directions_run

การพัฒนากลไกเพื่อการบังคับใช้กติกาชุมชนในการจัดการทรัพยากรประมงของชุมชนบ้านใหม่ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเกิดกลไกการทำงานที่เข้มเเข็งในการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง
ตัวชี้วัด : 1. มีคณะทำงานที่มีทั้งผู้นำชุมชน ชาวประมง หน่วยงานรัฐ หน่วยงานท้องถิ่นและเยาวชนเข้ามาร่วมเป็นคณะทำงาน 2. คณะทำงานมีศักยภาพ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการในการฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาแบบมีส่วนร่วม 3. ถอดบทเรียนเรื่องการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน 4.มีข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำประมงของชุมชนบ้านใหม่ในทุกมิติ
15.00

แกนนำมีความรู้และมีศักยภาพในการบริหารทรัพยากรในประเด็นที่กว้างขึ้น และพร้อมที่จะเรียนรู้และพัฒนาตัวเองในประเด็นใหม่ ๆ เพื่อนำมาปรับใช้ในการทำงานของชุมชน และมีการประสานความร่วมมือกับท้องถิ่น เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ด้านนโยบายที่เป็นประเด็นร่วมกับชุมชน ในกรณีข้อตกลงเขตอนุรักษ์

2 เพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการจัดการทรัพยากร
ตัวชี้วัด : 1. มีการซ่อมแซมและทำบ้านปลามีชีวิตไม่น้อยกว่า 10 หลัง 2. มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำไม่น้อยกว่า ปีละ 1 ครั้ง 3. มีปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้นในแต่ละฤดูกาล 4. ขยายแหล่งเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น และมีการใช้งานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในพื้นที่มากขึ้น 5.ป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงเรื่องเขตอนุรักษ์ของหมู่บ้าน และป้ายเขตอนุรักษ์ในพื้นที่ทะเลที่กำหนด 6.รายได้จากการขายปลาสดเพิ่มขึ้น 8.จำนวนพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 2 ชนิด
250.00

เนื่องจากชุมชนมีกลไกการทำงานที่เข้มแข็งและมีศักยภาพที่หลากหลาย โดยการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นที่รู้จักทั้งในและนอกพื้นที่ พร้อมที่จะพัฒนาต่อยอดและยกระดับการทำงานเชื่อมร้อยกับท้องถิ่นที่ให้เป็นเป็นรูปกระทำเชิงนโยบายในรูปแบบความร่วมมือการจัดการทรัพยากรอย่างมีส่วนร่วม หรือข้อบัญญัติท้องถิ่น

3 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ประมงพื้นบ้านที่ปลอดภัยจากการทำประมงอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด : 1. สมาชิกมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถสื่อสารเรื่องราวของสินค้าประมงพื้นบ้านที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ อย่างน้อย 10 คน 2. เกิดผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ปลอดภัย ไม่น้อยกว่า 3 ผลิตภัณฑ์ 3. มีบรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดผู้บริโภค 4. มีแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยที่ผู้บริโภคเข้าถึงง่าย อย่างน้อย 3 ช่องทาง ทั้งในรูป on site และ on line 5. สมาชิกมีความสามารถในการขายออนไลน์อย่างน้อย 3 คน 6. รายได้จากการแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อจำหน่ายเพิ่มขึ้น
13.00

สมาชิกและคนในชุมชนมีความกระตือรืร้น สนใจในการพัฒนาทักษะ สร้างความรู้ความเข้าใจการสร้างมูลค่าเพิ่มของสัตว์น้ำทั้งสดและแปรรูปภายใต้มาตรฐาน บรูแบรนด์ แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดคำว่า มาตรฐานอาหารทะเลปลอดภัย ซึ่งเป็นประเด็นที่พี่เลี้ยงและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องทำความเข้าใจให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการฝึกปฏิบัติจริง

4 เพื่อให้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายและการผลักดันเป็นนโยบายสาธารณะ
ตัวชี้วัด : 1. ทบทวนกติกาและการบังคับใช้เขตอนุรักษ์ 2. มีร่างข้อเสนอเชิงนโยบายที่สอดคล้องกับชุมชนบ้านใหม่ 3. มีคณะติดตามร่างข้อเสนอเชิงนโยบายที่สอดคล้องกับชุมชนบ้านใหม่
0.00

ควรมีการจัดทำข้อมูลเอกสารกติกาข้อตกลงและพื้นที่แนวเขตที่ชัดเจนและติดป้ายประกาศประชาสัมพันธ์ตามจุดต่าง ๆ ของชุมชน เพื่อให้รับรู้ร่วมกันพร้อมกับนำข้อคิดเห็นและข้อแนะนำมาประมวลในการจัำทำเวทีประชทคมของชุมชน

5 เพื่อหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการ อย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวชี้วัด : 1. โครงการย่อยสามารถทำงานได้ตามที่กำหนดไว้ในแผน 2.โครงการย่อยสามารถ รายงานผลในระบบ ออนไลน์ได้ถูกต้อง ครบถ้วน 3.โครงการย่อยสามารถ เดินทางร่วมกิจกรรมที่ทาง คณะบริหารแผนงาน กำหนด
70.00

ควรจะมีการเพิ่มออกแบบการเก็บข้อมูลที่ละเอียด เพื่อนำไปวางแผน วิเคราะห์ยกระดับการทำงานในอนาคต

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 235
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง 150
กลุ่มเป้าหมายหลัก 85

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเกิดกลไกการทำงานที่เข้มเเข็งในการอนุรักษ์ทรัพยากรประมง (2) เพื่อปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการจัดการทรัพยากร (3) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ประมงพื้นบ้านที่ปลอดภัยจากการทำประมงอย่างยั่งยืน (4) เพื่อให้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายและการผลักดันเป็นนโยบายสาธารณะ (5) เพื่อหนุนเสริมให้มีการบริหารจัดการโครงการ อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) เวทีพูดคุยแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้านใน 5  จังหวัดชายฝั่งทะเล (2) การประชุมคณะทำงาน(ครั้งที่ 1) (3) เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาทะเลสาบสงขลาและชายฝั่งชุมชนบ้านใหม่ (4) การขยายพื้นที่บ้านปลามีชีวิต (5) กิจกรรมพัฒนาศักยาภาพของคณะทำงาน (6) กิจกรรมถอดบทเรียนเรื่องการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมและยั่งยืน (7) เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE)ระดับจังหวัดสงขลา (8) เวทีพูดคุยสร้างความรู้  ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารปลอดภัยและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (9) ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเเปรรูปผลิตภัณฑ์และทดลองปฎิบัติการ ณ ร้านคนจับปลา (10) เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระหว่างพื้นที่ดำเนินงาน (ARE) แผนงานร่วมทุนสนันสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่ง (11) อบรมการบริหารจัดการธุรกิจการจัดการต้นทุนและพัฒนาสินค้าการตลาด (4P) (12) เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาการ(ARE)ระดับจังหวัด

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh