directions_run

เสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งจัดการความเสี่ยงแบบมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนตำบลสะเตงนอก

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งจัดการความเสี่ยงแบบมีส่วนร่วมเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนตำบลสะเตงนอก
ภายใต้โครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาวะ “กินปลอดโรค อยู่ปลอดภัย” จังหวัดยะลา
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 67-00123-03
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 31 มกราคม 2568
งบประมาณ 89,950.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลเมืองสะเตงนอก
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอุสมาน แวหะยี
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0800338820
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ sata.stn@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นายอัสมี มะโร๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดภาคใต้
ละติจูด-ลองจิจูด 8.896316,99.050778place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2567 30 พ.ค. 2567 35,980.00
2 1 มิ.ย. 2567 30 ก.ย. 2567 44,975.00
3 30 ก.ย. 2567 31 ม.ค. 2568 8,995.00
รวมงบประมาณ 89,950.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอุบัติเหตุ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เทศบาลเมืองสะเตงนอก ตั้งอยู่ที่ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา มีเนื้อที่ประมาณ 34.78 ตารางกิโลเมตร ห่างจากที่ว่าการอำเภอเมืองยะลา 3 กิโลเมตร ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ประกอบด้วย  13 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านเบอร์เส้ง หมู่ที่ 2 บ้านมลายูบางกอก หมู่ที่ 3 บ้านเปาะยานิ หมู่ที่ 4 บ้านนัด  โต๊ะโมง หมู่ที่ 5 บ้านบาโงยบาแด หมู่ที่ 6 บ้านพงบูโล๊ะ หมู่ที่ 7 บ้านนิบงบารู หมู่ที่ 8 บ้านกำปงบูเกะ หมู่ที่ 9 บ้านกือแลมะห์ หมู่ที่ 10 บ้านตือเบาะ หมู่ที่ 11 บ้านกำปงตือเงาะ หมู่ที่ 12 บ้านลาโจ๊ะ หมู่ที่ 13 บ้านปรามะ มีสภาพสิ่งแวดล้อมเป็นย่านชุมชนชายเมือง สวนยางพารา ทุ่งนา และมีร้านขายของหนาแน่นบริเวณบ้านตือเบาะ มีเส้นทางการเดินทางโดยใช้ทางหลวง หมายเลข 4002 (สายบุดี-บ้านตลาดนัดโต๊ะโมง) ,ถนนสาย บ้านปารามีแต - บ้านตือเบาะ ม.1,8,9,10 และ ม.12 เริ่มจาก สามแยกปารามีแต- หัวโค้งถนนผังเมือง 4 ซอย 24 ,ถนนบาโงยบาแด ม.5 เริ่มจาก หน้าวิทยาลัยอาชีวะยะลา – มัสยิดบ้านลางา ,ถนนลางา ม.5 และ ม.11 เริ่มจากสามแยกถนนทางหลวงหมายเลข 410 มลายูบางกอกตัดกับถนนลางา – มัสยิดบ้านลางา,ถนนอามัน ม.5 และ ม.11 เริ่มจาก บ้านอามัน – ถึงบ้านกูแบปูตะ,ถนนร่มเกล้า ม.3,4,9 และ ม.6 เริ่มจาก สามแยกทางหลวง 4-82 สายยะลา - สถานีวิทยุ ตัดกับถนนร่มเกล้า – บ้านพงปูโล๊ะ,ถนนเบอร์เส้ง ม.๑ เริ่มจาก สามแยกถนน    สุขยางค์ ตัดกับถนนเบอร์เส้ง - สี่แยก ถนนสายบ้านปารามีแต - บ้านตือเบาะ ตัดกับถนนเบอร์เส้ง,ถนนผังเมือง 4 ชอยปะจูรง ม.1 และ ม.12 เริ่มจากแนวเขตเทศบาลนครยะลา และเทศบาลเมืองสะเตงนอก - สามแยกถนนสายบ้านปารามีแต - บ้านตือเบาะ ตัดกับถนนผังเมือง 4 ซอยปะจูรง,ถนนลาโจ๊ะ ม.12 เริ่มจาก สามแยกถนนสาย บ้านปารามีแต - บ้านตือเบาะ ตัดกับถนนลาโจ๊ะ - แนวเขตเทศบาลนครยะลา และเทศบาลเมืองสะเตงนอก ถนนผังเมือง 4 ซอย 6,ถนนผังเมือง 4 ซอย 12 - บ้านพงบูโล๊ะ ม.6,10 และ ม.12 เริ่มจากเขตเทศบาลนครยะลาและเทศบาลเมืองสะเตงนอก - ถึงสามแยกถนนร่มเกล้า ตัดกับถนนผังเมือง 4 ซอย 12 – บ้านพงบูโล๊ะ,ถนนหน้าอนามัย ม.6,12 และ ม.9 เริ่มจากสี่แยกกูโบร์ - สี่แยกถนนเห้งเจีย – บ้านเนินงามตัดกับถนนหน้าอนามัย,  ถนนพงศ์เจริญ - ถนนหลังวัดตรีมิตร ม.9,ถนนเห้งเจีย – บ้านเนินงาม ม.4 และ ม.9 เริ่มจากแนวเขตเทศบาลนครยะลา และเทศบาลเมืองสะเตง - สามแยกถนนเห้งเจีย - บ้านเนินงาม ตัดกับโรงเรียนอิสลาฮียะห์,ถนนหน้าพาณิชย์ ม.10 เริ่มจาก หน้าวิทยาลัยเทคโนโลยีบริหารธุรกิจ - แนวเขตเทศบาลนครยะลา และเทศบาลเมือง  สะเตงนอก,ถนนสายเปาะยานิ ม.3 เริ่มจากสี่แยกถนนเลี่ยงเมือง – วัดสวนใหม่,ถนนนิบงบารู ม.๗ เริ่มจาก สามแยกถนนนิบงบารู - สามแยกถนนนิบงบารู ช่วงที่ 2 - ตัดกับถนนทางหลวง 4082 สายยะลา – สถานีวิทยุ, ถนนปรามะ ม.13 เริ่มจาก สามแยกถนนทางหลวง 4182 สายยะลา - สถานีวิทยุ ตัดกับถนนปรามะ – บ้านบาโงยดือปู,ถนนลักษมาน ม.3 เริ่มจาก สามแยกถนนทางหลวง 4082 สายยะลา – สถานีวิทยุตัดกับถนน    ลักษมาน – ถนนอัลนุร มีผู้ใช้ยวดยานพาหนะทางบก คือ รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ สภาพการจราจรคับคั่งในช่วงเร่งด่วน แต่ในเวลาปกติสภาพการจราจรยังมีสภาพคล่อง ไม่ติดขัด ถนนที่มีการจราจรคับคั่งและมักมีอุบัติเหตุทางการจราจรขึ้นบ่อย คือถนนถนนนิบงบารู ม.7 และถนนสายตือเบาะ

      จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุรวมของอำเภอเมืองยะลา 3 ปี ย้อนหลัง ในปี 2564-2566 ย้อนหลัง พบว่า พบว่าพื้นที่ตำบลสะเตงนอก มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด จำนวน 74, 71, 87 ครั้ง ตามลำดับ โดยสถิติปี 2565 พบว่าจังหวัดยะลามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจำนวน 1,641 ครั้ง ซึ่งเกิดในพื้นที่อำเภอเมืองยะลา 421 ครั้ง เสียชีวิต 24 คน บาดเจ็บจำนวน 282 คน หากวิเคราะห์ตามเขตพื้นที่ พบว่า พื้นที่ตำบลสะเตงนอก ยังเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ อุบัติเหตุเกิดขึ้น 87 ครั้ง เสียชีวิต 6 คน บาดเจ็บจำนวน 62 คน (ที่มาของข้อมูล : รายงานการออกเหตุของหน่วยกู้ภัยในเขตตำบลสะเตงนอก ณ 15 กุมภาพันธ์ 2567) ตารางแสดงสถิติการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ตำบลสะเตงนอก ประจำปี พ.ศ. 2565 เดือน จำนวนอุบัติเหตุ(ครั้ง) พิการ/เสียชีวิต (คน) บาดเจ็บต้องนำส่ง รพ. (คน) บาดเจ็บเล็กน้อย (คน) มกราคม 9 - 3 6 กุมภาพันธ์ 6 - 2 4 มีนาคม 5 - 4 4 เมษายน 8 1 3 4 พฤษภาคม 4 - 1 3 มิถุนายน 6 - 1 5 กรกฎาคม 4 - 2 2 สิงหาคม 6 - 1 5 กันยายน 5 1 2 2 ตุลาคม 6 - 2 4 พฤศจิกายน 5 - 2 3 ธันวาคม 8 2 2 4 รวม 71 3 25 41

ตารางแสดงสถิติการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ตำบลสะเตงนอก ประจำปี พ.ศ. 2566 เดือน จำนวนอุบัติเหตุ(ครั้ง) พิการ/เสียชีวิต (คน) บาดเจ็บต้องนำส่ง รพ. (คน) บาดเจ็บเล็กน้อย (คน) มกราคม 12 1 4 7 กุมภาพันธ์ 5 - 2 3 มีนาคม 7 - 3 4 เมษายน 9 1 4 4 พฤษภาคม 6 - 2 4 มิถุนายน 7 1 2 4 กรกฎาคม 4 - 2 2 สิงหาคม 6 - 2 4 กันยายน 7 1 3 3 ตุลาคม 7 - 2 5 พฤศจิกายน 8 - 3 5 ธันวาคม 9 2 4 3 รวม 87 6 33 48

จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยแกนนำภาคีเครือข่ายสุขภาพและเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ร่วมกับเทศบาลเมือง  สะเตงนอก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาโงยบาแด  และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนิบงบารู สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนในเขตพื้นที่ตำบล    สะเตงนอก เกิดจากปัจจัยและความเสี่ยงต่างๆ ได้แก่ ปัจจัยด้านพฤติกรรมและตัวบุคคล คือ พฤติกรรมการขับรถที่ไม่ระมัดระวัง ประมาท ไม่สวมหมวกนิรภัย ขับรถเร็วเกิดกำหนดโดยเฉพาะในเขตชุมชน ใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ มีการจอดรถบนไหล่ในบริเวณที่ห้ามจอด จุดเลี้ยว จุดบดบังการมองเห็น จอดรถซ้อนคัน และการขับรถโดยไม่มีใบอนุญาตขับขี่ รวมถึงพฤติกรรมการขับรถแบบคึกคะนองของวัยรุ่น(เด็กแว๊น) ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม คือ ไม่มี การตรวจสภาพรถให้พร้อมใช้งาน เช่น ไฟเลี้ยวดับ เป็นต้น ผิวทางจราจรชำรุดและการสร้างลูกระนาดที่ทำให้ รถกระโดดและเสียหลักได้ ป้ายจราจรหรือสัญลักษณ์จราจรบนถนนและริมถนนจางลงมองไม่ชัดเจน ไม่มีสัญญาณไฟจราจรจุดสี่แยก กระจกโค้งนิรภัยชำรุดบริเวณทางโค้งหรือจุดเสี่ยง ปัจจัยด้านกลไกและการบังคับใช้กฎหมาย จะเห็นได้ว่า การยกเว้นการปฏิบัติโดยอนุโลมของกฎหมายในพื้นที่ ส่งผลให้พฤติกรรมการขับขี่ของผู้คนเปลี่ยนไปและเกิดการปฏิบัติจนเคยชิน อีกทั้งยังทำให้การบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่เกิดความยืดหยุ่นไปด้วย    เช่น การไม่ต้องสวมหมวกนิรภัย เป็นต้น รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายจราจรที่ยังไม่เข้มงวด ไม่มีมาตรการหรือ  การกวดขันวินัยจราจร และไม่มีกลไกการป้องกันอุบัติเหตุในระดับชุมชน จนทำให้ละเลยการปฏิบัติหรือไม่ให้ความสำคัญในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน อีกทั้งพบว่าการดำเนินงานของ ศปถ.อปท. ยังไม่ถูกขับเคลื่อนในการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ได้จัดตั้งไว้อย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง และที่สำคัญที่สุด คือ ปัจจัยด้านจุดเสี่ยง ถือว่าเป็นปัจจัยที่ทุกฝ่ายจะต้องให้ความสำคัญและเป็นปัจจัยสามารถแก้ไขได้ โดยในพื้นที่ตำบลสะเตงนอก มีจุดเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุและบางจุดเกิดอุบัติเหตุซ้ำๆหลายๆ ครั้ง ได้แก่ ถนนสาย    ตือเบาะ (มีร้านค้าหนาแน่น มีการจอดรถซ้อนคัน และการขับรถเร็วเกินกำหนดในเขตชุมชน) สี่แยกเบอเส้ง (ไม่มีสัญญาไฟจราจร) ทางเข้าบ้านบุดี-ตลาดนัดโต๊ะโมง (ขับรถย้อนศร) แยกบ้านนิบงบารู (ขับรถเร็วในเขตชุมชน  จุดบังการมองเห็น เลี้ยวโดยไม่ให้สัญญาณไฟเลี้ยว) เป็นต้น ซึ่งการเกิดอุบัติเหตุทางถนนนั้น ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ประสบภัยทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ผลกระทบต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดภาวะเครียดและวิตกกังวลทั้งตัวบาดเจ็บและญาติ เกิดการบาดเจ็บ จนกระทั่งการเสียชีวิต ไม่เพียงเท่านั้น ยังก่อให้เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมอย่างมหาศาล เช่น ขาดรายได้ 200-300 บาท/วัน ค่ารักษาพยาบาล 100-300 บาท/ครั้ง หรือในกรณีที่ไม่มี พรบ. มีค่าใช้จ่ายถึง 30,000 บาท/ครั้ง ค่าปรับจราจร ไม่ต่ำกว่า 500 บาท/ครั้ง ค่าเดินทาง      ไปโรงพยาบาลประมาณ 100 บาท/ครั้ง ค่าใช้จ่ายให้คู่กรณี(ขึ้นอยู่กับความเสียหาย) และด้านสังคม มีปัญหาครอบครัว เกิดความขัดแย้ง กลายเป็นภาระของครอบครัวและสังคม ไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆทางสังคม และในกรณีที่ผู้ประสบอุบัติเหตุเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถหรือความเชี่ยวชาญ ทำให้เกิดการสูญเสียบุคคลหรือบุคลากรที่มีคุณค่า อีกทั้งยังเป็นเหตุให้เกิดการทะเลาะวิวาทหรือเกิดข้อพิพาทกับคู่กรณีอีกด้วย       ดังนั้นทางเทศบาลเมืองสะเตงนอก เล็งเห็นว่าการดำเนินงานขับเคลื่อนการป้องกันอุบัติเหตุทางถนน    ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องประสานความร่วมมือจากทุกฝ่าย ที่เป็นทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่ (จุดแข็ง)    ในการสนับสนุนการขับเคลื่อนงานให้สำเร็จ ได้แก่ สถานีตำรวจภูธรเมืองยะลา (สนับสนุนด้านกำลังพลและการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงองค์ความรู้ให้แก่ประชาชน และร่วมวางแผนการดำเนินงาน) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก,บ้านบาโงยบาแด และนิบงบารู (สนับสนุนด้านการบริการสาธารณสุข องค์ความด้านการปฐมพยาบาล รวมถึงเวชภัณฑ์ต่างๆ และร่วมวางแผนการดำเนินงาน) เทศบาลเมืองสะเตงนอก (สนับสนุนด้านบุคลากร กิจกรรม งบประมาณเพิ่มเติม และร่วมวางแผนการดำเนินงาน) อาสาสมัครสาธารณสุข (สนับสนุนการประชาสัมพันธ์และสื่อสารความเสี่ยง) งานกู้ชีพเทศบาลเมืองสะเตงนอก (สนับสนุนด้านข้อมูลสถิติและร่วมวางแผนการดำเนินงาน) หมวดการทางยะลา (สนับสนุนการจัดการจุดเสี่ยง) และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง (สนับสนุนการตั้งด่านในพื้นที่และและร่วมวางแผนการดำเนินงาน) และที่สำคัญจะต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน เพื่อเสริมสร้างให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง สามารถสื่อสารความเสี่ยงและจัดการความความเสี่ยงร่วมกับภาคีเครือข่ายสุขภาพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างทีมเฝ้าระวังและป้องกันอุบัติเหตุทางถนน เพื่อมุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุม การลดอุบัติเหตุการใช้รถที่เพิ่มมากขึ้นและจากประชาชนขาดความรู้ และไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบจราจรอย่างแท้จริง จึงจัดทำโครงการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง จัดการความเสี่ยงแบบมีส่วนร่วม    เพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนตำบลสะเตงนอก เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ และคนสัญจรไปมา เกิดการป้องกันด้วยการใช้อุปกรณ์ป้องกัน อุบัติเหตุทางถนน ไม่ประมาท ในตำบลสะเตงนอก โดยมีวัตถุประสงค์ ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดระเบียบการจราจรในชุมชนและเกิดการแก้ไขจุดเสี่ยงของชุมชนที่เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงสมาชิกในชุมชน  มีการปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกันในการแก้ไขจุดเสี่ยงและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับจุดเสี่ยง เพื่อเป็นการลดอัตรา  การเกิดอุบัติเหตุในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนเรื่องป้องกันอุบัติเหตุทางถนนที่เข้มแข็ง
  1. มีโครงสร้างแบ่งงานชัดเจน เกิดคณะอนุกรรมการ ศปถ.ตำบล มีองค์ประกอบ ตัวแทน รพ.สต., ปลัดอำเภอผู้รับผิดชอบประจำตำบล, ตัวแทน อปท, ตัวแทนผู้นำ มีความรู้ความเข้าใจการวิเคราะห์จุดเสี่ยง
  2. มีข้อมูล มีแผนการดำเนินงานร่วมกัน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อค้นหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและขยายผลกิจกรรม
  3. คณะอนุกรรมการ มีความรู้เรื่อง RTI และมีทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูล และจุดเสี่ยง
  4. มีแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ จากจุดเสี่ยง
  5. คณะทำงาน ติดตามประเมินผลทุกเดือน
2000.00
2 เพื่อลดอุบัติเหตุทางท้องถนน

1.จำนวนการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง ร้อยละ 50 2. อัตราความรุนแรงทางศีรษะลดลง ร้อยละ 50 3. อัตราการบาดเจ็บลดลง ร้อยละ 50
4. อัตราการตายลดลง ร้อยละ 50

13.00
3 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน

คณะทำงานมีศักยภาพบริหารจัดการโครงการ

190.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 2190
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ใช้รถใช้ถนน 2,000 -
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ คณะทำงานโครงการ และประชาช 190 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67ต.ค. 67พ.ย. 67ธ.ค. 67ม.ค. 68
1 การดำเนินงานร่วมกับสสส.(1 เม.ย. 2567-31 ม.ค. 2568) 10,000.00                    
รวม 10,000.00
1 การดำเนินงานร่วมกับสสส. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 28 10,000.00 0 0.00
1 เม.ย. 67 - 31 ม.ค. 68 ค่าเดินทางที่เหลือ 10 4,900.00 -
21 เม.ย. 67 ปฐมนิเทศโครงการ 2 200.00 -
1 พ.ค. 67 - 31 ธ.ค. 67 ค่าจัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่ และป้ายชื่อโครงการ 0 2,000.00 -
4 พ.ค. 67 ประชุมเชิงปฏิบัติการด้านการเงิน 3 300.00 -
3 มิ.ย. 67 - 1 ม.ค. 68 ค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์ 10 2,000.00 -
3 มิ.ย. 67 ร่วมเวทีจัดการข้อมูลโครงการย่อย 3 600.00 -
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 360 79,950.00 0 0.00
1 เม.ย. 67 - 30 พ.ย. 67 กิจกรรมที่ 5 การปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย 50 20,900.00 -
1 พ.ค. 67 - 3 ม.ค. 68 กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งคณะอนุกรรมการโครงการและประชุมคณะกรรมการ ศปถ. ตำบล 40 3,600.00 -
27 - 28 มิ.ย. 67 กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมพัฒนาคณะอนุกรรมการโครงการและประชุมคณะกรรมการ ศปถ. ตำบล 40 17,300.00 -
27 มิ.ย. 67 กิจกรรมที่ 3 จัดประชุม และพัฒนา ศปถ.ตำบล (ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน ทม.สะเตงนอก) 40 5,200.00 -
10 - 11 ก.ค. 67 กิจกรรมที่ 4 อบรมให้ความรู้เรื่อง กฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย 150 27,750.00 -
28 - 31 ม.ค. 68 กิจกรรมที่ 6 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนงานต่อไป 40 5,200.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 เกิดคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการที่เข้มแข็ง 2 เกิดกลไก ศปถ.ตำบลตัวชี้วัดผลลัพธ์
3 เกิดกลไกเฝ้าระวังติดตามเรื่องอุบัติเหตุทางท้องถนนที่เข้มแข็ง 4 พฤติกรรมเสี่ยง และ สภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้รับการแก้ไข และประชาชนมีความรู้และเกิดความตระหนักเพื่อลดอุบัติเหตุทางท้องถนน 5 การเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2567 09:19 น.