directions_run

โครงการส่งเสริมสร้างสุขภาวะกาย ใจ ของผู้สูงอายุ บ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ. เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้มีคณะทำงานในการดูแลผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมชุมชนบ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี
ตัวชี้วัด : 1.1 มีข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุด้าน สุขภาวะกาย ใจ จำนวน 1 ชุด 1.2 มีโครงสร้างการทำงานประเด็นผู้สูงอายุการขับเคลื่อนงานอย่างชัด จำนวน 10 คน ประกอบด้วย ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจากกลุ่มอสม. คณะกรรมการมัสยิด กลุ่มผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และกลุ่มเยาวชน ในการร่วมขับเคลื่อนการดูแลสุขภาวะผู้สูงอายุ 1.3 มีข้อมูลผู้สูงอายุที่ถูกต้อง ครบถ้วนร้อยละ 80 นำไปสู่การให้ความช่วยเหลือ และส่งต่อให้กับหน่วยงานที่เกี่ยว
10.00 15.00
  1. มีข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุด้านสุขภาพ กาย ใจ จำนวน 1 ชุด ที่ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่หมู่ 1 ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปในปีพ.ศ. 2565 เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน
  2. เกิดคณะทำงานในการขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุ จำนวน 15 คน ประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) บัณฑิตอาสาหมู่บ้านคณะกรรมการมัสยิด ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และตัวแทนเยาวชน
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาวะกาย ใจ ที่ดีขึ้น
ตัวชี้วัด : 2.1 ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และทักษะในการดูแลสุขภาวะทางกาย ใจ 2.2 มีพื้นที่ในการทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพร่วมกันในชุมชนอย่างน้อย 1 แห่ง 2.3 ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพแข็งแรง และมีความสุขเพิ่มขึ้นหลังจากเข้าร่วมโครงการ
25.00 27.00
  • ผู้สูงอายุ 27 คน คิดเป็นร้อยละ 90 ของผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเป้าหมายมีสุขภาพแข็งแรง และมีความสุขเพิ่มขึ้นที่ได้พบปะทำกิจกรรมร่วมกัน ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง มีลูกเป็นแรงจูงใจ ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ลูกมีงานทำ

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา เยาวชน ผู้ด 30 70
ผู้สูงอายุ (ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป) 30 30

บทคัดย่อ*

โครงการส่งเสริมการสร้างสุขภาวะกาย ใจ ของผู้สูงอายุ บ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี รหัสโครงการ 65-P1-0068-030 มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้มีคณะทำงานในการดูแลผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมชุมชนบ้านสุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี และ 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาวะกาย ใจ ที่ดีขึ้น มีระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2566 - 29 กุมภาพันธ์ 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 96,150 บาท ด้วยทีมผู้นำชุมชนบ้านสุไหงปาแนในการดำเนินโครงการฯ ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานในการดำเนินกิจกรรมในโครงการ ภายใต้กลุ่มเป้าหมายประกอบหลักเป็นผู้สูงอายุ 30 คน และผู้ดูแล 30 คน รวมทั้งหมด 60 คน โดยมีกิจกรรมในการดำเนินงาน 10 กิจกรรม มีผลลัพธ์ในการกิจกรรม ดังนี้ 1) เกิดคณะทำงานในการขับเคลื่อนงานผู้สูงอายุในพื้นที่ จำนวน 15 คน ประกอบด้วย อสม. 5 คน บัณฑิตอาสา 1 คน ตัวแทนผู้สูงอายุ 2 คน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน 4 คน คณะกรรมการมัสยิด 2 คน ตัวแทนเยาวชน 1 คน และมีที่ปรึกษา เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่ ศวชต. มอ.ปัตตานี และมีข้อตกลงร่วมกัน 4 ข้อ คือ (1) มีการพบปะกันเดือนละ 1 ครั้ง (2) เข้าร่วมฟังบรรยายธรรมทุก ๆ วันศุกร์แรกของเดือน (3) มีการออกกำลังกายด้วย โยคะมุสลีมะห์ และยางยืดเพื่อสุขภาพร่วมกัน 2 เดือนครั้ง และต่างคนต่างออกกำลังกายที่บ้าน และ (4) คณะทำงานผู้สูงอายุลงเยี่ยมเยียนบ้านผู้สูงอายุ 3 เดือนครั้ง 2) ผู้สูงอายุผู้สูงอายุ 30 คน แบ่งเป็น ผู้หญิง 27 คน ผู้ชาย 3 คน ร้อยละ 90 มีความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพ การออกกำลังกายด้วยโยคะมุสลีมะห์ และยางยืด และการเตรียมตัวเข้าสู่สังคมสูงวัย และมีทักษะในการดูแลสุขภาวะทางกาย ใจ และร้อยละ 40 ไม่มีความเครียดเพราะได้พบเจอกับเพื่อน ๆ ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การอบรม การออกกำลังกาย การฟังบรรยายธรรม เดือนละ 1 ครั้ง 3) มีพื้นที่ในการทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพร่วมกันในชุมชน 2 พื้นที่ คือ ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนศรัทธา บ้านสุไหงปาแน และมัสยิดอัล-ฮุสนา สุไหงปาแน หมู่ 1 ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี และ 4) ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีขึ้น คือ (1) ผู้สูงอายุ 27 คน ร้อยละ 90 มีการออกกำลังกาย 2-3 วัน/สัปดาห์ ระยะเวลา 15 -30 นาที/สัปดาห์ เช่น ยางยืด โยคะมุสลีมะห์ เดินเบาๆ ที่บ้าน วิ่งไปมา เดินบนกะลา เล่นยาง เป็นต้น (2) ผู้สูงอายุ 12 คน ร้อยละ 40 ไม่มีความเครียด เพราะได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน มีการพบปะกันเยี่ยมบ้านกัน (3) ผู้สูงอายุ 27 คน ร้อยละ 90 มีความสุขในทุกวัน เพราะ ได้พบปะกัน ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง มีลูกเป็นแรงจูงใจ ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ ลูกมีงานทำ

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh