directions_run

โครงการการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า และโรคเรื้อรัง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า และโรคเรื้อรัง
ภายใต้โครงการ แผนงานร่วมทุนสร้างเสริมสุขภาวะพื้นที่จังหวัดปัตตานี
ภายใต้องค์กร องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี
รหัสโครงการ 65-P1-0068-025
วันที่อนุมัติ 1 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 31 มกราคม 2567
งบประมาณ 97,860.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุบ้านห้วยเงาะ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายภาณุพงศ์ ชนะสงคราม
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0815402064
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ march_milk@hotmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางเสาวลักษณ์ ศรเรือง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2566 31 ธ.ค. 2566 1 พ.ค. 2566 31 ธ.ค. 2566 78,288.00
2 1 ม.ค. 2567 31 ม.ค. 2567 1 ม.ค. 2567 31 ม.ค. 2567 19,572.00
รวมงบประมาณ 97,860.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลทุ่งพลาจัดเป็นอีกหนึ่งตำบลที่เข้าข่ายสังคมผู้สูงอายุ(Aged Society) เพราะมีจำนวนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 26 ในปี 2565 ของประชากรทั้งหมดนั่นคือการเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด(Super –Aged Society) (Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute, 2022) โดยในตำบลทุ่งพลามีกลุ่มผู้สูงอายุทั่วไปทั้งหมด 765 ราย ที่อดีตประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป ว่างงาน และผู้สูงอายุจากการเกษียณอายุราชการ คิดเป็นร้อยละ ...300... ..434..... และ....110.... ตามลำดับ มีหลายครอบครัวที่ผู้สูงอายุต้องอาศัยอยู่เพียงลำพัง เนื่องด้วยลูกหลานทำงานต่างพื้นที่ เสี่ยงต่อเกิดปัญหาทางสุขภาพจิต  และมีอัตราการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คิดเป็นร้อยละ..53.73.....จากการคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในทุกปีจะพบอัตราป่วยรายใหม่คิดเป็นร้อยละ..7.97..... หมู่บ้านห้วยเงาะเป็นที่ตั้งของวัดห้วยเงาะ ซึ่งในวัดมีการทำกิจกรรมทำบุญ อย่างต่อเนื่อง มีการนำอาหารมาถวายพระ และชาวบ้านมารับประทานร่วมกัน โดยส่วยใหญ่เป็นอาหารประเภทที่มีส่วนผสมของกะทิ ทอด หวาน เค็ม จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าหมู่บ้านห้วยเงาะ ผู้อายุมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และจำเป็นต้องได้รับการส่งเสริมสุขภาพ ในการดูแลด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุของหน่วยงานภาครัฐเพิ่มมากขึ้นมีพระราชบัญญัติผู้สูงอายุพ.ศ.2546 ฉบับแก้ไขพ.ศ.2553ที่มุ่งเน้นเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยการจัดการขององค์กรหน่วยงานต่างๆสอดคล้องกับแผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่2  (พ.ศ. 2545-พ.ศ. 2564) ที่กำหนดยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมผู้สูงอายุไว้เช่นกัน การจัดตั้งกลุ่ม ชมรมผู้สูงอายุที่เป็นรูปธรรม และมีปฎิทินการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของเพื่อส่งเสริมผู้สูงอายุให้เกิดการรวมกลุ่ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน ทั้งด้านอาชีพ ออกกำลังกาย อาหารเพื่อสุขภาพ และเรื่องที่ผู้สูงอายุสนใจและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตช่วยเพิ่มพูนความรู้ทักษะชีวิตที่จำเป็นโดยวิทยากรจิตอาสาหรือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขณะเดียวกันนั้นก็เป็นพื้นที่ที่ผู้สูงอายุจะได้แสดงออกถึงศักยภาพโดยการถ่ายทอดภูมิความรู้ประสบการณ์ที่สั่งสมแก่บุคคลอื่นเพื่อสืบสานภูมิปัญญาให้คงคุณค่าคู่กับชุมชน(Department of Elderly Affairs, 2016) บ้านห้วยเงาะ ตำบลทุ่งพลา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี มีผู้สูงอายุจำนวน..326...คน คิดเป็นร้อยละ ...10...จากประชากรทั้งหมดในตำบลทุ่งพลา(Central registry office Department of Provincial Administration, 2018) และจากข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งพลา พบว่าผู้สูงอายุมีปัญหาสุขภาพเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ ..60.....ปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุคือโรคเบาหวานมีปัญหาทางด้านการเคลื่อนไหวลำบากจากข้อเข่าเสื่อม ปัญหาการมองเห็น  และปัญหาด้านจิตใจพบว่าปัญหาการนอนหลับไม่สนิท และมีภาวะแทรกซ้อนหากไม่ได้รับการดูแลที่เหมาะสมปัญหาต่างๆเหล่านี้ถ้าผู้สูงอายุปรับตัวไม่ได้จะก่อให้เกิดความหงุดหงิดซึมเศร้าคิดว่าตนเองหมดความหมายไม่มีคุณค่าเกิดปัญหาทางด้านสุขภาพจิตและโรคเรื้อรังหรือโรคไม่ติดต่อตามมา ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งพลาจึงมองเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวที่จะเกิดกับผู้สูงอายุจึงได้ร่วมมือกันกับภาคีเครือข่ายในชุมชน เพื่อคิดวางแผนจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุบ้านห้วยเงาะ เพื่อตอบสนองความต้องการแก้ไขปัญหาของผู้สูงอายุในชุมชนให้ดีขึ้น กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้สูงอายุทุกคนในหมู่บ้าน ที่ติดบ้านและติดสังคม ที่สนใจและสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ สืบเนื่องจากบ้านห้วยเงาะ มีข้าราชการเกษียณหลายท่าน ที่พร้อมให้ความร่วมมือ และสนับสนุนให้มีโครงการนี้เกิดขึ้น และเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนโครงการให้ผู้สูงอายุคนอื่นในหมู่บ้าน ซึ่งที่ผ่านมาบ้านห้วยเงาะ เคยมีชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็งมาแล้ว มีกิจกรรมเด่นหลายกิจกรรม เช่น กิจกรรมเพื่อนช่วยเพื่อน โดยมีการมอบเงินเมื่อสมาชิกในชมรมป่วย กิจกรรมศึกษาดูงาน โดยพาสมาชิกชมรมไปดูงานการดำเนินงานชมรมผู้สูงอายุเข้มแข็งในต่างจังหวัด แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมา คณะกรรมการชุดเดิมบางคนเสียชีวิต บางคนเจ็บป่วย และรวมทั้งสถานการณ์โรคระบาดโควิค-19 ทำให้การดำเนินงานของชมรมเริ่มชะงักเป็นเวลาหลายปี และในปีที่ผ่านมีผู้สูงอายุเกษียณอายุราชการหลายท่านที่พร้อมจะดำเนินการสานต่อชมรมเดิม ให้ความร่วมมือในการฟื้นชมรม และกิจกรรมขึ้นมาใหม่ จากการทำประชาคมผู้สูงอายุจำนวน 145 คนในหมู่ 4 และ 5 ได้ร่วมประชุมวางแผน เพื่อวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน สาเหตุความต้องการด้านสุขภาพ ที่ผู้สูงอายุมีความต้องการ เห็นชอบร่วมกันมากที่สุด เพื่อกำหนดกิจกรรม และลำดับกิจกรรมก่อนหลัง เมื่อผู้สูงอายุข้างต้นร่วมวิเคราะห์แล้วพบว่า ปัญหา สาเหตุที่ส่งผลต่อสุขภาพผู้สูงอายุ มีดังนี้ 1.ด้านพฤติกรรม พบว่า
- ผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพยังไม่ถูกต้อง - ขาดความตะหนักในการบริโภคอาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพและวัย
- ผู้สูงอายุสูบบุหรี่ - ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม (มีความเข้าใจผิดว่า การตัดยาง เดินทำสวน เป็นการออกกำลังกาย) - ชอบบริโภคอาหารประเภทแกงกะทิ ทอด หวาน เข็ม และทำปิ่นโตใส่บาตรเกือบทุกครั้งที่มีงานบุญ
2.ด้านสังคม พบว่า
- ขาดการรวมกลุ่มที่เป็นรูปธรรมในการทำกิจกรรม
- ผู้สูงอายุบางคนมีความคิดว่า “เดียวเพื่อนจะว่า หากไม่ร่วมกิจกรรมประเภท เต้น ร้อง รำ”ในการทำกิจกรรมประเภทสันทนาการ
- ผู้สูงอายุบางคนไม่เข้าใจ แล้วไปบอกต่อในทางที่ผิดๆ เช่น อย่าไปเลย เราแก่แล้ว ไม่จำเป็น - ผู้สูงอายุบางคนอาศัยอยู่บ้านเพียงลำพัง ในช่วงกลางวัน
3.ด้านสิ่งแวดล้อมกายภาพ พบว่า
- ในชุมชนขาดการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุที่เป็นกิจลักษณะอย่างชัดเจน
- ไม่มีสถานที่รวมกลุ่มผู้สูงอายุ -ขาดผู้นำในการจัดกิจกรรม
-ข้อจำกัดของกิจกกรมทางกาย ออกกำลังกาย 4.ด้านระบบ กลไกลที่เกี่ยวข้อง
- ไม่มีผู้นำคนเริ่มต้น ในการรวมกลุ่ม - การประชาสัมพันธ์ ไม่ทั่วถึง - ความก้าวหน้าเทคโนโลยี ผู้สูงอายุเข้าไม่ถึงในบางคน
- ไม่มีอุปกรณ์ที่เอื้อต่อการทำกิจกรรมเช่นเครื่องเสียง
- ขาดกิจกรรมที่ส่งเสริมอาชีพ และสุขภาพจิต จากสภาพปัญหาทั้ง 4 ด้าน ส่งผลกระทบที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1.ผลกระทบด้านสุขภาพ พบว่า
- ผู้สูงอายุมีปัญหาด้านพฤติกรรมสุขภาพไม่ถูกต้อง ส่งผลเกิดความเจ็บป่วย  เป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 12 คน เบาหวาน 2 คน หอบ 2 คน ข้ออักเสบ/ข้อเสื่อม 15 คน อัมพาต 2 คน มีภาวะความเครียด 2 คน และนอนไม่หลับ 15 คน - ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมามีผู้สูงอายุฆ่าตัวตาย 2 ราย 2.ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ พบว่า
- ผู้สูงอายุต้องเสียค่าเดินทางไปรักษาในแต่ละครั้ง เป็นเงิน ....300 บาทต่อครั้ง.......* 12 คน =...3600..บาท ทำให้ผู้สูงอายุบางคนเลือกไม่ไปพบแพทย์ และขาดยา - ผู้สูงอายุบางคนไม่มีลูกหลานดูแล ต้องพึ่งเพื่อนบ้านในการพาไปพบแพทย์ ซึ่งต้องมีรายจ่าย บางคนเบี้ยยังชีพคนชราไปพอกับการจ่ายในแต่ละวัน - ผู้สูงอายุในชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพจากการรับจ้างกรีดยาง ปลูกผัก มีรายได้วันละ 100 บาท ทำให้รายได้ไม่พอในการเลี้ยงตัวเองและครอบครัว - ครอบครัวสูญเสียรายได้จากการพาผู้สูงอายุไปรักษาพยาบาล 3.ผลกระทบด้านสังคม พบว่า
- ผู้สูงอายุบางคนอาศัยเพียงลำพัง - ไม่ได้รับการยกย่องเชิดชูทางสังคม ผู้สูงอายุคิดว่าเป็นคนที่สังคมลืม เนื่องจากไม่มีฐานะทางสังคม และเศรษฐกิจ ทั้งนี้จากข้อมูลสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น ทางกลุ่มหรือชมรมผู้สูงอายุบ้านห้วยเงาะ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคม โดยกลุ่มหรือชมรมผู้สูงอายุบ้านห้วยเงาะ จะเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงาน ด้วยเหตุนี้ จึงสมัครเข้าร่วมโครงการ“สร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน”กับ สสส. เพื่อให้ผู้สูงอายุในชุมชนมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับวัย
ดังนั้นผู้จัดทำโครงการมีความตระหนักถึงความสำคัญของภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ เพราะหากผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมให้มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสมจะช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกายและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากความสูงวัยที่สอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูประบบสุขภาพ ซึ่งเน้นให้ประชาชนดูแลตนเองสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพด้านต่างๆ เช่นการรับประทานอาหาร การออกกำลังกายการ คัดกรองในกลุ่มเสี่ยง การส่งเสริมอาชีพ และส่งเสริมสุขภาพจิต เป็นต้น

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เกิดคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ(ชุดใหม่)ที่เข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและออกแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพได้

1.1 มีคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ     15 คน ที่มีโครงสร้างการดำเนินงานที่ชัดเจน และมาจากองค์ประกอบที่หลากหลาย เช่น กรรมการหมู่บ้าน ตัวแทนคุ้มบ้าน อปท. รพ.สต. เป็นต้น 1.2 คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ 15  คน มีความเข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและมีการออกแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เหมาะสม 1.3 มีข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชนที่ครบถ้วนเพื่อออกแบบกิจกรรม เช่น จำนวนและประเภทผู้สูงอายุ ข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลด้านสังคม เป็นต้น

2 2. ผู้สูงอายุมีความรู้และความตระหนักในการสร้างเสริมสุขภาพตนเอง

2.1 เกิดข้อตกลงร่วมของผู้สูงอายุในการเข้าร่วมกิจกรรมตามแผนที่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุออกแบบไว้ 2.2 ผู้สูงอายุ จำนวน 60  คน (อย่างน้อยร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย) มีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตนเองที่เหมาะสม เช่น การออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร

3 3. ชมรมผู้สูงอายุมีความเข้มแข็ง สามารถทำกิจกรรมได้ตามข้อตกลง และติดตามผลการดำเนินงานของชมรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.1 ชมรมผู้สูงอายุมีการทำกิจกรรมหรือดำเนินการตามข้อตกลงร่วมของผู้สูงอายุ 3.2 มีข้อมูลภาวะสุขภาพและพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมายทุกคน จำนวน   80 คน รวมทั้งมีการคืนข้อมูลแก่ผู้สูงอายุและครอบครัวเป็นประจำทุกเดือน 3.3 ผู้สูงอายุ จำนวน 56  คน (อย่างน้อยร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย 80 คน) ใช้เวลาว่างในการส่งเสริมอาชีพ และมีรายได้เสริม

4 4. ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง

2.1 ผู้สูงอายุ จำนวน 56  คน (อย่างน้อยร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย 80 คน) มีการออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละ 30 นาที ในระยะเวลาโครงการต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 6 เดือน 2.2 ผู้สูงอายุ จำนวน 56  คน (อย่างน้อยร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย 80 คน) เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตเป็นประจำอย่างน้อยร้อยละ 80 ของจำนวนครั้งที่กลุ่ม/ชมรมผู้สูงอายุจัดขึ้น
2.3 ผู้สูงอายุ จำนวน 56  คน (อย่างน้อยร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย 80 คน) มีการบริโภคอาหารที่เหมาะสม 2.4 ผู้สูงอายุ จำนวน 56  คน (อย่างน้อยร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย 80 คน) มีความสุขเพิ่มขึ้น

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่........ผู้สูงอายุตั้งอายุ 80 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67
1 กิจกรรมที่1 ประชุมคณะกรรมการ(1 พ.ค. 2566-29 ก.พ. 2567) 12,600.00                  
2 กิจกรรมสนับสนุนเพิ่มเติม อื่นๆ(1 พ.ค. 2566-29 ก.พ. 2567) 10,000.00                  
3 กิจกรรมที่ 6 จัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุ(1 มิ.ย. 2566-29 ก.พ. 2567) 28,480.00                  
4 ARE ทีมพี่เลี้ยงโครงการ(1 มิ.ย. 2566-29 ก.พ. 2567) 0.00                  
5 กิจกรรมที่ 3 การสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน(1 ก.ค. 2566-26 พ.ย. 2566) 0.00                  
6 กิจกรรมที่ 4 ประชุมสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ(1 ก.ค. 2566-31 ธ.ค. 2566) 6,000.00                  
7 กิจกรรมที่ 5 การอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเองโดยพิจารณาตามสถานการณ์ปัญหาของพื้นที่(1 ก.ค. 2566-31 ก.ค. 2566) 8,000.00                  
8 กิจกรรมที่ 2 การอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ(27 ก.ค. 2566-31 ต.ค. 2566) 1,500.00                  
9 กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอื่นๆที่ชุมชนอยากทำ(1 ก.ย. 2566-29 ก.พ. 2567) 22,000.00                  
10 กิจกรรมที่ 8 การติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ(1 ก.พ. 2567-29 ก.พ. 2567) 1,280.00                  
11 กิจกรรมที่ 9 เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน(1 ก.พ. 2567-29 ก.พ. 2567) 8,000.00                  
รวม 97,860.00
1 กิจกรรมที่1 ประชุมคณะกรรมการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 90 12,600.00 6 12,600.00
12 มิ.ย. 66 ประชุมคณะทำงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าและโรคเรื้อรัง ครั้งที่1 15 2,100.00 2,100.00
11 ส.ค. 66 ประชุมคณะทำงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าและโรคเรื้อรัง ครั้งที่2 15 2,100.00 2,100.00
7 ก.ย. 66 ประชุมคณะทำงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าและโรคเรื้อรัง ครั้งที่3 15 2,100.00 2,100.00
16 ต.ค. 66 ประชุมคณะทำงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าและโรคเรื้อรัง ครั้งที่4 15 2,100.00 2,100.00
6 ธ.ค. 66 ประชุมคณะทำงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าและโรคเรื้อรัง ครั้งที่5 15 2,100.00 2,100.00
5 ม.ค. 67 ประชุมคณะทำงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าและโรคเรื้อรัง ครั้งที่ 6 15 2,100.00 2,100.00
2 กิจกรรมสนับสนุนเพิ่มเติม อื่นๆ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 10,000.00 19 10,000.00
15 พ.ค. 66 ค่าพาหนะเดินทางเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน ครั้งที่ 1 3 304.00 304.00
6 - 7 มิ.ย. 66 เวทีปฐมนิเทศและพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนแผนงานร่วมทุน ครั้งที่ 1 3 576.00 576.00
6 มิ.ย. 66 - 31 ม.ค. 67 2. ค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์ 2 2,000.00 2,000.00
8 ก.ค. 66 ค่าจัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่และป้ายชื่อโครงการ 0 1,000.00 1,000.00
8 ก.ค. 66 ค่าพาหนะเดินทางเพื่อไปรับป้ายชื่อโครงการ 1 160.00 160.00
4 ส.ค. 66 ค่าพาหนะเดินทางเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน ครั้งที่ 2 2 304.00 304.00
14 ส.ค. 66 ค่าพาหนะเดินทางเพื่อไปซื้อวัสดุอุปกรณ์จักรสานจากเส้นพลาสติก 1 160.00 160.00
8 ก.ย. 66 ค่าตรายางหมึกในตัว โครงการ สสส. 0 535.00 535.00
8 ก.ย. 66 ค่าพาหนะเดินทางเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน ครั้งที่ 3 2 304.00 304.00
25 ก.ย. 66 อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โรงการย่อย ARE ครั้งที่ 1/2566 3 288.00 288.00
1 ธ.ค. 66 ค่าพาหนะเดินทางเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน ครั้งที่ 4 2 304.00 304.00
13 ธ.ค. 66 ค่าพาหนะเดินทางในการตรวจสอบเอกสารการเงินสนับสนุนทุนแผนงานร่วมทุนฯ 4 288.00 288.00
15 ธ.ค. 66 ค่าพาหนะเดินทางเพื่อไปซื้อวัสดุอุปกรณ์ทำพวงหรีดด้วยดอกไม้จันทร์ 1 272.00 272.00
22 ธ.ค. 66 ค่าพาหนะเดินทางเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน ครั้งที่ 5 2 304.00 304.00
12 ม.ค. 67 ค่าไวนิลเทมแพลทโครงการฯพร้อมขาตั้ง x stand 1 1,200.00 1,200.00
14 ม.ค. 67 ค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนู็โครงการ ARE ครั้งที่ 2/2567 8 153.00 153.00
14 ม.ค. 67 ค่าพาหนะเดินทางจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนู็โครงการ ARE ครั้งที่ 2/2567 4 1,248.00 1,248.00
15 ม.ค. 67 ค่าพาหนะเดินทางอบรมในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2/2567 8 312.00 312.00
16 ม.ค. 67 ค่าพาหนะเดินทางประชุมเตรียมความพร้อมปิดโครงการย่อยแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี 3 288.00 288.00
3 กิจกรรมที่ 6 จัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 688 28,480.00 18 28,480.00
20 ก.ค. 66 6.4 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้องรังที่บ้าน ครั้งที่ 1 27 1,880.00 1,880.00
6 ส.ค. 66 6.1 การออกกำลังกาย บาสโลบ ผ้าขาวม้าพิชิตโรค ที่เหมาะสม ครั้งที่ 1 38 2,950.00 2,950.00
13 ส.ค. 66 6.1 การออกกำลังกาย บาสโลบ ผ้าขาวม้าพิชิตโรค ที่เหมาะสม ครั้งที่ 2 38 950.00 950.00
20 ส.ค. 66 6.1 การออกกำลังกาย บาสโลบ ผ้าขาวม้าพิชิตโรค ที่เหมาะสม ครั้งที่ 3 38 950.00 950.00
24 ส.ค. 66 6.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ 1.ฟังธรรม 80 2,000.00 2,000.00
24 ส.ค. 66 6.2 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ 2.ร่วมกันรับประทานอาหารและทานอาหารเพื่อสุขภาพ 80 2,500.00 2,500.00
25 ส.ค. 66 6.4 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้องรังที่บ้าน ครั้งที่ 2 27 1,350.00 1,350.00
27 ส.ค. 66 6.1 การออกกำลังกาย บาสโลบ ผ้าขาวม้าพิชิตโรค ที่เหมาะสม ครั้งที่ 4 38 950.00 950.00
6 ก.ย. 66 6.4 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้องรังที่บ้าน ครั้งที่ 3 27 1,350.00 1,350.00
11 ต.ค. 66 6.1 การออกกำลังกาย บาสโลบ ผ้าขาวม้าพิชิตโรค ที่เหมาะสม ครั้งที่ 5 38 950.00 950.00
25 ต.ค. 66 6.4 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้องรังที่บ้าน ครั้งที่ 4 27 1,350.00 1,350.00
25 ต.ค. 66 6.1 การออกกำลังกาย บาสโลบ ผ้าขาวม้าพิชิตโรค ที่เหมาะสม ครั้งที่ 6 38 950.00 950.00
8 พ.ย. 66 - 9 พ.ค. 67 6.3 การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านติดเตียง 13 5,200.00 5,200.00
8 พ.ย. 66 6.1 การออกกำลังกาย บาสโลบ ผ้าขาวม้าพิชิตโรค ที่เหมาะสม ครั้งที่ 7 38 950.00 950.00
15 พ.ย. 66 6.1 การออกกำลังกาย บาสโลบ ผ้าขาวม้าพิชิตโรค ที่เหมาะสม ครั้งที่ 8 38 950.00 950.00
22 พ.ย. 66 6.4 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพการให้บริการผู้ป่วยโรคเรื้องรังที่บ้าน ครั้งที่ 5 27 1,350.00 1,350.00
22 พ.ย. 66 6.1 การออกกำลังกาย บาสโลบ ผ้าขาวม้าพิชิตโรค ที่เหมาะสม ครั้งที่ 9 38 950.00 950.00
13 ธ.ค. 66 6.1 การออกกำลังกาย บาสโลบ ผ้าขาวม้าพิชิตโรค ที่เหมาะสม ครั้งที่ 10 38 950.00 950.00
4 ARE ทีมพี่เลี้ยงโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 0.00 3 0.00
1 - 31 ส.ค. 66 ARE2 ทีมพี่เลี้ยงโครงการลงติดตาม 15 0.00 0.00
18 ต.ค. 66 ARE3 ทีมพี่เลี้ยงโครงการลงติดตาม 15 0.00 0.00
1 - 31 ม.ค. 67 ARE 4 ทีมพี่เลี้ยงโครงการ 15 0.00 0.00
5 กิจกรรมที่ 3 การสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 0.00 1 0.00
17 ก.ค. 66 การสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน ก่อนเริ่มโครงการ ครั้งที่ 1 80 0.00 0.00
6 กิจกรรมที่ 4 ประชุมสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 240 6,000.00 3 6,000.00
17 ก.ค. 66 ประชุมสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่1 80 2,000.00 2,000.00
14 ก.ย. 66 ประชุมสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2 80 2,000.00 2,000.00
18 ต.ค. 66 ประชุมสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่3 80 2,000.00 2,000.00
7 กิจกรรมที่ 5 การอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเองโดยพิจารณาตามสถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 8,000.00 1 8,000.00
22 ส.ค. 66 การอบรมให้ความรู้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพ 80 8,000.00 8,000.00
8 กิจกรรมที่ 2 การอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 1,500.00 2 1,500.00
7 ก.ค. 66 การอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 1 15 1,500.00 1,500.00
4 ก.ย. 66 การอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2 15 0.00 0.00
9 กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอื่นๆที่ชุมชนอยากทำ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 320 22,000.00 4 22,000.00
15 ก.ย. 66 7.1 ส่งเสริมกิจกรรมจักรสาน จากเส้นพลาสติก 80 6,000.00 6,000.00
18 ต.ค. 66 7.3 ประกวดเมนูอาหาร ปิ่นโตสุขภาพ ลดหวานมันเค็ม พิชิตโรคเรื้อรัง 80 0.00 0.00
10 พ.ย. 66 - 31 ธ.ค. 66 7.4 ปลูกผัก 80 5,000.00 5,000.00
15 ธ.ค. 66 7.2 ทำพวงหรีดด้วยดอกไม้จันทร์ 80 11,000.00 11,000.00
10 กิจกรรมที่ 8 การติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 1,280.00 1 1,280.00
29 ธ.ค. 66 การติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ 80 1,280.00 1,280.00
11 กิจกรรมที่ 9 เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 8,000.00 2 8,000.00
12 ม.ค. 67 9.1 การสรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการ 9.2ส่งต่อข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เช่น รพ.สต.,อบต. 80 6,000.00 6,000.00
12 ม.ค. 67 9.3 การยกย่องเชิดชูผู้สูงอายุที่เป็นตัวอย่างที่ดีในการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี 20 2,000.00 2,000.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 2 573.52
31 ม.ค. 67 ถอนเงินดอกเบี้ยคืนให้แผนงานร่วมทุนฯ 0 0.00 73.52
31 ม.ค. 67 ถอนเงินเปิดบัญชี 0 0.00 500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. มีชมรมผู้สูงอายุ ที่มีสมาชิกพร้อมทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
  2. กิจกรรมที่เกิดในโครงการ สามารถเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ลดความเสี่ยงสุขภาพ ในทุกด้าน
  3. เป็นหมู่บ้านต้นแบบ ชมรมผู้สูงอายุที่เข้มแข็ง สุขภาพดี และสามารถเป็นแนวทางให้กับหมู่บ้านอื่นในตำบลได้ศึกษากระบวนการ วิธีการดำเนินกิจกรรม
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2566 14:59 น.