task_alt

โครงการส่งเสริมสร้างสุขภาวะกาย ใจ ของผู้สูงอายุ บ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ. เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสร้างสุขภาวะกาย ใจ ของผู้สูงอายุ บ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ. เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี

ชุมชน บ้านสุไหงปาแน ม.1 ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี

รหัสโครงการ 65-P1-0068-030 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2566 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน พฤษภาคม 2566 ถึงเดือน ธันวาคม 2566

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เก็บข้อมูลผู้สูงอายุ (ก่อนดำเนินโครงการ)

วันที่ 2 มิถุนายน 2566 เวลา 10:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะทำงานได้มีการจัดเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบของตนเอง และได้นำข้อมูลจากการเก็บของกลุ่มเป้าหมายมาวิเคราะห์ร่วมกัน
  2. คณะทำงานผู้สูงอายุ จำนวน 15 คน ที่มีความรู้ ความเข้าใจในการสำรวจและจัดเก็บข้อมูลที่สอดคล้องกับข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน
  3. มีข้อมูลสถานการณ์ก่อนดำเนินโครงการของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้   1) กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน แบ่งเป็น ผู้หญิง 27 คน ผู้ชาย 3 คน 2) โรคประจำตัว ร้อยละ 57 มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคเก๊าท์ โรคเบาหวาน โรคไต เป็นต้น และผู้สูงอายุ ร้อยละ 43 ไม่มีโรคประจำตัว 3) การเข้าร่วมอบรมให้ความรู้ของโครงการ ก่อนเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 ไม่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพ การดำเนินชีวิตประจำวันในวิถีอิสลาม และการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย 4) พฤติกรรมการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย รสชาติที่ทานเป็นประจำ ร้อยละ 56.66 ทางรสชาติเค็ม เช่น บูดู ปลาเค็ม กะปิ เป็นต้น บริโภคผักและผลไม้ ร้อยละ 66.6 ทานผักผลไม้เป็นบางวัน 5) รูปแบบการออกกำลังกาย เช่น เดินรอบบ้าน เดินเร็ว แกว่งแขนในตอนเช้า ปั่นจักรยาน ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น และ 6) ความถี่ในการความเครียด ร้อยละ 83.3 เครียดบางวัน เช่น ลูกหลาน สุขภาพ เป็นต้น และมีการทำข้อตกลงร่วมกัน จำนวน 4 ข้อ ประกอบด้วย 1) มีการพบปะกันเดือนละ 1 ครั้ง 2) เข้าร่วมฟังบรรยายธรรมทุก ๆ วันศุกร์แรกของของเดือน 3) มีการออกกำลังกายด้วย โยคะมุสลีมะห์หรือยางยืดเพื่อสุขภาพ ร่วมกัน 2 เดือนครั้ง หรือต่างคนต่างออกกำลังกายที่บ้าน และ 4) คณะทำงานลงเยี่ยมเยียนบ้านผู้สูงอายุ 3 เดือนครั้ง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 2 - 5 มิถุนายน 2566 คณะทำงานจัดดำเนิกกิจกรรมที่ 2 เก็บข้อมูลผู้สูงอายุ (ก่อนดำเนินโครงการ)  มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเก็บข้อมูลเบื้องต้นในการดำเนินกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน  มีคณะทำงาน จำนวน 15 คน ณ ลานกิจกรรมบ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี คณะทำงานได้มีแบ่งพื้นที่รับผิดชอบจำนวน 9 โซน แบ่งโซนละ 3-4 คน โดยมีรูปแบบการเก็บ 2 รูปแบบ รูปแบบที่ 1 เก็บตามบ้านของกลุ่มเป้าหมาย และรูปแบบที่ 2 เรียกมารวมตัวกันที่ศูนย์ฝึกอาชีพ ซึ่งจะใช้แบบสอบถาม 3 ส่วนส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ  และส่วนที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับความเปราะบางของผู้สูงอายุการ โดยใช้รูปแบบการเก็บข้อมูลเป็น 2 แบบคือ แบบที่ 1 ลงพื้นที่สำรวจตามบ้าน และแบบที่ 2 เชิญครัวเรือนกลุ่มเป้าหมายรวมตัวกันที่ทำการแล้วเก็บ และนัดหมายอีก 1 สัปดาห์เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ร่วมกัน

 

20 0

2. อบรมเวทีปฐมนิเทศและพัฒนาศักยภาพผู้รับทุน

วันที่ 6 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะทำงานโครงการ จำนวน 3 คนได้วางแผนดำเนินงานและกำหนดกิจกรรมที่โครงการย่อย
  2. คณะทำงานโครงการ จำนวน 3 คน ได้ความรู้ในการการเบิกจ่ายเงิน รายงานการใช้จ่ายเงิน และได้ความรู้ในการบันทึกข้อมูลในระบบตนสร้างสุข

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่  6 มิถุนายน 2566
      - พิธีเปิดการอบรม และชี้แจงวัตถุประสงค์การปฐมนิเทศ และพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนโดยนายเศรษฐ์ อัลยุฟรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี (ประธานกรรมการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดปัตตานี) และกล่าวรายงานโดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข
      - รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม ในหัวข้อ "การดำเนินงานและบริหารจัดการแผนงานร่วมทุน" โดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข และนายมุคตาร วายา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ         - รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมอบรม ในหัวข้อ "การดำเนินงานและบริหารจัดการแผนงานร่วมทุน" (ต่อ) โดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข และนายมุคตาร วายา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ         - แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ “การวางแผนดำเนินงานและกำหนดกิจกรรมที่โครงการย่อย” โดยนางกัลยา  เอี่ยวสกุล วิทยากร และทีมผู้ช่วยวิทยากร และ แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ “การออกแบบเก็บข้อมูลและกำหนดกิจกรรมที่นำไปสู่ผลลัพธ์” โดยนางกัลยา  เอี่ยวสกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ สสส. และทีมผู้ช่วยวิทยากร
วันที่  7  มิถุนายน 2566
      -  รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ในหัวข้อ “การเบิกจ่ายเงิน รายงานการใช้จ่ายเงิน และรายงานผลการดำเนินงาน” โดยนางกัลยา  เอี่ยวสกุล วิทยากร
      - รับฟังการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ในหัวข้อ “การเบิกจ่ายเงิน รายงานการใช้จ่ายเงิน และรายงานผลการดำเนินงาน” และถาม - ตอบ เกี่ยวกับการเงิน โดยนางกัลยา  เอี่ยวสกุล วิทยากร
      -  รับฟังการบรรยาย ในหัวข้อ “การคีย์ข้อมูลลงระบบบริหารแผนงานร่วมทุนฯและการรายงานกิจกรรม” และแบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล และทีมผู้ช่วยวิทยากร       - แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติ “การคีย์ข้อมูลลงระบบบริหารแผนงานร่วมทุนฯ และการรายงานกิจกรรม”(ต่อ) โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากร และทีมผู้ช่วยวิทยากร

 

3 0

3. ค่าจัดป้ายบันไดผลลัพธ์โครงการ

วันที่ 6 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ผลลัพธ์โครงการส่งเสริมการสร้างสุขภาวะกาย ใจ ของผู้สูงอายุ บ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ. เมือง จ.ปัตตานี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

หัวหน้าโครงการ และคณะทำงานร่วมกันทำออกแบบบันไดผลลัพธ์โครงการร่วมกัน จนได้รูปแบบของบันไดผลลัพธ์มาใช้ในการดำเนินโครงการร่วมกัน

 

2 0

4. ค่าจัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่และป้ายโครงการ

วันที่ 6 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานได้ป้ายปลอดบุหรี่จำนวน 1 ชิ้น และได้ไวนิลโครงการ จำนวน 1 ชิ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

หัวหน้าโครงการ และคณะทำงานร่วมกันออกแบบไวนิล ป้ายปลอดบุหรี่ และป้ายโครงการ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินโครงการ

 

0 0

5. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1

วันที่ 16 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับรู้ และรับทราบการดำเนินโครงการ
  2. เกิดคณะทำงานจำนวน 15 คน ประกอบด้วย อสม. ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บัณฑิตอาสา ในการขับเคลื่อนโครงการ และมีผู้ใหญ่บ้าน บ้านสุไหงปาแน ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี เป็นที่ปรึกษาโครงการ
  3. คณะทำงานทั้ง 15 คน มีบทบาทหน้าที่ และเขตพื้นที่รับผิดชอบในการดูแลผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

การประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 เริ่มด้วยการผู้ใหญ่บ้านกล่าวเปิดการประชุม กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน ก่อนที่จะมอบบทบาทหน้าที่ให้กับหัวหน้าโครงการได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการประชุมในวันนี้เพื่อชี้แจงรายละเอียดการดำเนินโครงการ จัดตั้งคณะทำงาน และแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงาน
จากนั้นหัวหน้าโครงการได้อธิบายความเป็นมาของโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการ รายละเอียดกิจกรรม งบประมาณในการดำเนินงาน และทำความเข้าใจบันไดผลลัพธ์ของโครงการพร้อมกัน และลำดับต่อไปเป็นการ ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานจำนวน 15 คน แบ่งบทบาทหน้าที่ แบ่งพื้นที่เขตรับผิดชอบ และแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้าน บ้านสุไหงปาแน ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี นายอารีเปง มูหนะ เป็นที่ปรึกษาโครงการ โดยรายละเอียดของคณะทำงาน ดังนี้ 1. นางสาวซารีปะห์ มาลายา  หัวหน้าโครงการ
2. น.ส.คอดียะ สาเล็ง       รองประธานโครงการ โซนที่ 1 3. น.ส.ยามีละห์ ดอนิ       เลขานุการ         โซนที่ 2 4. น.ส.อารีนี แวมุมิง     ผู้ช่วยเลขานุการ โซนที่ 3 5. น.ส.อัสมะ สาเม๊าะ     การเงิน
6. น.ส.สาลีหะห์ หะยีนาแว การเงินและบัญชี       โซนที่ 4 7. น.ส.ซากีเราะห์ เจะนิ   ผู้ช่วยการเงินและบัญชี       โซนที่ 5 8. น.ส.แวปาอีซะห์ หะยีมามะ ผู้ประสานงาน โซนที่ 6 9. น.ส. วัชรี สาเล็ง ผู้ประสานงาน และช่างภาพ โซนที่ 7 10. นายตัรมีซี แวนิ สวัสดิการ                   โซนที่ 8 11. น.ส.แวเยาะ แวดอเลาะ คณะทำงาน           โซนที่ 9 12. นายสะฮา หะแวตายง คณะทำงาน
13. นายวิทยา แวนิ คณะทำงาน
14. นายมะสุกรี สาเล็ง คณะทำงาน
15. นายอิสมาแอ แวสอเฮาะ คณะทำงาน

 

20 0

6. ทำแผนที่เดินดินชุมชนและแบ่งพื้นที่การดูแลผู้สูงอายุ

วันที่ 30 มิถุนายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานได้รับรู้ แลรับทราบหน้าที่ในการดูแลโซนของตนเอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 30 มิถุนายน 2566 คณะทำงานได้จัดกิจกรรมทำแผนที่เดินดินชุมชนและแบ่งพื้นที่การดูแลผู้สูงอายุ ร่วมกับแกนนำ กลุ่มเยาวชน ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำนำแผนที่ตั้งโต๊ะของพื้นที่มาแบ่งพิกัด/โซนของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มหมายและกำหนดเขตพื้นที่รับผิดชอบของคณะทำงานในการผู้สูงอายุ มีผู้เข้าร่วม 20 คน ณ ศูนย์ฝึกอาชีพ บ้านสุไหงปาแน ม. 1 ต.บานา อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี
หัวหน้าโครงการ และคณะทำงานได้มีนำแผนที่ตั้งโต๊ะของชุมชนซึ่งได้จากทีมผู้ใหญ่บ้าน และบัณฑิตอาสา ในเวทีได้บัณฑิตอาสาช่วยอธิบายแผนที่ชุมชนให้กับผู้เข้าร่วมได้รับทราบในแต่ละโซนว่าเป็นโซนอะไรบ้างว่าประกอบด้วยอะไรบ้าน จากนั้นตัวแททนอสม.ได้ชี้พิกัดบ้านของแต่ละโซนที่มีผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการเพื่อให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน ก่อนที่จะมีการแบ่งพื้นที่รับผิดชอบการดูแลผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการเป็น 9 โซน ซึ่งแต่ละโซนจะมีชื่อที่เปลี่ยนเทียบจากชื่อของสวนสวรรค์แต่ละชั้นในศาสนาอิสลาม ดังนี้ โซนที่ 1 อัลญันนะฮฺ
โซนที่ 2 ดารุสสลาม
โซนที่ 3 ดารุลคุลดิ
โซนที่ 4 ดารุลมุกอมะฮฺ
โซนที่ 5 ญันนะตุลมะอฺวา
โซนที่ 6 ญันนะตุอัดนฺ
โซนที่ 7 ดารุลหะญะวาน
โซนที่ 8 อัลฟิรเดาซฺ
โซนที่ 9 ญันนะตุนนาอีม
ในแต่ละโซนคณะทำงานมีจำนวนผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการที่ต้องรับผิดชอบดูแลตลอดระยะเวลาในการดำเนินโครงการโซนละ 3-4 คน

 

20 0

7. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2

วันที่ 2 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะทำงานมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจข้อมูล
  2. คณะทำงานจำนวน 9 คน มีการแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบในการเก็บข้อมูลผู้สูงอายุจำนวน 9 โซน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 คณะทำงานได้มีการประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนการเก็บสำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายก่อนเข้าร่วมโครงการ และทำความเข้าใจแบบสอบถาม มีคณะทำงานเข้าร่วมประชุม 20 คน ก่อนที่หัวหน้าโครงการจะกล่าวต้อนรับคณะทำงาน บอกวัตถุประสงค์ของการมาประชุมในครั้ง และสรุปภาพรวมของโครงการให้กับทีมได้รับทราบ ซึ่งวันนี้การวางแผนการเก็บสำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายก่อนเข้าร่วมโครงการ และมอบหมายบทบาทหน้าที่ในเขตรับผิดชอบแต่ละโซนของตัวเอง และทำความเข้าใจแบบสอบถามการเก็บข้อมูลก่อนดำเนินโครงการ จากนั้นหัวหน้าโครงการก็ได้มอบหมายให้ น.ส.อารีนี แวมุมิง เลขานุการรับหน้าที่ในการอธิบายแบบเก็บข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย 3 ชุด ชุดที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ชุดที่ 2 แบบสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ  และชุดที่ 3 แบบสอบถามเกี่ยวกับความเปราะบางของผู้สูงอายุ (ก่อนเข้าโครงการ) เมื่อทีมงานทำความเข้าใจในส่วนของแบบสอบถามแล้ว รวมถึงได้มีการแบ่งเขตพื้นที่รับผิดชอบของคณะทำงานแต่ละคนออกเป็น 9 โซน ประกอบด้วย โซนที่ 1 รับผิดชอบ โดย น.ส.คอดียะ สาเล็ง โซนที่ 2 รับผิดชอบ โดย น.ส.ยามีละห์ ดอนิ  โซนที่ 3 รับผิดชอบ โดย น.ส.อารีนี แวมุมิง โซนที่ 4 รับผิดชอบ โดย น.ส.สาลีหะห์ หะยีนาแว โซนที่ 5 รับผิดชอบโดย น.ส.ซากีเราะห์ เจะนิ โซนที่ 6 รับผิดชอบโดย น.ส.แวปาอีซะห์ หะยีมามะ โซนที่ 7 รับผิดชอบโดย น.ส. วัชรี สาเล็ง โซนที่ 8 รับผิดชอบโคย นายตัรมีซี แวนิ โซนที่ 9 รับผิดชอบโดย น.ส.แวเยาะ แวดอเลาะ โดยมีระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 2 – 5 กรกฎาคม 2566

 

20 0

8. ถอนเงินเปิดบัญชี

วันที่ 7 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ถอนเงินเปิดบัญชี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ถอนเงินเปิดบัญชี

 

0 0

9. เวทีคืนข้อมูลและกำหนดข้อตกลงร่วมกันในการดูแลผู้สูงอายุ

วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินโครงการ
  2. ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบข้อมูลสุขภาพของตนเอง
  3. เกิดข้อตกลงร่วมกันในการดูแลผู้สูงอายุในพื้นที่จำนวน 4 ข้อ ประกอบด้วย 1) มีการพบปะกันเดือนละ 1 ครั้ง 2) เข้าร่วมฟังบรรยายธรรมทุก ๆ วันศุกร์แรกของของเดือน 3) มีการออกกำลังกายด้วย โยคะมุสลีมะห์เพื่อสุขภาพ และยางยืดเพื่อสุขภาพร่วมกัน 2 เดือนครั้ง และต่างคนต่างออกกำลังกายที่บ้าน และ 4) คณะทำงานผู้สูงอายุลงเยี่ยมเยียนบ้านผู้สูงอายุ 3 เดือนครั้ง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ชื่อกิจกรรม เวทีคืนข้อมูลและกำหนดข้อตกลงร่วมกันในการดูแลผู้สูงอายุ วันเดือนปีที่จัด วันที่ 10 กรกฎาคม 2566  เวลา 09.00 – 12.00 น. สถานที่ ศูนย์ฝึกอาชีพบ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 80 คน ประกอบด้วย  อสม. คณะกรรมการมัสยิด ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นักพัฒนาชุมชนอบต.บานา ผู้สูงอายุ ผู้ดูแล และตัวแทนเยาวชน ........................................................................................................................................................................................... รายละเอียดกิจกรรม กิจกรรมเริ่มเวลา 08.00 – 09.30 น. คณะทำงานได้มีการลงทะเบียน และพร้อมกันตรวจสุขภาพ วันความดัน วัดรอบเอว ชั่งน้ำหนัก ให้กับผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เวลา 09.30 – 09.45 น. เจ้าหน้าที่ ศวชต. มอ.ปัตตานี ได้ทำกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุก่อนเริ่มกิจกรรม เวลา 09.45 – 10.00 น. นายนูรดีน สะอิ ผู้ช่วยผู้ใหญ่ ได้กล่าวเปิดงาน พูดคุยให้กำลังใจ และกล่าวขอบคุณผู้สูงอายุ และผู้ดูแลที่ได้มาเข้าร่วมกิจกรรม และกล่าวดุอาเปิดกิจกรรม เวลา 10.00 - 12.00 น. หัวหน้าโครงการได้นำเสนอรายละเอียดโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อให้มีคณะทำงานในการดูแลผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมชุมชนบ้านสุไหงปาแน 2) เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาวะกาย ใจ ที่ดีขึ้น มีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้สูงอายุ และวัยก่อนเข้าสู่สังคมสูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มีกิจกรรมในการขับเคลื่อนจำนวน 10 กิจกรรม เพื่อให้มีการเปลี่ยนด้านพฤติกรรมของสุขภาวะทางกายใจ ที่ดีขึ้น โดยก่อนหน้านี้ทางคณะทำงานได้มีการเก็บข้อมูลผู้สูงอายุที่สนใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 30 คน และได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ กลุ่มเป้าหมาย 30 คน แบ่งเป็นผู้ชาย 3 คน ผู้หญิง 27 คน มีโรคประจำตัว ร้อยละ 53 เช่น หัวใจ ไขมัน ความดัน ภูมิแพ้ เก๊าท์ เบาหวาน ไต โรคข้อเสื่อมเป็นต้น และ ร้อยละ 47 ไม่มีโรคประจำตัว พฤติกรรมการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวัน ร้อยละ80 ผู้สูงอายุไม่มีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพ การเตรียมตัวเข้าสู่สังคมสูงวัย การดำเนินชีวิตประจำวันตามวิถีอิสลาม เป็นต้น ร้อยละ 53 ชอบทานรสชาติ เค็ม หวาน เปรี้ยว การออกกำลังกาย ร้อยละ 33.33 ชอบออกกำลังกาย เช่น เดินรอบบ้าน เดินเร็วตอนเช้า ปั่นจักรยาน ปลูกต้นไม้ ปลูกผัก เป็นต้น และการประเมินสุขภาวะความเปราะบาง ร้อยละ 43.33 มีความเปราะบางทางด้านความจำต้องพูดซ้ำ ๆ ตลอดเวลา มีความรู้สึกเหนื่อยล้าง่ายในบ้างครั้ง น้ำหนักลดง่ายกินข้าวไม่ค่อยได้ มีความกังวลในเรื่องค่าใช้จ่ายในบ้าน อยากมีเพื่อน เป็นต้น จากนั้นทางคณะทำงานได้ให้ผู้เข้าร่วมกำหนดข้อตกลงร่วมกันในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน จำนวน 4 ข้อ ประกอบด้วย 1) มีการพบปะกันเดือนละ 1 ครั้ง 2) เข้าร่วมฟังบรรยายธรรมทุก ๆ วันศุกร์แรกของของเดือน 3) มีการออกกำลังกายด้วย โยคะมุสลีมะห์เพื่อสุขภาพ และยางยืดเพื่อสุขภาพร่วมกัน 2 เดือนครั้ง และต่างคนต่างออกกำลังกายที่บ้าน และ 4) คณะทำงานผู้สูงอายุลงเยี่ยมเยียนบ้านผู้สูงอายุ 3 เดือนครั้ง เพื่อขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับผู้สูงอายุในพื้นที่

 

80 0

10. อบรมการเตรียมพร้อมสู่สังคมสูงวัย

วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการดูแลตัวเองการเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ
  2. ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป็าหมายได้มีความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกับเพื่อน ๆ รุ่นเดียวกันในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 21 กรกฎาคม 2566 คณะทำงานชุมชนบ้านสุไหงปาแน ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเตรียมพร้อมสู่สังคมสูงวัย มีผู้เข้าร่วม จำนวน 58 คน ณ ศูนย์ฝึกอาชีพบ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี ภายใต้โครงการส่งเสริมการสร้างสุขภาวะกาย ใจ ของผู้สูงอายุ บ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ. เมือง จ.ปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ในเรื่องการเตรียมพร้อมสู่สังคมสูงวัย เช่น การเปลี่ยนแปลงของวัยผู้สูงอายุ สิทธิข้อมูลข่าวสาร การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนในครอบครัว เพื่อนบ้าน และกฎหมายอื่น ๆ ที่ควรรู้เกี่ยวกับสังคมสูงวัย และร่วมกันทำข้อตกลงร่วมกันในการดูแลผู้สูงอายุ รายละเอียดกิจกรรม คณะทำงาน อสม. ได้มีการตรวจวัดความดันโลหิตให้กับผู้สูงอายุ ก่อนเริ่มการอบรม ทางคณะทำงานได้ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินโครงการ และรายละเอียดกิจกรรมที่ตลอดระยะเวลา 10 ที่ทางคณะทำงานจะมาร่วมทำกิจกรรมกับผู้สูงอายุ โดยมีหัวหน้าโครงการได้อธิบาย ทำความเข้าใจ จากนั้นได้ให้ผู้เข้าร่วมได้สอบถาม ก่อนที่จะร่วมกันทำข้อตกลงร่วมกันในการดูแลผู้สูงอายุที่เข้ามาร่วมโครงการประกอบด้วย 4 ข้อ ดังนี้ 1) มีการพบปะกันเดือนละ 1 ครั้ง 2) เข้าร่วมฟังบรรยายธรรมทุก ๆ วันศุกร์แรกของของเดือน 3) มีการออกกำลังกายด้วย โยคะมุสลีมะห์เพื่อสุขภาพ และยางยืดเพื่อสุขภาพร่วมกัน 2 เดือนครั้ง และต่างคนต่างออกกำลังกายที่บ้าน และ 4) คณะทำงานผู้สูงอายุลงเยี่ยมเยียนบ้านผู้สูงอายุ 3 เดือนครั้ง เพื่อเป็นข้อปฏิบัติร่วมกัน จากนั้นคณะทำงานได้เชิญคุณอาภรณ์ เจะอุบง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา มาบรรยายให้ความรู้ “เรื่องการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย” วิทยากรได้ให้ความรู้ การดูแลสุขภาพกาย ใจ ให้แข็งแรงก่อนเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างเต็มรูปแบบ การเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อม เป็นต้น จากนั้นได้ให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายด้วยท่าบริหารร่างกายด้วย “มณีเวช” ตัวแทนผู้สูงอายุสะท้อนว่า “วันนี้เรื่องที่วิทยากรให้ความรู้ บางเรื่องเรารู้อยู่แล้วแต่ไม่ทำและวันนี้ได้มีการทบทวนความรู้ และกลับมาใส่ใจร่างกายของตัวเองอีกครั้ง”

 

50 0

11. ศาสนบำบัดผ่านกิจกรรม “ฮาลาเกาะฮเพื่อสุขภาพ” ครั้งที่ 1

วันที่ 12 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการดำเนินชีวิตตามแนวทางของศาสนาอิสลาม
  2. ผู้สูงอายุสามารถนำแนวทางในหลักธรรมคำสอนที่ได้ปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ชื่อกิจกรรม : การส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจ โดยการใช้ศาสนบำบัดผ่านกิจกรรม “ฮาลาเกาะฮเพื่อสุขภาพ”
วันเดือนปีที่จัด : วันศุกร์ที่ 22 กันยายน 2566 กิจกรรม : บรรยายธรรมเรื่อง “การดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุตามแนวทางของศาสนาอิสลาม แก่กลุ่มผู้สูงอายุบ้านสุไหงปาแน”
เวลา 08.00 – 12.00 น. สถานที่ : ศูนย์ฝึกอาชีพบ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี กลุ่มเป้าหมาย : จำนวน 45 คน ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ 30 คน และ คณะทำงาน 15 คน วัตถุประสงค์ : 1. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการดำเนินชีวิตตามแนวทางของศาสนาอิสลาม
        2. เพื่อให้ผู้สูงอายุเห็นคุณค่าของตนเอง และสามารถใช้หลักธรรมคำสอนในการดำเนินชีวิตประจำวัน รายละเอียดกิจกรรม
08.00 – 09.30 น. ลงทะเบียน พร้อมตรวจสุขภาพ 09.30 – 09.45 น.  กิจกรรม “สูงวัยอารมณ์ดี”
      โดย ทีมวิทยากรจาก ศวชต. ม.อ.ปัตตานี 09.45 – 10.00 น. กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรม                       โดย นายอารีเปง มูหนะ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านสุไหงปาแน 10.00 – 12.00 น. การบรรยาย หัวข้อ “การดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุตามแนวทางของศาสนาอิสลาม แก่กลุ่มผู้สูงอายุบ้านสุไหงปาแน”
                                โดยคุณอาแว ปูเต๊ะ ครูผู้สอนศาสนาโรงเรียนศาสนูปถัมภ์ มาบรรยายให้ความรู้เรื่อง “การดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุตามแนวทางของศาสนาอิสลาม” ครั้งที่ 1 วิทยากรได้ให้ความรู้ การดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุอยู่บนหลักธรรมคำสอนของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) คือ 1) ประชาชนผู้ศรัทธาทุกคนจะต้องยืนหยัดบนหลักความเชื่อ หลักศรัทธา เจตนารมณ์ สติปัญญา และจริยธรรมของตนเองให้มีความเข้มแข็งมั่นคงอยู่เสมอ 2) การประพฤติปฏิบัติของประชาชนผู้ศรัทธาจะต้องมีความจริงจัง จริงใจในการปฏิบัติ และต้องพากเพียรแสวงหาในหนทางที่จะได้มาเพื่อประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัว และสังคม 3) ประชาชนผู้ศรัทธาจะต้องเพียรพยายามแสวงหาสิ่งที่มีประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัว สังคม และ 4) การยึดมั่นในหลักการอิสลามต้องถูกวางอยู่บนฐานความถูกต้อง ไม่ว่าร้ายคนอื่น ถือประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นที่หนึ่ง เป็นต้น จากนั้นตัวแทนผู้สูงอายุได้สรุปบทเรียนจากการการบรรยายธรรมในครั้งนี้ว่า “หลักคำสอนของศาสนาอิสลามกับความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะเรื่องความสะอาดถือเป็นส่วนหนึ่งของความศรัทธา เป็นพื้นฐานที่ครอบคลุมการดำเนินชีวิตทุกเรื่อง ดังนั้นความสะอาดจึงต้องเริ่มตั้งแต่ ความสะอาดในบ้าน รอบบ้าน ความสะอาดในด้านความคิดคือ การไม่คิดร้ายใคร และการนึกถึงคนอื่นก่อนเสมอ” 12.00 – 13.30 น. ปิดการประชุม

 

50 0

12. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3

วันที่ 14 สิงหาคม 2566 เวลา 09:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานได้มีการออกแบบกิจกรรมโครงการ และกำหนดวันเดือนปีในการจัดกิจกรรมที่เหลืออย่างชัดเจนมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรม ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3
วันเดือนปีที่จัด 8 กันยายน 2566 กิจกรรม ประชุมครั้งที่ 3 เพื่อวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการ เวลา 09.30 – 12.00 น.
สถานที่ ศูนย์ฝึกอาชีพ บ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 15 คน ประกอบด้วย อสม. คณะกรรมการมัสยิด ที่ปรึกษาโครงการ รายละเอียดกิจกรรม เริ่มการประชุม 09.00 – 09.15 น. คณะทำงาน และที่ปรึกษาโครงการลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม 09.15 – 09.30 น. นายอารีเปง มูหนะ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านสุไหงปาแน กล่าวเปิดการประชุม และให้กำลังใจคณะทำงาน เนื่องจากผู้ใหญ่บ้านไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ จึงได้มอบหมายการประชุมครั้งให้กับบัณฑิตอาสา เข้าร่วมแทน พร้อมฝากคำขอโทษ และอวดพรให้การดำเนินโครงการสำเร็จ
        บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และขอให้พระเจ้าตอบแทนความดีที่พวกเราทุกคนทำเพื่อชุมชน 09.30 – 09.45 น. น.ส.คอดียะ สาเล็ง ประธานโครงการได้กล่าวสรุปภาพรวมการดำเนิน กิจกรรมที่ผ่านมา ให้กับคณะทำงาน  และที่ปรึกษา 09.45 – 12.00 น. ดำเนินการประชุม โดย น.ส.ซารีปะห์ มาลายา หัวหน้าโครงการ ได้มี
        การกล่าวรายละเอียดในที่ประชุม ดังนี้
การประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 เพื่อวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรมของโครงการในระยะเวลาที่เหลือในการดำเนินกิจกรรมอีก 5 เดือนคือตามสัญญาสิ้นสุดโครงการเดือนกุมภาพันธ์ 2567 (เดือนตุลาคม 2566 – เดือนกุมภาพันธ์ 2567) แต่การดำเนินกิจกรรมของโครงการต้องทำให้เสร็จในเดือนมกราคม 2567 ซึ่งอีก 1 เดือนเป็นเรื่องของการจัดการเอกสาร และรายงาน และตอนนี้กิจกรรมที่เหลือที่ยังไม่ได้ดำเนินการ ประกอบด้วย 1) กิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการการตระหนักรู้คุณค่าในตนเอง ผ่านกิจกรรมการถ่ายทอดภูมิปัญญา 2) กิจกรรม การส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจ โดยการใช้ศาสนบำบัดผ่านกิจกรรม “ฮาลาเกาะฮเพื่อสุขภาพ” จำนวน 3 ครั้ง 3) กิจกรรม การส่งเสริมสุขภาพด้านร่างกาย โดยการออกกำลังการผ่านกิจกรรม “โยคะมุสลีมะห์เพื่อสุขภาพ” จำนวน 3 ครั้ง 4) กิจกรรม เพื่อนเยี่ยมเพื่อน จำนวน 3 ครั้ง 5) เก็บข้อมูลผู้สูงอายุหลังดำเนินโครงการ และ 6) กิจกรรม การติดตาม สรุป และประเมินการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาวะของผู้สูงอายุ เมื่อหัวหน้าโครงการกล่าวภาพรวมของโครงการจบจึงได้มอบให้ที่ประชุมแลกเปลี่ยน น.ส. วัชรี สาเล็ง ตัวแทนคณะทำงานได้มีการเสนอในที่ประชุม “แสดงว่ากิจกรรมของโครงการที่ยังไม่ได้ดำเนินการมีทั้งหมด 6 กิจกรรม แต่มีกิจกรรมใหญ่ ๆ อีก 4 กิจกรรมที่ต้องดำเนินการหลายครั้ง จึงมีความคิดเห็นว่าอย่างกิจกรรม การการตระหนักรู้คุณค่าในตนเอง ผ่านกิจกรรมการถ่ายทอดภูมิปัญญา ถ้าเราทำในเดือนนี้เลยดีไหมเพราะเดือนนี้ซึ่งเป็นเดือนอาซูรอ เป็นเดือนที่ดีของศาสนาอิสลาม และการทำอาซูรอมีขึ้นปีละครั้งเท่านั้นนานมาแล้วที่ชุมชนของเราไม่ได้มีการทำขนมอาซูรอร่วมกัน ถ้าเราทำเดือนนี้ก็จะทำให้เด็กและเยาวชนในชุมชนของเราได้มาเรียนรู้การทำอาซูรอร่วมกับผู้สูงอายุ”
ที่ประชุมเห็นด้วย น.ส.อารีนี แวมุมิง เลขานุการของโครงการได้เสนอว่า “กิจกรรมที่ยังไม่ได้ดำเนินการ เช่น บรรยายธรรม ออกกำลังกาย เยี่ยมบ้าน และติดตาม ที่ต้องจัด 3 ครั้ง คิดว่าในส่วนของบรรยายธรรมสามารถจัดร่วมกันกับกิจกรรมพบปะของชุมชนสัปดาห์แรกของเดือนละทุก ๆ เดือนได้ไหม การออกกำลังกายก็จัดขึ้นอีก 2 สัปดาห์หลังจากกิจกรรมบรรยายธรรม และกิจกรรมที่เหลือก็สามารถจัดขึ้นในเดือนถัดไปได้เลยตามลำดับ หลังจากนี้ถ้าสามารถจัดกิจกรรมเดือนละ 2 – 3 ครั้งคิดว่าน่าจะทำได้ไหม” บัณฑิตอาสา ในนามตัวแทนผู้ใหญ่บ้าน กล่าวว่า “เห็นด้วยตามที่เลขาเสนอเพราะอย่างไรกิจกรรมบางอย่างของชุมชนก็สามารถทำร่วมกันได้โดยเฉพาะกิจกรรมการบรรยายธรรม และคิดว่าสามารถจัดกิจกรรมเดือนละ 2 - 3 ครั้งได้แต่หากวันไหนไม่สามารถจัดได้ทางโครงการก็สามารถเลื่อนไปได้ และยินดีที่จะนำเรื่องในที่ประชุมไปเสนอให้กับผู้ใหญ่รับทราบต่อไป” ทุกคนในที่ประชุมเห็นด้วย และยินดีทำตามข้อเสนอในที่ประชุม หัวหน้าโครงการ ปิดการประชุม

 

20 0

13. อบรมเชิงปฏิบัติการ การตระหนักรู้คุณค่าในตนเอง ผ่านกิจกรรม การถ่ายทอดภูมิปัญญา

วันที่ 18 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. แม่บ้าน เยาวชนได้เรียนรู้วิธีการทำขนมอาซูรอ
  2. ผู้สูงอายุ แม่บ้าน เยาวชนได้รู้คุณค่า และให้ความสำคัญกับการทำขนมอาซูรอมากขึ้น
  3. ผู้สูงอายุ แม่บ้าน เยาวชนเกิดความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างดำเนินกิจกรรมมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 18 สิงหาคม 2566 คณะทำงานชุมชนบ้านสุไหงปาแน จัดกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการ การตระหนักรู้คุณค่าในตนเอง ผ่านกิจกรรม การถ่ายทอดภูมิปัญญา “การทำขนมอาซูรอ” มีผู้เข้าร่วม จำนวน 40 คน ณ ลานกิจกรรมบ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี ภายใต้โครงการส่งเสริมการสร้างสุขภาวะกาย ใจ ของผู้สูงอายุ บ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ. เมือง จ.ปัตตานี มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 40 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้สูงอายุ เยาวชนได้รู้คุณค่า และให้ความสำคัญกับการทำขนมอาซูรอ และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างผู้สูงอายุกับเยาวชน ในกิจกรรมผู้สูงอายุ แม่บ้าน และตัวแทนเยาวชน ได้ช่วยกันจัดเตรียมวัตถุดิบการทำขนมอาซูรอ เช่น หัวหอม กระเทียม เกลือ ข้าวโพด กล้วย ฟักทอง มะพร้าวคั่ว น้ำกะทิ น้ำตาลแว่น ข้าวสาร และจำพวกเครื่องเทศต่าง ๆ เป็นต้น และวัตถุดิบบางอย่างผู้สูงอายุได้เอามาจากบ้านคนละกำสองกำ เช่น ขึง ข่า ตะไคร้ มะพร้าว เป็นต้น ทุกคนช่วยกันจัดเตรียมอุปกรณ์คนละไม้คนละมือจนได้ขนมอาซูรอ และนอกจากการทำขนมแล้ว นางซารีพะ อาบู ตัวแทนของผู้สูงอายุ ได้ให้ความรู้ ความสำคัญการทำขนมอาซูรอให้กับผู้เข้าร่วมว่า “การกวนขนมอาซูรอสืบเนื่องจากได้เกิดน้ำท่วมใหญ่ในสมัยนบี นุฮ (อล) ทำให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สิน ไร่นาของประชาชนและสาวกของนบีนุฮ (อล) และคนทั่วไปต้องอดอาหาร ท่านนบีนุฮ (อล) จึงประกาศให้ผู้ที่มีสิ่งของเหลือพอจะรับประทานได้ ให้เอามากองรวมกัน และให้เอาของเหล่านั้นมากวนเข้าด้วยกันเพื่อให้ทุกคนได้กิน จนทำให้ปัจจุบันการทำขนมอาซูรอเป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คำว่า “อาซูรอ” เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม การรวมกัน คือการนำสิ่งของที่รับประทานได้หลายสิ่งหลายอย่างมากวนรวมกัน มีทั้งชนิดคาวและหวาน การกวนข้าวอาซูรอจะใช้คนในหมู่บ้านมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อความสามัคคี และสร้างความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อันมีผลต่อการอยู่ร่วมกันของสังคมอย่างมีความสุข และก่อนที่จะแจกจ่ายให้รับประทานกัน ทางเจ้าภาพจะเชิญบุคคลที่นับถือของชุมชนขึ้นมากล่าวขอพร (ดูอา) ก่อนที่จะแจกให้ผู้คนในหมู่บ้านได้รับประทานกัน”

 

50 0

14. ออกกำลังการผ่านกิจกรรม “โยคะมุสลีมะห์เพื่อสุขภาพ” ครั้งที่ 1

วันที่ 25 สิงหาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้สูงอายุได้มีความรู้ ความเข้าใจในการออกกำลังกาย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรม การส่งเสริมสุขภาพด้านร่างกาย โดยการออกกำลังการผ่านกิจกรรม “โยคะมุสลีมะห์ และยางยืดเพื่อสุขภาพ” วันที่ 25 สิงหาคม 2566
ณ ศูนย์ฝึกอาชีพบ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี ............................................................................................... 08.00 – 09.00 น.  ลงทะเบียน พร้อมตรวจสุขภาพ 09.00 – 09.30 น. กิจกรรม “สูงวัยอารมณ์ดี”
โดย ทีมวิทยากรจาก ศวชต. ม.อ.ปัตตานี 09.30 – 09.45 น. กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรม
โดย นายอารีเปง มูหนะ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านสุไหงปาแน 09.45 – 12.00 น. การบรรยาย หัวข้อ การส่งเสริมสุขภาพด้านร่างกาย โดยการออกกำลังกาย ผ่านกิจกรรม “โยคะมุสลีมะห์เพื่อสุขภาพ”   โดย คุณแวกอรีเจาะห์ กามาลี
  นักวิจัย ภาคสนาม ศวชต. มอ.ปัตตานี

 

50 0

15. เพื่อนเยี่ยมเพื่อน ครั้งที่ 1

วันที่ 2 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลมีรอยยิ้ม มีความสุขที่มีลูกหลานมาเยี่ยมเยียนที่บ้าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมเพื่อนเยี่ยมเพื่อน วันที่ 2-3 กันยายน 2566 ณ ชุมชนบ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี รายละเอียดกิจกรรม คณะทำงานร่วมกับ กลุ่มอสม. และกลุ่มเยาวชน เยี่ยมเยียนผู้สูงอายุติดบ้าน และผู้ดูแลเพื่อให้กำลังใจผู้สูงอายุ และผู้ดูแลตามโซนที่คณะทำงานรับผิดชอบ โดยการลงพื้นที่จะมีการสอบถามในเรื่อง อาหารการกิน เรื่องสุขภาพ และสภาพจิตใจ เป็นต้น พร้อมมอบของเยี่ยมเป็นข้าวสารให้กับผู้สูงอายุ

 

20 0

16. ARE แผนงานร่วมทุน กับผู้รับทุน ครั้งที่ 1

วันที่ 25 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ผู้รับทุนได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความก้าวหน้า ปัญหาอุปสรรค และผลลัพธ์การดำเนินงานที่ผ่านมา ตลอดจนได้ร่วมกันวางแผนการดำเนินงานที่เหลือร่วมกับพี่เลี้ยงงาน
  2. ผู้รับทุนได้เรียนการการดำเนินงานของพื้นที่อื่น ๆ ร่วมถึงได้เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆที่พบเจอตลอดระยะเวลาในการดำเนินงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กำหนดการอบรม เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 1/2566               ในวันที่ 25 กันยายน 2566
ณ ห้องประชุมเพนดูล่า 3 โรงแรมปาร์ค อินทาวน์ อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ………………………………............................................................................... วันที่ 25 กันยายน 2566
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน 09.00 - 09.30 น.    เวทีเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยตัวแทนจากประเด็นกลุ่มย่อยของโครงการย่อย โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากร
                และนายมุคตาร วายา ผู้ช่วยวิทยากร 09.30 - 10.00 น.    พิธีเปิดการอบรม และชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดอบรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามผลลัพธ์โครงการย่อย ARE ครั้งที่ 1/2566
                โดยนายเศรษฐ์ อัลยุฟรี
                นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี (ประธานกรรมการบริหารแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่                 จังหวัดปัตตานี) กล่าวรายงาน โดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข 10.00 – 10.30 น. ช่วงที่ 1 ในหัวข้อ "ทบทวนการดำเนินงานแผนงานร่วมทุน"
                โดยนางสาวมาริสา เกียรติศักดิ์โสภณ ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข
                และนายมุคตาร วายา ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 10.30 – 10.40 น. รับประทานอาหารว่าง 10.40 – 12.00 น.    ช่วงที่ 2 “ประเมินผลการดำเนินงาน 3 มิติ”                 2.1 แบ่งกลุ่ม ตามโครงการย่อย เพื่อประเมินผลการดำเนินงานใน 3 มิติ
                ได้แก่ 1.กลไกการบริหารแผนงานร่วมทุน 2. กลไกพี่เลี้ยง 3. ผลลัพธ์โครงการย่อย                 2.2 นำเสนอผลการประเมินตนเองของโครงการย่อย (วงใหญ่ 40 นาที)                 โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากร และทีมผู้ช่วยวิทยากร
                  กลุ่มที่ 1 นายมุคตาร วายา
                  กลุ่มที่ 2 ผศ.สุวิมล นราองอาจ                   กลุ่มที่ 3 นางสาววรรณาพร บัวสุวรรณ                   กลุ่มที่ 4 นายไพจิตร บุญทอง                   กลุ่มที่ 5 นายอับดุลราซัค กุลตามา                   กลุ่มที่ 6 นางอรัญญา ฤทธิเดช                   กลุ่มที่ 7 นางสาววรรณี ชัยรัตนมโนกร                   กลุ่มที่ 8 นางสาวจุฬามณี รังสิเวค                   กลุ่มที่ 9 นางสาวคนึงนิจ มากชูชิต                 กลุ่มที่ 10 นายอานัติ หวังกุหลำ                 กลุ่มที่ 11 นางสาวเสาวลักษณ์ ศรเรือง                 กลุ่มที่ 12 นางไซนับ อาลี
                กลุ่มที่ 13 นายมุสตากีม ดอนิ                 กลุ่มที่ 14 นางสาวนุชรัตน์ นวลดี 12.00 – 13.00 น.    รับประทานอาหารเที่ยง 13.00 – 15.00 น.  ช่วงที่ 3 ประเด็นโครงการย่อยกับผลลัพธ์สุด WOW !!!               3.1 แบ่งกลุ่มตามโครงการย่อยเพื่อทบทวนการดำเนินงานในประเด็นดังนี้
                - ประเด็นการดำเนินงาน (จำนวน/พื้นที่/กลุ่มเป้าหมาย)                 - ผลลัพธ์ (Outcome) ในแต่ละประเด็น                 - ความคืบหน้าโครงการย่อยตามบันไดผลลัพธ์กลาง                 - สรุปปัจจัยสำคัญ เงื่อนไข ปัญหาอุปสรรค สิ่งที่ควรทำ สิ่งที่ไม่ ควรเกิดขึ้นพร้อมค้นหาความเสี่ยงต่อการล้มเหลว               ของโครงการย่อย และข้อเสนอแนะ           3.2 กิจกรรม World Café แลกเปลี่ยนวงใหญ่ (โครงละ 5 นาที)               โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากร และทีมผู้ช่วยวิทยากร
              กลุ่มที่ 1 นายมุคตาร วายา
              กลุ่มที่ 2 ผศ.สุวิมล นราองอาจ               กลุ่มที่ 3 นางสาววรรณาพร บัวสุวรรณ               กลุ่มที่ 4 นายไพจิตร บุญทอง               กลุ่มที่ 5 นายอับดุลราซัค กุลตามา               กลุ่มที่ 6 นางอรัญญา ฤทธิเดช               กลุ่มที่ 7 นางสาววรรณี ชัยรัตนมโนกร               กลุ่มที่ 8 นางสาวจุฬามณี รังสิเวค               กลุ่มที่ 9 นางสาวคนึงนิจ มากชูชิต               กลุ่มที่ 10 นายอานัติ หวังกุหลำ               กลุ่มที่ 11 นางสาวเสาวลักษณ์ ศรเรือง               กลุ่มที่ 12 นางไซนับ อาลี
              กลุ่มที่ 13 นายมุสตากีม ดอนิ               กลุ่มที่ 14 นางสาวนุชรัตน์ นวลดี 15.00 – 15.10 น.  รับประทานอาหารว่าง 15.10 - 17.20 น.  ช่วงที่ 4 ผู้เข้าร่วมอบรมร่วมแลกเปลี่ยนในวงใหญ่ และสรุปความเชื่อมโยง (กลไกการบริหารแผนงานร่วมทุน/กลไกพี่เลี้ยง/โครงการย่อย)
              โดยนางกัลยา เอี่ยวสกุล วิทยากร

 

0 0

17. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4

วันที่ 2 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานได้ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการเก็บข้อมูลหลังดำเนินโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และติดตามความ ก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม รวมถึงการร่วมกันให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน การแก้ไขปัญหาอุปสรรคและการปรับปรุงแผนการดำเนินงาน

 

20 0

18. เพื่อนเยี่ยมเพื่อน ครั้งที่ 2

วันที่ 7 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานได้มีการเยี่ยมเยียนให้กำลังใจผู้สูงอายุ และผู้ดูแลจำนวน 30 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 7-8 ตุลาคม 2566 คณะทำงาน ร่วมกับอสม. ได้ลงพื้นที่เยี่ยมเยียน ให้กำลังใจ ผู้สูงอายติดบ้าน ผู้สูงอายุ และผู้ดูแล โดยมีการตรวจวัดความดัน และสอบถามความความเป็นอยู่ทั้งของผู้สูงอายุ และคนในบ้าน

 

20 0

19. ศาสนบำบัดผ่านกิจกรรม “ฮาลาเกาะฮเพื่อสุขภาพ” ครั้งที่ 2

วันที่ 20 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถนำแนวทางการใช้ชีวิตของท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล.) มาปรับใช้ในชีวิตประวันของตนเองได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรม การส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจ โดยการใช้ศาสนบำบัดผ่านกิจกรรม “ฮาลาเกาะฮเพื่อสุขภาพ”  ครั้งที่ 2 เรื่อง เมาลิดนบี รำลึกถึงท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล.)
ภายใต้โครงการ ส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาวะกาย ใจ ของผู้สูงอายุ บ้านสุไหงปาแน
หมู่ 1 ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี วันที่ 20 ตุลาคม 2566
ณ มัสยิดอัลฮุสนา บ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี ...............................................................................................

07.00 – 08.00 น.       ลงทะเบียน พร้อมตรวจสุขภาพ 08.00 – 08.15 น. กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรม โดย นายอารีเปง มูหนะ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านสุไหงปาแน 08.15 – 11.15 น. การบรรยาย หัวข้อ “เมาลิดนบี รำลึกถึงท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล.)
                        นายฮาซัน เบ็ญต่วนกูรูฮัจยีอะหมัด ครูสอนศาสนาสถาบันปอเนาะบ้านดี โดยท่านวิทยากรได้เกรินนำถึงวันเมาลิดหรือวันรำลึกถึงท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล.) ในทุก ๆ รอบปีในปฏิทินจากทั่วโลกก็จะมีวันสำคัญต่าง ๆ ตามความเชื่อของกลุ่มชนนั้น ๆ ซึ่งในปฏิทินอิสลามหรือปฏิทินฮิจเราะห์ก็จะมีวันสำคัญต่าง ๆ ตามความเชื่อของชาวมุสลิมเช่นเดียวกัน ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดถึงวันสำคัญของพี่น้องชาวมุสลิม ที่เป็นวิถีปฏิบัติที่ถูกสืบทอดกันมายาวนานมาเล่าสู่กันฟัง และหนึ่งในวันสำคัญที่เราจะมาพูดถึงนั้นคือ “เมาว์ลิดนบี” เป็นวันแห่งการยกย่อง และเป็นวันเกิดของท่านนบีมูฮัมหมัด (ซ.ล.) คำว่า “เมาว์ลิด” เป็นภาษาอาหรับที่แปลว่า “เกิด ที่เกิด หรือวันเกิด” ซึ่งหมายถึง วันเกิดของท่านนบีมูฮัมหมัด (ซ.ล.) ตรงกับวันที่ 12 เดือนรอบิอุลเอาวัล หรือเดือนที่ 3 ตามปฏิทินอิสลาม ชาวมุสลิมสามารถเลือกวันใดวันหนึ่งในเดือน 3 จัดงานบุญเพื่อระลึกถึงท่านนบีมูฮัมหมัด (ซ.ล.) จากนั้นท่านวิทยากรได้เล่าถึงประวัติของท่านนบีมูฮัมหมัด (ซ.ล.) ว่า “ท่านนบีมีบิดาชื่อ อับดุลลอฮฺ ซึ่งเป็นบุตรของอับดุลมุฏฏอลิบ บุตรของฮาชิม บุตรของอับดุลมะนาฟ บุตรของกุศ็อย บุตรของกิลาบ มารดาของท่านชื่อ อามีเนาะฮฺ บุตรของวะฮับ บุตรของอับดุลมะนาฟ บุตรของชุรอฮฺ บุตรของกิลาบ บิดาและมารดาของท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล.) เป็นต้นตระกูลเดียวกัน หรือเผ่าเดียวกัน คือ เผ่ากุเรช บิดาของท่านเสียชีวิตในขณะท่านอยู่ในครรภ์มารดา และต่อมามารดาของท่านก็เสียชีวิตอีก ในขณะที่ท่านมีอายุได้ 6 ปี ท่านศาสดาจึงได้ไปอยู่กับปู่ชื่อ อับดุลมุฏฏอลิบ เมื่อยังเป็นเด็กท่านเคยทำงานโดยมีอาชีพรับจ้างเลี้ยงแกะ และได้เคยติดตามลุงไปค้าขายยังประเทศซีเรีย 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ไปเมื่ออายุ 12 ปี และ ครั้งที่ 2 ไปเมื่ออายุ 25 ปี ในขณะที่ท่านมีอายุ 25 ปีนั้น ท่านไปทำงานอยู่กับท่านหญิงคอดีญะฮฺ ซึ่งเป็นเจ้าของกิจการค้าในนครมักกะฮฺด้วย ความซื่อสัตย์สุจริต มีไมตรี และมิตรภาพ ท่านนบีผู้ที่เป็นพ่อค้าที่ซื่อสัตย์ ขณะที่ท่านนบีอายุ 25 ปี ท่านทำการค้าขาย โด่งดังในเรื่องความสัจจริง และมีอมานะห์ ท่านหญิงคอดียะห์ได้ยินเรื่องดังกล่าว นางจึงได้เสนอตัวต่อท่านนบีที่จะให้ท่านนบีเข้ามาในการค้าขายของนาง ท่านรอซูลตอบตกลง และออกไปกับคนรับใช้ที่สนิทของท่านหญิง ที่ชื่อมัยซาเราะห์ที่ทำงานกับท่านหญิงคอดียะห์ เมื่อท่านรอซูล กลับไปที่มักกะห์ ท่านได้กำไรจากการค้าขายมากมาย และในระหว่างทางกลับ ได้มีก้อนเมฆที่อยู่บนท้องฟ้า ได้ให้ร่มเงาแก่ท่านนบีมูฮัมหมัด ปกป้องท่านจากความร้อนของดวงอาทิตย์ มัยซาเราะห์จึงได้กลับไปหา และเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้กับท่านหญิงคอดียะห์ฟัง ด้านความยุติธรรมของท่านร่อซูล พวกชาวกุเรชได้รวมตัวกัน เพื่อกลับมาบูรณะกะอฺบะฮฺใหม่ และในระหว่างที่บูรณะกัน ชาวกุเรชได้ขัดแย้งกันในเรื่องที่ใครจะเป็นผู้ที่วางหินดำ เพราะผู้ที่วางหินดำในกะอฺบะฮฺเป็นผู้ที่มีเกียรติ และการขัดแย้งเกือบจะกลายเป็นสงคราม พวกเขาจึงกล่าวว่า : “เราจะให้ผู้ที่เข้ามาหาพวกเราเป็นคนแรกตัดสิน”และท่านร่อซูลก็เข้ามา และพวกเขาก็เสนอเรื่องดังกล่าวแก่ท่านนบี ท่านนบีกล่าวกับพวกเขาว่า : “จงวางหินไว้บนผ้า และหัวหน้าเผ่าทุก ๆ คนจับปลายผ้า” จนกระทั่งวางก้อนหินในกะอฺบะฮฺ และพวกเขาก็ทำ หลังจากนั้นท่านร่อซูล ก็วางหินดำไว้ในที่ของมัน ด้วยตัวของท่านเองในกะอฺบะฮฺ และดังกล่าวเป็นการเสร็จสิ้นการขัดแย้งและความชั่วร้าย
11.15 น. ประเมินการอบรมโดยคณะทำงาน

 

50 0

20. ออกกำลังกายด้วย “โยคะมุสลีมะห์ และยางยืดเพื่อสุขภาพ” ครั้งที่ 2

วันที่ 20 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจการออกกำลังกายที่เหมาะสมของผู้สูงอายุ
  2. ผู้สูงอายุสามารถนำรูปแบบการออกกำลังกายไปปรับใช้การออกกำลังกายที่บ้านได้อย่างเหมาะสม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรม การส่งเสริมสุขภาพด้านร่างกาย ด้านการออกกำลังกาย “โยคะมุสลีมะห์ และยางยืดเพื่อสุขภาพ” วันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม 2566 ณ ศูนย์ฝึกอาชีพบ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี

08.00 – 09.00 น.    ลงทะเบียน พร้อมตรวจสุขภาพ
คณะทำงาน และตัวแทน อสม. ได้มีการตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้กับผู้สูงอายุ ประกอบด้วย การตรวจวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว
09.00 – 09.30 น.  กิจกรรม “สูงวัยอารมณ์ดี”
โดย ทีมวิทยากรจาก ศวชต. ม.อ.ปัตตานี 09.30 – 10.00 น. กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรม     โดย นายอารีเปง มูหนะ ผู้ใหญ่บ้าน บ้านสุไหงปาแน เนื่องจากผู้ใหญ่บ้านติดภาระกิจ ทางคณะทำงานได้เชิญตัวแทนผู้สูงอายุได้กล่าวต้อนรับ และเปิดงานก่อนเริ่มกิจกรรม 10.00 – 12.00 น. การบรรยาย หัวข้อ การส่งเสริมสุขภาพด้านร่างกาย ด้วยการออกกำลังกาย “โยคะมุสลีมะห์ และยางยืดเพื่อสุขภาพ”     โดย คุณอาภรณ์ เจะอุบง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ และและทีมผู้ช่วยวิทยากรจากศูนย์แพทย์แผนไทย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบานา มาบรรยายให้ความรู้เรื่อง การออกกำลังกายด้วย “ยางยืด” เป็นการออกกำลังกายที่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย ซึ่งมีท่าบริหารจำนวน 5 ท่าที่สามารถให้ประโยชน์กับทุกส่วนของร่างกายเช่นเดียวกัน โดยในเวทีทางวิทยาการได้สอนท่าบริหารพร้อมกับให้ผู้สูงอายุได้ปฏิบัติร่วมกันทุกขั้นตอนเพื่อให้ผู้สูงอายุได้นำไปปรับใช้ในการออกกำลังกายที่บ้านได้

 

50 0

21. ค่าตรายางหมึกในตัว

วันที่ 24 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ตรายางหมึกในตัวจำนวน 1 ชุด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ค่าตรายางชื่อโครงการ และรหัสโครงการหมึกในตัว

 

0 0

22. ARE ครั้งที่ 1 ร่วมกับพี่เลี้ยง

วันที่ 29 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

บันไดขั้นที่ 1 ตัวชี้วัดข้อที่ 2 ยังไม่ได้มีการวิเคราะห์ข้อมูล อยู่ในระดับ 70 % ในส่วนของบันไดขั้นที่ 2 และบันไดขั้นที่ 3 ยังอยู่ในช่วงของการดำเนินกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 29 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00 - 12.00 น. คณะทำงานได้ ARE ร่วมกับพี่เลี้ยง นายอานัติ หวังกุหลำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานตามบันไดผลลัพธ์
รายละเอียดการดำเนินกิจกรรม หัวหน้าโครงการได้นำเสนอกิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้วพร้อมกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นตามบันได จากนั้นพี่เลี้ยงได้มีการทบทวนบันไดผลลัพธ์
และได้มีการตรวจสอบเอกสารการเงิน

 

15 0

23. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีรูปแบบกิจกรรมในการดำเนินเวทีคืนข้อมูลของโครงการ
  2. คณะทำงานมีบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน
  3. คณะทำงานได้รับทราบบันไดผลลัพธ์ของโครงการ ความคืบหน้าของรายงาน และรับทราบรายละเอียดการเงินของโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 2 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 – 12.30 น. จัดกิจกรรม ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5 มีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นคณะทำงาน 10 คน ณ ห้องศูนย์ฝึกอาชีพบ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนและออกแบบกิจกรรมเวทีคืนข้อมูล และติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรม รายละเอียดกิจกรรม หัวหน้าโครงการได้มีการพูดคุยถึงการจัดกิจกรรมครั้งต่อไปในวันที่ 22 ธันวาคม 2566 เป็นกิจกรรมเวทีคืนข้อมูล ซึ่งจะใช้งบประมาณ 10,000 บาท ในวันกิจกรรมต้องเชิญ ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อบต. และรพ.สต. เข้าร่วมในวันเวทีด้วย โดยในเวทีจะมีการคืนข้อมูลที่ได้ดำเนินการตลอดทั้งโครงการ และเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ในเรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผู้สูงอายุ อีกทั้งในเวทีจะมีการมอบประกาศนียบัตรให้กับกลุ่มเป้าหมายจำนวน 10 คน โดยมีเกณฑ์ดังนี้ 1. ผู้สูงอายที่เข้าร่วมกิจกรรมครบ 2. ผู้สูงอายุที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3. ผู้สูงอายุที่มีความสุข และสุขภาพดี
จากนั้นได้มีการทบทวนบันไดผลลัพธ์ของโครงการ รายงานความก้าวหน้าของโครงการ รายงานการเงินให้คณะการเงินรับทราบ และมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน

 

20 0

24. ศาสนบำบัดผ่านกิจกรรม “ฮาลาเกาะฮเพื่อสุขภาพ” ครั้งที่ 3

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้สูงอายุ และผู้ดูแลมีความรู้ ความเข้าใจ ในการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาอิสลาม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรม การส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจ โดยการใช้ศาสนบำบัดผ่านกิจกรรม “ฮาลาเกาะฮเพื่อสุขภาพ” ณ มัสยิดอัลฮุสนา บ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี ......................................................................... ชุมชนบ้านสุไหงปาแน ภายใต้โครงการส่งเสริมการสร้างสุขภาวะกาย ใจ ของผู้สูงอายุ บ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ. เมือง จ.ปัตตานี จัดกิจกรรม การส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจ โดยการใช้ศาสนบำบัดผ่านกิจกรรม “ฮาลาเกาะฮเพื่อสุขภาพ” มีผู้เข้าร่วม จำนวน 40 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจการปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาอิสลาม ในกิจกรรมมีการตรวจวัดความดันโลหิตให้กับผู้สูงอายุ และได้เชิญ นายอับดุลเลาะ ตาเละ ตำแหน่ง บิหลั่นประจำมัสยิดอัลฮูสนา บ้านสุไหงปาแน หมู่ที่ 1 ต.บานา จ.ปัตตานี มาบรรยายธรรมให้ความรู้ เรื่อง “การปฏิบัติศาสนกิจตามหลักศาสนาอิสลาม” ท่านบิหลั่นได้ให้ความรู้ ในเรื่องหลักปฏิบัติ 5 ประการของศาสนาอิสลาม “ในการดำเนินชีวิตซึ่งประกอบด้วย 1) การปฏิญาณตน คือ การแสดงความจงรักภักดีต่อพระเจ้าองค์เดียว 2) การละหมาด คือ การแสดงความเคารพ 3) การถือศีลอด คือ การเรียนรู้ความอดกลั้นต่อความลำบากในเดือนรอมฎอน 4) การบริจาคซะกาต คือ การเสียสละทรัพย์สินส่วนหนึ่งให้กับผู้ที่มีผู้ญาติไร้ และ 5) การประกอบพิธีฮัจญ์ คือ การเดินทางไปจาริกแสวงบุญที่นครเมกกะห์ เพราะการที่พี่น้องมุสลิมทุกคนทำตามหลักปฏิบัติในศาสนาอิสลามที่ดี และครบถ้วนสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องช่วยยึดเหนี่ยวจิตใจความเป็นมุสลิมที่ดี และเป็นเครื่องเพิ่มพูนอีมานที่เข้มแข็งให้กับตนในการดำเนินชีวิตอีกด้วย”

 

50 0

25. เพื่อนเยี่ยมเพื่อน ครั้งที่ 3

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2566 เวลา 10:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะทำงานได้มีการเยี่ยมเยียน ให้กำลังผู้สูงอายุ และผู้แลทั้ง 30 ครอบครัว
  2. ผู้สูงอายุมีความสุข และดีใจที่มีลูกหลานในชุมชนมาเยี่ยมเยียนให้กำลังใจถึงบ้าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 4 - 5 พฤศจิกายน 2566 คณะทำงาน ร่วมกับอสม. ได้ลงพื้นที่เยี่ยมเยียน ให้กำลังใจ ผู้สูงอายที่เข้าร่วมโครงการ และผู้ดูแล โดยมีการตรวจวัดความดันรวมถึงการประเมิน สอบถามความเป็นอยู่ สุขภาพจิต สุขภาพใจ ของผู้สูงอายุ และคนในบ้าน

 

20 0

26. ออกกำลังการผ่านกิจกรรม “โยคะมุสลีมะห์เพื่อสุขภาพ” ครั้งที่ 3

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 เวลา 08:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนักในการออกกำลังกายที่เหมาะสมตามช่วงวัย และสามารถนำรูปแบบการออกกำลังกายไปปรับใช้ในออกกำลังกายในชีวิตประจำวันได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรม การส่งเสริมสุขภาพด้านร่างกาย โดยการออกกำลังกายผ่านกิจกรรม “โยคะมุสลีมะห์ และยางยืดเพื่อสุขภาพ” วันศุกร์ที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ณ ศูนย์ฝึกอาชีพบ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี ............................................................................................... 08.00 – 09.00 น.       ลงทะเบียน พร้อมตรวจสุขภาพ โดยทีมอสม. และคณะทำงาน  ประกอบด้วย การตรวจวัดความดันโลหิต วัดรอบเอว และชั่งน้ำหนัก ให้กับผู้สูงอายุ
09.00 – 10.00 น. กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรม โดยตัวแทนผู้สูงอายุมากล่าวเปิดงาน และให้กำลังใจกลุ่มผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการ 10.00 – 12.00 น. คณะทำงาน ตัวแทนผู้สูงอายุ และคณะทำงานจาก อบต.บานา ร่วมกันออกกำลังกายรูปแบบที่ 1  “โยคะมุสลีมะห์เพื่อสุขภาพ” เป็นการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุเพื่อลดปัญหาของมวลกล้ามเนื้อที่เริ่มลดน้อยลงตามวัย ด้วยการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมด้วยกระบวนการฝึกโยคะมุสลีมะห์เป็นการนำท่าละหมาดมาปรับใช้ใช้ในการออกกำลังกาย ซึ่งมีท่าบริหาร จำนวน 9 ท่า ประกอบด้วย ท่าที่ 1 ท่าเขย่งเท้า ท่าที่ 2 ท่าตักบีร ท่าที่ 3 ท่ารอเกาะ ท่าที่ 4 ท่าตะห์ยัดอาวัล ท่าที่ 5 ท่าตะห์ยัตอาคีร 2 ข้าง ท่าที่ 6 ท่านักเลง ท่าที่ 7 ท่าสร้างสมดุล ท่าที่ 8 ยืดกล้ามเนื้อข้าง และท่าที่ 9 ท่าปลดปล่อยโรค ซึ่งแต่ละท่ากายบริหารจะให้ประโยชน์กับร่างกายที่แตกต่างกันไป และต่อด้วยรูปแบบที่ 2 การออกกำลังกายด้วย “ยางยืด” เป็นการออกกำลังกายที่ต้องใช้อุปกรณ์ช่วย ซึ่งมีท่าบริหาร จำนวน 5 ท่าที่สามารถให้ประโยชน์กับทุกส่วนของร่างกายเช่นเดียวกัน โดยในเวทีทางวิทยาการได้สอนท่าบริหารพร้อมกับให้ผู้สูงอายุได้ปฏิบัติร่วมกันทุกขั้นตอนเพื่อให้ผู้สูงอายุได้นำไปปรับใช้ในการออกกำลังกายที่บ้านได้

 

50 0

27. เก็บข้อมูลผู้สูงอายุ (หลังดำเนินโครงการ)

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะทำงานมีความรู้ ความเข้าใจแบบสอบถามหลังดำเนินโครงการ
  2. คณะทำงานได้เก็บข้อมูลผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 คน
  3. มีข้อมูลของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลังจากเข้าร่วมโครงการ ดังนี้
    1) กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน แบ่งเป็น ผู้หญิง 27 คน ผู้ชาย 3 คน 2) โรคประจำตัว ร้อยละ 57 มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคเก๊าท์ โรคเบาหวาน โรคไต เป็นต้น และผู้สูงอายุ ร้อยละ 43 ไม่มีโรคประจำตัว 3) การเข้าร่วมอบรมให้ความรู้ของโครงการ ก่อนเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 ไม่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพ และการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย หลังเข้าร่วม ร้อยละ 90 มีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพ การออกกำลังกายด้วยโยคะมุสลีมะห์ และยางยืด และการเตรียมตัวเข้าสู่สังคมสูงวัย 4) การส่งเสริมสุขภาพกาย ใจ ร้อยละ 90 เข้าร่วมฟังบรรยายธรรม (ฮาลาเกาะเพื่อสุขภาพ) ทุกวันศุกร์ของเดือน 5) การออกกำลังกายแบบรวมกลุ่ม ร้อยละ 90 มีการเข้าร่วมออกกำลังด้วยโยคะมุสลีมะห์ และยางยืดทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรม และออกกำลังกายที่บ้าน ร้อยละ 80 มีการออกกำลังกายด้วยโยคะมุสลีมะห์ ยางยืด เดิน เบาๆ ที่บ้าน วิ่งไปมา เดินบนกะลา เล่นยาง เป็นต้น 6) พฤติกรรมการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวัน บริโภคผักและผลไม้ ร้อยละ 93.33 ทานทุกวัน ทานเป็นบางวัน และ รสชาติที่ทานเป็นประจำ ร้อยละ 20 ทานรสชาติจืด 7) ความเครียดในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 40 ไม่มีความเครียด และร้อยละ 56.67 เครียดเป็นบางเรื่อง มีการจัดการความเครียดคือ อ่านอัลกรุอาน ละหมาด ทำงาน ออกกำลังกาย หาอะไรทำ ปล่อยวาง และ 8) ความสุขในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 90 มีความสุขในทุกวัน เพราะ ได้พบปะกัน ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง มีลูกเป็นแรงจูงใจ ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ลูกมีงานทำ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 27 - 30 พฤศจิกายน 2566 ศวชต. ร่วมกับชุมชนบ้านสุไหงปาแน ภายใต้โครงการส่งเสริมการสร้างสุขภาวะกาย ใจ ของผู้สูงอายุ บ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ. เมือง จ.ปัตตานี จัดกิจกรรม สำรวจข้อมูลหลังดำเนินโครงการ จำนวน 30 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลังดำเนินโครงการ รายละเอียดการดำเนินกิจกรรม คณะทำงานได้มีการประชุมเพื่อทำความเข้าใจแบบสอบถามที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ก่อนที่จะแบ่งแบบสอบถามให้กับคณะทำงานแต่ละคนไปเก็บตามโซนของตัวเองโดยใช้ระยะเวลาในการเก็บ 1 สัปดาห์ และนัดรวบรวมแบบสอบถามในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2566 เพื่อส่งให้หัวหน้าโครงการได้ทำการบันทึกและวิเคราะห์ในลำดับต่อไป

 

20 0

28. ARE ครั้งที่ 2 ร่วมกับพี่เลี้ยง

วันที่ 4 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

บันไดผลลัพธ์ของโครงการในช่วงเดือนที่ 9 กำลังอยู่ในช่วงขั้นที่ 4 ที่ต้องนำข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายที่เก็บหลังจากดำเนินโครงการมาวิเคราะห์เพื่อตอบผลลัพธ์ขั้นที่ 4 อย่างสมบูรณ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 5 ธันวาคม 2566 เวลา 09.00 - 12.00 น. ได้กิจกรรม ARE ร่วมกับพี่เลี้ยง นายอานัติ หวังกุหลำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของโครงการตามบันไดผลลัพธ์ของโครงการ มีคณะทำงานเข้าร่วม 10 คน รายละเอียดกิจกรรม หัวหน้าโครงการได้นำเสนอกิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้ว โดยนำเสนอรูปแบบ PowerPoint พร้อมกับนำเสนอผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแต่ละขั้นเพื่อตอบตัวชี้วัดที่วางไว้ให้กับพี่เลี้ยง จากนั้นพี่เลี้ยงได้มีการทบทวนบันไดผลลัพธ์ และดูเอกสารการเงินของโครงการ

 

15 0

29. ติดตาม ประเมินการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาวะของผู้สูงอายุ

วันที่ 22 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีผู้สูงอายุที่ได้รับรางวัล “ผู้สูงอายุสุขภาพดี” จำนวน 7 รางวัล และ "ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง" จำนวน 10 คน
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับรู้ และรับทราบผลการดำเนินงานของโครงการ
  3. ผู้สูงอายุมีความสุข และสุขภาพดี  จำนวน 27 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรม ติดตาม สรุป และประเมินการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาวะของผู้สูงอายุ ภายใต้โครงการ ส่งเสริมการสร้างเสริมสุขภาวะกาย ใจ ของผู้สูงอายุ บ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี วันศุกร์ที่ 22 ธันวาคม 2566 ณ ศูนย์ฝึกอาชีพบ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี................................................................................................................................................................. กิจกรรมเริ่มเวลา 08.00 – 09.30 น. คณะทำงานได้มีการลงทะเบียน และพร้อมกันตรวจสุขภาพ วันความดัน วัดรอบเอว ชั่งน้ำหนัก ให้กับผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เวลา 09.30 – 09.45 น.  เจ้าหน้าที่ ศวชต. มอ.ปัตตานี ได้ทำกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้สูงอายุก่อนเริ่มกิจกรรม เวลา 09.45 – 10.00 น. นายนูรดีน สะอิ ผู้ช่วยผู้ใหญ่ ได้กล่าวเปิดงาน พูดคุยให้กำลังใจ และกล่าว ชื่นชมผู้สูงอายุทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และกล่าวดุอาเปิดกิจกรรมเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน เวลา 10.00 – 11.30 น. น.ส.ซารีปะห์ มาลายา หัวหน้าโครงการ ได้รายงานผลการดำเนินกิจกรรมตลอดระยะเวลา 8 เดือน พร้อมสรุปผลการจากการเก็บข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายที่มีการเปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินการ ดังนี้
1) มีคณะทำงานจำนวน 15 คน ประกอบด้วย อสม. บัณฑิตอาสา ตัวแทนผู้สูงอายุ ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการมัสยิด และมีที่ปรึกษา จาก เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ผู้ใหญ่บ้าน และทีมงานศวชต.
มีข้อตกลงร่วมกันในการดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 4 ข้อ ประกอบด้วย
1.1) มีการพบปะกันเดือนละ 1 ครั้ง
1.2) เข้าร่วมฟังบรรยายธรรมทุก ๆ วันศุกร์แรกของของเดือน
1.3) มีการออกกำลังกายด้วย โยคะมุสลีมะห์ และยางยืด เพื่อสุขภาพร่วมกัน 2 เดือนครั้ง และต่างคนต่างออกกำลังกายที่บ้าน
1.4) คณะทำงานผู้สูงอายุลงเยี่ยมเยียนบ้านผู้สูงอายุ 3 เดือนครั้ง 2) มีข้อมูลสถานการณ์ของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมายก่อนและหลังดำเนินโครงการ ดังนี้
1) กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน แบ่งเป็น ผู้หญิง 27 คน ผู้ชาย 3 คน 2) โรคประจำตัว ร้อยละ 57 มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคเก๊าท์ โรคเบาหวาน โรคไต เป็นต้น และผู้สูงอายุ ร้อยละ 43 ไม่มีโรคประจำตัว 3) การเข้าร่วมอบรมให้ความรู้ของโครงการ ก่อนเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 ไม่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพ และการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย หลังเข้าร่วม ร้อยละ 90 มีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพ การออกกำลังกายด้วยโยคะมุสลีมะห์ และยางยืด และการเตรียมตัวเข้าสู่สังคมสูงวัย 4) การส่งเสริมสุขภาพกาย ใจ ร้อยละ 90 เข้าร่วมฟังบรรยายธรรม (ฮาลาเกาะเพื่อสุขภาพ) ทุกวันศุกร์ของเดือน 5) การออกกำลังกายแบบรวมกลุ่ม ร้อยละ 90 มีการเข้าร่วมออกกำลังด้วยโยคะมุสลีมะห์ และยางยืดทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรม และออกกำลังกายที่บ้าน ร้อยละ 80 มีการออกกำลังกายด้วยโยคะมุสลีมะห์ ยางยืด เดิน เบาๆ ที่บ้าน วิ่งไปมา เดินบนกะลา เล่นยาง เป็นต้น  6) พฤติกรรมการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวัน บริโภคผักและผลไม้ ร้อยละ 93.33 ทานทุกวัน ทานเป็นบางวัน และ รสชาติที่ทานเป็นประจำ ร้อยละ 20 ทานรสชาติจืด 7) ความเครียดในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 40 ไม่มีความเครียด และร้อยละ 56.67 เครียดเป็นบางเรื่อง มีการจัดการความเครียดคือ อ่านอัลกรุอาน ละหมาด ทำงาน ออกกำลังกาย หาอะไรทำ ปล่อยวาง และ 8) ความสุขในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 90 มีความสุขในทุกวัน เพราะ ได้พบปะกัน ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง มีลูกเป็นแรงจูงใจ ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ลูกมีงานทำ จากนั้นได้หัวหน้าโครงการ ได้มีเวลาในการให้ผู้สูงอายุได้แลกเปลี่ยนร่วมกันก่อนที่จะเชิญ น.ส.ซารีปะห์ มาลายา นักพัฒนาชุมชนชำนาญการ จากอบต.บานามาให้ความรู้เรื่องสิทธิประโยชน์ที่ควรรู้ในผู้สูงอายุ และคนพิการ
เวลา 11.30 - 12.30 น.  คณะทำงานได้มีการประกาศรางวัลผู้สูงอายุสุขภาพดี และผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมกับโครงการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ที่ได้รับรางวัล “ผู้สูงอายุสุขภาพดี” จำนวน 7 รางวัล โดยใช้เกณฑ์ ความดันลด รอบเอวลด น้ำหนักลด และเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และสำหรับรางวัล "ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง" จำนวน 10 คน พร้อมกับมอบของรางวัลให้กับทุกคน พร้อมกับทางอบต.ได้พูดถึงความต่อเนื่องของการดำเนินกิจกรรมที่จะให้ทางทีม อสม. ของบจาก สปสช. เพื่อนำงบมาขับเคลื่อนกิจกรรมการออกำลังกายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่เชิญสมาชิกอบต.มากล่าวให้กำลังใจและกล่าวปิดโครงการ

 

30 0

30. ค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์

วันที่ 25 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ จำนวน 1 เล่ม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ของโครงการ

 

0 0

31. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6

วันที่ 25 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. คณะทำงานได้รับทราบข้อมูลการดำเนินงานของโครงการตลอดระยเวลา 10 เดือน
  2. นักพัฒนาชุมชนอบต.บานา มีการต่อยอดกิจกรรมการออกกำลังกายในรูปแบบโยคะมุสลีมะห์ และยางยืด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 25 ธันวาคม 2566 เวลา 09.00 – 13.30 น. จัดกิจกรรม ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 6 มีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นคณะทำงาน 10 คน ณ ห้องศูนย์ฝึกอาชีพบ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปผลการดำเนินงานและจัดทำรายงานส่งแก่อบจ. รายละเอียดกิจกรรม : หัวหน้าโครงการได้ชี้แจงวัตถุประสงค์การเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ จากนั้นได้สรุปการดำเนินงานของโครงการเป็นไปตามแผนตั้งแต่ การประชุมร่วมคณะทำงาน สำรวจข้อมูลก่อนและหลังดำเนินโครงการ วางแผนออกแบบกิจกรรมร่วมกัน อบรมให้ความรู้ ออกกำลังกายร่วมกัน มีการฮาลาเกาะ เพื่อนเยี่ยมเพื่อน และเวทีคืนข้อมูล คือ กลุ่ม 1) กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน แบ่งเป็น ผู้หญิง 27 คน ผู้ชาย 3 คน 2) โรคประจำตัว ร้อยละ 57 มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคเก๊าท์ โรคเบาหวาน โรคไต เป็นต้น และผู้สูงอายุ ร้อยละ 43 ไม่มีโรคประจำตัว 3) การเข้าร่วมอบรมให้ความรู้ของโครงการ ก่อนเข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 ไม่มีความรู้ในการดูแลสุขภาพ และการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมสูงวัย หลังเข้าร่วม ร้อยละ 90 มีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพ การออกกำลังกายด้วยโยคะมุสลีมะห์ และยางยืด และการเตรียมตัวเข้าสู่สังคมสูงวัย 4) การส่งเสริมสุขภาพกาย ใจ ร้อยละ 90 เข้าร่วมฟังบรรยายธรรม (ฮาลาเกาะเพื่อสุขภาพ) ทุกวันศุกร์ของเดือน 5) การออกกำลังกายแบบรวมกลุ่ม ร้อยละ 90 มีการเข้าร่วมออกกำลังด้วยโยคะมุสลีมะห์ และยางยืดทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรม และออกกำลังกายที่บ้าน ร้อยละ 80 มีการออกกำลังกายด้วยโยคะมุสลีมะห์ ยางยืด เดิน เบาๆ ที่บ้าน วิ่งไปมา เดินบนกะลา เล่นยาง เป็นต้น 6) พฤติกรรมการบริโภคอาหารในชีวิตประจำวัน บริโภคผักและผลไม้ ร้อยละ 93.33 ทานทุกวัน ทานเป็นบางวัน และ รสชาติที่ทานเป็นประจำ ร้อยละ 20 ทานรสชาติจืด 7) ความเครียดในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 40 ไม่มีความเครียด และร้อยละ 56.67 เครียดเป็นบางเรื่อง มีการจัดการความเครียดคือ อ่านอัลกรุอาน ละหมาด ทำงาน ออกกำลังกาย หาอะไรทำ ปล่อยวาง และ 8) ความสุขในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 90 มีความสุขในทุกวัน เพราะ ได้พบปะกัน ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง มีลูกเป็นแรงจูงใจ ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ลูกมีงานทำ
แนวทางความยั่งยืนของโครงการ โดยนักพัฒนาชุมชนของอบต.บานาในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการ ยินดีที่จะต่อยอดกิจกรรมของผู้สูงอายุในกิจกรรมการออกกำลังกายด้วยโยคะมุสลีมะห์ และยางยืด โดยจะเขียนโครงการของบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) ซึ่งจะให้ทีมอสม.เป็นผู้ดำเนินการ

 

20 0

32. ARE ครั้งที่ 3 ร่วมกับพี่เลี้ยง

วันที่ 29 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ความก้าวหน้าผลลัพธ์อยู่ในบันไดขั้นที่ 1 ถึงขั้นที่ 4 ร้อยละของความก้าวหน้า 100

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 29 ธันวาคม 2566 เวลา 09.00 - 12.00 น. ได้กิจกรรม ARE ร่วมกับพี่เลี้ยง นายอานัติ หวังกุหลำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นของโครงการตามบันไดผลลัพธ์ของโครงการ มีคณะทำงานเข้าร่วม 10 คน รายละเอียดกิจกรรม หัวหน้าโครงการได้นำเสนอกิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้ว โดยนำเสนอรูปแบบ PowerPoint พร้อมกับนำเสนอผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแต่ละขั้นเพื่อตอบตัวชี้วัดที่วางไว้ให้กับพี่เลี้ยง จากนั้นพี่เลี้ยงได้มีการทบทวนบันไดผลลัพธ์ และดูเอกสารการเงินของโครงการ

 

15 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 36 32                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 96,150.00 94,005.00                  
คุณภาพกิจกรรม 128                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
น.ส.ซารีปะห์ มาลายา
ผู้รับผิดชอบโครงการ