directions_run

การพัฒนากลไกเพื่อการบังคับใช้กติกาชุมชนในการจัดการทรัพยากรประมงของชุมชนบ้านใหม่ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การพัฒนากลไกเพื่อการบังคับใช้กติกาชุมชนในการจัดการทรัพยากรประมงของชุมชนบ้านใหม่ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา
ภายใต้โครงการ แผนงานร่วมทุนนับสนุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้านใน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล
ภายใต้องค์กร สมาคมรักษ์ทะเลไทย
รหัสโครงการ 009/2566
วันที่อนุมัติ 14 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2566 - 30 เมษายน 2567
งบประมาณ 200,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอนุรักษ์ชายฝั่งและฟาร์มทะเลชุมชนบ้านใหม่หมู่ที่1 (ท่าเสา)
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชัยยศ ฤทธิโก
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0878366894
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ ีuraipan6059@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวเบญวรรณ เพ็งหนู
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.206547,100.543131place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2566 31 ต.ค. 2566 1 ก.ค. 2566 31 ต.ค. 2566 100,000.00
2 31 ต.ค. 2566 20 มี.ค. 2567 31 ต.ค. 2566 20 มี.ค. 2567 80,000.00
3 21 มี.ค. 2567 30 เม.ย. 2567 20,000.00
4 0.00
รวมงบประมาณ 200,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานปรับสภาพสิ่งแวดล้อม
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนบ้านใหม่ หมู่ 1 ตำบลสทิงหม้อ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา บริเวณที่ตั้งอยู่ใกล้ปากอ่าวของทะเลสาบสงขลาตอนล่าง จึงมีความอุดมสมบูรณ์ของพันธุ์ปลาสามน้ำหลากหลายชนิด ด้วยลักษณะทางภูมิประเทศและระบบนิเวศที่เหมาะสม ทำให้คนในชุมชนส่วนใหญ่ทำอาชีพประมงพื้นบ้าน ชุมชนนี้มีครัวเรือนประมาณ 320 ครัวเรือน สมาชิกประมาณ 1,280 คน สมาชิกทั้งหมดนับถือศาสนาอิสลาม ประชากรทั้งหมดพึ่งพาทรัพยากรทางทะเล โดยมีชาวประมงพื้นบ้านประมาณ 120 ครัวเรือนในจำนวนทั้งหมด มีครอบครัวที่ทำประมงเป็นอาชีพหลักเพียงอย่างเดียว 80 ครัวเรือน ที่เหลือทำอาชีพประมงเป็นอาชีพหลัก และมีอาชีพรองทำการเกษตร เช่น ปลูกมะม่วง ปลูกปาล์มน้ำมัน ค้าขายและรับจ้าง รายได้เฉลี่ยของชาวประมงประมาณ 400-1,000 บาทต่อครัวเรือนต่อวัน มีเรือที่ใช้ในการประกอบอาชีพประมงประมาณ 100 ลำ ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ประมาณ 560 กิโลกรัมต่อวัน สัตว์น้ำที่จับได้ประกอบด้วย ปลาตะกรับ ปลากระบอก กุ้ง ปลาหัวโม่ง ปลาท่องเที่ยว ปลาเขือ ปลาแป้นเล็ก เป็นต้น สัตว์น้ำที่จับได้ส่วนใหญ่จะบริโภคในครัวเรือนและขายปลีกในตลาดชุมชน และช่วงที่มีสัตว์น้ำปริมาณมากมีการขายส่งให้แม่ค้าคนกลาง สัตว์น้ำเหล่านี้จะมีความชุกชุมแตกต่างกันไปตามฤดูกาล กล่าวคือ ปลาท่องเที่ยวจะมีมากในช่วงปลายปี เดือนตุลาคม-มกราคม ของทุกปี ปลาตะกรับมีมากในช่วงเมษายน-กรกฎาคม ของทุกปี ส่วนกุ้งจะพบมากในช่วงมีนาคม-กันยายน ของทุกปี ในช่วงที่มีปริมาณของสัตว์น้ำมาก ชุมชนจะมีการแปรรูปเป็น ปลาแดดเดียว และกุ้งหวาน โดยใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิม การแปรรูปนี้จะมีการรวมกลุ่มของแม่บ้านชาวประมงประมาณ 7-8 คน
ชุมชนบ้านใหม่เป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งด้านการรวมกลุ่มและการอนุรักษ์รวมทั้งมีกติกาชุมชน คนในชุมชนได้รับการปลูกฝังตั้งแต่วัยเด็ก และการใช้หลักศาสนามาร่วมขับเคลื่อนกิจกรรม ชุมชนมีสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงคือ บ้านปลาหมายเลขเก้า ทำให้เป็นที่รู้จักของคนทั้งในท้องถิ่นและระดับประเทศ กิจกรรมด้านการอนุรักษ์ของชุมชนบ้านใหม่ค่อนข้างประสบความสำเร็จ เนื่องมาจากปัจจัยหลายด้าน เช่น คณะทำงาน ภาคีเครือข่าย การประสบความสำเร็จนี้สามารถเห็นได้จาก มีจำนวนปลาเพิ่มมากขึ้นและรายได้ของชุมชนเพิ่มสูงขึ้น มีชนิดปลาที่มาอาศัยในเขตอนุรักษ์มากขึ้น โดยพาะปลากดขี้ลิง ปลากระบอก และปลาตะกรับ โดยสามารถพบลูกปลาขนาดเล็กหลายชนิด อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่า ทางกลุ่มจะมีกติกาชุมชนในการห้ามทำการประมงในเขตและรายละเอียดอย่างอื่น แต่อย่างไรก็ตาม การบังคับใช้กฎ กติกาชุมชนยังไม่สามารถบังคับใช้ได้ในทุกกรณี และในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา มีการทำผิด กฎ กติกาชุมชนหลายครั้ง โดยเฉพาะ การบุกรุกของนายทุนมาสร้างสิ่งก่อสร้างที่ล้ำเข้ามาในเขต รวมทั้ง มีการทำประมงในเขตพื้นที่ด้วย นอกจากนี้ ในบางฤดูจะมีปริมาณสัตว์น้ำมาก ทำให้มีราคาต่ำ ถึงแม้ว่าจะมีการแปรรูปโดยชุมชนอยู่บ้าง แต่ยังยังขาดมาตรฐานในการทำผลิตภัณฑ์ และขาดบรรจุภัณฑ์ที่มีความเหมาะสมและเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ชุมชนมีความต้องการในการรวมกลุ่มกันแปรรูปสัตว์น้ำ เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าและการสร้างรายได้ให้กับชาวประมง โดยการใช้จุดแข็งของชาวประมงพื้นบ้าน ซึ่งเวลาทำการประมงจะสั้น ไม่ใช้สารเคมีในการรักษาคุณภาพสัตว์น้ำ และการใช้เครื่องมืออย่างรับผิดชอบจับปลาที่ได้ขนาด มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค ใส่ใจสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ชุมชนยังขาดกลไกในการจัดการทรัพยากรประมงที่ดำเนินการได้โดยชุมชนเอง เพื่อสร้างกลไกในการจัดการทรัพยากรประมงและความตระหนักและความใส่ใจของผู้ผลิตในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทะเลของดีของชุมชนบ้านใหม่ที่เป็นผลผลิตมาจากการจับสัตว์น้ำที่มาจากการทำประมงอย่างรับผิดชอบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภคอย่างปลอดภัยทุกขั้นตอน พร้อมทั้งให้เป็นที่รู้จักและเข้าถึงแหล่งอาหารที่ปลอดภัยอย่างแพร่หลาย อีกทั้งเป็นการสร้างเศษฐกิจรายได้ที่เกื้อกูลให้กับสมาชิกในชุมชนประมงทะเลสาบ พัฒนาให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนและส่งผลต่อการเกิดความมั่นคงด้านอาชีพ มีอาหารทะเลที่ปลอดภัยสอดคล้องกับยุทธศาตร์ BCG Model ที่มุ่งเน้นการสร้างเศษฐกิจที่ใช้ต้นทุนฐานทรัพยากรในชุมชนให้เกิดมูลค่า อีกทั้งส่งเสริมการผลิตและบริโภคอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม จะเป็นส่วนสำคัญที่กระตุ้นให้ชาวประมงผู้ผลิตและผู้บริโภคเข้าใจและเห็นความสำคัญของการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยที่มีความเชื่อมโยงทั้งระบบตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ รวมทั้ง พัฒนาเครื่องมือในการบังคับใช้ธรรมนูญชุมชนให้สามารถใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น ทางชุมชนจึงได้จัดทำโครงการโดยมีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อเกิดกลไกการทำงานที่เข็มแข็งในการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง เพื่อให้มีผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยบริโภคในชุมชนและจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ และเพื่อให้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายและการผลักดันเป็นนโยบายสาธารณะ

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเกิดกลไกการทำงานที่เข้มเเข็งในการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง
  1. มีคณะทำงานที่มีทั้งผู้นำชุมชน ชาวประมง หน่วยงานรัฐ หน่วยงานท้องถิ่นและเยาวชนเข้ามาร่วมเป็นคณะทำงาน
  2. คณะทำงานมีศักยภาพ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการในการฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาแบบมีส่วนร่วม
  3. ถอดบทเรียนเรื่องการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน 4.มีข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำประมงของชุมชนบ้านใหม่ในทุกมิติ
2 เพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการจัดการทรัพยากร
  1. มีการซ่อมแซมและทำบ้านปลามีชีวิตไม่น้อยกว่า 10 หลัง
  2. มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำไม่น้อยกว่า ปีละ 1 ครั้ง
  3. มีปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้นในแต่ละฤดูกาล
  4. ขยายแหล่งเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น และมีการใช้งานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในพื้นที่มากขึ้น 5.ป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงเรื่องเขตอนุรักษ์ของหมู่บ้าน และป้ายเขตอนุรักษ์ในพื้นที่ทะเลที่กำหนด 6.รายได้จากการขายปลาสดเพิ่มขึ้น 8.จำนวนพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 2 ชนิด
3 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ประมงพื้นบ้านที่ปลอดภัยจากการทำประมงอย่างยั่งยืน
  1. สมาชิกมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถสื่อสารเรื่องราวของสินค้าประมงพื้นบ้านที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ อย่างน้อย 10 คน
  2. เกิดผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ปลอดภัย ไม่น้อยกว่า 3 ผลิตภัณฑ์
  3. มีบรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดผู้บริโภค
  4. มีแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยที่ผู้บริโภคเข้าถึงง่าย อย่างน้อย 3 ช่องทาง ทั้งในรูป on site และ on line
  5. สมาชิกมีความสามารถในการขายออนไลน์อย่างน้อย 3 คน
  6. รายได้จากการแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อจำหน่ายเพิ่มขึ้น
4 เพื่อให้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายและการผลักดันเป็นนโยบายสาธารณะ
  1. ทบทวนกติกาและการบังคับใช้เขตอนุรักษ์
  2. มีร่างข้อเสนอเชิงนโยบายที่สอดคล้องกับชุมชนบ้านใหม่
  3. มีคณะติดตามร่างข้อเสนอเชิงนโยบายที่สอดคล้องกับชุมชนบ้านใหม่
5 เพื่อหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการ อย่างมีประสิทธิภาพ
  1. โครงการย่อยสามารถทำงานได้ตามที่กำหนดไว้ในแผน 2.โครงการย่อยสามารถ รายงานผลในระบบ ออนไลน์ได้ถูกต้อง ครบถ้วน 3.โครงการย่อยสามารถ เดินทางร่วมกิจกรรมที่ทาง คณะบริหารแผนงาน กำหนด
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 235
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง 150 -
กลุ่มเป้าหมายหลัก 85 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 179 51,424.00 12 64,624.00
13 ก.ค. 66 เวทีพูดคุยแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้านใน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล 4 104.00 104.00
7 ส.ค. 66 การประชุมคณะทำงาน(ครั้งที่ 1) 30 1,100.00 1,100.00
25 ส.ค. 66 เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาทะเลสาบสงขลาและชายฝั่งชุมชนบ้านใหม่ 30 6,600.00 6,600.00
2 ต.ค. 66 การขยายพื้นที่บ้านปลามีชีวิต 30 17,100.00 13,400.00
22 ต.ค. 66 กิจกรรมพัฒนาศักยาภาพของคณะทำงาน 16 3,960.00 3,960.00
26 ต.ค. 66 กิจกรรมถอดบทเรียนเรื่องการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน 16 4,360.00 4,360.00
28 พ.ย. 66 เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE)ระดับจังหวัดสงขลา 6 1,400.00 1,400.00
23 ม.ค. 67 เวทีพูดคุยสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 30 7,600.00 7,600.00
23 ม.ค. 67 ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเเปรรูปผลิตภัณฑ์และทดลองปฎิบัติการ ณ ร้านคนจับปลา 15 8,800.00 8,800.00
29 ม.ค. 67 เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระหว่างพื้นที่ดำเนินงาน (ARE) แผนงานร่วมทุนสนันสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่ง 2 400.00 400.00
23 ก.พ. 67 อบรมการบริหารจัดการธุรกิจการจัดการต้นทุนและพัฒนาสินค้าการตลาด (4P) 0 0.00 16,900.00
28 พ.ย. 67 เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาการ(ARE)ระดับจังหวัด 0 0.00 0.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดกลไกการทำงานที่เข้มเเข็งในการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง
  2. เกิดการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการจัดการทรัพยากร
  3. เกิดผลิตภัณฑ์ประมงพื้นบ้านที่ปลอดภัยจากการทำประมงอย่างยั่งยืน
  4. เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายและการผลักดันเป็นนโยบายสาธารณะ
  5. เกิดการหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการ อย่างมีประสิทธิภาพ
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2566 09:45 น.