แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โครงการป่ายางต้นแบบตามรอย ปู่-ตา (โป+พ่อเฒ่า) ”

บ้านนายาว เกาะค่างขาว หมู่ท่ี ๕

หัวหน้าโครงการ
นางธัญวลัย คงมา

ชื่อโครงการ โครงการป่ายางต้นแบบตามรอย ปู่-ตา (โป+พ่อเฒ่า)

ที่อยู่ บ้านนายาว เกาะค่างขาว หมู่ท่ี ๕ จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 55-01809 เลขที่ข้อตกลง 55-00-1024

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 ถึง 30 กันยายน 2556


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการป่ายางต้นแบบตามรอย ปู่-ตา (โป+พ่อเฒ่า) จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านนายาว เกาะค่างขาว หมู่ท่ี ๕

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการป่ายางต้นแบบตามรอย ปู่-ตา (โป+พ่อเฒ่า)



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการป่ายางต้นแบบตามรอย ปู่-ตา (โป+พ่อเฒ่า) " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านนายาว เกาะค่างขาว หมู่ท่ี ๕ รหัสโครงการ 55-01809 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 ตุลาคม 2555 - 30 กันยายน 2556 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 153,450.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อศึกษาวิถีการปลูกยางพาราแบบอนุรักษ์(โดยไม่ใช้สารเคมี)
  2. เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการใช้สารเคมีในการทำสวน ยาง โป + พ่อเฒ่า
  3. เพื่อนำความรู้เกี่ยวกับการปลูกยางเชิงอนุรักษ์ แล้วนำไปพัฒนาเป็นหลักสูตรป็นหลักสูตรเสริมในโรงเรียน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการ

    วันที่ 6 พฤศจิกายน 2555 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ฝึกการบันทึกปฎิทินการทำกิจกรรม ฝึกการทำรายงานทางเว็บไซด์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ความรู้เพ่ิมเติมทางด้านคอมพิวเตอร์

     

    0 0

    2. อ.จำนง ติดตามโครงการ ครั้งที่1

    วันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้มีการนำเสนอแผนงานของตนเอง และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก 4 โครงการในอ.ฉวาง รวมทั้งได้รับฟังคำชี้แนะจากพี่เลี้ยง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    โครงการเข้าใจปัญหาของโครงการตนเอง รวมทั้งมีความเข้าใจเกี่ยวกับการทำโครงการมากขึ้นจากการได้รับฟังแผนงานของโครงการอื่นๆ ซึ่งปัญหาที่ขึ้นของโครงการจะรีบไปเร่งดำเนินการ

     

    0 0

    3. จัดประชุม เกษตรกรต้นแบบ ปราชญ์ชาวบ้าน หมอดินอาสา เกษตรอาสา อสม. แกนนำๅ ๓๐ คน

    วันที่ 30 พฤศจิกายน 2555 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้เข้าร่วมประชุมรู้ถึงวัตถุประสงค์ของกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีผู้เข้าร่วมประชุม 30 คน แลกเปลื่ยนความคิดเห็น เพื่อสรุปแนวทางการทำสวนยางโดยไม่ใช้สารเคมี

     

    0 0

    4. จัดเวทีสร้างความตระหนักปลูกจิตรสำนึก การสร้างป่ายางตามรอยโป+พ่อเฒ่า โดยไม่ใช้สารเคมี

    วันที่ 17 ธันวาคม 2555 เวลา 10:00-15.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    .เริ่มกิจกรรมตั้งแต่เวลา 10.00 น. ชาวบ้านทะยอยมาลงทะเบียน ในการประชุมครั้งนี้ มี นายสัมพันธ์  เหลืองวรพันธุ์ นายกเทศมนตรีตำบลจันดี นายวิชัย ขุนเพชร รองปลัดเทศบาล นางสาวนฤมล  สุขศาลา เจ้าหน้าที่นโยบายและแผน นางศิรินทิพย์ จันทรวิสูตร นายขจร  สุธรรม  และว่าที่ร้อยโท ทวีศักดิ์ วงศ์ศิริกุล สมาชิกสภาเทศบาลตำบลจันดี ผู้ใหญ่ประสงค์ วิริยะตั้งสกุล ผู้ใหญ่หมู่ท่ี ๓ ก็มาให้กำลังใจทุกครั้งที่มีการประชุม เริ่มประชุมเวลา 10.30 น.   นายกเทศมนตรี เปิดประชุม พูดถึงการทำการเกษตรโดยไม่ใช้สารเคมี   ปลัดวิชัยคณะทำงานชี้แจงโครงการ แยกประเภทกิจกรรม แบ่งโซนกันรับผิดชอบ   หมอเหมียพูดถึงการลงแขกซึ่งหายไปจากชุมชนคนบ้านเรา โครงการนี้สามารถทำได้

    รับประทานอาหารร่วมกันเวลา 12.30 น.   นางธัญวลัย  คงมา  ได้นำเสนอโครงการป่ายางต้นแบบตามรอยโป + พ่อเฒ่า และการอยู่รอดของชาวสวนยาง โดยการลดสารเคมีในสวนยาง ทำน้ำหมักชีวภาพ น้ำยาล้างจาน ลดสารเคมี ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน   อาจารย์ธีรัศมิ์ พูลนวล  อาจารย์จาก มหาวิทยาลัยชีวิต ศูนย์เรียนรู้เพื่อปวงชน นครศรีธรรมราชมาให้ความรู้และสร้างความตระหนักปลูกจิตสำนึก การสร้างป่ายางตามรอยโป+พ่อเฒ่า โดยไม่ใช้สารเคมี และพูดถึงวิ่กฤตยางพาราหลังปี ๕๘  เมือประเทศไทยเข้าร่วมสมาคมอาเชี่ยน จะมีการแข่งขันทางการค้าที่รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะยางพาราเมื่อจีน ลาว เขมร พม่า เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย เกือบทุกประเทศในสมาคมอาเชียนมีการปลูกกันอย่างมากมาย ยางพาราเป็นสินค้าท่ีนำมาแปรรูปเป็นอาหารไม่ได้ นอกจากเป็นอุตสาหกรรมอย่างเดียว  เมื่อผลิตมากขึ้นเกินความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ราคายางพาราจะตกต่ำตามสภาวะการตลาด  เมื่อถึงเวลานั้นชาวสวนยางรายย่อยอย่างพวกเราในชุมชนจะอยู่รอดได้อย่างไร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมประชุม 65 คน มีความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบกิจกรรมโครงการมากขึ้นเช่น การแยกประเภทกิจกรรม แบ่งโซนกันรับผิดชอบ  โดยใช้การลงแขกซึ่งหายไปจากชุมชนคนบ้านเรา ทำให้คนในชุมชนเกิดความรักสามัคคีมากขึ้น และเพื่อสุขภาพและการอยู่รอดของชาวสวนยาง จำเป็นต้องลดการใช้สารเคมีในสวนยาง ด้วยการทำน้ำหมักชีวภาพ น้ำยาล้างจาน ลดสารเคมี ลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

     

    0 0

    5. อ.จำนงติดตาม ครั้งที่ 2 เริ่ม 13.00น.

    วันที่ 12 มกราคม 2556 เวลา 13:00 -16.00 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้มีการนำเสนอความก้าวหน้าของงานที่ทำไปแล้ว ให้ทางกลุ่ม หลังจากนั้นได้ นำเอกสารทางการเงินทั้งหมดให้อ.นัยนา ช่วยตรวจสอบความถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีผู้เข้าร่วม 15 คน จาก 5 โครงการในอำเภอฉวาง ได้ทราบถึงข้อบกพร่องของโครงการว่าทำไมถึงล่าช้า และแนวทางปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนทำอย่างไรจากพี่เลี้ยง รวมทั้งได้ทราบข้อบกพร่องเกี่ยวกับใบเสร็จต่างๆ

     

    0 0

    6. การติดตามระหว่างการดำเนินการโดย สจรส.มอ

    วันที่ 19 มกราคม 2556 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    โครงการนำเสนอกิจกรรมและเอกสารทางการเงิน ได้รับการแนะนำให้บันทึกกิจกรรมให้ถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ต้องกลับมาแก้ไขการบันทึกใหม่

     

    0 0

    7. ประชุมคณะกรรมการ แกนนำ 30 คน

    วันที่ 25 มกราคม 2556 เวลา 11:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เร่ิมประชุมเวลา  10.00 น. ณ ชุมชนบ้านนายาว ที่บ้านของนางสุมล  ธราพร ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้รับผิดชอบโครงการ  แบ่งกลุ่มย่อยเป็น 4 กลุ่ม  กลุ่มท่ี 1 นำโดยนางสุมล ธราพร หัวหน้าบ้านนายาว กลุ่มที่ 2 นางประไพญา เต็มเปี่ยม บ้านควนกลาง กลุ่มที่ 3 นางนาตยา  ริวรรณ บ้านเกาะค่างขาว  และกลุ่มที่ 4 นางสาวสาริกา บุตดิพรรณ บ้านควนนำ เพื่อติดต่อประสานงาน และใช้เป็นสถานที่ในการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติการทำปุ่ยชีวภาพ การทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาปรับผ้านุ่ม ครีมอาบน้ำ น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ในการทำกิจกรรมครั้งต่อไป ในการประครั้งนี้มติที่ประชุมลงความเห็นว่าแต่ละกลุ่มซึ่ังมีผู้นำอยู่แล้วให้ร่วมกับนักศึกษา กศน. ซึ่งแบ่งความรับผิดชอบกันไว้ทั้ง 4 พื้นที่ เข้าสำรวจและสัมภาษณ์เกษตรกรต้นแบบ ปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อรวบรวมข้อมูลการทำสวนยางโดยไม่ใช้สารเคมีมาจัดทำเป็นคู่มือต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จัดแบ่งกลุ่มย่อยลงสัมภาษณ์เกษตรกรต้นแบบ 4 กลุ่ม
    • กลุ่มที่ 1 นำโดยนางสุมล ธราพร สัมภาษณ์ นายสุนทร ธราพร หมอดินอาสาและเกษตรกรต้นแบบ บ้านนายาวพัฒนาการเกษตร กรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลจันดี
    • กลุ่มที่ 2 นำโดยนางประไพญา เต็มเปีย่ม และนางสุดจิต  สุขศรีนวล ลงสัมภาษณ์ นายสามารถ  ปลื้มใจ เกษตรกรต้นแบบด้านพืชผักและเพาะเห็ด บ้านควนกลาง
    • กลุ่มที่ 3 นำโดยนางนาตยา ริวรรณ สัมภาษณ์  นายพร้อม ทองรักษ์ พ่อดีเด่นตำบลจันดี ผู้บุกเบิกการทำสวนยางรุ่นปู่ + พ่อเฒ่า  และนางเรวดี ไสท้ายดู  อสม.ดีเด่น ผู้ปลูกพืชผักผลไม้ ไม้ใช้สอยในสวนยาง
    • กลุ่มที่ 4 นำโดยนางสาวสาริกา  บุตดิพรรณ  สัมภาษณ์ นายสุธรรม บุตดิพรรณ อดีตผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 เกษตรกรต้นแบบการเกษรผสมผสาน และนางธัญวลัย  คงมา  นักศึกษามหาวิทยาลัยชีวิต ศูนย์ช้างกลาง ประธานศูนย์ีบริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลจันดี ประธานสภาเกษตรกรตำบลจันดี แพทย์แผนไทยผู้มีใบประกอบโรคศิลป สาขาเภสัชกรรม เกษตรกรต้นแบบสวนผักสมรมเพ่ื่อสุขภาพซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการกินผักเป็นยาที่ได้รับรางวัล นวัตกรรมดีเด่น ของ สปสช.เขต 11 ภาคใต้ตอนบน

     

    0 0

    8. ประชุมเชิงปฏิบัติการ คณะกรรมการ แกนนำ เพื่อถอดองค์ความรู้การปลูกยางโดยไม่ใช้สารเคมี นัดแนะทำความเข้าใจในการลงพื้นที่ภาคปฏิบัติทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ

    วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เร่ิมประชุม 13.00 น. ณ ที่ีศาลาหมู่บ้าน หมู่ที่ 5 มีผู้เข้าร่วมประชุม 24 คน เร่ิมจากผู้ใหญ่อดิศักดิ์  สมบัติปราโมทย์ คณะทำงานของโครงการ ได้ชี้แจงข่าวสารจากอำเภอให้ผู้เข้าร่วมประชุมรับทราบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคณะทำงานของโครงการ นายอำเภอได้พูดถึงโครงการป่ายางตามรอยโป+พ่อเฒ่า ที่เห็นจากป้ายประชาสัมพันธ์ 2 ป้าย ที่หน้าร้านไก่โอ่ง ชุมชนเกาะค่างขาว กับหัวโค้งควนนำ ถนนจันดี-ฉวาง น่ายอำเภอชมผู้ใหญ่อดิศักดิ์ ถ้าผู้ใหญ่ทำสำเร็จจะเกิดประโยชน์กับชุมชนมาก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -มีผู้เข้าร่วมประชุม 24  คน  ผู้ใหญ่อดิศักดิ์  สมบัติปราโมทย์ ประธานที่ประชุม  ผู้ใหญ่อดิศักดิ์ ให้นงธัญวลัย คงมา ดำเนินการเพื่อถอดองค์ความรู้จากทั้ง 4 กลุ่มที่มีการลงพื้นที่สัมภาษณ์ไปแล้ว - เร่ิมจากกลุ่มที่ 1 นำโดยนางสุมล  ธราพรกับนึกศึกษา กศน. และคนในชุมชน สัมภาษณ์ นายสุนทร  ธราพร  อายุ  60 ปี เป็นหมอดินอาสาและคณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร เป็นเกษตรกรบ้านนายาว ซึ่งผู้ก่อตั้งกลุ่มบ้านนายาวพัฒนาการเกษตร ท่ีเป็นเรียนรู้ของคนในชุมชนและบุคคลภายนอกทั่วไปที่เข้ามาศึกษาดูงาน เป็นเกษตรกรต้นแบบที่ีไม่ใช้สารเคมีในการทำสวนยางพารา นายสุนทรใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพที่ได้จากวัสดุท่ีมีอยู่ในชุมเช่น กล้วย มะละกอ หยอกกล้วย ดอกกาหลา ตะลิงปลิง เปลือกสับปะรด เหงือกปลา  นำมาทำความสะอาด หั่นเป็นช้ิน ๆ พอประมาณ ใส่ในถังพลาสติก ผสมกับกากน้ำตาล สารเร่ง พด. 2 หมักทิ้งไว้ 21 วัน จึงนำมาใช้รดต้นยางพารา และพืชผักทุกชนิด นายสุนทรทำแบบนี้มานานนับ 10 ปีแล้ว นอกจากนี้นายสุนทรได้ทำ น้ำยาเอนกประสงค์ น้ำยาซักผ้า ยาสระผม ไว้ใช้ในครัวเรือนแทนการใช้สารเคมี  แจกจ่าย แนะนำการทำให้กับผู้ที่สนใจ และกลุ่มที่เข้ามาศึกษาดูงาน -กลุ่มที่ 2 นำโดยหัวหน้ากลุ่มนางนาตยา  ริวรรณ  กับ นักศึกษา กศน. และคนในชุมชน สัมภาษณ์นางเรวดี  ไสท้ายดู  อายุ 43 ปี เป็นอสม.ดีเด่นด้านสุขภาพ เป็นผู้ที่ทำสวนยางพาราที่ไม่ใช้สารเคมี ใช้วิธีตัดหญ้าด้วยเครื่องตัดหญ้าขนาดเล็กไม่ใช้ยาฉีดหญ้า  มีการปลูกไม้เสริม เช่น สะเดา ตะเคียนทองจำปาทอง เขลียงไว้ในสวนยาง รอบ ๆ บริเวณบ้านก็มีผลไม้ เงาะ ทุเรียน ลองกอง หมาก และพืชผักสวนครัวไว้กินเอง เหลือจำหน่ายจ่ายแจกกับคนในชุมชน -กลุ่มที่ 3 นำโดยหัวหน้ากลุ่มนางสุดจิต  สุขศรีนวล คณะกรรมการชุมชนเกาะค่างขาว กับนักศึกษา กศน. และคนในชุมชนสัมภาษณ์นายพร้อม  ทองรักษ์  อายุ 69 ปี เป็นปราชญ์ชาวบ้าน และพ่อดีเด่นตำบลจันดี ซึ่งเป็นผู้ทำสวนยางพารามานาน ใช้ทั้งปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ทำให้เห็นข้อแตกต่างระหว่างสารเคมี กับ ชีวภาพ ว่าการใช้สารเคมีทำให้ดินเสื่อม ฟื้นฟูสภาพดินช้าจึงต้องหันกลับมาใช้ปุ๋ยชีวภาพแทน  นอกจากนั้นก็ยังเลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู ปลูกพืชผักผลไม้ ในสวนยางพาราด้วย -กลุ่มที่ 4 นำโดยหัวหน้ากลุ่มนางสาวสาริกา  บุตดิพรรณ กับ นักศึกษา กศน. และคนในชุมชน สัมภาษณ์ นางธัญวลัย  คงมา  อายุ 54 ปี เป็นประธานสภาเกษตรตำบลจันดี ประธานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลจันดี ประธานสวภาองค์กรชุมชนตำบลจันดี นางธัญวลัย คงมา กล่าวถึงการทำสวนยางสมัยที่จำความได้คือ ในป่ายางแต่ก่อนนั้นจะมีพืช ผัก ผลไม้ ผสมผสานกันในป่ายาง การใช้สารเคมีจะไม่มีเลย เพราะว่ารุ่นพ่อ - แม่ที่ทำสวนยางจะปลูกพืช ผัก ผลไม้ สมุนไพร เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ เลี้ยงวัว ไว้ในป่ายาง ปุ๋ยก็จะได้จากขี้เป็ด ขี้ไก่ ขี้วัว และใบไม้ที่หล่นมาทับถมกันนาน ๆ ทำให้ต้นยางสมบูรณ์ไม่มีโรค           ต่อมาประมาณ  40 ปีที่ผ่านมา เมื่อมีกองทุนสงเคราะห์ยาง เข้ามาช่วยในการสนับสนุนเงินทุนในการทำสวนยางพารา คือ ต้องทำตามแนวทางที่เขากำหนด  ต้นไม้ทุกต้นก็ต้องโค่นให้หมด  แล้วปลูกแต่ยางอย่างเดียว ห้ามปลูกต้นไม้เสริมทุกชนิด  การกระทำแบบนี้เรียกว่การปลูกพืชเชิงเดี๋ยวซึ่งไม่เหมาะกับบ้านเรา การขุดหลุม การวางแนว ระยะห่าง การปลูกยางต้องรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยเคมี  การดูแลรักษาก็ต้องใช้สารเคมีทั้งปุ๋ย ยาฉีดหญ้า  สุดท้ายยางรุ่นนี้ก็เปิดกรีดได้ประมาณ 20 ปี ก็ต้องยืนต้นตายนึ่งที่เกิดจากเชื้อโรค โรคโคนเน่า เพราะการสนับสนุนให้ใช้สารเคมีมากเกินความจำเป็น       นงธัญวลัย กล่าว ตอนเข้ามาเป็นเกษตรกรเต็มตัวเมื่อปี 2546  ก็ได้ทำตามที่กองทุนสงเคราะห์ฯแนะนำทุกอย่าง แต่เมื่อทำเข้าจริง ๆ ทำให้เราต้องเสียสุขภาพเมื่อเจอสารเคมีแล้วทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง จึงได้ศึกษาแนวทางใหม่กับศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรฯ ขณะนั้นทางกองทุนอนุญาตให้ปลูกไม้เสริมในสวนยางได้ไร่ละไม่เกิน 15 ต้น แต่คิดว่าการทำสวนยางตามรอยโป + พ่อเฒ่า น่าจะทำให้เราอยู่รอดปลอดภัยจากสารเคมี จึงได้เข้าศึกษาการอยู่ร่วมกันของพืชพันธุ์ไม้นานาชนิด แล้วนำมาปลูกเสริมในสวนยางพาราของ เช่น ไม้สักทอง ไม้ตะเคียนทอง จำปาทอง จิกนม ไม้ไผ่หวาน สะตอ เนียง เขลียง กระชาย ทือ ลองกอง เลี้ยงไก่ เพื่อให้สัตว์ พืชพันธุ์ไม้เหล่านี้ดูแลเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และยังเข้าอบรมการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพใช้เอง กับนายสุนทร  ธราพร รวมทั้งการทำน้ำยาเอนกประสงค์ น้ำยาซักผ้า ยาสระผม สบู่เหลวไว้ใช้เอง เพื่อลดการใช้สารเคมีอีกทางหนึ่ง และลดต้นทุนในการดูแลรักษาอีกด้วย

     

    0 0

    9. แบ่งกลุ่มเกษตรกรออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อแยกกลุ่มในการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี้ยวกับการปลูกยางโดยไม่ใช้สารเคมี

    วันที่ 1 มีนาคม 2556 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    .เริ่มที่กลุ่มบ้านนายาว มีนางสุมล ธราพร เป็นแกนนำกลุ่ม มีสมาชิกเข้าร่วม 28 คน สมาชิกช่วยกันจัดหา เศษพืช ผัก ผลไม้  กล้วย ทั้งสุก ทั้งดิบ ต้นกล้วย ดอกกาหลา แล้วช่วยกันหั่นให้เป็นชิ้นพอประมาณ นำมาใส่ภาชนะถังน้ำ ละลายหัวเชื้อ พด.2 ในน้ำ เทกากน้ำตาลลงไปในถัง แล้วใช้ไม้คนให้เข้ากันจนได้ที่ นำฝามาปิด คนทุก ๆ 2 วัน หมักทิ้งไว้  21 วันจึงนำมาใช้งานใด้ สูตรการทำน้ำหมักของ นายสุนทร ธราพร หมอดินอาสา ซึ่งเป็นวิทยากรในครั้งนี้ประกอบด้วย   พืชผักผลไม้  30 กก. กากน้ำตาล 20 กก. น้ำ 20 ลิตร  หัวเชื้อพด.2 3 ซอง (หรือนำเอา เศษปลา รวมกับพืชผักอื่นก็ได้ นำมาหมัก) วิธีใช้-  เอาน้ำหมัก 2 ช้อนโต๊ะ ผสมน้ำ 20 ลิตร นำไปรด พืช ผัก ไม้ผล ยางพารา ต้นไม้ แทนการใช้ปุ๋ยเคมีทำให้ต้นไม้เจริญงอกงามดี และปลอดภัยจากสารเคมี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดการทำงานร่วมกัน สร้างความเป็นทีม ได้ความรู้ในการผลิตปุ๋ยน้ำใช้เอง มีสูตรการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพของชุมชน ได้อุปกรณ์การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพไปฝึกทำเองที่บ้าน

     

    0 0

    10. อ.จำนง ติดตามครั้งที่ 3

    วันที่ 2 มีนาคม 2556 เวลา 13:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่ม 13.00น. ทั้ง 5 โครงการ อ.ฉวางเข้าพร้อมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สี่โครงการเดินต่อได้ ติดที่โครงการสวนโป+พ่อเฒ่า ล่าช้ามาก

     

    0 0

    11.

    วันที่ 3 มีนาคม 2556 เวลา 12:30-15.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -คนในชุมชนที่เข้าอบรมในครั้งนี้ ได้ช่วยกันเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ เช่น ตะลิงปลิง แอปเปิ้ลน้ำ กล้วยสุก มะม่วงสุก ที่มีอยู่ในชุมชน มาให้วิทยากรสาธิตการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ และทางโครงการได้แจกกากน้ำตาลให้แก่สมาชิกคนละหนึ่งถังเพื่อนำไปทำใช้เองในครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมในครั้งนี้ ไปทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพใช้ในครัวเรือน เพื่อลดการใช้สารเคมี และลดต้นทุนในการทำสวนยางพารา

     

    0 0

    12. ฝึกอบรม สาธิต ปฏิบัติ การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ

    วันที่ 4 มีนาคม 2556 เวลา 12:30-15.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คนในชุมชนเกาะค่างขาวโดยใช้สถานที่บ้านของนางนาตยา  ริวรรณ ผู้นำกลุ่ม พร้อมด้วยสมาชิกได้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการทำปุ๋ยน้ำ เช่น หยวกกล้วย หัวปลาทู ตะลิงปลิง เปลือกสับปะรด ฯลฯ ที่มีอยู่ในชุมชนมาให้วิทยาการ สาธิตการทำปุ๋ยน้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ผู้เข้าอบรมสามารถหาวัสดุที่มีอยู่รอบ ๆ บ้านของตนเองนำมาผลิตเป็นปุ๋ยน้ำชีวภาพ เพื่อลดการใช้สารเคมี และลดต้นทุนในการทำสวนยางพารา

     

    0 0

    13. อบรม ฝึกปฎิบัติ การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ

    วันที่ 5 มีนาคม 2556 เวลา 12:30-15.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -แกนนำกลุ่ม และสมาชิกในชุมชนได้จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์เช่น เปลือกแตงโม เหงือกปลาทู เปลือกสับปะรด ตะลิงปลิง ได้เชิญ นายสุนทร  ธราพร  หมอดินอาสา เป็นวิทยากรในการอบรมให้ความรู้แดละสาธิตการทำปุ๋ยน้ำหมักให้แก่สมาชิก และทางโครงการได้แจกจ่ายกากน้ำตาลให้แก่สมาชิกคนละหนึ่งถังเพื่อนำไปทำให้เองในครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ผู้เข้าฝึกอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมครั้งนี้ ไปทำปุ๋ยน้ำหมักใช้เองในครัวเรือนได้ เพือลดการใช้สารเคมี และลดต้นทุนในการทำสวนยางพารา

     

    0 0

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อศึกษาวิถีการปลูกยางพาราแบบอนุรักษ์(โดยไม่ใช้สารเคมี)
    ตัวชี้วัด : มีคู่มือในการปลูกยางและการดูแลรักษาโดยไม่ใช้สารเคมีในป่ายาง

     

    2 เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการใช้สารเคมีในการทำสวน ยาง โป + พ่อเฒ่า
    ตัวชี้วัด : เกษตรกร 150 ครัวเรือน ลดการใช้สารเคมีในการทำเกษตรกร

     

    3 เพื่อนำความรู้เกี่ยวกับการปลูกยางเชิงอนุรักษ์ แล้วนำไปพัฒนาเป็นหลักสูตรป็นหลักสูตรเสริมในโรงเรียน
    ตัวชี้วัด : โรงเรียนร่วมกับชุมชนมีหลักสูตรการปลูกยางเชิงอนุรักษ์ในโรงเรียนของชุมชน

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาวิถีการปลูกยางพาราแบบอนุรักษ์(โดยไม่ใช้สารเคมี) (2) เพื่อรณรงค์และสร้างความตระหนักในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการใช้สารเคมีในการทำสวน ยาง โป + พ่อเฒ่า (3) เพื่อนำความรู้เกี่ยวกับการปลูกยางเชิงอนุรักษ์ แล้วนำไปพัฒนาเป็นหลักสูตรป็นหลักสูตรเสริมในโรงเรียน

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการป่ายางต้นแบบตามรอย ปู่-ตา (โป+พ่อเฒ่า) จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 55-01809

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางธัญวลัย คงมา )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด