directions_run

ส่งเสริมการฟื้นฟูทรัพยากรและการจัดการกองทุนเครื่องมือประมงพื้นบ้าน ตำบลปากน้ำ และส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรให้เกิดความยั่งยืนและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมการฟื้นฟูทรัพยากรและการจัดการกองทุนเครื่องมือประมงพื้นบ้าน ตำบลปากน้ำ และส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรให้เกิดความยั่งยืนและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน
ภายใต้โครงการ แผนงานร่วมทุนนับสนุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้านใน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล
ภายใต้องค์กร สมาคมรักษ์ทะเลไทย
รหัสโครงการ M-003
วันที่อนุมัติ 13 กรกฎาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 กรกฎาคม 2566 - 13 เมษายน 2567
งบประมาณ 98,450.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สมาคมชาวประมงพื้นบ้านปากนำ้
ผู้รับผิดชอบโครงการ นาย กัมพล ถิ่นทะเล
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0843001380
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาว นิศรีน หลีมานัน
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.919829,99.866968place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2566 30 ต.ค. 2566 1 ก.ค. 2566 30 ต.ค. 2566 49,225.00
2 31 ต.ค. 2566 20 มี.ค. 2567 31 ต.ค. 2566 20 มี.ค. 2567 39,380.00
3 21 มี.ค. 2567 21 เม.ย. 2567 9,845.00
รวมงบประมาณ 98,450.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อ่าวปากบาราตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลปากน้ำอำเภอละงู จังหวัดสตูล มีบริเวณทะเลนับจากตะรุเตาเข้ามาประชิดฝั่งแผ่นดินใหญ่ เป็นพื้นที่ ที่มีฐานทรัพยากรทางทะเลอุดมสมบูรณ์ในทะเลแถบอันดามันของไทย มีระบบนิเวศน์ทะเลชายฝั่ง ที่มีลักษณะ เฉพาะบริเวณปากแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ก
0.00
2 อ่าวปากบาราตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีบริเวณทะเลนับจากตะรุเตาเข้ามาประชิดฝั่งแผ่นดินใหญ่ เป็นพื้นที่ ที่มีฐานทรัพยากรทางทะเลอุดมสมบูรณ์ในทะเลแถบอันดามันของไทย มีระบบนิเวศน์ทะเลชายฝั่ง ที่มีลักษณะ เฉพาะบริเวณปากแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อ่าวปากบาราตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีบริเวณทะเลนับจากตะรุเตาเข้ามาประชิดฝั่งแผ่นดินใหญ่ เป็นพื้นที่ ที่มีฐานทรัพยากรทางทะเลอุดมสมบูรณ์ในทะเลแถบอันดามันของไทย มีระบบนิเวศน์ทะเลชายฝั่ง ที่มีลักษณะ เฉพาะบริเวณปากแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ก่อให้เกิดแหล่งอาหารและอนุบาลสัตว์น้ำ มีเกาะแก่งขนาบ ทั้งด้านเหนือ ด้านใต้ และด้านตะวันตก มีร่องน้ำเดินเรือ มีทั่งเหล่าปะการังธรรมชาติ และปะการังเทียม ในบริเวณอ่าวปากบาราซึ่งในอดีตกับปัจจุบัน ในอดีต เมื่อ 15-20 ปีที่แล้ว มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลทั้งในด้านการท่องเที่ยวและการประมง เปิดโอกาสให้ผู้คนในชุมชนมีสิทธิ์ มีเสียง และมีอำนาจในการบริหารจัดการฐานทรัพยากร เป็นแหล่งทำมาหากิน สร้างรายได้ สร้างความกินดีอยู่ดีให้กับคนในพื้นที่ และที่สำคัญผู้บริโภคอาหารทะเลจากพวกปลา กุ้ง หอย หมึก ปู ก็จะมีแหล่งโปรตีนจากธรรมชาติ ทรัพยากรทางทะเลมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก เนื่องจากการทำประมงพื้นบ้านของชาวบ้านในพื้นที่มีการใช้เครื่องมือประมงที่ไม่ทันสมัย ใช้เครื่องมือเฉพาะอย่าง เช่น อวนกุ้ง อวนปลาทู อวนปู อวนปลาทราย ลอบหมึก ลอบปู เป็นต้น ทำให้ทรัพยากรยังคงอุดมสมบูรณ์ คนในชุมชมประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านเลี้ยงดูครอบครับเพียงอย่างเดียว ก็สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้อย่างมีความสุขได้ ปัจจุบันมีประชากรเพิ่มมากขึ้นและหันมาประกอบอาชีพประมงเพิ่มมากเนื่องจากสถาณการณ์โควิดโดยมีการทำประมงแบบหลายวิธี ทั้งเรือประมงพาณิชย์ และเรือประมงพื้นบ้าน ที่มีการใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำที่ทันสมัย ส่งผลให้ ทรัพยากรประมงลดลง เกิดจากการขยายตัวของการทำประมงที่จับสัตว์น้ำจนเกินกำลังผลิตของธรรมชาติและการทำประมงฝ่าฝืนกฎหมาย ทำให้จำนวนประชากรสัตว์น้ำลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเครื่องมือ อวนลากและอวนรุนได้ลักลอบเข้ามาทำการประมง ทำลายระบบนิเวศบนพื้นทะเลซึ่งเคยเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำและทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน ข้อมูลจากประมงพื้นบ้านกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ปริมาณที่จับสัตว์น้ำลดลง ออกเรือหาปลาแต่ละครั้งได้ปริมาณลดลงมาก และต้องออกหาปลาไกลขึ้น ออกเรือหาปลาใช้เวลานานขึ้น และใช้เชื้อเพลิงน้ำมันในการออกเรือในปริมาณที่มากขึ้น และใช้ทุนเพิ่มขึ้นเนื่องจากราคาน้ำมันแพงและเครื่องมือทำการประมงที่มีราคาแพง คุณภาพไม่ดี ในบางครั้ง ที่ออกเรือแต่ละครั้งค่าน้ำมันเรือกับจำนวนปลาที่ได้ไม่คุ้มทุนรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ที่ผ่านมาชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล มีการทำกิจกรรมอนุรักษ์ทางทะเลอยู่แล้วแต่ยังคงไม่เพียงพอจึงต้องมีการทำเพิ่มขึ้นในทุกๆปี เช่น การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ การสร้างบ้านปลา (การทำซั้งกอ) และการปลูกหญ้าทะเล โดยมีการทำซั้งกอหรือการทำบ้านปลาหรือปะการังเทียมพื้นบ้านเป็นเครื่องมือที่มาจากภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีมาแต่อดีต โดยมีไว้เพื่อความสะดวกในการจับ หรือทำการประมง โดยการนําซั้งไปทิ้งไว้ในทะเล นอกจากนี้ซังกอ เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ และเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำขนาดเล็ก นอกจากนี้ ยังมีประโยชน์ต่อกิจกรรมการตกปลา ซั้งกอสร้างรายได้ให้กับชาวประมงพื้นบ้าน ซั้งกอไม่เพียงแต่จะมีประโยชน์ทางตรงแล้ว ยังมีประโยชน์ทางอ้อมด้วย คือป้องกันการทำการประมงของเรือขนาดใหญ่ เช่น เรืออวนลาก มาทำการประมงในเขตหวงห้ามได้อีกทางหนึ่งด้วยซึ่งวิธีการทำซั้ง นำไม้ไผ่มาตัดเป็นท่อน แล้วผูกด้วยเถาวัลย์ หรือเชือก ผูกติดกับทางมะพร้าวทำเป็นซั้งกอ ชนิดของสัตว์น้ำ มักพบสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น ปลากุแร ปลาทูแขก และปลาสีกุน เป็นต้น การทำซั้งกอเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำขนาดเล็กและเป็นห่วงโซ่อาหารของสัตว์น้ำขนาดใหญ่ เช่น ปลาอินทรีย์ ปลาสาก และปลากะโทงแทง และปลาอื่นๆ มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลทั้งในด้านการท่องเที่ยวและการประมง จึงได้เกิดความร่วมมือกันหลายชุมชนโดยรอบอ่าวปากบารา มีการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์โดยวิถีประมงพื้นบ้าน โดยมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้กับนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับการทำซั้งกอและความสำคัญการจับสัตว์น้ำขนาดเล็ก โดยมีกิจกรรมตกปลาบริเวณซั้งกอ มีการจัดกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วิถีประมงพื้นบ้าน เพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับชาวประมงพื้นบ้าน และยังช่วยลดปริมาณการจับสัตว์น้ำอีกด้วย แต่ดำเนินการไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากซั้งกอ มีสภาพที่ชำรุดพุพังตามอายุการใช้งานและชุมชนระดมทุนไม่เพียงพอ นอกจากนั้นชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดสตูลรวมตัวเปิด “ร้านคนจับปลา”ไม่ง้อคนกลาง-สร้างทางเลือกใหม่ในการขายผลผลิตตรงสู่ผู้บริโภค อ่าวปากบารา ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นแหล่งทำประมง ชาวประมงออกเรือทุกวันเพื่อจับสัตว์น้ำเพื่อมาเป็นอาหารและนำออกจำหน่ายกับแพปลา แต่ผลผลิตที่จำหน่ายเมื่อไปถึงมือผู้ซื้อปลายทางกลับมีราคาสูงกว่าที่จำหน่ายให้แก่พ่อค้าคนกลางเป็นอย่างมาก จากปัญหาผลผลิตโดนกดราคา ทำให้ชาวประมงพื้นบ้าน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านปากบารา บ้านตะโละใส และบ้านท่ามาลับ จึงได้รวมตัวกันจัดตั้งร้านจำหน่ายสัตว์น้ำที่จับได้เพื่อตัดพ่อค้าคนกลางออกไปจากห่วงโซ่การค้าขาย ขณะเดียวกันก็สามารถจำหน่ายผลผลิตให้ผู้บริโภคได้ในราคาที่ยุติธรรมและสมเหตุผล กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านได้พูดคุยกันถึงการจัดการผลผลิตของตนเอง ซึ่งหากขายผ่านพ่อค้าคนกลางมักโดนกดราคาอยู่เสมอ แต่ราคาในตลาดที่ขายให้กับผู้บริโภคกลับมีราคาสูงกว่าผู้ผลิตหลายเท่าตัว จึงได้ดำเนิน “โครงการร้านคนจับปลาสตูล” ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2558 โดยให้กลุ่มแม่บ้านมาช่วยแปรรูปผลผลิตที่หามาได้ผลผลิตของกลุ่มประมงพื้นบ้านมีพวกปลาต่างๆ เช่น ปลาเก๋า ปลากะพง ปลาอินทรีย์ ปลาน้ำดอกไม้ กุ้งแชบ๊วย หมึกหอม หมึกกระดองฯลฯ ซึ่งจะจับได้ตามฤดูกาล เราจะรับซื้อในราคาที่สูงกว่าแพปลาร้อยละ 10-20 และมีการแปรรูปอาหารทะเล เช่นปลาเค็ม น้ำพริก ปลาหวาน นอกจากนี้ยังมีช่องทางจำหน่ายในร้านเลมอนฟาร์ม รวมทั้งการจำหน่ายทางออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดียอย่าง เฟซบุ๊ค เนื่องด้วยสถาณการณ์โควิด ทำให้ทางช่องทางจำหน่ายในร้านเลมอนฟาร์ม หยุดสั่งซื้อจากทางร้านคนจับปลาสตูล เนื่องจากได้รบผลกระทบจากโควิด ทำให้ยอดขายลดลงเป็นอย่างมาก และยังส่งผลกระทบกับร้านคนจับปลาด้วยเนื่องจากมียอดขายที่ลดลงเป็นอย่างมาก ในตลาดออนไลน์ก็มียอดขายที่ลดลงเพราะเฟสบุคปิดกั้นการมองเห็นโพสจึงทำให้ออเดอร์ในตลาดออนไลน์ลดลงเลยจึงหาวิธีการขายแบบหาตลาดเอง เช่น การฝากขาย ฝากแม่ค้าออนไลน์ไลน์สด ฝากร้านขายของฝาก ร้านสินค้า OTOP ดังนั้นสมาคมชาวประมงพื้นบ้าน ปากน้ำจึงดำเนินโครงการเพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในทะเลและเพื่อลดต้นทุนเครื่องมือประมงและเพิ่มรายได้จากผลผลิต

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดกลไกและคณะทำงานเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรและเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายต้นทุนการประมง

1.ข้อมูลการจัดตั้งสหกรณ์เครื่องมือประมงพื้นบ้าน และแผนทีมงานเตรียมการจัดตั้งสหกรณ์เครื่องมือประมง 2.แผนการจัดกิจกรรมฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากร เช่น การทำซั้ง การปลูกหญ้าทะเล ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ 3.เกิดคณะทำงาน/กลไก

2 เพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการฟื้นฟูทรัพยากรในอ่าวปากบารา

1.มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำลงสู่ทะเลใกล้ชุมชน
2.มีการทำบ้านปลา (ทำซั้งกอ)และการการปลูกหญ้าทะเล เพิ่มพื้นที่แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ

3 เพื่อเพิ่มรายได้จากยอดขายและยอดการผลิต (ร้านคนจับปลา) ,มีแนวทางการจัดการต้นทุนเครื่องมือประมง และแกนนำมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาวะ

1.เกิดแนวทางการจัดตั้งสหกรณ์เครื่องมือประมง 2.สามารถเพิ่มรายได้จากยอดขาย ทั้งรูปแบบเชิงฝึกอบรมปฏิบัติการและในรูปแบบออนไลน์ เช่น การไลน์สดขายของในทุกๆวัน 3.แกนนำชาวประมงและ แกนนำกลุ่มแม่บ้านแปรรูปเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคอาหารทะเล ปลอดภัยเพิ่มขึ้น อย่างน้อย 30 คน

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กรรมการและสมาชิกร้านคนจับปลาสตูล 30 -
แกนนำสมาชิกชาวประมงพื้นบ้านปากน้ำ 30 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66ธ.ค. 66ม.ค. 67ก.พ. 67มี.ค. 67เม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67ต.ค. 67พ.ย. 67ธ.ค. 67ม.ค. 68ก.พ. 68มี.ค. 68เม.ย. 68พ.ค. 68มิ.ย. 68ก.ค. 68ส.ค. 68ก.ย. 68ต.ค. 68พ.ย. 68ธ.ค. 68ม.ค. 69ก.พ. 69มี.ค. 69เม.ย. 69พ.ค. 69มิ.ย. 69ก.ค. 69ส.ค. 69ก.ย. 69ต.ค. 69พ.ย. 69ธ.ค. 69ม.ค. 70ก.พ. 70มี.ค. 70เม.ย. 70พ.ค. 70มิ.ย. 70ก.ค. 70ส.ค. 70ก.ย. 70ต.ค. 70พ.ย. 70ธ.ค. 70ม.ค. 71ก.พ. 71มี.ค. 71เม.ย. 71พ.ค. 71มิ.ย. 71ก.ค. 71ส.ค. 71ก.ย. 71ต.ค. 71พ.ย. 71ธ.ค. 71ม.ค. 72ก.พ. 72มี.ค. 72เม.ย. 72พ.ค. 72มิ.ย. 72ก.ค. 72ส.ค. 72ก.ย. 72ต.ค. 72พ.ย. 72ธ.ค. 72
1 ดำเนินงาน(20 ก.ค. 2566-15 พ.ย. 2566) 500.00                                                                                                                                                            
2 ประชุมคณะทำงานโครงการ 3ครั้ง(3 ส.ค. 2566-3 ส.ค. 2566) 7,800.00                                                                                                                                                            
3 ประชุมปรึกษา หารือ และดูงานการจัดตั้งสหกรณ์เครื่องมือประมงพื้นบ้าน(11 ส.ค. 2566-11 ส.ค. 2566) 9,400.00                                                                                                                                                            
4 ประชุมชาวประมงพื้นบ้านเพื่ออออกแบบกิจกรรมอนุรักษ์(15 ส.ค. 2566-15 ส.ค. 2566) 6,100.00                                                                                                                                                            
5 ปฏิบัติการสร้างบ้านปลาชุมชนเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในอ่าวปากบารา(29 ส.ค. 2566-29 ส.ค. 2566) 26,930.00                                                                                                                                                            
6 ปฏิบัติการกิจกรรมฟื้นฟูปลูกหญ้าทะเล(29 ส.ค. 2566-29 ส.ค. 2566) 8,600.00                                                                                                                                                            
7 ประชุมชาวประมงพื้นบ้านเพื่อออกแบบกิจกรรมการเป็นนักขาย(30 ส.ค. 2566-30 ส.ค. 2566) 5,200.00                                                                                                                                                            
8 ปฏิบัติการฝึกอบรมกลยุทธผสานการขายและการตลาด เช่น การขายออนไลน์(31 ส.ค. 2566-31 ส.ค. 2566) 19,620.00                                                                                                                                                            
9 ปฏิบัติการสร้างบ้านปลาชุมชนเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในอ่าวปากบารา(25 พ.ย. 2566-25 พ.ย. 2566) 0.00                                                                                                                                                            
10 กิจกรรมติดตามประเมินผลครั้งที่1(5 ม.ค. 2573-5 ม.ค. 2573) 0.00                                                                                                                                                            
11 กิจกรรมติดตามประเมินผลครั้งที่2(5 ม.ค. 2573-5 ม.ค. 2573) 7,800.00                                                                                                                                                            
รวม 91,950.00
1 ดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 500.00 1 500.00
5 ต.ค. 66 ค่าดำเนินงาน 0 500.00 500.00
2 ประชุมคณะทำงานโครงการ 3ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 7,800.00 3 7,780.00
3 ส.ค. 66 ประชุมชี้แจงคณะทำงานและชี้แจงรายละเอียดโครงการ ครั้งที่1 10 2,600.00 2,580.00
16 ส.ค. 66 ประชุมครั้งที่2 ประชุมคณะทำงานหารือออกแบบกิจกรรมศึกษาดูงานการจัดตั้งกองทุนเครื่องมือสหกรณ์ 10 2,600.00 2,600.00
30 ก.ย. 66 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 10 2,600.00 2,600.00
3 ประชุมปรึกษา หารือ และดูงานการจัดตั้งสหกรณ์เครื่องมือประมงพื้นบ้าน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 10 9,400.00 1 9,400.00
28 ส.ค. 66 ศึกษาดูงานการจัดตั้งองค์กรเครื่องมือประมงพื้นบ้าน ณ ปานาเระ 10 9,400.00 9,400.00
4 ประชุมชาวประมงพื้นบ้านเพื่ออออกแบบกิจกรรมอนุรักษ์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 42 6,100.00 1 6,100.00
15 ส.ค. 66 ประชุมชาวประมงพื้นบ้านเพื่อออกแบบกิจกรรมอนุรักษ์ 42 6,100.00 6,100.00
5 ปฏิบัติการสร้างบ้านปลาชุมชนเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในอ่าวปากบารา กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 26,930.00 1 26,930.00
25 พ.ย. 66 ปฏิบัติการสร้างบ้านปลาชุมชนเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในอ่าวปากบารา 20 26,930.00 26,930.00
6 ปฏิบัติการกิจกรรมฟื้นฟูปลูกหญ้าทะเล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 8,600.00 1 8,600.00
29 ต.ค. 66 ปฏิบัติการกิจกรรมฟื้นฟูปลูกหญ้าทะเล เกาะลิดี 20 8,600.00 8,600.00
7 ประชุมชาวประมงพื้นบ้านเพื่อออกแบบกิจกรรมการเป็นนักขาย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 5,200.00 1 5,200.00
30 ส.ค. 66 ออกแบบกิจกรรมการเป็นนักขาย สมาชิกร้านคนจับปลา 20 5,200.00 5,200.00
8 ปฏิบัติการฝึกอบรมกลยุทธผสานการขายและการตลาด เช่น การขายออนไลน์ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 19,620.00 3 19,620.00
31 ส.ค. 66 ปฏิบัติการ การเป็นนักขาย ครั้งที่1 15 6,520.00 6,520.00
2 ก.ย. 66 ปฏิบัติการฝึกอบรมกลยุทธผสานการขายและการตลาด เช่น การขายออนไลน์อครั้งที่2 15 6,550.00 6,550.00
3 ก.ย. 66 ปฏิบัติการเป็นนักขาย ไลน์สดขายของออนไลน์ ครั้งที่3 15 6,550.00 6,550.00
9 ปฏิบัติการสร้างบ้านปลาชุมชนเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในอ่าวปากบารา กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 0.00 0 0.00
31 มี.ค. 67 ปฏิบัติการสร้างบ้านปลาชุมชนเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในอ่าวปากบารา 20 0.00 -
10 กิจกรรมติดตามประเมินผลครั้งที่1 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
11 กิจกรรมติดตามประเมินผลครั้งที่2 กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 7,800.00 2 7,800.00
29 พ.ย. 66 กิจกรรมติดตามประเมินผลครั้งที่1 20 3,900.00 3,900.00
31 มี.ค. 67 กิจกรรมติดตามประเมินผลครั้งที่2 20 3,900.00 3,900.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 09:42 น.