แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ ฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์บ้านชายคลอง

ชุมชน จังหวัดพัทลุง

รหัสโครงการ S-023/2566 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กันยายน 2566 ถึง 30 เมษายน 2567

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน ตุลาคม 2566 ถึงเดือน มีนาคม 2567

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ (สำรวจข้อมูล)

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.คณะทำงานเก็บข้อมูลมีทักษะและความชำนาญในการทำเพิ่มขึ้น 2.ได้ชุดข้อมูลเครื่องมือที่ใช้ทำประมง เป็นเครื่องมือที่ถูกกฎหมาย รายได้จากการจำหน่วยสัตว์น้ำ และแปรรูปสัตว์น้ำ
3.ได้ข้อมูลปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น จากการชาวประมงในชุมชนทำตามกติกาที่ได้สัญญาร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมทำความเข้าใจการจัดเก็บข้อมูล มอบให้ทีมเก็บข้อมูลได้ลงพื้นที่ โดยมีข้อมูลสำรวจ ประกอบด้วย 1.ข้อมูลเครื่องมือที่ใช้ทำประมง
2.ข้อมูลรายได้จากอาชีพประมง
3. ข้อมูลพันธุ์สัตว์น้ำในปากประ
4.ข้อมูลเอกสารเผยแพร่ ฐานทรัพยากรชายฝั่ง
5.ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลที่มีการแบ่งทีมรับผิดชอบอย่างชัดเจน
6.รวบรวมข้อมูลและสรุปผลข้อมูลเพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์

 

15 0

2. ประชุมคณะทำงาน

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงานเสนอเขตอนุรักษ์ เข้าแผนพัฒนาหมู่บ้าน ปี 2567
  • คณะทำงานเสนอให้มีการจัดทำธนาคารกุ้งก้ามกรามชุมชน
  • คณะทำงานพูดคุยประเด็นปัญหา/อุปสรรค์ และแผนการดำเนินงาน ในช่วงฤดูมรสุม พ.ย.66 - ก.พ. 67         - ปักหลักวั้งบ้านปลาเพิ่มเพื่อให้มั่นคงแข็งแรง         - ซ่อมแซมกิ่งไม้ในซั้งบ้านปลาและปักให้ลึกเพื่อไม่ให้หลุดตอนมีคลื่นลม         -  ปักหลักเขตเสริมของเก่า เพื่อเป็นแนวเขตที่ชัดเจน
  • พัฒนากรรับเรื่องและเสนอเข้าแผนต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะทำงานพร้อมด้วย พัฒนากรอำเภอ เพื่อออกแบบบูรณาการเขตอนุรักษ์ เพือเข้าแผนพัฒนาหมู่บ้าน ปี 2567

 

15 0

3. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) จังหวัดพัทลุง

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  • คณะทำงานสามารถถอดผลการดำเนินกิจกรรมได้
  • สามารถทำงานได้ตามแผนงวดโครงการที่วางไว้
  • สะท้อนปัญหาและข้อเสนอแนะให้กับทางพี่เลี้ยงและหน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการ
  • มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีการใช้จ่ายเงิน
  • จัดทำเอกสารการเงินได้ถูกต้อง

    • ถอดบทเรียน ARE
  • ผลการดำเนินงานตามบันไดผลลัพท์และตัวชี้วัดโครงการ
  • สรุปผลความสำเร็จโครงการ
  • การต่อยอดโครงการและการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ดังนี้   การต่อยอดในด้านการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ ผ่านกิจกรรม ทำบ้านปลา work shop กิจกรรม  CSR
      การแปรรูปผลผลิตจากสัตว์ เพิ่มคุณค่าเชิงมูลค่า ยกระดับผลิตภัณฑ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

24/11/66ติดตาประเมินผลการทำงานตามโครงการ ทั้ง 4 พื้นที่ของจังหวัดพัทลุง ตามตัวชีวัดและบันไดผลลัพธ์ ของแต่ละพื้นที่ สะท้อนปัญหา อุปสรรค์การดำเนินงาน สรุปผลการดำเนินงานตามงวดแรกของโครงการ 29/01/67 ประชุมเวทีตดตามและประเมินผล เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระหว่างพื้นที่ดำเนินงาน (กระบวนการ ARE) ในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล 23-24/05/67 เวทีปิดดครงการแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่ชุมชนประมงพื้นบ้าน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล

 

13 0

4. ประชุมคณะทำงาน

วันที่ 18 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

นายภูษิต จันทร์เพชร ประมงจังหวัดพัทลุง เปิดประชุมโครงการบริหารจัดการทรัพยากร หลักสูตร การสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงในทะเลสาบอย่างยั่งยื่น ร่วมกับ ประมงอำเภอเมืองพัทลุง หน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดพัทลุง ร่วมกับกลุ่มอนุรักษ์บ้านชายคลอง ประชุมแนวการการจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน การงดทำการประมงในฤดูวางไข่ การห้ามใช้เครื่องมือผิดประเภท และร่วมแนะนำพูดคุยกับประมงอาสาในพื้นที่ ในการดำเนินกิจกรรมการทำอนุรักษ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมติดตามการทำงานในช่วงรอบเดือนที่ผ่านมา

 

15 0

5. ศึกษาดูงานการเพาะอนุบาลกุ้งก้ามกราม การอนุรักษ์ฟื้นฟู ชุมชนบ้านคลองขุด/บ้านช่องฟืน

วันที่ 20 ธันวาคม 2566 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ทีมประมงอาสาในพื้นที่ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน
2.ทีมสามารถนำแนวคิดและวิธีการทำเขตอนุรักษ์บ้านคลองขุดมาปรับใช้ในพื้นที่ ทั้งในเรื่องของแนวทางปฏิบัติ กฏกติการ
3.มีเครือข่ายอนุรักษ์ทะเลสาบสงขลา
4.ศึกษาการทำธนาคารกุ้ง การรับฝากแม่พันธุ์ การเพาะขายพันธุ์ การอนุบาลลูกกุ้ง จนเข้าสู่กุ้งคว่ำ (กุ้ง P) และการปล่อยคืนธรรมชาติ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ศึกษาดูงานการจัดทำเขตอนุรักษ์กลุ่มอนุรักษ์บ้านคลองขุด พูดคุยแลกเปลี่ยน การจัดการแนวเขตอนุรักษ์ ของพื้นบ้านคลองขุดและพื้นที่บ้านชายคลอง เพื่อนำแนวทางปฏิบัติ มาปรับปรุง และบูรณาการใช้ในพื้นที่ และศึกษาการดำเนินกิจกรรมการทำธนาคารกุ้งก้ามกรา และวิธีการเพาะขยายพันธุ์กุ้งก้ามกรามเพื่อปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

 

15 0

6. ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

วันที่ 22 ธันวาคม 2566 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพัทลุง มอบพันธุ์ปลาน้ำจืดจำนวน 200,000 ตัว ให้กับกลุ่มอนุรักษ์บ้านชายคลอง โดยมีเจ้าหน้าที่ คณะทำงานโครงการ และชาวประมงในพื้นที่ ร่วมกันปล่อยพันธู์ปลาลงสู่แหล่งน้ำ ยังเขตอนุรักษ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประสานขอพันธุ์สัตว์น้ำจาก ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดพัทลุง เพื่อปล่อยลงสู่แหลงน้ำในบริเวณเขตอนุรักษ์

 

20 0

7. ประชุมคณะทำงาน

วันที่ 10 มกราคม 2567 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านชายคลอง มาให้ความรู้เรื่องอาหารปลอดภัย โดยเฉพาะการบริโภคปลาที่หาเอง แทนการกินปลาที่แช่น้ำแข็ง ที่มาจาดแหล่งอื่น ซึ่งอาจจะมีสารตกค้าง และการทำการเกษตรปลอดภัย โดยการปลูกผักกินเองเพื่อเป็นแหล่งอาหารอีกช่องทางของสมาชิก พร้อมด้วยการซักถามปัญหาสุขภาพและสุขภาวะทางจิตใจของสมาชิก โดยสมาชิกส่วนใหญ่มีสุขภาวะที่ดีขึ้น มีปลาให้กินเพียงพอ มีรายได้จากการประมงเพิ่มขึ้น ภาระหนี้สินลดลง ใช้เวลาทำการประมงน้อยลง ทำให้มีเวลาอยู่กับครอบครัวมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะทำงานพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต.บ้านปากประ

 

15 0

8. ประชุมคณะทำงาน

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1 ประชุมคณะทำงานพร้อมทั้งแนะนำการทำบัญชีครัวเรือน ทั้งแบบจดบันทึกและแบบออนไลน์ เพื่อให้สมาชิกสามารถรู้สถานะทางการเงิน รายรับ รายจ่าย จากการทำการประมง และการดำรงค์ชีวิต 2 คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัยชีครัวเรือน 3 คณะทำงานร่วมกันวางแผนกำหนดวันเพื่อจัดเวทีถอดบทเรียน ภายในเดือนมีนาคม
4 ประมงอาสารายงานผลการทำงาน การบุกรุก ความเสียหายในเขตอนุรักษ์ ผลสรุปไม่พบผู้กระทำความผิด 5 นัดรวมกันซ่อมแซมเขตที่โดนคลื่นลมช่วงน้ำท่วม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมประจำเดือนคณะทำงานและทีมประมงอาสาในการขับเคลื่อนงานเขตอนุรักษ์

 

15 0

9. จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ (สรุปข้อมูล)

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ปลาที่สูญพันธุ์ไปแล้วในพื้นที่ ปลาท้องถิ่นที่สูญพันธุ์แล้วในคลองปากประ จำนวน 11 ชนิด ได้แก่
ปลาแรค(ปลาเม่น) ปลาตุ่ม ปลาดุกลำพัน ปลาแหยงขี้ไก่ ปลาแย่(ปลาโอนเผือก) ปลาตือ(ปลาสะตือ) ปลาหมอตาล และปลาหูดำ(ปลาตูหนา) ปลาพรม ปลากระทิงผ้าร้าย ปลากดหัวกบ เนื่องจากจับไม่ได้ในช่วง 5- 30 ปีที่ผ่านมา ปลาสูญพันธุ์ที่พบในเขต ปลาพรม ปลากระทิงผ้าร้าย
ปลากดหัวกบ ผลการเก็บข้อมูลตลอดโครงการ เปรียบเทียบ ก่อน - หลัง ทำโครงการ

1.ข้อมูลสัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมงในพื้นที่
สัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง(ก่อนทำโครงการ)
ปลาลูกเบร่ ปลาหัวโหม่ง ปลาหัวอ่อน ปลากันหลาว ปลาสองหนวดกุ้งก้ามกราม ปลานิล ปลาเสือตอ ปลาตะเพียน ปลาสลาด ปลากราย ปลากดเหลือง ปลากดขี้ลิง ปลาดุกทะเล ปลาลูกขาว ประโสด ปลาโทง ปลากระดี่ ปลาเสือพ่นน้ำ ปลาแมว ปลาแป้น ปลากะตัก ปลาไน ปลาบู่ทอง ปลาชะโด ปลาช่อน ปลากระสง ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาดุกด้าง ปลาดุกเนื้ออ่อน ปลาแขยงหมู ปลาแขยงฟ้า ปลาหมอ ปลาขี้ตัง ปลาโคบ ปลาโอน สัตว์น้ำที่ได้จากการทำการประมง(หลังทำโครงการ) ปลาลูกเบร่ ปลาหัวโหม่ง ปลาหัวอ่อน ปลากันหลาว ปลาสองหนวดกุ้งก้ามกราม ปลานิล ปลาเสือตอ ปลาตะเพียน ปลาสลาด ปลากราย ปลากดเหลือง ปลากดขี้ลิง ปลาดุกทะเล ปลาลูกขาว ประโสด ปลาโทง ปลากระดี่ ปลาเสือพ่นน้ำ ปลาแมว ปลาแป้น ปลากะตัก ปลาไน ปลาบู่ทอง ปลาชะโด ปลาช่อน ปลากระสง ปลาหมอช้างเหยียบ ปลาดุกด้าง ปลาดุกเนื้ออ่อน ปลาแขยงหมู ปลาแขยงฟ้า ปลาหมอ ปลาขี้ตัง ปลาโคบ ปลาโอน ปลากะทิงผ้าร้าย ปลากดหัวกบ

2.ข้อมูลเครื่องมือประมงในพื้นที่
เครื่องมือประมง (ก่อนทำโครงการ) จำนวน 10 ชนิด
แห ไซซั้ง ไซราว กัด (ขนาดตา 2.8/3.5/4/5/7/12 เซนติเมตร) ยอ
เบ็ดราว เบ็ดทง บอก(ปลาดุกทะเล) ลัน(ปลาไหล) อวนลาก
เครื่องมือประมง (หลังทำโครงการ) จำนวน 9 ชนิด แห ไซซั้ง ไซราว กัด (ขนาดตา 3.5/4/12/15 เซนติเมตร) ยอ เบ็ดราว เบ็ดทง บอก(ปลาดุกทะเล) ลัน(ปลาไหล)
3.รายได้จากการทำการประมง และเวลาที่ใช้ทำการประมงในพื้นที่
รายได้จากการทำการประมง (ก่อนทำโครงการ)
300 – 800 บาท / คน / วัน เฉลี่ย 450 บาท/ คน/วัน
รายได้จากการทำการประมง (หลังทำโครงการ) 800 – 3000 บาท / คน / วัน เฉี่ย 1276 บาท/ คน/วัน เวลาในการทำการประมง (ก่อนทำโครงการ)
5 – 12 ชั่วโมง / วัน
เวลาในการทำการประมง (หลังทำโครงการ) 3- 8 ชั่วโมง / วัน

4.จำนวนครัวเรือนทำการประมง และจำนวนเรือประมงในพื้นที่
จำนวนครัวเรือนทำการประมง (ก่อนทำโครงการ)
42 ครัวเรือน
จำนวนครัวเรือนทำการประมง (หลังทำโครงการ) 59 ครัวเรือน จำนวนเรือประมง(ก่อนทำโครงการ) จำนวนเรือประมง(หลังทำโครงการ) 47 ลำ
จำนวนเรือประมง(หลังทำโครงการ) 66 ลำ จำนวนครัวเรือนทำการประมงเพิ่มขึ้น 17 ครัวเรือน จำนวนเรือทำการประมงเพิ่มขึ้น 19 ลำ

5.คุณภาพชีวิตและการบริโภคอาหารในพื้นที่ คุณภาพชีวิต (ก่อนทำโครงการ) การบริโภคอาหาร (จำนวนมื้อ/สัปดาห์)
หมู 10
ไก่ 3
กุ้งแช่แข็ง 1
กุ้งในพื้นที่ 0
ปลาในพื้นที่ 4
ปลาแช่แข็ง 2
อาหารสำเร็จรูป 1
ทานอาหารนอกบ้าน 0
คุณภาพชีวิต (หลังทำโครงการ) การบริโภคอาหาร (จำนวนมื้อ/สัปดาห์) หมู 3 ไก่ 3 กุ้งแช่แข็ง 1 กุ้งในพื้นที่ 1 ปลาในพื้นที่ 12 ปลาแช่แข็ง 1 อาหารสำเร็จรูป 0 ทานอาหารนอกบ้าน 0

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. รวบรวมข้อมูลจากการสำรวจจัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือประมงและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ
  2. สรุปข้อมูลตามประเภทข้อมูล แยกเป็น ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือประมงและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ
  3. จัดเก็บข้อมูลลงระบบ และรูปเล่มเพื่อการเผยแพร่ข้อมูล

 

15 0

10. ประชุมคณะทำงานประจำเดือน

วันที่ 1 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประชุมคณะทำงานประจำเดือน เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งข้อมูล การทำงาน ปัญหาอุปสรรค์ และการทำรายงาน เพื่อสรุปปิดดครงการภายในเดือนมีนาคม 2567

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะทำงานประจำเดือน

 

0 0

11. เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)

วันที่ 9 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.คณะทำงานและชาวประมงมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากร เลหน้าบ้าน 2.คณะทำงานและชาวประมงมีความรู้ความเข้าใจในการออกแบบการบริหารจัดการพื้นที่และการขยายผลสู่ชุมชนอื่นๆใกล้เคียง 3.คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจ ปัญหา อุสรรค และแนวทางการแก้ปัญหา 4. คณะทำงานสามารถสรุปผลการดำเนินการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.คณะทำงานสามารถนำเสนอผลการดำเนินงาน และผลสัมฤทธิ์ในโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมเวทีติดตามและประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา กับคณะทำงานและชาวประมงในพื้นที่ จำนวน 30 ราย

 

30 0

12. เวทีถอดบทเรียนร่วมกับภาคีเครือข่าย

วันที่ 15 มีนาคม 2567 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.คณะทำงานและชาวประมงในพื้นที่ สามารถสะท้อนปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาได้ 2.คณะทำงานร่วมกันถอดบทเรียนการทำงานตลอดระยะเวลา 10 เดือนที่ผ่านมา ทั้งในกระบวนการทำงาน ปัญหาการบุกรุก แนวทางการชักชวนชาวประมงให้เข้าร่วม และแนวทางการอนุรักษ์ที่ยั่งยืน 3.หน่วยงานวิชาการเสนอแนะการจัดเก็บข้อมมูลทางวิชาการเพื่อการใช้ข้อมูลในอนาคต 4.คณะทำงานเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยส่งเสริมสนับสนุน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งเป้นหน่วยงานหลักในพื้นที่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมถอดบทเรียนการทำงานของคณะทำงาน ประมงอาสา ชาวประมงในพื้นที่และภาคีเครือข่าย

 

30 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 23 20                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 79,800.00 72,225.00                  
คุณภาพกิจกรรม 80                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นายสุชาติ บุญญปรีดากุล
ผู้รับผิดชอบโครงการ