stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมกิน ปลูกผักปลอดภัยบ้านตาสา
ภายใต้โครงการ โครงการสร้างเสริมสุขภาวะ “กินปลอดโรค อยู่ปลอดภัย” จังหวัดยะลา
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 67-00123-05
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 31 มกราคม 2568
งบประมาณ 93,380.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มเกษตรปลูกผัก
ผู้รับผิดชอบโครงการ มูฮำหมัดบัดรี เจ๊ะเล๊าะ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0828337698
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ -
พี่เลี้ยงโครงการ นางไอลดา เจ๊ะหะ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดภาคใต้
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2567 30 พ.ค. 2567 37,352.00
2 1 มิ.ย. 2567 30 ก.ย. 2567 46,690.00
3 30 ก.ย. 2567 31 ม.ค. 2568 9,338.00
รวมงบประมาณ 93,380.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ผักปลอดภัย จังหวัดยะลา ปี 2565 มีเป้าหมายยุทธสาสตร์จังหวัด คือ ลดการนำเข้าผักจากนอกพื้นที่จังหวัดยะลา มีโมเดลผักปลอดภัย 2 โมเดล คือ โมเดลวิสาหกิจชุมชน มีกลุ่มเป้าและโครงสร้างกลุ่มที่จะดำเนินการชัดเจน และโมเดลกลุ่มเกษตรกร สมาชิกกลุ่มมีการรวมกลุ่มเกษตรกรปลูกผัก ดำเนินแบบกลุ่มแต่โครงสร้าง บทบาทหน้าที่คณะกรรมการยังไม่ชัดเจน พื้นที่ร่วมดำเนินโครงการจำนวน 20 พื้นที่
บริบทตำบลพร่อน ตำบลพร่อนตั้งขึ้นมาเมื่อประมาณปี พ.ศ.2378 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอเมืองยะลา ห่างจากตัวเมืองยะลาประมาณ 5 กิโลเมตร คำว่าพร่อนที่ใช้เป็นชื่อตำบลนั้น มีเรื่องสืบกันมาว่าในอดีตที่ผ่านมามีนายพรานคนหนึ่งเป็นผู้ที่มีความสามารถในการล่าสัตว์ป่ามากชาวบ้านแถบนั้นเรียกว่า “โต๊ะแพร” หรือ โต๊ะพราน และบริเวนบ้านที่พรานตั้งอยู่นั้นชื่อว่าหมู่บ้านพราน ต่อมาได้เพี้ยนเป็น “พร่อน” และได้ใช้เป็นชื่อของตำบลพร่อนในปัจจุบัน ตำบลพร่อนมีสภาพเป็นเนินเขาสูงต่ำสลับกันทางด้านตะวันออกและค่อย ๆ ลาดต่ำลงเป็นที่ราบจนเป็นที่ลุ่มบางส่วนซึ่งเป็นบริเวณน้ำท่วมขังทุกปี อาชีพหลัก ได้แก่ ทำนา ทำสวน
ชุมชนบ้านตาสา ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 ตำบลพร่อน เข้าร่วมโครงการขอรับทุนจาก สสส. เป็นปีแรก จากการลงพื้นที่วิเคราะห์ต้นไม้ปัญหาร่วมกับชุมชน ได้ข้อมูลดังนี้ ชุมชนบ้านตาสามี 600 หลังคาเรือน ประชากรจำนวน 1500 คน อาชีพส่วนใหญ่กรีดยาง ทำนา ทำสวนผลไม้ มีครัวเรือนจำนวน 150-200 ครัวเรือนที่มีการปลูกผักเสริมรายได้ มีพื้น มีการปลูกพืชหลังเก็บเกี่ยวข้าวด้วย ชนิดผักที่ปลูกได้แก่ แตงกวา ถั่วฝักยาว คะน้า ผักบุ้ง โหระพา กระเพรา มะเขือ พริก ที่นิยมปลูกคือแตงกวากับมะเขือยาว รายได้เฉลี่ยจากการขายผักต่อรอบการปลูกประมาณ 10000-15000 บาท มีคนในหมู่บ้านทำหน้าที่เป็นคนกลางรับซื้อผักไปส่งตลาดใหม่เขตเทศบาลนครยะลาซึ่งมีระยะทางจากชุมชนประมาณ 5 กิโลเมตร เกษตรกรมีการรวมกลุ่มอย่างหลวม ๆ ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนกลุ่มเกษตรกรกับหน่วยงานใด เกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยเคมีเพราะสะดวก หาซื้อได้ง่ายได้ผลิตที่แน่นอนมีแมลงมาทำลายพืชน้อย ผักสวย จะใช้ปุ๋ยคอกช่วงรองก้นหลุมตอนลงต้นกล้านิดหน่อยเท่านั้น ยาฆ่าแมลงมีการใช้บ้างแต่ค่อนข้างน้อย เคยอบรมการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพจากสำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดและเกษตรตำบลพร่อนมาสอน ไม่มีการวางแผนการปลูกที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาด เคยอบรมเรื่องมาตรฐานผักปลอดภัย GAP แต่ไม่เคยส่งผักไปตรวจเพื่อขอใบรับรองมาตรฐาน เนื่องจากไม่มีการวางแผนร่วมกันที่ชัดเจน ผลกระทบด้านสุขภาพ พบว่า เสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมี เช่น โรคผิวหนัง เป็นต้น ด้านเศรษฐกิจ พบว่า มีค่าใช้จ่ายการซื้อปุ๋ยสูงเนื่องจากราคาแพง ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ดินเสื่อมลงต้องเพิ่มการใช้ปุ๋ยในปริมาณที่มากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า ชุมชนบ้านตาสามี “แบยี” เป็นบุคคลที่มีความรอบรู้ด้านเกษตรเป็นอย่างดี เช่น ความรู้ด้านการพัฒนาดินปลูก การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวีวภาพ เป็นหมอดิน ถือเป็นปราชญ์ด้านเกษตรของตำบลพร่อน และพื้นที่ใกล้เคียง และเป็นแกนนำหลักของกลุ่มปลูกผักชุมชนบ้านตาสา นอกจากนี้ยังเป็นประธานศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียงซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านพักของตนเอง จากข้อมูดังกล่าวพอสรุปได้ว่า ชุมชนบ้านตาสายังขาดความรู้ ความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการการปลูกผักปลอดภัยที่เป็นระบบ
ดังนั้น แนวทางการแก้ปัญหาจำเป็นต้องจัดตั้งกลุ่มและพัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็งและและส่งเสริมให้มีความรู้ ทักษะการปลูกผักให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับได้อย่างต่อเนื่องทางกลุ่มเกษตรกรชุมชนบ้านตาสาจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นด้วยความร่วมมือจากหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องอาทิเช่น สำนักงานที่ดินจังหวัด เกษตรจังหวัด ศวพ. และธกส.มาให้ความรู้เป็นพื้นฐานการพึ่งพาตนเองในอนาคตที่เข้มแข็งและยั่งยืนต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ตามยุทธศาตร์จังหวัดยะลา ข้อที่3 พัฒนาคุณภาพชีวิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดดตั้งกลุ่มเกษตรกรและพัฒนาให้เข้มแข็ง

ผลลัพธ์ที่ 1 เกิดกลุ่มเกษตรกรที่เข้มแข็ง

ตัวชี้วัด 1.มีโครงสร้างคณะกรรมการ มีสมาชิกกลุ่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 หรือไม่น้อยกว่า จำนวน 10 คน

2.มีการบันทึกข้อมูลพื้นฐาน (Excel) ข้อมูลต้นทุน รายได้ กำไร เงินเหลือสุทธิ ต่อรอบการผลิตเป็นปัจจุบันอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

3.สมาชิกกลุ่มมีทักษะ ความรู้ปลูกผักปลอดภัยมาตรฐาน GAP และการรับรองมาตรฐาน GAP โดยมีภาคีเครือข่ายหนุนเสริมและกำกับติดตาม

4.มีแผนการจัดตั้งกองทุนกลุ่ม

5.เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ARE) กับพี่เลี้ยง ครั้งที่ 1


ผลลัพธ์ที่ 2 มีพื้นที่ปลูกผักที่เป็นความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้น

ตัวชี้วัด 1.มีแผนการปลูกรายแปลง การรับรองผักปลอดภัยมาตรฐาน GAP

2.จำนวนพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1 งาน/ราย

3.จำนวนชนิดพันธ์ผักที่ปลูกเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5 ชนิด


ผลลัพธ์ที่ 3 แปลงผักได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP

ตัวชี้วัดที่ 1. จำนวนแปลงที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP ร้อยละ 80

2.จำนวนครู ก อย่างน้อย 3 คน สามารถถ่ายทอดความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดภัยและการรับรองมาตรฐาน GAP ได้


ผลลัพธ์ที่ 4 ระบบกลไกสนับสนุนการผลิตและการตลาด

ตัวชี้วัด 1. มีการตรวจแปลงเป็นระยะ

2.มีการจัดทำแผนส่งต่อผักปลอดภัยกับผู้ซื้อผักปลอดภัยของกลุ่มร่วมกับโรงพยาบาล

3.เกิดการกระจายผลผลิตอย่างน้อย 1 จุด -มีการขายผักปลอดภัยตลาดในชุมชน ตลาดนอกชุมชน และตลาดโรงพยาบาล

4.มีแผนการดำเนินงานของศูนย์ฯที่ชัดเจน

2 เพื่อการส่งเสริมให้ความรู้กับสมาชิก

ผลลัพธ์ที่ 5 มีวิสาหกิจชุมชนผักปลอดภัยที่เข้มแข็ง

ตัวชี้วัด 1. มีแผนการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนผักปลอดภัยที่เข้มแข็ง

      2. มีแผนการผลิตและการตลาดผักปลอดภัยมาตรฐาน GAP

      3.มีแผนการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนผักปลอดภัย

ผลลัพธ์ที่ 6 เกษตรกรมีรายได้เพิ่มจากการจำหน่ายผักและบริโภคผักปลอดภัย

ตัวชี้วัดที่ 1.มีมูลค่าการขายผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 500 บาท/เดือน (ขายกลุ่ม/ขายเดี่ยว)

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณเม.ย. 67พ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67ต.ค. 67พ.ย. 67ธ.ค. 67ม.ค. 68
1 การดำเนินงานร่วมกับ สสส(1 เม.ย. 2567-31 ม.ค. 2568) 0.00                    
รวม 0.00
1 การดำเนินงานร่วมกับ สสส กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 210 39,300.00 0 0.00
13 เม.ย. 67 พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ 45 6,750.00 -
15 พ.ค. 67 - 31 ม.ค. 68 ประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน การบันทึกข้อมูลพื้นฐาน (ตาราง Excel) 15 5,850.00 -
24 พ.ค. 67 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ( ARE) กับพี่เลี้ยง ครั้งที่ 1 15 1,950.00 -
31 พ.ค. 67 1.อบรมปฏิบัติการให้ความรู้การจัดการดินปลูกผักปลอดภัย การวิเคราะห์ดิน การทำปุ๋ย หมักชีวภาพ การทำน้ำหมักชีวภาพ 45 5,850.00 -
7 มิ.ย. 67 ประชุมวางแผนการปลูกผักปลอดภัย การจัดการแมลงและศัตรูพืช การผลิตสารชีวภัณฑ์กำจัดแมลง/ศัตรูพืช 45 9,450.00 -
14 มิ.ย. 67 อบรมปฏิบัติการลงแปลงปลูกผักปลอดภัยตามแผนการปลูก 45 9,450.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2567 09:30 น.