directions_run

โครงการการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี ตำบลบานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0 - 5 ปี ตำบลบานา (ฝั่งตะวันตก) อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
ภายใต้โครงการ แผนงานร่วมทุนสร้างเสริมสุขภาวะพื้นที่จังหวัดปัตตานี
ภายใต้องค์กร องค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี
รหัสโครงการ 65-P1-0068-029
วันที่อนุมัติ 1 พฤษภาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2566 - 31 มกราคม 2567
งบประมาณ 98,400.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี โดยโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์
ผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.ประภาภรณ์ หลังปูเต๊ะ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0836532157
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ plangputeh@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ กัลยา เอี่ยวสกุล
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.862349,101.25515place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2566 31 ธ.ค. 2566 1 พ.ค. 2566 31 ธ.ค. 2566 78,720.00
2 1 ม.ค. 2567 31 ม.ค. 2567 1 ม.ค. 2567 31 ม.ค. 2567 19,680.00
รวมงบประมาณ 98,400.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อมูลสถานการณ์การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในพื้นที่จังหวัดปัตตานี     งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคเป็นงานที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการส่งเสริมสุขภาพและช่วยป้องกันการเกิดโรคในเด็ก 0 - 5 ปี ทั้งนี้การส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่ช่วยให้งานป้องกันและควบคุมโรคติดต่อประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ยังสามารถลดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ และภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดจาการดูแลรักษาเด็กที่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ปัจจุบันแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ได้กำหนดให้เด็ก 0 - 5 ปี เข้ารับวัคซีนตามเกณฑ์อายุจำนวน 13 โรค ได้แก่ วัคซีนป้องกันวัณโรค ตับอักเสบบี คอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ฮิบ โปลิโอ โรต้า ไข้หวัดใหญ่ หัด คางทูม หัดเยอรมัน ไข้สมองอักเสบเจอี และแม้ว่าจะมีการส่งเสริมให้เด็ก 0-5 ปีเข้ารับวัคซีนในสถานบริการสาธารณสุขโดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ยังพบว่าความครอบคลุมของวัคซีนทุกชนิดในเด็กเมื่ออายุครบ 5 ปีของจังหวัดปัตตานี ในปี 2565 โดยภาพรวมมีเพียงร้อยละ 37.41 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือร้อยละ 90

ข้อมูลการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในพื้นที่ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
    ศูนย์ข้อมูล (Health Data Center: HDC) ของกระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า ในปี 2565 อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี มีอัตราความครอบคลุมของวัคซีนทุกชนิดในเด็กเมื่ออายุครบ 5 ปีเพียงร้อยละ 26.99 ทั้งนี้ตำบลบานามีเด็กอายุ 0 - 5 ปีทั้งสิ้น 1,181 คน มีอัตราความครอบคลุมของวัคซีนต่ำสุดเป็นลำดับที่ 2 ของอำเภอเมือง โดยพบว่าอัตราความครอบคลุมของวัคซีนทุกชนิดในเด็กเมื่ออายุครบ 1 ปี, 2 ปี, 3 ปี และ 5 ปี มีเพียงร้อยละ 40.95, 34.27, 26.99 และ 13.89 ตามลำดับ โดยพบว่าตำบลบานาฝั่งตะวันตกของถนนเพชรเกษม คือ หมู่ 4 บ้านกาปงตารง หมู่ 5 บ้านกูวิง และหมู่ 6 บ้านจือโร๊ะ มีอัตราความครอบคลุมของวัคซีนในเด็กต่ำสุด 3 ใน 5 อันดับจากท้ายตาราง โดยในปี 2566 ทั้ง 3 หมู่บ้าน มีเด็ก 0-5 ปีที่ต้องได้รับวัคซีนจำนวนทั้งสิ้น 138 คน ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์จำนวน 116 คน

สาเหตุของปัญหาเกิดจากพฤติกรรม ลักษณะทางกายภาพ สภาพสังคม และกลไกลทางภาครัฐและภาคสังคม ดังนี้ ด้านพฤติกรรม
- ผู้ปกครองขาดความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับวัคซีนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค - ผู้ปกครองกลัวบุตรไม่สบายจากผลข้างเคียงของวัคซีน - ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขายและประมง

ด้านกายภาพ - เป็นชุมชนที่ราบชายฝั่งทะเล อยู่ในบริเวณปากแม่น้ำปัตตานี
- มีประชากร 18,326 คน และจำนวนหลังคาเรือน 5,914 หลังคาเรือน
- มีพื้นที่กว้างประมาณ 24.75 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุม 11 หมู่บ้าน

ด้านสังคม - เป็นชุมชนพหุวัฒนธรรม มีทั้งชาวพุทธ มุสลิม และชาวต่างประเทศ (พม่า) อาศัยในพื้นที่
- ความเชื่อของชาวมุสลิม ความเชื่อมั่นต่อวัคซีน ฮาลาล และความกังวลต่อการเกิดผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน - การเคลื่อนย้ายประชากรไปอยู่ต่างถิ่น (มาเลเซีย) เด็กอยู่กับปู่ย่าตายาย ไม่สามารถนำเด็กเข้ารับวัคซีนตามกำหนด ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ - สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ มีผลต่อการเดินทางมารับวัคซีน และความไม่ปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ในการทำงานเชิงรุกและการเยี่ยมบ้าน

กลไกภาครัฐ
- ระบบการให้บริการที่ไม่สอดคล้องกับวิถีชุมชน
- การทำงานเชิงรับมากกว่าเชิงรุก
- ช่วงเวลาให้บริการไม่ตรงกับเวลาว่างของผู้ปกครอง
- กระบวนการติดตามเด็กมารับวัคซีนไม่ต่อเนื่อง - พฤติกรรมการให้บริการของเจ้าหน้าที่

ผลกระทบที่เกิดจากปัญหาด้านสุขภาพ ด้านสังคม และด้านเศษฐกิจ ดังนี้     ด้านสุขภาพ จากการที่เด็กในตำบลบานาได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ทำให้เกิดความเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ได้แก่ โรคหัด คอตีบ ไอกรน ไข้สมองอักเสบ และต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน และส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายจากการเจ็บป่วย พิการ และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ด้านสังคม เนื่องจากอัตราความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็กต่ำ ทำให้ชุมชนไม่มีภูมิคุ้มกันหมู่ส่งผลให้เกิดโรคระบาดในชุมชน โดยในปี 2562 ตำบลบานา มีผู้ป่วยโรคหัดจำนวน 6 ราย โรคไข้สมองอักเสบ จำนวน 12 ราย ปี 2563 มีผู้ป่วยโรคหัด 6 ราย ปี 2565 มีผู้ป่วยโรคไข้สมองอักเสบ 30 คน ชุมชนขาดความตระหนักรู้เรื่องการป้องกันโรคติดต่อ ด้านเศรษฐกิจ พบว่า เมื่อเด็กป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ส่งผลต่อการเพิ่มรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลของรัฐและครอบครัว และทำให้รายได้ภายในครอบครัวลดลงจากการที่ต้องหยุดงานเพื่อดูแลบุตรที่เจ็บป่วย อย่างน้อย 7-10 วัน ทำให้ขาดรายได้อย่างน้อย 2,000 บาทต่อครอบครัว จากสาเหตุปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น ทางโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยฟาฏอนี จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนในเด็ก 0-5 ปีต่ำในพื้นที่ตำบลบานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โดยจะดำเนินในรูปแบบการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในรูปการณ์ของโครงการเชิงผลลัพธ์

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

-

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เกิดแกนนำป้องกันโรคติดต่อในเด็กในชุมชน

1.1 เกิดแกนนำใน 3 หมู่บ้าน จำนวน 15 คน ที่ประกอบไปด้ายผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ครูศูนย์เด็กเล็ก ผู้ปกครองเด็ก 0 - 5 ปี อาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต. และนักวิชาการ
1.2 มีการกำหนดโครงสร้างและบทบาทหน้าที่ของแกนนำชุมชนที่ชัดเจน
1.3 แกนนำ 15 คนมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก
1.4 อาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน 20 คน มีทักษะการสื่อสารเรื่องวัคซีน

15.00
2 คนในชุมชนมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการวัคซีนในเด็ก

2.1 มีสื่อประชำสัมพันธ์ความรู้เรื่อง การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ทุก หมู่บ้าน
2.2. มีการบรรยายให้ความรู้เรื่องการ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคผ่านเสียง ตามสายในทุกชุมชน
2.3. ผู้นำศาสนาอ่านคุตบะห์เรื่องวัคซีน แก่ประชาชนทั้ง 4 ชุมชน

3.00
3 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค

3.1 ผู้ปกครองเด็ก 0 - 5 ปี ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ อย่างน้อย 40 คน (ร้อยละ 80) มีความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับวัคซีนดีขึ้น 3.2 ผู้ปกครองเด็ก อย่างน้อย 40 คน (ร้อยละ 80) มีทักษะการจัดการอาการข้างเคียงเช่นอาการไข้ อาการปวด หลังได้รับวัคซีน 3.3 มีครอบครัวปลอดโรคต้นแบบอย่างน้อยหมู่บ้านละ 1 ครอบครัว และหนูน้อยสุขภาพดีฉีดวัคซีนอย่างน้อยหมู่บ้านละ 1 คน
3.4 มีสมาชิกครอบครัวและเด็ก 0-5 ปีเข้าร่วมกิจกรรมหนูน้อยสุขภาพดีอย่างน้อย 50 คน

80.00
4 เพื่อให้เด็ก 0-5 ปีได้รับวัคซีน

4.1 เด็ก 0 - 5 ปี ที่เข้าร่วมโครงการได้รับวัคซีนไม่น้อยกว่า 25 คน หรือร้อยละ 50

25.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 215
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ประชาชนในตำบลบานา หมู่ 1,4,5,6 100 -
ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปีที่ไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ 100 -
แกนนำชุมชน 15 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67
1 ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำ(1 พ.ค. 2566-29 ก.พ. 2567) 12,700.00                  
2 การบริหารจัดการโครงการ(1 พ.ค. 2566-29 ก.พ. 2567) 10,000.00                  
3 กิจกรรมให้ความรู้(1 พ.ค. 2566-29 ก.พ. 2567) 75,700.00                  
รวม 98,400.00
1 ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 110 12,700.00 5 11,890.00
14 มิ.ย. 66 ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำ ครั้งที่ 1 20 2,300.00 2,200.00
13 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำ ครั้งที่ 2 20 2,300.00 2,200.00
14 ก.ย. 66 ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำ ครั้งที่ 3 20 2,300.00 1,870.00
6 ต.ค. 66 ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำ ครั้งที่ 4 20 2,300.00 1,980.00
15 ธ.ค. 66 ประชุมคณะทำงานร่วมกับแกนนำ ครั้งที่ 5 ถอดบทเรียน สรุปรายงาน คืนข้อมูล 30 3,500.00 3,640.00
2 การบริหารจัดการโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 54 10,000.00 16 10,500.00
11 พ.ค. 66 เปิดบัญชีงบบริหารจัดการโครงการ 3 0.00 888.00
6 - 7 มิ.ย. 66 ARE1 อบรมเวทีปฐมนิเทศ พัฒนาศักยภาพผู้รับทุน และคลี่แผนงานโครงการ 3 10,000.00 906.00
15 - 16 มิ.ย. 66 จัดทำป้ายโครงการ 1 0.00 2,280.00
11 ก.ค. 66 เบิกเงินสดในบัญชีธนาคารครั้งที่ 1 2 0.00 296.00
14 ก.ค. 66 จัดทำปั๊มตรายาง 1 0.00 839.00
4 ก.ย. 66 ARE2 7 0.00 0.00
25 ก.ย. 66 อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่1 3 0.00 984.00
10 ต.ค. 66 เบิกเงินสดในบัญชีธนาคารครั้งที่ 2 2 0.00 296.00
6 พ.ย. 66 ARE3 5 0.00 0.00
1 ธ.ค. 66 ARE4 5 0.00 0.00
18 ธ.ค. 66 ตรวจเอกสารการเงิน 3 0.00 1,032.00
1 ม.ค. 67 จัดทำรายงาน 5 0.00 639.00
8 ม.ค. 67 พบปะพี่เลี้ยง 2 0.00 624.00
15 ม.ค. 67 อบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 2 6 0.00 1,216.00
16 ม.ค. 67 ประชุมปิดโครงการย่อยแผนร่วมทุน 4 0.00 0.00
17 ม.ค. 67 เบิกเงินสดในบัญชีธนาคารครั้งที่ 3 2 0.00 500.00
17 ม.ค. 67 เบิกเงินจ่ายค่าเปิดบัญชีครั้งแรก 0 0.00 -
3 กิจกรรมให้ความรู้ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 591 75,700.00 9 76,510.00
11 ก.ค. 66 เตรียมเอกสารประกอบการประชุมจัดอบรม 190 0.00 1,776.00
12 ก.ค. 66 อบรมให้ความรู้แกนนำชุมชนทั้ง 4 หมู่บ้าน 20 8,300.00 6,808.00
14 ก.ค. 66 สร้างการรับรู้แก่ชุมชน 100 10,000.00 10,000.00
1 ก.ย. 66 - 1 ธ.ค. 66 อ่านคุตบะห์วัคซีนวันศุกร์ 4 2,700.00 2,700.00
8 ก.ย. 66 - 1 ก.พ. 67 อ่านนิทานก่อนนอน 50 0.00 0.00
22 ก.ย. 66 - 16 ต.ค. 66 อบรมให้ความรู้และเสริมทักษะผู้ปกครองและเด็ก 0-5 ปีที่ได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ 200 43,200.00 44,726.00
22 ก.ย. 66 - 16 ต.ค. 66 ประกวดหนูน้อยสุขภาพดีวัคซีนครบ-ครอบครัวปลอดโรค 3 3,000.00 3,000.00
23 ต.ค. 66 อบรมทักษะการสื่อสารเรื่องวัคซีนแก่ อสม 20 8,500.00 7,500.00
1 พ.ย. 66 - 8 ธ.ค. 66 ติดตาม/เยี่ยมบ้าน คณะทำงานร่วมกับ อสม 4 0.00 0.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 1 34.39
24 ม.ค. 67 จ่าย ดอกเบี้ยให้กองคลัง 0 0.00 34.39

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

โครงการนี้จะช่วยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของแกนนำ 3 หมู่บ้านได้แก่ กาปงตารง กูวิง และจือโร๊ะ ในตำบลบานา อำเภอเมือง จ.ปัตตานีในการแก้ไขปัญหาความครอบคลุมของวัคซีนต่ำในเด็ก 0-5 ปี โดยมีการสนับสนุนการดำเนินงานจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดปัตตานี อบต.บานา รวมถึงผู้ปกครอง เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนแก้ไขปัญหาการไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ของเด็ก 0-5 ปีในชุมชนอย่างต่อเนื่อง และเป็นรูปธรรม ทั้งนี้หากแกนนำดำเนินงานตามแผนส่งเสริมความครอบคลุมของวัคซีนที่พัฒนาขึ้นจากการมีส่วนร่วมของชุมชน และการให้ความรู้และสร้างทัศนคติที่ดีในการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปีที่ไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ในชุมชน จะทำให้เกิดความครอบคลุมของการได้รับวัคซีนในเด็กตำบลบานาเพิ่มขึ้น จะมีการนำแผนดังกล่าวไปใช้ในพื้นที่อื่น ๆ ในเขตอำเภอเมืองและอำเภออื่น ๆ ของจังหวัดปัตตานีเพื่อขยายผลต่อไป

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2566 15:01 น.