directions_run

โครงการตลาดอาหารปลอดภัยของชุมชน ม.13 บ้านนา ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ โครงการตลาดอาหารปลอดภัยของชุมชน ม.13 บ้านนา ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง ”

หมู่ที่ 13 ตำบลเกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายอนันต์ ทิพย์รักษ์

ชื่อโครงการ โครงการตลาดอาหารปลอดภัยของชุมชน ม.13 บ้านนา ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง

ที่อยู่ หมู่ที่ 13 ตำบลเกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 57-01424 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0952

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2557 ถึง 30 มิถุนายน 2558


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการตลาดอาหารปลอดภัยของชุมชน ม.13 บ้านนา ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 13 ตำบลเกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการตลาดอาหารปลอดภัยของชุมชน ม.13 บ้านนา ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการตลาดอาหารปลอดภัยของชุมชน ม.13 บ้านนา ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 13 ตำบลเกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 57-01424 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2557 - 30 มิถุนายน 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 194,100.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 150 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการปรับพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภค
  2. 2.เพื่อให้เกิดรูปแบบกิจกรรมการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการผลิตและกลไกการตลาดเพื่อการบริโภคให้เอื้อต่อสุขภาวะของคนในชุมชน
  3. 3. เพื่อให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนตลาดอาหารปลอดภัยชุมชนอย่างยั่งยืน
  4. 4.เพื่อกำกับติดตามและประเมินผลโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมคณะทำงาน

    วันที่ 5 มิถุนายน 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการหมู่บ้าน ภาคีเครือข่าย อบต.เกาะเต่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านคลองใหญ่ อสม.ผู้นำชุมชน คณะกรรมการศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร อกม. ตัวแทนศูนย์เรียนรู้ในชุมชน ร่วมกันประชุมชี้แจงรายละเอียดการจัดทำโครงการร่วมสร้างชุมชุมและท้องถิ่นให้น่าอยู่ ปี 2557 โดยร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ทบทวนแผนชุม และจัดลำดับความสำคัญของปัญหา จัดลำดับความสำคัญของกิจกรรม ช่วยกันเสนอแนวความคิดกำหนดกิจกรรมตลอดจนวางแผนการทำงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สภาผู้นำซึ่งประกอบด้วยตัวแทนองค์กรภาคีเครือข่ายในชุมชนเพื่อการเตรียมความพร้อม วางแผนการทำงานซึ่งที่ประชุมเห็นควรให้มีการประชุมชี้แจงโครงการให้กับประชาชนที่สนใจ เข้าร่วมโครงการ โดยเริ่มจากการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารปลอดภัย ขยายผลสู่การส่งเสริมกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ การผลิตอาหารปลอดภัย และการส่งเสริมการรวมกลุ่มสถานที่จัดจำหน่ายอาหารปลอดภัย

     

    15 15

    2. จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 6 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รณรงค์ลดละเลิกบุหรี่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนไม่สูบบุหรี่ในบริเวณที่ติดป้ายซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณที่ทุกคนใช้ร่วมกัน

     

    15 15

    3. ประชุมปฐมนิเทศผู้รับผิดชอบโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ ปี 2557

    วันที่ 15 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 -16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปฐมนิเทศผู้รับผิดชอบโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ ปี 2557 ทบทวนภาพรวมขั้นตอนและกระบวนการพัฒนาและกระบวนการติดตามสนับสนุนโครงการร่วมสร้างชมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ การบริหารจัดการโครงการ การบริหารจัดการงบประมาณ รายงานความก้าวหน้า บริหารจัดการโครงการเก็บหลักฐานการเงิน ใบเสร็จ  การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บ วางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ รายงานผลการจัดกิจกรรมและรายจ่ายในกิจกรรม การรายงานงวด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทบทวนภาพรวมขั้นตอนและกระบวนการพัฒนาและกระบวนการติดตามสนับสนุนโครงการร่วมสร้างชมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ การบริหารจัดการโครงการ การบริหารจัดการงบประมาณ รายงานความก้าวหน้า บริหารจัดการโครงการเก็บหลักฐานการเงิน ใบเสร็จ  การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บ วางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ รายงานผลการจัดกิจกรรมและรายจ่ายในกิจกรรม การรายงานงวด เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการปฐมนิเทศในวันนี้ไปเป็นแนวทางการปฏิบัติงาน ตามกระบวนการของโครงการต่อไป

     

    4 4

    4. ประชุมชี้แจงโครงการ

    วันที่ 16 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมชี้แจงโครงการ ให้กับประชาชนที่สนใจได้รับทราบ บอกวัตถุประสงค์ของโครงการและวิธีการดำเนินงานและผลที่จะเกิดขึ้นหลังการดำเนินงาน สำรวจข้อมูล  รับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการโดยมีผู้สมัครร่วมปลูกในแปลงผักรวมจำนวน 42 ครัวเรือน และปลูกผักในครัวเรือนจำนวน 100ครัวเรือนและร่วมกันวางแผนทำกิจกรรมสำรวจข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ โดยสอบถามเรื่องการปลูกผักในครัวเรือนหรือไม่ มีการใช้สารเคมีหรือไม่ รายจ่ายของครอบครัว พฤติกรรมการบริโภค การใช้ชีวิตประจำวันให้แต่ละครัวเรือนช่วยตอบและคณะทำงานเก็บรวบรวมเพื่อเตรียมรวบรวมข้อมูลและนำเสนอในเวทีครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจรายละเอียดโครงการ และยินดีเข้าร่วมเพื่อดำเนินกิจกรรมตามโครงการ และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาสุขภาพด้วยการรวมกลุ่มผลิตและการบริโภคอาหารปลอดภัย

     

    165 165

    5. สรุปข้อมูลที่ได้จากวันประชุมชี้แจง

    วันที่ 22 มิถุนายน 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมสรุปข้อมูลที่ได้จากวันประชุมชี้แจงโครงการแก่ประชาชน เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2557
    2. มติที่ประชุมเห็นควรใช้พื้นที่ดินสาธารณประโยชน์ทุ่งนานอกเป็นพื้นที่ดำเนินการทำแปลงผักรวมของชุมชน
    3. ที่ประชุมร่วมกันจัดผังแปลงผักรวมและแนววางท่อระบบน้ำของแปลงผัก รวมทั้งกำหนดวันไถเตรียมดิน และแบ่งแนวแปลงผักเตรียมยกร่องผัก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วันที่ 22 มิถุนายน 2557 ประชุมสรุปข้อมูลที่ได้จากวันประชุมชี้แจงโครงการแก่ประชาชน ซึ่งมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ 152 คน แบ่งเป็น 1.ปลูกผักในครัวเรือน 112 คน  2.ปลูกในแปลงผักรวมของชุมชน 40 คน โดยมติที่ประชุมเห็นควรใช้พื้นที่ดินสาธารณประโยชน์ทุ่งนานอกเป็นพื้นที่ดำเนินการทำแปลงผักรวมของชุมชน ที่ประชุมร่วมกันจัดผังแปลงผักรวมและแนววางท่อระบบน้ำของแปลงผัก รวมทั้งกำหนดวันไถเตรียมดิน และแบ่งแนวแปลงผักเตรียมยกร่องผัก

     

    20 20

    6. จัดเวทีคืนข้อมูลสุขภาพกับการบริโภคของคนบ้านนาและวางแผนปฏิบัติงานโครงการ

    วันที่ 30 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.สรุปข้อมูลสุขภาพ  ลักษณะการบริโภคของคนบ้านนา 2.วางแผนการปลูกผัก  การเตรียมแปลง
    3.ร่วมการแลกเปลี่ยนกำหนดกิจกรรมที่ต้องดำเนินการที่บ้าน พร้อมกำหนดทีมติดตามผล กำหนดวันเวลาเพาะพันธ์ในแปลงผักรวม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เวทีคืนข้อมูลสุขภาพกับการบริโภคของคนบ้านนาและวางแผนปฏิบัติโดยมีกิจกรรมดังนี้

    1.สรุปข้อมูลสุขภาพลักษณะการบริโภคของคนบ้านนา                 จากการสอบถามผู้สูงอายุในชุมชนมีการบอกเล่าความเป็นมาของชุมชนบ้านนาว่า เป็นกลุ่มบ้านที่บรรพบุรุษ ได้เข้ามาครอบครองและเข้ามาอยู่ในพื้นที่มาช้านานกว่า 200 ปี สืบเนื่องมาจากหลักฐานซึ่งได้การบอกเล่าสืบต่อกันมา  ในอดีตบ้านนาเป็นพื้นที่ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธ์ไม้ สัตว์ป่า เมื่อประชากรมากขึ้นจึงมีการตัดไม้ ถางป่า เพื่อทำนาโดยตัดไม้และขุดตอไม้หรือการพลิกนาด้วยจอบ เพื่อทำเป็นผินนา เมื่อประมาณปี 2450 เป็นต้นมา และมีการตั้งกลุ่มบ้านขึ้นตามสภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ในขณะนั้นว่า "บ้านนา" เพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่ทำกิจของตนเอง โดยตั้ต่งอยู่ในหมู่ที่ 4 บ้านคลองใหญ่ ตำบลเกาะเต่า กระทั่งปี พ.ศ.2543 ได้แยกการปกครองครองเป็นหมู่ที่ 13 บ้านนา โดยมีนายอำไพย สังข์แก้ว ได้รับคัดเลือก้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ตั้งแต่ วันที่ 12 เมษายน 2543 จนถึงปัจจุบัน
                    จากการศึกษาข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน และข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ (โดย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล บ้านคลองใหญ่)
                                1. ผู้ป่วยเบาหวาน                              จำนวน  17 คน                             2. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง                    จำนวน 85 คน                             3. ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง    จำนวน 26 คน                             4. ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง                  จำนวน 18 คน                             5. ผู้ป่วยโรคเมร็ง                                จำนวน 1 คน                             ุ7.  กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน                          จำนวน 145 คน                             8.  กลุ่มเสี่ยวความดันโลหิตสูง                จำนวน 293 คน                             9.  กลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปมีรอบเอวเกิน        จำนวน 214 คน                           10.  กลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปมีภาวะอ้วน          จำนวน 167 คน จากการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามพบว่าประชาชนกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องการบริโภคอาหารปลอดภัย และมีการปลูกพืชผักไว้กินเองโดยไม่ใช้สารเคมี
    2.แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2 ประเภทคือ
    - กิจกรรมแปลงสาธิตจำนวน 50 คน
    - ปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน 150 คน

    3.แนะแนววิธีการปลูกพืชและการดูแลผักปลอดสารพิษ

    4.แบ่งกลุ่มตามชนิดพืชที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ จับฉลากแบ่งร่อง

    5.การวางแผนการปฏิบัติงาน - การทำการทำปุ๋ยหมักน้ำหมักชีวภาพสูตรพระราชทาน ในวันที่ 10 กรกฏาคม 2557  เพื่ออบรมให้ความรู้ให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ฝึกปฏิบัติ
    - การทำแปลงเพาะพันธ์ผักและเตรียมดิน ในวันที่ 14 - 15 กรกฏาคม 2557

     

    115 165

    7. ประชุมคณะทำงาน

    วันที่ 5 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประชุมรับฟังความคิดเห็นคณะกรรมการ 2.วางแผนการดำเนินงาน 3.มอบหมายหน้าที่การปฏิบัติงาน 4.กำหนดวันเวลาสถานที่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการเห็นควรจัดกิจกรรมให้ความรู้การผลิตปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ เพื่อปูพื้นฐานการผลิตอาหารปลอดภัยแก่ผู้เข้าร่วมโครงการ ในวันที่ 10 กรกฏาคม 2557 ณ ริมถนนหน้าทุ่งนานอก ม.4 ม.13 ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง แบ่ี้งคณะกรรมการ เตรียมจัดกิจกรรมดังนี้     1.เตรียมสถานที่     2.ประสานงานวิทยากร     3.เตรียมวัสดุอุปกรณ์     4.เตรียมอาหารว่างและเครื่องดื่ม

     

    15 15

    8. ปฏิบัติการปรับเปลี่ยนวิธีคิด วิถีปฏิบัติการผลิตอาหารปลอดภัย

    วันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.อบรมให้ความรู้การปลูกพืชผักปลอดสารพิษ 2.อบรมวิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ 3.อบรมวิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เมื่อวันที่ 10 กรกฏาคม 2557 คณะกรรมการโครงการตลาดนัดอาหารปลอดภัยของชุมชน ม.13 ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง จัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนวิธีคิดวิธีปฏิบัติการผลิตอาหารปลอดภัย(อบรมทำปุ๋ยชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพ)โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 135 คน มีการอบรมเรื่อง 1.การทำปุ๋ยหมักชีวภาพโดยการเลือกสูตรที่สอดคล้องกับวัตถุดิบที่มีในชุมชน เช่น เศษวัสดุจากพืช แกลบ มูลวัว รำละเอียด พด.1  โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1.นำมูลวัวมาโรยให้เป็นกองและเกลี่ยให้เสมอกันเป็นชั้นที่ 1
    2.นำรำละเอียดมาโรยบนชั้นมูลวัวเป็นชั้นที่ 2
    3.นำมูลไก่มาโรยบรำละเอียดเป็นชั้นที่ 3
    4.นำพด.1 มาผสมน้ำประมาณ 5 ซองแล้วราดให้ชุ่ม
    5.ทำตามข้อ 1-4 จนได้ปริมาณกองที่ต้องการ และคลุมด้วยพลาสติกเพื่อป้องกันฝน หลังจากนั้นทุกๆ 7 วัน ให้กลับกองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อน ประมาณ 20-30 วัน สามารถนำปุ๋ยหมักมาใช้ได้ 2. การทำน้ำหมักชีวภาพ     ใช้วัตถุดับได้แก่ พืชที่มีกลิ่นแรง (ข่า ตะไคร้ สาบเสือ ใบสาบเสือ ยอดสะเดา ขิง ฯลฯ) กากน้ำตาล พด.7 น้ำสะอาด
    โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. นำพืชที่เตรียมไว้มาสับเป็นชิ้นเล็กๆแล้วใส่ลงในถังหมัก
    2. นำกากน้ำตาลประมาณ 1 แกลลอน ใส่ลงไปในถังหมัก 3. นำพด.7 จำนวน 5 ซอง ผสมน้ำลงตามลงไปในถังหมัก 4. ประมาณ 15 วัน น้ำหมักสามารถใช้ได้เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการฉีดพ่นป้องกันแมลง

     

    135 135

    9. เตรียมแปลงเพาะพันธ์ผักรวมของชุมชน

    วันที่ 14 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เตรียมดิน ไถพรวนดิน แบ่งแปลงดินสำหรับปลูกพืช
    2.ปรับปรุงดินด้วยไดโลไมท์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 140 ครัวเรือนร่วมฟังการอบรมให้ความรู้วิธีการปลูกผักปลอดสารพิษ  โดย มีการแบ่งกลุ่มกิจกรรมเป็น 2 ประเภทคือ
    1. ผู้ที่ปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน จำนวน 100 ครัวเรือน 2. ผู้ที่ปลูกผักปลอดสารพิษในแปลงผักรวมของชุมชน จำนวน 40 ครัวเรือน มีการแบ่งแปลงดินแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและร่วมกันโรยไดโลไมท์เพื่อปรับสภาพดินทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์จึงปลูกพืชซึ่งพืชที่ปลูกคือ ผักบุ้ง ข้าวโพด คะน้า โหระพา คะน้า ดาวเรือง พริกขี้หนู มะเขือ ตะไคร้ ต้นหอม ข้าวพันธ์หอมใบเตย

     

    140 100

    10. ประชุมคณะทำงาน

    วันที่ 5 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประธานกรรมการโครงการชี้แจงผลการดำเนินการกิจกรรมที่ผ่านมา
    • รับฟังปัญหาอุปสรรคการดำเนินกิจกรรม
    • แจ้งกำหนดการกิจกรรมต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมกรรสรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมที่ผ่านมาคือ กิจกรรมเตรียมแปลงเพาะพันธ์ผักรวมของชุมชนซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการได้เข้าร่วมกันปรับปรุงดินด้วยการหว่าโดโลไมท์

     

    15 15

    11. กิจกรรมเวทียกร่างแนวทางการบริหารจัดการกองทุนแปลงผักรวมชุมชนและตลาดนัดอาหารปลอดภัยชุมชน

    วันที่ 15 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมเวทียกร่างแนวทางการบริหารจัดการกองทุนแปลงผักรวมชุมชนและตลาดนัดอาหารปลอดภัยชุมชน ในด้านต่างคือ

    1.การบริหารจัดการกองทุนแปลงผักรวมชุมชน
    - หลักเกณฑ์การจัดสรรพื้นที่แปลงสาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษ - การควบคุมกระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ปลอดสารพิษ

    2.การจัดการตลาดอาหารปลอดภัยชุมชน - วางกฏเกณฑ์การคัดเลือกอาหารปลอดภัยมาจำหน่าย - วางหลักเกณฑ์การบริหารจัดการตลาดอาหารปลอดภัย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการโครงการตลาดอาหารปลอดภัยของชุมชน ม.13 บ้านนาต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.กพัทลุง กำหนดกิจกรรมร่วมกัน "ทำแปลงผักรวมของชุมชน" บนพื้นที่ทุ่งนานอก โดยมีประชาชนผู้เข้าร่วมโครงการปลูกผักในแปลงผักรวม 40 คน  และประชาชนผู้เข้าร่วมปลูกผักในครัวเรือน 112 คน โดยผู้เข้าร่วมปลูกผักในแปลงผักรวมของชุมชนร่วมกันจัดเวทียกร่างแนวทางการบริหารจัดการกองทุนแปลงผักรวมชุมชนและตลาดนัดอาหารปลอดภัยของชุเภมชน จากที่ได้มีการแบ่งพื้นที่แบ่งออกเป็น 40 แปลง ขนาดแปลงละ 7 x 30 เมตร มีการวางระบบน้ำโดยสูบน้ำจากคูรอบๆ ใช้เครื่องสูบน้ำ 2 จุด ต่อท่อมายังแปลงสาธิตซึ่งปลูกพืชประเภทต่างๆคือ ผักบุ้ง ดาวเรือง คะน้า ข้าวโพด ตะไคร้ ต้นหอม พริก มะเขือ โหระพา ถั่วลิสง ข้าวพันธ์หอมใบเตยและมีการวางระบบการบริหารจัดการแปลงผักในรูปคณะกรรมการดังนี้

    1.ประธานคณะกรรมการ  - นายอำไพย สังข์แก้ว

    2.รองประธานคนที่ 1      - นายเรียงศักดิ์ รักคง

    3.รองประธานคนที่ 2    - นายนัตพงศ์ รักนิ่ม

    4.กรรมการทั่วไปคนที่    - นายประทีบ จันทร์แก้วบ - นายประเสริฐ จันทร์แก้ว (ตำแหน่ง 1-4 มีหน้าที่วางแผนการปลูก ติดตามงานของกลุ่มและการทำข้อตกลงร่วมกัน)

    5.กรรมการระบบน้ำ      -  นายจีรสิน พรหมทอง - นายพิเชษฐ์ เม่าน้ำพรายน (มีหน้าที่ดูแลระบบน้ำควบคุมการเปิดปิดน้ำและซ่อมบำรุงรักษาระบบน้ำ)

    6.กรรมการฝ่ายการเงิน  - นางเกษร ทองคำ - นางเมี้ยน พูนปาน (มีหน้าที่จัดเก็บเข้ากองทุนแปลงผักรวมของชุมชนในอัตราแปลงละ 20 บาทต่อเดือนเพื่อเป็นค่าบำรุงรักษาระบบน้ำ ไฟฟ้าและเพื่อใช้ในการบริหารจัดการแปลงผักรวมของชุมชน 7.กรรมการฝ่ายควบคุมคุณภาพ - นายณรงค์ วัชชิระศิริกุล - นางศรัทธาพร ทิพรักษ์

    (มีหน้าที่ควบคุมคุณภาพการปลูกผักให้ได้ผลผลิตที่ปลอดสารพิษ 8.กรรมการฝ่ายการตลาด        - นางสุพิศ หมื่นรันต์ - น.ส.เพ็ญนภา รัตนการ - นายอนันต์ ทิพย์รักษ์ (มีหน้าทีประชาสัมพันธ์และจัดหาตลาดในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง

    9.กรรมการฝ่ายวิชาการและศึกษาดูงาน - น.ส ตุลยา กลับแก้ว - น.ส กษมาพร ทองเขียว (มีหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้ความรู้ด้านวิชาการในการปลูกผัก การบำรุงรักษาและการกำจัดศัตรูพืช

    10.เลขานุการกลุ่ม        - นางปาณิสรา รามหนู - นางภัทราพร ทองคำ (มีหน้าที่ด้านงานธุรการและการประสานงาน)

     

    40 35

    12. จัดตลาดนัดอาหารปลอดภัย

    วันที่ 29 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชาชนร่วมกันนำพืชผักทั้งที่ปลูกบริเวณครัวเรือนและจากแปลงผักรวมของชุมชน มาจัดจำหน่ายยังตลาดอาหารปลอดภัยของชุมชน ณ บ้านนา ม.13 ตำบลเกาะเต่า อ.ป่าพยอม จ.พัทลุง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนร่วมนำพืชผักทั้งที่ปลูกบริเวณครัวเรือนและจากแปลงผักรวมของชุมชน มาจัดจำหน่ายยังตลาดอาหารปลอดภัยของชุมชน บ้านนา ม.13 ตำบลเกาะเต่า ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้บริโภคซึ่งต้องการซื้อสินค้าปลอดสารพิษจากชุมชน และเกิดพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างผู้ผลิต เช่น นาย ก. ปลูกผักบุ้ง  นายข. เก็บตำลึงมาขาย นาย ก. ต้องการซื้อ ผักตำลึง และนาย ข. ต้องการซื้อผักบุ้ง นาย ก. ก็จะนำผักบุ้งมาแลกตำลึงของนาย ข. เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าด้วยสินค้า

     

    40 40

    13. ประชุมคณะทำงานสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

    วันที่ 5 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมชนคณะทำงาน สรุปกิจกรรมที่ผ่านมา วางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานเข้าร่วมการประชุม  สรุปกิจกรรมจัดตลาดนัดชุมชน ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่า ตลาดนัดอาหารปลอดภัยควรจัดให้มีการจำหน่ายสินค้าอาหารปลอดภัยทุกวันเสาร์ เพราะกิจกรรมที่ผ่านมาได้รับการต้อนรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดีและในรอบถัดไปควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในหมูบ้านใกล้เคียงทราบด้วย

     

    15 15

    14. ประชุมคณะทำงานเพื่อตรวจสอบเอกสารต่างๆในการรายงานงวด

    วันที่ 20 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้เข้าร่วมประชุมร่วมกันดูเอกสารต่างๆในรายงานงวด ว่ามีอะไรบ้าง ที่จะต้องทำเอกสารส่ง ร่วมกันจัดทำเอกสาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้จัดทำเอกสารรายงานประจำงวดที่ 1

     

    5 15

    15. กิจกรรมคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบ ปรับพฤติกรรมการบริโภค

    วันที่ 24 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบ ปรับพฤติกรรมการบริโภคโดยการติดตามการบริโภคโดยการติดตามประเมินผลซึ่งให้แกนนำครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการร่วมกับคณะทำงาน ออกติดตามโดยแบ่งโซนติดตาม คนละ 10 ครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง 3 ครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบ ปรับพฤติกรรมการบริโภคโดยการติดตามประเมินผล จากครัวเรือนในชุมชนโดยพิจารณาจากพฤติกรรมการบริโภค และข้อมูลสุขภาวะของสมาชิกในครอบครัว

     

    25 30

    16. ประชุมคณะทำงานสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

    วันที่ 8 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการร่วมพิจารณา สรุปกิจกรรมที่ผ่านมา และวางแผนการดำเนินกิจกรรมต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นับจำนวน ยอดครัวเรือนที่คณะกรรมการประเมินส่งมา ได้ยอดจำนวน 250 ครัวเรือน และคณะกรรมการต้องลงคะแนนประเมินครัวเรือนตามแบบประเมิน และพิจารณาหาข้อสรุปอีกครั้ง

     

    15 15

    17. ตรวจสอบเอกสารต่างๆเกียวกับรายงานประจำงวด

    วันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตรวจสอบเอกสารต่างๆเกี่ยวกับรายงานประจำงวด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ปรับปรุงเอกสารและรายงาน

     

    15 15

    18. ประชุมคณะทำงานสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

    วันที่ 25 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานร่วมกันประชุม สรุปกิจกรรมประเมิน ครัวเรือนต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค จำนวน 20 คน
    จากนั้นร่วมวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมรณรงค์ตลาดอาหารปลอดภัยชุมชน รวมทั้งพิธีมอบรางวัลครัวเรือนต้นแบบปรับพฤติกรรมการบริโภค

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ครัวเรือนต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค จำนวน 20 คือ

    1. นายจำเริญ แก้วหนู
    2. น.ส.กมล แก้วคง
    3. นายประจวบ ขาวโปง
    4. นายวิวัฒ คงขำ
    5. นายเรียงศักดิ์ รักคง ุ6. นายชาคริต ช่วยเนื่อง 7.นายคนอง บัวแก้ว 8.นายใจ หนูนวล 9.นางวรรณี เรืองเพชร 10.นายธนตรี เมืองราม 11.นายสุชาติ คงสุด 12.นายชาคริต จันทร์แก้ว 13.นางละออง สังข์แก้ว 14.นางอาภรณ์ ปานแก้ว 15.นางวันดี ชูปาน
    6. นางเกษร ทองคำ
    7. นายนิรัตน์ ช่วยราม
    8. นายจำรัส เขียวเยาว์ 19.นายกระจ่าง ปานแก้ว
    9. นายสมจิตร ศรีคงแก้ว กำหนดจัดกิจกรรมรณรงค์ตลาดอาหารปลอดภัยชุมชน และพิธีมอบรางวัลครัวเรือนต้นแบบปรับพฤติกรรมการบริโภคในวันที่ 8 มกราคม 2558

     

    15 14

    19. กิจกรรมรณรงค์ตลาดอาหารปลอดภัยชุมชนและพิธีมอบรางวัลครัวเรือนต้นแบบ

    วันที่ 8 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ช่วงเช้าจัดกิจกรรมเดินรณงค์เพื่อประชาสัมพันธ์การเปิดตลาดนัดอาหารปลอดภัย และรณงค์ให้เห็นถึงโทษภัยที่เกิดจากการบริโภคที่ไม่ถูก ช่วงสายพิธีเปิดตลาดนัดอาหารปลอดภัยชุมชนบ้านนา พิธีมอบรางวัลแก่ครัวเรือนต้นแบบที่ปลูกผักและปรับพฤติกรรมการบริโภคปลอดภัย การแสดงศิลปะพื้นบ้านมโนราห์เพื่อรณงค์การบริโภคปลอดภัย กิจกรรรมเลือกซื้อและแลกเปลี่ยนสินค้าของคนในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การกิจกรรมตลาดนัดอาหารปลอดดภัย เป็นการปรับสภาพแวดล้อมในชุมชนให้มีพื้นที่ที่เอื้อให้คนในชุมชนที่สนใจจะปรับพฤติกรรมการบริโภคมาเป็นการบริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษ ได้มีโอกาสเลือกซื้อสินค้าต่าง ๆได้ง่ายและสะดวกขึ้นอีกประการหนึ่งวคือครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการปลูกผักปลอดสารพิษในพื้นที่สาธารณะของชุมชนก็ได้มีโอกาสนำผลผลิตมาจำหน่ายให้กับคนในชุมชนในราคาถูกเพราะไม่ต้องจ่ายค่าขนส่งไปขายในตลาดในเมืองผลการจัดตลาดมีร้านค้ามาร่วมจำหน่ายอาหารปลอดภัยจำนวน 18 ร้านค้า

    ในส่วนของการรณงค์แม้ว่าการเดินรณรงค์จะไม่ได้สร้างความรู้หรือความสนใจให้กับคนในหมู่บ้านมากนักแต่ก็เป็นการสร้างกระแสให้คนออกมาดูกิจกรรมที่ตลาดนัดอาหารปลอดภัย และได้ชมมโนราห์ที่แสดงโดยสอดแทรกความรู้เรื่องการบริโภคอาหารปลอดภัยทำให้คนที่มาร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริโภคอาหารปลอดภัยมากขึ้น

     

    165 192

    20. ประชุมคณะทำงานสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

    วันที่ 15 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาคือกิจกรรมรณรงค์อาหารปลอดภัยและการมอบรางวัลให้กับครัวเรือต้นแบบให้ที่ประชุมทราบว่าสามารถดำเนินกิจกรรมได้ตามวัตถุประสงค์ มีผู้เข้าร่วมมากกว่าที่คาดไว้ และสื่อที่ให้ในการรณงค์ก็เป็นที่สนใจของชาวบ้าน  จากนั้นที่ประชุมได้หารือร่วมกันถึงการจัดกิจกรรมต่อไปตามแผนรวมถึงวางแผนสำรองหางบประมาณเงินงวดที่ 2 หากยังไม่ได้รับจาก สส จะมีแผนสำรองอย่างไร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานได้รับทราบผลการดำเนินงานในกิจกรรมที่ผ่านมาและได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงปัญหาอุปสรรค์ที่เกิดขึ้น  และได้ออกแบบวางแผนการดำเนินโครงการไว้ 2 ลักษณะคือหากได้รับการจัดสรรเงินงวดในเดือนกุมภาพันธ์ก็จะดำเนินโครงการตามแผนเดิม แต่หากยังไม่ได้รับจะปรับแผนไปจัดกิจกรรมในช่วงหลังจากได้รับงบประมาณ เพราะไม่มีแหล่งงบประมาณให้สำรองจ่ายแล้ว

     

    15 14

    21. ตรวจสอบเอกสารต่างๆเกี่ยวกับรายงานประจำงวด

    วันที่ 20 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตรวจสอบเอกสารรายงานประจำงวด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการโครงการร่วมกันตรวจเอกสารรายงานประจำงวด

     

    15 8

    22. .เวทีเรียนรู้การปรุงอาหารปลอดภัย ชีวิตยืนยาว

    วันที่ 2 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การปรุงอาหารปลอดภัย ตามหลักสูตรที่ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร  มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง กำหนด โดย ในช่วงเช้าเป็นการอบรมให้ความรู้เรื่องวัตถุดิบประกอบอาหารปลอดภัย และการเลือกใช้ภาชนะประกอบอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ส่วนช่วงบ่ายเป็นการลงมือปฏิบัติการจริงการประกอบอาหารปลอดภัย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้วัตถุดิบในการประกอบอาหารที่ปลอดภัย  รู้โทษภัยของการใช้ภาชนะประกอบอาหารที่อาจมีสารเคมีปนเปือนหากใช้งานไม่ถูกต้อง  และได้มีโอกาสพัฒนาสูตรอาหารปลอดภัยที่ใช้วัตถุดิบที่หาได้จากในชุมชนบ้านนา  นอกจากนี้ยังได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมกันทำงาน ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีขึ้นระหว่างประชาชนในพื้นที่ ซึ่งหากไม่มีกิจกรรมนี้ก็อาจไม่มีโอกาสได้ทำงานร่วมกัน

     

    60 57

    23. ประชุมคณะทำงานสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

    วันที่ 8 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หัวหน้าคณะทำงานได้นำเสนอผลการจัดฝึกอบรมเรื่องการปรุงอาหารปลอดภัยที่จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ว่ามีตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมน้อยกว่าเป้าหมายนิดหน่อย จากเป้าหมาย 50 คน มีผู้เข้าร่วม 50 คน แต่ทุกคนก็ได้รับความรู้เรื่องการเลือกวัตถุดิบและการเลือกใช้ภาชนะ  นอกจากนี้ยังได้สูตรการทำอาหารใหม่ ๆ จากการแนะนำของวิทยากร ซึ่งถือว่าการจัดโครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้  จากนั้นคณะทำงานได้สอบถามถึงเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณ ซึ่งเจ้าหน้าที่การเงินได้ชี้แจงรายละเอียดรายจ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมนำเสนอเอกสารทางการเงินที่มี เมื่อวาระเกี่ยวกับการติดตามงานผ่านไปเรียบร้อยหัวหน้าคณะทำงานได้หารือที่ประชุมถึงการวางแผนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมยกร่างข้อบังการบริหารจัดการแปลงผักชุมชนบ้านนาว่าจะจัดกิจกรรมในช่วงใกี และควรมีใครมาช่วยในการจัดทำร่างข้อบังคับบ้าง  ซึ่งที่ประชุมเสนอให้จัดกิจกรรมในวันทำการอาจเป็นวันศุกร์ และให้เชิญพี่เลี้ยงโครงการคืออาจารย์ไพฑูรย์  ทองสม มาร่วมด้วย เพื่อจะได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเขียนข้อบังคับให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ  และเชิญตัวแทนครัวเรือนมาร่วมด้วยเพื่อให้ได้ข้อบังคับที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้มีกระบวนการติดตามผลการดำเนินกิจกรรม และมีการแบ่งหน้าที่การทำงานในกิจกรรมที่จะจัดขึ้นในครั้งต่อไป ทำให้คณะทำงานมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการอย่างแท้จริง

     

    15 13

    24. เวทีประชาพิจารณาและรับฟังข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการแปลงผักรวมชุมชน และการบริหารจัดการตลาดนัดอาหารปลอดภัยชุมชน

    วันที่ 17 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หัวหน้าคระทำงานชี้แจงวัตถุประสงค์และความจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางการบริหารจัดการแปลงผักชุมชน และเล่าที่มาของการยกร่างแนวทางว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไรหลังจากนั้นคณะทำงานได้นำเสนอแนวทางการบริหารจัดการแปลงผักชุมชนให้ที่ประชุมพิจารณาเป็นรายข้อ เช่นการเลือดแปลงจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารการแบ่งผลผลิตร้อยละ 10 เข้าสู่กองทุนบริหารจัดการแปลงผักชุมชน ซึ่งในข้อนี้ที่ประชุมมองว่าสัดส่วนร้อยละ 10 น้อยเกินไปจะทำให้รายได้ของกองทุนน้อย จึงเสนอที่ประชุมปรับวัดส่วนผลผลิตที่ต้องนำเข้ากองทุนเป็นร้อยละ 15 จากนั้นเป็นการพิจารณาร่างข้อบังคับการบริหารจัดการตลาดนัดชุมชนซึ่งขณะนี้ดำเนินการได้ระยะหนึ่งแล้ว โดยคณะทำงานนำเสนอเป็นรายข้อ เช่นการดูแลความสะอาดของตลาดการสมทบเงินเข้ากองทุนบริหารจัดการตลาดคนละ 10 บาทต่อครั้งที่นำสินค้ามาขาย ซึ่งที่ประชุมมองว่าอัตรานี้เหมาะสมดีแล้วเมื่อพิจารณารายละเอียดรายข้อแล้วเสร็จที่ประชุมก็ได้ลงมติรับรองแนวทางการบริหารจัดการกองทุนแปลงผักรวมชุมชนและตลาดนัดอาหารปลอดภัยบ้านนา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแปลงผักชุมชน และได้แนวทางการบริหารจัดการแปลงผักรวมชุมชนและตลาดนัดอาหารปลอดภัยชุมชนที่เป็นที่ยอมรับของสมาชิกและประชาชนทั่วไปในชุมชน  นอกจากนี้ยังเกิดกระบวนการเรียนรู้เวทีรับฟังความคิดเห็นแบบมีส่วนที่เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น ใช้ฉันทามติไม่ยึดเพียงแค่เสียงข้างมาก ซึ่งประชาชนในพื้นที่พอใจกับกระบวนการแลกเปลี่ยนแบบนี้มาก

     

    170 158

    25. ตรวจสอบเอกสารต่างๆเกี่ยวกับรายงานประจำงวดและสรุปผลโครงการ

    วันที่ 20 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตรวจสอบเอกสารต่างๆเกี่ยวกับรายงานประจำงวดและสรุปผลโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตรวจสอบเอกสารต่างๆเกี่ยวกับรายงานประจำงวดและสรุปผลโครงการ

     

    15 13

    26. ประชุมคณะทำงานสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

    วันที่ 21 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หัวหน้าคณะทำงานนำเสนอผลสรุปการจัดเวทีประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการแปลงผักรวมชุมชนและการบริหารจัดการตลาดนัดชุมชน ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนและตัวแทนครัวเรือนมากพอสมควร มีการเติมเต็มเนื้อหาและเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์บางข้อเพื่อความเหมาะสม เช่นการแบ่งผลประโยชน์จากแปลงผักเข้ากองทุน  จากนั้นคณะทำงานได้สอบถามถึงการใช้จ่ายงบประมาณซึ่งเจ้าหน้าที่การเงินโครงการก็ได้ชี้แจงรายละเอียดการเบิกจ่ายเงินให้ที่ประชุมทราบ  จากนั้นเป็นการหารือวางแผนการจัดกิจกรรมการยื่นข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดการแปลงผักรวมของชุมชนให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเต่ารับไปพิจารณาเข้ามาร่วมดำเนินการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดการติดตามผลการดำเนินกิจกรรมและการเรียนรู้ปัญหาอุปสรคค์ที่เกิดขึ้น  นอกจากนี้ยังได้แผนการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไปคือการจัดเวทียื่นข้อเสนอแนวทางการบริหารจีดการแปลงผักรวมชุมชนและตลาดนัดอาหารปลอดภัย

     

    15 15

    27. ยื่นข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดการตลาดอาหารปลอดภัยชุมชนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    วันที่ 29 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเต่ากล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม  จากนั้นหัวหน้าคณะทำงานได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดเวทียื่นข้อเสนอครั้งนี้ แล้วมอบให้คณะทำงานนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการแปลงผักรวมของชุมชนและตลาดนัดอาหารปลอดภัย  ซึ่งที่ประชุมรับทราบและทางองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเต่ารับปากว่าจะผลักดันให้เป็นเทศบัญญัติต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เกิดการมีส่วนร่วมในการพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการจัดการกิจกรรมของชุมชน และเกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างภาคประชาชนที่ทำงานในชุมชนบ้านนากับภาคท้องถิ่นคือองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเต่า

     

    40 42

    28. ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

    วันที่ 5 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานคณะทำงานได้ให้เลขานำเสนอผลการหารือและยื่นข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดการแปลงผักรวมชุมชนและแนวทางการบริหารจัดการตลาดนัดเพื่อสุขภาพของชุมชน ซึ่งได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว โดยลการหารือนั้นทาง อบต.เกาะเต่ายินดีที่จะร่วมผลักดันให้แปลงผักและตลาดสามารถดำเนินการได้ต่อไปตามแนวทางที่ชุมชนเสนอ และพร้อมตั้งงบประมาณในปีงบ 59 ที่จะหนุนเสริมให้มีการขยายพื้นที่ปลูก เพิ่มความหลากหลายของชนิดผัก และดูแลเรื่องสุขาภิบาลบริเวณตลาดให้ดีขึ้น  จากนั้นตัวแทนจาก อบต.เกาะเต่า ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจะดกิจกรรมของ อบต. ต่อไปจะใช้พื้นที่บริเวณตลาดเป็นหลัก เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่หรือต่างพื้นที่ได้รู้จักและเข้ามาใช้บริการตลาดมากยิ่งขึ้น  จากนั้นประธานคณะทำงานได้หารือถึงปัญหาอุปสรรค์และแนวทางที่จะจัดกิจกรรมต่อไปพร้อมแบ่งหน้าที่ให้คณะทำงานแต่ละคนรับไปดำเนินการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากผลการประชุมทำให้คณะทำงานได้ทราบถึงความคืบหน้าหลังจากได้ยื่นข้อเสนอต่าง ๆ ให้กับทาง องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเต่าว่าขณะนี้ทาง อบต. รับทราบและพร้อมหนุนเสริมการทำงานของชุมชน โดยในปีต่อไปการดำเนินโครงการจะได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณของ อบต. เป็นหลัก  ได้ร่วมกันสรุปงานและมอบหมายหน้าที่การทำงานให้กับคณะทำงานเพื่อจัดกิจกรรมต่อไปตามแผนการดำเนินโครงการ

     

    15 13

    29. สรุปผลการดำเนินโครงการจัดทำรายงานเพื่อส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคืนข้อมูลสู่ชุมชน

    วันที่ 9 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานคณะทำงานได้เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้เลขานำเสนอสรุปผลการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม จากนั้นได้แบ่งกลุ่มเพื่อหาแนวทางการพัฒนาหากว่าจะดำเนินโครงการนี้ต่อไปควรดำเนินการในรูปแบบใด และดำเนินการในระดับไหน  จากนั้นจึงให้ผุ้แทนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยในแต่ละกลุ่มจะมีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ดำเนินการหารือ ผลสรุปของแต่ละกลุ่มไปในทางเดียวกันคือควรยกระดับการดำเนินกิจกรรมให้ครอลคลุมทั้งตำบลและควรให้ท้องถิ่นเข้ามาเป็นผู้ขับเคลื่อนโครงการเป็นหลัก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้ผลสรุปการดำเนินโครงการในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าการดำเนินกิจกรรมในช่วงที่ผ่านมาเป็นต้นแบบที่ดีในการพัฒนาพื้นที่ที่ใช้การมีส่วนร่วมของชาวบ้านเป็นหลัก เริ่มจากฐานรากของชุมชนมาร่วมคิด ร่วมทำ แม้ในช่วงแรกท้องถิ่นจะเข้ามาร่วมน้อย แต่เมื่อดำเนินการไปสักระยะหนึ่งท้องถิ่นก็เข้ามาร่วมดำเนินการทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น  อย่างไรก็ตามการดำเนินงานก็มีปัญหาอยู่บ้าง เช่นในส่วนของงบประมาณสนันสนุนจาก สสส. ในงวดที่ 2 ที่ได้รับล่าช้าทำให้ต้องปรับแผนกิจกรรมทำให้บางกิจกรรมต้องเร่งดำเนินการ  และจากการหารือกลุ่มย่อยได้ข้อเสนอที่ไปในทิศทางเดียวกันคืออยากให้ท้องถิ่นเข้ามาร่วมเป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินงานและต้องขยายผลให้ครอบคลุมทั้งตำบล เพื่อให้เป็นตำบลต้นแบบในการสร้างสุขภาวะของชุมชนด้วยการใช้เรื่องของอาหารปลอดภัยเป็นเครื่องมือในการสร้างการมีส่วนร่วม

     

    50 42

    30. ตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับรายงานประจำเดือน

    วันที่ 13 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานร่วมกันเสนอรายงานต่าง ๆเกี่ยวกับการดำเนินโครงการและทีมพี่เลี้ยงให้ข้อเสนอแนะและปรับแก้เอกสารให้ถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เอกสารรายงานต่าง ๆที่จะต้องรายงานให้ สสส. ทราบได้รับการตรวจสอบ ปรับแก้ ให้ถูกต้องพร้อมที่จะเสนอ สจรส. มอ. และ สสส. ต่อไป

     

    15 14

    31. ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน

    วันที่ 17 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานคณะทำงานรายงานผลการสรุปการจัดทำรายงานเอกสารต่าง ๆให้ที่ประชุมทราบ และหารือแนวทางการพัฒนาโครงการที่จะขอรับทุนจาก สสส. ในปีต่อไป โดยจะขอใช้ประเด็นความมั่นคงทางอาหารเป็นประเด็นหลักในการดำเนินงานในปีต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ที่ประชุมรับทราบผลการจัดทำรายงานต่าง ๆ และเสนอแนะให้มีการเพิ่มรูปกิจกรรมเข้าไปในรายงานเพิ่มขึ้น ในส่วนของโครงการใหม่ที่ประชุมเห็นด้วยที่จะใช้ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร แต่อยากให้เป็นโครงการใหญ่ที่ทำทั้งตำบล โดยอาจขอทุนจาก สสส. หรือกองทุนสุขภาพตำบลก็ได้ หรืออาจให้ทาง อบต. เป็นผู้จัดสรรทุน โดยมอบให้ประธานไปหารือกับนายก อบต. อีกครั้งหนึ่งว่าจะขอรับการสนับสนุนจากแหล่งทุนไหนดี

     

    25 20

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1.เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการปรับพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภค
    ตัวชี้วัด : 1. จำนวนคนที่เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของโครงการ อย่างน้อย 120 ครัวเรือน จากจำนวนครัวเรือนเป้างหมาย 150 ครัวเรือน 2. จำนวนครั้งในการจัดกิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชน มีการประชุมติดตามผลการดำเนินงานทุกเดือน 3. ฐานข้อมูลด้านการบริโภคของชุมชนบ้าน มีการสำรวจข้อมูลรับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมโครงการโดยกำหนดรับสมัคร 50ครัวเรือนร่วมกันวางแผนทำกิจกรรมสำรวจข้อมูลพื้นฐานของครัวเรือนที่สมัครเข้าร่วมโครงการ โดยสอบถามเรื่องการปลูกผักในครัวเรือนหรือไม่ มีการใช้สารเคมีหรือไม่ รายจ่ายของครอบครัว พฤติกรรมการบริโภค การใช้ชีวิตประจำวันให้แต่ละครัวช่วยตอบและคณะทำงานเก็บรวบรวมเพื่อเตรียมรวบรวมข้อมูลและนำเสนอในเวทีครั้งต่อไป
    • จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการมากกว่าเป้าหมายที่กำหนด คือมีครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ 165 ครัวเรือน
    • มีกิจกรรมการร่วมกันของชุมชนเกือบประจำทุกเดือน แต่มีบางเดือนที่ไม่สามารถจัดได้เนื่องจากมีกิจกรรมขององค์กรอื่นเข้ามาในชุมชนมาก
    • ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการบริโภคของคนในชุมชนโดยเฉพาะการบริโภคผักว่าคนในชุมชนนิยมกินผักอะไร และใช้ข้อมูลนี้ในการนำพันธุ์ผักมาปลูกในแปลงผักชุมชน
    2 2.เพื่อให้เกิดรูปแบบกิจกรรมการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการผลิตและกลไกการตลาดเพื่อการบริโภคให้เอื้อต่อสุขภาวะของคนในชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1 จำนวนครัวเรือนที่ปรับปรุงวิธีการผลิตจากกระบวนการเดิมเป็นกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย ไม่น้อยกว่า 150 ครัวเรือน จากทั้งหมด 300 ครัวเรือน 2. จำนวนประชาชนในชุมชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในตลาดอาหารปลอดภัยชุมชน ทั้งผู้ผลิต ผู้จำน่าย และผู้ซื้อ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมด
    • มีครัวเรือนที่ร่วมผลิตอาหารปลอดภัยจำนวน 165 ครัวเรือน ซึ่งบรรลุตามวัตถุประสงค์
    • ประชาชนในหมู่บ้จำนวนประจำนวนมากกว่าร้อยละ 50 เข้ามามีส่วนร่วมในตลาดนัดของชุมชน โดยส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในฐานะผู้ซื้อ มีผู้ขายจำนวน 23 ราย
    3 3. เพื่อให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนตลาดอาหารปลอดภัยชุมชนอย่างยั่งยืน
    ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. จำนวนเครือข่ายที่เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการบริหารจัดการตลาดอาหารปลอดภัยชุมชน ไม่น้อยกว่า 15 คน 2. ข้อตกลงร่วมหรือแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการตลาดอาหารปลอดภัยชุมชน ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ตลาดสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง

    เกิดข้อตกลงร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการแปลงผักชุมชนและตลาดนัดสีเขียวของชุมชน โดยกำหนดกติการ่วมกัน เช่นการเก็บผักต้องนำเมล็ดพันธุ์มาคืนเท่าจำนวนต้นที่เก็บไป หรือการนำสินค้ามาขายในตลาดต้องเป็นสินค้าที่ครัวเรือนผลิตเองและเป็นสินค้าเกษตรอินทรีย์ซึ่งมีคณะกรรมการในการบริหารกองทุนตลาดนัดชุมชนจำนวน 25 คน มาจากตัวแทนของ อบต.ตัวแทนท้องที่ และตัวแทนครัวเรือน

    4 4.เพื่อกำกับติดตามและประเมินผลโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1.จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับสสส.และสจรส.

    เข้าร่วมกิจกรรมกับ สจรส. และทีมพี่เลี้ยงในพื้นที่จำนวน 2 ครั้ง ซึ่งน้อยกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการปรับพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภค (2) 2.เพื่อให้เกิดรูปแบบกิจกรรมการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการผลิตและกลไกการตลาดเพื่อการบริโภคให้เอื้อต่อสุขภาวะของคนในชุมชน (3) 3. เพื่อให้เกิดกลไกการขับเคลื่อนตลาดอาหารปลอดภัยชุมชนอย่างยั่งยืน (4) 4.เพื่อกำกับติดตามและประเมินผลโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ โครงการตลาดอาหารปลอดภัยของชุมชน ม.13 บ้านนา ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง

    รหัสโครงการ 57-01424 รหัสสัญญา 57-00-0952 ระยะเวลาโครงการ 1 มิถุนายน 2557 - 30 มิถุนายน 2558

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    เกิดกระบวนการใหม่ในชุมชน คือการทำงานร่วมกันระหว่างท้องที่คือผู้ใหญ่บ้านท้องถิ่นคือองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเต่า และท้องทุ่ง คือเครือข่ายประชาสังคมในพื้นที่ตำบลเกาะเต่า มาทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารให้เกิดขึ้นในชุมชนบ้านนา

    กิจกรรมการดำเนินงานร่วมกันของ 3 ภาคส่วน

    จะต้องมีการดำเนินการร่วมกันอย่างต่อเนื่องโดยขยายประเด็นจากแปลงผักชุมชน ไปสู่ฟาร์มผลิตเนื้อสัตว์ชุมชน หรืออาหารประเภทอื่น ๆ เพื่อให้เกิดชุมชนมั่นคงทางอาหารอย่างแท้จริง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดกลุ่มบริหารจัดการแปลงผักชุมชนและกลุ่มบริหารจัดการตลาดนัดสีเขียวชุมชน ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันของชาวบ้านที่มีผลประโยชน์ร่วมกันในการบริหารจัดการแปลงผัก มีสมาชิก 93 ราย ส่วนการบริหารจัดการตลาดมีตัวแทนจาก อบต. มาร่วมเป็นคณะทำงานในกลุ่มด้วย

    รายชื่อสมาชิกกลุ่มผลิตผักปลอดสารพิษชุมชนบ้านนา

    สร้างกิจกรรมหรือกติกาต่าง ๆ ของกลุ่มอย่างต่อเนื่องและอาจต้องเชื่อมโยงภาคีอื่นๆ เข้ามาร่วมกลุ่มให้มากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    มีการส่งเสริมการบริโภคอาหารปลอดภัยโดยใช้ฐานผักปลอดสารพิษที่ชุมชนผลิตได้เอง มาสร้างเป็นเมนูสุขภาพ ซึ่งได้รับความรู้ที่ถูกต้องจากนักวิชาการด้านโภชนาการจากมหาวิทยาลัยทักษิณ ทำให้ได้เมนูที่ถูกปาก ถูกสุขภาพ ถูกใจคนในชุมชน

    แปลงผักปลอดสารพิษและเมนูอาหารปลอดภัยชุมชนบ้านนา

    ขยายผลเมนูสุขภาพไปยังส่วนราชการหรือโรงเรียนในพื้นที่เพื่อให้เป็นเมนูหลักในการบริโภคของนักเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    ชุมชนมีการปรับวิถีชีวิตจากเดิมหาซื้อวัตถุดิบในการทำอาหารจากตลาดหรือห้างสรรพสินค้า มาหาซื้อในตลาดนัดชุมชน ซึ่งได้ท้งของดีและราคาถูก และมีหลายครอบครัวที่เริ่มปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก เป็นการปรับวิถีชีวิตสู่ชีวิตพอเพียง

    กิจกรรมตลาดนัดสีเขียวชุมชน

    ส่งเสริมให้ครัวเรือนปรับวิถีชีวิตเพิ่มการเลี้ยงวัตว์และปลูกสมุนไพรไว้บริโภค เพื่อการพึ่งตนเองสร้างความมั่นคงทางอาหารระดับครัวเรือนอย่างแท้จริง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    โครงการตลาดอาหารปลอดภัยของชุมชน ม.13 บ้านนา ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง จังหวัด พัทลุง

    รหัสโครงการ 57-01424

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายอนันต์ ทิพย์รักษ์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด