directions_run

โครงการส่งเสริมการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องสมุนไพรไทยในชุมชนตำบลนาเกตุ

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โครงการส่งเสริมการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องสมุนไพรไทยในชุมชนตำบลนาเกตุ ”

หมู่ที่ 1 , 2 และ 6 ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

หัวหน้าโครงการ
นางประภัสสร ขวัญกะโผะ

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องสมุนไพรไทยในชุมชนตำบลนาเกตุ

ที่อยู่ หมู่ที่ 1 , 2 และ 6 ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จังหวัด ปัตตานี

รหัสโครงการ 54-01573 เลขที่ข้อตกลง 54-00-0589

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2554 ถึง 31 กรกฎาคม 2555


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องสมุนไพรไทยในชุมชนตำบลนาเกตุ จังหวัดปัตตานี" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 1 , 2 และ 6 ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องสมุนไพรไทยในชุมชนตำบลนาเกตุ



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องสมุนไพรไทยในชุมชนตำบลนาเกตุ " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 1 , 2 และ 6 ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี รหัสโครงการ 54-01573 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 สิงหาคม 2554 - 31 กรกฎาคม 2555 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 253,000.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ส่งเสริมการพึ่งตนเองด้านสุขภาพด้านการใช้พืชสมุนไพรในชีวิตประจำวัน
  2. สนับสนุนให้เกิดการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นพืชสมุนไพรไทยในชุมชนตำบลนาเกตุ
  3. สร้างกระบวนการจัดการประโยชน์จากพืชสมุนไพรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนพึ่งตนเอง
  4. สร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการพืชสมุนไพรไทยและส่งเสริมสุขภาวะตนเอง ครอบครัว ชุมชน ในตำบลนาเกตุ ที่สอดคล้องกับศักยภาพและทุนทางสังคม

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. จัดประชุมองค์กรต่าง ๆ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มชมรมต่าง ๆ ครู อบต.นาเกตุ จนท.รพ.สต. นวช.เกษตร และผู้ที่เกี่ยวข้อง

    วันที่ 25 สิงหาคม 2554

    กิจกรรมที่ทำ

    มีผู้เข้าร่วมประชุม 57 คน จัดประชุมองค์กรต่าง ๆ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา ปราชญ์ชาวบ้าน กลุ่มชมรมต่าง ๆ ครู อบต.นาเกตุ จนท.รพ.สต. นวช.เกษตร และผู้ที่เกี่ยวข้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม 57 คน คัดเลือกคณะกรรมการบริหารโครงการ 1 คณะ ครอบคลุมทุกภาคีเครือข่าย กำหนดกฎ ระเบียบ และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบแต่ละคน

     

    0 0

    2. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของประชาชนทุกเดือนผลักดันให้เกิดมาตรการทางสังคมในการให้มีและใช้พืชสมุนไพรไทยในชุมชน

    วันที่ 30 สิงหาคม 2554

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชาชนทั่วไป ภาคีเครือข่าย อสม. อบต. ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมอาสาสมัครหมอนวดแผนไทยในตำบล ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องที่ เข้าร่วมประชุมจำนวน 79 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดประชุมประชาชนที่สนใจประชาสัมพันธ์โดยเครือข่ายสุขภาพ พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลักดันให้เกิดมาตรการทางสังคมในการให้มีและใช้พืชสมุนไพรไทยในชุมชน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 79 คน

     

    0 0

    3. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิตพืชสมุนไพร

    วันที่ 25 กันยายน 2554

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อผลักดันให้เกิดมาตรการทางสังคมในการให้มีและใช้พืชสมุนไพรไทยในชุมชนตำบลนาเกตุ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 31 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อผลักดันให้เกิดมาตรการทางสังคมในการให้มีและใช้พืชสมุนไพรไทยในชุมชนตำบลนาเกตุ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 31 คน มีมาตรการในการปลูกพืชสมุนไพรอย่างน้อยครัวเรือนละ 5 ชนิด

     

    0 0

    4. ประชุมเชิงปฏิบัติการภาคประชาชน

    วันที่ 14 ตุลาคม 2554

    กิจกรรมที่ทำ

    แจ้งหนังสือเชิญประชุมหมู่บ้านเป้าหมายทั้ง 3 หมู่บ้าน จัดประชุมตามกำหนด แต่งตั้งคณะอนุกรรมการระดับคุ้ม 6 คุ้ม กำหนดความต้องการพืชสมุนไรพ แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ นำเสนอแนวคิดแต่ละคุ้มในเวทีการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมหมู่บ้านเป้าหมายทั้ง 3 หมู่บ้าน จัดประชุมตามกำหนด แต่งตั้งคณะอนุกรรมการระดับคุ้ม 6 คุ้ม กำหนดความต้องการพืชสมุนไรพ แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ นำเสนอแนวคิดแต่ละคุ้มในเวทีการประชุม จำนวน 84 คน มีภาคีเครือข่ายครอบคลุม

     

    0 0

    5. ชมรมพืชสมุนไพรไทยในชุมชนดำเนินการผลิตพืชสมุนไพร

    วันที่ 26 ตุลาคม 2554

    กิจกรรมที่ทำ

    ติดป้ายประชาสัมพันธ์เขตปลอดบุหรี ป้ายศูนย์สมุนไพรฯ ป้ายโครงการส่งเสริมการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 5 ป้าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ติดป้ายประชาสัมพันธ์เขตปลอดบุหรี ป้ายศูนย์สมุนไพรฯ ป้ายโครงการส่งเสริมการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน 5 ป้าย

     

    0 0

    6. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อผลักดันให้เกิดมาตรการทางสังคมในการให้มีและใช้พืชสมุนไพรไทยในชุมชนตำบลนาเกตุ

    วันที่ 28 ตุลาคม 2554

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อผลักดันให้เกิดมาตรการทางสังคมในการให้มีและใช้พืชสมุนไพรไทยในชุมชนตำบลนาเกตุ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 37 คน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อผลักดันให้เกิดมาตรการทางสังคมในการให้มีและใช้พืชสมุนไพรไทยในชุมชนตำบลนาเกตุ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 37 คน 

     

    0 0

    7. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์สำหรับการผลิตแปรรูปพืชสมุนไพรในรูปแบบต่าง ๆ

    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2554

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดหาวัสดุ อุปกรณ์สำหรับการผลิตแปรรูปพืชสมุนไพรในรูปแบบต่าง ๆ ประกอบด้วย เตาอบลมร้อน 5 ชั้น 1 เครือง เครื่องบดผงสมุนไพร 1 เครื่อง เครื่องอัดแคปซูล 1 เครื่อง ตาชั่ง 1 ตัว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้วัสดุ อุปกรณ์สำหรับการผลิตแปรรูปพืชสมุนไพรในรูปแบบต่าง ๆ ประกอบด้วย เตาอบลมร้อน 5 ชั้น1 เครือง  ราคา 19,260 บาท เครื่องบดผงสมุนไพร ราคา 17,120 บาท 1 เครื่อง เครื่องอัดแคปซูล ราคา 4,066 บาท 1 เครื่อง ตาชั่ง ราคา 406.60 บาท 1 ตัว

     

    0 0

    8. จัดหาพันธุ์พืชสมุนไพรที่ไม่มีในพื้นที่และเพาะพันธุ์พืชเพิ่ม

    วันที่ 24 พฤศจิกายน 2554

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดหาพันธุ์พืชสมุนไพรที่ไม่มีในพื้นที่และเพาะพันธุ์พืชเพิ่ม จำนวน 380 ถุง พร้อมปุ๋ยชีวภาพ และพันธุ์พืชหายากจำนวน 3 ชนิด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้พันธุ์พืชสมุนไพรที่ไม่มีในพื้นที่และเพาะพันธุ์พืชเพิ่ม จำนวน 380 ถุง พร้อมปุ๋ยชีวภาพ และพันธุ์พืชหายากจำนวน 3 ชนิด

     

