directions_run

พัฒนาศักยภาพแกนนําการจัดการทรัพยากรและการจัดการผลผลิตประมงพื้นบ้าน บ้านเกาะลอย อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

assignment
บันทึกกิจกรรม
เวทีปิดโครงการแผนงานร่วมทุนการสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล23 พฤษภาคม 2567
23
พฤษภาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย นายสัญชัย โต๊ะมะยิ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวทีปิดโครงการสสส. 1. เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อรายงานการดำเนินงานตามแผนงานทั้งหมดที่จัดทำโครงการขึ้น ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา 2. แลกเปลี่ยน ความสำเร็จของโครงการ และ แลกเปลี่ยนความรู้กับกับโครงการทั้ง 30 โครงการที่ร่วมรับทุน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมาในแต่ละกิจกรรมกรรมสามารถนำไปต่อยอดและพัฒนาให้เกิดประโยชน์กับคนในพื้นที่
  2. ได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนแนวคิดและนำกลับไปพัฒนาต่อยอดในกลุ่มต่อไป
  3. มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของพี่น้องประมงอย่างเห็นได้ชัด
เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)17 พฤษภาคม 2567
17
พฤษภาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย นายสัญชัย โต๊ะมะยิ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จำนวนผู้เข้าร่วม
1. คณะทำงานโครงการ จำนวน 10 คน สรุปผลการดำเนินงานดังนี้ ผลลัพธ์ที่ 1 :  เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงานและเสริมสร้างองค์ความรู้ในการบริหารจัดการทรัพยากรและ และการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน - บอก อธิบาย การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและการผลิตอาหารทะเลที่ปลอดภัยได้ไม่น้อยกว่า 10 คน  1. นางสาวฟาริด้า  ขุนหมุด 2. นายชัยโย  จันทร์ลิหมัด 3. สัญชัย  โต๊ะมะยิ 4. นายตะเล็บ  สอนประดิษฐ์ 5. นายมิหนาด  หลีสุวรรณ 6. นายมามะ  โต๊ะมะยิ 7. นายนาวิน  สิงห์หาด 8. นางสาวทัศนีย์  สลาม 9. นางกาญจนี  สิงห์เจริญ
10. นายสมชาย  แสงเดือน 11. นายสายัญ  โต๊ะมะยิ เกิดคณะทำงานการดการผลผลิต อย่างน้อยชุดละ 7 คน  1. นางสาวทัศนีย์  สลาม 2. นางสาวทัศนีย์  สลาม 3. นางดิเราะ  ร่าเสน 4. นายชัยโย  จันทร์ลิหมัด 5. นายสายัญ  โต๊ะมะยิ 6. นายตะเล็บ  สอนประดิษฐ์ 7. นายสายัญ  โต๊ะมะยิ 8. นายอริณชัย  โต๊ะมะยิ 9. นายสมชาย  แสงเดือน 10. นางสาวฟาริด้า  ขุนหมุด เกิดคณะทำงานอาสาสมัคร เฝ้าระวังเขตอนุรักษ์ อย่างน้อยชุดละ 7 คน 
- ตัวแทนจากกลุ่มอนุรักษ์  3 กลุ่ม  กลุ่มละ 2 คน และผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มมีข้อมูลทางการปะมงและศักยภาพทางการประมง  - อวนกุ้ง - อวนจาระเม็ด - อวนปลา  ปลาอินทรีย์  จาระเม็ด  อวนล้อมปลาทู ปลาเหลียด  ปลากุเลา - จับปูม้า  กุ้ง  ปูดำ หมึกกล้วย หมึกกระดองมีมากขึ้น ข้อสังเกต - บางช่วงมีสภาพอากาศมีการแปรปรวน ร้อน ทำให้จับสัตว์น้ำไม่ได้เลย

1.5 เกิดกลุ่มและระเบียบหรือข้อตกลงของกลุ่มการจัดการผลผลิตชุมชน  - มีกลุ่มและระเบียบ แต่ยังไม่ได้สมัครสมาชิก - รวมหุ้นละ 100 บาท ไม่เกิน 10 หุ้น ค่าสมัคร - มีการปันผลเข้ากองทุนอนุรักษ์  20%

1.6 กลุ่มได้ขึ้นทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นด้านการแปรรูป 


ผลลัพธ์ที่ 2 :  ปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อในการจัดการทรัพยากร 2.1 มีพื้นที่และข้อกำหนดเขตอนุรักษ์อย่างชัดเจน  - เขต/ข้อกำหนด พื้นเขตอนุรักษ์ประมาณ  105 ไร่ (ธนาคารปูม้าบ้านเกาะลอย  เขือนปากน้ำ ระยะ 500  ยื่นลงทะเล 350 ม - ข้อกำหนดในเขตอนุรักษ์  ห้ามทำการประมงในแนวเขตอนรักษ์  สามารถ ตกเบ็ด ทอดแหได้  และ ลากเคยด้วยคน - ห้ามรื้อถอน - ทำบ้านปลาอย่างน้อย 1 ครั้ง - การใช้พื้นที่เพื่อศึกษาวิจัย ต้องแจ้งผู้ใหญ่บ้าน หรือ อาสาสมัครเฝ้าระวัง

2.2เกิดบ้านสัตว์น้ำ  ไม่น้อยกว่า  55 ลูก





       -   เกิดบ้านปลาจำนวน  40  จุด

หน่วยงานภายนอกสนับสนุน - เรือตรวจ/ประมง  50 ลูก 2.3สมาชิกในชุมชนรับรู้ข้อกำหนดเขตอนุรักษ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50  - ผ่านเวทีประชาคม - สมาชิกกลุ่ม - สื่อสารวิทยุในเรือ - ประชาสัมพันธ์ในไลน์หมู่บ้าน - ป้ายประชาสัมพันธ์

2.4 การละเมิดกติกาชุมชนมีน้อยลง  - มีการละเมิดกติกาชุมชนมีน้อยลง - หากไม่มีซังจะไม่วาง เพราะไม่มีปลา  เมื่อมีซัง จะมีปลาจะมีการละเมิดมากขึ้น ผู้ที่ละเมิด จะเป็นคนจากพื้นที่ภายนอกเป็นส่วนใหญ่

2.5 มีแผนปฎิบัติการในการเฝ้าระวังเขตอนุรักษ์  - ซั้งกอจะความความคงทนและป้องกันการระเมิดได้มากขึ้น - ข้อเสนอการทำบ้านปลา มัดรวม เอาหินถ่วง 2.6 มีข้อมูลชนิดสัตว์น้ำที่มาอาศัยในบริเวณบ้านสัตว์น้ำ  - ก่อนสิงหาคม  66  31  ชนิด    ตาอวน  4.3 - หลังเมษายน  67  30  ชนิด  ตาอวน  4.5 ปลาที่พบเพิ่มขึ้น 1. ปลาโอนทะเล  (พม่า) 2. ปลาคล่อง
3. ปลาทูตัวใหญ่ ผลลัพธ์ที่ 3 : มีผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยที่มาจากการทำประมงอย่างยั่งยืน สมาชิกมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถสื่อสารเรื่องราวของสินค้าประมงพื้นบ้านที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ อย่างน้อย 10  คน 
1. นางสาวฟาริด้า  ขุนหมุด 2. นายชัยโย  จันทร์ลิหมัด 3. สัญชัย  โต๊ะมะยิ 4. นายตะเล็บ  สอนประดิษฐ์ 5. นายสายัญ  โต๊ะมะยิ 6. นายมิหนาด  หลีสุวรรณ 7. นายมามะ  โต๊ะมะยิ 8. นายนาวิน  สิงห์หาด 9. นางสาวทัศนีย์  สลาม 10. นางกาญจนี  สิงห์เจริญ 11. นายสมชาย  แสงเดือน ความรู้สามารถขยายต่อความรู้ได้ 1. การปล่อยปู 2. การอนุรักษ์ 3. บ้านปลา เกิดผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย ไม่น้อยกว่า 3 ผลิตภัณฑ์  - ยังไม่เปิดรับสมาชิก - โรงเรือนยังไม่พร้อม - เคยส่งปูม้าและกั้งกระดานไปออกบู๊ชที่ Fisher Folk  ได้เงินมา 10,000  บาท - เคยทดลองทำปลาจวดร้า/ปลาทูเค็ม - #หมึกกล้วยค่อยข้างมาก
บรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของ ตลาดผู้บริโภค เน้นถุงซีล/สุญญากาศ
- สติ๊กเกอร์กำลังออกแบบอยู่ มีแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยที่ ผู้บริโภคเข้าถึงง่าย จำไนวน 4 ช่อทาง ทั้ง ทั้งในรูป on site และ on line - ส่งของร่วมกับร้านนครศรีธรรมราช - ส่งแบบแช่น้ำแข็ง - มีเพจเกาะลอยซีฟู๊ด - ขายในตลาดสดในพื้นที่ สมาชิกมีความสามารถในการขายออนไลน์ อย่างน้อย  3  คน -
ความสำเร็จที่เกิดขึ้น - มีข้อมูลสัตว์น้ำ สร้างความมั่นใจให้กับคณะกรรมการในเรื่องทรัพยากรในพื้นที่ - มีจำนวนปูมากขึ้น  สมาชิกในชุมชนใช้อวนปูมากขึ้น
- ชุมชนมีความสุขมากขึ้น สัตว์น้ำเยอะขึ้น - เกิดการวางแผนได้ปรึกษาหารือ ได้ประสาน แลกเปลี่ยนข้อมูลในการบริหารจัดการทรัพยากรร่วมกัน - เกิดความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีต่างๆมากขึ้น
- การปรึกษาหารือรับรู้ข้อมูลกลุ่มมากขึ้น - ความรับผิดชอบต่อตัวเองและกลุ่มความสามัคคีภายในกลุ่มมากขึ้น ปัญหา/อุปสรรค
- ราคาน้ำมันแพง ราคาสัตว์น้ำราคาถูกลง - เครื่องมือการประมงมีราคาแพง - เวลาทำงานไม่ตรงกันทำให้เวลาในการประชุมต้องรอกัน -

แผนงานต่อไป

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น - ตัวเรา/คณะทำงาน - สมาชิก-ชุมชน-สังคม-ผู้บริโภค - ต่อสิ่งแวดล้อม-ทรัพยากร - เศรษฐกิจ/รายได้ - สุขภาพ - ภาคีเครือข่าย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการจัดการพื้นที่และข้อกำหนดเขตอนุรักษ์อย่างชัดเจน
      -  เกิดบ้านสัตว์น้ำไม่น้อยกว่า  55 ลูก   - การละเมิดข้อกำหนดเขตอนุรักษ์มีน้อยลง   - มีแผนปฎิบัติการในการเฝ้าระวังเขตอนุรักษ์ -  เกิดคณะทำงาน และการแบ่งบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน
ประชุมประชาคมเขตอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล10 พฤษภาคม 2567
10
พฤษภาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย นายสัญชัย โต๊ะมะยิ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วม 1. คณะทำงานโครงการ 2. ผู้ใหญ่บ้าน
3. โต๊ะอิหม่าม 4. ประมงอำเภอสิชล  เรือตรวจสิชล 5. ประชาชน บ้านเกาะลอย ประชาคมเขตอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลบ้านเกาะลอย ม.1  ต.ทุ่งใส  อ.สิชล  จ.นครศรีธรรมราช

พิกัด :  เหนือ-ใต้ กำแพงกุโบร์ ม.1 ติดบ้านมุกดารา - ริมเชื่อนปากน้ำสิชล     ตก - ออก จากริมฝั่งยื่นลงไปในทะเล  500 เมตร
พื้นที่ ;
เขตอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลบ้านเกาะลอย  เป็นพื้นที่ที่ต้องการให้เป็นแหล่งอาหาร แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ  และเป็นพื้นที่ในการดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทะเล  เช่น บ้านปลา การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ รวมทั้งเป็นพื้นที่ในการศึกษาวิจัยของชุมชน
ข้อกำหนด 1. กลุ่มประมงพื้นบ้านต้องวางซั้งบ้านปลาทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 2. ห้ามใช้เครื่องมือ/วิธีการจับสัตว์น้ำทุกชนิดในเขตอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากร ตลอดทั้งปี ยกเว้นการจับด้วยเบ็ดตกปลา / ทอดแหริมตลิ่ง/ลากเคยด้วยคน 3. ห้ามรื้อถอน ทำลายบ้านปลา  ธง ป้าย หรือเครื่องหมายต่างในแนวเขตอนุรักษ์ 4. การศึกษาวิจัยโดยใช้เครื่องมือต่างๆภายในเขตอนุรักษ์ จะต้องแจ้งให้คณะกรรมการกลุ่มอนุรักษ์ที่ดูแลเขตนั้นๆ และผู้ใหญ่บ้านรับทราบอย่างเป็นทางการ

ระยะเวลา  ; ตลอดทั้งปี

ข้อกำหนดโทษ ครั้งที่ 1  ว่ากล่าว ตักเตือน และลงบันทึกโดยคณะกรรมการกลุ่มอนุรักษ์ที่ดูแลเขตนั้นๆ
ครั้งที่ 2 ว่ากล่าวตักเตือน ลงบันทึกโดยคณะกรรมการกลุ่ม และแจ้งให้ผู้นำทางการในพื้นที่บ้าน เกาะลอยและพื้นที่ของผู้กระทำผิดรับทราบ ครั้งที่ 3 ว่ากล่าว ตักเตือน ลงบันทึกโดยคณะกรรมการกลุ่ม แจ้งให้ผู้นำทางการในพื้นที่บ้านเกาะลอยและพื้นที่ของผู้กระทำผิดรับทราบ  และแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตามระเบียบข้อกฎหมายต่อไป

ผู้ดูแลเขต  กลุ่มประมงพื้นบ้านทั้ง 3 กลุ่ม ร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน ดูแลเขตร่วมกัน -  กลุ่มอนุรักษ์และขยายพันธุ์ปูม้าบ้านเกาะลอย -  กลุ่มอนุรักษ์ประมงพื้นบ้านเพื่อความมั่นคงทางอาหาร(บ้านฝายท่า) -  กลุ่มประมงท้องถิ่นบ้านฝายท่า ข้อเสนอแนะ 1. มีการจัดประชาคมในหมู่บ้านก่อนการประกาศใช้ 2. บริเวณแนวเขตควรมีทุ่นแสดงแนวเขตอย่างชัดเจน อย่างน้อย 3 จุด 3. มีไวนิลหรือป้ายประกาศข้อกำหนดติดตั้งริมฝั่ง 4. การลงบันทึกการพบเห็นการละเมิดข้อกำหนด ควรจะมีภาพถ่ายประกอบเก็บเป็นหลักฐาน


10  พฤษภาคม  2567

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีการจัดประชาคมในหมู่บ้านก่อนการประกาศใช้
  2. บริเวณแนวเขตควรมีทุ่นแสดงแนวเขตอย่างชัดเจน อย่างน้อย 3 จุด
  3. มีไวนิลหรือป้ายประกาศข้อกำหนดติดตั้งริมฝั่ง
  4. การลงบันทึกการพบเห็นการละเมิดข้อกำหนด  จะมีภาพถ่ายประกอบเก็บเป็นหลักฐาน
ทำบ้านปลาครั้งที่ 21 พฤษภาคม 2567
1
พฤษภาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย นายสัญชัย โต๊ะมะยิ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการทำบ้านปลา เช่น แกลลอน ไม้ใผ่ เชือก ทางมะพร้าว
  2. จัดสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เกิดบ้านสัตว์น้ำไม่น้อยกว่า 50 ลูก
  2. การละเมิดข้อกำหนดเขตอนุรักษ์มีน้อยลง
  3. มีแผนปฎิบัติการในการเฝ้าระวังเขตอนุรักษ์
จับพิกัดเขตอนุรักษ์บ้านเกาะลอย26 เมษายน 2567
26
เมษายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย นายสัญชัย โต๊ะมะยิ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วม  จำนวน  15  คน พูดคุยและวางแผนการจัดการเรื่องแผนที่อนุรักษ์ เพื่อให้ได้แผนที่โดยแมนยำ โดยการใช้โปรแกรม  LING  เพื่อให้ได้ความแม่นยำที่ชัดเจน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้แผนที่อนุรักษ์ที่ชัดเจนจำนวน 1 ฉบับ
จัดเวทีประชุมยกร่างกติกาและข้อกำหนดเขตอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรของชุมชน1 มีนาคม 2567
1
มีนาคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย นายสัญชัย โต๊ะมะยิ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ผู้เข้าร่วมจำนวน 15 คน  ประกอบด้วย 1 ผู้ใหญ่ บ้านเกาะลอย 2. ผู้นำกลุ่มธนาคารปู จำนวน 3 กลุ่ม 3. คณะทำงานโครงการ

เขตอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลบ้านเกาะลอย ม.1  ต.ทุ่งใส  อ.สิชล  จ.นครศรีธรรมราช พิกัด :  เหนือ-ใต้ กำแพงกุโบร์ ม.1 ติดบ้านมุกดารา - ริมเชื่อนปากน้ำสิชล     ตก - ออก จากริมฝั่งยื่นลงไปในทะเล  500 เมตร
พื้นที่ ;
เขตอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลบ้านเกาะลอย  เป็นพื้นที่ที่ต้องการให้เป็นแหล่งอาหาร แหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ  และเป็นพื้นที่ในการดำเนินกิจกรรมการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทะเล  เช่น บ้านปลา การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ รวมทั้งเป็นพื้นที่ในการศึกษาวิจัยของชุมชน
ข้อกำหนด 1. กลุ่มประมงพื้นบ้านต้องวางซั้งบ้านปลาทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 2. ห้ามใช้เครื่องมือ/วิธีการจับสัตว์น้ำทุกชนิดในเขตอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากร ตลอดทั้งปี ยกเว้นการจับด้วยเบ็ดตกปลา / ทอดแหริมตลิ่ง/ลากเคยด้วยคน 3. ห้ามรื้อถอน ทำลายบ้านปลา  ธง ป้าย หรือเครื่องหมายต่างในแนวเขตอนุรักษ์ 4. การศึกษาวิจัยโดยใช้เครื่องมือต่างๆภายในเขตอนุรักษ์ จะต้องแจ้งให้คณะกรรมการกลุ่มอนุรักษ์ที่ดูแลเขตนั้นๆ และผู้ใหญ่บ้านรับทราบอย่างเป็นทางการ

ระยะเวลา  ; ตลอดทั้งปี

ข้อกำหนดโทษ ครั้งที่ 1  ว่ากล่าว ตักเตือน และลงบันทึกโดยคณะกรรมการกลุ่มอนุรักษ์ที่ดูแลเขตนั้นๆ
ครั้งที่ 2 ว่ากล่าวตักเตือน ลงบันทึกโดยคณะกรรมการกลุ่ม และแจ้งให้ผู้นำทางการในพื้นที่บ้าน เกาะลอยและพื้นที่ของผู้กระทำผิดรับทราบ ครั้งที่ 3 ว่ากล่าว ตักเตือน ลงบันทึกโดยคณะกรรมการกลุ่ม แจ้งให้ผู้นำทางการในพื้นที่บ้านเกาะลอยและพื้นที่ของผู้กระทำผิดรับทราบ  และแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตามระเบียบข้อกฎหมายต่อไป
ผู้ดูแลเขต  ; กลุ่มประมงพื้นบ้านทั้ง 3 กลุ่ม ร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน ดูแลเขตร่วมกัน -  กลุ่มอนุรักษ์และขยายพันธุ์ปูม้าบ้านเกาะลอย -  กลุ่มอนุรักษ์ประมงพื้นบ้านเพื่อความมั่นคงทางอาหาร(บ้านฝายท่า) -  กลุ่มประมงท้องถิ่นบ้านฝายท่า ข้อเสนอแนะ 1. มีการจัดประชาคมในหมู่บ้านก่อนการประกาศใช้ 2. บริเวณแนวเขตควรมีทุ่นแสดงแนวเขตอย่างชัดเจน อย่างน้อย 3 จุด 3. มีไวนิลหรือป้ายประกาศข้อกำหนดติดตั้งริมฝั่ง 4. การลงบันทึกการพบเห็นการละเมิดข้อกำหนด ควรจะมีภาพถ่ายประกอบเก็บเป็นหลักฐาน

24  เมษายน  2567

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีการจัดประชาคมในหมู่บ้านก่อนการประกาศใช้
  2. บริเวณแนวเขตควรมีทุ่นแสดงแนวเขตอย่างชัดเจน อย่างน้อย 3 จุด
  3. ต้องมีไวนิลหรือป้ายประกาศข้อกำหนดติดตั้งริมฝั่ง
  4. การลงบันทึกการพบเห็นการละเมิดข้อกำหนด ควรจะมีภาพถ่ายประกอบเก็บเป็นหลักฐาน
ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการการออกแบบและคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์25 กุมภาพันธ์ 2567
25
กุมภาพันธ์ 2567รายงานจากพื้นที่ โดย นายสัญชัย โต๊ะมะยิ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การออกแบบและคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ การออกแบบดีไซน์ทำให้เป็นรูปแบบที่มีความแปลกใหม่มีความแมสในการปรับปรุง ออกแบบอยู่พอสมควรโดยที่จะแบ่งการออกแบบบรรจุภัณฑ์ได้  แบบดังนี้

การออกแบบบรรจุภัณฑ์โดยใช้ลวดลายกราฟิก คือ การออกแบบตัวอักษร รูปภาพ ลงบนพื้นผิวแนวราบ 2 มิติและซึ่งเป็นการออกแบบเกี่ยวกับสื่อสิ่งพิมพ์ ความสวยงามขึ้นอยู่กับความสามารถของนักออกแบบที่สามารถจัดวางภาพหรือตัวอักษรได้อย่างมีศิลปะ การออกแบบบรรจุภัณฑ์โดยการรีไซเคิล ขยะรีไซเคิลที่หลายคนมองข้าม ก็คือสิ่งของที่ใช้แล้วทิ้งแต่ใครจะรู้ว่าขยะเหล่านี้สามารถนำมาใช้เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ให้ทั้งความสวยงามและประโยชน์เป็นการนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างสร้างสรรค์ อย่างกล่องสำหรับบรรจุเอกสารจากกระดาษเหลือใช้
การออกแบบบรรจุภัณฑ์โดยใช้หลักการสร้างเอกลักษณ์ ออกแบบโดยการใช้สีสำหรับสื่อสารและจำแนกประเภทของสินค้า ออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อวัตถุประสงค์เจาะจงเฉพาะกลุ่มของลูกค้า ประโยชน์ และ ข้อดีของการออกแบบบรรจุภัณฑ์
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์ที่มุ่งเน้นไปในเรื่องของการเพิ่มศักยภาพให้กับบรรจุภัณฑ์นั้นๆ ในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความสวยงาม เรื่องของการใช้งานไปจนถึงการดีไซน์และปรับเปลี่ยนรูปทรงให้เข้ากับสินค้าและมีความทันสมัยหรือจะปรับเปลี่ยนไปในแนวทางคลาสสิคเรียบง่าย ก็ขึ้นอยู่กับจินตนาการและความคิดที่สร้างสรรค์ของผู้ออกแบบนั้นๆ

ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการออกแบบกล่าวโดยสรุปง่ายๆ ก็คือการปรับเปลี่ยนสิ่งเดิม หรือสิ่งใหม่ให้ดีขึ้น การออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้นมีประโยชน์และข้อดีอย่างไร ดังนี้

ประโยชน์ของการออกแบบบรรจุภัณฑ์

ช่วยทำให้บรรจุภัณฑ์ใช้งานได้ถูกตามวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับสินค้า และการใช้งาน สร้างมูลค่าของสินค้า ยกระดับแบรนด์ เพราะแพคเกจจิ้งที่สวยงามมีความแปลกใหม่แตกต่างช่วยสร้างความว้าวให้ลูกค้าสนใจได้ไม่ยาก ทำให้ได้เปรียบคู่แข่ง ช่วยกระตุ้นยอดขาย จากการที่มีบรรจุภัณฑ์ที่สะดุดตา ทำให้เกิดความสนใจกระตุ้นความอยากซื้อเพราะรูปลักษณ์ภายนอกเป็นสิ่งแรกที่ลูกค้าเห็น โดยการมีบรรจุภัณฑ์ที่โฉบเฉี่ยวไม่เหมือนใครก็เป็นอีกปัจจัยที่เพิ่มยอดขายให้คุณได้ไม่ยาก สร้างความแตกต่างและสื่อสารกับลูกค้าหรือสื่อถึงสินค้าได้ง่าย ข้อดีของการออกแบบบรรจุภัณฑ์

เพิ่มความหรูหราให้สินค้า ดูพรีเมี่ยมจากดีไซน์ที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแบรนด์นั้นๆ การออกแบบเสริมออฟชั่นการใช้งานทำให้ใช้งานง่ายตรงตามวัตถุประสงค์ของสินค้านั้นๆ ช่วยต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ ทำให้องค์กรมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในการพัฒนาสินค้าและบรรจุภัณฑ์ ทำให้ไม่ตกยุค ตามเทรนด์และยุคสมัยใหม่ที่กำลังเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วทำให้บรรจุภัณฑ์ของเราใหม่อยู่เสมอ ทั้งนี้ที่จะลืมไปไม่ได้เลยคือการออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความเข้าใจสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพมีเคล็ดลับ ดังนี้  ต้องให้มีความโดดเด่น,ตอบโจทย์ สื่อสารกับลูกค้าได้ดีเข้าใจง่าย และมีความน่าเชื่อถือ หลักการง่ายๆที่คุณสามารถนำไปปรับใช้กับแบรนด์สินค้าของผู้ประกอบการที่ต้องการความสดใหม่ของบรรจุภัณฑ์อีกทั้งยังช่วยให้คุณนำหน้าคู่แข่งอีก

ความรู้พื้นฐานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับท่านที่สนใจว่าการออกแบบควรเริ่มยังไง ความรู้พื้นฐานของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ทำได้ง่ายๆ ดังนี้

การเลือกชนิดของบรรจุภัณฑ์ที่จะทำการออกแบบ
ต้องคำนึงถึงการใช้งาน อย่างเช่น ฝากล่องเป็นรูปแบบใดถึงจะสะดวกต่อการแกะหรือเปิด กล่องมีความแข็งแรงทนทานหรือไม่ เป็นต้น

กำหนดขนาดของกล่องให้มีความสอดคล้องกับสินค้าที่จะทำการบรรจุลงบรรจุภัณฑ์
ควรทราบถึงการจัดองค์ประกอบสีที่ใช้ในการสื่อความหมาย รวมไปถึงการจัดสีให้มีความสวยงามบนบรรจุภัณฑ์
ต้องมีการจัดวางตำแหน่งของโลโก้ ตัวอักษรอธิบายสินค้า รวมไปถึงรูปภาพลวดลาย ให้อยู่ในตำแหน่งที่มีความเหมาะสม
คำนึงถึงจุดประสงค์ของการออกแบบ และต้องมีโจทย์ว่าการออกแบบบรรจุภัณฑ์นั้นๆต้องการจะสื่อความหมายอะไร ถึงใคร เป็นต้น
ต้องเลือกโรงงานผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน เป็นไว้วางใจกับลูกค้า
ข้อพิจารณาในการ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ คือ
กล่าวถึงข้อพิจารณาในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ดีนั้นต้อง ต้องมีการผลิตที่นำไปใช้ได้จริงโดยจุดประสงค์คือการบรรจุสินค้าหรือสิ่งของ ต้องมีการใช้ที่ง่าย สะดวก มีการออกแบบที่สวยงามตามความเหมาะสม และการออกแบบต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติของบรรจุภัณฑ์ที่ครอบคลุมไปถึงเรื่องของ ต้นทุนของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ รูปทรง ขนาด น้ำหนัก ส่วนประกอบวัตถุดิบที่นำมาใช้ คำนึงถึงตลาดและกลุ่มเป้าหมาย เรื่องของการจัดจำหน่าย ลักษณะของการนำไปใช้ การเก็บรักษา การจัดส่งรูปแบบใด และต้องถูกต้องตามหลักที่กฏหมายกำหนด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้ความรู้เรื่องการออกแบบและคัดเลือกบรรจุภัณฑ์
  2. ได้ความรู้เรื่องการสร้างสรรค์การออกแบบและดีไซน์บรรจุภัณ
  3. ได้ความรู้เรื่องการกระตุ้นผลิตภัณฑ์ แพคเกจจิ้งที่สวยงามมีความแปลกใหม่แตกต่างช่วยสร้างความว้าวให้ลูกค้า
กิจกรรมอบรมการบริหารจัดการธุรกิจ การจัดการต้นทุน การตั้งราคาสินค้า (4 P)23 กุมภาพันธ์ 2567
23
กุมภาพันธ์ 2567รายงานจากพื้นที่ โดย นายสัญชัย โต๊ะมะยิ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จำนวนผู้เข้่าร่วม จำนวน 20  คน 1. วิทยากรจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และทีม 2. คณะทำงานโครงการ/ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่โครงการ 3.เจ้าหน้าที่ภาคสนาม(พี่เลี้ยง) สรุปเนื้อหา 1. วิทยากรให้ความรู้หลักคิดการจักการต้นทุนโดยใช้ตัวอย่าง การทำกล้วยฉาบ  ในการคิดหาต้นทุนกำไร 2. ฝึกและบริหารจัดการเรื่อง รายรับ  รายจ่าย  ทำอย่างไรเพื่อไม่ให้ธุรกิจมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ  การเริ่มต้นทำธุรกิจก็เปรียบเสมือนการออกเดินทางบนเส้นทางที่เต็มไปด้วยความท้าทาย ซึ่งหนึ่งในอุปสรรคที่ผู้ประกอบการมือใหม่มักต้องเผชิญ คือปัญหาเรื่องการจัดการด้านการเงิน หรือการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ที่จะต้องจัดทำให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เพราะนอกจากจะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจถึงสถานะทางการเงินของธุรกิจแล้ว ยังจะช่วยให้เห็นถึงภาพรวมของรายรับรายจ่ายได้อย่างชัดเจนด้วย เทคนิคการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายร้านค้า สามารถนำไปปรับใช้ จะช่วยให้ สามารถวางแผนการเงินของร้านได้อย่างเป็นระบบได้มากกว่าที่เคย ทำความเข้าใจ บัญชีรายรับ-รายจ่าย
คืออะไร  บัญชีรายรับรายจ่าย คือ การจดบันทึกรายการเงิน ทั้งเงินที่ “ได้รับ” และเงินที่ “จ่ายออกไป” ของบุคคล ธุรกิจ หรือองค์กร เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจถึงสถานะทางการเงิน วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน วางแผนกลยุทธ์ และควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงใช้ในการยื่นภาษีตามกฎหมาย

รายรับ คือ เงินหรือรายได้ที่เข้ามาจากการดำเนินงานของธุรกิจร้านค้า เช่น การขายสินค้าหรือบริการ โดยยังไม่ได้หักลบกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ รายจ่าย คือ เงินที่ถูกจ่ายออกไปเพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจร้านค้า เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันรถ ค่าเช่าสถานที่ ค่าใช้จ่ายเพื่อการออมและการลงทุน รวมถึงเงินบริจาค ข้อดีของการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายร้านค้า 1. ควบคุมการเงินและวางแผนธุรกิจได้ง่ายกว่าเดิม การจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายธุรกิจร้านค้า จะช่วยให้เห็นถึงความสอดคล้องระหว่างรายได้และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมถึงเข้าใจภาพรวมของสถานะทางการเงินของร้านว่าเป็นอย่างไร นำไปสู่การวางแผนกลยุทธ์และเป้าหมายทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ช่วยให้เข้าใจถึงสถานะทางการเงินของธุรกิจอย่างแท้จริง สามารถนำไปวิเคราะห์ว่า รายได้มาจากส่วนไหน หรือมีค่าใช้จ่ายส่วนไหนที่สูงบ้าง ควบคุมค่าใช้จ่าย วางแผนการออม และลงทุนได้อย่างเหมาะสม ช่วยให้วางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ข้อดีในแง่สำหรับการยื่นภาษีที่ถูกต้อง การทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายเป็นประจำทุกเดือน จะต้องมีเอกสารหรือหลักฐานประกอบอย่างชัดเจน เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษีหรือบิลเงินสดที่ถูกต้องตามแบบที่กำหนดโดยสรรพากร เพื่อใช้เป็นเอกสารสำหรับยื่นภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.90) และภาษีเต็มปี (ภ.ง.ด.94) โดยที่ไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดจนอาจนำไปสู่การเสียภาษีย้อนหลังซึ่งจะมีค่าปรับและดอกเบี้ย

เทคนิคการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายร้านค้า การเริ่มต้นทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายร้านค้า สำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ที่ต้องการวางรากฐานทางการเงินให้ธุรกิจของคุณ เรามีเทคนิคดี ๆ มาแนะนำดังนี้

  1. เลือกเครื่องมือที่เหมาะสม ปัจจุบันมีเครื่องมือมากมายที่ช่วยในการทำบัญชีได้ง่ายขึ้น เช่น สมุดบันทึก โปรแกรม Excel แอปพลิเคชันบนมือถือ หรือซอฟต์แวร์บัญชี หรือใช้แบบฟอร์มรายงานเงินสดรับ-จ่าย ตามรูปแบบที่กำหนดของกรมสรรพากร ควรเลือกเครื่องมือที่ใช้งานง่าย ตรงกับความต้องการ และเหมาะกับขนาดธุรกิจของคุณ
  2. บันทึกรายรับ-รายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ ผู้ประกอบการควรบันทึกรายรับ-รายจ่ายทุกอย่างให้ละเอียดภายใน 3 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่รับ/จ่ายเงิน พร้อมแยกประเภทให้ชัดเจน โดยให้ระบุวันที่ รายการ จำนวนเงิน และหลักฐานอ้างอิง เก็บใบเสร็จ ใบกำกับภาษี เพื่อใช้ตรวจสอบย้อนหลัง  แยกบัญชีส่วนตัวออกจากบัญชีธุรกิจ ผู้ประกอบการควรแยกบัญชีเงินฝากส่วนตัวออกจากบัญชีเงินฝากธุรกิจ โดยรายรับ-รายจ่ายร้านค้าควรผ่านบัญชีธุรกิจเท่านั้น เพื่อความชัดเจนในการติดตามและช่วยให้วิเคราะห์สถานะทางการเงินของธุรกิจได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น
  3. การจัดการเรื่องกระบวนการ บรรจุภัณฑ์หรือวิธีการในการ ห่อหุ้มสินค้า เพื่อการขนส่ง ที่ปลอดภัยไปยังผู้บริโภคคนสุดท้าย ในสภาวะแวดล้อมต่างๆ โดย เสียต้นทุน ต่ำที่สุดดังนั้นบรรจุภัณฑ์จึงเป็นงานเทคนิคที่ต้องอาศัย ความชำนาญ ประสบการณ์และความคิด สร้างสรรค์ ในอันที่จะ ออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์ให้มีความเหมาะสม
  4. การตั้งราคาสินค้า    สูตรการตั้งราคาขายสินค้าเบื้องต้น อยากตั้งราคาขายสินค้าให้ดี ก็ต้องมาดูกันก่อนว่าต้นทุนของสินค้านั้นมีมูลค่าเท่าไหร่? ซึ่งก็ไม่ได้ดูแค่เพียงราคาต้นทุนของสินค้าอย่างเดียว แต่ต้องนำค่าใช้จ่ายอื่นๆ มาคำนวณร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น ค่าขนส่ง ค่าแรงงาน ค่าสถานที่ ค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าโปรโมทร้าน เป็นต้น การตั้งราคาขายสินค้านั้นถึงแม้จะไม่ได้มีหลักสูตรตายตัว แต่การตั้งราคาตามสูตรจะช่วยทำให้การตั้งราคาแม่นยำ ช่วยวางแผนการขายได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยสูตรการตั้งราคาขายสินค้าเบื้องต้น มีดังนี้ สูตรการคำนวณการตั้งราคาขายสินค้า ราคาขายสินค้า = ต้นทุน + กำไรที่ต้องการ สูตร 1 ตั้งราคาจากต้นทุนของสินค้า (Markup on Cost) ราคาขาย = ต้นทุนทั้งหมดต่อชิ้น + (%กำไรที่ต้องการ x ต้นทุน) วิธีคำนวณ: ต้นทุนต่อชิ้น = 100 ต้องการขายให้ได้กำไร 15% วิธีคำนวณ: ต้นทุนต่อชิ้น = 100 กำไรที่ต้องการ 15% ราคาขายต่อชิ้น = 100 x 100 / (100 - 15) = 118 บาท
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.สมารถบริหารการจัดการบัญชีรายรับรายจ่าย 2. ได้วิธีการตั้งราคาสินค้าเพื่อให้ได้สินค้าในราคาที่เหมาะสม 3. ได้ระบบการบริหารจัดการธุรกิจในเรื่องต้นทุน แพ๊คเก็จต่างๆ และการจัดการราคาสินค้ส

กิจกรรมอบรมการตลาด การขายสินค้าผ่านช่องทางต่างๆ และการถ่ายภาพ15 กุมภาพันธ์ 2567
15
กุมภาพันธ์ 2567รายงานจากพื้นที่ โดย นายสัญชัย โต๊ะมะยิ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จำนวนผู้เข้าร่วม ทั้งหมด 20 คน
1. วิทยากรให้เนื้อหาภาพด้วยวิธีการสังเกต รูปภาพการปรับสมดุล ของภาพ และสัดส่วน 2. เรียนรู้เรื่องตาราง 9 เส้นถ่ายภาพอย่างไรให้ออกมาเป็นสัตส่วนที่เข้ารูป และทำให้เกิดความโดดเด่น 3. เรียนรู้เรื่องแสง  การหักเหของแสง การสะท้อนของแสง เพื่อให้เกิดความงดงามในการถ่ายภาพ
4. เรียนรู้การถ่ายภาพของ สัตว์น้ำ  อาหารปรุงสุก ทำอย่างไรให้เกิดความรู้สึกอยากสัมผัส

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้เข้าร่วมได้เทคนิดการถ่ายภาพที่สวยงาม
  2. เรียนรู้ความสมดุลในการถ่ายรูป การจัดสัดส่วน  การจัดแสง
  3. ได้องค์ความรู้ในการตัดต่อ อย่างง่าย และสามารถใช้ได้ทุกคน
อบรมให้ความรู้มาตรฐานการผลิตอาหารทะเลปลอดภัย และอบรมเชิงปฎิบัติการการผลิตอาหารทะเลปลอดภัย2 กุมภาพันธ์ 2567
2
กุมภาพันธ์ 2567รายงานจากพื้นที่ โดย นายสัญชัย โต๊ะมะยิ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จำนวนผู้เข้าร่วมทั้งหมด 40 คน  ประกอบด้วย 1. วิทยากรจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 2. นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 3. คณะทำงานโครงการ

ให้ความรู้เรื่องมาตราฐานอาหารปลอดภัย GMP  วิธีการผลิตที่ดี  คนกินมีความปลอดภัย 1. สถานที่ตั้ง 2. อุปกรณ์ 3. สุขาภิบาล 4. ความสะอาด 5. วิธีการผลิต  การตรวจคุณภาพ  การรักษา  และมาตราฐาน 6. คน  ความสะอาด เรียนรู้เรื่อง กายภาพ     1. เศษขยะ ไม้ พลาสติก  ของเก่า เครื่องมือ  เส้นผม เครืองประดับ  เป็นต้น เคมี     1. น้ำมันเครื่อง  น้ำแข็ง เชื้อโรค     1. การเก็บรักษาระ่ยะเวลาที่นาน  จากนำ้ใช้  เชื้อโรคจากสัตว์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้ความรู้เรื่องอาหารปลอดภัย
  2. ได้ความรู้เรื่องความปลอดภัยของอาคารการแปรรูป
  3. ได้ความรู้เรื่องระบบการจัดการอาหารแปรรูป
ประชุมคณะทำงานติดตามผลการดำเนินงาน18 มกราคม 2567
18
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย นายสัญชัย โต๊ะมะยิ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม 1. ประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนเรื่องอาหารทะเลปลอดภัย
2.ชี้แจงวัตถุประสงค์แผนงานและกิจกรรมที่จะเกิดขึ้น 3. รายงานความก้าวหน้าของโครงการที่ได้ดำเนินการ 4. รายงานความสำเร็จของโครงการ 5. ปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานและแนวทางแก้ไข ุ6. หารือและกำหนดรายละเอียดแผนงานการดำเนินในระยะต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ความสำเร็จของกิจกรรมที่ได้ดำเนินการ
  2. กลุ่มเป้าหมายของโครงการได้รับสิทธ์ประโยชน์ในการทำกิจกรรม เช่น การการ  เทคนิดออนไลน์เป็นต้น
  3. ได้คุณภาพของสัตว์น้ำที่ผ่านการรับรองจาก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในเรื่องของคุณค่าทางโภชนาการ
ประชุมคณะทำงานติดตามผลการดำเนินงาน5 มกราคม 2567
5
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย นายสัญชัย โต๊ะมะยิ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

รายละเอียดกิจกรรม 1. ประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนงานภายใต้แผนงาน
2. รายงานความก้าวหน้าของโครงการที่ได้ดำเนินการ 3. รายงานความสำเร็จของโครงการ 4. ปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานและแนวทางแก้ไข 5. หารือและกำหนดรายละเอียดแผนงานการดำเนินในระยะต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ความสำเร็จของกิจกรรมที่ได้ดำเนินการ
  2. กลุ่มเป้าหมายของโครงการได้รับสิทธ์ประโยชน์ในการทำกิจกรรม เช่น การการ  เทคนิดออนไลน์เป็นต้น
  3. ได้คุณภาพของสัตว์น้ำที่ผ่านการรับรองจาก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในเรื่องของคุณค่าทางโภชนาการ
ศึกษาดูงานการแปรรูปสัตว์น้ำและการบริหารจัดการธุรกิจชุมชน29 กันยายน 2566
29
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย นายสัญชัย โต๊ะมะยิ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.เดินทางจากอำเภอสิชล มุ่งสู่ร้านคนจับปลานครศรีธรรมราช 2. วิทยากรให้ความรู้เรื่องการเเปรรูปอาหารทะเล 3.วิทยากรให้ความรู้เรื่องการจัดการกลุ่มออมทรัพย์ 2.แลกเปลี่ยนเรียนรู้การแปรรูปอาหารทะเล และกลุ่มออมทรัพย์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานโครงการมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการแปรรูปอาหารทะเล 2. คณะทำงานโครงการมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการกลุ่มออมทรัพย์และนำไปขยายการการจัดการในพื้นที่ต่อไป

ประชุมออกแบบและการจัดเก็บข้อมูลทางการประมงและศักยภาพทางการประมง25 สิงหาคม 2566
25
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย นายสัญชัย โต๊ะมะยิ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ออกแบบสำรวจข้อมูล (เครื่องมือประมง /ฤดูกาลสัตว์น้ำ/การขายผลผลิต/การแปรรูปอาหารทะเลในครอบครัว
  2. สำรวจจัดเก็บข้อมูล
  3. สรุปและวิเคราะห์ข้อมูล
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีฐานข้อมูลจำนวนสัตว์น้ำในบริเวณชายฝั่งทั้งในเขตอนุรักษ์และนอกเขตอนุรักษ์
สร้างบ้านสัตว์น้ำ25 สิงหาคม 2566
25
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย นายสัญชัย โต๊ะมะยิ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการทำบ้านปลา เช่น แกลลอน ไม้ใผ่ เชือก ทางมะพร้าว
  2. จัดสร้างแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เกิดบ้านสัตว์น้ำไม่น้อยกว่า 55 ลูก
  2. การละเมิดข้อกำหนดเขตอนุรักษ์มีน้อยลง
  3. มีแผนปฎิบัติการในการเฝ้าระวังเขตอนุรักษ์
เวทีอบรมสร้างความรู้ ความตระหนัก การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนและการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน25 สิงหาคม 2566
25
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย นายสัญชัย โต๊ะมะยิ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.สร้างเความเข้าใจด้านการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงชายฝั่งอย่างยั่งยืน และการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน 2.ทบทวนแลกเปลี่ยนบทเรียนการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเล
3. แลกเปลี่ยนแนวคิดสิ่งที่ได้จากการอบรม 4.จัดทำรายงานสรุปผลจากการจัดเวทีฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1 สมาชิกมีความตระหนักถึงการบริโภคอาหารประมงพื้นบ้านที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ มีการเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารทะเล ปลอดภัย จำนวน 30 คน
2 มีความเข้าใจในเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล เกิดการหวงแหนในการดูแล อย่างจริงจัง

ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ5 สิงหาคม 2566
5
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย นายสัญชัย โต๊ะมะยิ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมคณะทำงานรวมถึงกลุ่มองค์กรภาคีเครือข่ายจากภาครัฐ ท้องถิ่นและภาคเอกชนในการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติบ้านเกาะลอย 2.ชี้แจงวัตถุประสงค์แผนงานในการจัดทำโครงการตลอดระยะเวลา 1 ปี
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. แกนนำกลุ่ม สามารถบอก อธิบาย การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและการผลิตอาหารทะเลที่ปลอดภัยได้ไม่น้อยกว่า 10 คน
  2. เกิดกลไกการขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรและและการจัดการผลผลิต
ปฐมนิเทศแผนงานร่วมทุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้าน13 กรกฎาคม 2566
13
กรกฎาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย นายสัญชัย โต๊ะมะยิ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ปฐมนิเทศแผนงานร่วมทุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้าน  เพื่อชี้แจงทำความเข้าวัตถุประสงค์ และขั้นตอนวิธีการจัดการต่างๆ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในตัวโครงการและดำเนินการต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานผู้ร่วมประชุมสามารถถ่ายทอดกิจกรรมที่เรียนรู้มาให้กับคณะกรรมการ และกำหนดบทบาทคณะกรรมการในการดำเนินงานในโครงการต่อไป