directions_run

ส่งเสริมการฟื้นฟูทรัพยากรและการจัดการกองทุนเครื่องมือประมงพื้นบ้าน ตำบลปากน้ำ และส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรให้เกิดความยั่งยืนและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ดำเนินงาน 20 ก.ค. 2566

 

 

 

 

 

ประชุมคณะทำงานโครงการ 3ครั้ง 3 ส.ค. 2566

 

 

 

 

 

ประชุมปรึกษา หารือ และดูงานการจัดตั้งสหกรณ์เครื่องมือประมงพื้นบ้าน 11 ส.ค. 2566

 

 

 

 

 

ประชุมชาวประมงพื้นบ้านเพื่ออออกแบบกิจกรรมอนุรักษ์ 15 ส.ค. 2566

 

 

 

 

 

ปฏิบัติการสร้างบ้านปลาชุมชนเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในอ่าวปากบารา 29 ส.ค. 2566

 

 

 

 

 

ปฏิบัติการกิจกรรมฟื้นฟูปลูกหญ้าทะเล 29 ส.ค. 2566

 

 

 

 

 

ประชุมชาวประมงพื้นบ้านเพื่อออกแบบกิจกรรมการเป็นนักขาย 30 ส.ค. 2566

 

 

 

 

 

ปฏิบัติการฝึกอบรมกลยุทธผสานการขายและการตลาด เช่น การขายออนไลน์ 31 ส.ค. 2566

 

 

 

 

 

ปฏิบัติการสร้างบ้านปลาชุมชนเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในอ่าวปากบารา 25 พ.ย. 2566

 

 

 

 

 

กิจกรรมติดตามประเมินผลครั้งที่1 5 ม.ค. 2573

 

 

 

 

 

กิจกรรมติดตามประเมินผลครั้งที่2 5 ม.ค. 2573

 

 

 

 

 

ประชุมชี้แจงคณะทำงานและชี้แจงรายละเอียดโครงการ ครั้งที่1 3 ส.ค. 2566 3 ส.ค. 2566

 

ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมก่อนการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อชี้เเจงรายละเอียดโครงการและงบประมาณและพูดคุยหารือออกแบบแผนกิจกรรม 2.ชี้แจงเป้าหมายแหล่งทุน (สสส)ปรึกษาหารือพูดคุยแลกเปลี่ยนแลกเปลี่ยนรีเช็คกลุ่มและคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่จะมาเข้าโครงการ

 

ผลผลิต 1.มีโครงสร้างคณะทำงานที่ชัดเจนและพร้อมที่จะดำเนินกิจกรรม ประสาน กลุ่มเป้าหมาย คณะทำงาน 2.เกิดความเข้าใจรายละเอียดของโครงการ ผลลัพธ์ ได้คณะทำงาน แต่ละกิจกรรม ได้แผนปฎิบัติการดำเนินงาน

 

ประชุมชาวประมงพื้นบ้านเพื่อออกแบบกิจกรรมอนุรักษ์ 15 ส.ค. 2566 15 ส.ค. 2566

 

ประสานงานชาวประมงพื้นบ้าน ประชุมหารือวางแผนการจัดกิจกรรมในช่วงที่เหมาะสม บันทึกการประชุม สรุปการประชุม

 

คณะทำงาน สมาคมชาวประมงพื้นบ้าน คณะทำงานร้านคนจับปลาสตูล ได้ร่วมประชุมหารือแลกเปลี่ยน เพื่อออกแบบ กิจกรรมฟื้นฟู อนุรักษ์ เพื่อให้เกิดทรัพยากรที่ยั่นยืน ที่ประชุมได้มีความเห็นที่จะทำการอนุรักษ์ฟื้นฟู

 

ประชุมครั้งที่2 ประชุมคณะทำงานหารือออกแบบกิจกรรมศึกษาดูงานการจัดตั้งกองทุนเครื่องมือสหกรณ์ 16 ส.ค. 2566 26 ส.ค. 2566

 

ประสานงานกลุ่มคณะทำงาน จำนวน 10คน เพื่อประชุมหารือพูดคุยวางแผนไปศึกษาดูงานการจัดตั้งกองทุนเครื่องมือประมงพื้นบ้าน วางแผนเรื่องค่าใช้จ่าย สถานที่ ที่จะไปศึกษาดูงาน
สรุปผลการประชุม คณะทำงาน สมาคมชาวประมงพื้นบ้าน บ้านปากน้ำ จำนวน 10คน ไปศึกษาดูงาน รูปแบบการจัดการ จัดตั้งกองทุนเครื่องมือประมงพื้นบ้าน ณ ปะนาเระ จ.ปัตตานี จำนวน 10คน ในวันที่28สิงหาคม 2566 ออกเดินทางเวลา 7.00น.-16.00น.

 

คณะทำงาน สมาคมชาวประมงพื้นบ้าน บ้านปากน้ำ จำนวน 10คน ได้รับรู้เรื่องไปศึกษาดูงานการจัดตั้งกองทุนเครื่องมือประมงพื้นบ้าน ณ ปะณาเระ รับทราบถึงวันเวลาและสถานที่ ทีจะไปศึกษาดูงาน ในวันที่ 28 สิงหาคม 2566 ออกเดินทางเวลา 7.00น.-16.00น.

 

ศึกษาดูงานการจัดตั้งองค์กรเครื่องมือประมงพื้นบ้าน ณ ปานาเระ 28 ส.ค. 2566 28 ส.ค. 2566

 

ประสานงานคณะทำงาน สมาคมชาวประมงพื้นบ้าน 10 คน ประชุมหารือ พูดคุยเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมศึกษาดูงาน ประสานงานติดต่อกับพื้นที่ ที่จะไปศึกษาดูงาน ที่ ปะนาเระ ปัตตานี ศึกษาดูงานการจัดตั้งองค์กรเครื่องมือประมงพื้นบ้าน ที่ ปะณาเระ โดยมีคณะทำงาน สมาคมชาวประมงพื้นบ้าน จำนวน 10 คน ได้รู้หลักการ การจัดการรูปแบบการบริหารจัดการ การจัดตั้งกองทุนเครื่องมือประมงพื้นบ้านและรูปแบบการจัดการทำบัญชี และรูปแบบการขาย มีการขายแบบขายสดงดผ่อน
แหล่งที่มาของเครื่องมือประมงได้ในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด ราคาขายให้กับพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน ขายในราคาตามท้องตลาดทั่วไป
ในการลงทุนหุ้นส่วนของร้าน จำกัดคนละ1หุ้น หุ้นละ100บาท ผลตอบแทน ปัญผลกำไรประจำปีตามเงื่อนไขทีวางไว้

 

ได้รับรู้ถึงรูปแบบและกระบวนการในการจัดการรูปแบบการบริหารจัดการ การจัดตั้งกองทุนเครื่องมือประมงพื้นบ้านและรูปแบบการจัดการทำบัญชี และรูปแบบการขาย มีการขายแบบขายสดงดผ่อน  แหล่งที่มาของเครื่องมือประมงได้ในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด ราคาขายให้กับพี่น้องชาวประมงพื้นบ้าน
ขายในราคาตามท้องตลาดทั่วไป และรูปแบบในการลงทุนหุ้นส่วนของร้านและรูปแบบการเเบ่งปันผลกำไรที่ได้

 

ออกแบบกิจกรรมการเป็นนักขาย สมาชิกร้านคนจับปลา 30 ส.ค. 2566 30 ส.ค. 2566

 

ประสานงานกลุ่มเป้าหมายเพื่อมาประชุมหารือ กลุ่มแม่บ้านชาวประมงเพื่อออกแบบกิจกรรมการเป็นนักขาย ขายของออนไลน์
หารือเรื่องการเตรียมสถานที่  หารือเรื่องหาวิทยากรมาให้ความรู้เทคนิคการไลน์สด เพื่อฝึกการไลน์สดขายของออนไลน์ พูดคุยหารือเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ที่ใช้ในการไลน์สด

 

ได้ผลสรุปจากการประชุม กลุ่มแม่บ้านชาวประมงพื้นบ้านได้ประชุมออกแบบกิจกรรมการเป็นนักขาย ขายของออนไลน์
ได้หารือเรื่องการเตรียมสถานที่  ได้เตรียมจัดหาวิทยากรมาให้ความรู้เทคนิคการไลน์สด เพื่อฝึกการไลน์สดขายของออนไลน์ ได้จัดเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ที่ใช้ในการไลน์สด

 

ปฏิบัติการ การเป็นนักขาย ครั้งที่1 31 ส.ค. 2566 31 ส.ค. 2566

 

1.ประสานกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มแม่บ้านชาวประมงพื้นบ้าน สมาชิกร้านคนจับปลา
2.เชิญวิทยากร จากเพจ ของดีเมืองสตูล บังอานัส มาให้ความรู้เกี่ยวกับการฝึกไลน์สด เเก่ กลุ่มแม่บ้านชาวประมงพื้นบ้าน สมาชิกร้านคนจับปลา ที่ ร้านคนจับปลาสตูล เรียนรู้การเปิดเพจ การตัดต่อคลิปวิดีโอให้น่าสนใจ ช่องทางการขายของออนไลน์  และเทคนิคการขายของออนไลน์ 3.ให้กลุ่มแม่บ้านชาวประมงพื้นบ้าน สมาชิกร้านคนจับปลา ฝึกหัดตัดต่อวิดีโอ และลองฝึกเปิดเพจ

 

กลุ่มแม่บ้านชาวประมงพื้นบ้าน สมาชิกร้านคนจับปลา ได้ความรู้เกี่ยวกับการฝึกไลน์สด  กลุ่มแม่บ้านชาวประมงพื้นบ้าน สมาชิกร้านคนจับปลา  ที่ ร้านคนจับปลาสตูล ได้เรียนรู้การเปิดเพจ  ได้ฝึกการตัดต่อวิดีโอในการโฟสเพื่อให้มีคนติดตามเพิ่มขึ้น  ได้เรียนรู้ในการเปิดช่องทางการขายของออนไลน์  และเทคนิคการขาย

 

ปฏิบัติการฝึกอบรมกลยุทธผสานการขายและการตลาด เช่น การขายออนไลน์อครั้งที่2 2 ก.ย. 2566 2 ก.ย. 2566

 

1.ประสานงานกลุ่มแม่บ้านชาวประมงพื้นบ้าน สมาชิกร้านคนจับปลาสตูล 2.ประชุมหารือพูดคุยวางแผน และจัดเตรียมสถานที่และเตรียมความพร้อมก่อนไลน์สด 3.ลองฝึกปฏิบัติการไลน์สดผ่านเพจ รวมทะเลสตูล โดยมีการขายอาหารทะเลสด อาหารทะเลแปรรูป เช่น ปลาเค็ม

 

กลุ่มแม่บ้านชาวประมงพื้นบ้าน สมาชิกร้านคนจับปลาสตูล เตรียมสถานที่พร้อม อุปกรณืพร้อม เริ่มฝึกปฏิบัติการไลน์สดผ่านช่องทาง Facebook โดยผ่านทางเพจ รวมทะเล โดยมีกลุ่มแม่บ้านชาวประมงพื้นบ้าน สมาชิกร้านคนจับปลาสตูล ไลน์สดขายอาหารทะเลสด ขายอาหารทะเลเเปรรูป ปลาเค็ม

 

ปฏิบัติการเป็นนักขาย ไลน์สดขายของออนไลน์ ครั้งที่3 3 ก.ย. 2566 3 ก.ย. 2566

 

1.ประสานงานกลุ่มแม่บ้านชาวประมงพื้นบ้าน สมาชิกร้านคนจับปลาสตูล 2.จัดเตรียมสถานที่ก่อนปฎิบัติการไลน์สด 3.กลุ่มแม่บ้านชาวประมงพื้นบ้าน สมาชิกร้านคนจับปลาสตูล ฝึกปฏิบัติการไลน์สดขายของออนไลน์ผ่านช่องทาง Facebook ผ่านเพจ รวมทะเลสตูล ไลน์สดขายอาหารทะเลสด  ปลาเค็ม

 

กลุ่มแม่บ้านชาวประมงพื้นบ้าน สมาชิกร้านคนจับปลาสตูล ได้ฝึกปฏิบัติการไลน์สดขายของออนไลน์ผ่านช่องทาง Facebook ผ่านเพจ รวมทะเลสตูล ไลน์สดขายอาหารทะเลสด ปลาเค็ม เพื่อเป็นอีก1ช่องทางในการเพิ่มยอดขายสร้างรายได้และสร้างตัวตนบนโลกออนไลน์และสร้างความกล้าแสดงออกให้กับกลุ่มแม่บ้าน ร้านคนจับปลาสตูล มีการฝึกไลน์สดขายของบนเพจ รวมทะเลสตูล จำนวน3วััน

 

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 30 ก.ย. 2566 30 ก.ย. 2566

 

ประสานงาน คณะทำงานสมาคมชาวประมงพื้นบ้าน ปากน้ำ จำ 10คน นัดประชุมที่ร้านคนจับปลาสตูล เพื่อประชุมพูดคุยหารือ ออกแบบวางแผนดำเนินกิจกรรม การฟื้นฟูทรัพยากร เช่น กิจกรรมการปล่อยพันธุ์สัตว์ ปล่อยลูกปู และปลูกหญ้าทะเล
พูดคุยหารือ เรื่องสถานที่ ที่จะปล่อยลูกปู และหารือเรื่องปลูกหญ้าทะเลบริเวณไหน เพื่อให้เหมาะสม และหารือเรื่องวันเเละเวลา ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศวันเวลาที่เหมาะสมในช่วงของการทำกิจกรรม สรุปการประชุม จากการประชุม ได้ข้อสรุปว่า
ประสานคณะทำงาน ลงพื้นปลูกหญ้าทะเลบริเวณเกาะลิดี อ.ละงู จ.สตูล เวลา 12.00น. แวะรับประทานอาหารเที่ยง เสร็จ ลงปลูกหญ้าทะเล เวลา 14.00น.

 

คณะทำงานสมาคมชาวประมงพื้นบ้าน ปากน้ำ จำ 10คน ได้รับทราบถึงกระบวนก่อนดำเนินกิจกรรม การฟื้นฟูทรัพยากร  เช่น กิจกรรมการปล่อยพันธุ์สัตว์ ปล่อยลูกปู และปลูกหญ้าทะเล
พูดคุยหารือ เรื่องสถานที่ ที่จะปล่อยลูกปู และหารือเรื่องปลูกหญ้าทะเลบริเวณไหน เพื่อให้เหมาะสม และหารือเรื่องวันเเละเวลา ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศวันเวลาที่เหมาะสมในช่วงของการทำกิจกรรม ลงพื้นปลูกหญ้าทะเลบริเวณเกาะลิดี อ.ละงู จ.สตูล จำนวน 20คน เวลา 12.00น. แวะรับประทานอาหารเที่ยง เสร็จ ลงปลูกหญ้าทะเล เวลา  14.00น.

 

ค่าดำเนินงาน 5 ต.ค. 2566 5 ต.ค. 2566

 

ค่าเปิดบัญชี ธนาคาร ธกส จำนวน 500 บาท

 

เพื่อเปิดบัญชี ธนาคาร ธกส เพื่อรับเงินโครงการ สสส ค่าเปิดบัญชี จำนวน 500บาท

 

ปฏิบัติการกิจกรรมฟื้นฟูปลูกหญ้าทะเล เกาะลิดี 29 ต.ค. 2566 29 ต.ค. 2566

 

ประสานงานสมาคมชาวประมงพื้นบ้าน บ้านปากน้ำ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ร่วมปฏิบัติการฟื้นฟูปลูกหญ้าทะเล ในวันที่29 ตุลาคม 2566 ได้มีการนัดหมายกับคณะทำงานไปปลูกหญ้าทะเลที่เกาะลิดี จำนวน 500 ต้น มีคณะทำงานทั้งหมด 20 คน ดังนี้ :
1.นางห่อดีย๊ะ อาดำ 2.นางวานิตา สำสู 3.นางสาววิลาวัณย์ งะสมัน 4.นางนุชุรา งะสมัน 5.นางสาวฮาสานะห์ เกะมาซอ 6.นางสาวอามีนะ อาสาเก 7.นางสาวถิราภรณ์ เบ็ญขุนทด 8.นางจิรดา วิริยะรักษ์ 9.นางดาเราะหนา สังข์วาระ 10.นางนัชชา งะสมัน 11.นางวราพร รณรงค์ไพรี 12.นางสาวมันไพล รณรงค์ไพรี 13.นายรณรงค์ รณรงค์ไพรี 14.วิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี 15.นางอีฉ๊ะ ถิ่นทะเล 16.นายธนาธรณ์ อัลมาตร 17.นายนิโรจน์ อัลมาตร 18.นายเหลด เมงไซ 19.นายธีรภาส ตรีมีน 20.นายเจริญ อำมาหนัน ได้ลงพื้นที่ไปปลูกหญ้าทะเลที่เกาะลิดี โดยใช้เรือจำนวน 2 ลำ

 

จากการลงพื้นที่ปลูกหญ้าทะเล ณ.เกาะลิดี โดยมี คณะทำงานและสมาชิกสมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ คณะทำงานร้านคนจับปลาสตูล ชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ และเยาวชนตำบลปากน้ำ จำนวน 20 คน ได้ลงร่วมทำกิจกรรมปลูกหญ้าทะเลเพื่อเพิ่มแปลงหญ่าทะเลที่มีจากเดิมอยู่แล้วและเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน ณ.บริเวณเกาะลิดี และจากการทำกิจกรรม คณะทำงานได้ร่วมมือสมัคคี และสร้างปลูกฝั่งจิตสำนึกให้ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรทะเลและการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรทะเลเพื่อให้เกิดความยั่งยืนตลอดสู่รุ่นลูกหลาน

 

ปฏิบัติการสร้างบ้านปลาชุมชนเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในอ่าวปากบารา 25 พ.ย. 2566 25 พ.ย. 2566

 

คณะทำงานสมาคมชาวประมงพื้นบ้านตำบลปากน้ำ คณะทำงานร้านคนจับปลาสตูล และเยาวชนตำบลปากน้ำ จำนวน 20 คน ดังนี้ : 1.นางสาวอามีเนาะ อาลีเก 2.นางอีฉ๊ะ ถิ่นทะเล 3.นางนัชชา งะสมัน 4.นางวานิตา สำสู 5.นางนุชุรา งะสมัน 6.นางห่อดีย๊ะ อาดำ 7.นางสาวฮาสานะห์ เกะมาซอ 8.นายอรัณ นุ้ยไฉน 9.นายพชพล องศารา 10.นายเหลด เมงไซ 11.นายกำพล ถิ่นทะเล 12.นางสาวธิราภรณ์ เบ็ญขุนทด 13.นางวิลาวัณย์ งะสมัน 14.นางจิรดา วิริยะรักษ์ 15.นายธนาธร อัลมาส 16.นายวิโรจน์ อัลมาส 17.นางดารอหนา สังข์วาระ 18.นายธีรพาส ตรีมัน 19.นายเจริญ อำมาหนัน 20.นายรณรงค์ รณรงค์ไพรี หัวหน้าโครงการนายกัมพล ถิ่นทะเล ได้มีการนัดหมายกับคณะทำงานและชาวประมงพื้นบ้านตำบลปากน้ำ ทำกิจกรรมทำซั้งที่บริเวณโปะอินโด ใช้เรือจำนวน 3 ลำช่วงเช้า มีการย้ายอุปกรณ์ขนลงเรือ เช่น ทางมะพร้าว,ไม้ไผ่,เชือก,ลูกถ่วง และได้ทำการลงพื้นที่ไปวางซั้งกอ จำนวน 30 ต้น ปฏิบัติการสร้างบ้านปลาชุมชนเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในอ่าวปากบารา โป๊ะอินโด ตำบล ปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล เพื่อเป็นแหล่งอนุบาลของสัตว์น้ำวัยอ่อน และเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน

 

คณะทำงานได้มีการให้ความร่วมมือ ลงไปวางซั้งกอที่บริเวณโป๊ะอินโด อ่าวปากบารา ตำบล ปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล เพื่อเป็นแหล่งอนุบาลของสัตว์น้ำวัยอ่อน และได้สร้างจิตสำนึกให้ชาวประมงพื้นบ้าน เยาวชนปากน้ำ ได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลในพื้นที่และช่วยกันดูแล เพื่อให้เกิดความยั่งยืน ไปจนสู่รุ่นลูกหลานต่อไป

 

กิจกรรมติดตามประเมินผลครั้งที่1 29 พ.ย. 2566 29 พ.ย. 2566

 

ประสานงานกลุ่มเป้าหมายเพื่อมาประชุมหารือ คณะทำงานสมาคมชาวประมงพื้นบ้านตำบลปากน้ำ คณะทำงานร้านคนจับปลาสตูล เพื่อออกแบบกิจกรรมติดตามประมินผล ถอดบทเรียน (ARE) หารือเรื่องข้อมูลต่างๆ เตรียมสถานที่ประชุม กำหนดวันเวลา พูดคุยหารือเตรียมความพร้อมอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมประเมินผล ถอดบทเรียน

 

ได้ผลสรุปจากการประชุม สมาคมชาวประมงพื้นบ้านตำบลปากน้ำ ได้ประชุมออกแบบกิจกรรมติดตามประเมินผล ถอดบทเรียน ได้หารือเรื่องการจัดเตรียมสถานที่ เวที ติดตามประเมินผล ถอดบทเรียน ได้มีการถอดบทเรียน ทำกิจกรรมติดตามประเมินผลร่วมกัน คณะทำงานสมาคมชาวประมงพื้นบ้านตำบลปากน้ำ คณะทำงานร้านคนจับปลาสตูล และเยาวชนตำบลปากน้ำ ได้ลงพื้นที่ทำกิจกรรม ถอดบทเรียน (ARE) ร่วมกัน จำนวน 20 คน ณ. หาดกาสิง ที่ทำการกลุ่มอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งบ้านบ่อเจ็ดลูก ได้ร่วมมือและระดมความคิดแลกเปลี่ยนถอดบทเรียน กิจกรรมที่ดำเนินงาน คณะทำงานได้ตระหนัก ปลูกฝั่ง ให้เข้าใจและ มีจิตใจที่จะอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่ให้ยั่งยืนและ ให้เกิดสุขภาวะที่ดีต่อชาวประมงพื้นบ้าน ได้กินอาหารทะเลสดๆ ปลอดจากสารเคมี ชาวประมงได้มีงานทำตลอดท้งปี เห็นได้ชัดเจนว่า คณะทำงานสมาคมชาวประมงพื้นบ้านตำบลปากน้ำ มีความสุข และพอใจกันมากๆ

 

ปฏิบัติการสร้างบ้านปลาชุมชนเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในอ่าวปากบารา 31 มี.ค. 2567

 

 

 

 

 

กิจกรรมติดตามประเมินผลครั้งที่2 31 มี.ค. 2567 12 พ.ค. 2567

 

"กิจกรรมเวทีถอดบทเรียน ARE (ครั้งที่ 2)"
วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2567 ณ.ศาลากลางน้ำ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา เวลา 08:30 - 12:30 น. มีผู้เข้าร่วมประชุมจาก5พื้นที่ มีจำนวน คน ดังนี้ : 1). นายหะฟิซ ติงหวัง 2). นางสาวรัศญา องศารา 3). นางสาวขนิษฐา โสตา 4). นางบีฉีะ องศารา 5). นางราตรี โสสนุย 6). นางสาวอภัสนันต์ โสสนุย 7). นางสุทิพธ์ ผิวดี 8). นายอาหมาด หยี่ยูโส๊ะ 9). นายอาเหรน นิ่งสระ 10). นายสมคิด อำมาตี 11). นางสาวภิราภรณ์ เบ็ญขุนทด 12). นายกัมพล ถิ่นทะเล 13). นายตัมสัก สันบาหมีน 14). นายสมนึก ขุนแสง 15). นายเจษฎา บังคม 16). นายบุญคล่อง รองเดช 17). นายบูอาสัน หับหยู่โส๊ะ 18). นางนัชชา งะสมัน 19). นางสาวฮาสานะห์ เกะมาซอ 20).นางอีฉ๊ะ ถิ่นทะเล 21).นายสมยศ โต๊ะหลัง 22).นายจักรกริช ติงหวัง 23).นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี 24).สุวัลยา ญายาหมัน เป็นการเปิดเวทีโดย นายกสมาคมฯรักษ์ทะเลไทย (พี่แท๊บ) และได้ให้แต่ละพื้นที่ (5พื้นที่ คือ ปากน้ำ,หลอมปืน,บ่อเจ็ดลูก,ขอนคลาน,ท่าหิน) แนะนำคณะทำงานรวมไปถึงการเล่าสถานการณ์ในพื้นที่ หลังจากนั้นพี่เลี้ยงก็ได้ชี้แจงรายละเอียดของการถอดบทเรียนโครงการให้โจทย์และได้ให้แต่ละพื้นที่ไประดมข้อมูลมา ดังนี้ โจทย์ข้อที่1 : กลไกของการบริหารจัดการ มีคณะทำงานทั้งหมด ดังนี้ : 1.นายกัมพล ถิ่นทะเล (ผู้รับผิดชอบโครงการ) 2.นายอารัญ หลีหมันสา (คณะทำงาน) 3.นายอารอปัน นุ้นไฉน (คณะทำงาน) 4.นายณรงค์ อัลมาตร (คณะทำงาน) 5.นางสาวถิราภรณ์ เบ็ญขุนทด (ฝ่ายบัญชี) 6.นางอีฉ๊ะ ถิ่นทะเล (คณะทำงาน) 7.นางนุชชุรา งะสมัน (คณะทำงาน) 8.นางวานิตา สำสู (คณะทำงาน) 9.นางห่อดีย๊ะ อาดำ (คณะทำงาน) 10.นัชชา งะสมัน (คณะทำงาน) ** การมีส่วนร่วม - การมีการประชุมปรึกษาหารือ ร่วมคิดร่วมวางแผน ร่วมทำ ร่วมดูแลเขตอนุรักษ์ ร่วมใช้ประโยชน์ และร่วมรับประโยชน์ ** ภาคี เครือข่ายและหน่วยงาน

หน่วยงาน - สำนักงานประมงจังหวัด - อบต. - อมจ. - อุทยานเภตรา (ตะรุเตา) - ทช - ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมง (สตูล) (ให้การสนับสนุนงบประมาณในบางเรื่องบางโครงการ ให้คำปรึกษา ออกแบบผลิตภัณฑ์ สนับสนุนการขาย เช่น กรขายออนไลน์) เครือข่าย (องค์กร) - สมาคมรักษ์ทะเลไทย - กลุ่มประมงพื้นบ้านหลอมปืน - กลุ่มประมงพื้นบ้านบ่อเจ็ดลูก - กลุ่มประมงพื้นบ้านท่าหิน - สมาคมชางประมงพื้นบ้านขอนคลาน (ต.ขอนคลาน) - ร้านคนจับปลา (สตูล) - ประมงพื้นบ้าน ต.สาคร (อ.ท่าแพ) โจทย์ข้อที่2 : การปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการอนุรักษ์ 1.พื้นที่อนุรักษ์ซั้งกอมีพื้นที่ 20 ไร่ อุปกรณ์ทำซั้ง 20 ต้น และมีสบทบจากหน่วยงาน สำนักงานประมงจังหวัด 150 ต้น
2.พื้นที่ปลูกหญ้าทะเล (เกาะลิดี) มีจำนวน 5 ไร่ ใช้หญ้าจำนวนปลูก 500 ต้น
** ในพื้นที่มีกฏกติกาอย่างไรในพื้นที่อนุรักษ์
1. ห้ามใช้เครื่องมือ ที่เป็นเครื่องมือพาณิชย์ทำประมงในพื้นที่อนุรักษ์ (อวนลาก,อวนรุน,ปั่นไฟ) หญ้าทะเล (บริเวณซั้งให้ใช้เบ็ตอย่างเดียว) หลักฐานคือ การใช้ประโยชน์บริเวณซั้ง (ชุมชนและหน่วยงาน) ** ระบบเฝ้าระวังทะเลบริเวณพื้นที่อนุรักษ์
1. มีข้อตกลงกับพี่น้องชาวประมวงให้ช่วยกันดุแล เครื่องมือที่ผิดกฏหมายไม่ให้มาทำประมงในพื้นที่อนุรักษ์
2. หากพบเห็นเครื่องมือที่ผิดกฏหมาย ให้แจ้งมาที่กลุ่มหรือสมาคมปากน้ำ เพื่อที่จะแจ้งให้กับเจ้าที่รับผิดชอบดำเนินการต่อไป 3.มีการพูดคุยกับชาวประมงในพื้นที่ ไม่ใช้เครื่องมือที่ทำลายจับสัตว์ในพื้นที่อนุรักษ์ ** ใช้เครื่องมือชิดอะไรบ้างในการจับสัตว์น้ำ ในพื้นที่อนุรักษ์ อวน -อวนกุ้ง -อวนปลาทู -อวนปลาทราย -อวนปลากระพง -อวนปุ ไซปู เบ็ต บ๊ะโต๊ะ ผที่ต่อยหอย) ช้อน (ขูดหอยเสียบ)
** สัตว์น้ำ "ก่อน" ที่ทำการอนุรักษ์ - ปลา : ปลาทู,ปลาทราย,ปลาชีกุน - กุ้ง : กุ้งแช่บ๋วย - ปูม้า พื้นที่ปลูกหญ้าทะเล - หอย - ปู (ลูกปูมีน้อย) ** สัตว์น้ำ "หลัง" ในพื้นที่อนุรักษ์ - มีปลาเพิ่มขึ้นบริเวณอนุรักษ์ เช่น เปาเก๋า,ปลากระพงขาว,ปลากระพงแดง,ปลากระพงข้างพาน,ปลาสาก,ปลาอินทรา,ปลาหลังเขียว,ปลาอินทรีย์,ปลาชีกุน,ปลาทู,ปลามง,ปลาทราย,ปลาสีเสียด,ปลาตาขี้มัน,หอยแมลงภู่,กุ้งแช่บ๋วย,กุ้งหัวเรียว,กุ้งหัวมัน ในพื้นที่ปลูกหญ้าทะเล -ปูม้า - หอย หอยชักตีน,หอยเจ โจทย์ที่3 เกิดการจัดการต้นทุนเครื่องมือ/กลุามออมทรัพย์/รายได้+ช่องทางการขาย **คณะกลุ่มทำงานกลุ่มออมทรัพย์ - นายกัมพล ถิ่นทะเล (ประธาน) - นางนัชชา งะสมัน (รองประทาน) - นางสาวถิราภรณ์ เบ็ญขุนทด (คณะทำงาน) ** รายได้ ก่อนและหลัง ทำประมง ก่อนทำการทำซั้ง - รายได้ 7,000-12,000 บาท/เดือน หลังทำการวางซั้ง - รายได้ 10,000-15,000 บาท/เดือน (สำรวจจากพี่น้องชาวประมง,กับตัวเองและแพชุมชน) ** การบริโภคอาหารทะเล ก่อนและหลัง ก่อน - กินอาหารทะเลไม่ค่อยสด - อาหารทะเลถูกการแช่น้ำแข็งเพราะที่จับสัตว์น้ำอยู่ไกลจากชายฝั่งต้องค้างคืน ประมาณ 1-2 คืน ค่อยกลับเข้าฝั่ง - กินน้อยลงเน้นขายมากกว่า เพราะราคาต้นทุนสูง (นัชชา งะสมัน) หลัง - กินอาหารสด อาหารทะเลสดมากขึ้น - บริโภคมารกขึ้นเพราะอาหารทะเลสดตลอด
- ต้นทุนลดลง เพราะว่าทำการประมงใกล้ๆบ้านและออกบริเวณแถวหน้าบ้าน (อีฉ๊ะ ถิ่นทะเล) ** ผลิตภัณฑ์การแปรรูปสัตว์น้ำพื้นบ้าน ปลาสดแช่ - ปลากระพง -ปลาเก๋า - ปลาอินทรีย์ - ปลาน้ำดอกไม้ - ปลาทราย - กุ้งแช่บ๋วย - ปุ (เนื้อปูกับปูนึ่ง) - ปลาทู
- ปลาหลังเขียว - ปลามง สัตวืน้ำที่กล่าวมาข้างต้นเป็นสัตวืน้ำตามฤดุกาล ประเภทอาหารปรุงสุก ผรับลูกค้าที่ร้านและส่งนอกสถานที่) - แกงตูมิ - แกงส้ม - หมึกพัดน้ำดำ - กุ้งสามรส - ปุนึ่ง - หมึกพัดพริกไทดำ - น้ำพริกปลากรอบ - น้ำพริกสมุนไพรทรงเครื่อง - น้ำพริกปลาสามรส (ใช้ปลาน้ำดอกไม้และลูกปลาพลอยจับ ** ปัญหา (ในโครงการ) - เกี่ยวกับเอกสารต้องรายงานในระบบคอมซึ่งชาวบ้านบางคนใช้ไม่เป็น ** ปัญหา อุปสรร และการมองไกลในอนาคต ปัญหา - เวลาว่างไม่ตรงกัน เวลามีประชุม - สัตว์น้ำราคาไม่คงที่ - สัตว์น้ำไม่ตรงตามฤดูกาล อุปสรรค - เป็นพายุ - สภาพอากาศ - เรื่องการขาย,การส่งออกสินค้า การมองไกลในอนาคต - ถ้ามีโครงการสนับสนุนครั้งต่อไปจะทำเขตคุ้มครองทางทะเล ขยายการขับเคลื่อนเขตคุ้มครองทางทะเล การจัดการระบบนิเวศ (หญ้าทะเล,บ้านปลา,ป่าชายเลนในเขตปากน้ำ ** การจัดการผลผลิต/แปรรุป - ยกระดับร้านคนจับปลาเป็นภัตตาคารอาหารทะเลชุมชน เช่น การรังสรรค์เมนูโดยต้องการให้เชฟมาสอน พัฒนาการยกระดับในการทำอาหาร ** การจัดการผลผลิต/งานอนุรักษ์ - เขตคุ้มครองทางทะเล ถ้ามีโครงการสนับสนุนครั้งต่อไป จะทำเขตคุ้มครองทางทะเลและขยายการขับเคลื่อนทำเขตคุ้มครองทางทะเล การจัดระบบนิเวศ (หญ้าทะเล,บ้านปลา,ป่าชายเลนในเขตตำบลปากน้ำ)

 

  • คณะทำงานได้ลงพื้นที่ ร่วมถอดบทเรียนร่วมกัน 5 พื้นที่
  • ในอนาคตจะมีการต่อยอดในเรื่องงานการอนุรักษ์ให้สามารถขยับขยายไปได้อีก