directions_run

โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนบ้านต้นโตนด หมู่ 1 ตำบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนบ้านต้นโตนด หมู่ 1 ตำบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี
ภายใต้โครงการ แผนงานร่วมทุนสร้างเสริมสุขภาวะพื้นที่จังหวัดปัตตานี
ภายใต้องค์กร องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี
รหัสโครงการ 65-P1-0068-027
วันที่อนุมัติ 1 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 29 กุมภาพันธ์ 2567
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นโตนด
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวไซนะ หะยีลาเต๊ะ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 084-4242746
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ deksdw55@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางอรัญญา ฤทธิเดช
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.677009,101.225814place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2566 31 ธ.ค. 2566 1 พ.ค. 2566 31 ธ.ค. 2566 80,000.00
2 1 ม.ค. 2567 31 ม.ค. 2567 1 ม.ค. 2567 31 ม.ค. 2567 20,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จากการสำรวจข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นโตนดและอสม.ในพื้นที่ พบว่าประชากรในชุมชนบ้านต้นโตนด หมู่ 1 ตำบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี มีประชากรทั้งหมด จำนวน 502 คน ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 130 คน คิดเป็นร้อยละ 25.89 จำแนกประเภทผู้สูงอ
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นโตนดและอสม.ในพื้นที่ พบว่าประชากรในชุมชนบ้านต้นโตนด หมู่ 1 ตำบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี มีประชากรทั้งหมด จำนวน 502 คน ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 130 คน คิดเป็นร้อยละ 25.89 จำแนกประเภทผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุติดสังคมจำนวน 129 คน คิดเป็นร้อยละ 99.23 เป็นผู้สูงอายุติดบ้าน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.76 และ ผู้สูงอายุ  ที่ติดเตียง จำนวน 0 ราย มีโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 27 คน โรคเบาหวาน จำนวน 11 คน โรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน 39 คน มีภาวะซึมเศร้า จำนวน 2 คน นอนหลับไม่สนิท จำนวน 24 คน สายตาผิดปกติ จำนวน 28 คน ผู้สูงอายุ มีการออกกำลังกายเป็นประจำ จำนวน 55 คน และบริโภคอาหารที่เหมาะสม จำนวน 48 คน   จากการสำรวจคัดกรองผู้สูงอายุประจำปี 2565 พบว่า ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีปัญหาเสี่ยง ด้านพฤติกรรมสุขภาพ ผู้สูงอายุขาดความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ พฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่เหมาะสม ไม่ชอบ ออกกำลังกาย รับประทานอาหารซ้ำๆ เช่น ข้าวยำ บางคนสูบบุหรี่/ดื่มสุรา ซึ่งจะส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาสุขภาพ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ข้อเข่าเสื่อม ดังนั้นหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อตัวผู้สูงอายุเอง  และครอบครัวรวมถึงภาครัฐที่จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพ ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการเฝ้าระวังดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องตลอดจนการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ด้านสังคม พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ ต่างคนต่างอยู่ขาดการดูแลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ผู้สูงอายุมีหน้าที่ต้องเลี้ยงหลาน
บางคนไม่ได้อยู่ในชุมชน ไปๆมาๆ ทำให้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆที่ชุมชนจัดไม่ต่อเนื่อง ไม่สะดวกในการเดินทาง  การเดินทางลำบาก(ไม่มีรถ) มีผลกระทบต่อผู้สูงอายุเองทำให้ไม่ได้รับการยกย่องจากสังคม ขาดการรวมกลุ่ม  ทำกิจกรรมทำให้คุณค่าในตัวเองลดลง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคลและสภาพแวดล้อมโดยใช้กลยุทธ์การสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ  ในชุมชนและเพิ่มคุณค่าให้กับตัวเอง เป็นที่ยอมรับของสังคม
ด้านสภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สถานที่และอุปกรณ์ไม่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมสุขภาพชุมชนไม่มีสถานทีในการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุ ขาดผู้นำในการจัดกิจกรรม ไม่มีกิจกรรมในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและจิตใจ
ด้านเศรษฐกิจ ปัญหา พบว่า ผู้สูงอายุขาดรายได้ให้กับตัวเองและเพิ่มภาระให้กับครอบครัว หากผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่มประกอบอาชีพ สามารถเพิ่มรายให้กับตัวเองและครอบครัวทำใหคุณภาพชีวิตดีขึ้น ดังนั้น เพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุกลุ่มหรือชมรมผู้สูงอายุในระดับหมู่บ้าน หรือชุมชนถือเป็นกลไกสำคัญที่มีบทบาทสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิต  ให้แก่ผู้สูงอายุ เนื่องจากมีความใกล้ชิดเข้าใจสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ รวมถึงสามารถเข้าถึง  และพัฒนาผู้สูงอายุในชุมชนได้ดีที่สุด แต่ในปัจจุบันกลับพบว่ากลุ่มหรือชมรมผู้สูงอายุในบางพื้นที่ยังขาดความเข้มแข็งในการดำเนินงานเพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคม กล่าวคือ ในระยะเริ่มต้นของการรวมตัว แม้จะมีการรวมตัวมานานแล้วแต่ขาดการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชน ชุมชนผู้สูงอายุบ้านต้นโตนดจึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ปี 2566 ขึ้น

