directions_run

การพัฒนากลไกเพื่อการบังคับใช้กติกาชุมชนในการจัดการทรัพยากรประมงของชุมชนบ้านใหม่ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
เวทีพูดคุยแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้านใน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล 13 ก.ค. 2566 13 ก.ค. 2566

 

ในเวทีมีที่ปรึกษาของสมาคมรักษ์ทะเลไทยโดยนายบรรจง  นะเเส  เป็นผู้เปิดงานและชี้เเจงที่มาที่ไปของการขอทุนในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมจาก  5  จังหวัดได้เเก่  นครศรีธรรมราช  สงขลา  สตูล  พัทลุและตรัง อีกทั้งเจ้าหน้าที่จากสมาคมรักษ์ทะเลไทยร่วมชี้เเจงรายละเอียดในการทำกิจกรรม  การเก็บข้อมูลเรื่องบิลต่างๆที่สำคัญในการจ่ายเงินและการเบิกจ่ายแต่ละรายการต้องมีหลักฐานประกอบทุกครั้งและการเขียนหัวบิลอ้างถึงผู้ซื้อและผู้รับเงินให้ถูกต้องและชัดเจนที่สุด  อีกทั้งเจ้าหน้าที่ของสมาคมฯได้สอนการลงรายงานผ่านระบบในเพจ คนสร้างสุข เป็นการรายงานกิจกรรมหลังจากที่กลุ่มฯที่ขอทุนทำกิจกรรมเสร็จแล้ว

 

ทำให้สมาชิกกลุ่มฯที่เข้าร่วมประชุมมีความรู้ความเข้าใจในโครงการมากขึ้นและสามารถบอกเล่าต่อสมาชิกกลุ่มฯที่ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในวันและเวลาดังกล่าวได้ อีกทั้งเวทีดังกล่าวทำให้ตัวแทนจาก  5  จังหวัดได้ทำความรู้จักและแลกเปลี่ยนกิจกรรมภายในกลุ่มฯของตัวเองแก่สมาชิกในห้องประชุมได้นำมาปรับใช้กับบริบทในพื้นที่ของตัวเองต่อไป

 

การประชุมคณะทำงาน(ครั้งที่ 1) 7 ส.ค. 2566 7 ส.ค. 2566

 

ผู้ประสานงานโครงการนำโดย นางสาวเบญจวรรณ  เพ็งหนู  และนางสาวเจตวรรณ  กรุตรนิยม พร้อมด้วยนางสาวนภาพรรณ    สมาแอ ประสานให้นางสาวอุไรพรรณ  หมอชื่น แจ้งสมาชิกกลุ่มฯทราบเกี่ยวกับการประชุมติดตามและเเจ้งให้ทราบเกี่ยวกับการดำเนินโครงการที่มีการกำหนดให้มีกิจกรรมต่างๆขึ้นโดยเรียงลำดับจากโรงการที่สามารถดำเนินการก่อนและหลัง ในที่ประชุมมีสมาชิกกลุ่มฯเข้าร่วม 15  คน มีการชี้เเจงและเสนอเเนะเกี่ยวกับโครงการและเปิดโอกาศให้ผู้เข้าร่วมเและสมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ชายฝั่งและฟาร์มทะเลชุมชนบ้านใหม่ หมูที่ 1 เสนอความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ดีที่สุด

 

1.ทางกลุ่มฯเสนอให้มีการเปิดเวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาทะเลสาบในวันที่ 25/08/2566 2.เสนอให้เชิญผู้เข้าร่วมที่เกี่ยวข้องในการเข้าร่วมกิจกรรม อาทิเช่น เทศบาลเมืองสิงหนคร ประมงอำเภอ  นายอำเภอ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ชาวประมงในพื้นที่ ประธานชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้อำนวยการรพ.สต. สมาชิกกลุ่มอนุรักษ์ฯ 3.ผลตอบรับของผู้เข้าร่วมที่ให้ความสนใจในกิจกรรมดังกล่าวได้รับการตอบรับที่ดี

 

เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาทะเลสาบสงขลาและชายฝั่งชุมชนบ้านใหม่ 25 ส.ค. 2566 25 ส.ค. 2566

 

ทางกลุ่มฯจัดเตรียมสถานที่และเตรียมรับลงทะเบียนตั้งแต่เวลา08.30 น.โดยสมาชิกกลุ่มมารอต้อนรับผู้เข้าร่วมเวทีพูดคุย ได้แก่ ประมงอำเภอ  เทศบาลเมืองสิงหคร  เจ้าหน้าที่ตำรวจ  ศูนย์ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลสงขลา ชาวประมงในพื้นที่  ผู้นำชุมชน  ผู้นำศาสนา  มหาวิทยาลัยทักษิณ  กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(สทช.5)  สื่อจากNBT สงขลา  และสมาคมรักษ์ทะเลไทยร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์ชายฝั่งและฟาร์มทะเลชุมชนบ้านใหม่  หมู่ที่ 1 ร่วมกันพูดคุยและเสนอแนะแนวทางการทำงานและประสานงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆอาทิเช่น  การทำประมผิดกฎหมายในทะเลสาบสงขลา  การบังคับใช้กฎหมายและความเป็นไปได้ในการกำหนดมาตรการการลงโทษของผู้กระทำผิด  อีกทั้งรับฟังความต้องการของชาวประมงในพื้นที่ในด้านการสนับสนุนหรือช่วยเหลือการทำประมงของชาวบ้านและชี้แจงแนวเขตที่ชัดเจนให้กับทุกภาคส่วนได้รับทราบในทิศทางเดียวกัน  เพื่อเป็นแบบอย่างในการออกข้อบังคับใช้และถือปฏิบัติในทิศทางที่ดีขึ้นและลดการกระทบกระเเทกกันให้มากที่สุด

 

1.ชาวประมงในพื้นที่รับทราบเกี่ยวกับแนวเขตอนุรักษ์และการใช้เครื่องมือที่ถูกกฏหมายและการทำประมงแบบไม่ทำลายล้าง 2.หน่วงานราชการเปิดโอกาศให้ชาวประมงเสนอแนะความต้องการเพื่อสามารถเข้ามาช่วยส่งเสริมหรือสนับสนุนได้ตรงตามความต้องการ 3.การประสานงานของกลุ่มอนุรักษ์กับสถานีตำรวจในกรณีมีการจับกุมผู้กระทำความผิดสามารถติดต่อได้ง่ายขึ้นและรวดเร็วกว่าเดิม 4.การเข้ามาสอดส่องดุแลของกรมประมงต้องมีหลักเกณฑ์ที่ซับซ้อนยากต่อการทำงานร่วมกันอยากให้เเก้ไขให้ดีขึ้นกว่านี้ 5.การประชาสัมพันธ์จากสื่อเป็นเรื่องที่ดีต่อการทำให้มุมมองของทะเลสาบสงขลาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นจากอดีต 6.ชาวประมงในพื้นที่มีความเข้าใจและให้ความร่วมมือในเรื่องของการอนุรักษ์มากขึ้นกว่าเดิม

 

การขยายพื้นที่บ้านปลามีชีวิต 2 ต.ค. 2566 2 ต.ค. 2566

 

ทางกลุ่มฯจัดเตรียมสถานที่ร่วมปรึกษาหารือและชี้ตำแหน่งในการจัดทำบ้านปลาโดยมีหน่วยงานที่ร่วมกับชุมชนในการซ่อมเเซมซั้งบ้านปลาได้เเก่ ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลสงขลา กำลังพลจากป.พัน5 อาจารย์จากมหาวิทยาลัยทักษิณวิทยาเขตพัทลุง เมื่อวางแผนการทำงานร่วมกันจึงลงมือทำตามที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งการเพิ่มซั้งบ้านปลามีชีวิตลงในซั้งบ้านปลาที่มีอยู่เพื่อช่วยเพิ่มต้นโกงกางและยืดระยะในการซ่อมแซมในอนาคต อีกทั้งการปลูกต้นโกงกางเพิ่มเป็นนวัตกรรมที่ทางกลุ่มฯเล็งเห็นความสำคัญในระยะยาวหวังเพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและเเหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำในอนาคต

 

1.ชาวประมงในพื้นที่รับทราบเกี่ยวกับแนวเขตอนุรักษ์และการทำซั้งบ้านปลามีชีวิตมากขึ้น 2.หน่วงานราชการเปิดโอกาศให้ชาวประมงเสนอแนะความต้องการในการร่วมอนุรักษ์ตามบริบทพื้นที่ได้มากกว่าเดิม 4.การเข้ามาสอดส่องดุแลของเจ้าหน้าที่มีความสนใจมากขึ้น 5.การประชาสัมพันธ์จากสื่อเป็นเรื่องที่ดีต่อการทำให้มุมมองของทะเลสาบสงขลาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น

 

กิจกรรมพัฒนาศักยาภาพของคณะทำงาน 22 ต.ค. 2566 22 ต.ค. 2566

 

1.เชิญแกนนำชุมชนแะผู้ที่เกี่ยวข้อง คณะทำงานจำนวน20คนมาร่วมวิ ประชุม 2.วิทยากรให้คงามรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการองค์กรและจัดการทรัพยากรทางทะเลแบบยั่งยืน 3.ส บถามทักษะความชำนาญของแกนนำเพื่อวางเเผนการทำงานให้เหมาะสมกับความสามารถเพื่อขับเคลื่อนงานต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

1.ผู้นำได้เเสดงออกในความถนัดของตัวเองและความต้องการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น 2.แนะนำและเพิ่มในด้านการเรียนรู้ในการนำมาปรับใช้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้ 3.การสื่อสารภายในชุมชนเป๋นไปในทิศทางเดียวกัน

 

กิจกรรมถอดบทเรียนเรื่องการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน 26 ต.ค. 2566 26 ต.ค. 2566

 

1.คณะทำงานมาร่วมประชุมเพื่อถอดบทเรียนในการอนุรักษ์และฟื้นฟูมทรัพยากที่มีอยู่และวางแผนในด้านการจัดการอย่างมีส่วนร่วม 2.ยกตัวอย่างทรัพยากรที่มีอยู่และสัตว์น้ำบางชนิดที่หายไปและการกับมาของสัตว์น้ำที่เคยสูญพันธ์ในพื้นที่และเก็บตัวอย่าง 3.วางมาตรการในการควบคุมดูแลการทำประมงของคนในพื้นที่ให้มีการจับสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน

 

1.เข้าใจและสามารถจตอบคำถามไปในทิศทางเดียวกัน 2.ฟื้นฟูในด้านการเพาะฟักและปล่อยคืนสู่ทะเลสาบ 3.สามารถบอกเล่สเกี่ยวกับการทำประมงแบบยั่งยืนในทิศทางที่ฝากถูกต้องมากขึ้น

 

เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE)ระดับจังหวัดสงขลา 28 พ.ย. 2566 28 พ.ย. 2566

 

ประชุมคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง สรุป ติดตาม ทบทวนกิจกรรมในงวดที่ 2 ของระดับจังหวัด

 

คณะทำงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วม สรุป ติดตาม ทบทวนกิจกรรมต่าง ๆ และแลกเปลี่ยนข้อมูลโครงการภายในจังหวัด

 

เวทีพูดคุยสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 23 ม.ค. 2567 23 ม.ค. 2567

 

1.เรียนรู้และซักถาม 2.สอบถามและค้นหาคำตอบ 3.นำไปขยายผลต่อในพื้นที่ของตนเอง เวลา 09.00-12.00น.

 

คณะกรรมการมีคามรู้ความเข้าใจถึงการจัดการอาหารปลอดภัยและการต่อยอดสัตว์นำ้ในชุมชนและรวมถึงการจัดการทรัพยากรในอนาคต

 

ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเเปรรูปผลิตภัณฑ์และทดลองปฎิบัติการ ณ ร้านคนจับปลา 23 ม.ค. 2567 23 ม.ค. 2567

 

1.วิทยากรแนะนำและอธิบายหลักการเเละเหตุผลของการก่อตั้ง 2.ชมการสาถิตการแปรรูปสัตว์น้ำในแบบต่างๆในการนำไปจำหน่าย 3.ชมการหลักการปฏิบัติที่ถูกวิธี  สะอาด  ปลอดภัยและได้มาตรฐาน
4.เรียนรู้ช่องทางการตลาดในแบบต่างๆ เวลา 13.00- 20.00น.

 

1.คณะกรรมการที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความกระตือรือล้นในการเรียนรู้ 2.เมื่อมีข้อสงสัยทางคณะจะมีการซักถามและร่วมเสนอเเนวทาง 3.มีการปรึกษาหารือเพื่อกลับมาต่อยอดทรัพยากรสัตว์น้ำในพื้นที่ตัวเอง 4.มีความต้องการอยากเรียนรู้เพิ่มเติมในเรื่องดังกล่าวมาคะ

 

เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระหว่างพื้นที่ดำเนินงาน (ARE) แผนงานร่วมทุนสนันสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่ง 29 ม.ค. 2567 29 ม.ค. 2567

 

ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระหว่างพื้นที่ดำเนินงาน (ARE) แผนงานร่วมทุนสนันสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่ง

 

คณะทำงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วม สรุป ติดตาม ทบทวนกิจกรรมต่าง ๆ และแลกเปลี่ยนข้อมูลโครงการภายในของ 5 จังหวัดชายฝั่ง

 

อบรมการบริหารจัดการธุรกิจการจัดการต้นทุนและพัฒนาสินค้าการตลาด (4P) 23 ก.พ. 2567 23 ก.พ. 2567

 

  1. ชีเแจงรายละเอียดกระบวนการจัดการตั้งแต่สินค้า ราคา การตลาด และการออกแบบผลิตภัณฑ์
  2. วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินงานการบริหารจัดการธุรกิจการจัดการต้นทุนและพัฒนาสินค้าการตลาด (4P)
  3. ฝึกออกแบบและคัดเลือกบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม
  4. วิทยากรให้ความรู้เรื่องช่องทางการจำหน่ายสินค้า แรงจูงใจของลูกค้าในการซื้อสินค้า
  5. วิทยากรให้ความรู้การถ่ายภาพด้วยมือถือให้น่าสนใจ สร้างยอดขาย การตลาด และช่องทางในการจำหน่าย
  6. จัดตั้งคณะกรรมการกลุ่ม และได้สร้างกฎกติกาของกลุ่ม

 

มีความรู้ความเข้าใจการบริหารจัดการธุรกิจการจัดการต้นทุนและพัฒนาสินค้าการตลาด (4P) โดยมีการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับสินค้าในพื้นที่ และมีคณะกรรมการกลุ่มแปรรูปอาหารทะเลชุมชนบ้านใหม่ มีการแบ่งหน้าที่ของแต่ละคน โดยจะมีประธาน รองประธาน เหรัญญิก เลขานุการ และกรรกมการ จำนวน 13 คน มีผลิตภัณฑ์แปรรูป จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กุ้งหวาน กะปิ ปลาส้ม ปลาแดดเดียว กุ้งสม และอาหารแช่แข็งตามฤดูกาล

 

เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาการ(ARE)ระดับจังหวัด 28 พ.ย. 2567 28 พ.ย. 2567

 

ติดตามผลการทำกิจกรรมของแต่ละกลุ่มฯว่ามีปัญหาและต้องแก้ไขไปในทิศทางใด  มีนโยบายการทำงานที่แตกต่างอย่างไร

 

ทำให้กิจกรรมสามารถเดินไปได้ในทิศทางที่ถกต้องและมีการแก้ไขได้ตรงจุดประสงค์