directions_run

บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ (ต่อเนื่อง)

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ (ต่อเนื่อง) ”

ศาลาอเนกประสงค์หมู่บ้านนากวด

หัวหน้าโครงการ
นาย สุรศักดิ์ ขิตนาคินทร์

ชื่อโครงการ บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ (ต่อเนื่อง)

ที่อยู่ ศาลาอเนกประสงค์หมู่บ้านนากวด จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 57-01431 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0744

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 พฤษภาคม 2557 ถึง 19 มิถุนายน 2558


กิตติกรรมประกาศ

"บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ (ต่อเนื่อง) จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ศาลาอเนกประสงค์หมู่บ้านนากวด

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ (ต่อเนื่อง)



บทคัดย่อ

โครงการ " บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ (ต่อเนื่อง) " ดำเนินการในพื้นที่ ศาลาอเนกประสงค์หมู่บ้านนากวด รหัสโครงการ 57-01431 ระยะเวลาการดำเนินงาน 20 พฤษภาคม 2557 - 19 มิถุนายน 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 182,615.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 100 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการวัดนาท่อม สภานักเรียนโรงเรียนวัดนาท่อม สู่หลักคิด" บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่"
  2. 2. เพื่อใช้หลัก บวร ไตรพลังสร้างสุขฯเป็นเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนนากวดอย่างมีคุณภาพ ด้านสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
  3. 3. เพื่อพัฒนากลไก บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้่านนากวดน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง ด้วยข้อตกลงร่วมกัน กฎกติกาอยู่ร่วมกัน และมีบทบาทหน้าที่แต่ละฝ่าย
  4. 4.การบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลตัวชี้วัดเข้าร่วมกับสสส.

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศน์โครงการ

    วันที่ 15 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00- 15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เรียนรู้วิธีการติดตามและประเมินผลโครงการ และการรายงานผ่านเว็บไซต์ "คนใต้สร้างสุข"ด้วยวิธีการปฏิบัติงานจริงในการลงบันทึกข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ได้เรียนรู้การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการ 2.ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสารและประชาสัมพันธุ์การดำเนินงาน 3.ได้เรียนรู้แหล่งการจัดทำข้อมูลผ่านเว็บไซต์คนใต้สร้างสุข

     

    2 2

    2. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพและและติดตามรายงานผลร่วมกับทีมพี่เลี้ยง

    วันที่ 7 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00-17.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมพี่เลี้ยงสอนแนะนำการคีย์ข้อมูล
    ฝึกการรายงานข้อมูลกิจจกรรมของโครงการในระบบ สร้างความเข้าใจ แก้ไขปัญหา  ในส่วนที่ยังไม่เข้าใจโดยทีมพี่เลี้ยง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รายงานข้อมูลในระบบได้ถูกต้อง มีความเข้าใจในการดำเนินงาน  การรายงานมากขึ้น สามรถนำความรู้ไปบริหารจัดการโครงการให้เกิดประสิทธิภาพเป็นไปตาปฏิทินที่กำหนดไว้

     

    2 2

    3. ประชุมเปิดโครงการสร้างความเข้าใจกิจกรรม

    วันที่ 15 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วิทยากรเกริ่นนำความสำคัญของการสร้างชุมชนน่าอยู่ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ปัญหาของชุมชนบ้านนากวด โดยเฉพาะปัญหาการจัดการขยะ การสร้างแนวคิดการทำงานร่วมกันภายใต้ หลักคิด บวร คือบ้าน วัด โรงเรียน
    • ผู้รับผิดชอบโครงการ เล่าถึงความเป็นมาของโครงการ ชมวิดีทัศน์ผลการดำเนินงานโครงการที่ได้ทำมาในรอบที่แล้ว  และความสำคัญ วัตถุประสงค์ เป้าหมายของการทำโครงการ บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่
    • ตัวแทนสภานักเรียน  ประธานคณะกรรมการวัดนาท่อม  คณะกรรมการสถานศึกษา  ตัวแทนหมู่บ้าน  ให้ความคิดเห็นการดำเนินงานตามโครงการ
    • พี่เลี้ยง สรุปหลักคิดบวร
    • ผู้รับผิดชอบโครงการสรุป  และแจ้งกิจกรรมที่ต้องทำครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้เข้าร่วมเข้าใจหลักการทำงานภายใต้โครงการบวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวกน่าอยู่
    • เกิดพลังจิตอาสาในการทำงาน พัฒนางานของส่วนรวม
    • สามารถรับรู้ได้คึงศักยภาพพื้นฐานของชุมชน วัด โรงเรียน
    • ชุมชน วัด โรงเรียน มีความพร้อมในการทำกิจกรรม  รู้บทบาทการเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนโครงการ

     

    100 90

    4. จัดทำป้ายสถานที่นี้ไม่สูบบุหรี่

    วันที่ 15 สิงหาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทุกกิจกรรมทุกสถานที่ดำเนินกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สามารถดำเนินการปิดป้ายห้ามสูบบุหรี่ได้ทุกกิจกรรมที่ทำ

     

    0 0

    5. เวทีเรียนรู้การทำสือสาธารณะเผยแพร่โครงการ สจรส

    วันที่ 17 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เรียนรู้การทำสื่อเพื่อเผยแพร่โครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ได้เรียนรู้ช่องทางการเผยแพร่ผลงานโครงการ ผ่านช่องทางที่หลากหลาย  กับสังคมออนไลค์ และช่องทางที่คน กลุ่มคน กิจกรรมเป็นสื่อ

     

    2 2

    6. ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างและพัฒนาข้อตกของชุมชน

    วันที่ 27 ตุลาคม 2557 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน  ผอ.โรงเรียน กรรมการหมู่บ้าน -ออกแบบกิจกรรม โครงการโดยภาพรวมทั้งหมดว่าโครงการต้องการอะไร -ออกแบบกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ วัดต้องทำกิจกรรมอะไรบ้าง ในการเป็นแหล่งเรียนรู้ ใช้ข้อมูลอะไรบ้าง,โรงเรียนทำธนาคารขยะ สร้างขบวนการอย่างไร ,โครงการสืบชะตาคลองนาท่อม ทำอย่างไร ออกแบบร่วมกับคณะทำงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรรมการหมู่บ้าน วัด และโรงเรียน เข้าใจกรอบการทำงาน หลักบวร ตาม ที่โครงการนำเสนอและออกแบบทำกิจกรรม

     

    30 15

    7. ประชุมคณะทำเพื่อออกแบบสำรวจข้อมูลชุมชนบ้านนากวด

    วันที่ 30 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -นายสุรศักดิ์ ขิตตนคินทร์ ผู้ใหญ่บ้าน  รายงานความก้าวหน้าโครงการและบอกกล่าวซ้ำโครงการให้คณะทำงานเข้าใจว่าโครงการทำ บวร  3 เรื่องหลัก  คือ โรงเรียนทำธนาคารขยะ  วัด ทำวัดให้เป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน  ส่วนบ้านทำแหล่งเรียนรู้สืบชะตาคลองนาท่อม -ปลัดจริยา  จันทร์ดำ ปลัดอำเภอด้านปกครอง  ให้ความรู้การออกแบบชุมชนในรูปแบบ หมู่บ้านที่บริหารโดยกรรมการหมู่บ้าน ที่มีการคัดเลือกกรรมการจากกลุ่มบ้านและหัวหน้ากลุ่มเพื่อร่วมกันสร้างสวัสดิ์ -นางวิภา  พรหมแทน หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาลตำบลนาท่อม  ให้ความรู้กระบวนการทำแผนชุมชน 8 ขั้นตอน และหลักคิดโครงการสืบชะตาคลองนาท่อม และการจัดกิจกรรมรณรงค์ -นายถาวร  คงศรี พี่เลี้ยงพื้นที่ ได้สรุปกิจกรรมภาพรวมโครงการ สรุปกิจกรรมที่วันนี้ เพื่อให้กรรมการ 3 ฝ่าย(บวร) เข้าใจทิศทางการทำงานให้ประสบความสำเร็จ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กระบวนการทบทวนแผนชุมชนบ้านนากวดเพื่อต้องการปรับใช้ให้เกิดรูปธรรมโดยการ

    1. บริหารบ้านนากวดโดยกรรมการหมู่บ้านแบ่งเป็นฝ่ายต่าง ๆ  7 ฝ่าย โดยมีที่มาของการคัดเลือก และกำหนดให้มีบทบาท หน้าที่แต่ละด้าน
    2. เรื่องการทบกระบวยการทบทวนแผนชุมชน 8 ขั้นตอน วันนี้เป็นการประชุมสร้างความเข้าใจ  ออกแบบข้อมูล เพื่อให้เด็กเยาวชนเก็บจะได้เรียนรู้ชุมชนด้วย
    3. ผอ.โรงเรียนวัดนาท่อม รู้และเข้าใจโครงการ บวร ไตรพลัง และยินดีที่จะทำธนาคารขยะในโรงเรียนวัดนาท่อม
    4. ประธาน กรรมการวัด นายสมัย หมวดมณี ก็ยินดีในการสร้างให้วัดเป็นแหล่งเรียนรู้ ของชุมชน
    5. ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีหลังจากประชุมเสร็จได้ร่วมกันเก็บขยะในที่สาธารณะ ถนนหน้าวัดนาท่อม

     

    40 45

    8. ติดตามผลการรายงานร่วมกับพี่เลี้ยงและสจรส

    วันที่ 5 พฤศจิกายน 2557 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -รายงานผ่านเว็ปคนใต้สร้างสุข -รายงานการเงิน -การเขียนเอกสารการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การบัญทีกบัญและรายงานการเงินยังไม่เรียบร้อย ยังไม่สามารถออกรายงานได้

     

    2 1

    9. พัฒนาแหล่งเรียนรู้สืบชะตาคลองนาท่อม

    วันที่ 6 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 - 22.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    5-6 พฤศจิกายน 2556 เป็นกิจกรรมที่ทำงานร่วมกันหลายหน่วยงาน เทศบาลจัดงานลอยกระทง โดยสภาวัฒนธรรม ชมรมอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม โรงเรียนนำเด็กเก็บขยะเรียนรู้กับชุมชน -5 /11/57 กิจกรรมรณรงค์และพัฒนานิเวศน์บริเวณคลองนาท่อม  13.30-18.30
        13.00 น ผู่้เข้าร่วมพร้อมกันที่หน้าวัดนาท่อม     13.30  น ชี้แจงรายละเอียดโครงการ แบ่งงาน มอบหมายภารกิจ     13.30 - 17 น กิจกรรมรณรงค์และพัฒนาสภาพนิเวศ บริเวณคลอง 4 กรรมย่อย คือ เก็บขยะ(ตามหลัก 3 R)  ปลูกไม้(ตัดหญ้า) ปล่อยปลา(ให้อาหารปลา) ขยายผล
    -6/11/57  งานสืบสานอนรักษ์ประเพณีลอยกระทงตำบลนาท่อม ณ . ท่านำ้วัดนาท่อม หมู่ที่ 7  บ้านนากวด     -14.00  ส่วนราชการ กลุ่มองค์กร จัดเตรียมงาน จัดนิทรรศการของ โครงการ บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ ร่วมกับนิทรรศการขยะ     -15.00  บอกเล่าประวัติความสำคัญของคลองนาท่อม โดยผู้อาวุโส,กิจกรรมรณรงค์เยืยมและเยี่ยมชมนิทรรศการ     -18.00  น  พระสงฆ์ประธาน คณะผู้บริหารเทศบาล  สมาชิกสภาเทศบาล  กำนันผู้ใหญ่บ้าน และประชาชน  (พิธีขอขมา สืบชะตาคลองนาท่อม)                 ประธาน(กำนันอนุชา เฉลาชัย)ในพิธีกล่าวคำปฏญญา,พระสงฆ์ให้ศิล,พระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา     -18.40  พิธีลงนามปฏิญญาร่วมระหว่างนายกเทศมนตรี  กำนันตำบลนาท่อม  ประธานสภาเทศบาล                 -เป็นการแสดงบนเวทีและตอบคำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ภายใต้โครงการสืบชะตาคลองนาท่อม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -นิทรรศการ โครงการบวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเห็นกิจกรรม 3 R เช่น ผู้ลงทะเบียนจะได้อาหารปลาให้ปลาในคลอง แล้วนำแก้วกลับมาใช้ซ้ำใหม่  เป็นการลดขยะ -ผู้ใหญ่ที่มีความรู้เกี่ยวกับประวัติบ้านนากวด  ประวัดคลองนาท่อมจากที่เคยทิ้งขยะเป็นที่แข่งเรือและลอยกระทง  และเล่าเรื่องราวชุมชน
    -คำกล่าวปฏิญญาของกำนันอนุชา ที่เชิญชวนผู้เข้าร่วมงานจำนวนมากกล่าวคำปฏิญญาร่วมกันหลังจากพิธีพระ เสร็จแล้วลงนามปฏิญา -ผลจากการจัดกิจกรรมครั้งนี้ หลังจากจบกิจกรรม       -ขยะที่เคยมีจำนวนมาก ครั้งนี้ลดลงแทบไม่มีเพราะมีการคุยเป็นระยะ ๆ บนเวที       -ได้ชุดนิทัศการสืบชะตาคลองนาท่อม 1 ชุมไว้นำเสนอในกิจกรรมครั้งต่อไป       -ประชาชนจำนวน 8 หมู่บ้านได้รู้ เข้าใจ แหละเห็นกิจกรรมสืบชะตาคลองนาท่อม เป็นประโยชน์ในการขยายผลกิจกรรมไปพื้นที่อื่น

     

    70 79

    10. ศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบการจัดการ บวร และการจัดทำแผนชุมชน

    วันที่ 19 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เป็นโครงการศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบที่มีการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ เรื่อง ธนาคารขยะในโรงเรียน -ดูกระบวนการ ขั้นตอน  วิธีการ แล้วนำมาดำเนินการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -คณะทำงานโครงการบวร ได้รับความรู้ตามที่ต้องการ จากการ AAR พบว่า -เด็กนักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น สามารถถ่ายทอดเรื่องธนาคารขยะได้  สามารถรู้วิธีการคัดแยกขยะ ขยะมี 4 ประเภท แต่ละประเภทมีอะไรบ้างเด็กอธิบายได้ -โรงเรียนนาทวีมีกิจกรรมจำนวนมากเพื่อสนับสนุนการเป็นโรงเรียนปลอดขยะ ซึ่งผลสรุปของการศึกษาดูงาน ชุมชนต้องสร้างกิจกรรมจำนวนมากเพื่อให้ชุมชนหรือโรงเรียนได้ผลในการเป็นสถานที่ปลอดขยะและต้องทำอย่างต่อเนื่อง  

     

    45 54

    11. รณรงค์สร้างจิตสำนึกสาธารณะของคนในชุมชนเตรียมงานเฉลิม

    วันที่ 4 ธันวาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เป็นการพัฒนาพื้นที่โดยชุมชน ใช้ในวันสำคัญ คือ วันที่ 5 ธันวาคม 2557  เป็นกระบวนการสร้างจิตสำนึก การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน และมีหน่วยงานอื่นเข้ามารร่วมให้งานสำเร็จ คือ เทศบาลตำบลนาท่อมนำวัสดุอุปกรณ์มาช่วยเหลือ  ขั้นตอนการดำเนินการ ชุมชนช่วยพัฒนาวัดร่วมกับพระ  โรงเรียนเด็กมาร่วมกัยเก็บกวาดขยะในวัด ส่วยชุมชนร่วมกันพัฒนาหน้าวัด บริเวณ ริมคลอง ริมถนนสาธารณะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การทำงานที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของ วัด บ้าน โรงเรียน เทศบาล ทำงานร่วมกันได้  จนงานเวที การจัดเวที การพัฒนาบริเวณภายนอก การผูกผ้าของกลุ่มจิตอาสาสมัค

     

    40 40

    12. ประชุมคณะทำงานบวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู

    วันที่ 9 ธันวาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สร้างความเข้าใจกับที่ประชุมต่อการจัดกิจกรรมและการทำงานร่วมกันของ ชุมชน  วัด  และโรงเรียน -แหล่งเรียนรู้ธนาคารขยะ วิธีการ คณะกรรมการหมู่บ้าน ร่วมกับเทศบาลตำบลนาท่อม จะจัดเวลาสร้างการเรียนรู้ให้เด็กโรงเรียน วันพุธ เวลา บ่าย 2 โมง โดย ผอ.โรงเรียนเห็นด้วยและให้ความร่วมมือ -แหล่งเรียนรู้สืบชะตาคลองนาท่อม จะใช้ศาลาการประชุมหมู่ที่ 7 เป็นที่ทำการเรียนรู้  เพราะเป็นสถานที่ที่ใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การรณรงค์เก็บขยะ  ปลูกไม้  เขตอภัยทาน มีป้ายแสดงทั้งบริเวณริมคลอง  ริมถนน บอกเขตอภัยทานขยะ  ป้ายปทิญญาของผู้นำดูแลสิ่งแวดล้อม -แหล่งเรียนรู้ วัดนาท่อมเป็นศูนย์เรียนรู้ ชุมชนสืบสานวัฒนธรรม โดยกำหนดนายสมัย  หมวดมณีประธานสภาวัฒนธรรม และหัวหน้าชมรมผู้สูงอายุ เป็นคนต้นแบบ เล่าเรื่อง นำเที่ยว ชวนคุย เจ้าอาวาส พระสนองธรรมพุธโธ เห็นด้วยร่วมให้ใช้สถานที่ เหมาะการทำพิพิทภัณฑ์ชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการประชุมสร้างความเข้าใจให้วัด  โรงเรียน  และชุมชนได้ทราบและเข้าใจร่วมกัน -โรงเรียนวัดนาท่อม ผอ นางจิตลดา  ทองคำ  ได้มอบห้องใช้ในการนำเสนอธนาคารขยะ  และมีแผนการเรียนรู้กระบวนการจัดการขยะ 3R  โดยกรรมการหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่เทศบาลร่วมกันสอนให้เด็กเรียนรู้จนถ่ายทอดได้ ในทุกวันพุทธเวลา 14.00 น -วัดโดยใช้วัดนาท่อมเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนตำบลนาท่อม โดยผลจากการหารือร่วม ท่านเจ้าอาวาสให้ใช้วัดเป็นที่ทำกิจกรรม เป็นพภิพิทธภัณฑ์ของชุมชน -สำหรับศาลาหมู่ที่ 7 จะใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ กิจกรรมสืบชะตาคลองนาท่อม เพราะเป็นพื้นที่รวมกิจกรรมให้เห็นได้ทุกกิจกรรม

     

    50 45

    13. กิจกรรมพัฒนากลุ่มนากวดน่าอยู่เป็นกลุ่มจิตอาสาพัฒนานากวด

    วันที่ 24 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -เรียนภาคความรู้การจัดการภัยพิบัติทั่วไป ทางนำ้ และการปฐมพยาบาล เพื่อเตรียมความพร้อมในงานประเพณีแข่งขันเรือพายที่จะมี เดือนเมษายน 58 -ฝึกภาคปฏิบัติจริงในการปฏิบัติจริงเมือเกิดภัย และการช่วยเหลือ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ชุมชนได้ความรู้ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ จากการมาใช้สถานที่ฝึกที่คลองนาท่อม
    -กรรมการหมู่บ้าน  ผู้ใหญ่บ้าน และอาสาสมัครคนใหม่ได้ร่วมเรียนรุ้ ทำให้ชุมชนมีบุคคลที่มีความรู้ ความพร้อมเรื่องการจัดการภัยพิบัติเพิ่มขึ้่น -เป็นกิจกรรมที่สอดคล้องพับพื้นที่ นำมาปรับใช้ในช่วงประเพณีแข่งขันเรือพายได้อย่างดีและนำไปปรับใช้กับเรื่องภัยพิบัติในชุมชน

     

    65 65

    14. ประชุมสภาแกนนำ

    วันที่ 26 ธันวาคม 2557 เวลา 17:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมจัดเตรียม และออกแบบการทำกิจกรรม ใช้เด็กเป็นสื่อ ในการสร้างจิตสำนึก โดยการเรียนรู้ของเด็ก ให้เด็กเรียนรู้  เก็บข้อมูล สัมภาษณ์ กับผู้รู้ในชุมชน โดยที่แกนนำเป็นพี่เลี้ยง 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้แผนปฏิบัติการ ได้ออกแบบกิจกรรม หนังสือเล่มเล็กเด็กเล่าเรื่อง  ได้แก้ เรื่องเรื่อง ตลาดนาท่อม100 ปี  เรื่องประวัติเจ้าอาวาสตาหลวงเหลื่อม  เรื่องกว่าจะเป็นวังมัจฉา เรื่องประวัติโรงเรียนวัดนาท่อม  สถานที่ในการใช้ทำกิจกรรม ได้เป้าหมายเรื่องที่จะให้เด็กได้ศึกษา ได้แกนนำพี่เลี้ยงเด็ก

     

    15 15

    15. กิจกรรมเด็กและเยาวชน ทำหนังสือเล่มเล็กเด็กเล่าเรื่องชุมชน (1)

    วันที่ 27 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.สร้างความเข้าใจกับเด็กและเยาวชน 2.กำหนดเรื่อง 4 เรื่องให้เด็กไปเก็บข้อมูลร่วมกับพี่เลี้ยง 3. เด็กลงพื้นที่สัมภาษณ์เก็บข้อมูล 4. เด็กนำมาเรียบเรียงเขียนเป็นเรื่องเล่าแต่ละกลุ่มนำเสนอ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -กิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุกับเด็กและสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน -เด็กได้รู้จักคน รู้จักชุมชน รู้ประวัติความเป็นมาของเรื่องที่เก็บข้อมูล -ชุมชนได้เรื่องเล่าจากการเก็บข้อมูลของเด็ก 4 เรื่อง -เด็กมีจิตสำนึกรักหวงแหน ทรัพยากรในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น -ชุมชนได้ทำงานร่วมกับเทศบาลกับเด็กและเยาวชนในช่วงวันหยุดลดปัญหาเด็กใช้เวลาว่างไปในทางที่ผิด

     

    40 40

    16. ประกวดกิจกรรมหมู่บ้านสวยเมืองสุข

    วันที่ 7 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เป็นการประเมินการขั้นตอนปฏิบัติงานของหมู่บ้านที่มีการบริหารจัดการเป็นระบบสภาแกนนำ ดีงนี้ -ผู้ใหญ่สุรศักดิ์รายงานการปฏิบัติงานในฐานะประธานและแนะนำสมาชิกสภาแกนนำแต่ละคน และบทบาทหน้าที่ -รายงานการปฎิบัติงานตาม เช็คลิตที่คณะกรรมการให้มา ในฐานะประธานอำนวยการ -และรายงานผลรูปธรรมการขับเคลื่อนคุณธรรม 12 ประการตามนโยบาย -คณะกรรมการผู้ประเมินจากจังหวัดพัทลุง จำนวน 10  คน ตั้งคำถามให้ผู้ใหญ่ และผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ สมาชิกสภาแกนนำตอบ -จากนั้นคณะกรรมการปู้ประเมินตั้งคำถามกับประชาชนเพื่อตรวจสอบว่าประชาชนรู้และเข้าใจในกิจกรรมที่ทำหรือไม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ประชาชนบ้านนากวด  เจ้าอาวาสวัดนาท่อม  และ ผอ โรงเรียนวัดนาท่อม  ทั้ง 3 ภาคส่วนเป็นความร่วมมือการการทำงานร่วมกันที่มีเทศบาลมาช่วยเสริมให้กิจกรรมเห็นผลได้ดียิ่งขึ้น -ประชาชนเข้าใจการดำเนินกิจกรรมโครงการ บวร ไตรพลังฯ กับกิจกรรมที่ทำ คือ การสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชน ที่เป็นรูปธรรมในเรื่องการจัดการขยะ ดูแลสิ่งแวดล้อม ได้แก่ในระดับครัวเรือน มีการเรียนรู้เป็นครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะด้วยวิธี 3R  โรงเรียนมีการสร้างจิตสำนึกโดยการมีตั้งเป็นโรงเรียนปลอดขยะ กิจกรรมธนาคารขยะ  วัดนาท่อมการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วม โดยเจ้าอาวาสมีการเทศนาในกิจกรรมของวัด
    -ขยะในที่สาธารณะ ใช้กิจกรรมรณรงค์อย่างต่อเนื่อง ได้แก้ รวมประชาชนมาร่วมกันเก็บขยะบนถนนสาธารณะ  ศูนย์พัฒนาครอบครัวมีกิจกรรมครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์รณรงค์การเก็บขยะในกที่สาธารณะ คลองนาท่อมมีเขตอภัยทานปลา  บนถนมีเขตอภัยทานบยะทั้วทั้ง 8 หมู่บ้าน
    -ทุกอย่างเกิดจากกระบวนการสร้างจิตสำนึกอย่างต่อเนื่อง ทำจริง ทำบ่อย  ๆ

     

    90 90

    17. ประชุมเชิงปฎิบัติการพัฒนาสร้างกระบวนการเป็นธนาคารขยะในโรงเรียน

    วันที่ 26 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สร้างความเข้าใจรายละเอียดกิจกรรมตามแผนงาน โดย เจ้าหน้าที่เทศบาลและสภาแกนนำชุมชนร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -สภานักเรียนและคณะครูเข้าใจยินดีเข้าร่วมกิจกรรม โดยการ ให้สมาชิกสภาแกนนำชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่เทศบาลมาสอนกระบวนการทำธนาคารขยะให้นักเรียน โดยทุกวันพุธ เวลาบ่าย 2 ทางโรงเรียนจะจัดเป็นชั่วโมงกิจกรรม -ทางสภาแกนนำร่วมกับเจ้าหน้าที่ของเทศบาลบางลำดับขั้นตอนไว้ดังนี้ 1. แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 4  กลุ่ม กลุ่มขยะอินทรีย์  กลุ่มขยะรีไชค์เคิล  กลุ่มขยะทั่วไป  กลุ่มขยะอันตราย และกำหนดการจัดการขยะด้วยวิธี 3R 2. หลังจากการสอนการคัดแยกเสร็จ สู่การเรียนรู้วิธีการจัดการขยะ ทั้ง 4 ประเภท 3. ขยะรีไซด์เคิล เป็นขยะที่ขายได้ มาเรียนรู้การจัดตั้งธนาคารขยะ เตรียมสถานที่  เตรียมคน เตรียมอุปกรณ์ ทดสอบกระบวนการ และรับซื้อขยะจริง 4. ทำการรณรงค์ขยะแลกไข่ และ เปิดดำเนินการธนาคารขยะที่โรงเรียนโดยเด็กนักเรียน

     

    85 85

    18. โรงเรียนวัดนาท่อมเรียนรู้การจัดการขยะอินทรีย์ ครั้งที่ 2

    วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ทีมพี่เลี้ยงนักเรียนสอนการคัดแยกและการจัดการขยะอินทรีย์ -ขยะอินทรีย์คืออะไร  เมื่อคัดแล้วนำไปทำอะไรได้บ้าง -การทำปุ่ยหมักแห้งจากใบไม้และมูลสัตว์
    -การทำปุ๋ยน้ำหมักจากเศษอาหารในครัว 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เด็กนักเรียนรู้และอธิบายเพื่อนได้ ขยะอินทรีย์คืออะไร -เด็กนักเรียนเรียนรู้ขั้นตอน และสวนผสมการทำปุ๋ยหมักแห้งและน้ำหมักชีวภาพได้

     

    60 60

    19. จัดกระบวนการธนาคารขยะในโรงเรียนวัดนาท่อม ครั้งที่ 3

    วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -คณะทำงานพี่เลี้ยงจัดสถานที่ในการนำเสนอและรับซื้อขยะ -จัดหาที่ใส่ขยะ เตรียมวัสดุอุปกรณ์ เช่น ทะเบียน สมุด กิโล  ราคาขยะ และแบ่งบทบาทหน้าที่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เด็กมีความรู้ จัดแบ่ง หน้าที่และเตรียมความพร้อมการเปิดดำเนินการธนาคารขยะ -เด็กเขาสามารถดำเนินการเองได้ โดยให้ผู้ใหญ่เป็นพี่เลี้ยงก่อนในระยะแรก และขยะก็ต้องเป็นขยะในโรงเรียนก่อน

     

    50 50

    20. ติดตามประเมินผลระหว่างการดำเนินงาน

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำเสนอรายงานความก้าวหน้าต่อที่ประชุมและบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำงาน  เช่นความรู้ กระบวนการ วิธีการดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ได้รายงานความก้าวหน้าโครงการ บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่
    -ได้บันทึกการประเมินคุณค่าในระหว่างการทำกิจกรรมโครงการเป็นระยะ -โครงการมีการดำเนินโครงการด้วยกิจกรรมที่หลากหลายแต่การบันทึกยังไม่เป็นปัจจุบัน

     

    2 1

    21. พัฒนากลุ่มนากวดน่าอยู่เป็นกลุ่มจิตอาสา

    วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -พัฒนากลุ่มนากวดน่าอยู่ให้ฝึกผูกผ้า เป็นจิตอาสาช่วยเหลืองานศพผู้ด้อยโอกาส
    -กลุ่มนากวดน่าอยู่รวมตัวกันผลิดยาหม่อม ใช้นวดยามปวดเหมือย เข็ด เวลาหกล้ม -สนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์การทำเกษตรกับโรงเรียน ในการทำเกษตรพอเพียง คู่กับการจัดการขยะอินทรีย์เพื่อใช้ทำปุ๋ยหมักแห้ง  และน้ำหมักชีวภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -กลุ่มนากวดน่าอยู่ สามารถรวมตัวกันช่วยเหลือคนยากไร้ ด้อยโอกาสในชุมชน จากกิจกรรมผูกผ้าในงานศพ และสามารถทำผลิตภัณฑ์ยาหม่องไว้แจกจ่ายเป็นยาสมุนไพรประจำบ้าน -โรงเรียนได้พัฒนาต่อยอด ในการจัดการขยะ โดยวิธี 3 R เรื่องการจัดการขยะอินทรีย์ ในการทำปุ๋ยหมักแห้ง และน้ำหมักเพื่อใช้กับเกษตรของโรงเรียนวัดนาท่อม
    -กลุ่มนากวดน่าอยู่ พัฒนากลุ่มเป็นกลุ่มจิตอาสาช่วยเหลือชุมชนได้หลากหลายกิจกรรมที่เกิดขึ้นไม่ว่า วัดโรงเรียน หรือเทศบาล ส่วนโรงเรียนนักเรียนต่อยอดจากธนาคารขยะสู่แปลงผักในโรงเรียนด้วยปุ็ยที่นักเรียนเรียนรู้วิธีทำและวิธีใช้ -ส่วนวัดเจ้าอาวาสได้ให้ความร่วมมือในการขยายผล ประชาสัมพันธ์ และ เจ้าอาวาสได้ใช้เวลาเทศน์ให้ความรู้ในวันสำคัญเรื่อง ของบวร ไตรพลังเรื่องการกินเพื่อสุขภาพเรื่องสิ่งแวดล้อม

     

    65 58

    22. ประชุมสภาแกนนำและสภานักเรียน

    วันที่ 7 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เจ้าหน้าที่เทศบาลและสภาแกนนำบ้านนากวดที่รับผิดชอบการจัดกระบวนการธนาคารขยะ จัดทำเอกสารนำเสนอ ให้กับสภาเด็กนักเรียนที่จะเป็นคนนำเสนอ โดยแยกเป็น
    - นำเสนอภาพรวมธนาคารขยะ ถึงหลักคิด - นำเสนอขั้นตอนวิธีการในการรับฝาก- ถอนของธนาคารขยะ - นำเสนอการวางคน ตำแหน่ง และบทบาทหน้าที่ของแต่ละคน - ฝึกการนำเสนอและสาธิตของเด็ก ๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สิ่งที่ได้จากการประชุม -สภาเด็กนักเรียนสามารถอธิบายขั้นต้อนการรับฝาก ถอน ธนาคารขยะได้ -สภาแกนนำที่เป็นพี่เลี้ยงมีความตั้งใจในการสอนและช่วยเหลือเด็กได้อย่างมีความรับผิดชอบ -เด็กที่ได้รับการศึกษาดูงานและมาฝึกทำที่โรงเรียนมีความมั้นใจและอยากเป็นผู้นำเสนอให้เพื่อน ๆ ดู -เด็นนักเรียนสามารถทำธนาคารขยะได้จริง ในวัดนเปิดธนาคาร

     

    20 20

    23. การวิเคราะห์ข้อมูลชุมชนเพื่อปรับปรุงแผน

    วันที่ 9 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เจ้าหน้าที่จากเทศบาลตำบลนาท่อม ให้ความรู้เรื่องการทำแผนที่ดีของชุมชนแบบมีส่วนร่วม -วิทยากรนำเสนอขั้นตอนการจัดทำแผนเป็นการร่วมกันเรียนรู้ทบทวนให้เห็นกระบวนการของการทำแผนชุมชน -สร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนในการนำเสนอข้อมูลเพื่อนำมาปรับข้อมูลในแผนชุมชนของบ้านนากวด -มีการจัดแยกหมวดหมู่ ของกิจกรรมใน แผนแบ่งเป็นด้านคุณภาพชีวิต และด้านพื้นฐานสาธารณะประโยชน์ -มีการจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมที่นำเสนอผ่านที่ประชุมผ่านการมีส่วนร่วมเพื่อนำไปใส่ไว้ในบัญชีของแผนชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -สภาแกนนำชุมชนบ้านนากวดและประชาชน ได้เรียนรู้กระบวนการทำแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม -สภาแกนนำชุมชนบ้านนากวด ใช้แผนชุมชนเป็นเครืองมือในการทำงานพัฒนาชุมชน โดยผ่านกระบวนการทางข้อมูล -ประชาชนได้แสดงความเป็นเจ้าของชุมชน โดยการเสนอข้อมูลเพื่อนำมาใช้ปรับปรุงแผนชุมชนบ้านนากวด ด้านคุณภาพชีวิตและด้านสาธารณูปโภคพื้นฐาน

     

    40 37

    24. ติดตามหนุนเสริม การทำงานร่วมกันของ บ้าน วัด โรงเรียน (บวร ไตรพลังฯ)เป็นการติดตามหนุนเสริมแหล่งเรียนรู้ทั้ง 3 แหล่ง ครั้งที่ 1

    วันที่ 19 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของ บ้าน  วัด  โรงเรียน  เทศบาลนาท่อม และทุกหน่วยงานในพื้นที่ร่วมกับ ทีผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อ จัดโครงการ ผู้ว่าพาเข้าวัดพัฒนาคุณธรรม เป็นการสร้างการมีส่วนร่วม หรือ บวร ที่เห็นหลาย ๆ ภาคส่วนมารวมกัน ทำงานร่วมกัน ลดความขัดแย้งสร้างความพรองดอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เห็นการทำงานร่วมกันระหว่าง บวร กับภาคีหน่วยงานข้างนอก ที่ชัดและเห็นการมีส่วนร่วมของชุมชนเพิ่มขึ้น

    -โรงเรียน ทั้งครูและนักเรียนมาร่วมกิจกรรม โดยการนำปิ่นโตมาวัดและตักบาตร

    -ประชาชนมาร่วมกันนำปิ่นโตมาวัดและร่วมกันตักบาทกับผู้ว่าราชการจังหวัด ดร.วินัยบัวประดิษฐ์

    -ความร่วมมือของกลุ่มจิตอาสาบ้านนากวดจัดสถานที่ จัดดอกไม้ ผูกผ้าให้ในกิจกรรมนี้ทำโดยกลุ่มจิตอาสา

    -ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุงได้ร่วมกิจกรรมสืบชะตาคลองนาท่อม โดย ปลูกไม้ปล่อยปลา

    -สรุป เห็นการบูรณาการ หรือทำงานร่วมของ บ้าน วัดโรงเรียน ผ่านกิจกรรมชุมชน

     

    85 85

    25. ประชุมสภาแกนนำบ้านนากวด ร่วมกับสภาวัฒนธรรม เพื่อเตรียมการแข่งขันเรือนพายประจำปี 2558

    วันที่ 23 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ประชุมสร้างความเข้าใจเพื่อเตรียมงานงานการแข่งขันเรือพาย ปี /2558 จากการประสานงานของสภาแกนนำบ้านนากวด
    -เพื่อวางแผนการจัดงาน การจัดโครงสร้างความรับผิดชอบคณะทำงาน -พิจารณาหลักเกณฑ์ การกำหนดกติกา ในการแข่งขัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ได้เห็นการทำงานของสภาแกนนำบ้านนากวด ในการเตรียม วางแผนกิจกรรมในพื้นที่ -ได้เห็นการประชุม พูดคุยแลกเปลี่ยน ในการสร้างกฏ กติกา ใช้กับการแข่งขันเรือยพาย -เห็นการประสานงานของสภาแกนนำบ้านนากวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ -เห็นข้อสรุปจากการประชุมออกมาเป็นแผนงาน

     

    20 20

    26. ประสานแผนชุมชนกับหน่วยงานเทศบาลตำบลนาท่อม

    วันที่ 1 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมร่วมกับเทศบาลเพื่อประสานแผนกับเทศบาลตำบลนาท่อม
    - สภาแกนนำร่วมกับเด็กและะเยาวชนยืนยันกิจกรรมจากการประชุมหมู่บ้านนำมาเข้าสู่แผนตำบลสู่การปฏิบัติในปี'งบประมาณ 2559

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ชุมชนได้แผนชุมชนที่เกิดจากการมีส่วนร่วม 3 ฝ่ายโดยใช้กระบวนการทบทวน และผลักดันแผนสู่การปฏิบัติ -สภาแกนนำบ้านนากวดแสดงบทบาทของการขับเคลือนแผนชุมชนร่วมกับเด็กและเยาวชน

     

    40 33

    27. ประชุมสภาแกนนำบ้านนากวดและประชุมหมู่บ้าน

    วันที่ 9 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ประชุมชุมตามระเบียบวาระ โดยผู้ใหญ่เป็นประธานการประชุม โดยมีเรื่องจากทางการ อำเภอเมืองแจ้งให้ทราบ ได้แก่ เรื่องการแพร่ยาเสพติด  เรื่องการละเล่นสงกรานตร์ การใช้รถใช้ถนนในช่วงเทศกาล -เรื่องของชุมชน  ได้แก่ การเตรียมงานรถน้ำของพรแด่ผู้สูงอายุ การเตรียมงานกิจกรรมประเพณีแข่งขันเรือพายที่ท่าน้ำหน้าวัดนาท่อม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -สภาแกนนำบ้านนากวด และประชาชนมีการประชุมแลกเปลี่ยนเพื่อเตรียมงานและเพื่อจัดกิจกรรม รดน้ำผู้สูงอายุกิจกรรมการจัดการแข่งขันเรือพายประชำปีและประชุมเรื่องทั่วไปของชุมชน -ได้ทำงานร่วมกับ วัด โรงเรียน เทศบาล และวัดในการจัดกิจกรรมซึ่งทุกคน ต่างก็มีบทบาทต่อผู้สูงอายุกันทุกกลุ่มองค์กร

     

    40 30

    28. บูรณาการ บ้าน วัด โรงเรียน ทำงานร่วมกันหลายองค์การ (กิจกรรม รดน้ำผู้สูงอายุ)

    วันที่ 10 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ชุมชนโดยสภาแกนนำบ้านนากวด ช่วยจัดพื้นที่ ประสานงาน และดำนวยความสะดวก -โรงเรียนโดยเด็กนักเรียนครู ร่วมเรียนรู้ ประเพณีอันอีที่สืบทอดมายาวนาน -กลุ่มผู้ใหญ่ กำนันอำนวยความสะดวดช่วยเหลือ การประสานงานหาผู้สูงอายุเข้าร่วม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เทศบาลตำบลนาท่อมให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อเห็นชุมชนทำงานร่วมกันในรูป บวร  คือ บ้าน  วัด  โรงเรียน ทำงานร่วมกันแบบบูรณาการโดยใช้กิจกรรมรดน้ำผู้สูงอายุเป็นกิจกรรมรวมคนในวัดนาท่อม -การทำงานร่วมกัน กลไก  บวร  เห็นทุกภาคส่วนยืนมือเข้ามาร่วม  เป็นกิจกรรมสืบทอดทางวัฒนธรรมที่เด็กนักเรียนได้เรียนรู้และซึมซับ -วัดเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน โดยที่มี บ้าน  โรงเรียน เทศบาล และทุกภาคส่วน ใช้เป็นฐานในการเรียนรู้ ทำกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในชุมชน พัฒนาคุรภาพชีวิตที่มีคุณค่า เด็กได้เรียนรู้คุณค่าประเพณีวัฒนธรรมต่อสายใยชุมชน ที่สืบทอดโดยเด็ก

     

    100 200

    29. ติดตามหนุนเสริมทั้ง 3 กลุ่มในงานรณรงค์แสดงผลงาน ครั้งที่ 2

    วันที่ 13 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -สภาแกนนำบ้านนากวดได้วางแผนก่อนถึงงานในการจัดป้ายนิทรรศการ ประกาศเขตอภัยขยะริมถนนสาธารณะในพื้นที่บ้านนากวดและกิจกรรมสำหรับเด็กในศาลาหมู่ที่ 7 บ้านนากวดให้เด็กได้ทำกิจกรรม 3 วัน -ในขณะที่ทำการแข่งข้นเรือพาพายทางโฆษกได้ประกาศเป็นระยะ ๆ ถึง กติกาของชุมชน กติกาการแข่งขันเรือพาย เพื่อต้องการให้เห็นชุมชนนากวดน่าอยู่ ทุกคนต้องปฏิบัติตามกฏกติกา -หลังจากการแข่งขัน สภาแกนนำบ้านนากวดได้ประชุมเพื่อสุรปกิจกรรม การแข่งขันเรือพายและการรณรงค์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลที่ได้รับจากการรณรงค์
    -ผลจากป้ายรณรงค์ เขตอภัยทานขยะ  ถนนสวยหมู่บ้านสะอาด  หลังจบกิจกรรมแข่งขันเรือพาย ขยะริมถนนลดลง ชุมชนและคนที่เข้ามาร่วมตระหนักเพิ่มมากขึ้น วัดได้จากจำนวนขยะถูกรับผิดชอบจากแม่ค้าขายของที่แจกถุงดำให้ -ลานสร้างสุข เป็นพื้นที่สำหรับเด็กได้มีกิจกรรมในศาลาหมู่บ้านนากวด เป็นพื้นที่สำหรับเด็กได้เล่น  ผลที่ได้ เด็กได้มีพื้นที่เล่น และได้รับความสำคัญจากพ่อแม่เด็ก -มีครัวเรือนต้นแบบในชุมชนบ้านนากวดนำพืชผักที่ส่งเสริมรณรงค์ให้ปลูกกินเองนำมาจำหน่ายแลกเปลี่ยนเป็นรายได้อีกช่องทางของชุมชน -กลุ่มจิตอาสานากวด น่าอยู่ได้มีการมาผูกผ้าจัดพื้นที่เพื่อต้อนรับผู้ว่ามาเปิดงานแข่งเรือพาย และได้เป็นคณะทำงานเรือ ด้านบริการ และหน่วยรักษาความปลอดภัย เป็นผลมาจากการได้ฝึกฝนก่อนจากหลักสูตรป้องกันภัยพิบัตทางน้ำ -แหล่งเรียนรู้สืบชะตาคลองนาท่อมได้มีการประชาสัมพันธ์ตลอดงาน 3 วันจนเป็นที่รู้จักของประชาชนทั้งตำบล ถึง กิจกรรม 4  อย่าง คือ การจัดการขยะ  การปลูกไม้ การรักษาเขตอภัยทานปลา -สภาแกนนำบ้านนากวดสามารถ เรียนรู้งาน เตรียมงาน ได้เป็นอย่างดี ตั้งแต่ประชุมเตรียม การจัดกิจกรรม และสรุปกิจกรรม 

     

    85 80

    30. รณรงค์สร้างจิตสำนึกชุมชน โดย ครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์ให้คนชุมชนบ้านนากวด ชุมชนอื่น รู้เข้าใจปฏิบัติการเก็บขยะสาธารณะ

    วันที่ 26 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สื่อสารกิจกรรม สืบชะตาคลองนาท่อม โดยการสร้างจิตสำนึกโดยเด็กปั่นจักรยานในวันอาทิตย์แล้ว เก็บขยะในพื้นที่ และเยี่ยผู้สูงอายุของชุมชน  และในพื้นที่ของหมู่บ้านจะมีป้ายรณรงค์ให้คนทั้งข้างในและข้างนอกร่วมกันไม่ทิ้งขยะในชุมชน โดยมจะมีป้ายประกาศ เป็นป้ายเขต อภัยทานขยะ  พวกเราคนหมู่ที่....จะไม่ทิ้งขยะในที่สาธารณะ เป็นถนนสวย  หมู่บ้านสะอาด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เป็นการสร้างจิตสำนึกกับทุกคนในชุมชนและคนนอกชุมชนต้องมีความรับผิดชอบขยะ ต้องรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเด็ก และครอบครัว -ชุมชนเกิดกฏกติกาขึ้น จำนวนมาก ได้แก่ เขตอภัยทานขยะ,เขตอภัยทานปลา,ปฏิญญาของผู้นำร่วมกันรักษาดูแลปลาและสิ่งแวดล้อมในคลอง, ใช้การประชุมวันที่ 9 ทุกเดือนเป็นการตัดสินใจเรืองต่าง ๆ -กิจกรรมของครอบครัวจักรยานทำการรณรงค์อยา่งต่อเนื่องของเด็กจะทำให้จิตสำนึกเกิดขึ้นได้เร็วและเป็นแนวทางในการพัฒนาต่อ -สิ่งที่คาดหวังเกิดขึ้นคือ การทำงานร่วมกับเทศบาลตำบลนาท่อม ได้ประกาศเขต ถนนสวยหมู่บ้านสะอาด เป็นเขตอภัยทาน ตามกิจกรรมสืบชะตาคลองนาท่อม

     

    70 50

    31. สร้างจิตสำนึกเด็กและเยาวชนในการพัฒนาตำบลนาท่อมเป็นพื้นที 3 D

    วันที่ 2 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -สร้างความเข้าใจกับกลุ่มเด็กและเยาวชน -ทำการวิเคราะห์พื้นที่เก็บข้อมูลทุนศักยภาพในพื้นที่ตัวเอง -คัดเลือกกำหนดพื้นที่เป้าหมายเพื่อให้เด็กและเยาวชนลงไปเก็บข้อมูลในพื้นที่ -ไปสร้างสื่อกระบวนการในการปฏิบัติของแหล่งปฏิบัติการจริงในพื้นที่ คือ บ้านขนมจีน บ้านนางจัด  พรหมแท่น ภูมิดี(หมายถึง ภูมปัญญาการทำขนมจีน) -จากนั้นเลือกพื้นที่ดี คือ พื้นที่คลองนาท่อม เป็นทั้งที่ชมปลา ที่เล่นน้ำ -นำมาทำสื่อนำเสนอในตอนค่ำคืน เป็นการนำเสนอด้วยสื่อที่เด็กสร้างเอง -เล่นละครหุ่นเงาเด็กสื่อสารเรื่องเล่าของชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -จากมุมมองของสมาชิกสภาแกนนำบ้านนากวดเห็น เด็กและเยาวชนตำบลนาท่อม ผ่านกิจกรรมนี้ ได้เห็นถึงการที่แกนนำได้นำเด็กไปศึกษาเรียนรู้ผ่านครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์ มากกว่า 3 ปี พบว่า สิ่งที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กเรียนรู้  เช่น เดิมเด็กไม่รู้จักผู้นำตัวเอง ปัจจุบันเด็กรู้จัก เดิมเด็กไม่รู้จักสถานที่สำคัญของชุมชน ปัจจุบันเด็กก็ได้รู้จัก ฯลฯ เด็กได้สะท้อนมาในการวิเคราะห็ข้อมูลทุนชุมชน -จากเดิมชุมชนมีขยะในพื้นที่สาธารณะจำนวนมาก การณรงค์เก็บขยะของเด็กและเยาวชน ทำให้ขยะในที่สาธารณะลดลง ชุมชนสะอาดขึ้น สิ่งเล่านี้เกิดจากการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องของเด็กและเยาวชน -ความร่วมมือของชุมชน และความไว้วางใจของพ่อแม่เด็กและเยาวชน เดิมไม่ค่อยให้มาร่วมทำกิจกรรมกับพี่เลี้ยง ปัจจุบัน ทั้งครูและผู้ปกครอบไว้ใจและให้ความร่วมมืออย่างดี -ผลจากการทำกิจกรรมได้เห็นสิ่งที่อยู่ในตัวเด็กตอนนี้ คือ ความรู้และจิตสำนึกต่อชุมชน  เมื่อก่อนอยู่ในความคาดหวัง ปัจจุบันอยู่กับตัวเด็กแล้ว ทั้งเรื่องวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมที่ดีของชุมชน

     

    40 40

    32. งานรณรงค์ขยะแลกไข่

    วันที่ 20 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ขั้นตอนการจัดกระบวนการ -สร้างความเข้าใจกับสภานักเรียนและแบ่งบทบาทหน้าที่ในการรับชื้อขยะร่วมกับครู และสภาแกนนำบ้านนากวดที่เป็นพี่เลี้ยง โดยแบ่งหน้าที่ดังนี้ คนเทียบราคา  คนจ่ายไข่ไก่  คนเอาขยะชั่งกิโล  คนคิดเงิน เพื่อปฏิบัติจริง เพื่อนำกระบวนการมาปฏิบัติกับธนาคารขยะในโรงเรียน -เด็กสามารถเข้าใจและนำมาใช้กับธนาคารขยะในโรงเรียนได้ -สภาแกนนำบ้านนากวดประสานราคาให้กับโรงเรียนโดยใช้คนซื้อในชุมชนเพื่อลดภาระการเก็บขนขยะที่รับแลกไข่ไว้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -สภาแกนนำบ้านนากวดร่วมมือเป็นพี่เลี้ยงให้สภานักเรียน จนนักเรียนมีความรู้ เข้าใจในกระบวนการสามารถจัดการเองได้ที่โรงเรียน -การบวนการธนาคารขยะในโรงเรียนต้องมีครูพี่เลี้ยงในการดำเนินการ -ครู ผอ.เห็นด้วยและให้ความร่วมมือกับสภาแกนนำบ้านนากวดเป็นอย่างดี เนื่องจากครูสอนเด็กด้วยหลักการทำให้เห็นผล
    -การรณรงค์ของงะนาคารขยะต้อง

     

    20 20

    33. ประชุมประจำเดือนมิถุนายนเพื่อเตรียมปิดโครงการ

    วันที่ 9 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ผู้ใหญ่เปิดการประชุม ตามระเบียบวาระการประชุม -เรื่องแจ้งให้ที่ประชุมทราบ คือ จากประชุมอำเภอ -เรื่องทั่วไป มีเรื่อง การขั้นทะเบียนเกษตรกรที่ตกค้างและการนำรุปติดสมุดเกษตรเกษตรกร -เรื่อง โครงการ บวร ไตรพลัง การกำหนดปิดโครงการ วันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เป็นการปิดคืนข้อมูลให้กับชุมชนได้ทราบถึงผลการดำเนินงาน 1 ปี ได้ทำกิจกรรมอะไรไปบ้าง ได้อะไร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เป็นการประชุมประจำเดือนทุกวันที่ 9  ของเดือน ได้ทราบกิจกรรมของชุมชน รู้ความเคลื่อนไหวของชุมชน
    -สภาแกนนำบ้านนากวด ได้เตรียมกิจกรรม ได้หาหรือแลกเปลี่ยนเพื่อทำกิจกรรม ในแต่ละครั้ง -ผลของกิจกรรม กลุ่มผู้สูงอายุส่วยใหญ่ของชุมชนที่ให้ความร่วมมือและทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องในชุมชน -สภาแกนนำบ้านนากวด เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากร่วมดำเนินกิจกรรม บวร ไตรพลังมาระยะเวลา 1 ปี ด้านพฤติกรรมของผู้สูงอายุเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นคือ 1. การรวมตัวออกมาร่วมทำกิจกรรมเพิ่มขึ้น 2. ทุกวันพระ มีผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น 3. กิจกรรมของขุมชนที่มีความหลากหลายกลุ่มผู้สูงอายุจะให้ความร่วมมือจนสำเร็จ
    4. กิจกรรมทำพิพิธภัทณ์โดยใช้วัดเป็นศูนย์กลาง จะเห็นได้ชัดกลุ่มผู้สูงอายุให้ความสำคัญต้องการผลักดันให้ทำให้ได้ แต่ละคนมีสิ่งของมาบริจากถ้าทำดี ๆ น่าเชื่อถือ

     

    40 35

    34. สร้างกระบวนการให้วัดเป็นแหล่งเรียนรู้

    วันที่ 23 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชี้แจงและประกาศให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมหิ้วปิ่นโตไปวัดพัฒนาคุณธรรมได้ทราบ การใช้วัดเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน เพื่อใช้สถานที่วัดเป็นแหล่งเรียนรู้ความเป็นชุมชนของคนตำบลนาท่อม ด้วยการเก็บรวบรวมของเก่า ภาพเก่าบุคคลสำคัญ ภาพวาดทางพุทธศาสนาในโบสถ์ เรื่องเล่าทางวัฒนธรรม ภาพประเพณีเล่าเรื่อง ร่วมกับชมรมผู้สูงอายุ โดยมีนายสมัย  หมวดมณี ประธานชมรมผู้สูงอายุ และประธานสภาวัฒนธรรม เป็นแกนหลักในการเป็นวิทยากรแหล่งเรียนรู้สอนให้เด็กและเยาวชนในการเป็นไกด์ มีเจ้าอาวาส เป็นพี่เลี้ยงใช้เป็นที่เรียนรู้ของเด็กและเยาวชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -จากการหาหรือกับพี่น้องประชาชน ได้พบความต้องการและตอบรับ -ท่านเจ้าอาวาสได้อนุญาติให้ใช้อาคารไม้เก่าเป็นสถานที่จัดเก็บและรวบรวมชิ้นงาน แล้วค่อย ๆ พัฒนาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น -พี่น้องประชาชน และผู้สูงอายุมีสิ่งของเก่าแก่จำนวนมากแจ้งความประสงค์จะให้แต่ต้องปรับปรุงอาคารให้เป็นที่มั่นใจได้ว่าสิ่งที่ให้มาจะเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี -คณะทำงานเรื่องพิพิธภัณฑ์ต้องจัดกระบวนการ ให้มีความชัดเจนกว่านี้ เช่น ใครเป็นคนดูแล การเปิดดำเนินการเป็นอย่างไร
    -คณะทำงานได้สรุปให้ผู้ชักถาม เรื่องการสร้างพิพิธภัณฑ์โดยใช้วัดเป็นแหล่งเรียนรู้เป็นแค่จุดประกาย ตั้งตั้งต้น ไม่ได้สร้างเพียงวัน หรือเดือนเดียวเสร็จแต่อาจใช้เวลาหลายปี ค่อย ๆ ปรับปรุงพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ครั้งนี้เป็นจุดตั้งต้นโดยกลุ่มชุมชนบ้านนากวด แต่ต่อไปต้องเป็นของคนทั้งตำบลที่ต้องร่วมดำเนินการ ต้องเป็นเจ้าของร่วม ให้เป็นจุดเรียนรู้ตำนานเรื่องของชุมชนต่อไป

     

    102 102

    35. เปิดธนาคารขยะในโรงเรียนวัดนาท่อมอย่างเป็นทางการ

    วันที่ 24 มิถุนายน 2558 เวลา 14:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ประกาศแจ้งล่วงหน้ากับนักเรียนว่า 24/6/58 จะมีเปิดธนาคารขยะอย่างเป็นทางการกับนักเรียน
    -คุณครูร่วมกับสภาแกนนำบ้านนากวด ช่วยประสาน ราคาและคนรับซื้อขยะเพื่อให้มารับหลังจากที่นักเรียนดำเนินการเสร็จ -นักเรียนร่วมกันดำเนินการ จัดแบ่งบทบาทหน้าที่ในการ ดำเนินการเปิดรับฝากของธนาคารขยะ แต่ละคนวางบทบาทหน้าที่ไว้เพื่ออำนวยความสะด้วกและง่ายต่อการเรียนรู้ทำได้ในครั้งต่อไป ได้แก่ ฝ่ายคัดแยก  ฝ่ายตาชั่ง  ฝ่ายลงทะเบียนบันทึกสมุด ฝ่ายจัดเก็บ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เกิดแหล่งเรียนรู้ธนาคารขยะในโรงเรียนวัดนาท่อม 1 แหล่งที่บริหารจัดการโดยสภานักเรียน มีครู เทศบาลและสภาแกนนำบ้านนากวดเป็นพี่เลี้ยง -สภานักเรียนและเด็กนักเรียนได้เรียนรู้กระบวนการธนาคารขยะ และการจัดการขยะโดยวิธี 3 R -โรงเรียนวัดนาท่อมที่มี ผอ.โรงเรียนและครูสนใจเรียนรู้การเป็นโรงเรียนปลอดขยะจากการศึกษาดูงานโรงเรียนบ้านนาทวี จังหวัดสงขลาแล้วนำกลับมาทำในโรงเรียน จนเกิดกิจกรรมธนาคารขยะ การคัดแยกขยะโดยวิธี 3 R
    - โรงเรียนที่นำโดยครู ทุกท่านได้เปิดใจรับการเรียนรู้จนเด็กเกิดพฤติกรรมเปลี่ยนไป ทำปุ๋ยหมัก และแห้งได้ , สามารถคัดแยกขยะโดยวิธี 3R
    - เด็กและเยาวชนมีการรณรงค์ ร่วมกับศูนย์พัฒนาครอบครัวในตำบลนาท่อม ได้มีครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์ ได้จัดการรวมเด็กอย่างหลวม ๆ มากกว่า 3 ปี อย่างต่อเนื่อง จัดทำเขตอภัยทานขยะของทุกชุมชน เป็นผลให้เกิดพฤติกรรมของคนในชุมชนและนอกชุมชนได้เรียนรู้การมีกติการ่วมกันเป็นเขตอภัยทานขยะ เหมือ ธรรมนูญุมชนแต่ไม่ลงโทษ

     

    85 70

    36. ประชุมร่วมระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน

    วันที่ 9 กรกฎาคม 2558 เวลา 10:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -รายงานผลการดำเนินงานโครงการ บวร ไตรพลัง สร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่และแจ้งคืนข้อมูลวันที่ 10/7/58 แก่ประชาชน
    -ประชุมประจำเดือน ทุกวันที่ 9 ของเดือน ตามระเบียบวาระ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ผู้ใหญ่รายงานผลการดำเนินงานโครงการ บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่และแจ้งกำหนดวัดคืนข้อมูลให้ประชาชนบ้านนากวด เพื่อกำหนดกิจกรรมต่อ -สภาแกนนำบ้านนากวดร่วมกับผู้ใหญ่สุรศักดิ์ รายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา -ความรู้จากการรวมพลัง บ้าน  วัด  โรงเรียน ชุมชนบ้านนากวดในการทำกิจกรรมรวมคน รวมพลัง ในการทำกิจกรรม 4 กิจกรรมหลัก -พัฒนากิจกรรมสืบชะตาคลองนาท่อม ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ในเรื่องการจัดการ สิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบแบบมีส่วนร่วมของชุมชน ใช้ 4 กิจกรรม คือ การจัดการขยะ  ปลูกไม้  ปล่อยปลา  ขยายเขต ทำร่วมกับเทศบาลเป็นนโยบายขับเคลื่อนทั้งตำบล ผลที่เกิดรูปธรรมความสำเร็จ คือ จิตสำนึกของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม คลองนาท่อมสะอาด มีปลาเพิ่มมากขึ้นเป็นเขตอภัยทานไม่จับปลา ถนนสาธารณะปลอดขยะเป็นเขตอภัยทานขยะ ถนนสวยหมู่บ้านสะอาด  โรงเรียนวัดนาท่อมเป็นโรงเรียนปลอดขยะ มีธนาคารขยะเป็นแหล่งเรียนรู้  ครัวเรือนในชุมชน มีการจัดการขยะได้เอง
    -ประชาชนมีการประชุมทุกวันที่ 9 ของเดือนเพื่อเรียนรู้แลกเปลี่ยนนำมาสู่การสร้าง กฏกติการ่วมในการอยู่ร่วมกัน ได้แก้  กำหนดเขตอภัยทานคลองนาท่อม  กำหนดเขตอภัยทานขยะในถนนสาธารณะ ในรูปแบบ ถนนสวยหมู่บ้านสะอาด คนนากวดรวมใจไม่ทิ้งขยะในที่สาธารณะ  ครัวเรือน  โรงเรียน  วัดนาท่อม สามารถจัดการขยะได้ด้วยตนเอง -โรงเรียนวัดนาท่อม ประกาศเป็นโรงเรียนปลอดขยะ กิจกรรมหลัก คือ ธนาคารขยะ โดยสภาเด็กนักเรียน -วัดนาท่อมพัฒนากุฏิไม้หลังเก่าเป็นพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ในชุมชน ที่ประชาชนให้ความร่วมมือสนับสนุน และใช้วัดเป็นศูนย์รวมในการจัดกิจกรรม หิ้วปิ่นโตเข้าวัดพัฒนาคุณธรรม ที่ผู้สูงอายุ เทศบาลร่วมกันในการสร้างจิตสำนึกประชาชนให้เข้าวัด ได้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง -กลุ่มจิตอาสาบ้านนากวด ให้ฝึกกิจกรรมผูกผ้า ปลูกผักสวนครัวเพื่อลดรายจ่าย  ทำสินค้าทดแทนลดรายจ่ายครัวเรือน ช่วยเหลือกันในชุมชนผู้ด้อยโอกาสในชุม

     

    70 40

    37. เพื่อสร้างและพัฒนาข้อตกลงของชุมชน เวที คืนข้อมูลสู่ชุมชน

    วันที่ 10 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การคืนข้อมูลให้ชุมชนเป็นการรายงานผลสรุปการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่

    -พระสนอง ธรรมพุทโธ เจ้าอาวาส  สรุปกิจกรรมของบ้าน วัด โรงเรียน  เห็นความร่วมของชุมชนและของโรงเรียนทำงานเป็นหนึ่งเดี่ยวกัน  กิจกรรมของวัดในด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม กิจกรรมสืบชะตาคลองนาท่อมทางวัดก็ได้ทำอย่างต่อเนื่องทั้ง 4 กิจกรรม ขยะก็มีการดูแลให้วัดสะอาดอยู่อย่างต่อเนื่อง วัดจัดการขยะเองได้  ปลูกไม้ทางวัดจะส่งเสริมการปลูกให้วัดร่มรืนและสวยงาม ส่วนเรื่องปลา ทางวัดก็ได้มีการจัดหาอาหารปลาไว้ให้อย่างต่อเนื่อง สำหรับเรื่องแหล่งเรียนรู้ชุมชน ที่ใช้วัดเป็นศูนย์กลาง โดยได้ร่วมกันปรึกษาหารือ จนได้อาคารไม้หลังเก่าเป็นสถานที่เป็นแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ชุมชน เป็นจุดตั้งต้นในการรวบรวมและเก็บไว้ในการประชาสัมพันธ์ขยายผล

    -ทางโรงเรียนวัดนาท่อม โดย ผอ.จิตลดา  ทองคำ ได้สรุปของโรงเรียนวัดนาท่อม จะมีการจัดการขยะด้วยวิธี 3R  จะมีธนาคารขยะที่จัดการโดยนักเรียน  เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีการรับซื้อขยะเดือนละ 2 ครั้ง คือในวันพุธแรกของเดือนและวันพุธที่ 4 ของเดือน  และประกาศเป็นโรงเรียนปลอดขยะ ได้มีการพัฒนาเป็นหลักสูตรใช้กับการเรียนการสอน

    -ทางส่วนของชุมชนนางวิภา  พรหมแท่น ได้สรุปกิจกรรมขับเคลื่อน  กิจกรรมสืบชะตาคลองนาท่อม เป็นการขับเคลื่อน 4 กิจกรรม คือ การจัดการขยะ  ปลูกไม้ ปล่อยปลา  ขยายเขต  เป็นระบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งระบบของชุมชน อย่างต่อเนื่อง สิ่งที่เกิดจากโครงการในชุมชน คือ เขตอภัยทานปลา  เขตอภัยทานขยะ  เด็กและเยาวชนที่มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และได้พัฒนากิจกรรมสื่อให้เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป  เช่น ละครหุ่นเงา  พื้นที่นี้ดีจัง กิจกรรมครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สิ่งที่ได้จากการดำเนินโครงการ บวรไตรพลัง สร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ -ชุมชนมีกิจกรรมสืบชะตาคลองนาท่อมที่เด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ได้แก่ ธนาคารขยะในโรงเรียนเด็กเป็นผู้ดำเนินการ เดือนละ 2 ครั้ง, ละครหุ่นเงาที่ใช้เด็กนำเสนอเป็นการสื่อสารเรื่องชุมชนโดยเด็ก, เด็กรณรงค์การจัดการสิ่งแวดล้อมในตำบลนาท่อมผ่านกิจกรรมจักรยาน ,  พื้นที่นี้ดีจัง ,หนังสือเล่มเล็กเด็กเล่าเรื่อง, แผนที่ทำมือ,เขตอภัยทานขยะที่ใช้กิจกรรมเด็กเป็นสือ

    -โรงเรียนมีธนาคารขยะ ที่มีการจัดการขยะโดยวิธี 3 R เป็นแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน

    -วัดมีแหล่งเรียนรู้ชุมชนโดยใช้วัดเป็นฐานในการเรียนรู้โดยใช้อาคารไม้หลังเก่าเป็นที่ตั้งพิพฺิธภัณฑ์เก็บรวบรวมสิ่งเก่า ๆ เช่น ภาพสะท้อนเรื่องในอดีต เช่น ภาพเจ้าอาวาส  ภาพกำนันคนแรก  ภาพผู้ใหญ่แต่ละพื้นที่

    -ส่วนกลุ่มจิตอาสาบ้านนากวดก็จะมีกลุ่มที่ให้การช่วยเหลือคนยากจน ด้อยโอกาส ช่วยเหลืองานบุญ งานวัด  เช่น กลุ่มผูกผ้า กลุ่มทำสินค้าทดแทน

     

     

    100 100

    38. สรุปบทเรียนและทำรายงานปิดบัญชี

    วันที่ 10 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมแลกเปลี่ยนระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน เป็นการพูดคุยถึงการดำเนินกิจกรรมโครงการ บวร ไตรพลังฯ  แต่ละส่วนได้อะไร  และทำอะไรจากโครงการ มีปัญหาอุปสรรค์อะไรบ้าง และรับฟังข้อเสนอแนะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การดำเนินโครงการบวร ไตรพลังสร้างสรุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ โดยสรุป จากกิจกรรม ที่สามารถนำมาขยายผลต่อได้
    -ความรู้ที่ได้จากการดำเนินโครงการ  ความรู้จากการนำเด็กมาให้รูจักกันในชุม ก็จะเกิดกิจกรรมใหม่ตามมาจำนวนมาก  และทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ทำให้ชุมชนมีส่วนร่วมมากขึ้นประมวลภาพจากกิจกรรม -กลุ่มสภาแกนนำบ้านนากวด  จากการดำเนินงานมา 2 ปีต่อเนื่อง การสร้างและพัฒนาสู่การเป็นสภาแกนนำของชุมชน ผลที่เกิดขึ้น สภาแกนนำเกิดขึ้น แต่เรื่องบทบาทหน้าที่ยังเป็นจุดอ่อนชุมชน คือ ชุมชนสามารถรวมคนมาทำกิจกรรมเฉพาะอย่าง ในระยะเวลาสั้น ๆ แต่ไม่สามารถให้เขารับผิดชอบบทบาทหน้าที่ได้เพราะประชาชนต้องหารายได้ดูแลครอบครัว ไม่ได้ทำงานในชุมชน ยังต้องพัฒนาต่อในด้านสภาแกนนำบ้านนากวด -แผนงานต่าง ๆ ของบ้านนากวด ที่ใช้ บวร ในการจัดการชุมชน ข้อมูลและแผนชุมต้องมีการได้รับการทบทวนอย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งที่ใช้เป็นเครื่องมือบริหารของชุมชน -ผลที่ได้จากกิจกรรม อาทิ พฤติกรรม หรือสิ่งที่เกิดขึ้นภายหลังกิจกรรม เช่น การรวมกลุ่มทำกิจกรรมต่อเนื่อง ได้แก่ ครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์มีกิจกรรมต่อเนื่อง  สภาเด็กและเยาวชน  สภานักเรียนโรงเรียนวัดนาท่อมกับกิจกรรมธนาคารขยะ กฎกติกาชุมชน  เขตอภัยทานคลองนาท่อม  เขตอภัยทานถนนสวยหมู่บ้านสะอาด ป้ายปฏิญญาของผู้นำรักษาสิ่งแวดล้อม

     

    15 10

    39. จัดทำภาพถ่ายโครงการ

    วันที่ 11 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ค่าถ่ายภาพกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ค่าถ่ายภาพกิจกรรม

     

    1 2

    40. จัดทำรายงานปิดโครงการ

    วันที่ 11 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำรายงานปิดบัญชีโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ดำเนินการปิดบัญชีโครงการบวร 

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการวัดนาท่อม สภานักเรียนโรงเรียนวัดนาท่อม สู่หลักคิด" บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่"
    ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1. คณะกรรมการหมู่บ้าน 15 คน 2. คณะกรรมการวัด 15 คน 3. สภานักเรียน 20คน เชิงคุณภาพ 1. ทั้ง 3 ฝ่ายเรียกว่าคณะทำงาน บวร ไตรพลัง สร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ 2. ทั้ง 3 ฝ่ายเรียนรู้ ทบทวนแผนชุมชนบ้านนากวด โดยวิธี -การจัดเก็บข้อมูลโดยเด็กและกรรมการหมู่บ้าน -รวบรวมวิเคราะห์ก่อนจัดทำร่างแผ่นชุมชน -ประชุมเพื่อประชาพิจารณ์ ให้ประชาชนเติมเต็ม -ประชุมเพื่ออนุมัติแผนที่ผ่านประชาพิจารณ์เพื่อนำไปทำแผนชุมชน -จัดทำแผนชุมชนหลังจากได้ผ่านขั้นตอนแยกหมวดหมู่ -ให้ความเห็นชอบรับรองแผน -การประสานแผน -การตรวจสอบและติดตามการดำเนินการ โดยกรรมการหมู่บ้าน กรรมการวัด สภานักเรียน ด้วยการคืนข้อมูลสู่ชุมชน
    • เกิดสภาแกนนำหมู่บ้านที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมหมู่บ้าน จำนวน 15 คน
    2 2. เพื่อใช้หลัก บวร ไตรพลังสร้างสุขฯเป็นเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนนากวดอย่างมีคุณภาพ ด้านสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
    ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. คณะ บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่นากวดน่าอยู่ เป็นแกนนำเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชน จำนวน 50คน 2. โรงเรียนสร้างและพัฒนาธนาคารขยะเป็นแหล่งเรียนรู้ใน โรงเรียนวัดนาท่อม1 แหล่ง 3. วัดมีแหล่งเรียนรู้ชุมชนทางด้านศิลป วัฒนธรรมชุมชน 1 แหล่ง 4. ชุมชนมีกิจกรรมสืบชะตาคลองนาท่อมเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน 1 แหล่ง เชิงคุณภาพ 1.แหล่งเรียนรู้สืบชะตาคลองนาท่อมในชุมชน โดยใช้เด็กเป็นสื่อในการทำกิจกรรม ใช้กิจกรรมหุ่นเงาเด็กเด็กเล่าเรื่อง หนังตะลุง กลองยาว มโนราห์เด็ก 2. แหล่งเรียนรู้วัดเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ใช้ภาพกิจกรรมเล่าเรื่องราว เช่น ภาพในผนังโบสถ์ โดยนายสมัยหมวดมณี 3. แหล่งเรียนรู้ธนาคารขยะในโรงเรียนโดยมีกิจกรรมทอดผ้าป่าขยะขยะแลกไข่ ตลาดนัดขยะ เป็นระยะโดยใช้สภานักเรียน 4.กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ่ร่วมทำกิจกรรมที่หลากหลายในการขับเคลื่อนกิจกรรมของชุมชน 5.ประชาชนใช้วัดเป็นศูนย์กลางโดยสร้างการมีส่วนร่วมของคน 3 วัยชวนเข้าวัดพัฒนาวัฒนธรรมด้วยกิจกรรม 6.มีการติดตามรายงานความก้าวหน้าของสามแหล่งเรียนรู้โดยคณะกรรมการแต่ละฝ่าย
    • เกิดแหล่งเรียนรู้ธนาคารขยะ โดยวิธีการ 3R ที่โรงเรียนวัดนาท่อม
    • เกิดแหล่งเรียนรู้วัดนาท่อม ที่ทำเป็นพิพิธภัณฑ์ชุมชน มีกิจกรรม 4 กิจกรรม คือ การจัดการขยะ การปลูกไม้ การปล่อยปลา และขยายเขตเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ
    • เกิดครัวเรือนต้นแบบด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมจำนวน 70 ๕รัวเรือน
    3 3. เพื่อพัฒนากลไก บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้่านนากวดน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง ด้วยข้อตกลงร่วมกัน กฎกติกาอยู่ร่วมกัน และมีบทบาทหน้าที่แต่ละฝ่าย
    ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1. มีการประชุม 12ครั้ง 2. แต่ละฝ่ายมีบทบาทหน้าที่ร่วมออกกฎกติกา เช่น ธนาคารขยะจัดการขยะด้วยวิธี 3 R โดยใช้สภานักเรียน, แหล่งเรียนรู้สืบชะตาคลองนาท่อมใช้ สภาเด็กและเยาวชน และครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์ ในการสื่อสารรณรงค์ เชิงคุณภาพ 1. ชุมชนบ้านนากวดน่าอยู่อย่างมีกฏกติกาของชุมชนที่ทุกคนในชุมชนเข้าใจ ยอมรับ และปฏิบัติตาม เช่น มีเขตอภัยทานชัด การกำหนดจุดให้อาหารปลา ,จุดทิ้งขยะ 2. กำหนดประชุมทุกวันที่ 9 ทุกเดือน 3.กฎกติกาเผยแพร่และเป็นข้อปฎิบัติของบุคคลภายนอก เช่นเขตอภัยทานขยะเขตอภัยทานห้ามจับปลาป้ายปฏิญญาของผู้นำ 4.พัฒนาหอกระจายข่าวของชุมชนวัด โรงเรียนสื่อสารกิจกรรมโครงการโดยใช้เด็กเป็นผู้สื่อสาร 5. ใช้วัดเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนฝึกให้เด็กเรียนรู้ชุมชน ฝึกเด็กเป็นไกด์นำเสนอ 6.การใช้เด็กและเยาวชนสื่อสารสาธารณะ จำนวน 5 คนสื่อสารผ่านสื่อ 7.สรุปชุดความรู้ถอดบทเรียนไว้เป็นเอกสารเผย
    • มีการรวมตัวกันจัดการสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชน เดือนละครั้ง
    • จัดกิจกรรมรณรงค์ด้วยเด็กเป็นสื่ออาทิตย์ละ 1 ครั้ง
    4 4.การบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลตัวชี้วัดเข้าร่วมกับสสส.
    ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งที่เข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส.และ สจรส.

    จำนวน 4 ครั้ง
    - เข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศ - เข้าร่วมกิจกรรมตรวจรายงานความก้าวหน้า - เข้าร่วมกิจกรรมถอดบทเรียน - เข้าร่วมกิจกรรมตรวจรายงานฉบับสมบูรณ์

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการวัดนาท่อม สภานักเรียนโรงเรียนวัดนาท่อม สู่หลักคิด" บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่" (2) 2. เพื่อใช้หลัก บวร ไตรพลังสร้างสุขฯเป็นเครือข่าย ร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนนากวดอย่างมีคุณภาพ ด้านสังคมเพื่อคุณภาพชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง (3) 3. เพื่อพัฒนากลไก บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้่านนากวดน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง ด้วยข้อตกลงร่วมกัน กฎกติกาอยู่ร่วมกัน และมีบทบาทหน้าที่แต่ละฝ่าย (4) 4.การบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลตัวชี้วัดเข้าร่วมกับสสส.

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ (ต่อเนื่อง)

    รหัสโครงการ 57-01431 รหัสสัญญา 57-00-0744 ระยะเวลาโครงการ 20 พฤษภาคม 2557 - 19 มิถุนายน 2558

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    กระบวนการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งระบบของชุมชน

    -แหล่งเรียนรู้โครงการสืบชะตาคลองนาท่อม ศาลาหมู่ที่ 7

    -แหล่งเรียนรู้โรงเรียนปลอดขยะ ธนาคารขยะโรงวัดนาท่อม

    -พิธิภัณฑณ์แหล่งเรียนรู้ชุมชนวัดนาท่อม

    -เป็นต้นแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งระบบ ใช้ขยายผลไปในทุกพื้นที่ของตำบล

    -พัฒนาต่อเรื่อพิพิธภัณฑ์ชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    กลุ่มจิตอาสาพัฒนาบ้านนากวด คอยช่วยเหลือแบ่งปัน ในกิจกรรมงานชุมชนวัด โรงเรียน และคนด้อยโอกาส

    -กลุ่มผูกผ้างานงานวัด งานพิธีการ ในชุมชน

    -เป็นกลุ่มงานแปรรูปสมุนไพรเป็น ยาหม่อง และสมุนไพรตัวอื่น

    -พัฒนาศักยภาพกลุ่มจิตอาสาสู่การพัฒนาผลผลิตสร้างมูลค่าสร้างงาน สร้างอาชีพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    -กระบวนการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่หลากหลายที่เอื้อต่อการแก้ปัญหาและลงมือทำ

    -การพบกันทุกครั้งในกิจกรรมเป็นการประชุม หรือได้พูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ

    -ครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์ยังทำกิจกรรมสื่อสารทุกวันอาทิตย์ต่อเนื่อง โดยเด็ก คนทั่วไป ผู้สูงอายุ เป็นการรณรงค์ เรียนรู้สร้างจิตสำนึกสาธารณะของชุมชน

    -สภานักนักเรียนโรงเรียนวัดนาท่อมที่ประกอบไปด้วยเด็กนักเรียนตั้งแต่ชั้นป 1- ปุ6 เรียนรู้ผ่านกิจกรรมและรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อสร้างคนอย่างต่อเนื่องไม่ขาดช่วง

    -เกิดการสื่อสารโดยนักเรียนสร้างสื่อละครหุ่นเงา สื่อสร้างสรรค์สร้างจิตสำนึกสาธารณะ ผ่านการเรียนรู้มาอย่างต่อเนื่อง

    พัฒนาการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง อาทิตย์ละ 1 ครั้งสามารถขยายผลได้ครบ 8 หมู่บ้านเป้าหมายรณรงค์เรื่องการไม่ทิ้งขยะในที่สาธารณะ

    -พัฒนากิจกรรมเดิมและต่อยอด สร้างกิจกรรมใหม่สร้างกระแสจิตสำนึก

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    ใช้กิจกรรมขับเคลื่อน ทำให้ดูพบปัญหาแล้วหาวิธีแก้

    วันสำคัญทางศาสนา ประเพณี และวันอาทิตย์เป็นวันครอบครัว

    -หนังสือเล่มเล็กเด็กเล่าเรื่องชุมชนหุ่นเงาเด็กกิจกรรมเด็กเป็นสื่อ

    -ใช้เด็กเป็นสื่อกิจกรรม 3 ดี พื้นที่ดีสื่อดีภูมิดี ค้นหาข้อมูลทุนในพื้นที่ เป็นทุนศักยภาพเพื่อเรียนรู้พัฒนาต่อไปกิจกรรมใหม่ ๆ

    -พัฒนาเด็กและเยาวชนให้ทำสื่อเองจากความรู้ประสบการณ์ในการเก็บข้อมูลทุนศักยภาพในชุมชน เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ชุมชนตัวเอง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    -เกิดกลุ่มจิตอาสาพัฒนานากวดจากครัวเรือนต้นแบบ

    -จากครอบครัวจักรยาน เพิ่มคนทำกิจกรรมนำมาสู่พัฒนาสภาเด็กและเยาวชนเกิดกลุ่มละครหุ่นเงาหนังสือเล่มเล็กเด็กเล่าเรื่องแผ่นที่ 3 D

    ช่วยงานวัด, ช่วยงานโรงเรียน,ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่นเป็นพี่เลี้ยงและคณะทำงานกับเด็กช่วยเหลือคนด้วยโอกาสในชุมชนและสภาเด็กที่เข็มแข็ง

    พัฒนาศักยภาพกลุ่มจิตอาสาเพิ่มขยายผลด้วยกิจกรรมรณรงค์เป็นสังคมจิตอาสามากขึ้น และพัฒนาสภาเด็กให้เข็มแข็งต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    -แหล่งเรียนรู้โครงการสืบชะตาคลองนาท่อม

    -ธนาคารขยะ

    -พื้นที่สร้างสรรค์เด็กและเยาวชน

    -และพิพิธภัณฑ์ชุมชน

    -ศาลาประชุมหมู่ที่ 7

    -โรงเรียนวัดนาท่อม

    -วัดนาท่อม

    -พื้นที่นี้ดีจัง ,พื้นที่ยิ้มที่ริมคลองนาท่อม

    ขยายผลเป็นนโยบายกับทุกหมู่บ้านเพราะสามารถทำร่่วมกับเทศบาลได้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

    โครงการสืบชะตาคลองนาท่อม

    -ป้ายประกาศเขตอภัยทานขยะ ถนนสวยหมู่บ้านสะอาด พวกเราจะไม่ทิ้งขยะในที่สาธารณะเพิ่มขึ้นทุกหมู่บ้าน

    ขยายผลเพิ่มเติมป้ายรณรงค์

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    มีพื้นที่ตลาดนัดคนรักษ์สุขภาพในชุมชน

    ตลาดนัดหูยายสะพานคนเดิน

    ขยายสมาชิกได้ทั้ง 8 ชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    -ครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์

    -เสียงแพลงเพื่อสุขภาพ

    กิจกรรมทุกวันอาทิตย์ช่วงเช้า

    กิจกรรมออกกำลังกายตอนเย็น

    งานสื่อสารรณรงค์คนรักษ์สุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    พื้นที่ลดบุหรี่ พื้นที่ทำกิจกรรมของ สสส.

    ศาลาประชุม ม. 7

    เพิ่มพื้นที่ดี เป็นพื้นที่ปลอดเหล้า ปลอดบุหรี่  ปลอดอบายมุข มากขึ้น เช่นทุกศาลาการประชุมหมู่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

    ประเพณีแข่งขันเรือพายที่จัดทุกปี ลดการเกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลสงกรานต์

    ท่าน้ำวัดนาท่อม บ้านนากวด

    เทศบาลสนับสนุนและจังหวัดสนับสนุน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    กิจกรรมจำนวนมาก ได้แก่ ลานกีฬาหน้าวัดนาท่อม,แหล่งท่องเที่ยวชมปลาในเขตอภัยทาน,ประเพณีแข่งเรือพาย,และกิจกรรมทางประเพณีวัฒนธรรมของชุมชน

    วัดนาท่อม บ้านนากวด

    พัฒนาปรับปรุงกิจกรรม,ปรับปรุงกติกาชุมชนให้ดีขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    ใช้พิธีทางศาสนาในการสร้างกฎกติกา

    เด็กเคารพผู้ใหญ่

    -โครงการสืบชะตาคลองนาท่อม

    -พิธีรดน้ำดำหัว กิจกรรมวันแม่  กิจกรรมวันสาทเดือนสิบ

    -ขยายผลเรื่องการจัดการขยะของเทศบาลตำบลนาท่อม

    -ทำต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    -ปฎิญญาของผู้นำ 3 ฝ่าย ท้องถิ่นท้องที่ และฝ่ายสภาร่วมกันเป็นหูเป็นตาดูแลสิ่งแวดล้อม

    -เขตอภัยทานขยะ/ปลา ร่วมกันรณรงค์สร้างจิตสำนึกสาธารณะ เรื่องการจัดการขยะ

    ป้ายประกาศของผู้นำและป้ายเราสัญญาจะไม่จับปลา ของประชาชน ที่ริมคลองนาท่อม

    -มีป้ายประกาศรณรงค์ทุกหมู่บ้าน

    -สามารถยกระดับขยายผลได้ทุกหมู่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมที่เทศบาลประกาศใช้เป็นแนวทางในการพัฒนานโยบายเกษตรอินทรีย์ทุกคนรู้ในตำบล

    ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตำบลนาท่อม

    ทุกชุมชนในตำบลร่วมกันหากิจกรรมมาสนับสนุน เช่น งบประมาณจาก สปสช.ในตำบลและ สสส. ช่วยในการเสริมพลังให้ชุมชนเป็นพื้นที่เกษตรอินทรีย์

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    กิจกรรมสำหรับเด็กมีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยอาทิตย์ละครั้ง เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อปรับสภาพแวดล้อมพื้นที่ โดยเด็กทำกิจกรรม เรื่องเล่าชุมชนสำรวจพื้นที่ดีกิจกรรมปั่นเพื่อเรียนรู้ พื้นที่ดีจังพื้นที่สร้างสรรค์ยิ้มที่ริมคลอง ฯลฯ

    -ครอบครัวจักรยานฯ ปั่นเพื่อเรียนรู้ชุมชน พบผู้นำ บำเพ็ญสาธารณะประโยชน์ เป็นที่มาของเขตอภัยทานขยะ

    -สภาเด็กและเยาวชน หนังสือเล่มเล็กเด็ก เล่าเรื่อง , เรียนรู้พื้นที่สร้างสรรค์ 3D, ละครหุ่นเงา,ยิ้มที่ริมคลอง

    -โรงเรียนวัดนาท่อม,โรงเรียนวัดโคกแย่้ม ทำงานร่วมกับชุมชนทุกเรื่อง

    -ตลาดนัดหูยานสะพาคนเดิน เป็นพื้นที่ดีจัง ที่ทำกิจกรรมลานสร้างสุขของเด็ก ๆ

    ยกระดับพัฒนากิจกรรมอย่างต่อเนื่องและหลากหลาย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    -กลุ่มจิตอาสานากวดน่าอยู่ เป็นการวมกลุ่มจากครัวเรือนต้นแบบ เพื่อช่วยเหลือกิจกรรม บ้าน วัด โรงเรียน คนด้อยโอกาสของชุมชน

    -เป็นอาสาสมัครคอยช่วยเหลือกิจกรรมสาธารณะ เช่น งานประเพณีแข่งขันเรือพายประจำปี

    -กิจกรรมผูกผ้าในงาน วัด โรงเรียนเวลามีกิจกรรม และงานศพของผู้ด้อยโอกาสในชุมชน และเป็นจิตอาสาคอยช่วยเหลือในงานเวลามีกิจกรรม สวนรวม

    พัฒนาต่อยอดให้เกิดเป็นอาชีพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    ปฏิญญาผู้นำในตำบล

    ป้ายห้ามจับปลา,ห้ามทิ้งขยะห้าม,ห้ามทิ้งน้ำเสียลงคลอง

    ทำได้ทุกแหล่งน้ำในตำบล

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    ประชาคมหรือการประชุมหาข้อตกลงร่วมกัน ก่อนประกาศใช้

    -เขตอภัยทานปลา ประกาศห้ามจับปลาในบริเวณเขต ฝ่าผืนสังคมจะลงโทษ

    -เขตอภัยทานขยะ ประกาศเป็นถนนสวยหมูบ้านสะอาด ร่วมกันรับผิดชอบไม่ทิ้งขยะในที่สาธารณะ

    -คำประกาศปฏิญญาลงนามของผู้นำ จะดูแลแหล่งนำ้ คลองนาท่อม ที่รวมถึง สิ่งแวดล้อม ปลา ขยะในคลอง

    ขยายผลได้ทุกพื้นที่

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    สภาแกนนำบ้านนากวดใช้แผนชุมชนต่อเชื่อมงานร่วมกับหน่วยงานอื่นในพื้นที่และนอกพื้นที่

    กิจกรรมที่มีในแผนชุมชน

    -แหล่งเรียนรู้สืบชะตาคลองนาท่อมร่วมกับเทศบาลตำลนาท่อม สภาวัฒนธรรม ชมรมอนุรักษ์วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม โรงเรียนวัดนาท่อมวัดมีพระทำพิธี ชุมชนร่วมทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

    ขยายผลไปแหล่งน้ำสาขาอื่นในตำบล

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    คณะกรรมการหมู่บ้านมีการออกแบบวางแผนร่วมกับหน่วยงานอื่นในพื้นที่ เช่น เทศบาล สภาวัฒนธรรม โรงเรียนวัดนาท่อม กรรมการวัด

    โครงการสืบชะตาคลองนาท่อม , ประเพณีการแข่งขันเรือพาย,ธนาคารขยะ, ศูนย์เรียนรู้ชุมชนของวัดนาท่อม

    การประชุมเตรียมงานก่อนทุกครั้งก่อนทำกิจกรรม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    ใช้แหล่งน้ำในพื้นที่ตำบลนาท่อม การใช้นำ้เพื่อทำประปา ชลประทาน  ลอยกระทง  แหล่งอาหารของชุมชน

    คลองนาท่อมที่ใช้ประโยชน์ด้านน้ำประปาทั้งจังหวัด,ชลประทาน,กิจกรรมในชุมชน

    พัฒนาแหล่งน้ำอื่น ๆในตำบล

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    การทำโครงการต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น โครงการครอบครัวจักรยานสานฝันวันอาทิตย์โครงการสืบชะตาคลองนาท่อม และกิจกรรมของสภาเด็กและเยาวชนในการขับเคลื่นกิจกรรมของชุมชน

    โครงการจักรยานฯใช้สื่อสาร ประชาสัมพันธ์รณรงค์กิจกรรมสืบชะตาคลองนาท่อม

    ขยายผลโดยการสือสารรณรงค์อย่างต่อเนื่องร่วมกับภาคีร่วมหลายฝ่าย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    ใช้กิจกรรมที่สอดคล้องกับวิถี  สร้างความรู้

    ทุกกิจกรรมโครงการต้องมีการประชาสัมพันธ์ในการให้ความรู้ว่าทำเรื่องนี้แก้ปัญหาเรื่องอะไร

    การสื่อสารผ่านหอกระจายข่ายและจดหมายข่าย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    ทักษะในการจัดการโครงการต่าง ๆ คณะทำงานจะใช้ข้อมูลเป็นฐานในการทำโครงการ

    -ปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือปัญหาขยะใช้การเก็บข้อมูลขยะเพื่อทำแผนปฏิบัติการ

    -ปัญหาครอบครัวอบอุ่น เด็กขาดจิตสำนึกในการดูแลสิ่งแวดล้อม ใช้การเก็บข้อมูลเด็กในโรงเรียน นามาสู่โครงการครอบครัวจักรยานสาฝันวันอาทิตย์

    พัฒนาคณะทำงานด้านต่าง ๆให้ทำงานข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาแต่ละประเด็น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    คลองสะอาด,ถนนสะอาด,วัดและโรงเรียนเกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนกับหน่วยงานในชุมชนมากขึ้น

    ใช้กติกาชุมชนเป็น ข้อบังคับในชุมชน เช่น โครงการถนนสวยหมู่บ้านสะอาด , เขตอภัยทานปลา และเขตอภัยทานขยะ / ป้ายปฎิญญาผู้นำ

    การมีจิตสำนึก

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    การพัฒนาอาคารไม้หลังเก่าเป็นพิพิธภัณฑ์แหล่งเรียนรู้ชุมชน ตำบลนาท่อม จากโครงการ บวร ไตรพลัง โดยแกนนำ สภาแกนนำ เจ้าอาวาส ประธานสภาวัฒนธรรม กำนัน และผู้ใหญ่เจ้าของพื้นที่

    พิพิธภัณฑ์ ณ.อาคารไม้หลังเก่าวัดนาท่อมเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน

    พัฒนาต่อเป็นพิพิธพัณธ์ที่สมบูรณ์

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    การรณรงค์การปลูกพืชผักสวนครัวลดรายจ่ายและทำสินค้าทดแทนของครัวเรือนต้นแบบ 70ครัว

    -ชุมชมปลอดถังขยะ -ชุมชนปลกผัก ทำปุ่ยหมักนำ้/แห้งและใช้เองเพื่อลดรายจ่าย -ชุมชนมีการช่วยเหลือในงานบุญ งานของเพื่อนบ้านมีการช่วยเหลือ

    สร้างจิตอาสาเพิ่มมากขี้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    ความเป็นอยู่ในชุมชนเป็นลักษณะเครือญาติช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อแบ่งปัน

    -การเสียชีวิตของคนในชุมชนจะมีการช่วยเหลือกัน ชุมชนไม่ทอดทิ้งกัน

    -งานวัด โรงเรียน และงานของหมู่บ้าน

    ต้องร้กษาสืบทอดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อเรียนรู้อัตลักของชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    การประชุมทุกเดือนอย่างน้อย 1 ครั้งเป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนได้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นการสร้างพื้นที่ให้กับประชาชน

    -ประชุมหมู่บ้านทุ่กวันที่ 9 ของเดือนเพื่อแลกเปลี่ยนกำหนดกกติกา

    -ให้แผนชุมชนในการดำเนิดแผนพัฒนาอย่างมีระบบ

    ชุมชนต้องใช้การประชุมของหมู่บ้านเป็นตัวกำหนดบทบาท และทิศทางการทำงานของชุมชน เช่น การทำแผนการพัฒนาชุมชนใช้ข้อมูลจากคนในชุมชน เป็นแนวในการพัฒนา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    บวร ไตรพลังสร้างสุขสู่บ้านนากวดน่าอยู่ (ต่อเนื่อง) จังหวัด พัทลุง

    รหัสโครงการ 57-01431

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย สุรศักดิ์ ขิตนาคินทร์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด