directions_run

โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนบ้านต้นโตนด หมู่ 1 ตำบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 1.เพื่อเกิดแกนนำชมรมผู้สูงอายุที่เข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและออกแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพได้
ตัวชี้วัด : 1. มีคณะกรรมการดำเนินโครงการที่ร่วมดำเนินการในทุกขั้นตอนอย่างน้อย 16 คน มีโครงสร้างการดำเนินงานที่ชัดเจน และมาจากองค์ประกอบที่หลากหลาย เช่น กรรมการหมู่บ้าน ตัวแทนคุ้มบ้าน อปท. รพ.สต. เป็นต้น 2. มีความเข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและมีการออกแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เหมาะสม 3. มีข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชนที่ครบถ้วนเพื่อออกแบบกิจกรรม เช่น จำนวนและประเภทผู้สูงอายุ ข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลด้านสังคม เป็นต้น 4. ชมรมผู้สูงอายุมีการทำกิจกรรมหรือดำเนินการตาม ข้อตกลงร่วมของผู้สูงอายุ

 

 

 

2 2.คณะกรรมชมรมผู้สูงอายุมีความรู้และความตระหนักในการสร้างเสริมสุขภาพตนเอง
ตัวชี้วัด : 1. เกิดข้อตกลงร่วมของผู้สูงอายุในการเข้าร่วมกิจกรรมตามแผนที่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุออกแบบไว้ 2. ร้อยละ 100 ของคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตนเองที่เหมาะสม เช่น การออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร การพลัดตกหกล้ม

 

 

 

3 3.สำรวจข้อมูลและติดตามพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้โปรแกรม Imad @home
ตัวชี้วัด : 1. มีฐานข้อมูลภาวะสุขภาพและพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมายทุกคน จำนวน 129 คน รวมทั้งมีการคืนข้อมูลแก่ผู้สูงอายุและครอบครัวเป็นประจำทุกเดือน 2. มีผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 50 จำนวน 65 คน

 

 

 

4 4.ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง
ตัวชี้วัด : 1. ผู้สูงอายุ จำนวน 65 คน (อย่างน้อยร้อยละ 50 ของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 129 คน) มีการออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละ 30 นาที ในระยะเวลาโครงการต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 6 เดือน 2. ผู้สูงอายุ จำนวน 65 คน (อย่างน้อยร้อยละ 50 ของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 129 คน) เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละ1 ครั้ง 3. ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงในชุมชนทุกคน จำนวน 1 คน (ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงในชุมชน) ได้รับการเยี่ยมบ้านเป็นประจำอย่างน้อย 2 เดือน/ครั้ง 4. ผู้สูงอายุ จำนวน 65 คน (อย่างน้อยร้อยละ 50 ของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 129 คน) มีพฤติกรรมเหมาะสมและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ 5. ผู้สูงอายุ จำนวน 65 คน (อย่างน้อยร้อยละ 50 ของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 129 คน) ได้รับการประเมินความสุขด้านที่ 5 สุขสงบ