directions_run

เสริมสร้างศักยภาพองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้าน สู่สุขภาวะชุมชนบ้านตะเคียนดํา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เสริมสร้างศักยภาพองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้าน สู่สุขภาวะชุมชนบ้านตะเคียนดํา
ภายใต้โครงการ แผนงานร่วมทุนนับสนุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้านใน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล
ภายใต้องค์กร สมาคมรักษ์ทะเลไทย
รหัสโครงการ S-029
วันที่อนุมัติ 13 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 30 เมษายน 2567
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวันชัย แขกพงค์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0868627706
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ rohunnacomputer@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายศรเดช คำแก้ว
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
ละติจูด-ลองจิจูด 8.717629,99.94163place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2566 30 ต.ค. 2566 1 ก.ค. 2566 30 ต.ค. 2566 40,000.00
2 31 ต.ค. 2566 20 มี.ค. 2567 31 ต.ค. 2566 20 มี.ค. 2567 32,000.00
3 21 มี.ค. 2567 20 เม.ย. 2567 8,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานปรับสภาพสิ่งแวดล้อม
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การใช้เครื่องมือที่ผิดกฎหมายและทำลายระบบนิเวศใต้น้ำอันเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน
45.00
2 การลักลอบทำการประมงผิดกฎหมาย ทำการประมงในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำของชุมชน
45.00
3 การขาดจิตสำนึกไม่ยอมรับกฎกติกาของชุมชน
45.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนบ้านตะเคียนดำ ตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีจำนวนประชากร 926 คน เป็นชุมชนที่มีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรมระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม มีการไปมาหาสู่ช่วยเหลือเกื้อกูลกับแบบญาติมิตร โดยประชากรในหมู่บ้านประกอบอาชีพ ประมงทะเล เกษตร และเลี้ยงสัตว์ ลักษณะระบบนิเวศถูกขนาบด้วยภูเขากับทะเล ซึ่งระบบนิเวศจำเพาะที่มีภูเขากับทะเลอยู่ใกล้กันทำให้สามารถเติมเต็มสารอาหาร และแร่ธาตุต่างๆลงสูทะเล ผ่านแม่น้ำลำคลองหลายสาย ส่งผลให้เป็นแหล่งเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ซึ่งเป็นอาหารของสัตว์น้ำหลายชนิด อีกทั้งเกิด “ดอนใต้น้ำ” เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อนและเป็นพื้นที่วางไข่ของสัตว์น้ำหลากหลายชนิด ด้วยระบบนิเวศน์ดังกล่าวทำให้ได้รับการขนานนามว่า “อ่าวทองคำ” ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยกุ้ง หอย ปู ปลา กั้ง หลากหลายชนิด สามารถสร้างรายได้ให้กับชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่มากขึ้น
    ด้วยเหตุนี้ทำให้อ่าวทองคำกลายเป็นที่หมายตาของเรือประมงทั้งในและนอกเข้ามากวาดต้อนสัตว์น้ำเป็นจำนวนมาก โดยใช้เครื่องมือที่ผิดกฎหมายและทำลายระบบนิเวศใต้น้ำอันเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน ส่งผลกระทบกับชาวประมงพื้นบ้านในปัจจุบัน คือ ปริมาณสัตว์น้ำลดน้อยลง สาเหตุจากการจับสัตว์น้ำที่ไม่ได้ขนาด จับแม่ปูทั้งที่มีไข่นอกกระดอง โดยการไม่คิดถึงอนาคตข้างหน้า การลักลอบทำการประมงผิดกฎหมาย ทำการประมงในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำของชุมชน และที่สำคัญคือการขาดจิตสำนึกไม่ยอมรับกฎกติกาของชุมชน ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะที่อยู่อาศัยที่หลบภัย ที่เพาะพันธุ์และขยายพันธุ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งทะเลลดน้อยลง บ้างก็ถูกทำลาย และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนอยู่ตลอดเวลา รวมถึงอุณหภูมิของโลกที่ร้อนขึ้นในปัจจุบัน ด้วยสภาพปัญหาดังกล่าวในข้างต้นส่งผลกระทบต่อชุมชน ทำให้เศรษฐกิจชุมชนตกต่ำลง ชาวบ้านมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย มีหนี้สินที่ไม่สามารถชดใช้ได้

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

กลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ ได้จัดทำโครงการเสริมสร้างศักยภาพองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้าน สู่สุขภาวะชุมชนบ้านตะเคียนดำ ขึ้น เพื่อต้องการสร้างความรู้ ความตระหนักและความเอาใจใส่ของชาวประมงพื้นบ้านในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรและการใช้ประโยชน์ชายฝั่งทะเลอย่างยั่งยืน การเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนประมงพื้นบ้าน การทำประมงอย่างรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนาให้เกิดความมั่นคงด้านอาหาร มีอาหารทะเลที่ปลอดภัย เพียงพอต่อการอุปโภคและบริโภค พร้อมทั้งให้เป็นที่รู้จักและเป็นแบบอย่างแก่องค์กรชุมชนอื่นๆ ขณะเดียวกันยังเป็นการสร้างเศรษฐกิจรายได้ที่เกื้อหนุนให้กับสมาชิกในชุมชนประมงพื้นบ้าน เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการสร้างเสริมความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนประมงพื้นบ้าน เป็นแนวทางที่เป็นแรงเสริมและคอยผลักดันต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดกลไกการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความรู้ความตระหนักร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากร
  1. มีการแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ
  2. มีกลไกการดำเนินงาน ที่มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ และวางแผนการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. คณะกรรมและสมาชิกมีส่วนร่วมและเกิดการเรียนรู้ เรื่องการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าและยั่งยืน จำนวน 30 คน
  4. มีการพัฒนาศักยภาพชาวประมงเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดทำธนาคารปูม้า จำนวน 30 คน
  5. มีแผนที่นิเวศและเส้นทางเศรษฐกิจ (สัตว์น้ำ) ของชุมชน
45.00 4.00
2 เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำเพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ
  1. มีการจัดทำกติกาชุมชนและกำหนดแนวเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลของชุมชน
  2. มีมาตรการเฝ้าระวังการดำเนินการตามกติกาชุมชน
  3. มีการจัดทำแนวเขตอนุรักษ์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำในชุมชน 1 พื้นที่ ที่ได้รับการดูแลอย่างเป็นระบบ
  4. มีการจัดทำบ้านปลา (ซั้งเชือก/ซั้งกอ) จำนวน 3 จุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นที่หลบภัยให้กับสัตว์น้ำวัยอ่อน
45.00 10.00
3 เพื่อให้แกนนำมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาวะตนเอง โดยการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดภัย จากพื้นที่

1.แกนนำเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดผลผลิตจากพื้นที่ก่อน/หลังการดำเนินการ จำนวน 30 คน

45.00 10.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ สมาชิกกลุ่มประมงพื้นบ้า 30 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67
1 เพื่อให้เกิดกลไกการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความรู้ความตระหนักร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากร(1 ก.ค. 2566-31 ต.ค. 2566) 21,000.00                    
2 เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ(1 ก.ค. 2566-30 เม.ย. 2567) 24,400.00                    
3 การบริหารจัดการโครงการ(13 ก.ค. 2566-30 เม.ย. 2567) 1,944.00                    
4 เพื่อให้แกนนำมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาวะตนเอง โดยการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดภัย จากพื้นที่ ตัวชี้วัดผลลัพธ์(1 ต.ค. 2566-30 เม.ย. 2567) 0.00                    
รวม 47,344.00
1 เพื่อให้เกิดกลไกการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความรู้ความตระหนักร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 90 21,000.00 3 21,000.00
19 ก.ค. 66 เวทีประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ 30 6,000.00 6,000.00
25 ส.ค. 66 เวทีอบรมให้ความรู้การจัดทำธนาคารปูม้า 30 7,500.00 7,500.00
26 ก.ย. 66 เวทีพัฒนาศักยภาพสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่ง 30 7,500.00 7,500.00
2 เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 74 24,400.00 10 24,130.00
18 ก.ค. 66 ออกตรวจและเฝ้าระวังการทำการประมงบริเวณแนวเขตอนุรักษ์ 3 300.00 300.00
25 ก.ค. 66 ออกตรวจและเฝ้าระวังการทำการประมงบริเวณแนวเขตอนุรักษ์ 3 300.00 300.00
4 ส.ค. 66 เวทีประชาคมการจัดทำกฎกติกาและกำหนดเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชน 30 6,000.00 6,000.00
6 ส.ค. 66 ออกตรวจและเฝ้าระวังการทำการประมงบริเวณแนวเขตอนุรักษ์ 3 300.00 300.00
26 ส.ค. 66 ออกตรวจและเฝ้าระวังการทำการประมงบริเวณแนวเขตอนุรักษ์ 3 300.00 300.00
5 ก.ย. 66 จัดทำแนวเขตอนุรักษ์และบ้านปลา (ซั้งเชือก/ซั้งกอ) 20 16,000.00 16,030.00
9 ก.ย. 66 ออกตรวจและเฝ้าระวังการทำการประมงบริเวณแนวเขตอนุรักษ์ 3 300.00 300.00
21 ก.ย. 66 ออกตรวจและเฝ้าระวังการทำการประมงบริเวณแนวเขตอนุรักษ์ 3 300.00 300.00
2 ต.ค. 66 ออกตรวจและเฝ้าระวังการทำการประมงบริเวณแนวเขตอนุรักษ์ 3 300.00 300.00
23 ต.ค. 66 ออกตรวจและเฝ้าระวังการทำการประมงบริเวณแนวเขตอนุรักษ์ 3 300.00 0.00
3 การบริหารจัดการโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 2 1,944.00 1 1,944.00
13 ก.ค. 66 ประชุมปฐมนิเทศโครงการย่อย แผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล 2 1,944.00 1,944.00
4 เพื่อให้แกนนำมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาวะตนเอง โดยการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดภัย จากพื้นที่ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดกลไกการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความรู้ความตระหนักร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากร
  2. เกิดการปรับสภาพแวดล้อมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูที่อยู่อาศัยของ
  3. เกิดการหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 09:36 น.