directions_run

ฟื้นฟูป่าชายเลนสร้างแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งและเพิ่มแหล่งอาศัยสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ฟื้นฟูป่าชายเลนสร้างแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งและเพิ่มแหล่งอาศัยสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน
ภายใต้โครงการ แผนงานร่วมทุนนับสนุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้านใน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล
ภายใต้องค์กร สมาคมรักษ์ทะเลไทย
รหัสโครงการ S-013
วันที่อนุมัติ 13 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 30 เมษายน 2567
งบประมาณ 79,950.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รักษ์ตะลิบง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเจะหร่อเอน จงราบ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0980188114
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ piranya0032@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวมณีวรรณ สันหลี
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 544118,798888place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 13 ก.ค. 2566 30 ต.ค. 2566 13 ก.ค. 2566 30 ต.ค. 2566 39,975.00
2 31 ต.ค. 2566 15 ม.ค. 2567 31 ต.ค. 2566 15 ม.ค. 2567 27,794.00
3 16 ม.ค. 2567 31 พ.ค. 2567 14,980.00
รวมงบประมาณ 82,749.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (82,749.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (79,950.00 บาท)

stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานปรับสภาพสิ่งแวดล้อม
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บ้านทรายแก้ว หมู่ 7 ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนเกาะกลางทะเล อยู่ในพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง เกาะลิบงมีระบบนิเวศเอื้ออำนวยสำหรับเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของพะยูนฝูงใหญ่ที่สุดของประเทศไทย เนื่องจากมีป่าชายเลน และแหล่งหญ้าทะเลที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะสำหรับสัตว์น้ำวัยอ่อน และเป็นแหล่งอาหารของพะยูนและเต่าทะเลที่มีอยู่หนาแน่นในพื้นที่ชายฝั่ง และปัจจุบันเกาะลิบง ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง เหมาะสำหรับการพักผ่อนในช่วงวันหยุด เนื่องจากชุมชนบนเกาะลิบงมีวิถีวัฒนธรรมและสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย บ้านทรายแก้ว หมู่ที่ 7 มีจำนวน 253 ครัวเรือน และตั้งบ้านเรือนติดพื้นที่ชายทะเลจำนวน 30 ครัวเรือน ประชากรส่วนใหญ่ยังคงต้องพึ่งพิงฐานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านคิดเป็นร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมด จับสัตว์น้ำด้วยเครื่องมือประมงจับสัตว์น้ำตามฤดูกาล ได้แก่ อวนลอยปลา อวนปูม้า เบ็ดปลาอินทรี อวนปลาทราย ลอบหมึก และอื่นๆ โดยมีรายได้เฉลี่ยจากการประมง ประมาณ 12,000 บาท/เดือน และนอกจากนั้นยังประกอบอาชีพบริการนักท่องเที่ยว ค้าขาย กรีดยางพารา และรับจ้างทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 50 ดังนั้นคนในชุมชนจึงเห็นถึงความสำคัญของการดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่ง โดยชุมชนบ้านทรายแก้ว  มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งจำนวน 30 หลังคารเรือนที่ติดทะเลได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งอย่างชัดเจนส่งผลให้บ้านเรือนเสียหาย ซึ่งเกิดจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปของโลก สภาวะโลกร้อน ส่งผลให้น้ำทะเลหนูนสูง จนทำให้ 30 ปีที่ผ่านมาเห็นการเปลี่ยนแปลงของสภาพชายหาดอย่างชัดเจน ชายหาดถูกกัดเซาะเข้าไปจนถึงใต้ถุนบ้าน พื้นที่ในการเล่นของเด็กหายไป รายจ่ายเพิ่มขึ้นเนื่องจากการซ่อมแซมบ้านส่งผลให้รายได้ลดลง ส่งผลให้สุขภาพจิตใจย่ำแย่ เครียดและกังวลต่อความไม่มั่นคงของที่อยู่อาศัย บางบ้านต้องย้ายออกจากพื้นที่ไปสร้างบ้านที่อื่น จำนวน 5 หลังคาเรือน และที่เห็นได้ชัดคือ ชายหาดหายไป ทัศนียภาพไม่สวยงาม หอยเสียบที่เคยมีบริเวณชายหาดหายไปส่งผลให้สัตว์น้ำลดลง
  จากสถานการณ์ข้างต้นทำให้กลุ่มรักษ์ตะลิงบง ซึ่งดำเนินงานด้านการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีการขับเคลื่อนงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การทำธนาคารปูม้า การเข้าร่วมประชุมกับองค์กรทั้งในและนอกชุมชนในการแสดงความเห็นที่เป็นประโยชน์แก่พื้นที่ ทางกลุ่มจึงเห็นถึงความสำคัญและอยากสร้างความร่วมมือในการฟื้นฟูทรัพยากรในชุมชน ผู้คิดค้นวิธีการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่อาจรุนแรงยิ่งขึ้นในอนาคต ประกอบกับบริเวณหน้าหาดบ้านทรายแก้วมีต้น แสมดำ ต้นลำพู งอกขึ้นมา จำนวน 3 - 4 ต้น และสามารถเติบโตได้ดีจากที่ไม่เคยมีมาก่อน ทางกลุ่มจึงมีแนวคิดที่จะปลูกพันธุ์ไม้ป่าชายเลน เพื่อให้รากและลำต้นพันธุ์ไม้ป่าชายเลนยึดเกาะหน้าหาดบ้านทรายแก้วเพื่อเป็นแนวกันคลื่นธรรมชาติในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่ไม่ต้องสร้างโครงสร้างแข็งจนเกิดทัศนียภาพที่ไม่สวยงาม หากการดำเนินงานโครงการสร้างแนวกันชนธรรมชาติลดการกัดเซาะชายฝั่งบ้านทรายแก้ว เกิดการขับเคลื่อนงานและสามารถดำเนินการได้จะส่งผลดีแก่บ้านที่อยู่บริเวณชายหาดบ้านทรายแก้ว ลดแรงปะทะของมรสุมที่รุนแรงซึ่งส่งผลกับการกัดเซาะชายฝั่งโดยตรง อีกทั้งสร้างการมีส่วนร่วมในชุมชนในการร่วมมือกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เกิดธนาคารต้นไม้ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ให้แก่ชุมชนในอนาคต   อย่างไรก็ตามนอกจากการกัดเซาะชายฝั่งที่มีผลกระทบต่อชุมชนแล้วพบว่าปัจจุบันทรัพยากรสัตว์น้ำในพื้นที่ชายฝั่งทะเลบ้านทรายแก้วลดลง จากหลายสาเหตุได้แก่แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนโดยเฉพาะป่าชายเลนและหญ้าทะเลเสื่อมโทรม จากการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรงขึ้นและจากการทับถมของตะกอนที่เกิดจากการขุดลอกร่องน้ำ รวมทั้งปัญหาการเพิ่มขึ้นของชาวประมง และการจับสัตว์น้ำโดยใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายในแนวหญ้าทะเล ตลอดจนประชาชนขาดความตระหนักร่วมในการอนุรักษ์และเฝ้าระวังดูแลรักษาทรัพยากรในพื้นที่ ปัญหาเหล่านี้ได้ส่งผลให้สัตว์น้ำหลากหลายชนิดโดยเฉพาะหอยเสียบ หอยชักตีน และทรัพยากรสัตว์น้ำลดลง อาหารทะเลที่เคยหาได้ง่ายเริ่มขาดแคลน เกิดความไม่มั่นคงในที่อยู่อาศัยและกรประกอบอาชีพ ทำให้รายได้จากการประมงลดลงไปด้วย ในขณะที่รายจ่ายเพิ่มขึ้นเพราะต้องออกทะเลไกลขึ้น รายได้จึงไม่เพียงพอกับรายจ่าย ทำให้เกิดหนี้สิน ส่งผลให้เกิดความเครียด และเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินเนื่องจากต้องออกทำการประมงไกลท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกวัน และบางฤดูกาลที่สัตว์น้ำที่จับได้ลดลงมาก ทำให้ต้องมีการอพยพย้ายถิ่นไปทำงานนอกพื้นที่ยังส่งผลให้เกิดปัญหาขาดความอบอุ่นในครอบครัวและเกิดปัญหาสังคมตามมาอีกมากมาย และชาวประมงที่เดือดร้อนได้เสนอแนวทางแก้ปัญหาโดยการเพิ่มพื้นที่อาศัยของสัตว์น้ำ ในรูปแบบการเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลน ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการลดลงของสัตว์น้ำและลดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น
  โครงการฟื้นฟูป่าชายเลนสร้างแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งและเพิ่มแหล่งอาศัยสัตว์น้ำอย่างยั่งยืนเป็นโครงการที่จัดขึ้นเพื่อให้ประชาชนในชุมชนบ้านทรายแก้วและหมู่บ้านใกล้เคียงได้เกิดความรู้ ความเข้าใจและตระหนักร่วมในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ เกิดการมีส่วนร่วมและกลไกการอนุรักษ์ฟื้นฟูที่อยู่อาศัยสัตว์น้ำวัยอ่อน โดยร่วมกันกำหนดกติกาและพื้นที่อนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำและเพิ่มแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ ทำให้ลดความเสี่ยงจากการออกทะเลไกลฝั่งในช่วงฤดูมรสุม ส่งผลให้เกิดความมั่นคงด้านอาหารและสร้างรายได้ เกิดความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการเสริมสร้างจิตสำนึกและความตระหนักร่วมกันของเยาวชน และประชาชนในพื้นที่ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับเกิดกลไกโครงสร้างการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดกลไกการดูแลแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
  • มีคณะทำงานจำนวน ๑๕ คน ที่มาจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
  • เกิดแผนการดำเนินงาน
  • เกิดการแบ่งบทบาทหน้าที่อย่างมีส่วนร่วม
  • เกิดอาสาสมัครเฝ้าระวังดูแลแนวเขตอนุรักษ์ จำนวน ๑๐ คน
1.00
2 เพื่อปรับสภาพแวดล้อมเพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของชุมชนในการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนและสมบูรณ์มากขึ้นพร้อมติดตามและประเมิณผล
  • เกิดกติกาชุมชน และพื้นที่แนวเขตอนุรักษ์ทรัพยากร
  • เกิดป้ายแนวเขตอนุรักษ์
  • เกิดการติดตามเฝ้าระวังแนวเขตอนุรักษ์โดยชุมชน
  • มีการปลูกไม้ป่าชายเลนในพื้นที่หน้าชุมชนบ้านทรายแก้วจำนวน ๒,๕๐๐ ต้น
  • เกิดแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำจำนวน ๓ ไร่
  • เกิดแนวกันคลื่นบริเวณหน้าชุมชนบ้านทรายแก้วจำนวน
    ๑.๖ กิโลเมตร
1.00
3 เพื่อหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
  • โครงการย่อยสามารถทำงานได้ตามที่กำหนดไว้ในแผน
  • โครงการย่อยสามารถรายงานผลในระบบออนไลน์ได้ถูกต้องครบถ้วน
  • โครงการย่อยสามารถเดินทางร่วมกิจกรรมที่ทางคณะบริหารแผนงานกำหนด
1.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
สมาชิกกลุ่มรักษ์ตะลิบง และผู้ที่เกี่ยวข้อง 40 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67
1 ปฐมนิเทศประชุมแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้าน(13 ก.ค. 2566-13 ก.ค. 2566) 11,516.00                    
2 ประชุมคณะทำงานโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้องและเปิดรับสมัครอาสาสมัครเฝ้าระวังดูแลแนวเขตอนุรักษ์(13 ส.ค. 2566-13 ส.ค. 2566) 15,935.00                    
3 จัดทำโรงพักพันธุ์กล้าไม้ชุมชน(15 ส.ค. 2566-15 ส.ค. 2566) 14,186.00                    
4 ประชุมจัดทำกติกาชุมชน(1 ก.ย. 2566-1 ก.ย. 2566) 2,600.00                    
5 ประชุมรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับกติกาชุมชน(11 ก.ย. 2566-11 ก.ย. 2566) 4,550.00                    
6 ปลูกไม้ป่าชายเลนในพื้นที่หน้าชุมชนบ้านทรายแก้ว(12 ก.ย. 2566-13 ก.ย. 2566) 26,700.00                    
7 ติดตามสภาพพันธุ์ไม้ป่าชายเลนหลังการปลูก จำนวน 2 ครั้ง(20 ต.ค. 2566-30 เม.ย. 2567) 5,080.00                    
รวม 80,567.00
1 ปฐมนิเทศประชุมแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้าน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 54 11,516.00 0 0.00
13 ก.ค. 66 ปฐมนิเทศประชุมแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้าน 2 3,402.00 -
21 พ.ย. 66 เวทีประชุมสรุปผลการดำเนินงานเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 1 ณ มูลนิธิอันดามัน 50 3,714.00 -
29 ม.ค. 67 เวทีประชุมสรุปผลการดำเนินงานเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 2 2 4,400.00 -
2 ประชุมคณะทำงานโครงการและผู้ที่เกี่ยวข้องและเปิดรับสมัครอาสาสมัครเฝ้าระวังดูแลแนวเขตอนุรักษ์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 62 15,935.00 0 0.00
13 ส.ค. 66 ประชุมคณะทำงานและอาสาสมัคร 25 8,255.00 -
7 พ.ย. 66 จัดประชุมคณะทำงานและผู้เกี่ยวข้องวางแผนการดำเนินงานและทบทวนกติกาชุมชน ครั้งที่ 2 25 3,250.00 -
12 เม.ย. 67 ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน 11 1,430.00 -
20 เม.ย. 67 จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงาน 1 3,000.00 -
3 จัดทำโรงพักพันธุ์กล้าไม้ชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 14,186.00 0 0.00
15 ส.ค. 66 - 10 พ.ย. 66 ดำเนินการทำโรงพักพันธุ์กล้าไม้ งวดที่ 1 10 9,086.00 -
10 ธ.ค. 66 ดำเนินการจัดซื้อและจัดทำโรงพักพันธุ์กล้าไม้ 10 5,100.00 -
4 ประชุมจัดทำกติกาชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 22 2,600.00 0 0.00
1 ก.ย. 66 ประชุมจัดทำกติกาชุมชน 22 2,600.00 -
5 ประชุมรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับกติกาชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 38 4,550.00 0 0.00
11 ก.ย. 66 ประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 38 4,550.00 -
6 ปลูกไม้ป่าชายเลนในพื้นที่หน้าชุมชนบ้านทรายแก้ว กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 86 26,700.00 0 0.00
11 ก.ย. 66 จัดหาพันธุ์ไม้ 3 6,000.00 -
12 - 13 ก.ย. 66 ปลูกป่าชายเลน 20 6,400.00 -
20 ธ.ค. 66 จัดหาพันธุ์กล้าไม้ 3 6,500.00 -
25 ธ.ค. 66 ปลูกไม้ป่าชายเลนในพื้นที่หน้าชุมชนบ้านทรายแก้วจัดกิจกรรม ครั้งที่ 2 60 7,800.00 -
7 ติดตามสภาพพันธุ์ไม้ป่าชายเลนหลังการปลูก จำนวน 2 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 31 5,080.00 0 0.00
23 ต.ค. 66 ติดตามสภาพพันธุ์ไม้ป่าชายเลนหลังการปลูก ครั้งที่ 1 11 1,430.00 -
9 มี.ค. 67 ติดตามสภาพพันธุ์ไม้ป่าชายเลนหลังการปลูก ครั้งที่ 2 15 1,950.00 -
23 มี.ค. 67 ป้ายประกาศแนวเขตการปลูกพันธุ์ไม้ป่าชายเลน 5 1,700.00 -

กลุ่มรักษ์ตะลิบงขอเบิกงบประมาณ 79,950 บาท ตามที่ยื่นขอเสนอโครงการฯเท่านั้น

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เกิดกลไกการดูแลแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เกิดการปรับสภาพแวดล้อมของชุมชนในการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน
เกิดการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้สมบูรณ์มากขึ้นพร้อมติดตามและประเมิณผล

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 09:38 น.