directions_run

เสริมสร้างศักยภาพองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้าน สู่สุขภาวะชุมชนบ้านตะเคียนดํา

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
เพื่อให้เกิดกลไกการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความรู้ความตระหนักร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากร 1 ก.ค. 2566

 

 

 

 

 

เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ 1 ก.ค. 2566

 

 

 

 

 

การบริหารจัดการโครงการ 13 ก.ค. 2566

 

 

 

 

 

เพื่อให้แกนนำมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาวะตนเอง โดยการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเลปลอดภัย จากพื้นที่ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1 ต.ค. 2566

 

 

 

 

 

ประชุมปฐมนิเทศโครงการย่อย แผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล 13 ก.ค. 2566 13 ก.ค. 2566

 

  1. รู้จักสมาคมรักษ์ทะเลไทย ภายใต้แผนงานร่วมทุนฯ และกระบวนการดำเนินงานของโครงการย่อย
  2. การบริหารจัดการโครงการด้านการเงินและคู่มืออื่นๆ
  3. เรียนรู้ระบบการรายงานผลผ่านเว็บไซต์
  4. เรียนรู้การออกแบบการเก็บข้อมูลเชิงผลลัพธ์
  5. การเซ็นสัญญาข้อตกลงโครงการย่อย

 

โครงการเสริมสร้างศักยภาพองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้าน สู่สุขภาวะชุมชนบ้านตะเคียนดำ ได้จัดส่งผู้แทนเข้าร่วม 2 คน คือ ประธานกกลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ และเลขานุการลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ ลักษณะกิจกรรม เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ

ผลที่ได้คือ 1. ได้รู้จักสมาคมรักษ์ทะเลไทย การดำเนินงานของสมาคมรักษ์ทะเลไทยมากขึ้น และรวมถึงการดำเนินงานของสมาคมภายใต้แผนงานร่วมทุนฯ รวมถึงกระบวนการดำเนินงานของโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเป้าประสงค์ของโครงการ
2. ได้เรียนรู้การบริหารจัดการโครงการด้านการเงิน (กรอบการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามโครงการ) และคู่มืออื่นๆ 3. ได้เรียนรู้ระบบการรายงานผลผ่านเว็บไซต์ การออกแบบการเก็บข้อมูลเชิงผลลัพธ์ 4. กิจกรรมช่วงท้อยเป็นการ เซ็นสัญญาข้อตกลงโครงการย่อย "โครงการเสริมสร้างศักยภาพองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้าน สู่สุขภาวะชุมชนบ้านตะเคียนดำ" เท่ากับว่าโครงการที่ชุมชนเสนอไปนั้นผ่านการพิจารณาและอนุมัติเป็นที่เรียบร้อย 5. รู้สึกว่าโครงการร่วมทุนครั้งนี้เป็นโครงการที่ เห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรบุคคล (ชาวประมง) การจัดการทรัพยากรโดยชุมชน และการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งยากมากที่จะมีโครงการดีๆเช่นนี้ในการร่วมกันพัฒนาชุมชนปัจจุบัน

ข้อห่วงกังวลในการดำเนินกิจกรรม การรายงานผลผ่านเว็บไซต์ เป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยทำ ประกอบกับมีข้อจะกัดเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์ ทำให้อาจจะเป็นอุปสรรคในการดำเนินโครงการ แต่ก็ยังดีที่โครงการมีการจัดระบบพี่เลี่ยง เพื่อช่วยให้ความรู้และคาดว่าจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้

 

ออกตรวจและเฝ้าระวังการทำการประมงบริเวณแนวเขตอนุรักษ์ 18 ก.ค. 2566 18 ก.ค. 2566

 

ออกตรวจดูพฤติกรรมการทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง ตามมาตรการเฝ้าระวัง เดือนละ 2 ครั้ง

 

การดำเนินกิจกรรม "ออกตรวจและเฝ้าระวังการทำการประมงบริเวณแนวเขตอนุรักษ์" เป็นมาตรการต่อเนื่องที่ระบุไว้ในโครงการและเป็นความประสงค์ของชุมชน ซึ่งกำหนดให้อย่างน้องเดือนละ 2 ครั้ง ต้องออกทำการเฝ้าระวัง การใช้เครื่องมือประมงที่อาจจะรุกล้ำเข้ามาทำการประมงในเขตพื้นที่อนุรักษ์ และเพื่อต้องการเก็บข้อมูลประเภทกลุ่มเครื่องมือประมงที่ใช้ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลบ้านตะเคียนดำ ห่างจากฝั่งในระยะ 500 เมตร ตลอดแนวชายฝั่ง หมู่ที่ 1 และ 2 ตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

การออกตรวจครั้งนี้ เป็นการออกเก็บข้อมูลประเภทกลุ่มเครื่องมือประมงที่ใช้ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลบ้านตะเคียนดำ และแจ้งประชาสัมพันธ์กับชาวประมงที่ทำการประมงอยู่ในเขตชายฝั่งที่พบเจอ เรื่องการกำหนดพื้นที่เป็นเขตอนุรักษ์ เพื่อให้ชาวประมงได้รับรู้ และช่วยประชาสัมพันธ์ต่อไปยังเพื่อนๆชาวประมงที่เข้ามาทำการประมงทั้งในและนอกหมู่บ้านต่อไป

ผลลัพธ์ที่เกิด 1. พบว่าในระยะ 500 เมตร ตลอดแนวชายฝั่ง หมู่ที่ 1 และ 2 ตำบลท่าขึ้น ช่วงเวลา 19.00 - 20.00 น. ไม่มีเรือประมงที่ทำการประมง เรือส่วนมากทำการประมงอยู่ตั้งแต่เขต 1,000 เมตร ออกไป เป็นจำพวกเรืออวนปลา 2. พบว่าในเขตพื้นที่ระยะ 500 เมตร ตลอดแนวชายฝั่ง หมู่ที่ 1 และ 2 ตำบลท่าขึ้น มีธงอวนอยู่จำนวนมากแต่ไม่พบเห็นเรือประมงในช่วงเวลาดังกล่าว เพราะเป็นเครื่องมือประเภทอวนปู และกุ๊งกิ๊ง (สำหรับจับหมึกสาย) ครั้งต่อไปจะออกสำรวจในช่วงเวลากลางวัน

 

เวทีประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ 19 ก.ค. 2566 19 ก.ค. 2566

 

  1. ประชุมคณะทำงานชี้แจงโครงการ
  2. ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนชุดต่างๆ
  3. จัดทำแผน และวางกรอบการดำเนินงานโครงการ

 

จำนวนผู้เข้าร่วม 35 คน ประธานกลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ ชี้แจงวัตุถุประสงค์ของการจัดการประชุมครั้งนี้ 1. เพื่อต้องการฟื้นฟูกลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ   กลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ เกิดการรวมตัวกันเพื่อต้องการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อพัฒนาชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง รวมถึงการจัดการทรัพยากรในทะเลและชายฝั่งให้คงความสมบูรณ์ เมื่อปีพ.ศ.2551 และต่อมาซึ่งได้จดทะเบียนเป็นองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น ด้านทะเลชายฝั่ง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมประมง แต่เนื่องจากการบริหารจัดการของกลุ่มขาดความต่อเนื่อง ทำให้กลุ่มไม่ได้ดำเนินกิจกรรมมา 5 ปี ซึ่งหลายคนเห็นว่าเจตนาการรวมกลุ่มนั้นดีและอยากให้เกิดการดำเนินการต่อ จึงเป็นที่มีของการประชุมคณะกรรมการและสมาชิกในวันนี้ เพื่อรวมกันพิจารณาออกแบบแนวทางในการทำงาน โดยที่ประชุมมีมติร่วมคือ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ ในการบริหารจัดการกลุ่ม และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนให้เกิด อีกทั้ง จัดการการบริหารจัดการภายในกลุ่มให้เกิดประสิทธิภาพ อาทิเช่น กองทุนเครื่องมือประมง และกองทุนเครื่องมือซ่อมแซมเรือ เป็นต้น สำหรับในส่วนของสมาชิกก็ให้ทุกท่านช่วยกรอกใบสมัครสมาชิกใหม่ เพื่อต้องการคัดสรรคนที่มีใจรักพัฒนาชุมชนอย่างแท้จริง หลังจากที่ได้เริ่มดำเนินการชาวประมงในชุมชนเริ่มตื่นตัวขึ้นอีกครั้ง เราพการจัดการกลุ่มครั้งนี้เกิดการมีส่วนร่วมของ ผู้นำศาสนา เครือข่ายเยาวชนปบ้านตะเคียนดำ ผู้นำท้องถิ่น (อบต.ผู้ใหญ่บ้าน และกำนัน) และชาวประมงในชุมชน ทำให้สามารถกู้ความเชื่อมั่นของผู้คนกลับขึ้นมาอีกครั้ง และมีการจัดการอย่างเป็นระบบมากขึ้น

  1. ชี้แจงโครงการ   แจ้งเพื่อทราบ หลังจากที่ได้มีการประชุมเพื่อยกร่วมโครงการเสนอขอรับทุนจากสมาคมรักษ์ทะเลไทยในครั้งก่อน ขณะนี้โครงการเสริมสร้างศักยภาพองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้าน สู่สุขภาวะชุมชนบ้านตะเคียนดำ ที่เราเสนอไปผ่านการพิจารณา และได้รับอนุมัติโครงการแล้ว งบประมาณที่ได้รับสนับสนุนเป็นไปตามกรอบแผนงาน จำนวน 80,000 บาท (เพื่อความโปร่งใสในการบริหารจัดการคณะกรรมการได้ชี้แจงรายละเอีอดด้านงบประมาณชัดเจน)
  2. ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนชุดต่างๆ   เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการตามความประสงค์ของกลุ่มเรานั้น ควรแต่งตั้งคณะการการ ประเด็นนี้เกิดการวิพากษ์กันพอสมควรในวงประชุม สุดท้ายก็มีมติร่วมกันคือ "ให้ใช้คณะกรรมการของกลุ่ม เป็นคณะชุดขับเคลื่อนโครงการ" จำนวน 16 คน และมี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1, 2 นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าขึ้น ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าขึ้น และเจ้าของแพในชุมชน 3 คน เป็นที่ปรึกษา เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน

  3. จัดทำแผน และวางกรอบการดำเนินงานโครงการ กรอบแผนการดำเนินงานประกอบด้วย
    1) ประชุมคณะกรรมและสมาชิกเพื่อการพัฒนากลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดี
    2) จัดทำเวทีประชาคมเพื่อการกำหนดแนวเขตอนุรักษ์
    3) สร้างกระบวนการเรียนรู้การจัดการทรัพยากรโดยชุมชน
    4) การจัดทำธนาคารสัตว์น้ำ
    5) การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

ออกตรวจและเฝ้าระวังการทำการประมงบริเวณแนวเขตอนุรักษ์ 25 ก.ค. 2566 25 ก.ค. 2566

 

ออกตรวจดูพฤติกรรมการทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง ตามมาตรการเฝ้าระวัง เดือนละ 2 ครั้ง

 

การดำเนินกิจกรรม "ออกตรวจและเฝ้าระวังการทำการประมงบริเวณแนวเขตอนุรักษ์" เป็นมาตรการต่อเนื่องที่ระบุไว้ในโครงการและเป็นความประสงค์ของชุมชน ซึ่งกำหนดให้อย่างน้องเดือนละ 2 ครั้ง ต้องออกทำการเฝ้าระวัง การใช้เครื่องมือประมงที่อาจจะรุกล้ำเข้ามาทำการประมงในเขตพื้นที่อนุรักษ์ และเพื่อต้องการเก็บข้อมูลประเภทกลุ่มเครื่องมือประมงที่ใช้ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลบ้านตะเคียนดำ ห่างจากฝั่งในระยะ 500 เมตร ตลอดแนวชายฝั่ง หมู่ที่ 1 และ 2 ตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

การออกตรวจครั้งนี้ เป็นการออกเก็บข้อมูลประเภทกลุ่มเครื่องมือประมงที่ใช้ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลบ้านตะเคียนดำ และแจ้งประชาสัมพันธ์กับชาวประมงที่ทำการประมงอยู่ในเขตชายฝั่งที่พบเจอ เรื่องการกำหนดพื้นที่เป็นเขตอนุรักษ์ เพื่อให้ชาวประมงได้รับรู้ และช่วยประชาสัมพันธ์ต่อไปยังเพื่อนๆชาวประมงที่เข้ามาทำการประมงทั้งในและนอกหมู่บ้านต่อไป

หลังจากที่ลองออกตรวจครั้งที่ผ่านมาพบว่าในเขตพื้นที่ 500 เมตร ตลอดแนวชายฝั่ง เครื่องมือประมงที่พบเห็นมากคือ ประเภทอวนปู และกุ๊งกิ๊ง (สำหรับจับหมึกสาย) จึงเปลี่ยนเวลาออกสำรวจในช่วงเวลากลางวัน (ตอนเช้า) ซึ่งครั้งนี้จึงได้ออก ในช่วงเวลา 07.00 - 08.00 น. ซึ่งการออกดำเนินการแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง

ผลลัพธ์ที่เกิด 1. พบว่าในเขตทะเลชายฝั่งตั้งแต่ 100 - 1000 เมตร ตลอดแนวชายฝั่ง หมู่ที่ 1 และ 2 ตำบลท่าขึ้น มีการทำการประมงประเภทอวนปู 14 ลำ กุ๊งกิ๊งจับหมึกสาย 11 ลำ ได้มีการพูดคุยและแจ้งเรื่อง การกำหนดพื้นที่เป็นเขตอนุรักษ์ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างหารือและจะจัดเวทีประชาคมให้ได้รับทราบร่วมกันอีกครั้ง จึงขอฝากประชาสัมพันธ์ด้วย จากการที่พูดคุยเรือทุกลำเห็นด้วยหากจะจัดกิจกรรมในลักษณะนี้

 

เวทีประชาคมการจัดทำกฎกติกาและกำหนดเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชน 4 ส.ค. 2566 4 ส.ค. 2566

 

  1. ชี้แจงความจำเป็นในการจัดทำแนวเขตอนุรักษ์
  2. รับฟังความคิดเห็นและร่วมกันกำหนดเขตอนุรักษ์ชายฝั่งบ้านตะเคียนดำ
  3. จัดทำกติกาชุมชนและข้อบังคับข้อบังคับการใช้ประโยชน์ในเขตพื้นที่อนุรักษ์
  4. จัดทำแผนปฏิบัติการเฝ้าระวังการใช้เครื่องมือประมงในเขตพื้นที่อนุรักษ์ให้เป็นไปตามกติกาชุมชน

 

จำนวนผู้เข้าร่วม 36 คน กิจกรรมเริ่มต้นด้วยการชี้แจงวัตถุประสงค์และความจำเป็นของการจัดทำแนวเขตอนุรักษ์ โดยประธานกลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ จากนั้นได้กำหนดรูปแบบการรับฟังความคิดเห็นและร่วมกันกำหนดเขตอนุรักษ์ชายฝั่งบ้านตะเคียนดำ 2 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 วันนี้ เวทีประชาคมการจัดทำกฎกติกาและกำหนดเขตอนุรักษ์ชายฝั่งทะเลชุมชน
เป็นการระดมความคิดเห็นเฉพาะกลุ่มคณะกรรมการและสมาชิกในกลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ และร่วมกันกำหนดพื้นที่ รูปแบบการจัดทำแนวเขตอนุรักษ์บ้านตะเคียนดำ รวมถึงรูปแบบการจัดทำบ้านปลา
มติที่ประชุมได้กำหนดขอบเขตการจัดทำแนวเขตอนุรักษ์ ไว้โดย ทิศเหนือ : เริ่มจากมัสยิด ทิศใต้ : สิ้นสุดที่หน้าบ้านผู้ช่วยตุ้ย หมู่ที่ 1 รวมระยะทางทั้งหมด 500 เมตร ห่างจากฝั่ง (จากระดับน้ำทะเลต้ำสุด) 200 เมตร

กฎและข้อบังคับการใช้ประโยชน์ในเขตพื้นที่อนุรักษ์   1. ห้ามใช้เครื่องมือทุกชนิดสำหรับในเขตอนุรักษ์และห้ามทำการประมงทุกชนิด   2. เขตอนุรักษ์สิ่งที่ทำได้ คือ การตกเบ็ดริมตลิ่ง  รุนเคยโดยใช้ในแรงงานคน และการหว่านแห   3. แสดงแนวเขตโดยการจัดทำป้ายเป็นสัญลักษณ์   4. แนวเขตจะใช้สัญลักษ์ของผ้าธงสีแดง ผูดติดกับไม้ไผ่

บทลงโทษ   1. กระทำผิดครั้งแรก ว่ากล่าวตักเตือนโดยคณะกรรมการกลุ่ม
  2. พบเจอครั้งที่ 2 ตักเตือนและแจ้งผู้นำชุมชน   3. พบเจอครั้งที่ 3 ถ่ายรูป เตรียมเอกสารส่งเรื่องไปยังผู้ปกครองพื้นที่และประมงอำเภอ ดำเนินการต่อไป

ลักษณะรูปแบบบ้านปลา เนื่องจากสภาพพื้นที่ชายหาดบ้านตะเคียนดำ มีลักษณะเป็นหาดทราย ระบบนิเวศคล้ายกับพื้นที่อำเภอหัวไทร ดังนั้นจึงใช้รูปแบบบ้านปลาเช่นเดียวกับพื้นที่หัวไทรคือ ซั้งกอ/ซั้งเชือก โดยใช้ทุ่นแกลลอน ผูกเชือก และถ่วงด้วยอิฐคาน ระหว่งกลางจะใช้ภู่เชือก สลับกับ ทางมะพร้าว จัดวางกระจายในเขตพื้นที่อนุรักษ์

คุณสมบัติของซั้งกอและซั้งเชือก ซั้งกอ : จะไม่มีภู่เชือก แต่จะใช้ทางจากหรือทางมะพร้าว ผูกระหว่างเชือกเลี้ยง ข้อดีคือ : เชื้อปลาหรือสัตว์น้ำจะเข้ามาอาศัยเร็ว ข้อเสีย : อายุการใช้งานสั้น ซั้งเชือก : จะใช้ภู่เชือกผูกติดระหว่างสายเลี้ยง 2 - 3 ภู่ สลับด้วย ทางจากหรือทางมะพร้าว ข้อดีคือ : อายุการใช้งานซั้งเชือกได้หลายปี ข้อเสีย : เชือกมีสารเคลือบต้องใช่เวลานานปลาถึงจะเข้าไปหลบภัยหรืออยู่อาศัย

ที่ประชุมมีมติให้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2
ครั้งที่ 2 วันศุกร์ ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2566 ณ มัสยิดดุลอานีม เพื่อเป็นการรับฟังความคิดเห็นกับประชาชนในหมู่บ้าน ที่มาขึ้นวันศุกร์ เพื่อต้องการกระบวนการมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นจากทุกคนในชุมชน

แผนปฏิบัติการเฝ้าระวังการใช้เครื่องมือประมงในเขตพื้นที่อนุรักษ์ให้เป็นไปตามกติกาชุมชน มาตรการเฝ้าระวังดำเนินการ 2 รูปแบบคือ
1. การใช้มาตรการทางสังคม โดยชาวประมงที่เป็นสมาชิกที่ออกทำการประมงในเวลาที่ต่างกัน ทำหน้าที่ในการเฝ้าระวังการลักลอบเข้ามาทำการประมงในเขตพื้นที่อนุรักษ์ หากพบเห็นให้แจ้งคณะกรรมการรับผิดชอบเรื่องมาตรการเฝ้าระวัง 2. การออกตรวจบริเวณพื้นที่เขตอนุรักษ์ เดือนละ 2 ครั้ง

 

ออกตรวจและเฝ้าระวังการทำการประมงบริเวณแนวเขตอนุรักษ์ 6 ส.ค. 2566 6 ส.ค. 2566

 

ออกตรวจดูพฤติกรรมการทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง ตามมาตรการเฝ้าระวัง เดือนละ 2 ครั้ง

 

เป็นการออกตรวจครั้งแรกหลังจากที่มีการจัดทเวทีประชาคม เรื่องการกำหนดเขตพื้นที่อนุรักษ์ โดยการดำเนินกิจกรรม "ออกตรวจและเฝ้าระวังการทำการประมงบริเวณแนวเขตอนุรักษ์" เป็นมาตรการต่อเนื่องที่ระบุไว้ในโครงการและเป็นความประสงค์ของชุมชน ซึ่งกำหนดให้อย่างน้องเดือนละ 2 ครั้ง ต้องออกทำการเฝ้าระวัง การใช้เครื่องมือประมงที่อาจจะรุกล้ำเข้ามาทำการประมงในเขตพื้นที่อนุรักษ์ และเพื่อต้องการเก็บข้อมูลประเภทกลุ่มเครื่องมือประมงที่ใช้ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลบ้านตะเคียนดำ ห่างจากฝั่งในระยะ 500 เมตร ตลอดแนวชายฝั่ง หมู่ที่ 1 และ 2 ตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

มาตรการเฝ้าระวัง ตามแผนงานที่กำหนด 2 รูปแบบ คือ แบบที่ 1 : มาตรการเฝ้าระวังของชุมชน ให้เรือประมงในพื้นที่ที่ออกทำการประมงในช่วงเวลาที่ต่างกัน คอยตรวจสอบดูแล การใช้เครื่องมือประมงที่อาจจะกระทบกับพื้นที่เขตอนุรักษ์ แบบที่ 2 : มาตรการเฝ้าระวังของกลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ ด้วยการออกตรวจอย่างน้อย เดือนละ 2 ครั้ง

ผลลัพธ์ที่เกิด 1. พบว่าในบริเวณเขตพื้นที่อนุรักษ์ กว้าง 500 เมตร ห่างจากฝั่ง 200 เมตร ยังมีเครื่องมือประมงประเภทอวนปู และกุ๊งกิ๊ง สำหรับจับหมึกสายอยู่ ทั้งนี้เป็นเพราะยังไม่ได้มีการจัดทำสัญลักษ์ แสดงระยะแนวเขตพื้นที่ให้ชัดเจน ซึ่งจากการที่ได้เข้าไปสอบถามชาวประมงที่อยู่ในบริเวนนั้น เขาสำท้อนว่าหากจะจัดวางแนวเขตวันไหนให้แจ้ง จะได้จัดเก็บเครื่องมือให้
2.  พบว่าในเขตทะเลชายฝั่งตั้งแต่ 100 - 1000 เมตร ตลอดแนวชายฝั่ง หมู่ที่ 1 และ 2 ตำบลท่าขึ้น มีการทำการประมงประเภทอวนปู 15 ลำ กุ๊งกิ๊งจับหมึกสาย 13 ลำ ได้มีการพูดคุยและแจ้งเรื่อง พื้นที่แนวเขตอนุรักษ์ ซึ่งทุกคนทราบแล้วจากเวทีประชาคมของหมู่บ้าน และบางลำเสนอว่าหากมีการจัดทำธนาคารปูม้า ก็บอกด้วยจะได้นำปูม้าไข่นอกกระดองไปบริจาคด้วย

 

เวทีอบรมให้ความรู้การจัดทำธนาคารปูม้า 25 ส.ค. 2566 25 ส.ค. 2566

 

  1. เรียนรู้รูปแบบ วิธีการ เพาะเลี้ยงปูม้า
  2. การคัดเลือกแม่พันธุ์สัตว์น้ำที่มีประสิทธิภาพ
  3. การเลือกพื้นที่ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำที่มีประสิทธิภาพ และรวมถึงการตรวจวัดคุณภาพน้ำก่อนทำการปล่อย

 

สืบเนื่องจากกลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ ซึ่งเป็นกลุ่มใหม่ที่ริเริ่มจะจัดทำธนาคารสัตว์น้ำ (ปูม้า) แต่ขาดความรู้เรื่อง การเพาะพันธุ์และขยายพันธุ์ปูม้า ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการจัดเวทีในครั้งนี้เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ให้กับชุมชน โดยผู้ที่มาให้ความรู้เรื่องการจัดทำธนาคารปูม้า คือ นายวิรชัช เจ๊ะเหล็ม นายกสมาคมประมงพื้นบ้านหัวไทร ซึ่งเป็นกลุ่มแรกที่ริเริมจัดทำธนาคารปูม้าของจังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบกับนอเวศชายหาดของ อำเภอหัวไทรนั้นมีลักษณะคล้ายกับของบ้านตะเคียนดำ ดังนั้นทั้งรูปแบบบ้านปลา และการเพาะเลี้ยงจึงนำของหัวไทรมาเป็นตัวอย่าง โดยในเวทีจะเป็นการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากกว่าการอบรมให้ความรู้อย่างเดียว เพราะเป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและสามารถแลกเปลี่ยนกันอย่างไม่เก้อเขิน ซึ่ง นายวิรชัช ได้ลำดับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3 ส่วนคือ
  ส่วนที่ 1 เรียนรู้รูปแบบ วิธีการ เพาะเลี้ยงปูม้า   เน้นการทำควาทเข้าใจกับปูม้าไข่นอกกระดองก่อน ซึ่งเดิมทีการที่ปูม้าไข่นอกกระดองอยู่ในทะเลนั้นจะสามารถเพิ่มอัตราส่วนการของของลูกปูได้มากกว่าการนำมาอยู่ในธนาคารปู แต่ด้วยมีการจับปูม้าไข่นอกกระดองขึ้นมา ทำให้ปริมาณปูม้าลดจำนวนลงในปัจจุบัน จึงต้องมีการจัดทำธนาคารปูม้าขึ้น เพื่อต้องการสร้างจิตสำนึกกับชาวประมง (ผู้จับ) และเพื่อการสื่อสารสาธารณะ (ผู้กิน) ให้ลดการซื้อขายปูม้าไข่นอกกระดอง รวมถึงยกระดับการรับรู้สร้างการเรียนไปยังเด็กและเยาวชนหรือกลุ่มคนที่สนใจอื่นๆ ให้มาร่วมกันพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในธานคารปูม้าหรือศูนย์การเรียนรู้ได้   อัตราส่วนการรอดของปูม้าที่นำมาเพาะในธนาคารปูม้า มีเพียง 3% เท่านั้น เพราะด้วยอุณหภูมิของน้ำ ที่อยู่อาศัย (ภาชนะที่ใส่) ที่อาจจะทำให้แม่พันธุ์เกิดความเครียด ทุกอย่างมีส่วนสัมพันกันหมดเพราะมันไม่ใช้ที่อยู่ตามธรรมชาติของปู แต่เพื่อต้องการรักษาจำเป็นต้องทำ ดังนั้นการจัดเตรียมความพร้อมของพื้นที่เป็นสำคัญ ต้องเป็นภาชนะที่ใหญ่ (ถังสีขาวถ่ายรูปสวย แต่แม่ปูจะมาความเครียมมากกว่าถังสีดำหรือคล้ำ) มีน้ำสะอาด และแสงสว่างน้อย รวมถึงการปรับลดออกซเจนให้มีความเหมาะสม

  1. การคัดเลือกแม่พันธุ์สัตว์น้ำที่มีประสิทธิภาพ   ปูไข่นอกกระดองนั้นจะมาสีไข่ 3 แบบคือ 1) ปูไข่เหลือง จะต้องใช้เวลาเพาะฟัก 10 - 20 วัน 2) ปูไข่สีน้ำตาล จะต้องใช้เวลาเพาะฟัก 5 - 10 วัน 3) ปูไข่ดำ จะต้องใช้เวลาเพาะฟัก 1 - 5 วัน ดังนั้นการเลือกแม่พันธุ์ก็มีส่วนสำคัญที่จะระบุผลลัพธ์ที่จะได้ที่ต่างกัน ปูม้า 1 ตัว สามารถปล่อยตัวอ่อนได้มากถึง 250,000 - 2,000,000 ตัว ขึ้นอยู่กับขนาดของแม่พันธุ์ ดังนั้นธนาคารปูม้าที่ชาวประมงเพาะพันธุ์และขยายพันธุ์ขณะนี้ สามารถทำได้แค่ระยะซูเอี๊ย (Zoea) จากนั้นก็ปล่อยกลับลงสู่ทะเล ให้เจริญเติบโตด้วยตัวเอง แต่ก็สามารถทำได้ถึงขั้นระยะเมกาโลปา (Megalope) แต่จะต้องมีการให้อาหารซึ่งจะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับชาวประมง ซึ่งอาธิเมีย มีราคาแพงมาก ดังนั้นจึงทำได้แค่เพื่อการทดลอง เทา่นั้น และมีในส่วนของภาคเอกชนที่เขาเห็นความสำคัญและสามารถทำได้ถึงขั้นนี้
  2. การเลือกพื้นที่ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำที่มีประสิทธิภาพ และรวมถึงการตรวจวัดคุณภาพน้ำก่อนทำการปล่อย   การคัดเลือพื้นที่ปล่อยก็มีส่วนสำคัญ เพราะหมายรวมถึงอัตราการรอดของปูม้าด้วย ดังนั้นระดับความเค็มของน้ำในขณะที่เพาะฟักจึงมีส่วนสำคัญ โดยต้องไม่ต่างกับความเค็มของน้ำทะเลที่จะนำไปปล่อยด้วยเช่นกัน และการปล่อย ไม่ควรปล่อยในที่เดิมๆ ซ้ำ ต่อเนื่อง เพราะจะมีกลุ่มนักล่า (ปลาต่างๆ) มาเฝ้าพื้นที่นั้นๆและจะกิจลูกปูม้าที่ปล่อยหมด ทำให้อัตราการรอดน้อยลง ดังนั้นควรมีการเปลี่ยนพื้นที่ปล่อยบ่อยๆ เพื่อหลอกล่อนักล่า

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ในเวทีมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสาชาวเลกันได้เข้าใจมากขึ้น เพราะวิทยากรก็เป็นชาวประมง เกิดคามร่วมมือระหว่างกลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำกับสมาคมประมงพื้นบ้านหัวไทร ในการร่วมกันปกป้องดูแลรักษาทรัพยากรหน้าบ้าน

 

ออกตรวจและเฝ้าระวังการทำการประมงบริเวณแนวเขตอนุรักษ์ 26 ส.ค. 2566 26 ส.ค. 2566

 

ออกตรวจดูพฤติกรรมการทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง ตามมาตรการเฝ้าระวัง เดือนละ 2 ครั้ง

 

การดำเนินกิจกรรม "ออกตรวจและเฝ้าระวังการทำการประมงบริเวณแนวเขตอนุรักษ์" เป็นมาตรการต่อเนื่องที่ระบุไว้ในโครงการและเป็นความประสงค์ของชุมชน ซึ่งกำหนดให้อย่างน้องเดือนละ 2 ครั้ง ต้องออกทำการเฝ้าระวัง การใช้เครื่องมือประมงที่อาจจะรุกล้ำเข้ามาทำการประมงในเขตพื้นที่อนุรักษ์ และเพื่อต้องการเก็บข้อมูลประเภทกลุ่มเครื่องมือประมงที่ใช้ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลบ้านตะเคียนดำ ห่างจากฝั่งในระยะ 500 เมตร ตลอดแนวชายฝั่ง หมู่ที่ 1 และ 2 ตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

มาตรการเฝ้าระวัง ตามแผนงานที่กำหนด 2 รูปแบบ คือ แบบที่ 1 : มาตรการเฝ้าระวังของชุมชน ให้เรือประมงในพื้นที่ที่ออกทำการประมงในช่วงเวลาที่ต่างกัน คอยตรวจสอบดูแล การใช้เครื่องมือประมงที่อาจจะกระทบกับพื้นที่เขตอนุรักษ์ แบบที่ 2 : มาตรการเฝ้าระวังของกลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ ด้วยการออกตรวจอย่างน้อย เดือนละ 2 ครั้ง

ผลลัพธ์ที่เกิด 1. พบว่าในระยะ 500 เมตร ตลอดแนวชายฝั่ง หมู่ที่ 1 และ 2 ตำบลท่าขึ้น ไม่พบเห็นเรือทำการประมงในช่วงเวลาดังกล่าว 2. สำหรับในเขตพื้นที่อนุรักษ์ยังพบห็นธงอวนอยู่ในแนวเขต ทั้งนี้เป็นเพราะยังไม่มีการทำสัญลักษ์แสดงเขตพื้นที่อนุรักษ์ไว้ชัดเจน

 

จัดทำแนวเขตอนุรักษ์และบ้านปลา (ซั้งเชือก/ซั้งกอ) 5 ก.ย. 2566 5 ก.ย. 2566

 

  1. กำหนดรูปแบบและพิกัดจุดในการจัดวางแนวเขตอนุรักษ์และบ้านปลา
  2. ลงทะเลเพื่อการวางทุ่นทำแนวเขตอนุรักษ์
  3. วางบ้านปลา (ซั้งเชือก/ซั้งกอ) จำนวน 3 จุด เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นที่หลบภัยให้กับสัตว์น้ำวัยอ่อน

 

ลักษณะกิจกรรม : ประชุมเชิงปฏิบัติการ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วย   1. สมาคมประมงพื้นบ้านในถุ้ง   2. สมาคมรักษ์ทะเลไทย   3. ผู้แทนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สจ.เริงวุฒิ เชาวลิต
  4. ผู้แทนจากองค์การบริหารส่วนตำบลท่าขึ้น สระแก้ว และท่าศาลา   5. ประมงอำเภอท่าศาลา   6. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ต.ท่าขึ้น   7. หน่วยป้องกันและปราบปรามทางทะเลและชายฝั่ง สิชล   8. ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์   9. ภาคเอกชน NSWฟาร์ม   10. เจ้าหน้าที่จากสภาผู้ชมผู้ฟังรายการ TPBS   11. คณะครูโรงเรียนวัดทางขึ้น   12. กลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ กิจกรรมเริ่มต้นด้วย 1. กล่าวต้อนรับและชี้แจงวัตถุประสงค์โดย นายกิตติ ไวยฤทธิ์ ประธานกลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ     โดยได้กำหนดเขตพื้นที่ที่แนวเขตอนุรักษ์กว้าง 500 เมตร ห่างจากฝั่ง (จากระดับน้ำทะเลต่ำสุด) 200 เมตร ลักษณะสัญลักษ์แนวเขตอนุรักษ์ เป็นไม่ไผ่ติดผ้าธงสีแดง วาง 8 จุด สำหรับบ้านปลา เดิมกำหนดวางเป็นกอง 3 จุด แต่ที่ประชุมคณะกรรมการ พิจารณาแล้วว่า เห็นควรให้วางกระจายและเพิ่มจึด เป็น 5 จุด เพื่อเพิ่มที่อยู่อาศัยให้ครอบคลุมพื้นที่เขตอนุรักษ์ 2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรับฟังทัศนคติจากมุมมองเครือข่ายองค์กรที่เข้าร่วม ในการจัดทำแนวเขตอนุรักษ์และบ้านปลาบ้านตะเคียนดำ     ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับฟังทัศนคติจากกลุ่มเครือข่ายองค์กรที่เข้าร่วม เพื่อสร้างการรับรู้ กระบวนการมีส่วนร่วม สร้างความร่วมมือในการพัฒนากลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ หลักๆ 3 ข้อคือ     - ภาคส่วนท้องถิ่น : เห็นด้วยกับการจัดกิจกรรมในลักษณะนี้ และจะคอยสนับสนุน รวมถึงการสร้างการรับรู้และความร่วมมือกับชาวประมงในพื้นที่อื่นๆ     - ภาคส่วนราชการและอบจ. : ได้เห็นเจตนารมย์ของกลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ และจะจัดทำแผนให้การสนับสนุนงบประมาณและงานวิชาการต่างๆ เท่าที่จะสามารถช่วยได้     - ภาคส่วนวิชาการ (มวล.) : จะให้การสนับสนุนงานวิชาการและการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการเพาะพันะุ์และขยายพันธุ์ปูม้า ต่อจากนี้     - ภาคส่วนเครือข่ายองค์กรภาคี : คอยเป็นพี่เลี้ยงให้ความรู้และพร้อมสนับสนุนกิจกรรมของชุมชนในทุกมิติ   - ภาคส่วนเอกชน : พร้อมให้การสนับสนุนกิจกรรมและองค์คามรู้ดารการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ให้กลักลุ่มอย่างต่อเนื่อง   - โรงเรียนในชุมชน : เห็นด้วยกับการจัดกิจกรรมในลักษณะนี้ และจะร่วมกันพัฒนาทรัพยากรบุคคล (เด็กในโรงเรียน) ให้เป็นไกด์สามารถนำเสนอความสมบูรณ์จากกิจกรรมของชุมชน และพร้อมร่วมพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ เพื่อให้เป็นห้องเรียนเรื่องการจัดการทรัพยากรโดยชุมชนร่วมกับกลุ่ม ให้เด็กๆในโรงเรียนได้มาศึกษาเรียนรู้ 3. ลงเรือจัดทำแนวเขตอนุรักษ์และวางบ้านซั้งปลา     ผู้เข้าร่วมที่มีความพร้อมลงเรียนไปร่วมกันวางปล้าปลา ด้วยกัน ปิดท้อยด้วยการร่วมกันปล่อนลูกปูม้าร่วมกัน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น 1. ชาวประมงในพื้นที่เกิดความภาคภูมิใจ ที่เห็นหลายเครือข่ายองค์กรให้ความสำคัญและมาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนครั้งนี้ 2. กลุ่มเครือข่างองค์กรต่างๆที่เข้าร่วมพร้องให้การสนับสนุนในทุกมิติทั้ง งบประมาณ ความรู้ ความร่วมมือ และรวมถึงมาตรการป้องกัน

 

ออกตรวจและเฝ้าระวังการทำการประมงบริเวณแนวเขตอนุรักษ์ 9 ก.ย. 2566 9 ก.ย. 2566

 

ออกตรวจดูพฤติกรรมการทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง ตามมาตรการเฝ้าระวัง เดือนละ 2 ครั้ง

 

เป็นการออกตรวจครั้งแรกหลังจากที่ได้มีการจัดทำแนวเขตอนุรักษ์และบ้านปลา โดยการดำเนินกิจกรรม "ออกตรวจและเฝ้าระวังการทำการประมงบริเวณแนวเขตอนุรักษ์" เป็นมาตรการต่อเนื่องที่ระบุไว้ในโครงการและเป็นความประสงค์ของชุมชน ซึ่งกำหนดให้อย่างน้องเดือนละ 2 ครั้ง ต้องออกทำการเฝ้าระวัง การใช้เครื่องมือประมงที่อาจจะรุกล้ำเข้ามาทำการประมงในเขตพื้นที่อนุรักษ์ และเพื่อต้องการเก็บข้อมูลประเภทกลุ่มเครื่องมือประมงที่ใช้ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลบ้านตะเคียนดำ ห่างจากฝั่งในระยะ 500 เมตร ตลอดแนวชายฝั่ง หมู่ที่ 1 และ 2 ตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
มาตรการเฝ้าระวัง ตามแผนงานที่กำหนด 2 รูปแบบ คือ แบบที่ 1 : มาตรการเฝ้าระวังของชุมชน ให้เรือประมงในพื้นที่ที่ออกทำการประมงในช่วงเวลาที่ต่างกัน คอยตรวจสอบดูแล การใช้เครื่องมือประมงที่อาจจะกระทบกับพื้นที่เขตอนุรักษ์ แบบที่ 2 : มาตรการเฝ้าระวังของกลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ ด้วยการออกตรวจอย่างน้อย เดือนละ 2 ครั้ง

ผลลัพธ์ที่เกิด 1. พบว่าในบริเวณเขตพื้นที่อนุรักษ์ ไม่มีการใช้เครื่องมือประมงในเขต เพราะได้มีการจัดทำสัญลักษณ์ไว้ชัดเจน และมีบ้านปลาวางอยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์และด้วย
2. สำหรับเรือประมงที่ประกอบอาชีพอยู่ในเขตพื้นที่ 500 เมตรตลอดแนวชายฝั่งบ้านตะเคียนดำหมู่ 1 และ 2 ประกอบด้วย เรืออวนปู 12 ลำ และเรือวางกุ๊งกิ๊ง สำหรับดักจับหมึกสาย 14 ลำ

 

ออกตรวจและเฝ้าระวังการทำการประมงบริเวณแนวเขตอนุรักษ์ 21 ก.ย. 2566 21 ก.ย. 2566

 

ออกตรวจดูพฤติกรรมการทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง ตามมาตรการเฝ้าระวัง เดือนละ 2 ครั้ง

 

การออกตรวจครั้งที่ 2 หลังจากที่มีการจัดทำแนวเขตอนุรักษ์บ้านปลาแล้ว โดยการดำเนินกิจกรรม "ออกตรวจและเฝ้าระวังการทำการประมงบริเวณแนวเขตอนุรักษ์" เป็นมาตรการต่อเนื่องที่ระบุไว้ในโครงการและเป็นความประสงค์ของชุมชน ซึ่งกำหนดให้อย่างน้องเดือนละ 2 ครั้ง ต้องออกทำการเฝ้าระวัง การใช้เครื่องมือประมงที่อาจจะรุกล้ำเข้ามาทำการประมงในเขตพื้นที่อนุรักษ์ และเพื่อต้องการเก็บข้อมูลประเภทกลุ่มเครื่องมือประมงที่ใช้ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลบ้านตะเคียนดำ ห่างจากฝั่งในระยะ 500 เมตร ตลอดแนวชายฝั่ง หมู่ที่ 1 และ 2 ตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
มาตรการเฝ้าระวัง ตามแผนงานที่กำหนด 2 รูปแบบ คือ แบบที่ 1 : มาตรการเฝ้าระวังของชุมชน ให้เรือประมงในพื้นที่ที่ออกทำการประมงในช่วงเวลาที่ต่างกัน คอยตรวจสอบดูแล การใช้เครื่องมือประมงที่อาจจะกระทบกับพื้นที่เขตอนุรักษ์ แบบที่ 2 : มาตรการเฝ้าระวังของกลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ ด้วยการออกตรวจอย่างน้อย เดือนละ 2 ครั้ง

การออกตาวจในคืนนี้ได้รับการแจ้งมาจากกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านว่ามีเรือประมงประเภท อวนลาก เริ่มเข้ามาวนเวียนในพื้นที่ คณะกรรมการจึงได้ออกเฝ้าระวัง

ผลลัพธ์ที่เกิด 1. พบว่าในบริเวณเขตพื้นที่อนุรักษ์ ไม่มีการใช้เครื่องมือประมงในเขต เพราะได้มีการจัดทำสัญลักษณ์ไว้ชัดเจน และมีบ้านปลาวางอยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์และด้วย
2.  ไม่พบเห็นกลุ่มเรืออวนลากที่ได้รับการแจ้งมาก่อนหน้านี้ และไม่พบเห็นเรือประมงในพื้นในเขตพื้นที่ 500 เมตร ตลอดแนวชายฝั่งบ้านตะเเคียนดำทั้ง หมู่ 1 และ 2

 

เวทีพัฒนาศักยภาพสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่ง 26 ก.ย. 2566 26 ก.ย. 2566

 

  1. ให้ความรู้การจัดกิจกรรมอนุรักษ์ในรูปแบบที่เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่
  2. ให้ความรู้เรื่องสาเหตุที่ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำลดลง และประเภทเครื่องมือที่ผิดกฎหมาย
  3. ให้ความรู้เรื่องกฎหมายประมงที่เกี่ยวข้องกับอาชีพประมงพื้นบ้าน

 

การจัดเวทีพัฒนาศักยภาพสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่ง ได้รับความอนุเคราะห์จาก นายจิรวิช จุลบัษปะ ประมงอำเภอท่าศาลา เป็นวิทยากร ในครั้งนี้ 1. ให้ความรู้การจัดกิจกรรมอนุรักษ์ในรูปแบบที่เหมาะสมและสอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่   วิทยากรกล่าว : จากการได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของกลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำก่อนหน้านี้ และได้ทราบเจตนาของกลุ่มและความเป็นมาพอสมควร และต้องขอชื่นชมกลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำมาที่จัดลำดับการดำเนินงานได้เป็นขั้นตอนที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น การหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการจัดทำกิจกรรมและการปรับรูปแบบการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ แนวเขต/บ้านปลา ให้สอดคล้องกับนิเวศของพื้นที่ และรวมถึงการศึกษาเรียนรู้ถอดบทเรียนการทำงานกับพื้นที่ที่มีการจัดทำกิจกรรมในลักษณะนี้มาก่อน ในะื้นที่ที่เหมือนกัน อย่างเช่น พื้นที่หัวไทร ดังนั้นประเด็นนี้จึงไม่ต้องแนะนำอะไรมากนัก

  1. ให้ความรู้เรื่องสาเหตุที่ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำลดลง และประเภทเครื่องมือที่ผิดกฎหมาย
      สำหรับสาเหตุที่ทำให้ประมาณสัตว์น้ำในเขตชายฝั่งนครศรีธรรมราชลดลงนั้น เกิดขึ้นได้หลายปัจจัย แต่ปัจจัยที่มีผลมากที่สุดคือ การใช้เครื่องมือประมงที่กระทบกับระบบนิเวศที่เป็นที่อยู่อาศัย เป็นที่หลบภัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน ที่เป็นผลทำให้สัตว์น้ำลดลง การใช้เครื่องมือประเภทที่ผิดกฎหมาย อาทิเช่น ไซตัวหนอน (ไอ้โง่) และเรือรุน ซึ่งเป็น 2 ประเภทเครื่องมือที่ผิดกฎหมาย ยังคงมีแอบอยู่ในบางพื้นที่ถึงแม่จะมีการปราบปรามมาอย่างต่อเนื่อง อีกประการคือ เครื่องมือประมงที่ไม่ผิดกฎหมาย แต่ที่ผิดเพราะมีการนำมาใช้ในเขตพื้นที่ทะเลชายฝั่ง ซึ่งตาม พ.ร.ก.ประมง ปี 2558 และ 2560 ระบุห้ามใช้ในเขตทะเลชายฝั่ง ประกอบด้วย เรืออวนลาก คราด เป็นต้น จากเดิมเมื่อปี 2560 ปริมาณเรือเหล่านี้ลดจำนวนลงมาก เหลือเพียงไม่ถึง 120 ลำ ของจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยพบมาในบ้านบางควาย ท่าไร ปากนคร อ.เมือง และปากพยิง บ้านแหลม อ.ท่าศาลา แต่ปัจจุบันจำนวนเรือดังกล่าวเพิ่มขึ้น กว่า 500 ลำ ทั้งนี้เนื่องจากจำนวนเจ้าพนังงาน และงบประมาณ ไม่เพียวพอ จึงทำให้การบังคับใช้กฎหมายขาดความต่อเนื่อง ประกอบกับการมีกลุ่มนายทุนเข้ามาหนุนหลังกลุ่มประมงดังกล่าวทำให้การดำเนินงานของเจ้าหน้าที่เกิดปัญหาอุปสรรค

  2. ให้ความรู้เรื่องกฎหมายประมงที่เกี่ยวข้องกับอาชีพประมงพื้นบ้าน   พ.ร.ก.ประมมง ปีพ.ศ.2558 และ 2560   เรียนรู้เรื่องกฎหมายที่มีส่วนเกี่ยวข้องตั้งการนิยามคำว่า ชาวประมง หรือประมงพื้นบ้าน เพื่อแยกประเถทเรือประมงตามกฎหมาย และมาตรที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการกำหนนเขตทะเลชายฝั่ง เพื่อแยกพื้นที่ทำการประมงของประมงพื้นบ้านและพาณิชย์ รวมถึงการกำหนดประเภทเครื่องมือที่ไม่สามารถทำการประมงได้ในเขตทะเลชายฝั่ง ถึงแม้จะเป็นประมงพื้นบ้านก็ตาม   ประเด็นมาตรที่ชาวประมงให้ความสนใจอาทิเช่น ม.57 การกำหนดขนาดพันธุ์สัตว์น้ำ ก็ยังไม่มีความคืบหน้าของการบังคับใช้ที่ชัดเจน ที่สำคัญเป็นการเปิดทางให้กลุ่มเครื่องมือที่มีการจับสัตว์น้ำวัยอ่อน ให้สามารถดำเนินการได้ และเป็นผลให้เกิดความขัดแย้งดังเช่นในปอ่าวปากพนังในขณะนี้   พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ.2456 และประกาศกระทรวงคมนาคมที่ 32/2560 ประกอบกฎกระทรวง 64/2537
      ซึ่งเป็นประเด็นที่ชุมชนเกิดความเข้าใจเรื่องการบังคับใช้กฎหมายทั้ง 2 นี้ คลาดเคลื่อนกัน โดย พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลกับ สิ่งปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำเข้าไปเหนือน้ำ ในน้ำ ของแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าท่า ดังนั้นจึงไม่มีผลกับการจัดทำแนวเขตอนุรักษ์และบ้านปลา ที่กลุ่มประมงพื้นบ้านดำเนินการ เพราะไม่ถือว่าเป็นสิ่งปลูกสร้างที่ถาวร และต้องไม่กระทบกับการเดินเรือ ซึ่งลักษณะการจัดว่างแนวเขตอนุรักษ์และบ้านปลานั้น ไม่ได้จัดวางเต็มพื้นที่ แต่เป็นการจัดวางที่มีลักษณะเป็นเขต แนว เป็นกลุ่มกองที่ชีดเจน พร้อมกับมีการแสดงสัญลักษณ์ ที่ชัดเจน อีกทั้งมีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น สร้างการรับรู้ให้กับกลุ่มชาวประมงที่อาจจะได้รับผลกระทบได้แล้ว และทุกคนคิดเห็นและรับรู้ร่วมกัน จึงไม่ต้องกังวลผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับกิจกรรม

ปิดท้ายด้วยกิจกรรมการร่วมกันปล่อยลูกปูม้าลงสู่ทะเลร่วมกัน ซึ่งเป็นลูกปูม้าของกลุ่มประมงพื้บ้านตะเคียนดำ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น สมาชิกในกลุ่มประมงเกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎหมายประมงที่มีผลต่ออาชีพมากยิ่งขึ้น เกิดการพูดคุยจนนำไปสูการหาแนวทางหรือมาตรการสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มที่ชัดเจนมากขึ้น

 

ออกตรวจและเฝ้าระวังการทำการประมงบริเวณแนวเขตอนุรักษ์ 2 ต.ค. 2566 2 ต.ค. 2566

 

ออกตรวจดูพฤติกรรมการทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง ตามมาตรการเฝ้าระวัง เดือนละ 2 ครั้ง

 

การออกตาวจในวันนี้ได้รับการแจ้งมาจากกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านว่ามีการวางอวนในเขตพื้นที่อนุรักษ์จำนวน 1 ลำ คณะกรรมการจึงทำการออกตรวจตามมาตรการ ซึ่งได้พบเห็นเรือประมงพื้นบ้านในพื้นที่จำนวน 1 ลำ อยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ และได้เข้าทำการว่ากล่าวตักเตื่อน พร้อมทั้งให้เก็บอวนออกจากพื้นที่ และจากนั้นได้ขึ้นทะเบียนประวัติ ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีการกระทำความผิดตามกฎระบียบว่าด้วยการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เขตอนุรักษ์ และได้แจ้งไปยังผู้นำในชุมชน เพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลต่อไป

 

ออกตรวจและเฝ้าระวังการทำการประมงบริเวณแนวเขตอนุรักษ์ 23 ต.ค. 2566 23 ต.ค. 2566

 

ออกตรวจดูพฤติกรรมการทำการประมงในเขตทะเลชายฝั่ง ตามมาตรการเฝ้าระวัง เดือนละ 2 ครั้ง

 

การดำเนินกิจกรรม "ออกตรวจและเฝ้าระวังการทำการประมงบริเวณแนวเขตอนุรักษ์" เป็นมาตรการต่อเนื่องที่ระบุไว้ในโครงการและเป็นความประสงค์ของชุมชน ซึ่งกำหนดให้อย่างน้องเดือนละ 2 ครั้ง ต้องออกทำการเฝ้าระวัง การใช้เครื่องมือประมงที่อาจจะรุกล้ำเข้ามาทำการประมงในเขตพื้นที่อนุรักษ์ และเพื่อต้องการเก็บข้อมูลประเภทกลุ่มเครื่องมือประมงที่ใช้ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลบ้านตะเคียนดำ ห่างจากฝั่งในระยะ 500 เมตร ตลอดแนวชายฝั่ง หมู่ที่ 1 และ 2 ตำบลท่าขึ้น อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช
มาตรการเฝ้าระวัง ตามแผนงานที่กำหนด 2 รูปแบบ คือ แบบที่ 1 : มาตรการเฝ้าระวังของชุมชน ให้เรือประมงในพื้นที่ที่ออกทำการประมงในช่วงเวลาที่ต่างกัน คอยตรวจสอบดูแล การใช้เครื่องมือประมงที่อาจจะกระทบกับพื้นที่เขตอนุรักษ์ แบบที่ 2 : มาตรการเฝ้าระวังของกลุ่มประมงพื้นบ้านตะเคียนดำ ด้วยการออกตรวจอย่างน้อย เดือนละ 2 ครั้ง

การออกตาวจในคืนนี้ได้รับการแจ้งมาจากกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านว่ามีเรือประมงประเภท อวนลาก เริ่มเข้ามาวนเวียนในพื้นที่อีกครั้ง คณะกรรมการจึงได้ออกเฝ้าระวัง

ผลลัพธ์ที่เกิด 1. พบว่าในบริเวณเขตพื้นที่อนุรักษ์ ไม่มีการใช้เครื่องมือประมงในเขต เพราะได้มีการจัดทำสัญลักษณ์ไว้ชัดเจน และมีบ้านปลาวางอยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์และด้วย
2. ได้พบเห็นกลุ่มเรืออวนลากจากต่างถิ่น แอบมาลากลูกหอยแครงในเขตพื้นที่ชายฝั่ง แต่เมื่อถึงเขตพื้นที่อนุรักษ์ของชุมชนได้หยุดทำการ และกลับเรือลากไปทางทิศใต้มุ่งหน้าเข้าสู่ในเขตพื้นที่ตำนบท่าศาลา จากนั้นได้ทำการแจ้งไปยังผู้นำชุมชนและท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลท่าศาลาและท่าขึ้น ให้ดำเนินการกับกลุ่มประมงดังกล่าว ต่อไป