รายงานกิจกรรมงวดที่ 1

รายงานการพัฒนาโครงการ โครงการสร้างท้องถิ่นน่าอยู่ ชุมชนเข้มแข็ง สิ่งแวดล้อมยั่งยืน ด้วยการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลชุมโค


การเก็บข้อมูลเบื้องต้น
ข้อมูลชุมชน โดยทั่วไป

ชายฝั่งทะเลตำบลชุมโค มีความยาวประมาณ 5 – 6 กิโลเมตร ประกอบด้วยพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านแหลมแท่น หมู่ที่ 6 บ้านบ่อเมา -  หินกบ และหมู่ที่ 5 บ้านบางจาก ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงชายฝั่งขนาดกลาง และขนาดเล็ก บริเวณชายฝั่งห่างออกไปประมาณ 3,000 – 5,000 เมตร เป็นแนวปะการังน้ำตื้นซึ่งประกอบไปด้วยทรัพยากรชายฝั่งอาทิ แนวโขดหินปะการัง หอยมือเสือ ดอกไม้ทะเล ปะการังน้ำตื้น และสัตว์ทะเลนานาชนิด เช่น ปลานกแก้ว ปลาการ์ตูน เม่นทะเล ปลิงทะเล ฯลฯ
ถัดจากชายฝั่งทะเลก็เป็นส่วนของบนบก มีพื้นที่ที่เป็นดินเลนที่สามารถเพาะปลูกพันธุ์ไม้ป่าชายเลนได้ในบางพื้นที่ทั้ง 3 หมู่ แต่จะไม่เป็นพื้นที่ดินเลนที่เป็นแนวเดียวกัน จะมีเป็นช่วง ๆ เช่น จุดบริเวณบ้านแหลมแท่น บ้านหินกบ และบ้านบางจาก พันธุ์ไม้ที่เหมาะสมน่าจะเป็นแสม ลำพู เนื่องจากชาวบ้านได้ทดลองปลูกโกงกางไปแล้วแต่ขึ้นไม่ค่อยสมบูรณ์นัก ถัดจากชายฝั่งทะเลไปบนบกประมาณ 2 กิโลเมตร จะเป็นลำคลองบางมูลซึ่งมีสภาพพื้นที่เป็นป่าชายเลนที่หลากหลาย เช่น โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่
ต้นจาก ต้นตาตุ่ม แสม ลำพู ฯลฯ
ด้วยพื้นที่ดังกล่าวนี้มีทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่หลากหลาย จึงเหมาะกับการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำชายฝั่งเนื่องจากมีพื้นที่ที่สามารถเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนได้ แต่เนื่องจากยังมีสภาพเสื่อมโทรมจึงทำให้มีปัญหาการลดน้อยลงของทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่ง ฉะนั้นชุมชนทั้ง 3 หมู่บ้านจึงต้องมีการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวร่วมกันก็จะสามารถทำให้ตำบลท้องถิ่นมีความอุดมสมบูรณ์และกลายเป็นตำบลท้องถิ่น น่าอยู่ได้อย่างเต็มรูปแบบ การศึกษาข้อมูลสถานภาพชุมชนรอบพื้นที่การดำเนินโครงการฯ นั้น ได้เป็นการศึกษาเบื้องต้นในลักษณะการสอบถามพูดคุยกับชาวบ้านถึงลักษณะทางประชากร เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อมของชุมชน แล้วนำผลจากการสัมภาษณ์ดังกล่าวมาประมวลและสรุปออกมาเป็นภาพรวมของแต่ละหมู่บ้าน ดังต่อไปนี้ บ้านบ่ออิฐ  หมู่ที่ 1 ตำบลชุมโค ลักษณะทางกายภาพ • ที่ตั้ง : หมู่ 1  ต.ชุมโค  อ.ปะทิว  จ.ชุมพร
ทิศตะวันตก    ติดต่อกับหมู่ที่ 1 ต.บางสนโดยมีลำคลองบางสนกั้นกลาง  และหมู่ที่  2 ต. ชุมโค
ทิศเหนือ          ติดต่อกับหมู่ที่ 6 บ้านบ่อเมา – หินกบ ทิศใต้              ติดต่อกับทะเลอ่าวบางสน ทิศตะวันออก    ติดต่อกับทะเลอ่าวไทย หรืออ่าวบ่อเมา • ประวัติการก่อตั้งหมู่บ้าน  :  ไม่มีการบันทึกข้อมูลที่เป็นทางการที่เป็นประวัติศาสตร์อันชัดเจน  มีเพียงข้อมูลที่จำสืบมาแต่  สมัย พ.ศ. 2500  ประชาชนเรียกกันติดปากว่า บ้านบ่ออิฐ –  บ้านแหลมแท่น  เดิมมีประชากร อาศัยอยู่แถบชายฝั่งทะเล จำนวนไม่มากนัก ตั้งแต่บริเวณกลางอ่าวบ่อเมา มาจรดปากอ่าวคลองบางมูล  บ้านแหลมแท่น  มีความยาวประมาณ  4 กิโลเมตร  และมีพื้นที่เป็นเนินเขาเตี้ย ๆ ยื่นออกไปสู่ชายฝั่งทะเล ยาวประมาณ  1.5  กิโลเมตร เรียกกันว่า แหลมแท่น  ซึ่งบริเวณแหลมแท่นนี้ มีความเชื่อกันว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่า  “เจ้าที่แหลมแท่น”  อาศัยอยู่  หากใครลบหลู่ หรือพูดจาเป็นการหมิ่นประมาท ผู้คนนั้นจะได้รับการลงโทษจากเจ้าที่  โดยมีความเป็นไปต่าง ๆ นานา  ในสมัย พ.ศ. 2500  ทั้งหมู่บ้านบ่ออิฐมีประชากรอาศัยอยู่  ประมาณ  50  ครัวเรือน เศษ  และทุกครัวเรือนในบ้านบ่ออิฐ จะมีความสนิทสนมคุ้นเคยกันเสมือนพี่เสมือนน้อง สภาพหมู่บ้าน ถูกแบ่งออกเป็น  3  ส่วน ส่วนที่หนึ่งอยู่แถบชายฝั่งทะเลอ่าวบ่อเมา  ด้านหลังเป็นป่าดิบ ส่วนที่สองอยู่บนเนินเขาแหลมแท่น  ด้านล่างเป็นทะเลอ่าวบางสน  ส่วนที่สามอยู่ริมคลองบางมูลทอดยาวมาจนถึงบริเวณสนามบินพานิช  จ. ชุมพร ซึ่งเรียกว่า “บ้านท่าต้นตาล”  จึงทำให้วิถีชีวิตของประชาชนบ้านบ่ออิฐ ต้องอาศัยการหาอยู่หากินแบบประมงชายฝั่งทะเลและแนวฝั่งคลอง  และประกอบอาชีพทำสวนมะพร้าวควบคู่กับประมงชายฝั่ง เป็น  50 : 50  โดยประมาณหลังจากอำเภอ    ปะทิวโดนพายุไต้ฝุ่นเกย์ในปี 2532  ทำให้สวนมะพร้าวของชาวบ้านถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง ประชาชนจึงต้องเริ่มต้นชีวิตใหม่ โดยหันมาเป็นปลูกต้นปาล์มน้ำมันแทน โดยการสนับสนุนจากภาครัฐ ส่งเสริมการทำการเกษตรปาล์มน้ำมันและยางพารา เนื่องจากเห็นว่า เป็นอาชีพที่สามารถทำให้ประชาชนฟื้นคืนเศรษฐกิจได้เร็วขึ้น  และที่ดินแถบชายฝั่งทะเลถูกแบ่งขายให้กับนายทุนไปบางส่วน  จึงทำให้มีคนต่างถิ่นเข้ามาอาศัยอยู่มากเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  ปัจจุบัน ประชากรเพิ่มเป็น 141 ครัวเรือน  มีสมาชิกในหมู่บ้าน 456 คน (โดยประมาณ)

• แหล่งท่องเที่ยว  : ที่สำคัญและเป็นที่รู้จักมี  2  แห่ง ได้แก่ 1. แหลมแท่น    จุดเด่นคือ  เป็นเนินเขาไม่สูงมากยื่นออกไปในทะเล  มีหาดหิน และจุดชมวิวที่สวยงาม  ปัจจุบันขาดการพัฒนาจากหมู่บ้านจึงทำให้มีการรกร้าง  และไม่ค่อยมีใครไปเที่ยวเพราะขาดการพัฒนา แหลมแท่นเคยได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเมื่อปี 2525  ซึ่งถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามยิ่งของอำเภอปะทิว
2. หาดบ่อเมา  ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างบ้านบ่อเมาหมู่ที่ 6 ต. ชุมโค ซีกซ้ายเป็นบ้านบ่อเมา ซีกขวาเป็นบ้านแหลมแท่น  ห่างจากตัวเมืองปะทิวประมาณ 10  กิโลเมตร  ริมหาดมีหมู่บ้านชาวประมง  ซึ่งสามารถติดต่อเรือประมงขนาดเล็กไปดำน้ำชมปะการังได้ที่เกาะไข่  หาดบ่อเมา เป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของแหลมแท่นได้อย่างสวยงามมาก
• ความต้องการของชุมชน : คือ  อยากให้ประชากรมีอาชีพที่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพได้ทุกครอบครัว ปัจจุบัน พื้นที่ริมชายฝั่งทะเลของหมู่ที่ 1 บ้านบ่ออิฐ ได้ถูกเปลี่ยนมือจากเจ้าของเดิมไปบ้างเป็นบางส่วน เนื่องจากประชาชนที่อาศัยอยู่แถบชายฝั่งทะเลได้ถูกภัยพายุไต้ฝุ่นเกย์ในปี 2532 ทำให้ประชาชนประสบปัญหายากจน จึงจำเป็นต้องแบ่งที่ดินขายให้กับกลุ่มนายทุน

ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่พบในหมู่บ้าน - มีการทำลอบปูใช้เองในกลุ่มประมงชายฝั่ง
- มีหมอทำขวัญนาค  คือ  นายนิโรจน์  นิลสถิตย์
- การเลี้ยงปลากระชังคลองบางสน


ภาพพื้นที่โดยทั่วไป











                    ป่าชายเลนบริเวณลำคลองบางมูล หมู่ที่ 1 ต. ชุมโค











บริเวณชายหาดอ่าวบ่อเมา – แหลมแท่น ซึ่งมีลักษณะคล้ายพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว


บ้านบางจาก  หมู่ที่ 5 ตำบลชุมโค

ลักษณะทางกายภาพ • ที่ตั้ง : หมู่  5  ต.ชุมโค  อ.ปะทิว  จ.ชุมพร
ทิศตะวันตก    ติดต่อกับหมู่ที่ 4  และหมู่ที่  7  ต. ชุมโค ทิศเหนือ          ติดต่อกับหมู่ที่ 6 ต. ปากคลอง ทิศใต้              ติดต่อกับหมู่ที่  6  ต. ชุมโค ทิศตะวันออก    ติดต่อกับทะเลอ่าวไทย หรืออ่าวบางจาก • ประวัติการก่อตั้งหมู่บ้าน  :  ตามประวัติเคยเล่าต่อกันมาว่า มีชาวประมงกลับมาจากหาปลาในทะเล และนั่งพักเหนื่อยบนขอนไม้ขนาดใหญ่  ในมือถือมีดปลายแหลมมาด้วย ด้วยความเคยชินเมื่อนั่งบนขอนไม้ แล้วเอามีดปักลงที่ขอนไม้ดังกล่าว ปรากฏว่า มีเลือดไหลออกมาตรงบริเวณที่ปักมีด ชาวประมงตกใจมาก เมื่อมองดูอีกครั้งพบว่าเป็นตัวพญานาค  จึงวิ่งกลับไปบอกเพื่อนบ้านว่าเจอพญานาคให้ไปดูกัน เมื่อไปถึงพบว่า ไม่มีแล้ว และอยู่มาไม่นาน ชาวประมงคนดังกล่าวก็เสียชีวิตลง เขาจึงสันนิฐานว่า พญานาค อาศัยอยู่บริเวณเขาใหญ่ อ่าวบางจากแห่งนี้  ซึ่งในปัจจุบันชาวบ้านยังมีความเชื่อกันว่า บริเวณเทือกเขาใหญ่แห่งบ้านบางจากนี้มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิงสถิตอยู่  บ้านบางจากถูกก่อตั้งมาพร้อม ๆ กับอำเภอปะทิว มีพื้นที่เป็นพื้นที่ติดกับชายฝั่งทะเล ที่มีบรรยากาศที่สวยงามมาก จำนวนหลายอ่าวด้วยกัน เช่น  อ่าวยายไอ๋  อ่าวคอรัลบีช อ่าวทุ่งซาง และอ่าวยาง อ่าวบางจาก  ด้วยสภาพพื้นที่ดังกล่าวมีสภาพเป็นภูเขาริมชายฝั่งทะเลสลับกับหาดทราย จึงทำให้พื้นที่บริเวณนั้น ๆ มีความสวยงาม เมื่อคลื่นกระทบกับภูเขาหิน แล้วไหลเข้าสู่ฝั่ง  และลักษณะของภูเขาโอบฝั่ง (ซ้าย ขวา) จึงทำให้บริเวณนั้นจะไม่ค่อยโดนลมแรงเท่าไร ในหน้าที่มีลมพายุ เรือประมงบริเวณนั้นสามารถนำเรือจอดหลบลมบริเวณด้านในของภูเขาได้อย่างสบาย

ลักษณะทางเศรษฐกิจ-สังคม • กลุ่มที่ก่อตั้งในหมู่บ้าน : ในหมู่บ้านมีการจัดตั้งกลุ่ม อสม  กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มประมงชายฝั่ง
• กลุ่มอนุรักษ์หอยมือเสือ  โดยมีการจัดตั้งอุทยานหอยมือเสือบริเวณชายฝั่งอ่าวบางจาก ปีที่เริ่มก่อตั้ง     กลาง ปี 2550 โดยการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนตำบลชุมโค (สมัยนั้น) และได้รับการสนับสนุน  นักวิชาการจากศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 3 จ .ชุมพร
• แหล่งท่องเที่ยว  : ที่สำคัญและเป็นที่รู้จักมี  3  แห่ง ได้แก่ • อ่าวยายไอ๋    จุดเด่นคือ  มีสำนักสงฆ์ถ้ำยายไอ๋  อยู่บริเวณหน้าถ้ำ บริเวณถ้ำ สามารถเดินขึ้นไปด้วยบันไดธรรมชาติ  สูงประมาณ  500 เมตร  เมื่อขึ้นไปถึงภายในถ้ำ เมื่อมองตรงขึ้นไป และสังเกตให้ดีจะมองเห็นเป็นลักษณะคล้ายผู้หญิงนอนกางมุ้งอยู่  นอกจากนี้ยังมองเป็นภาพต่าง ๆ ได้อีกหลายมุมด้วยกัน  อ่าวยายไอ๋ เป็นอ่าวที่มีจุดชมวิวสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 25 เมตร มีทิวทัศน์สวยงาม ด้านหน้าอ่าวมีแนวปะการังยาวประมาณ  7  กิโลเมตร  ถ้ำยายไอ๋  เป็นเนินเขาไม่สูงมากนักทอดขนานกับแนวทะเล  เป็นจุดชมวิวที่สวยงาม
• อ่าวทุ่งซาง  เป็นชายหาดเล็กๆที่มีเขาขนาบทั้งสองด้าน กับตรงกลางอ่าวอีกหนึ่งจุด ทำให้แบ่งเป็นสองฟาก ทรายสะอาดน้ำใส เนื่องจากไม่มีตะกอนดินจากปากแม่น้ำเข้ามาปน ชายหาดยาวประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นจุดชมวิวที่สวยงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของบ้านบางจากแห่งนี้  จุดเด่นของอ่าวทุ่งซาง คือ ภายในร่องถ้ำของภูเขา จะมีน้ำจืดไหลออกจากถ้ำ ลงสู่ทะเล ทำให้กลายเป็นร่องน้ำจืดอยู่ภายในถ้ำนั้น ซึ่งเมื่ออาบน้ำทะเลเสร็จแล้ว สามารถอาบน้ำจืดตรงบริเวณนั้นได้ แต่ปริมาณน้ำจะไม่มากนัก  สันนิฐานว่า คงเป็นน้ำที่ค้างอยู่บนภูเขา เนื่องจากเป็นภูเขาที่สูงพอสมควร แล้วค่อย ๆ ไหลซึมลงมาเรื่อย ๆ จนลงสู่พื้นดินบริเวณดังกล่าว • อ่าวคอรัลบีซ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า  หาดทุ่งไข่เน่า  บริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ของเอกชนที่ซื้อต่อจากคนในพื้นที่แล้วมาสร้างเป็นร้านอาหารและที่พัก มีสระว่ายน้ำขนาดเล็กไว้บริการ ซึ่งเป็นที่เดียวในพื้นที่ของหมู่ที่ 5 ต. ชุมโค ที่มีร้านอาหารและที่พักไว้บริการ  แต่บริเวณชายหาดดังกล่าวยังคงเป็นพื้นที่สาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าเยี่ยมชมวิวทิวทัศน์ความสวยงามของอ่าวแห่งนี้ได้ • เพิ่มเติมแห่งที่ 4 อีกแห่งหนึ่งคือ อุทยานหอยมือเสือ ที่ทางกลุ่มอนุรักษ์หอยมือเสือบ้านบางจากได้ร่วมกันก่อตั้งขึ้นมา โดยนำเอาหอยมือเสือมาปล่อยในบริเวณดังกล่าวร่วม 1,000 ตัว ซึ่งกำลังมีความสวยมาก ตั้งอยู่บริเวณท่าจอดเรือบ้านบางจาก ห่างจากอ่าวคอรอลบีช ประมาณ  800 เมตรทางด้านทิศใต้ บริเวณดังกล่าวสามารถนั่งเรือประมงขนาดเล็กไปมองด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจน    (ถ้าน้ำทะเลใส) • ความต้องการของชุมชน : คือ  ไม่ต้องการให้มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือนิวเคลียร์ในพื้นที่ เนื่องจาก มีโครงการของ กฟผ. ว่าจะมีโครงการสร้างโรงไฟฟ้าดังกล่าวในพื้นที่บ้านบางจาก จึงทำให้ชาวบ้านรวมตัวกันตั้งเป็นกลุ่มต่อต้านโรงไฟฟ้าขึ้น





             


                      อ่าวยายไอ๋                            อ่าวคอลรอลบีซด้านทิศใต้              อ่าวคอลรอลบีซด้านทิศเหนือ



                                                                             








บ้านบ่อเมา-หินกบ  หมู่ที่ 6 ตำบลชุมโค

ลักษณะทางกายภาพ • ที่ตั้ง : หมู่ 6  ต.ชุมโค  อ.ปะทิว  จ.ชุมพร
ทิศตะวันตก    ติดต่อกับหมู่ที่  2 และหมู่ที่  9  ต. ชุมโค
ทิศเหนือ          ติดต่อกับหมู่ที่ 5  บ้านบางจาก ต. ชุมโค ทิศใต้              ติดต่อกับหมู่ที่ 1  ต. ชุมโค
ทิศตะวันออก    ติดต่อกับทะเลอ่าวไทย หรืออ่าวบ่อเมา • ประวัติการก่อตั้งหมู่บ้าน  :  ที่มาของบ้านบ่อเมา และหินกบ ไม่ปรากฏแน่ชัดนัก  รู้เพียงแต่ว่ามีการก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยก่อน พ.ศ. 2500  ซึ่งในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2  พ.ศ.2485 นั้น มีทหารญี่ปุ่นมาอยู่ในบริเวณนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งยังไม่มีใครเข้ามาอยู่ในพื้นที่เลย  สภาพเดิมเป็นป่าทึบติดกับชายฝั่งทะเล  ไม่มีไฟฟ้าใช้ น้ำประปาใช้  จะใช้ตะเกียงในยามค่ำคืน และขุดบ่อน้ำใช้เองทุกบ้าน รองน้ำฝนไว้ดื่ม  เมื่อมีประชาชนมาอาศัยอยู่บริเวณดังกล่าว เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่ถึงกับหนาแน่นนัก และสมัยนั้นคนนิยมเลี้ยงช้างไว้ลากซุง เนื่องจากมีไม้ใหญ่จำนวนมาก จึงตัดไม้เพื่อไปทำบ้านพักอาศัย มุงด้วยหลังคาใบจาก จะใช้ไม้ทำพื้นกับเสา ส่วนบ้านที่มีฐานะหน่อยก็มุงสังกะสี    ช้างลากซุงห่างจากฝั่งทะเลประมาณ 300 – 500 เมตร  เกิดเป็นทางยาวแนวขนานกับชายฝั่งทะเล จึงทำให้เกิดเป็นทางช้างเดิน  จึงเรียกกันว่า ทางช้าง  ผู้คนจึงใช้เส้นทางนั้นเป็นทางติดต่อสื่อสารกันระหว่างบ้านต่อบ้าน พาหนะที่ใช้เป็นรถจักรยาน และเดินไปมาหากัน  อาชีพในอดีตก็ทำการประมงชายฝั่งโดยไม่ต้องใช้เรือ เรียกว่า อวนเข็น  ปลาที่ได้จะเป็นปลากระบอก ปลาสิกุล ปลาแป้น ปลาทราย และปลาอื่น ๆ อีกมากมาย  เมื่อเข็นอวนมาได้มากเกินที่จะปรุงอาหารในวันนั้นก็นำไปขายกับเพื่อนบ้าน ด้วยวิธีการเดิน ถ้าเหลือก็จะนำไปย่างหรือทำเค็ม ไว้กิน หรือขายได้อีก และเมื่อถึงฤดูที่เรียกว่า กุ้งเคย กุ้งตัวเล็ก ๆ มาก ๆ ก็จะใช้เกียรติ (คล้ายผ้ามุ้ง) ไปเกียรติกุ้ง เพื่อนำมาทำกะปิ (หรือเรียกว่า เคย)  คนในสมัยนั้นไม่มีรายได้หลักที่แน่นอน จะมีบ้างก็คนที่ทำสวนมะพร้าว พอมีรายได้รายเดือนมาเลี้ยงครอบครัวได้ เพียงแต่การประมงแบบอวนเข็น มีรายได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง ผู้คนจึงมีฐานะค่อนข้างยากจน แต่ก็มีกินเนื่องจากทรัพยากรมีเพียงพอต่อชีวิตประจำวัน ใช้ชีวิตแบบ พอเพียงอย่างแท้จริง                 ต่อมาในปี 2518  เป็นสมัยที่ มรว. คึกฤทธิ์  ปราโมท เป็นนายกรัฐมนตรี  ได้มีนโยบายเงินผันให้กับ  ชาวบ้านได้มีรายได้ โดยการตัดถนนเข้าหมู่บ้านใช้แรงงานจากคนในพื้นที่ จึงเกิดเป็นถนนลูกรังแทน  ทางช้างเดิน ถนนดังกล่าวใช้แรงงานคนในการเทลูกรังและเกลี่ยให้เรียบ  จึงเรียกถนนเส้นดังกล่าวว่า  ถนนคึกฤทธิ์  และมีการพัฒนาเรื่อยมาจนกลายมาเป็นปัจจุบันนี้





ลักษณะทางเศรษฐกิจ-สังคม • กลุ่มที่ก่อตั้งในหมู่บ้าน : ในหมู่บ้านมีการจัดตั้งกลุ่ม อสม  กลุ่มประมงชายฝั่ง กลุ่ม ธกส.
• ศาสนา : ชาวบ้านนับถือศาสนาพุทธ  มีวัด  1 แห่ง คือ วัดหินกบ  ชาวบ้านใช้ประโยชน์ในการประกอบพิธีทางศาสนา เนื่องในวันสำคัญทางศาสนา และทำบุญในวันพระ  และจัดกิจกรรมต่าง ๆ ในชุมชน • ประชากรและการถือครองที่ดิน : จำนวนครัวเรือนทั้งหมดในหมู่บ้านประมาณ  866  ครัวเรือน ประชากรประมาณ  1,232 คน    ส่วนการถือครองที่ดินในหมู่บ้าน ครอบครัวละประมาณ  5 – 20 ไร่ เป็นโฉนดที่ดิน • อาชีพและรายได้ :  รายได้หลัก มาจากภาคการเกษตร ได้แก่ การทำสวนปาล์ม  สวนยางพารา    ประมาณ  ร้อยละ  70  และประกอบอาชีพประมงชายฝั่ง  ร้อยละ  30  ของครัวเรือน ส่วนรายได้รองและเสริม มาจากการค้าขายและการรับจ้างทั่วไป  รายได้ต่อครัวเรือนเฉลี่ยคิดเป็นประมาณ  15,000-35,000  บาท/เดือน รายได้ต่อปี :
• ทรัพย์สินอื่น ๆ :
เรือประมงพื้นบ้าน มีประมาณร้อยละ  30
รถจักรยานยนต์  มีประมาณร้อยละ  90
รถยนต์ มีประมาณร้อยละ 80 เรือประมงขนาดใหญ่  ไม่มี เรือประมงเล็กจนถึงขนาดกลาง จำนวน  50 – 70 ลำ
ร้านค้า  มีประมาณ  10  ครอบครัว • ปัญหา  อุปสรรคในการประกอบอาชีพ : มาจากการขาดเงินลงทุน  การมีพื้นที่ทำกินลดลง  การลดลงของทรัพยากร โดยเฉพาะสัตว์น้ำ  พ่อค้าคนกลางกดราคา  น้ำมันและสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันราคาแพงขึ้น

• พื้นที่สาธารณะประโยชน์ : มีพื้นที่สาธารณะมี  3  แห่ง ได้แก่  ป่าพรุบริเวณสนามบินพานิชจังหวัดชุมพร บริเวณนี้เป็นแหล่งจุดชมนกอีโก้ง หรือนกเป็ดน้ำ  , ป่าพรุหนองยายสี  มีกระจูด และกก เป็นจำนวนมาก และสระน้ำหมู่บ้าน ใกล้กับสนามบินพานิชชุมพร  อยู่กลางป่าพรุเช่นเดียวกัน
• แหล่งท่องเที่ยว  : ที่สำคัญและเป็นที่รู้จักมี  2  แหล่ง  ได้แก่ เกาะไข่    เป็นแหล่งปะการังน้ำตื้น  ที่สามารถดำน้ำชมปะการังและชีวิตใต้ทะเลได้แบบ  สน๊อคเกิ้ล โดยมีเรือประมงขนาดเล็กและกลางไว้บริการบริเวณชายฝั่ง ค่าบริการลำละ  1,000 บาท นั่งได้  8  คน ปะการังบริเวณเกาะไข่ นี้ได้ถูกพายุไต้ฝุ่นเกย์พัดถอนรากถอนโคนมาเกยอยู่บนหาดเกาะไข่เป็นจำนวนมาก เมื่อ  ปี พ.ศ. 2532  ปัจจุบันกำลังฟื้นตัวมีความสวยงามขึ้นมาบ้างแล้ว นอกจากนี้ยังมีหอยมือเสือ เม่น ปลิง ดอกไม้ทะเล และสัตว์ทะเลสวยงามเป็นจำนวนมาก หาดบ่อเมา  ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างบ้านแหลมแท่นหมู่ที่ 1  ต. ชุมโค  ห่างจากตัวเมืองปะทิวประมาณ 10  กิโลเมตร  ริมหาดมีหมู่บ้านชาวประมง  ซึ่งสามารถติดต่อเรือประมงขนาดเล็กไปดำน้ำชมปะการังได้ที่เกาะไข่  หาดบ่อเมา เป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของแหลมแท่นได้อย่างสวยงามมาก
• ความต้องการของชุมชน : คือ  อยากให้ประชากรมีอาชีพที่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพได้ทุกครอบครัว         นอกจากนี้ยังมีแหล่งบ้านเช่า และหอพักอีกเป็นจำนวนมาก เนื่องจากในพื้นที่นี้เป็นที่ตั้งของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังวิทยาเขตชุมพร ซึ่งมีนักศึกษามาจากต่างจังหวัดมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงต้องมีบ้านเช่าและหอพักเพื่อรองรับนักศึกษาดังกล่าว

ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่พบในหมู่บ้าน         มีการสานเสื่อกระจูดขาย  คือ  นางเผียน  ป้อมแดง  ปัจจุบันอายุ  95 ปี ยังสานเสื่อขายอยู่


ภาพประกอบ


















                                                                                  บริเวณบ้านหินกบ หมู่ที่ 6 ซึ่งชุมชน
                                                                        ชาวประมงร่วมกันทำแนวกันลม โดยนำ                                                                         ต้นโกงการมาปลูกในพื้นที่ เพื่อเมื่อโตขึ้นก็จะ
                                                                        เป็นแนวกันลมให้กับชาวประมงชายฝั่งได้








การจัดเวทีประชาคมหมู่บ้าน/ เวทีประชุมต่าง ๆ

                    ถ้าเป็นการประชุมประจำเดือนแต่ละหมู่ก็จะจัดหมู่ใครหมู่มัน โดยการนำเอาวาระที่ได้รับจากการประชุมหัวหน้าส่วนราชการอำเภอมาชี้แจงความเคลื่อนไหวให้กับชาวบ้านได้รับทราบร่วมกัน แต่ถ้าเป็นการประชุมกลุ่มประมงชายฝั่ง ก็จะเป็นการจัดประชุมร่วมกันทั้ง 3 หมู่  สถานที่มีการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกันไป ซึ่งบางครั้งก็จะใช้สถานที่ของส่วนราชการ เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง วิทยาเขตชุมพร หมู่ที่ 6 ต. ชุมโค หรือบางครั้งอาจจะใช้โรงเรียนบ้านบ่ออิฐหมู่ที่ 1 ต. ชุมโค แล้วแต่จะตกลงร่วมกัน











ประชุมจัดทำแผนประมงชายฝั่งรวมกันทั้ง 3 หมู่บ้าน โดยเชิญวิทยากรจากประมงมาให้คำแนะนำ








ประชุมพัฒนาโครงการ ร่วมกันที่ เทศบาลวังไผ่ อ. เมือง  จ. ชุมพร

Relate topics