directions_run

สานพลังชุมชนประมงพื้นบ้านอนุรักษ์ ฟื้นฟูทะเลหน้าบ้านอย่างยั่งยืน

assignment
บันทึกกิจกรรม
การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 105 เมษายน 2567
5
เมษายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย wichet.playtorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง
  2. ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนงานโครงการ
  3. กำหนดมาตรการแผนงาน และวางกรอบการทำงาน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการเข้าร่วมประชุม จำนวน 15 คน 2.ผู้รับผิดชอบโครงการได้มีการชี้แจงกิจกรรมตามแผนงานโครงการ 3.เกิดการวางแผนการนำเสนอข้อมูลในวันที่ต้องไปร่วมกิจกรรมปิดโครงการกับ สสส.

จัดทำรายงานการดำเนินโครงการสานพลังชุมชนประมงพื้นบ้านอนุรักษ์ ฟื้นฟูทะเลหน้าบ้านอย่างยั่งยืน25 มีนาคม 2567
25
มีนาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย wichet.playtorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.รวบรวมข้อมูล 2.จัดทำข้อมูล 3. บันทีกรายงานในระบบออนไลน์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีข้อมูลรายงานผลการดำเนินงาน

จัดเวทีเวทีสรุปผลการดำเนินงาน (ARE) ครั้งที่ 218 มีนาคม 2567
18
มีนาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย wichet.playtorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง สรุป ติดตาม ทบทวนกิจกรรมที่ได้ดำเนินการการไปแล้วในรอบ 4 เดือน
  2. กำหนดแผน
    3.วางกรอบในพัฒนากิจกรรมครั้งต่อไป
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุป ติดตาม ทบทวนกิจกรรมในรอบ 4 เดือน ในส่วนของกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว มีผลที่เกิดขึ้นพอสังเขป ดังนี้ จัดเวทีเวทีสรุปผลการดำเนินงาน (ARE) ครั้งที่ 2
ผลสรุปที่สำคัญ - การสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่ง   สมาชิกประมงพื้นบ้านและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทบทวนสิ่งที่ขาดตกบกพร่อง   และประโยชน์ที่ได้รับจากการให้ความรู้และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน   - การสร้างมาตรการดูแลสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรประมงชายฝั่ง   - ปัญหา เช่น การขาดการเอาใจใส่ดูแลจากชุมชนและทุกภาคส่วน   - สิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เช่น จัดให้มีการรณรงค์เก็บขยะ ปรับภูมืทัศน์ชายฝั่งทะเลให้สวยงามอยู่เสมอ   - การสร้างกฎกติกาและกำหนดเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชน   - ปัญหา เช่น การไม่ยอมรับในการปฏิบัติ   - สิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เช่น สร้างกติกาที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง   - ประโยชน์ที่ได้รับ เช่น เป็นการฟื้นฟูทะเลที่ยั่งยืน ในเมื่อไม่มีใครทำการประมงผิดกฎหมายและผิดกติกาชุมชน จัดเวทีเวทีสรุปผลการดำเนินงาน (ARE) ประเด็นที่สำคัญ วัตถุประสงค์ 2. เพื่อให้เกิดกลไกการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ตัวชี้วัด
2.1 มีคณะทำงานไม่ต่ำกว่า 15 คน ผลผลิต การจัดประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ผลลัพธ์ 1.มีการจัดประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการอย่างสม่ำเสมอจำนวน 15 - 17 คน ตลอดทุกเดือนระยะเวลา 10 เดือน ของการดำเนินโครงการ ที่มาจากสมาชิกของชุมชน แกนนำชาวประมงพื้นบ้าน และภาคีความร่วมมือที่เข้ามาช่วยเหลือหนุนเสริมการดำเนินงานโครงการ ทุกๆกิจกรรมจะมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ที่มีความแตกต่างกันไป วัตถุประสงค์ 3.เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง ตัวชี้วัด
3.2 เกิดการสร้างบ้านให้ปลา (ชั้งเชือกและทางมะพร้าว) จำนวน 35 ชุด
3.3 มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่ทะเล อย่างน้อย 1ครั้ง
3.4 เกิดการรณรงค์เก็บขยะริมชายหาดบ้านปลายทอน
อย่างน้อย 1 ครั้ง ผลผลิต 2.สร้างบ้านให้ปลา (ชั้งเชือกและทางมะพร้าว) 3.ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่ทะเล 4.รณรงค์เก็บขยะริมชายหาดบ้านปลายทอน (Baan Playtorn Beach Cleaning Day) ผลลัพธ์ 2.มีบ้านปลา(ชั้งเชือกและทางมะพร้าว)จำนวน 35 ชุด ตั้งอยู่ในเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชนบ้านปลายทอน ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ที่มีขนาดกว้าง 200 เมตร ยาวขนานแนวชายฝั่งทะเล 500 เมตร มีเนื้อที่โดยประมาณ 62.5 ไร่ โดยมีผู้เข้าร่วมสร้างบ้านให้ปลาที่มาจาก1. เครือข่ายประมงพื้นบ้านอำเภอสิชล 2. ประมงอำเภอสิชล 3. หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลสิชล นครศรีธรรมราช 4. องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช 5. โรงเรียนบ้านปลายทอน ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช 6. ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิดดารุลอามาน (บ้านปลายทอน) รวมจำนวน 58 คน 3.ชุมชนประมงพื้นบ้านปลายทอน อำเภอสิชล มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่ทะเลจำนวน 1 ครั้ง โดยได้รับการสนับสนุนลูกพันธุ์ปูม้า จำนวน 3,000,000 ตัว จากกลุ่มอนุรักษ์และขยายพันธุ์ปูม้าบ้านเกาะลอย อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีผู้เข้าร่วมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน 63 คน 4.ชุมชนประมงพื้นบ้านปลายทอน จัดกิจกรรมรณรงค์เก็บขยะริมชายหาดบ้านปลายทอน จำนวน 1 ครั้ง ร่วมกับ เจ้าหน้าที่กรมประมง และเยาวชนบ้านปลายทอน ระยะทางเก็บ 200 เมตร ขยะส่วนใหญ่จะเป็นเศษโฟม พลาสติกและขวดแก้ว และเครื่องมือประมง ขยะที่เก็บได้ทั้งหมดมีน้ำหนักประมาณ 450 กิโลกรัม และทาง อบต.ทุ่งปรัง จะดำเนินการจัดการอย่างเหมาะสมต่อไป กิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมจำนวน 55 คน วัตถุประสงค์ 4. เพื่อให้แกนนำมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาวะตนเอง โดยการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดภัย จากพื้นที่ ตัวชี้วัด
4.1 แกนนำเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดผลผลิตจากพื้นที่ก่อน/หลังการดำเนินการ
4.2 สัตว์น้ำผลผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 ชนิด ผลผลิต เก็บและจัดทำข้อมูลฐานทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่หลังการดำเนินโครงการ ผลลัพธ์ 1.แกนนำชุมชนเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดภัยจากพื้นที่ เช่น การนำสัตว์น้ำทะเลที่หามาได้ นำมาปรุงอาหารสำหรับการบริโภคเองในครัวเรือน อย่างน้อย 17 มื้อ ในแต่ละสัปดาห์ 2.แกนนำสตรีประมงพื้นบ้าน มีการทดลองแปรรูปปลาทูที่จับมาได้ ทดลองแปรรูปเป็นปลาทูแดดเดียวปลอดสารเมี และไม่มีรสเค็มจัดจนเกินไป 3.สำรวจพบพันธุ์สัตว์น้ำที่เข้ามาอาศัยในเขตอนุรักษ์ทะเลชุมชนเพิ่มขึ้น 3 ชนิด เช่น ปลากระบอก ปลาทู ปลาทราย เป็นต้น 4.ชาวประมงพื้นบ้านขายอาหารทะเลในภาพรวม ทั้งปลา กุ้ง หอย ปูม้าได้เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยรายละ 250 - 300 บาท/ครั้ง/วันทำการประมง

ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่ทะเล9 มีนาคม 2567
9
มีนาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย wichet.playtorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ประสานงานผู้เข้าร่วมกิจกรรมและจัดหาพันธุ์สัตว์น้ำ 2.ดำเนินการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่ทะเล

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชุมชนประมงพื้นบ้านปลายทอน อำเภอสิชล มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่ทะเลจำนวน 1 ครั้ง โดยได้รับการสนับสนุนลูกพันธุ์ปูม้า จำนวน 3,000,000 ตัว จากกลุ่มอนุรักษ์และขยายพันธุ์ปูม้าบ้านเกาะลอย อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีผู้เข้าร่วมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน 63 คน ส่งผลให้สัตว์น้ำทะเลชายฝั่ง เช่น ปูม้า มีความชุกชุมมากขึ้น ชาวประมงพื้นบ้านจับและขายมีรายได้เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยรายละ 250 - 300 บาท/วันทำการประมง และชาวประมงพื้นบ้านขายอาหารทะเลในภาพรวม ทั้งปลา กุ้ง หอย ปูม้าได้เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยรายละ 250 - 300 บาท/ครั้ง/วันทำการขายสินค้าอาหารทะเสดและปลอดภัย

สร้างบ้านให้ปลา(ซั้งเชือกและทางมะพร้าว)2 มีนาคม 2567
2
มีนาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย wichet.playtorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.จัดเตรียมเตรียมอุปกรณ์การสร้างบ้านปลา เช่น เชือก ทุ่น สมอ ทางมะพร้าว 2.ประกอบชุดซั้งและนำซั้งที่ประกอบชุดแล้วลงไปวางในเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชนที่ได้กำหนดขึ้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สร้างบ้านให้ปลา (ชั้งเชือกและทางมะพร้าว)ชุมชนประมงพื้นบ้านปลายทอนมีบ้านปลา(ชั้งเชือกและทางมะพร้าว)จำนวน 35 ชุด ตั้งอยู่ในเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชนบ้านปลายทอน ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ขนาดกว้าง 200 เมตร ยาวขนานริมชายฝั่งทะเล 500 เมตร คิดเป็นเนื้อที่โดยประมาณ 62.5 ไร่ โดยมีผู้เข้าร่วมสร้างบ้านให้ปลาในครั้งนี้มาจาก1. เครือข่ายประมงพื้นบ้านอำเภอสิชล 2. ประมงอำเภอสิชล 3. หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลสิชล นครศรีธรรมราช 4. องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช 5. โรงเรียนบ้านปลายทอน ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช 6. ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิดดารุลอามาน (บ้านปลายทอน) รวมทั้งหมดจำนวน 58 คน

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 91 มีนาคม 2567
1
มีนาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย wichet.playtorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง
  2. ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนงานโครงการ
  3. กำหนดมาตรการแผนงาน และวางกรอบการทำงาน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการเข้าร่วมประชุม จำนวน 15 คน 2.ผู้รับผิดชอบโครงการได้มีการชี้แจงกิจกรรมตามแผนงานโครงการ 3.เกิดการแบ่งหน้าที่กันในการช่วยกันดำเนินกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นตามแผนงานโครงการ

เก็บและจัดทำข้อมูลฐานทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่หลังการดำเนินโครงการ1 มีนาคม 2567
1
มีนาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย wichet.playtorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ออกแบบ จัดทำแบบสอบถาม 2.นำแบบสอบถามลงเก็บข้อมูลฯ 3. จัดทำรายงานข้อมูลฐานทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดำเนินโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การจัดทำข้อมูลในพื้นที่หลังการดำเนินโครงการ เช่น
- ชนิด ประเภทพันธุ์สัตว์น้ำ
- เครื่องมือประมง
- เศรษฐกิจชุมชนประมง - ข้อมูลเปรียบเทียบปริมาณและประเภทของทรัพยากรประมงหลังการดำเนินโครงการ เป็นต้น จากการศึกษา โดยการสุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน และบริเวณเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่งทะเลบ้านปลายทอน พบว่า มีสัตว์น้ำเข้ามาอาศัยในเขตทะเลชายฝั่งทะเลบ้านปลายทอนเพิ่มขึ้น 3 ชนิด จาก 5 ชนิด เป็น 8 ชนิด เช่น ปูม้า ปลาจวด ปลาแมว ปลาแป้น ปลากระเบน ปลากระบอก ปลาทูและปลาทราย การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ชายฝั่งทะเลบ้านปลายทอนหลายชนิด เครื่องมือทำการประมงมากที่สุด คืออวนปลาทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 30 รองลงมาคือ อวนปู และแห คิดเป็นร้อยละ 14 ตะแกรงร่อนหอยเสียบริมหาด คิดเป็นร้อยละ 10 เบ็ดตกปลา เบ็ดราว และเป็ดตกปลาริมหาด คิดเป็นร้อยละ 8 และอวนปลากะพง ร้อยละ 6 ตาม มีระยะเวลาที่ได้เข้าไปใช้ประโยชน์มากที่สุด 3-5 ชั่วโมงต่อวัน จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 79 รองลงมาคือใช้ประโยชน์วันละ 5-10 ชั่วโมงต่อวัน จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 16 และใช้ประโยชน์ไม่ถึง 3 ชั่วโมงต่อวัน จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 8  มีการใช้เครื่องมือการประมงประเภทอวนปลากะพง ออกทำการประมงประมาณเดือนละ 10-25 ครั้ง/เดือน บริเวณที่ทำการประมงคือริมฝั่งหาดปลายทอนใต้ ชนิดสัตว์น้ำที่ได้คือ ปลากะพง และมีประมาณเพิ่มขึ้นประมาณ 5 กิโลกรัมต่อการออกทำงานประมง 1 ครั้ง  อวนปลาทั่วไป ออกทำการประมงประมาณเดือนละ 15-20 ครั้ง/เดือน บริเวณที่ทำการประมงคือริมฝั่งหาดปลายทอน คอเขา ปากดวดสามารถจับสัตว์น้ำได้หลายชนิด ได้แก่ปลาทู ปลาจวด ปลาแห้น ปลาทราย ปลาแดง ปลาข้างลาย และปลาโคป และสามารถจับประมาณสัตว์น้ำได้เพิ่มขึ้นครั้งละประมาณ 12 กิโลกรัมต่อการออกทำการประมง 1 ครั้ง  อวนปู ออกทำการประมงประมาณเดือนละ 20 ครั้ง/เดือน บริเวณที่ทำการประมงคือริมฝั่งหปลายทอน คอเขา ปากดวด ชนิดสัตว์น้ำที่ได้ส่วนใหญ่ที่จับได้เป็นปู ปลากด ปลาลิ้นหมา ปลาหางควาย หมึก และกั้ง และสามารถจับประมาณสัตว์น้ำได้เพิ่มขึ้นครั้งละประมาณ 6 กิโลกรัมต่อการออกทำการประมง 1 ครั้ง  ประเภทแห ออกทำการประมงประมาณเดือนละ 15 ครั้ง/เดือน บริเวณที่ทำการประมงคือริมฝั่งหาดปลายทอน – คอเขา ชนิดสัตว์น้ำที่ได้ส่วนใหญ่ที่จับได้ คือ ปลาซา ปลากะบอก ปลาแป้น กุ้งหางแดงและสามารถจับประมาณสัตว์น้ำได้เพิ่มขึ้นครั้งละประมาณ 3.5 กิโลกรัมต่อการออกทำการประมง 1 ครั้ง  เบ็ดราว ออกทำการประมงประมาณเดือนละ 15 ครั้ง/เดือน บริเวณที่ทำการประมงคือริมฝั่งหาดปลายทอน คอเขา ปากกด ชนิดสัตว์น้ำที่ได้ส่วนใหญ่ที่จับได้เป็นปลากะเบน ปลากะพง ปลากด ปลาดุก ปลาข้างลายฯลฯ และสามารถจับประมาณสัตว์น้ำได้เพิ่มขึ้นครั้งละประมาณ 4 กิโลกรัมต่อการออกทำการประมง 1 ครั้ง  เบ็ดตกปลาริมหาด ออกทำการประมงประมาณเดือนละ 10 ครั้ง/เดือน บริเวณที่ทำการประมงคือชายหาดปลายทอน ชนิดสัตว์น้ำที่ได้ส่วนใหญ่ที่จับได้เป็นปลาทราย ปลาจวด ปลาข้างลาย ปลาดุกทะเล ฯลฯ และสามารถจับประมาณสัตว์น้ำได้เพิ่มขึ้นครั้งละประมาณ 2 กิโลกรัมต่อการออกทำการประมง 1 ครั้ง      สมาชิกในชุมชนบ้านปลายทอนบริโภคอาหารทะเลจากบริเวณชายฝั่งทะเลในพื้นที่ส่วนใหญ่บริโภคอาหารทะเลที่หามาได้เอง 16-20 มื้อในแต่ละสัปดาห์ จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 70 รองลงมาคือบริโภคอาหารทะเล 11-15 มื้อ จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 16.00 และ บริโภคอาหารทะเล 6-10 มื้อ 7 คน คิดเป็นร้อยละ 14 มีรายได้เพิ่มมากขึ้นกล่าวคือในชุมชนส่วนใหญ่มีรายได้มากกว่า 25,000 บาท และมีรายได้ต่ำสุดมากกว่า 10,001 บาทต่อครอบครัว แกนนำสตรีประมงพื้นบ้าน มีการทดลองแปรรูปปลาทูที่จับมาได้ ทดลองแปรรูปเป็นปลาทูแดดเดียวปลอดสารเมี และไม่มีรสเค็มจัดจนเกินไป นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยมากขึ้นโดยให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารที่ปลอดสารเคมีอันตรายต่อสุขภาพ และครัวเรือนในชุมชนมีการประกอบอาหารที่หามาได้เองสำหรับการบริโภคในครัวเรือนได้ทุกมื้อในแต่ละวัน หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูปต่างๆ เป็นต้น

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 82 กุมภาพันธ์ 2567
2
กุมภาพันธ์ 2567รายงานจากพื้นที่ โดย wichet.playtorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง
  2. ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนงานโครงการ
  3. กำหนดมาตรการแผนงาน และวางกรอบการทำงาน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการเข้าร่วมประชุม จำนวน 15 คน 2.ผู้รับผิดชอบโครงการได้มีการชี้แจงกิจกรรมตามแผนงานโครงการ 3.เกิดการแบ่งหน้าที่กันในการช่วยกันดำเนินกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นตามแผนงานโครงการ

ประชุมติดตามและประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระหว่างพื้นที่ฯ29 มกราคม 2567
29
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย wichet.playtorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ชี้แจงความเป็นมาของการประชุม
2.เป้าประสงค์ของการประชุม 3.รายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการทั้ง 3 ขนาด
4.ทบทวนการจัดทำการเงิน บัญชี รายงานต่างๆ
5.การบันทึกข้อมูลผลการดำเนินงานลงในระบบออนไลน์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ผู้เข้าร่วมประชุมและผู้รับทุนโครงการฯมีความเข้าใจการจัดประชุมของโครงการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล 2.ผู้เข้าร่วมประชุมมีการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการทั้ง 3 ขนาด 3.ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจการจัดทำการเงิน บัญชี รายงานต่างๆ 4.ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถจัดทำระบบการเงิน บัญชี และรายงานต่างๆในการดำเนินโครงการได้ 5.ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถบันทึกข้อมูลผลการดำเนินงานผ่านระบบออนไลน์ได้

รณรงค์เก็บขยะริมชายหาดบ้านปลายทอน(Baan Playtorn Beach Cleaning Day)17 มกราคม 2567
17
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย wichet.playtorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประสานงานผู้เข้าร่วมกิจกรรมและจัดหาอุปกรณ์การเก็บขยะ
  2. ดำเนินการเก็บขยะริมชายฝั่งทะเลพื้นที่บ้านปลายทอน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กลุ่มประมงพื้นบ้านปลายทอน อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้จัดกิจกรรมรณรงค์เก็บขยะริมชายฝั่งทะเลบ้านปลายทอน ร่วมกับ เจ้าหน้าที่หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลสิชล และเครือข่ายเยาวชนบ้านปลายทอน ระยะทางในการเก็บ 200 เมตร ขยะส่วนใหญ่จะเป็นเศษโฟม พลาสติกและขวดแก้ว และเครื่องมือประมง ขยะที่เก็บได้ทั้งหมดมีน้ำหนักประมาณ 450 กิโลกรัม ขยะที่เก็บได้ทาง อบต.ทุ่งปรัง จะดำเนินการจัดการอย่างเหมาะสมต่อไป กิจกรรมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมที่มาจากเครือข่ายดังนี้1. เครือข่ายประมงพื้นบ้านอำเภอสิชล 2. ประมงอำเภอสิชล 3. หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลสิชล นครศรีธรรมราช 4. องค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช 5. โรงเรียนบ้านปลายทอน ตำบลทุ่งปรัง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช 6. ศูนย์อบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจำมัสยิดดารุลอามาน (บ้านปลายทอน) รวมจำนวน 55 คน นำไปสู่การสร้างกระแสการร่วมกันจัดการขยะชายฝั่งทะเลชุมชนได้เพิ่มขยายไปสู่ในแวดวงต่างๆมากขึ้น เช่น คนในท้องถิ่น ผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ โรงแรม ตลาด หน่วยงานต่างๆในท้องถิ่น

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 75 มกราคม 2567
5
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย wichet.playtorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง สรุป ติดตาม ทบทวนกิจกรรมที่ได้ดำเนินการการไปแล้วในรอบ 4 เดือน
  2. กำหนดแผน
    3.วางกรอบในพัฒนากิจกรรมครั้งต่อไป
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการเข้าร่วมประชุมปรึกษา หารือโดยพร้อมเพรียงกัย 2.คณะทำงานมีการทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมาในเบื้องต้น 3.คณะทำงานกำหนดแผนกิจกรรมในครั้งต่อไป 4.คณะทำงานมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานต่อไป

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 68 ธันวาคม 2566
8
ธันวาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wichet.playtorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง
  2. ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนชุดต่างๆ
  3. กำหนดมาตรการแผนงาน และวางกรอบการทำงาน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีคณะทำงานไม่ต่ำกว่า 15 คน 2.มีการกำหนดแผนงานการดำเนินโครงการสานพลังชุมชนประมงพื้นบ้านฯเพื่ออนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้   ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งของชุมชน อย่างยั่งยืน 3.มีการแบ่งหน้าที่ ช่วยเหลือกันทำงาน เช่น การประสานงาน พิธีการ อาหารการกิน และอื่นๆ

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 510 พฤศจิกายน 2566
10
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wichet.playtorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง
  2. ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนชุดต่างๆ
  3. กำหนดมาตรการแผนงาน และวางกรอบการทำงาน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีคณะทำงานไม่ต่ำกว่า 15 คน เข้าร่วมประชุม ปรึกษาหารือ วางแผน 2.มีการวางแผนงานการดำเนินโครงการที่จะเกิดขึ้น 3.มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ ชวยเหลือกันทำงานร่วมกัน

จัดเวทีเวทีสรุปผลการดำเนินงาน (ARE) ครั้งที่ 123 ตุลาคม 2566
23
ตุลาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wichet.playtorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง สรุป ติดตาม ทบทวนกิจกรรมที่ได้ดำเนินการการไปแล้วในรอบ 4 เดือน
  2. กำหนดแผน
    3.วางกรอบในพัฒนากิจกรรมครั้งต่อไป
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุป ติดตาม ทบทวนกิจกรรมในรอบ 4 เดือน ในส่วนของกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว มีผลที่เกิดขึ้นพอสังเขป ดังนี้   - การสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่ง     สมาชิกประมงพื้นบ้านและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทบทวนสิ่งที่ขาดตกบกพร่อง     และประโยชน์ที่ได้รับจากการให้ความรู้และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน   - การจัดทำแผนด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่ง     - อุปสรรค เช่น แผนที่ไม่ได้รับการตอบสนอง แผนที่เกินกำลังความสามารถที่จะดำเนินการได้     - คุณประโยชน์ที่ได้รับ เช่น เป็นข้อมูลรองรับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และทิศทางการทำงานของเครือข่ายประมงพื้นบ้าน   - การสร้างกฎกติกาและกำหนดเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชน     - ปัญหา เช่น การไม่ยอมรับในการปฏิบัติ     - สิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข เช่น สร้างกติกาที่ทุกฝ่ายให้การยอมรับและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง     - ประโยชน์ที่ได้รับ เช่น เป็นการฟื้นฟูทะเลที่ยั่งยืน ในเมื่อไม่มีใครทำการประมงผิดกฎหมายและผิดกติกาชุมชน 2. กำหนดแผน วางกรอบในพัฒนากิจกรรมครั้งต่อไป

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 49 ตุลาคม 2566
9
ตุลาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wichet.playtorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง ประจำเดือน ตุลาคม 2566
  2. ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนงานการดำเนินโครงการ
  3. กำหนดมาตรการแผนงาน และวางกรอบการทำงาน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการเข้าร่วมประชุม จำนวน 18 คน 2.ผู้รับผิดชอบโครงการได้มีการชี้แจงกิจกรรมตามแผนงานโครงการ 3.เกิดการแบ่งหน้าที่กันในการช่วยกันดำเนินกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นตามแผนงานโครงการ

จัดเวทีประชุมสร้างกฎกติกาและกำหนดเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชน25 กันยายน 2566
25
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wichet.playtorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. การทำความเข้าใจในการสร้างกฎกติกาและกำหนดเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชนที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน โดยมีวิทยากรผู้มีประสบการณ์เข้าร่วมแลกเปลี่ยนในเวที
  2. ระดมความคิดเห็นในการจัดทำกฎกติกาและกำหนดเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชน
  3. จัดทำรายงานสรุปผลจากการจัดเวทีฯ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เครือข่ายประมงพื้นบ้านปลายทอนมีความเข้าใจถึงเหตุผลสำคัญที่จะต้องมีกฎ กติกาในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งทะเล
  2. สรุปประเด็นข้อห้ามที่สำคัญ มีดังนี้     ห้ามดำเนินการหรือกิจกรรมใดๆ ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรประมงชายฝั่งทะเลบ้านบางปอ ดังนี้ 2.1 ทำการประมงด้วยเครื่องมือประมงและไม่ใช้เครี่องมือประมงในเขตอนุรักษ์ 2.2 ให้อาหารโลมาเพื่อการท่องเที่ยว 2.3 การทิ้งของเสีย ขยะ น้ำเสีย ลงบริเวณชายหาด ลงทะเล และบริเวณแนวปะการัง 2.4 จับ เก็บ กักขัง หรือล่อสิ่งมีชีวิตในเขตอนุรักษ์เพื่่อให้นักท่องเที่ยวดู 2.5 การปลูกสร้าง วางท่อดูดหรือระบายน้ำทิ้งในเขตอนุรักษ์ ยกเว้นได้รับอนุญาตตามกฎหมาย 2.6 ดำเนินกิจกรรมใด ๆ พื้นที่เขตอนุรักษ์ หรือบริเวณชายหาดและชายฝั่ง ที่มีผลกระทบกับ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2.7 การทำประมงแบบใช้เครื่องมืออวนลาก อวนรุน หรือการทำประมงแบบผิดกฎหมายประมง พ.ศ. 2560 2.8 ทำการประมงด้วยเครื่องมือประมงและวิธีการทำประมงที่เป็นอันตรายต่อโลมา เต่าทะเล วาฬ ฉลามวาฬ ปะการัง และสัตว์ทะเลหายากอื่นๆ 2.9 จับปูลม ตลอดแนวชายฝั่งที่อยู่ในบริเวณเขตอนุรักษ์ 2.10 ห้ามจับปลิงทะเลตลอดแนวที่ประกาศเขตอนุรักษ์
จัดเวทีประชุมทำแผนปฏิบัติการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งอย่างยั่งยืน19 กันยายน 2566
19
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wichet.playtorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ทำความเข้าใจกับการจัดทำแผนการจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่งแบบมีส่วนร่วมที่ดี โดยมีวิทยากร   เข้าร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในเวที 2.ระดมความคิดเห็นในการจัดทำแผนฯ 3. จัดทำรายงานสรุปผลจากการจัดเวทีฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

องค์กรชุมชนประมงพื้นบ้านปลายทอนมีแผนงานการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งของชุมชน

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 35 กันยายน 2566
5
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wichet.playtorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง
  2. ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนงานโครงการ
  3. กำหนดมาตรการแผนงาน และวางกรอบการทำงาน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการเข้าร่วมประชุม จำนวน 17 คน 2.ผู้รับผิดชอบโครงการได้มีการชี้แจงกิจกรรมตามแผนงานโครงการ 3.เกิดการแบ่งหน้าที่กันในการช่วยกันดำเนินกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นตามแผนงานโครงการ

จัดเวทีสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่ง17 สิงหาคม 2566
17
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wichet.playtorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ทำความเข้าใจด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งอย่างยั่งยืน โดยมีวิทยากรมาให้ข้อมูลแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร   ประมงชายฝั่ง โดย ประมงอำเภอสิชล การทำประมงอย่างมีความรับผิดชอบและเป็นมิตรกับทรัพยากรประมง โดย หัวหน้าหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงทะเลสิชล นครศรีธรรมราช วิทยากร 2.ทบทวนบทเรียนการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลชุมชน 3.จัดทำรายงานสรุปผลจากการจัดเวทีฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชาวประมงพื้นบ้านมีความรู้ความเข้าใจและมีความเข้าใจต่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชน จำนวน 50 คน

การจัดทำป้าย สสส.และโลโก้ปลอดบุหรี่15 สิงหาคม 2566
15
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wichet.playtorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ออกแบบป้าย 2.จ้างจัดทำป้าย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีป้าย สสส.ติดตั้งไว้ที่สถานที่ดำเนินโครงการ 2.มีป้ายโล้โก้ปลอดเหล้า ปลอดบุหรี่ ติดตั้งไว้ที่สถานที่ดำเนินโครงการ

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 211 สิงหาคม 2566
11
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wichet.playtorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง
  2. ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนชุดต่างๆ
  3. กำหนดมาตรการแผนงาน และวางกรอบการทำงาน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีคณะทำงานในการขับเคลื่อนโครงการ จำนวน 15 คน

การประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ครั้งที่ 128 กรกฎาคม 2566
28
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wichet.playtorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ชี้แจงโครงการสานพลังชุมชนประมงพื้นบ้านอนุรักษ์ ฟื้นฟูทะเลหน้าบ้านอย่างยั่งยืน ตามแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน     5 จังหวัดชายฝั่งทะเล ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส.6 และสมาคมรักษ์ทะเลไทย
  2. ตั้งคณะทำงานในกิจกรรมต่างๆ
  3. กำหนดแผนงานและกรอบการดำเนินงาน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีคณะทำงานโครงการสานพลังชุมชนประมงพื้นบ้านอนุรักษ์ ฟื้นฟูทะเลหน้าบ้านอย่างยั่งยืน ตามแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน     5 จังหวัดชายฝั่งทะเล ที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส.6 และสมาคมรักษ์ทะเลไทย จำนวน 15 คน

ประชมปฐมนิเทศโครงการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล ครั้งที่ 113 กรกฎาคม 2566
13
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wichet.playtorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ชี้แจงความเป็นมาของโครงการ 2.เป้าประสงค์ของโครงการ 3.ชี้แจงการดำเนินโครงการทั้ง 3 ขนาด 4.ชี้แจงการจัดทำการเงิน บัญชี รายงานต่างๆ 5.การบันทึกข้อมูลผลการดำเนินงานลงในระบบออนไลน์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ผู้เข้าร่วมประชุมและผู้รับทุนโครงการฯมีความเข้าใจความเป็นมาของโครงการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล 2.ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจในเป้าประสงค์ของโครงการฯ 3.ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจลักษณะของโครงการที่ได้รับการพิจารณาให้ดำเนินการรับทุนสนับสนุน 4.ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถจัดทำระบบการเงิน บัญชี และรายงานต่างๆในการดำเนินโครงการได้ 5.ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถบันทึกข้อมูลผลการดำเนินงานผ่านระบบออนไลน์ได้

เก็บและจัดทำข้อมูลฐานทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดำเนินโครงการ1 กรกฎาคม 2566
1
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wichet.playtorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.ออกแบบ จัดทำแบบสอบถาม 2.นำแบบสอบถามลงเก็บข้อมูลฯ 3. จัดทำรายงานข้อมูลฐานทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดำเนินโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีข้อมูลในพื้นที่ดำเนินการ เช่น     - ชนิด ประเภทพันธุ์สัตว์น้ำ     - เครื่องมือประมง     - เศรษฐกิจชุมชนประมง