ รวมถึงการวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านการเงิน สุขภาพ และการวางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-แกนนำโครงการจำนวน 2 คนได้รับการพัฒนาศักยภาพเรื่องความรอบรู้ด้านสุขภาพ อาชีพ และการเงิน

-สามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงทางการเงิน สุขภาพของตนเอง

-สามารถวางแผนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง

-สามารถนำความรู็ความเข้าใจไปขยายต่อให้กับเพื่อนสมาชิกโครงการ

ประชาสัมพันธ์โครงการ24 ตุลาคม 2565
24
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย narumon Satun
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-แกนนำโครงการจัดประชุมกลุ่มผู้สนใจทำขนมพื้นเมืองเพิ่มจากสมาชิกกลุ่มเดิม -โดยชี้แจงกิจกรรมโครงการ ข้อตกลงร่วมของสมาชิกกลุ่มทำขนมพื้นเมือง ได้แก่ 1. สมาชิกต้องเข้าร่วมกิจกรรมตามโครงการฯไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80
2. หากสมาชิกคนใดไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง ให้หักเงินค่าอาหารกลางวันและค่าอาหารว่าง คืนเข้ากลุ่ม 3. ในวันที่มีการจัดกิจกรรม ให้สมาชิกนำอาหารกลางวันและค่าอาหารว่างมาเอง แล้วนำเงินค่าอาหารกลางวันและอาหารว่างเข้ากลุ่ม เพื่อใช้เป็นทุนในการซื้อวัตถุดิบมาใช้ในการทำขนมพื้นเมือง -เก็บข้อมูลรายได้จากการทำขนม ปี 2564-2565 ข้อมูลรายได้จากอาชีพเดิม หนี้สิน การออม ประเมินความเครียด พร้อมออกแบบการเก็บข้อมูลดังกล่าว

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-แม่บ้านผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ 30 คน ได้แก่
1. นางอ้อย นุ้ยน้ำวงษ์ 2. นางสายูหรา ชูสกุล 3. นางนูรีย๊ะ นุ้ยน้ำวงษ์ 4. นางรีอ๊ะ บาโห้ย 5. นางสาวนฤมล หลงหา 6. นางอังสนา องสารา 7. นางดีระ เร๊ะนุ้ย 8. นางหาสาน๊ะ ขาวหิรัญ 9. นางสาวลัดดา หงส์ทอง 10. นางอุสา หลีขาว 11. นางสาลาบี ไชยแก้ว 12. นางมณฑา คงศิริ 13. นางสาวนิชกานต์ นุ้ยน้ำวงษ์ 14. นางเกศินี อาหมาน 15. นางสาววาสนา เบ็ญหละ 16. นางจริยา ติ้งสง่า 17. นางทิพรัตน์ ไชยแก้ว 18. นางมิน๊ะ แท่นเอียด 19. นางอัฌชา ปกติง 20. นางสาวพัทธ์ธิดา ช่างนุ้ย 21. นางสาวอุไร กลางเมือง 22. นางสาววรดา จิตต์หลัง 23. นางสาวสอฝีย๊ะ สินทอง 24. นางสาวจ๊ะ ไชยแก้ว 25. นางรุ่งนภา แซ่ตัน 26. นางสุจิตรา แซ่ตัน 27. นางสาวกรรณิการ์ พลาอาด 28. นางรอกียะ ล่ำขาว 29. นางสาวปรีดา นุ้ยน้ำวงษ์ 30. นางร่อมล๊ะ แคสนั่น -สมาชิก 30 คน เกิดความเข้าใจในกิจกรรมที่จะดำเนินการ

ป้ายโครงการ ป้ายรณรงค์บุหรี่/สุรา ตราปั้ม19 ตุลาคม 2565
19
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย narumon Satun
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดทำป้ายโครงการ ป้ายรณรงค์บุหรี่ สุรา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ป้ายโครงการ ป้ายรณรงค์บุหรี่ สุรา

ปฐมนิเทศโครงการ17 กันยายน 2565
17
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย narumon Satun
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

แกนนำ 2 คน เข้าร่วมปฐมนิเทศกับหน่วยจัดการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-แกนนำคณะทำงาน จำนวน 2 คน มีความรุ้ ความเข้าใจ เรื่อง การจัดการผลลัพธ์ ตัวชี้วัด กิจกรรม ตัวชี้วัดรายกิจกรรม และการบันทึกข้อมูลผ่านเว็ปไซต์