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเกิดแกนนำชมรมผู้สูงอายุที่เข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและออกแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพได้
  1. มีคณะกรรมการดำเนินโครงการที่ร่วมดำเนินการในทุกขั้นตอนอย่างน้อย 16 คน มีโครงสร้างการดำเนินงานที่ชัดเจน และมาจากองค์ประกอบที่หลากหลาย เช่น กรรมการหมู่บ้าน ตัวแทนคุ้มบ้าน อปท. รพ.สต. เป็นต้น
  2. มีความเข้าใจเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและมีการออกแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เหมาะสม
  3. มีข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชนที่ครบถ้วนเพื่อออกแบบกิจกรรม เช่น จำนวนและประเภทผู้สูงอายุ ข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลด้านสังคม เป็นต้น
  4. ชมรมผู้สูงอายุมีการทำกิจกรรมหรือดำเนินการตาม
      ข้อตกลงร่วมของผู้สูงอายุ
2 2.คณะกรรมชมรมผู้สูงอายุมีความรู้และความตระหนักในการสร้างเสริมสุขภาพตนเอง
  1. เกิดข้อตกลงร่วมของผู้สูงอายุในการเข้าร่วมกิจกรรมตามแผนที่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุออกแบบไว้
  2. ร้อยละ 100 ของคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตนเองที่เหมาะสม เช่น การออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร การพลัดตกหกล้ม
3 3.สำรวจข้อมูลและติดตามพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้โปรแกรม Imad @home

1.  มีฐานข้อมูลภาวะสุขภาพและพฤติกรรมของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมายทุกคน จำนวน 129    คน รวมทั้งมีการคืนข้อมูลแก่ผู้สูงอายุและครอบครัวเป็นประจำทุกเดือน 2. มีผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 50 จำนวน 65 คน

4 4.ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง
  1. ผู้สูงอายุ จำนวน 65  คน (อย่างน้อยร้อยละ 50 ของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 129 คน) มีการออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละ 30 นาที ในระยะเวลาโครงการต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 6 เดือน
  2. ผู้สูงอายุ จำนวน 65  คน (อย่างน้อยร้อยละ 50 ของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 129 คน) เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตเป็นประจำอย่างน้อยเดือนละ1 ครั้ง
  3. ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงในชุมชนทุกคน จำนวน 1  คน (ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงในชุมชน) ได้รับการเยี่ยมบ้านเป็นประจำอย่างน้อย 2 เดือน/ครั้ง
  4. ผู้สูงอายุ จำนวน  65  คน (อย่างน้อยร้อยละ 50 ของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 129 คน)      มีพฤติกรรมเหมาะสมและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพ
  5. ผู้สูงอายุ จำนวน  65 คน (อย่างน้อยร้อยละ 50 ของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 129 คน) ได้รับการประเมินความสุขด้านที่ 5 สุขสงบ
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 129
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ผู้สูงอายุชุมชนบ้านต้นโตนด 129 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67
1 ชื่อกิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 5 ครั้ง(1 พ.ค. 2566-30 ธ.ค. 2566) 9,600.00                    
2 ชื่อกิจกรรมที่ 2 การอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 2 ครั้ง(1 พ.ค. 2566-31 ก.ค. 2566) 6,840.00                    
3 ชื่อกิจกรรมที่ 3 สำรวจข้อมูลและติดตามพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้โปรแกรม Imad @home (ก่อน-หลัง)(1 พ.ค. 2566-31 ธ.ค. 2566) 3,840.00                    
4 ชื่อกิจกรรมที่ 6 จัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุ(1 พ.ค. 2566-20 ธ.ค. 2566) 6,500.00                    
5 สสส. สนับสนุนงบเพิ่มเติมเพื่อบริหารจัดการจำนวน 10,000 บาท(1 พ.ค. 2566-29 ก.พ. 2567) 10,000.00                    
6 ชื่อกิจกรรมที่ 4 ประชุมสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 3 ครั้ง(1 มิ.ย. 2566-1 ต.ค. 2566) 23,400.00                    
7 ชื่อกิจกรรมที่ 5 การอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ติดสังคม มีโรคเรื้อรังสามารถทำกิจกรรมต่อเนื่องในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง(1 มิ.ย. 2566-30 มิ.ย. 2566) 10,800.00                    
8 ชื่อกิจกรรมที่ 7 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอื่นๆ ที่ชุมชนอยากทำ(1 ก.ค. 2566-31 ก.ค. 2566) 10,650.00                    
9 ชื่อกิจกรรมที่ 8 การติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ(1 ต.ค. 2566-31 ต.ค. 2566) 9,870.00                    
10 ชื่อกิจกรรมที่ 9 เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน (จัดหลังจากการดำเนินงานเสร็จสิ้นแล้ว)(1 พ.ย. 2566-30 พ.ย. 2566) 8,500.00                    
11 อื่นๆ ค่าเปิดบัญชีธนาคาร(13 พ.ย. 2566-13 พ.ย. 2566) 500.00                    
รวม 100,500.00
1 ชื่อกิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 5 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 16 9,600.00 5 9,600.00
22 มิ.ย. 66 ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 1 (ชี้แจงรายละเอียดโครงการ) 16 1,920.00 1,920.00
6 ก.ค. 66 ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2 (แต่งตั้งคณะทำงานและแบ่งบทบาทหน้าที่) 0 1,920.00 1,920.00
23 ส.ค. 66 ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 3 (วางแผนออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับผู้สูงอายุ) 0 1,920.00 1,920.00
22 ก.ย. 66 ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 4 (เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม) 0 1,920.00 1,920.00
8 ธ.ค. 66 ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 5 (สรุปผลการดำเนินงาน) 0 1,920.00 1,920.00
2 ชื่อกิจกรรมที่ 2 การอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 2 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 16 6,840.00 2 6,840.00
14 ก.ค. 66 อบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 16 3,420.00 3,420.00
27 ก.ค. 66 อบรมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุในการคัดกรองและจัดทำข้อมูลสถานการณ์สุขภาพผู้สูงอายุเพื่อเป็นข้อมูลตั้งต้น 0 3,420.00 3,420.00
3 ชื่อกิจกรรมที่ 3 สำรวจข้อมูลและติดตามพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้โปรแกรม Imad @home (ก่อน-หลัง) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 16 3,840.00 2 3,840.00
17 ก.ค. 66 สำรวจข้อมูลและติดตามพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้โปรแกรม Imad @home (ก่อนทำโครงการ) 16 1,920.00 1,920.00
25 ธ.ค. 66 สำรวจข้อมูลและติดตามพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้โปรแกรม Imad @home (หลังทำโครงการ) 0 1,920.00 1,920.00
4 ชื่อกิจกรรมที่ 6 จัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 65 6,500.00 13 6,500.00
10 ก.ค. 66 กิจกรรมที่ 6.1.1 การออกกำลังกายรำไม้พลอง(ครั้งที่1) 65 500.00 500.00
10 ก.ค. 66 กิจกรรมที่ 6.2.1 ส่งเสริมสุขภาพจิต ครั้งที่ 1 0 500.00 500.00
25 ก.ค. 66 กิจกรรมที่ 6.3.1 เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียงในชุมชน ครั้งที่ 1 0 500.00 500.00
9 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 6.1.2 การออกกำลังกายกะลาบิคยางยืด (ครั้งที่2) 0 500.00 500.00
9 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 6.2.2 ส่งเสริมสุขภาพจิต ครั้งที่ 2 0 500.00 500.00
14 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 6.1.3 การออกกำลังกายยางยืด (ครั้งที่3) 0 500.00 500.00
14 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 6.2.3 ส่งเสริมสุขภาพจิต ครั้งที่ 3 0 500.00 500.00
15 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 6.3.2 เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียงในชุมชน ครั้งที่ 2 0 500.00 500.00
12 ต.ค. 66 กิจกรรมที่ 6.1.4 การออกกำลังกายเต้นบาสโลบ (ครั้งที่4) 0 500.00 500.00
12 ต.ค. 66 กิจกรรมที่ 6.2.4 ส่งเสริมสุขภาพจิต ครั้งที่ 4 0 500.00 500.00
6 พ.ย. 66 กิจกรรมที่ 6.2.5 ส่งเสริมสุขภาพจิต ครั้งที่ 5 0 500.00 500.00
10 พ.ย. 66 กิจกรรมที่ 6.3.3 เยี่ยมบ้านผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียงในชุมชน ครั้งที่ 3 0 500.00 500.00
1 ธ.ค. 66 กิจกรรมที่ 6.2.6 ส่งเสริมสุขภาพจิต ครั้งที่ 6 0 500.00 500.00
5 สสส. สนับสนุนงบเพิ่มเติมเพื่อบริหารจัดการจำนวน 10,000 บาท กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 10,000.00 10 10,000.00
6 - 7 มิ.ย. 66 อบรมเวทีปฐมนิเทศสนับสนุนการสร้างสุขภาพในพื้นที่จังหวัดปัตตานี 0 1,584.00 1,584.00
13 ก.ค. 66 ค่าทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่และป้ายชื่อโครงการ 0 1,000.00 1,000.00
28 ก.ค. 66 ค่าทำป้ายที่ทำการชมรมผู้สูงอายุชุมชนบ้านต้นโตนด หมู่1 0 1,000.00 1,000.00
28 ก.ค. 66 ค่าทำป้ายสวนสมุนไพร 0 1,000.00 1,000.00
28 ก.ค. 66 ค่าป้ายชื่อสมุนไพรแต่ละชนิด จำนวน 4 ชนิด 0 1,200.00 1,200.00
1 ส.ค. 66 ค่าปั้มตรายางโครงการ 0 535.00 535.00
4 ส.ค. 66 ค่าจัดทำป้ายบันไดผลลัพท์ 0 500.00 500.00
4 ส.ค. 66 ค่าป้ายข้อตกลงของชุมชน 0 500.00 500.00
22 ก.ย. 66 ค่าทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์ 0 2,000.00 2,000.00
12 ม.ค. 67 ค่าทำป้ายไวนิล x stand 0 681.00 681.00
6 ชื่อกิจกรรมที่ 4 ประชุมสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 3 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 65 23,400.00 3 23,400.00
23 มิ.ย. 66 ประชุมสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่1/2566 65 7,800.00 7,800.00
7 ก.ค. 66 ประชุมสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่2/2566 0 7,800.00 7,800.00
7 ส.ค. 66 ประชุมสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่3/2566 0 7,800.00 7,800.00
7 ชื่อกิจกรรมที่ 5 การอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ติดสังคม มีโรคเรื้อรังสามารถทำกิจกรรมต่อเนื่องในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 65 10,800.00 1 10,800.00
20 ก.ค. 66 กิจกรรมที่ 5 การอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ติดสังคม มีโรคเรื้อรังสามารถทำกิจกรรมต่อเนื่อง ในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเองโดยพิจารณาตามสถานการณ์ปัญหาของพื้นที่ 65 10,800.00 10,800.00
8 ชื่อกิจกรรมที่ 7 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอื่นๆ ที่ชุมชนอยากทำ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 10,650.00 1 10,650.00
3 ส.ค. 66 กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอื่นๆ ที่ชุมชนอยากทำ (อบรมสมุนไพรและปลูกพืชสมุนไพรผลิตลูกประคบ) 50 10,650.00 10,650.00
9 ชื่อกิจกรรมที่ 8 การติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 9,870.00 1 9,870.00
11 ต.ค. 66 กิจกรรมที่ 8 การติดตามการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุ 50 9,870.00 9,870.00
10 ชื่อกิจกรรมที่ 9 เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน (จัดหลังจากการดำเนินงานเสร็จสิ้นแล้ว) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 8,500.00 1 8,500.00
27 ธ.ค. 66 กิจกรรมที่ 9 เวที สรุปบทเรียนการดำเนินงาน 50 8,500.00 8,500.00
11 อื่นๆ ค่าเปิดบัญชีธนาคาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 500.00 1 500.00
13 พ.ย. 66 คืนค่าเปิดบัญชีธนาคารกรุงไทย 0 500.00 500.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 1 46.39
29 ม.ค. 67 จ่าย ดอกเบี้ยให้แผนงานร่วมทุน 0 0.00 46.39

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดแกนนำชมรมผู้สูงอายุที่เข้าใจเรื่องการสร้าง เสริมสุขภาพและออกแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพได้

  2. คณะกรรมการผู้สูงอายุมีความรู้และความตระหนักในการสร้างเสริมสุขภาพตนเอง

  3. สำรวจจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุและพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชน

  4. ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2566 15:00 น.