directions_run

พัฒนาศักยภาพแกนนําการจัดการทรัพยากรและการจัดการผลผลิตประมงพื้นบ้าน บ้านเกาะลอย อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน ให้มีองค์ความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากร และ การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. แกนนำกลุ่ม สามารถบอก อธิบาย การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและการผลิตอาหารทะเลที่ปลอดภัยได้ไม่น้อยกว่า 10 คน 2. เกิดกลไกการขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรและและการจัดการผลผลิต 3. กลุ่มมีข้อมูลทางการประมงและศักยภาพทางการประมง 4. กลุ่มได้ขึ้นทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นด้านการแปรรูป

เกิดแกนนำกลุ่มคณะทำงานโครงการสร้างความเข้าในในระบบการจัดการทำงานเกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนทบทวนข้อมูลการอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำ การทำบ้านปลา ในแนวเขตอนุรักษ์ รวมกันขับเคลื่อนงานจนเกิดแผนการดำเนินงานและมีการติดตามผลการดำเนินงาน ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นด้านการแปรรูป

 

แกนนำและคณะทำงานโครงการมีความเข้าใจในระบบการจัดการการทำงานเป็นอย่างดี

2 2. เพื่อปรับเปลี่ยนปัจจัยแวดล้อมให้เอื้อต่อการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ตัวชี้วัด : 1 มีการจัดการพื้นที่และข้อกำหนดเขตอนุรักษ์อย่างชัดเจน 2 เกิดบ้านสัตว์น้ำไม่น้อยกว่า 55 ลูก 3 การละเมิดข้อกำหนดเขตอนุรักษ์มีน้อยลง 4 มีแผนปฎิบัติการในการเฝ้าระวังเขตอนุรักษ์

มีการจัดการพื้นที่แนวเขตการอนุรักษ์ชายฝั่ง อย่างชัดเจน มีการจัดทำบ้านปลาในเเนวเขตอนุรักษ์จำนวน 55 ลูก ทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีกฏกติกา อย่างชัดเจนในแนวเขตอนุรักษ์ และทางกลุ่มมีแผนการเฝ้าระวัง โดยให้ชาวบ้านช่วยกันสอดส่งดูแล และเมื่อมีคนทำผิดก็ว่ากล่าวตักเตือน เป็นต้น

 

คนในพื้นที่และแกนนำคณะทำงานโครงการมีความกระตือรือรน ในการจัดทำกิจกรรม ส่งผลให้กิจกรรมสำเร็จไปตามเป้าหมายที่วางไว้ และให้ความร่วมมือเฝ้าระวังบุคคลภายนอกเข้ามายังเขตอนุรักษ์ร่วมกัน มีการว่ากล่าวตักเตือนมีมีคนทำผิด

3 3. เพื่อพัฒนาผลผลิตจากประมงพื้นบ้านที่ปลอดภัย มาจากการทำประมงอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด : 1. สมาชิกมีความตระหนักถึงการบริโภคอาหารประมงพื้นบ้านที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ มีการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเล ปลอดภัย จำนวน 30 คน 2. เกิดผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ปลอดภัย มีบรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดผู้บริโภคไม่น้อยกว่า 3 ผลิตภัณฑ์ 4. มีแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยที่ผู้บริโภคเข้าถึงง่าย อย่างน้อย 3 ช่องทาง ทั้ง ทั้งในรูป on site และ on line 5. สมาชิกมีความสามารถในการขายออนไลน์อย่างน้อย 3 คน

จากการเข้าร่วมโครงการ สมาชิกมีความตระหนักถึงการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย และมีการปรับเปลี่ยนการบริโภคที่ปลอกภัย เลี่ยงอาหารที่ใส่ผงชูรส และไม่ประกอบอาหารที่ใส่ของปรุงรสต่างๆ เลือกอาหารที่ปลอดภัย
ในส่วนของการแปรรูป มีระบบการจัดการเรื่องการขาย การคิดต้นทุน และการเรียนรู้การขายออนไลน์ จากการฝึกอบรม และนำไปต่อยอดได้้ในภายหน้า

 

หลังจากเข้าร่วมกิจกรรม สังเกตุได้อีกข้อหนึ่งคือพฤตกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป เน้นของที่ามีคุณภาพ และหลีกเลี่ยงสารปรุงแต่งๆต่างๆ ร่วมถึง การสร้างองค์ความรู่ให้กับตัวเอง มีแนวทางในการปฏิบัติ จากที่เป็นอยู่มากขึ้น