    0 0

    9. ประชุมกลุ่มประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ

    วันที่ 24 พฤศจิกายน 2554

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมกลุ่มประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการจัดตั้งชมรมพืชสมุนไพรไนชุมชนและจัดตั้งศูนย์สมุนไพรไทยในชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ติดตั้งป้าย 1 ป้าย เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้และรับซื้อพืชสมุนไพรจากประชาชน มีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม 32 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมกลุ่มประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการจัดตั้งชมรมพืชสมุนไพรไนชุมชนและจัดตั้งศูนย์สมุนไพรไทยในชุมชนตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ติดตั้งป้าย 1 ป้าย เพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้และรับซื้อพืชสมุนไพรจากประชาชน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ 32คน มีภาคเครือข่าย ชมรมผู้สูงอายุ อสม. อบต. จนท.รพ.สต.นาเกตุ ชมรมอาสาสมัครหมอนวดแผนไทยบำบัดโรคในชุมชน

     

    0 0

    10. ชมรมพืชสมุนไพรไทยในชุมชนจัดทำตำราพืชสมุนไพรไทยในชุมชน

    วันที่ 26 พฤศจิกายน 2554

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำตำราพืชสมุนไพรไทยในชุมชน จำนวน 500 เล่ม ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ตำราพืชสมุนไพรไทยในชุมชน จำนวน 500 เล่ม ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 30,000 บาท

     

    0 0

    11. ชมรมพืชสมุนไพรไทยในชุมชนหาช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์

    วันที่ 1 ธันวาคม 2554

    กิจกรรมที่ทำ

    ชมรมพืชสมุนไพรไทยในชุมชนหาช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ทุกรูปแบบเพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักและแพร่หลายไปยังประชาชนทั่วไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชมรมพืชสมุนไพรไทยในชุมชนหาช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรแปรรูปในงานพิธีเปิดสถาบันการเงินชุมชนบ้านหัวควน หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา หมู่ที่ 6 ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ได้จัดบู๊ทประชาสัมพันธ์และจัดตัวอย่าง ให้ทดลองชิมยาสมุนไพร มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี ว่าที่ร้อยตรีเลิศเกียรติ  วงศ์โพธิพันธ์ ประชาชนทั่วไป เจ้าหน้าที่ธนาคารออมสิน หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ และเจ้าหน้าที่ทหารให้ความสนใจ ทดลองชิมยาสมุนไพรที่เป็นเครื่องดื่มบำรุงร่างกายและซื้อยาสมุนไพรไปใช้ตามความสนใจ 

     

    0 0

    12. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิตพืชสมุนไพรพร้อมสาธิตผลิตเป็นแคปซูลยาชนิดต่าง ๆ

    วันที่ 9 ธันวาคม 2554

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิตพืชสมุนไพรเป็นยาสมุนไพรและเครื่องดื่มบำรุงร่างกายในการดำรงชีวิตประจำวันพร้อมสาธิตผลิตและแปรรูปสมุนไพรไทยเป็นแคปซูลยาชนิดต่าง ๆ มีผู้มาร่วมประชุม 126 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิตพืชสมุนไพรเป็นยาสมุนไพรและเครื่องดื่มบำรุงร่างกายในการดำรงชีวิตประจำวันพร้อมสาธิตผลิตและแปรรูปสมุนไพรไทยเป็นแคปซูลยาชนิดต่าง ๆ มีผู้มาร่วมประชุม 2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 27 พ.ย.54 มีผู้เข้าร่วมประชุมเพียง 38 คน ครั้งที่ 2 มาประชุม 126 คน มีการสาธิต ทดลองชิมสมุนไพร บรรยายสมุนไพรกับเศรษฐกิจพอเพียง และมอบต้นพันธุ์สมุนไพรกลับไปปลูกที่บ้าน

     

    0 0

    13. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของประชาชนทุกเดือนผลักดันให้เกิดมาตรการทางสังคมในการให้มีและใช้พืชสมุนไพรไทยในชุมชน

    วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อผลักดันให้เกิดมาตรการทางสังคมในการให้มีและใช้พืชสมุนไพรไทยในชุมชนตำบลนาเกตุ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 28 คน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อผลักดันให้เกิดมาตรการทางสังคมในการให้มีและใช้พืชสมุนไพรไทยในชุมชนตำบลนาเกตุ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 28 คน เกิดมาตรการขยายเครือข่ายปลูกพืชสมุนไพร เพิ่ม หมู่ที่ 4และ หมู่ที่ 7 

