stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์บ้านชายคลอง
ภายใต้โครงการ แผนงานร่วมทุนนับสนุนการสร้างสุขภาวะชุมชนประมงพื้นบ้านใน 5 จังหวัดชายฝั่งทะเล
ภายใต้องค์กร สมาคมรักษ์ทะเลไทย
รหัสโครงการ S-023/2566
วันที่อนุมัติ 1 กันยายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2566 - 30 เมษายน 2567
งบประมาณ 79,800.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สมาคมรักษ์ทะเลไทย
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุชาติ บุญญปรีดากุล
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0918485919
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ toeysuchat1@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวจุฑาธิป ชูสง
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2566 30 ต.ค. 2566 1 ก.ย. 2566 30 ต.ค. 2566 39,900.00
2 31 ต.ค. 2566 20 มี.ค. 2567 31 ต.ค. 2566 20 มี.ค. 2567 31,920.00
3 21 มี.ค. 2567 20 เม.ย. 2567 7,980.00
รวมงบประมาณ 79,800.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานปรับสภาพสิ่งแวดล้อม
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อมูลพื้นฐาน   บ้านชายคลอง หมู่ที่ 11 ตำบลลำปำ อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของปากน้ำคลองปากประซึ่งเป็นคลองสายหลัก1ใน7สายที่ไหลจากเทือกเขาบันทัดสู่ทะเลสาบสงขลา มีอาณาเขตติดต่อดังนี้   - ทิศเหนือจดคลองปากประและ ม.4 ต.พนางตุง อ.ควนขนุน
  - ทิศตะวันออกจดทะเลหลวง ซึ่งเป็นพื้นที่ทะเลสาบสงขลา
  - ทิศตะวันตก จด ม.7 บ้านท่าสำเภาเหนือ ต.ชัยบุรี
  - ทิศใต้จด บ้านปากประ ม.8 ต.ลำปำ อ.เมือง จ.พัทลุง
ชุมชนบ้านชายคลองมีพื้นที่ที่ส่วนใหญ่เป็นป่าพรุสลับกับบ้านเรือนยกสูงตามถนนสายลำปำ-ทะเลน้อย และถนนสายบ้านอ้าย-ท่าสำเภาเลียบไปกับคลองปากประมีประชากรรวม 294 คน แบ่งเป็นเพศหญิง จำนวน 140 คน เพศชายจำนวน 154 คน มีครัวเรือนรวม 96 ครัวเรือน นับถือศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพเกษตรกรจำนวน 52 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 54 ประมงจำนวน 42 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 44 และประกอบอาชีพค้าขาย 2 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 2 อาชีพประมงชายฝั่งมีความเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวซึ่งมีผู้ประกอบการเรือนำเที่ยว 13 ลำ เรือนำเที่ยวของกองทุนหมู่บ้าน 2 ลำ มีจุดชมวิวที่โดดเด่นคือ ยอยักษ์ ป่าลำพู แหล่งนาริมเล และทะเลน้อยซี่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียงในลำดับต้นๆของจังหวัดพัทลุงซึ่งเป็นแหล่งที่มาของรายได้สำคัญของคนในชุมชน   อาชีพประมง มีจำนวน 42 ครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 44 ของอาชีพในชุมชน มีเรือหางยาวทำประมงจำนวน 47 ลำ ใช้วิธีวางกัด(ตาข่าย/อวน) ยอยัก ยอลูกเบร่ ไซ ไซราว แห ทำซั้งกุ้งแม่น้ำ เบ็ดราว มีสัตว์น้ำที่จับได้ตลอดปี และจะมีมากเป็นพิเศษในช่วงน้ำหลาก (ตุลาคม-มกราคมของทุกปี) ได้แก่ กุ้งแม่น้ำ(กุ้งก้ามกราม/แม่กุ้ง) ปลาแหยง ปลาลูกเบร่ ปลาหัวโหม้ง ปลานิล ปลามิหลัง ปลากด ปลาตะเพียน ปลาดุก ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาหมอ ปลาลูกขาว ปลาสวาย ปลาบึก ปลากะพง โดยเฉพาะปลาลูกเบร่และปลาบึก (ซึ่งเป็นปลาต่างถิ่นที่นำมาปล่อยให้อาศัยอยู่ในเลสาบฯ และสามารถเติบโตได้ถึง 200 กิโลกรัม) เป็นปลาที่สามารถจับได้เฉพาะในแถบปากน้ำและในคลองปากประเท่านั้นไม่พบในปากคลองอื่นที่ไหลลงทะเลสาบฯฝั่งตะวันตก ซึ่งนับว่าพื้นที่นี้มีความพิเศษที่ไม่เหมือนปากน้ำอื่นรอบทะเลสาบ สัตว์น้ำที่จับได้ส่วนใหญ่นอกเหนือจากใช้บริโภคในครัวเรือนแล้ว ที่เหลือจะขายในชุมชนหรือขายส่งแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารหรือโรงแรม/รีสอร์ท ในพื้นที่เป็นเมนูอาหารประจำถิ่นที่เป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงของถิ่นนี้

สภาพปัญหา ชาวประมงชายฝั่งในพื้นที่ประสบปัญหาด้านการลดลงของสัตว์น้ำ ทั้งชนิดและปริมาณ ซึ่งสัตว์น้ำบางชนิดที่กล่าวข้างต้นลดลงมาจนอยู่ในเกณฑ์ที่น่ากังวลโดยตลอดระยะเวลาประมาณ 10 ปีที่ผ่านมาชาวประมงในพื้นที่ต้องเพิ่มเครื่องมือ เวลาและระยะทางที่มากขึ้นในการจับสัตว์น้ำแต่ละวัน ดังนั้นจึงมีการร่วมกันสรุปถึงปัญหาที่เกิดขึ้น พบว่ามีสาเหตุสำคัญต่าง ๆ มาจากสาเหตุสำคัญคือ น้ำปนเปื้อนจากการใช้สารเคมีการเกษตร น้ำเสียจากชุมชนขนาดใหญ่จากฟาร์มปศุสัตว์ซึ่งปล่อยมาจากต้นน้ำ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองท่าแนะลงสู่ทะเลสาบฯ ส่งผลให้คุณภาพของน้ำเสื่อมลงไม่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของสัตว์น้ำมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนั้นการจับสัตว์น้ำขนาดเล็กและใช้เครื่องมืออประมงผิดกฎหมาย เช่นการจับปลาลูกเบล่ ที่ใช้ตาอวนขนา 1.5 เซ็นต์เป็นส่วนสำคัญที่เร่งให้สัตว์น้ำลดลงอย่างเห็นได้ชัดตลอดระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2560 - ปัจจุบันชุมชนได้หาทางออกแก้ปัญหาการลดลงของสัตว์สัตว์น้ำโดยผ่านเวทีประชาคมหมู่บ้านโดยมีมติให้จัดทำเขตอนุรักษ์ของชุมชนในพื้นที่ประมาณ 100 ไร่พร้อมด้วยการมีกติกาข้อตกลงของชุมชน แต่ยังมีแนวเขตที่ไม่ชัดเจน ใช้หลักแนวเขตด้วยไม้ไผ่และธง เมื่อเจอคลื่นลมก็มักจะเกิดการสียหาย ทำให้ชาวประมงใกล้เคียงเช่นจากหมู่ที่ 8 ตำบลลำปำ หมู่ที่ 4,5 ตำบลพนางตุง และชาวประมงจากฝั่งทะเลน้อย เข้ามาทำการประมงในเขตอนุรักษ์ชุมชนดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันยังมีการลักลอบทำประมงในเขตพื้นที่อนุรักษ์ของชุมชนเป็นระยะๆ   จากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าวชุมชนมองว่า ทรัพยากรสัตว์น้ำเป็นทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป เมื่อมีความต้องการใช้ทรัพยากรในจำนวนเพิ่มขึ้นในขณะที่ไม่มีการบริหารจัดการใดๆให้ทรัพยากรเหล่านั้นเพิ่มขึ้นก็จะทำให้ทรัพยากรเหล่านั้นลดลงไม่เพียงพอต่อความต้องการของชุมชน จึงได้มีความเห็นร่วมกันในการร่วมคิดออกแบบในการแก้ปัญหาโดยการปรับสภาพแวดล้อมของชุมชนบ้านชายคลอง หมู่ 11 ด้วยการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำโดยการทำเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำชุมชนต่อยอดจากการดำเนินงานที่ผ่านมา มุ่งเน้นการมีส่วนนร่วมของชุมชนและภาคีทุกภาคส่วนเกี่ยวข้องมีกติกาข้อตกลงที่ชัดเจน มีกลไกการทำงานที่เข้มแข็ง มีการบริหารจัดการที่โปร่งใส สร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักให้เห็นความสำคัญของทรัพยากร การสร้างกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อการเกิดสภาพแวดล้อมระบบนิเวศชายฝั่งที่มีความอุดมสมบูรณ์อาชีพประมงยั่งยืนสร้างของชุมชนบ้านชายคลองและชุมชนใกล้เคียง

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักและร่วมกันในการร่วมกันฟื้นฟูทะเลหน้าบ้านชายคลอง

คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาสถานการณ์ทะเลสาบ พร้อมร่วมอนุรักษ์เลหน้าบ้านชายคลอง

2 เพื่อสร้างกลไกการทำงานและติดตามประเมินผลร่วมกันในการฟื้นฟูเลหน้าบ้าน

2.1 มีคณะทำงานในการขับเคลื่อนการอนุรักษ์เลหน้าบ้านไม่ต่ำกว่า 15 คน ที่สามารถขับเคลื่อนงานได้อย่างมีประประสิทธิภาพ 2.2 มีการประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง 2.3 มีข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำและเครื่องมือการจับสัตว์น้ำบริเวณพื้นที่บ้านชายคลองเปรียบเทียบก่อน -หลังการดำเนินงานโครงการฯ 2.4 มีกติกาข้อตกลงในการทำประมง
2.5 มีประมงอาสาดูแลเขตฯไม่ต่ำกว่า 15 คน 2.6 มีแผนการทำงานของประมงอาสา

3 เพื่อสนับสนุนให้นิเวศน์เลบ้านชายคลองได้รับการฟื้นฟูและมีทรัพยากรที่สมบูรณ์ขึ้น

3.1 มีป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงเรื่องเขตอนุรักษ์ พร้อมหลักแนวเขต ป้ายเขตอนุรักษ์ในพื้นตามข้อตกลงชุมชน
3.2 มีบ้านปลาเพิ่มขึ้น จำนวน 10 จุด 3.3 มีพื้นที่เขตอนุรักษ์จำนวนเพิ่มขึ้น 150 ไร่ 3.4 รายได้จากการทำประมงเพิ่มขึ้น เดือนละไม้น้อยกว่า 1,000- 1,500 บาท 3.5 มีแผนปฏิบัติการในการในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทะเลแบบมีส่วนร่วมโดยเน้นกระบวนการชุมชนจัดการตนเองได้

4 เพื่อหนุนเสริมให้มีการ บริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ

4.1 โครงการย่อยสามารถทำงานได้ตามที่กำหนดไว้ตามแผน 4.2.โครงการย่อยสามารถรายงานผลในระบบ ออนไลน์ได้ถูกต้อง ครบถ้วน 4.3โครงการย่อยสามารถเดินทางร่วมกิจกรรมที่ทางคณะบริหารแผนงานกำหนด

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ครัวเรือนผู้ทำการประมง จำนวน 42 ครัวเรือน 40 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 375 79,800.00 23 79,800.00
10 ก.ย. 66 เวทีเปิดโครงการ 40 6,700.00 6,700.00
10 ก.ย. 66 จัดทำป้ายโลโก้ สสส. ป้ายเขตปลอดบุหรี่/ปลอดแอลกอฮอร์ 1 1,000.00 1,000.00
10 ก.ย. 66 ประชุมคณะทำงาน 15 1,875.00 1,875.00
10 ต.ค. 66 จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ 15 5,450.00 5,450.00
10 ต.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน 15 1,875.00 1,875.00
26 ต.ค. 66 ทำป้ายเขต หลักแนวเขตแสดงพื้นที่อาณาเขตอนุรักษ์ 6 3,550.00 3,550.00
26 ต.ค. 66 จัดทำรายงานลงระบบรายงาน ที่คณะบริหารแผนงานกำหนด 0 1,000.00 1,000.00
26 ต.ค. 66 เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) จังหวัดพัทลุง 13 5,000.00 5,000.00
26 ต.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน 15 1,875.00 1,875.00
1 พ.ย. 66 จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ (สำรวจข้อมูล) 15 4,250.00 4,250.00
10 พ.ย. 66 ประชุมคณะทำงาน 15 1,875.00 1,875.00
15 พ.ย. 66 ศึกษาดูงานการเพาะอนุบาลกุ้งก้ามกราม การอนุรักษ์ฟื้นฟู ชุมชนบ้านคลองขุด/บ้านช่องฟืน 15 6,050.00 6,050.00
1 ธ.ค. 66 การทำบ้านปลาในพื้นที่เขตอนุรักษ์ 15 18,250.00 18,250.00
10 ธ.ค. 66 ประชุมคณะทำงาน 15 1,875.00 1,875.00
15 ธ.ค. 66 ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 20 1,500.00 1,500.00
10 ม.ค. 67 ประชุมคณะทำงาน 15 1,875.00 1,875.00
10 ก.พ. 67 ประชุมคณะทำงาน 15 1,875.00 1,875.00
11 ก.พ. 67 จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำ (สรุปข้อมูล) 15 2,250.00 2,250.00
1 มี.ค. 67 ประชุมคณะทำงานประจำเดือน 0 0.00 0.00
9 มี.ค. 67 เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 30 1,350.00 1,350.00
30 มี.ค. 67 เวทีถอดบทเรียนร่วมกับภาคีเครือข่าย 30 3,750.00 3,750.00
10 เม.ย. 67 ประชุมคณะทำงาน 15 1,875.00 1,875.00
15 เม.ย. 67 เวทีปิดโครงการ 40 4,700.00 4,700.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดการสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คนในชุมชนเกิดความตระหนักและร่วมกันในการร่วมกันฟื้นฟูทะเลหน้าบ้านชายคลอง
  2. เกิดการสร้างกลไกการทำงานและติดตามประเมินผลร่วมกันในการฟื้นฟูเลหน้าบ้าน
  3. เกิดการสนับสนุนให้นิเวศน์เลบ้านชายคลองได้รับการฟื้นฟูและมีทรัพยากรที่สมบูรณ์ขึ้น
  4. เกิดการหนุนเสริมให้มีการ บริหารจัดการโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2566 16:27 น.