directions_run

เสริมสร้างศักยภาพองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้าน สู่สุขภาวะชุมชนบ้านตะเคียนดํา

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อให้เกิดกลไกการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความรู้ความตระหนักร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากร
ตัวชี้วัด : 1. มีการแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ 2. มีกลไกการดำเนินงาน ที่มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ และวางแผนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. คณะกรรมและสมาชิกมีส่วนร่วมและเกิดการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าและยั่งยืน จำนวน 30 คน 4. มีการพัฒนาศักยภาพชาวประมงเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดทำธนาคารปูม้า จำนวน 30 คน 5. มีแผนที่นิเวศและเส้นทางเศรษฐกิจ (สัตว์น้ำ) ของชุมชน
45.00 4.00 0.00

1.เกิดคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ 1 ชุด จำนวน 16 คน และมี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1, 2 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าขึ้น ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าขึ้น และเจ้าของแพในชุมชน 3 คน เป็นที่ปรึกษา เพื่อการบริหารจัดการโครงการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย (ดำเนินการแล้วเสร็จ)

2.เกิดการแบ่งหน้าที่บริหารจัดการ 2 ชุด ภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ ประกอบด้วย ชุดรับผิดชอบเรื่องมาตรการเฝ้าระวัง และรับผิดชอบเรื่องการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้การจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ดำเนินการแล้วเสร็จ)

3.คณะกรรมการและสมาชิกเกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องการอนุรักษ์ฟื้นฟู การใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าที่ยั่งยืน กฎหมายที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับชาวประมง และสิทธิของชาวประมงในการดูแลจัดการทรัพยากรหน้าบ้านอย่างยั่งยืน โดยมีประมงอำเภอได้มาให้ความรู้กับชาวประมง (ดำเนินการแล้วเสร็จ)

4.เป็นครั้งแรกของกลุ่มในการริเริ่มจัดทำธนาคารปูม้า และการจัดกิจกรรมครั้งนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้เรื่องวิธีการ และรูปแบบการเพาะลูกปูม้า ตั้งแต่กระบวนการเตรียมน้ำ การคัดเลือกแม่พันธุ์ และการเลือกที่ปล่อยลูกปูม้า รวมถึงการทำบ้านปลา ในรูปแบบซั้งเชือก ซึ่งเป็นบ้านปลาที่สอดคล้องกับนิเวศของพื้นที่ที่เป็นหาดทรายได้อย่างลงตัว (ดำเนินการแล้วเสร็จ)

5.ตัวชี้วัดที่ 4 เรื่องแผนที่นิเวศและเส้นทางสัตว์น้ำ อยู่ระหว่างการดำเนินการ

1.ชุมชนและสมาชิดเกิดความเชื่อมั่นในคณะกรรมการชุดนี้มากขึ้น เพราะนอกจากคณะกรรมการแล้วยังมีที่ปรึกษาที่สามารถกระบวนการมีส่วนร่วมแล้ว ยังสร้างความน่าเชื่อมั่นในการพัฒนาได้จริงในระยะยาว

2.คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการมีการจัดแบ่งหน้าที่ ขับเคลื่อนโครงการย่อยอีก 2 ชุด ทำให้เกิดการกระจายงาน และสร้างความรับผิดชอบร่วมกันมากยิ่งขึ้น

3.ผู้เข้าร่วมกว่า 30 คน เกิดความรู้ความเข้าใจ ซึ่งมากกว่าการเรียนรู้คือการได้มีการและเปลี่ยนเรื่องมาตรการการจดแจ้งการต่อทะเบียนเรือ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประมงอำเภอโดยตรง และเป็นเวทีที่เกิดการร่วมมือระหว่างชุมชนชาวประมงกับประมงอำเภอคนใหม่ และเกิดการหนุนเสริมกิจกรรมของกลุ่มมาอย่างต่อเนื่อง

4.เนื่องจากวิทยากรคือ นายกสมาคมประมงพื้นบ้านหัวไทร ที่มีประสบการณ์เรื่องการจัดทำแนวเขตอนุรักษ์ บ้านปลา และธนาคารสัตว์น้ำ ซึ่งมีรูปแบบเช่นเดียวกับที่บ้านตะเคียนกำลังจะทำ ดังนั้นทั้งวิทยากรและผู้เข้าร่วมกว่า 30 คน คุยภาษาเดียวกันเพราะเป็นชาวประมงเหมือนกัน ทำให้การเวทีนี้เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ ซึ่งในได้มีการสาธิตและให้ผู้เข้าร่วมทดลองการจัดทำซั้งบ้านปลา

5.เนื่องจากเป็นช่วงเดือนรอมฎอน (ถือศีลอด) ทำให้การดำเนินงานต้องชะงัก ไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่วางไว้

 

2 เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำเพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ
ตัวชี้วัด : 1. มีการจัดทำกติกาชุมชนและกำหนดแนวเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลของชุมชน 2. มีมาตรการเฝ้าระวังการดำเนินการตามกติกาชุมชน 3. มีการจัดทำแนวเขตอนุรักษ์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำในชุมชน 1 พื้นที่ ที่ได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบ 4. มีการจัดทำบ้านปลา (ซั้งเชือก/ซั้งกอ) จำนวน 3 จุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นที่หลบภัยให้กับสัตว์น้ำวัยอ่อน
45.00 10.00

1.เกิดเวทีประชาคมการจัดทำกติกาและกำหนดเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลของชุมชน ซึ่งมติที่ประชุมได้กำหนดขอบเขตการจัดทำแนวเขตอนุรักษ์ ไว้โดย ทิศเหนือ : เริ่มจากมัสยิด ทิศใต้ : สิ้นสุดที่หน้าบ้านผู้ช่วยตุ้ย หมู่ที่ 1 รวมระยะทางทั้งหมด 500 เมตร ห่างจากฝั่ง (จากระดับน้ำทะเลต่ำสุด) 200 เมตร รวมถึงมีการกำหนดกฎข้อบังคับการใช้ประโยชน์ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ และบทลงโทษที่ชัดเจนที่ทุกคนยอมรับได้ (ดำเนินการแล้วเสร็จ)

2.กลุ่มได้ออกแบบมาตรการเฝ้าระวังไว้ 2 แบบคือ แบบที่ 1 : มาตรการเฝ้าระวังของชุมชน ให้เรือประมงในพื้นที่ที่ออกทำการประมงในช่วงเวลาที่ต่างกัน คอยตรวจสอบดูแล การใช้เครื่องมือประมงที่อาจจะกระทบกับพื้นที่เขตอนุรักษ์ แบบที่ 2 : มาตรการเฝ้าระวังของกลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ ด้วยการออกตรวจอย่างน้อย เดือนละ 2 ครั้ง

3.มีการจัดทำแนวเขตอนุรักษ์ และมีสัญลักษณ์ (ธง) ที่ชัดเจนอยู่ตามจุด ทั้งหมด 6 จุด ซึ่งทำให้หมู่บ้านตะเคียนดำมีพื้นที่อนุรักษ์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นที่หลบภัยให้กับสัตว์น้ำวัยอ่อน 1 จุด ที่ชัดเจน (ดำเนินการแล้วเสร็จ)

4.ตามแผนงานโครงการกำหนดให้มีซั้งบ้านปลาจำนวน 3 จุด แต่ทางกลุ่มเห็นว่าควรมีมากกว่านั้น จึงได้ลดปริมาณซั้งแต่เพิ่ม จำนวนจุดวางเป็น 5 จัด เพื่อให้เพิ่มพื้นที่อยู่อาศัยให้สัตว์น้ำได้มากขึ้น ซึ่งลักษณะบ้านปลาจะเป็น (ซั้งก่อ และซั้งเชือก) โดยภู่เชือกจะอยู่กลางน้ำ (ดำเนินการแล้วเสร็จ)

1.นอกจากนี้ยังมีการจัดเวทีประชาคมใหญ่ระดับหมู่บ้านอีกครั้งหนึ่ง โดยจัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2566 ณ มัสยิดดุลอานีม เพื่อเป็นการรับฟังความคิดเห็นกับประชาชนในหมู่บ้าน ที่มาขึ้นวันศุกร์ เพื่อต้องการกระบวนการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นจากทุกคนในชุมชน ทำให้ชาวประมงทั้งหมู่บ้านเข้าใจและยอมรับร่วมกัน ก่อนทำการแจ้งไปยังผู้นำชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงได้เข้าใจตรงกันด้วย

2.หลังจากที่มีการประชาสัมพันธ์เรื่องแนวเขตอนุรักษ์ออกไป ชาวประมงให้ความเคารพกฎกติกา ซึ่งจากมาตรการเฝ้าระวังพบว่า ไม่พบเห็นผู้กระทำความผิด เข้ามาในเขตพื้นที่อนุรักษ์ของชุมชน

3.เนื่องแนวเขตอนุรักษ์มีสัญลักษณ์ (ผ้าธง) ทำให้ชาวประมงมองเห็นได้ชัดและไม่เข้าไปทำการประมง เพราะต้องการกันพื้นที่ดังกล่าวไว้เป็นที่หลบภัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน (ดำเนินการแล้วเสร็จ)

4.หลังจากวางซั้งบ้านปลาได้ประมาณ 5 วัน ชาวประมงก็ได้พบเห็นฝูงลูกปลากระบอก ปลาซา ปลาหลังเขียว จับกลุ่มอยู่ตามซั้ง และต่อจากนั้นอีก 4 วันก็เริ่มพบเห็นฝูงโลมาเข้ามาไล่ลูกปลาตามซั้งบ้านปลา ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ ทำให้มีสัตว์ทะเลหายากเข้ามาให้เด็กๆ และทุกคนได้ดูกันแบบใกล้ๆ

 

3 เพื่อให้แกนนำมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาวะตนเอง โดยการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดภัย จากพื้นที่
ตัวชี้วัด : 1.แกนนำเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดผลผลิตจากพื้นที่ก่อน/หลังการดำเนินการ จำนวน 30 คน
45.00 10.00

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ก่อนเริ่มโครงการ กลุ่มแรกที่เริ่มปรับก่อนคือ กลุ่มคณะกรรมการกลุ่ม เพราะตามที่คุยกันคือ เราต้องเป็นตัวอย่างให้เพื่อนเห็น และเพื่อต้องการให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี ได้ทานอาหารที่สด สะอาด และปราศจากสารอันตราย ซึ่งขณะนี้หลังจากที่ได้พูดคุยและสัมภาษณ์ สมาชิกกลุ่ม พบว่า ขณะนี้มากกว่า 30 คนที่ นำอาหารทะเลที่ได้มาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นอาหาร อีกส่วนจำหน่าย ซึ่งส่วนแรกพบมากขึ้นจริง

ในการประชุม ARE ครั้งที่ 1 ได้มีการประเมินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ซึ่งได้มีการบอกเล่าผลลัพธ์ของทุกคนที่ได้พูดคุยสัมภาษณ์ ชาวประมงในชุมชน ซึ่งพบว่าชาวประมงเริ่มให้ความสำคัญกับการนำสัตว์น้ำที่จับมาได้เป็นอาหารก่อนเป็นลำดับแรก ก่อนนำไปขายเพื่อเป็นรายได้ และซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของคณะกรรมการที่ระบายความรู้สึกออกมาในที่ประชุม ถึงอาจจะเพราะว่าราคาสัตว์น้ำลดลง หรืออย่างไรก็ตาม เพราะเจตนาของทุกคนคืออยากให้ชาวประมงได้ทานอาหารที่ดี มีสุขภาพแข็งแรง