     

    0 0

    14. ค้นหาหมอพื้นบ้าน แพทย์ทางเลือกรายใหม่

    วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะบุคคลองค์การบริหารส่วนตำบลนาเกตุ ได้ค้นหาหมอพื้นบ้านแพทย์ทางเลือกรายใหม่ ซึ่งในครั้งนี้ค้นพบหมอพื้นบ้านรายใหม่ จำนวน 2 ราย คือ นายเพียร  ทองมา หมู่ที่ 1 บ้านนาเกตุ ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เป็นหมอพื้นบ้านด้านการใช้พืชสมุนไพร และนายจรัล  แดงกระจ่าง หมู่ที่ 1 บ้านนาเกตุ ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เป็นหมอพื้นบ้านด้านการใช้ปลูกและใช้พืชสมุนไพร บนวิถีเศรษฐกิจพอเพียง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะบุคคลองค์การบริหารส่วนตำบลนาเกตุ ได้ค้นหาหมอพื้นบ้านแพทย์ทางเลือกรายใหม่ ซึ่งในครั้งนี้ค้นพบหมอพื้นบ้านรายใหม่ จำนวน 2 ราย คือ นายเพียร  ทองมา หมู่ที่ 1 บ้านนาเกตุ ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เป็นหมอพื้นบ้านด้านการใช้พืชสมุนไพร และนายจรัล  แดงกระจ่าง หมู่ที่ 1 บ้านนาเกตุ ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี เป็นหมอพื้นบ้านด้านการใช้ปลูกและใช้พืชสมุนไพร บนวิถีเศรษฐกิจพอเพียง

     

    0 0

    15. พัฒนาศักยภาพสมาชิกชมรมพืชสมุนไพรไทย

    วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมแลกเปลี่ยนพัฒนาศักยภาพสมาชิกชมรมพืชสมุนไพรไทยในชุมชนตำบลนาเกตุ เป้าหมายอบรม 40 คน และประสานงานกับโรงพยาบาลโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายเภสัชกรมาให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ การผลิตยาสมุนไพรที่ถูกต้อง มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 76 คน ประกอบด้วย สมาชิกชมรมพืชสมุนไพร อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) นักเรียนโรงเรียนบ้านนาเกตุ ซึ่งได้เข้าร่วมอบรมในหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นสมุนไพรไทยในโรงเรียนบ้านนาเกตุ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดประชุมแลกเปลี่ยนพัฒนาศักยภาพสมาชิกชมรมพืชสมุนไพรไทยในชุมชนตำบลนาเกตุ เป้าหมายอบรม 40 คน และประสานงานกับโรงพยาบาลโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ส่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายเภสัชกรมาให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ การผลิตยาสมุนไพรที่ถูกต้อง มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 76 คน ประกอบด้วย สมาชิกชมรมพืชสมุนไพร อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) นักเรียนโรงเรียนบ้านนาเกตุ ซึ่งได้เข้าร่วมอบรมในหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นสมุนไพรไทยในโรงเรียนบ้านนาเกตุ 

     

    0 0

    16. ประสานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเภสัชกรตรวจสอบคุณภาพ คุณสมบัติของสมุนไพร

    วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555

    กิจกรรมที่ทำ

    ประสานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเภสัชกรตรวจสอบคุณภาพ คุณสมบัติของสมุนไพรไทยในชุมชนตำบลนาเกตุ โดยคณะบุคคลองค์การบริหารส่วนตำบลนาเกตุ ได้ติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาลโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ให้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายเภสัชกรตรวจสอบคุณภาพ คุณสมบัติของสมุนไพรไทยในชุมชนตำบลนาเกตุ คือ เภสัชกรอาภัย  มาลินี เภสัชกรประจำโรงพยาบาลโคกโพธิ์ ได้ให้ความรู้และชี้แนะเกี่ยวกับการใช้พืชสมุนไพรที่ถูกต้องเหมาะสมได้คุณภาพ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประสานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเภสัชกรตรวจสอบคุณภาพ คุณสมบัติของสมุนไพรไทยในชุมชนตำบลนาเกตุ โดยคณะบุคคลองค์การบริหารส่วนตำบลนาเกตุ ได้ติดต่อประสานงานกับโรงพยาบาลโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ให้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายเภสัชกรตรวจสอบคุณภาพ คุณสมบัติของสมุนไพรไทยในชุมชนตำบลนาเกตุ คือ เภสัชกรอาภัย  มาลินี เภสัชกรประจำโรงพยาบาลโคกโพธิ์ ได้ให้ความรู้และชี้แนะเกี่ยวกับการใช้พืชสมุนไพรที่ถูกต้องเหมาะสมได้คุณภาพ 

     

    0 0

    17. กำหนดหลักสูตร ภูมิปัญญาท้องถิ่นสมุนไพรไทยในโรงเรียนบ้านบ้านชะเมา

    วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดอบรมทำหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นสมุนไพรไทยในโรงเรียนบ้านชะเมา จัดกิจกรรมบรรยายให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน อาจารย์ในโรงเรียนและผู้ปกครองเด็กนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม และได้เชิญเภสัชกรอาภัย  มาลินี เภสัชกรประจำโรงพยาบาลโคกโพธิ์ มาบรรยายให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนเกี่ยวกับการปลูกและใช้พืชสมุนไพรที่ถูกต้อง มีกิจกรรมตอบถามแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรทำให้เด็กนักเรียนมาความเข้าใจมากขึ้น พร้อมทั้งมีการสาธิตการแปรรูปแคปซูลสมุนไพร ทำให้เด็กนักเรียนให้ความสนใจการสาธิตและทดลอง ชิมแคปซูลสมุนไพรทุกคน เมื่อเสร็จสิ้นการบรรยายและสาธิตก็ได้มีการแจกพันธุ์พืชสมุนไพรได้แก่ต้นมะรุม ต้นรางจืด หัวไพร หัวกระชาย ปุ๋ยชีวภาพ ดินปลูกต้นไม้ ให้แก่นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและมอบพันธุ์พืชสมุนไพรให้แก่โรงเรียนได้ปลูกในโรงเรียนเป็นแบบอย่างในโรงเรียนด้วย ซึ่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านชะเมา นายวร สังข์เพ็ชร ได้ให้ความอนุเคราะห์ให้คณะบุคคล อบต.นาเกตุ จัดอบรมทั้งวัน การจัดอบรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 111 คน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดอบรมทำหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นสมุนไพรไทยในโรงเรียนบ้านชะเมา จัดกิจกรรมบรรยายให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน อาจารย์ในโรงเรียนและผู้ปกครองเด็กนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม และได้เชิญเภสัชกรอาภัย  มาลินี เภสัชกรประจำโรงพยาบาลโคกโพธิ์ มาบรรยายให้ความรู้แก่เด็กนักเรียนเกี่ยวกับการปลูกและใช้พืชสมุนไพรที่ถูกต้อง มีกิจกรรมตอบถามแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรทำให้เด็กนักเรียนมาความเข้าใจมากขึ้น พร้อมทั้งมีการสาธิตการแปรรูปแคปซูลสมุนไพร ทำให้เด็กนักเรียนให้ความสนใจการสาธิตและทดลอง ชิมแคปซูลสมุนไพรทุกคน เมื่อเสร็จสิ้นการบรรยายและสาธิตก็ได้มีการแจกพันธุ์พืชสมุนไพรได้แก่ต้นมะรุม ต้นรางจืด หัวไพร หัวกระชาย ปุ๋ยชีวภาพ ดินปลูกต้นไม้ ให้แก่นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและมอบพันธุ์พืชสมุนไพรให้แก่โรงเรียนได้ปลูกในโรงเรียนเป็นแบบอย่างในโรงเรียนด้วย ซึ่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านชะเมา นายวร สังข์เพ็ชร ได้ให้ความอนุเคราะห์ให้คณะบุคคล อบต.นาเกตุ จัดอบรมทั้งวันแทนการจัดอบรมหลังเลิกเรียนวันละชั่วโมงเนื่องจากในพื้นที่จะต้องมีการรักษาความปลอดภัยครูและครู อาจารย์ ต้องกลับบ้านตามเวลาที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยกำหนดให้ การจัดอบรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 111 คน 

     

    0 0

    18. คณะกรรมการบริหารโครงการประสานหน่วยงานภาครัฐ/เอกชนส่งเสริมกิจกรรม

    วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2555

    กิจกรรมที่ทำ

    • ติดต่อประสานงานกับเภสัชกรประจำโรงพยาบาลโคกโพธิ์บรรยายให้ความรู้เรื่องสมุนไพร
    • ติดต่อนายจรัล  แดงกระจ่าง ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตรร่วมบรรยายสมุนไพรกับเศรษฐกิจพอเพียง
    • ติดต่อนายวร  สังข์เพ็ชร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านชะเมา จัดอบรมหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียนบ้านชะเมา
    • ติดต่อนายสนิท สิทธิเสรีสุวรรณ จัดอบรมหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียนบ้านนาเกตุ
    • ติดต่อร้านดาราฎี จัดหาพันธุ์พืชสมุนไพร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ติดต่อประสานงานกับเภสัชกรประจำโรงพยาบาลโคกโพธิ์บรรยายให้ความรู้เรื่องสมุนไพร
    • ติดต่อนายจรัล  แดงกระจ่าง ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตรร่วมบรรยายสมุนไพรกับเศรษฐกิจพอเพียง
    • ติดต่อนายวร  สังข์เพ็ชร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านชะเมา จัดอบรมหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียนบ้านชะเมา
    • ติดต่อนายสนิท สิทธิเสรีสุวรรณ จัดอบรมหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียนบ้านนาเกตุ
    • ติดต่อร้านดาราฎี จัดหาพันธุ์พืชสมุนไพร

     

    0 0

    19. กำหนดหลักสูตร ภูมิปัญญาท้องถิ่นสมุนไพรไทยในโรงเรียนบ้านนาเกตุ

    วันที่ 19 มีนาคม 2555

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะบุคคลได้ติดต่อประสานงานกับโรงเรียนบ้านนาเกตุ ให้ความรู้โดยกำหนดหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นสมุนไพรไทยในโรงเรียนบ้านนาเกตุ ครั้งที่ 1 มีนักเรียนเข้าร่วมศึกษาในระหว่างการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพสมาชิกชมรมพืชสมุนไพรไทย ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 มีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม 24 คน
    • วันศุกร์ ที่ 2 มีนาคม 2555 นางนิตยา  หะยีลาเต๊ะ อาจารย์โรงเรียนบ้านนาเกตุ ได้นำนักเรียนโรงเรียนบ้านนาเกตุ จำนวน 19 คน เดินทางไปศึกษาเรียนรู้ในหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องพืชสมุนไพรไทยในชุมชนตำบลนาเกตุ ณ ศูนย์สมุนไพรไทยตำบลนาเกตุ ณ ที่บ้าน นายเอื้อม  ณ สงคราม ปราชญ์ชาวบ้านพืชสมุนไพร บ้านเลขที่ 120 หมู่ที่ 6 ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี โดยนายเอื้อม ณ สงคราม ได้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการปลูกและใช้พืชสมุนไพรพร้อมทั้งสาธิตวิธีการทำแคปซูลสมุนไพรให้แก่เด็กนักเรียนได้ทดลองทำและชิมสมุนไพร มีการตั้งคำถามจากเด็กนักเรียนซึ่งได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
    • จัดอบรมหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นสมุนไพรไทยในโรงเรียนบ้านนาเกตุ ครั้งที่ 2 มีกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการปลูกและใช้พืชสมุนไพรไทยในชุมชนให้แก่โรงเรียนบ้านนาเกตุ ซึ่งเป็นการร่วมกิจกรรมครั้งที่ 2 ของโรงเรียนบ้านนาเกตุ บรรยายสรรพคุณของพืชสมุนไพรโดยเภสัชกรอาภัย  มาลินี เภสัชกรประจำโรงพยาบาลโคกโพธิ์ บรรยายสมุนไพรกับเกษตรพอเพียง โดยนายจรัล  แดงกระจ่าง ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตร และบรรยายพร้อมสาธิตการผลิตแคปซูลสมุนไพรโดยนายเอื้อม  ณ สงคราม ปราชญ์ชาวบ้านเรื่องพืชสมุนไพร และได้ส่งมอบพันธ์พืชสมุนไพรให้แก่นักเรียนกลับไปปลูกที่บ้านพร้อมทั้งปุ๋ยชีวภาพ และได้มอบให้โรงเรียนบ้านนาเกตุ ได้ปลูกเป็นพืชสมุนไพรในโรงเรียน มีนักเรียนและอาจารย์เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 82 คน ในการจัดอบรมครั้งนี้ได้ปรับเปลี่ยนเวลาในการจัดอบรมจากหลังเลิกเรียนตอนเย็นเป็นจัดอบรมในวันที่ 19 มีนาคม 2555 ทั้งวัน เนื่องจากอาจารย์ทุกท่านจะต้องกลับบ้านตามเวลาที่หน่วยรักษาความปลอดภัยกำหนดเพราะต้องรักษาความปลอดภัยระหว่างเส้นทางที่อาจารย์เดินทางกลับบ้าน และได้รับความกรุณาจากนายสนิท สิทธิเสรีสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาเกตุ อนุญาตให้คณะทำงานได้จัดอบรมทั้งวัน


    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะบุคคลได้ติดต่อประสานงานกับโรงเรียนบ้านนาเกตุ ให้ความรู้โดยกำหนดหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นสมุนไพรไทยในโรงเรียนบ้านนาเกตุ ครั้งที่ 1 มีนักเรียนเข้าร่วมศึกษาในระหว่างการจัดอบรมพัฒนาศักยภาพสมาชิกชมรมพืชสมุนไพรไทย ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555 มีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม 24 คน
    • วันศุกร์ ที่ 2 มีนาคม 2555 นางนิตยา  หะยีลาเต๊ะ อาจารย์โรงเรียนบ้านนาเกตุ ได้นำนักเรียนโรงเรียนบ้านนาเกตุ จำนวน 19 คน เดินทางไปศึกษาเรียนรู้ในหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องพืชสมุนไพรไทยในชุมชนตำบลนาเกตุ ณ ศูนย์สมุนไพรไทยตำบลนาเกตุ ณ ที่บ้าน นายเอื้อม  ณ สงคราม ปราชญ์ชาวบ้านพืชสมุนไพร บ้านเลขที่ 120 หมู่ที่ 6 ตำบลนาเกตุ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี โดยนายเอื้อม ณ สงคราม ได้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการปลูกและใช้พืชสมุนไพรพร้อมทั้งสาธิตวิธีการทำแคปซูลสมุนไพรให้แก่เด็กนักเรียนได้ทดลองทำและชิมสมุนไพร มีการตั้งคำถามจากเด็กนักเรียนซึ่งได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
    • จัดอบรมหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นสมุนไพรไทยในโรงเรียนบ้านนาเกตุ ครั้งที่ 2 มีกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการปลูกและใช้พืชสมุนไพรไทยในชุมชนให้แก่โรงเรียนบ้านนาเกตุ ซึ่งเป็นการร่วมกิจกรรมครั้งที่ 2 ของโรงเรียนบ้านนาเกตุ บรรยายสรรพคุณของพืชสมุนไพรโดยเภสัชกรอาภัย  มาลินี เภสัชกรประจำโรงพยาบาลโคกโพธิ์ บรรยายสมุนไพรกับเกษตรพอเพียง โดยนายจรัล  แดงกระจ่าง ปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตร และบรรยายพร้อมสาธิตการผลิตแคปซูลสมุนไพรโดยนายเอื้อม  ณ สงคราม ปราชญ์ชาวบ้านเรื่องพืชสมุนไพร และได้ส่งมอบพันธ์พืชสมุนไพรให้แก่นักเรียนกลับไปปลูกที่บ้านพร้อมทั้งปุ๋ยชีวภาพ และได้มอบให้โรงเรียนบ้านนาเกตุ ได้ปลูกเป็นพืชสมุนไพรในโรงเรียน มีนักเรียนและอาจารย์เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 82 คน ในการจัดอบรมครั้งนี้ได้ปรับเปลี่ยนเวลาในการจัดอบรมจากหลังเลิกเรียนตอนเย็นเป็นจัดอบรมในวันที่ 19 มีนาคม 2555 ทั้งวัน เนื่องจากอาจารย์ทุกท่านจะต้องกลับบ้านตามเวลาที่หน่วยรักษาความปลอดภัยกำหนดเพราะต้องรักษาความปลอดภัยระหว่างเส้นทางที่อาจารย์เดินทางกลับบ้าน และได้รับความกรุณาจากนายสนิท สิทธิเสรีสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านนาเกตุ อนุญาตให้คณะทำงานได้จัดอบรมทั้งวัน

     

    0 0

    20. ขยายเครือข่ายไปสู่ชมรมอาสาสมัครหมอนวดแผนไทยบำบัดโรคในชุมชน

    วันที่ 24 พฤษภาคม 2555

    กิจกรรมที่ทำ

    รวมกลุ่มชมรมอาสาสมัครหมอนวดแผนไทยบำบัดโรคในชุมชน ซื้อวัสดุ อุปกรณ์การผลิตลูกประกอบในหมู่บ้านและทำน้ำมันนวด น้ำมันเหลือง มีอาสาสาสมัครหมอนวดแผนไทยเข้าร่วม 14 คน ประชาชน 9 คน รวม 23 คน ได้น้ำมันนวด น้ำมันเหลืองและลูกประคบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

     

     

    0 0

    21. ชมรมพืชสมุนไพรไทยในชุมชนผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ รณรงค์การใช้พืชสมุนไพร

    วันที่ 28 มิถุนายน 2555

    กิจกรรมที่ทำ

    • ติดต่อประสานงานช่างทำวิดีโอมาทำวิดีทัศน์ตามโครงการส่งเสริมการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เรื่องสมุนไพรไทยในชุมชนตำบลนาเกตุ
    • ศึกษารายละเอียดที่จะกำหนดไว้ในวิดีทัศน์ของโครงการ
    • นัดช่างทำวิดีทัศน์มาสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้าน
    • ช่างส่งมอบงาน เป็นวิดีทัศน์ที่ทำแล้วเสร็จ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

     

     

    0 0

    22. ประชุมประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการฯ

    วันที่ 12 กรกฎาคม 2555

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการนัดประเมินผลคุ้มต่างๆ ในหมู่ที่ 1 , 2 และ 6 ซึ่งมีทั้งหมด 6 คุ้ม เพื่อมอบรางวัล รางวัลที่ 1 เงินสด 5,000 บาท รางวัลที่ 2 เงินสด 4,000 บาท รางวัลที่ 3 เงินสด 3,000 บาท รางวัลชมเชย 3 รางวัล ๆ ละ 1,000 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

     

     

    0 0

    23. ผลักดันให้ผลิตภัณฑ์ด้านสมุนไพรเข้าสู่สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

    วันที่ 16 กรกฎาคม 2555

    กิจกรรมที่ทำ

    ชมรมพืชสมุนไพร นำผลิตภัณฑ์แคปซูลสมุนไพรเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

     

     

    0 0

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    1. ส่งเสริมการพึ่งตนเองด้านสุขภาพด้านการใช้พืชสมุนไพรในชีวิตประจำวัน 2. สนับสนุนให้เกิดการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นพืชสมุนไพรไทยในชุมชนตำบลนาเกตุ 3. สร้างกระบวนการจัดการประโยชน์จากพืชสมุนไพรตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนพึ่งตนเอง 4. สร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการพืชสมุนไพรไทยและส่งเสริมสุขภาวะตนเอง ครอบครัว ชุมชน ในตำบลนาเกตุ ที่สอดคล้องกับศักยภาพและทุนทางสังคม

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการส่งเสริมการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นเรื่องสมุนไพรไทยในชุมชนตำบลนาเกตุ จังหวัด ปัตตานี

    รหัสโครงการ 54-01573

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางประภัสสร ขวัญกะโผะ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด