แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ สี่แยกวัดใจลูกหลาน ม.5 บ้านปลักแรด ”

ชุมชน หมู่ 5 ตำบล สาคร อำเภอ ท่าแพ จังหวัด สตูล

หัวหน้าโครงการ
นางเจ๊ะน๊ะ ใบกาเด็น

ชื่อโครงการ สี่แยกวัดใจลูกหลาน ม.5 บ้านปลักแรด

ที่อยู่ ชุมชน หมู่ 5 ตำบล สาคร อำเภอ ท่าแพ จังหวัด สตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 57-01461 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0772

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 พฤษภาคม 2557 ถึง 20 มิถุนายน 2558


กิตติกรรมประกาศ

"สี่แยกวัดใจลูกหลาน ม.5 บ้านปลักแรด จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ชุมชน หมู่ 5 ตำบล สาคร อำเภอ ท่าแพ จังหวัด สตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
สี่แยกวัดใจลูกหลาน ม.5 บ้านปลักแรด



บทคัดย่อ

โครงการ " สี่แยกวัดใจลูกหลาน ม.5 บ้านปลักแรด " ดำเนินการในพื้นที่ ชุมชน หมู่ 5 ตำบล สาคร อำเภอ ท่าแพ จังหวัด สตูล รหัสโครงการ 57-01461 ระยะเวลาการดำเนินงาน 20 พฤษภาคม 2557 - 20 มิถุนายน 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 183,590.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 122 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชน
  2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการจัดการชุมชน
  3. เพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและหนุนให้เกิดกติกาชุมชน ม.5 ปลักแรด
  4. เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ปี 2557

    วันที่ 15 มิถุนายน 2557 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา 09.00 น  เรื่องเงินสนับสนุนโครงการจาก ส.ส.ส. วิธีการดำเนินการและการจัดกิจกรรมจากเจ้าหน้าที่ของ ส.ส.ส. สำนัก6 โดยการทำความเข้าใจการทำงานโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่เพื่อให้พื้นที่สามารถกลับไปขับเคลื่อนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในเรื่องการสร้างความเข้าใจโครงการหลักการทำรายงานการเงินการจัดทำบัญชีและการรายงานข้อมูลผ่านเวบไซค์ โดยให้พี่เลี้ยงแต่ละโครงการได้ช่วยในเรื่องการลงปฏิทินโครงการเพื่อให้ง่ายต่อการทำงานต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ความรู้ใหม่ๆได้เข้าใจวิธีการดำเนินงานในชุดโครงการ สสส. โครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่ จากการที่เป็นพื้นที่ใหม่ทำให้เป็นการเปิดมุมมองการทำงานเพราะที่ผ่านมาหลักการทำงานของ อสม.ไม่มีรายละเอียกดมากมายในการทำงานแต่เมื่อได้รับฟังรายละเอียดก็มีความเข้าใจในหลักการทำงานมากขึ้นโดยเฉพาะการจัดการเอกสารการเงิน เอกสารรายงานการประชุมและการจัดทำรายงานผ่านเวบไซค์ ซึ่งคิดว่ายังยากเนื่องจากความถนัดของคนทำงานยังมีน้อยจึงอยากให้พี่เลี้ยงช่วยพัฒนาในเรื่องของการทำรายงานต่อไป

     

    2 2

    2. จัดทำป้ายโครงการและป้า่นเขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 14 กรกฎาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ประสานงานโครงการสั่งให้ร้านดำเนินการจัดทำป้ายรณรงค์ประชาสัมพันธ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาสัมพันธ์โครงการและป้ายเขตปลอดบุหรี่

     

    1 1

    3. ประชุมคณะทำงานโครงการครั้งที่ 1 เพื่อทำความเข้าใจโครงการและวางแผนการทำงาน

    วันที่ 15 กรกฎาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา 13.00 น. โดยเริ่มเปิดประชุมโดยผู้ดำเนินการโครงการคือ นางเจ๊ะน๊ะ ใบกาเด็น เป็นผู้เปิดประชุมเริ่มจากการแนะนำโครงการ ขั้นตอนวิธีของโครงการให้บรรลุวัถุประสงค์ของโครงการแนะนำให้กับคณะทำงานโครงการทั้ง 30 คนให้เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของโครงการตลอดจนวิธีการปฏิบัติงานของโครงการทำให้โครงการสามารถขับเคลื่อนไปได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ทำความเข้าใจทำความเข้าใจโครงการให้กับคณะทำงานกลไกลของชุมชนและทำความเข้าใจโครงการให้กับคณะทำงานได้รับทราบความเป็นมาของโครงการทั้งหมด

    เวลา 14.00 น.นางกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง ได้แนะนำโครงการและวิธีการของโครงการ  ขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการอย่างละเอียด และทำความเข้าใจกับผู้นำของชุมชนและแกนนำของเยาวชน อสม. ครูสอนตาดีกา เป็นการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนและแกนนำเยาวชนผู้นำศาสนา และเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจระหว่างผู้ดำเนินโครงการกับผู้เข้าร่วมโครงการแนะนำการดำเนินงานของโครงการตลอดจนวิธีดำเนินงานของโครงการและวิธีการดำเนินงานต่างๆ ของโครงการการคิดวางแผนการทำงานของโครงการและกลไกลของชุมชนบ้านปลักแรด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เป็นการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชน แกนนำเยาวชน ผู้นำศาสนา ครูสอนตาดีกา อสม.ส.อบต. เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจระหว่างผู้ดำเนินโครงการกับผู้เข้าร่วมโครงการแนะนำการดำเนินงาน ขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการ ตลอดจนวิธีการดำเนินงานต่างๆ ของโครงการ การคิดวางแผนการทำงานของโครงการและกลไกสภาชุมชนบ้านปลักแรด โดยแผนงานตอบโจทย์วัตถุประสงค์ 3 ข้อ ได้แก่ 1. เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชน 2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการจัดการชุมชน 3. เพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและหนุนให้เกิดกติกาชุมชน ม.5 ปลักแรด ซึ่งมีแผนงานที่ดำเนินร่วมกันตลอดทั้งโครงการดังนี้ ประสานกลุ่มเป้าหมายคณะทำงานกลไกชุมชนเดือนละครั้ง จากนั้นทำความเข้าใจโครงการให้กับคณะทำงานได้รับทราบความเป็นมาของโครงการทั้งหมด ร่วมกันวางแผนการทำงานของโครงการต่อเนื่อง คณะทำงานเก็บข้อมูล สังเคราะห์ข้อมูลที่ช่วยกันเก็บมา อบรมพัฒนาศักยภาพทักษะชีวิต สร้างแผนปฏิบัติการในการเฝ้าระวังเพื่อนช่วยเพื่อน กำหนดบทบาทหน้าที่ร่วมกันของเยาวชน และสร้างครอบครัวนำร่องจำนวน 25 ครอบครัวเข้ารับการจัดทำบัญชีครัวเรือน มีการออมหลังจากที่ได้ผ่านกิจกรรมเสริมรายได้

     

    30 50

    4. เพื่อมาปรับปฎิทินแผนงานโครงการ

    วันที่ 23 สิงหาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มโดยพี่เลี้ยงอธิบายทำความเข้าใจเรื่องการปรับปฏิทินโครงการเพื่อให้พื้นที่สามารถทำงานง่ายขึ้นและถ้าปฏิทินไม่ตรงกับการทำงานจะทำให้ยากต่อการรายงานดังนั้นพื้นที่จึงจำเป็นที่ต้องมาปรับปฏิทินเพื่อให้สอดคล้องกับการทำรายงานจริงของพื้นที่ ต่อด้วยการให้พื้นที่ได้เริ่มปฏิบัติการปรับโดยดูจากโครงการไปแต่ละกิจกรรมและต้องให้สอดคล้องกันด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้มีการปรับปฏิทินโครงการในวันที่ 23 สิงหาคม 2557 โดยทางทีมงานพื้นที่มาด้วยกัน 2 คนคือเจ้าหน้าที่ข้อมูลและผู้ประสานงานโครงการเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันและการทำงานจะได้ไม่ขัดแย้งกันในพื้นที่เพราะการที่มีคนมารับรู้การทำงานหลายคนยิ่งทำให้งานในพื้นที่สามารถขับเคลื่อนไปได้อย่างลื่นไหลและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

     

    4 2

    5. ประชุมคณะทำงานโครงการครั้งที2 เพื่อศึกษาและตรวจสอบข้อมูลสถานะการณ์เด็กเยาว์ชนในระยะเริ่มต้น

    วันที่ 31 สิงหาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เริ่มประชุมเวลา 13.00 น.โดยประธานชุมชน  นายกาด วาหาบ  ซึ่งเป็นประธานในโครงการเป็นผู้เปิดประชุม  ระเบียบวาระที่ 1 แจ้งเพื่อทราบว่าการประชุมคณะทำงานโครงการครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งการทำงานโครงการนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายเนื่องจากประสบการณ์การทำงานของเราหรือแม้แต่ผู้ประสานงานโครงการยังน้อย สิ่งสำคัญอยากให้เราช่วยกันซึ่งบางครั้งคนในนี้อาจมีประสบการณ์มากก็สามารถมาให้คำปรึกษาเรื่องการทำงานได้ถือว่าเป็นการเรียนรู้กันไปและตอนนี้เรายังขาดเจ้าหน้าที่ข้อมูลในการพิมพ์รายงานการประชุมครั้งที่ผ่านมาเรายังไม่ได้จัดวางคนทำงานให้จัดเจนครั้งนี้คิดว่าเราหน้าจะวางบทบาทหน้าที่คนทำงานให้เรียบร้อยเพื่อการประชุมครั้งต่อไปเราจะได้มีข้อมูลมารายงานด้วยไม่ทราบว่าพวกเราคิดเห็นอย่าไรบ้าง
    • นางเจ๊ะน๊ะ  ใบกาเด็น  แจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องไปปฏิบัติงานที่เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อปรับปฏิทินโครงการและแจ้งให้คณะทำงานโครงการที่เข้าร่วมประชุมทราบถึงวิธีการปฏิบัติ กิจกรรมที่จะเริ่มดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้เพื่อให้คณะทำงานโครงการได้เข้าใจวิธีการทำงานของโครงการและวางแผนการทำได้ถูกวิธีเพื่อบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้และคัดเลือกผู้นำชุมชน 11  คน แกนนำเยาวชนว่างงาน 11 คน เพื่อลงจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์เด็กเยาวชนและครอบครัว หมู่ 5 ปลักแรด
    • ส่วนการวางระบบการทำงานของโครงการนี้ก็เห็นด้วยเพื่อให้งานสามารถเดินต่อไปได้อยากให้พวกเราช่วยกันเสนอว่าคนที่น่ามาช่วยงานแต่ละด้านเป็นใครบ้าง
    • นายสอาด  แซะอาหลำ เสนอว่าคนที่จะช่วยในด้านข้อมูลได้ คือนางสาววิภาวี  วาหาบ ซึ่งมีหน้าที่ในการจดบันทึกการประชุม เจ้าหน้าที่การเงินคือ นางสาวกันติยา  วาหาบ ซึ่งทั้ง 2 คนนี้มีประสบการณืในการทำงานมาบ้างแล้วคิดว่าสามารถทำงานได้
    • ในที่ประชุมเห็นด้วยที่จะให้ทั้งสองคนนี้มาช่วยงานส่วนผู้ประสานงานก็ให้การช่วยเหลือในงานทั่วไปถ้าน้องๆติดขัดอะไรก็สามารถช่วยได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประชุมคณะทำงานโครงการครั้งที่ 2 มีผู้เข้าร่วม 30 คน เป็นการประชุมเพื่อให้คณะทำงานโครงการเข้าใจในโครงการเเละวางเเผนการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายของโครงการซึ่งให้ความร่วมมือและเห็นความสำคัญของโครงการณ์นี้  พร้อมปฏิบัติตามกิจกรรมของโครงการ  เพื่อให้เกิดชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
    • ร่วมกำหนดคนทำงานในด้านการจัดการไม่ว่าจะเป็นงานข้อมูลและงานการเงินซึ่งผู้ประสานงานเป็นคนดูภาพรวมโครงการ
    • ปรึกษาในการทำกิจกรรมการจัดเก็บสถานการณ์เด็ก เยาวชนในพื้นที่ หมู่ 5 บ้านปลักแรด
    • ได้รายชื่อแกนนำชุมชน  11 คน  แกนนำเยาวชนว่างงาน  11  คนรวม  22  คนเพื่อลงปฎิบัติการจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์เด็กเยาวชนในระยะเริ่มต้น

     

    30 30

    6. ประชุมคณะทำงานและแกนนำเยาวชน จำนวน 22 คน เพื่อทำความเช้าใจและออกแบบสอบถามในการลงไปเก็บข้อมูลโดยมีวิทยากรช่วยออกแบบในการสำรวจข้อมูล

    วันที่ 19 กันยายน 2557 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุม 08.30 น. โดยนางเจ๊ะนะ  ใบกาเด็น ผู้ประสานงานโครงการเริ่มโดยการทำความเข้าใจการทำงานโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่เนื่องจากคนที่มาวันนี้มีทั้งคนที่เข้าร่วมประชุมมาแล้วและคนที่ยังไม่เคยเข้าร่วมโดยเฉพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่จะเข้ามาช่วยทำงานในการลงไปเก็บข้อมูลในครั้งนี้ เมื่ออธิบายให้ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจการทำงานแล้วก็ได้ร่วมกันออกแบบโดยการเเบ่งกลุ่มผู้สำรวจเป็น 4 กลุ่มโดยในเเต่ละกลุ่มมีเเกนนำชุมชน 3 คนเเกนนำเยาวชนว่างงาน 3 คน เเยกเป็น 4 กลุ่มเเละเเบ่งพื้นที่การทำงานเป็น 4โซนโดยเเต่ละกลุ่มมีหน้าที่สำรวจข้อมูล 53 ครอบครัวรวม 121 ครอบครัว วิธีการสำรวจข้อมูลเเต่ละครอบครัวมีเเกนนำชุมชน 1 คน เเกนนำเยาวชน ว่างงาน1คนฃักถามพูดคุยเพื่อเก็บข้อมูลสถานการณ์เด็กเยาวชนเเละครอบครัวหมู่ 5 บ้านปลักเเรด ตามเเบบฟอรม์สำรวจข้อมูลที่ได้ออกเเบบไว้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะทำงานชุมชนและคณะทำงานแกนนำเยาวชนที่ลงเก็บข้อมูลได้มาประชุมร่วมกันเพื่อทำความเข้าใจในโครงการเเละได้มีส่วนร่วมในการคิดวางเเผนการทำงานของโครงการเเละกลไกสภาชุมชนบ้านปลักเเรด เพื่อให้ได้ ข้อมูลที่เป็นจริงของเเต่ละครอบครัว  รับทราบถึงปัญหาต่างๆ รวมถึงปัญหาเด็กเเละเยาวชนที่ชอบจับกลุ่มในเเต่ละวัย เเละสถานที่ ที่เด็กเเละเยาวชนชอบรวมกลุ่ม  เเกนนำเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมจัดเก็บข้อมูลได้เข้าใจถึงความรักความห่วงใยของครอบครัวที่มีต่อเด็กเเละเยาวชนทำให้เเกนนำเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมจัดเก็บข้อมูลได้มีเเนวคิดดีๆเพื่อชักนำเด็กเเละเยาวชนในชุมชนช่วยกันสร้างชุมชนเเละท้องถี่นให้น่าอยู่
    • โดยในครั้งนี้คณะทำงานได้มาร่วมทำความรู้จักและร่วมกันออกแบบในการลงสำรวจสถานการณ์เด็ก เยาวชนและครอบครัวในพื้นที่ ได้มีการแบ่งกลุ่มเพื่อลง โดยใช้รูปแบบแบ่งโซนในการทำงานออกเป็น 4 โซน เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการ
    • ข้อมูลในแบบสำรวจ จะประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม (เช่น เพศ สถานภาพ รายได้ ความเพียงพอของรายได้ หนี้สิน เงินออม วิธีการจ่ายเงินกับเด็ก ช่วงเวลาพูดคุย วิธีการให้กำลังใจเด็ก วิธีว่ากล่าวตักเตือน การกอดเด็ก การปรึกษาปัญหาของเด็ก เป็นต้น)  แบบสอบถามสาเหตุการติดสิ่งแสพติดในเด็กและเยาวชน แบบสอบถามการติดเกมออนไลน์ของวัยรุ่น

     

    22 23

    7. ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสถานการณ์เด็กเยาวชนและครอบครัว ม.5 บ้านปลักแรด

    วันที่ 22 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำเยาวชน 11 คน แกนนำชุมชน 11 คน ลงพื้นที่เก็บข้อมูลสถานการณ์เด็ก เยาวชนและครอบครัว หมู่ 5 ปลักแรด จำนวน 121 ครอบครัว เพื่อให้ได้ข้อมูลสถานการณ์ด้านเด็ก เยาวชนและครอบครัวโดยนำมาวิเคราะห์ให้เห็นสถานการณ์ที่แท้จริง แกนนำเยาวชนและคณะทำงาน 22 คน ลงเก็บข้อมูลตามแบบฟอร์มที่ได้ออกแบบไว้จำนวน 1 อาทิตย์โดยมีการแบ่งโซนเก็บข้อมูลออกเป็น 4 โซนๆละ 5 คนและ 6 คน แต่ละโซนมีทั้งเยาวชนและแกนนำชุมชนร่วมกันลงเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ใหญ่และเด็กเยาวชน สามารถทำงานร่วมกันได้ โดยลงไปสอบถามในเรื่องข้อมูลทั้งไป รายได้ของครอบครัว ความพอเพียงในการใช้จ่าย หนี้สินของครอบครัว เงินออมมีหรือเปล่าการรับประทานอาหารร่วมกันของคนในครอบครัว วิธีการจ่ายเงินให้กับลูก เวลาในการพูดคุยกับลูก การกล่าวตักเตือนลูก กอดลูกครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ ถ้าคนในครอบครัวมีปัญหาปรึกษาใคร ต่อด้วยสอบถามสาเหตุการติดสิ่งเสพติดในกลุ่มเด็ก เยาวชน สอบถามการติดเกมส์ออนไลย์ของวัยรุ่น ซึ่งเมื่อได้สอบถามเรียบร้อยแต่ละครอบครัวแล้วก็ได้ขอบคุณและชี้แจง สรุปข้อมูลปัญหา อุปสรรคและเทคนิคในการจัดเก็บข้อมูลในแต่ละสถานการณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานที่ลงเก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 22-28 ก.ย. 58 โดยมีการแบ่งโซนการทำงานออกเป็น 4 โซนๆละ 5-6 คน คละระหว่างเยาวชนกับแกนนำชุมชนเพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัยในการทำงาน และคณะทำงานที่ลงไปเก็บข้อมูลก็ได้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในชุมชนได้รับรู้ถึงปัญหาของชุมชนและร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหาในชุมชน

     

    22 22

    8. เพื่อสรุปข้อมูลสถานะการเด็กและเยาวชน

    วันที่ 29 กันยายน 2557 เวลา 90:00-14.30 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ขอคำปรึกษาในการจัดเวทีสรุปข้อมูลสถานการณ์เด็กและเยาวชน หมู่ 5 ปลักแรด  จากการที่แกนนำชุมชนและแกนนำเยาวชนว่างงาน จำนวน  22  คนได้ลงเก็บข้อมูลสถานการณ์เด็กเยวชนและครอบหมู่  5  บ้านปลัดแรดเมื่อ วันที่  22  -  28  เดือนกันยายน  2557  นั้นวันที่  29  เดือนกันยายน  2557    ผู้ประสานงานโครงการและเจ้าหน้าที่ข้อมูลได้นำส่งข้อมุลที่ได้จากการจัดเก็บ และขอคำปรึกษาเรื่องการรายงานข้อมูลผ่านเว็บไซต์ การจัดทำรายงานการเงินและการจัดทำรายงานการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รูปแบบในการจัดเวทีสรุปสถานการณ์จากการลงเก็บข้อมูลของแกนนำเยาวชนและแกนนำชุมชน 22 คน ใช้เวลา 1 อาทิตย์ ข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูล 121 ครอบครัว คือ ในชุมชนหมู่ 5 บ้านปลักแรด มีเด็กและเยาวชน อายุ 10-22 ปี รวม 72 คน  กำลังศึกษา 52 คน แต่งงานแล้ว 9 คน มีงานทำ 10 คน เยาวชนที่ไม่ได้ศึกษาและไม่ได้ทำงาน 16 คน เด็กเยาวชนที่กำลังศึกษาแต่อยู่ในสภาวะน่าเป็นห่วงและเป็นกลุ่มเสี่ยง 30 คน ซึ่งได้มารายงานคราวๆ ส่วนรายละเอียดอื่นจะต้องสรุปกันในวันจัดเวทีอีกครั้งหนึ่งเพื่อให้ข้อมูลมีความสมบูรณ์มากขึ้น

     

    2 2

    9. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3 เพื่อสรุปการลงพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลสถานการณ์เด็ก และเยาวชน

    วันที่ 30 กันยายน 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา  13.00  น.  โดยนางเจ๊ะนะ  ใบกาเด็น ผู้ประสานงานโครงการกล่าวทักทายและชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 เพื่อให้คณะกรรมการมาช่วยกันสรุปผลการลงพื้นที่ในการเก็บข้อมูลสถานการณ์เด็กเยาวชนและครอบครัว ของ ม. 5 ปลักแรด ซึ่งได้ลงเก็บข้อมูลมาเรียบร้อยแล้วตอนนี้ยังไม่ได้วิเคราะห์ว่ามีสถานการณ์เป็นอย่างไร แต่ก่อนอื่นต้องขอเล่าให้ฟังว่าจากการลงพื้นที่ทั้ง 7 วันของทีมคณะทำงานลงเก็บข้อมูลมีความสำเร็จในระดับหนึ่งหลายครอบครัวให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่บางครอบครัวก็จะมีคำถามในเรื่องของโครงการว่าเก็บไปทำไม เก็บแล้วได้อะไร แต่คณะทำงานของเราก็สามารถตอบคำถามได้และสามารถให้คนในพื้นที่ให้ข้อมูลได้ทุกครอบครัว แต่ก็อยากให้คนที่ลงพื้นที่อื่นๆช่วยกันสะท้อน

    • นางสาววิภา จากการที่ตนเองได้ลงพื้นที่กับทีมแกนนำชุมชนก็มีความสนุกสนานตอนแรกคิดว่าการทำงานกับผู้ใหญ่จะยากแต่จริงๆ แล้วผู้ใหญ่ก็เปิดโอกาสในการทำงานให้กับเราทำให้วิธีคิดของพวกเราเปลี่ยนไปและรู้สึกสนุกกับการทำงานชิ้นนี้มากค่ะและจะให้ความร่วมมือในการทำงานต่อไป

    • นายเจ๊ะหวี  ดินนุ้ย การทำงานที่ให้เยาวชนมามีส่วนร่วมเป็นเรื่องที่ดีตนเองก็เห็นด้วยถ้าการที่ในชุมชนของเรามีการทำงานที่ช่วยเหลือและเปิดโอกาสให้เยาวชนมาเป็นผู้นำ และทำงานพัฒนาต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 วันที่ 30 กันยายน 2557 ณ อาคารอเนกประสงค์หมู่ที่ 5 บ้านปลักแรด มีผู้เข้าร่วมประชุม 34 คน เป็นทั้งคณะทำงานโครงการและคณะทำงานที่ลงเก็บข้อมูลสถานการณ์เด็กเยาวชนและครอบครัว ซึ่งข้อมูลเบื้องต้นที่ได้และนำมาเสนอก่อนโดยผูประสานงานโครงการ คือจากการลงเก็บข้อมูลของแกนนำเยาวชนว่างงานและแกนนำ 22 คน ข้อมูลทั้งหมดที่ได้รับจากการเก็บข้อมูลของแกนนำเยาวชนว่างงาน และแกนนำชุมชน 22 คน รวม 121 ครอบครัว คือ ในชุมชนหมู่ 5 บ้านปลักแรด มีเด็กและเยาวชน อายุ 10-22 ปี รวม 77 คน กำลังศึกษา 52 คน แต่งงานแล้ว 9 คน ทำงาน 10 คน เยาาวชนที่ไม่ได้ศึกษาและไม่ได้ทำงาน 16 คน เด็ก เยาวชนที่กำลังเรียนและเป็นกลุ่มเสี่ยง 30 คน รวมเด็กและเยาวชนที่คัดเลือกเข้าร่วมโครงการ คน 3 วัยใส่ใจครอบครัว ใน 50 ครอบครัวประกอบด้วย เยาวชนที่พ่อแม่แยกทางกัน 6 คน แม่เสียชีวิต 2 คน พ่อเสียชีวิต 2 คน เด็ก เยาวชนที่กำลังศึกษาและเป็นกลุ่มเสี่ยง 24 คน เยาวชนที่ไม่ได้ศึกษาและไม่ได้ทำงาน 16 คน

     

    30 34

    10. สรุปวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์เด็ก เยาวชนและครอบครัว ม.5 บ้านปลักแรด

    วันที่ 1 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แกนนำเยาวชนและคณะทำงาน 22 คน ลงสำรวจข้อมูลความเป็นอยู่ การใช้ชีวิตในแต่ละวัน 1.สถานภาพของครอบครัว
    2.รายได้หลักของครอบครัว 3.เศรษฐกิจของครอบครัว
    4.ภาระหนี้สินของครอบครัว 5.เงินเก็บเงินออมของครอบครัว
    6.เสาหลักของครอบครัว 7.การให้ความอบอุ่นและความสำคัญกับเด็ก เยาวชนและบุคคลในครอบครัว 8.วิธีการจ่ายเงินให้กับเด็ก และเยาวชนในครอบครัว 9.การให้เวลากับเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว 10.การให้กำลังใจหรือสิ่งตอบแทนเมื่อเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวทำความดี 11.วิธีการตักเตือนหรือให้คำแนะนำเด็ก และเยาวชน และบุคคลในครอบครัวเมื่อเขาทำผิด 12.การแสดงความรักกับเด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว 13.ใครคือผู้ที่เด็ก เยาวชน และบุคคในครอบครัวไว้วางใจและขอคำแนะนำเวลามีปัญหา 14.การดูแลเอาใจใส่เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว 15.การให้คำชี้แนะถึงโทษของยาเสพติด 16.ปัญหาที่ต้องแก้ไขในชุมชน 17.แนวคิดในการพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับรู้ข้อมูลที่เป็นจริงที่ผู้ปกครองเด็กเยาวชนและครอบครัวปฏิบัติต่อกันในแต่ละวันและสามารถสรุปถึงปัญหาที่เกิดในชุมชนได้การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับมาจากการสำรวจเด็กเยาวชนและครอบครัว 121 ครอบครัว

     

    62 62

    11. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 4 เพื่อเตรียมเวทีอบรมพัฒนาศักยภาพ เยาวชน ม.5 บ้านปลักแรด

    วันที่ 15 ตุลาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เปิดประชุมเวลา  13.00  น.โดยนางเจ๊ะน๊ะ  ใบกาเด็น ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม ประชุมเรี่องการจัดกิจกรรม คน  3  วัยใส่ใจครอบครัวในวันที่  18  -19  - 20  ตุลาคม  2557  ซึ่งเป็นกิจกรรมอบรมผู้ปกครองและอบรมเยาวชน ซึ่งอบรมผู้ปกครองจำนวน 1 วัน และอบรมเยาวชน จำนวน 2 วัน กลุ่มเป้าหมายอยากให้เราช่วยกันเชิญเนื่องจากคนในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครองหรือเยาวชนก็เป็นพี่น้องของเราทั้งสิ้น อยากให้แบ่งโซนที่จะเชิญไม่ทราบว่าพวกเรามีความเห็นเป็นอย่างไรบ้าง โดยมีผู้ปกครองของเยาวชนที่เข้าร่วมอบรมจำนวน 50 คน และเยาวชนจำนวน 50 คน ตอนนี้ทางผู้ประสานงานก็ได้เชิญวิทยากรไว้แล้ว

    • นายเจ๊ะหวี เห็นด้วยที่จะให้ได้มีการร่วมกันทำงานในครั้งนี้และแบ่งโซนในการเชิญผู้เข้าร่วมประชุมเพราะส่วนใหญ่แล้วคนในพื้นที่ก็เป็นพี่น้องกันทั้งนั้นใครอยู่ในโซนไหนก็ให้เชิญคนในโซนนั้น
    • นายเสรี คิดว่าเราน่าจะแบ่งกันเป็น 4 โซน ประกอบด้วย ซอยท่ามะนาว โซนหน้าโรงเรียน โซนหน้ามัสยิด โซนทุ่งยาว ซึ่งแต่ละโซนก็ให้มีคนรับผิดชอบที่ชัดเจนเพื่อช่วยกันทำงานต่อไปก็ให้ทีมแต่ละโซนช่วยกันทำงาน
    • นางเจ๊ะนะ เมื่อเราได้คนทำงานแล้วก็อยากให้ช่วยกันแบ่งบทบาทหน้าที่ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เชิญค่ะ
    1. นางม๊ะ            หลงกอหราบ              รับผิดชอบเรื่องอาหารกลางวัน
    2. นางวิภา          ยาง๊ะ                        รับผิดชอบเรื่องอาหารว่าง
    3. นายฐัฒมา      โต๊ะเจ๊ะเหงาะ              เป็นผู้ดูแลเรื่องเวทีและเครื่องเสียง
    4. นายยูโสบ        องสารา                    เป็นผู้ประสานงานกลุ่มเป้าหมาย
    5. นายสมิ            บารา                        เป็นผู้ดูแลอำนวยความสะดวกให้กับผู้ร่วมประชุม
    6. นายเจ๊ะหลน    หลงกอหราบ              ฝ่ายประชาสัมพันธ์โครงการ
    7. นางเจ๊ะน๊ะ      ใบกาเด๊น                    ดูแลความเรียบร้อยในการจัดอบรม

        เมื่อได้คนทำงานและรับผิดชอบงานที่ชัดเจนแล้วก็ให้พวกเราช่วยกันประสานงานและร่วมกันมาทำงานในวันที่จัดกิจกรรมจริง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 วันที่ 15 ต.ค. 57 ณ อาคารอเนกประสงค์หมู่ที่ 5 บ้านปลักแรด มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 34 คน ได้มาพูดคุยเพื่อออกแบบเวที อบรมผู้ปกครองและอบรมเยาวชน จำนวน 100 คน ได้มีการแบ่งบทบาทหน้าที่กความรับผิดชอบในการทำงาน เพื่อให้งานออกมาสำเร็จตามที่วางไว้โดยได้มีการแบ่งบทบาทคนประสานงานผู้เข้าร่วมประชุม คนที่ช่วยในเวทีเมื่อมีการจัดกิจกรรมจริง

     

    30 33

    12. อบรมผู้ปกครองเรื่องทักษะการสื่อสารลูกหลาน

    วันที่ 18 ตุลาคม 2557 เวลา 09:00-16.00 น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เว ล า 9.00  น.  นายกาด  วาหาบ  ผู้นำฝ่ายปกครอง  ฃึ่งเป็นประธานในโครงการได้เล่าถึงความเป็นมาของโครงการและกิจกรรมต่างๆของโครงการที่ได้ดำเนินไปแล้วจนมาถึง วันที่  18  ตุลาคม  เวลา  9.30  น.ประธานโครงการได้เรียนเชิญท่าน นายบัณชา      องศารา    รองนายก  อบต .เป็นผู้กล่าวเปิดงาน  เวลา  10.00  น.และต่อจากนั้นเป็นหน้าที่ของวิทยากรอบรมผู้ปกครองเรื่องทักษะการสื่อสารกับลูกหลานเพื่อให้ผู้ปกครองเกิดความเข้าใจและเท่าทันสามารถสื่อสารกับลูกหลานที่เป็นเด็กและเยาวชนได้อย่างถูกวิธี     ขั้นตอนที่  1 .วิทยากรได้บอกเล่าถึงการใช้ชีวิตของวัยรุ่นในสังคมปัจุบันว่าเป็นอย่างไร  เช่น             การใช้โทรศัพท์             การแฃททางไลน์             การหาคู่ทางอินเตอร์เน็ต             การคุยผ่านเฟจบุค             แนะนำให้ผู้ปกครองได้รู้จักสารอันตรายบางชนิดที่เป็นภัยต่อเด็กและเยาวช             และแนะนำให้ผู้ปกครรองสังเกตุพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนจากการคบเพื่อน   ขั้นตอนที่  2
                วิทยากรได้แนะนำผู้ปกครองเรื่องวิธีการพูดคุยสื่อสารกับเด็กและเยาวชนในปกครองได้อย่างถูกวิธี  คือ             เด็กและเยาวชนในวัย  12  -  15  ปี    ผู้ปกครองควรใช้คำพูดแบบใหน             หรือจะใช้วิธีการพูดการสื่อสารแบบใหนกับเยาวชนที่อยู่ในวัยอันตราย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปที่เกิดขึ้นจริงผู้ปกครองได้เข้าใจถึงวิธีการเลี้ยงดูอบรมการใช้คำพูดที่เหมาะสมสื่อสารกับลูกหลานที่เป็นเด็กและเยาวชนในยุคสังคมก้มหน้าอย่างถูกวิธีโดยไม่ให้เกิดช่องว่างระหว่างวัย    และผู้ปกครองสามารถเข้าใจถึงการปฏิบัติตัวของลูกหลานแต่ละวัยแม้ว่าบางเรื่องเป้นสิ่งที่ผู้ปกครองไม่เห็นด้วยแต่ต้องทำใจและหาวิธีการพูดคุยสื่อสารกับเด็กและเยาวชนในปกครองได้อย่างถูกวิธีเพื่อให้เด็กและเยาวชนในปกครองได้ปลอดภัยจากอบายมุขต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชนและสังคมปัจุบัน           ผู้ปกครองสามารถมองเห็นเหตุการณ์หรือสถานการณ์ด้านเด็กและเยาวชนที่เกิดขึ้นจริงและสามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจและช่วยกันแก้ไขปันหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนได้      ในส่วนของการจัดกิจกรรมผุ้ปกครองสามารถเข้าร่วมกิจกรรมกับลูกหลานได้มากขึ้นสามารถเข้าใจและมองเห็นปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นทำให้เกิดกระบวนการแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิธิภาพมากยิ่งขึ้นสามารถพัฒนาศักยาภาพชีวิตเพิ่มขึ้น

     

    50 50

    13. อบรมเด็กและเยวชนเพื่อให้เกืดความกระหนักสำนึกรักชุมชน

    วันที่ 19 ตุลาคม 2557 เวลา 08:00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เปิดรับลงทะเบียนเด็กและเยาวชนเวลา      8.00  น    ถึงเวลา  9.00  น.เด็กและเยาวชนลงทะเบียน  50 คน  เปิดเวทีอบรมเวลา    9.00 น.    โดยวิทยากรนาย ยาโกบ    สารีปา และคณะ เจ้าหน้าที่ศูนย์กู้ชีพกู้ภัยร่มไทรอบรมให้ความ รู้เรื่อง การสร้างชุมชนให้น่าอยู่ฝึกให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการป้องกันปราบปรามอบายมุขส่ิงเสพติดที่มีในชุมชนเพื่อให้เด็กเยาวชนได้ตระหนักสำนึกรักในชุมชน ให้ความรู้แก่เยาวชนในเรื่อง  รู้ถึงภัยของยาเสพติดต่างๆ ที่มีในสังคม ให้ความรู้เรื่องของภัยจากการกินน้ำใบกระท่อม ให้ความรู้เรื่องภัยของการติดยาบ้าและรวมไปถึงการติดบุหรี่ เพราะเมื่อติดยาเสพติดเหล่านี้แล้วจะทำให้เยาวชนเป็นคนที่ต้องหลบๆซ่อนๆ ไม่กล้าแสดงออกในสังคมไม่ชอบที่จะชวยเหลือสังคมและทำให้พวกเขาเหล่านี้มีชอ่งว่างเกิดขึ้นเมื่อมีปัญหาเขาเหล่านั้นก็จะไม่กล้าที่จะพูดคุยหรือปรึกษากับผู้ใหญ่ในสังคมซึ่งทำให้พวกเขาเกิดความหวาดกลัวและวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลา           สร้างความมั่นใจให้กับเยาวชนโดยให้เยาวชนกล้าที่จะแสดงออกวึ่งศักยภาพของเยาวชนเองและให้วิทยากรสอนและให้ความรู้เรื่องการใช้อุปกรณ์ในการช่วยเหลือและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น  เช่น
    1. การช่วยเหลือผู้ป่วยที่ติดยาเสพติดจนร่างกายช็อคหมดสติจะต้องทำอย่างไร
    2. การช่วยเหลือผู้ป่วยจมน้ำทำอย่างไร 3. การช่วยเหลือผู้ป่วยจากการประสพอุบัติเหตุบนท้องถนนเหล่านี้เป็นต้น           และเป็นการสร้างความใก้ลชิดระหว่างพ่อแม่กับลูกโดยการทำกิจกรรมร่วมกันโดยใหัผู้ปกครองเป็นผู้ป่วยแลให้เยาวชนเป็นผู้ช่วยเหลือฃึ่งการช่วยเหลือดังกล่าวเป็นการลงมือปฎิบัติจริงทั้หมด    และเมื่อเขาเป็นผู้ช่วยเหลือสังคมแล้วเขาก็กล้าที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมั่นใจและห่างไกลจากสิ่งเหล่านี้ได้เพราะเด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกในใจอยู่ตลอดเวลาว่าเขาต้องช่วยเหลือสังคมจากความรู้ที่ได้รับมา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กและเยาวชนสามารถนำทักษะพื้นฐานที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมนำไปปฏิบัติกับชุมชนและกลุ่มเยาวชนด้วยกันเองช่วยกันดูแลปกป้องชุมชนจากสถานารณ์ต่างๆในชุมชนได้ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งเด็กและเยาวชนเกิดความสำนึกรักบ้านเกิด                 เพื่อให้เยาวชนเกิดแกนนำและมีศักยาภาพในการกำหนดระเบียบกติการ่วมกันของกลู่มเยาวชนสามารถรวมกลุ่มกันประสานงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในเรี่องของการพัฒนาชุมชนและร่วมกันปกป้องเด็กและเยาวชนกลุ่ม

     

    50 66

    14. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 5 เพื่อประเมินผลที่ผ่านมา

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 เวลา 13:00-16.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เปิดประชุมเวลา 13.00น.ณ อาคารเอนกประสงค์หมู่ที่ 5 บ้านปลักแรดโดยมีนายยูโสบ องสาราเป็นประธานในที่ประชุมและเป็นผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการกล่าวทักทายผู้เข้าร่วมประชุมและแจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงวัตถุประสงค์ของการเชิญประชุมในครั้งนี้ว่าเป็นการประชุมคณะทำงานโครงการครั้งที่5เพี่อชี้แจงเรี่องการดำเนินงานและการจัดกิจกรรมโครงการโดยมอบหมายให้นางเจ๊ะน๊ะ ใบกาเด็น ผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นผู้รายงาน นางเจ๊ะน๊ะ ใบกาเด็นได้รายงานทบทวนถึงการประชุมคณะทำงานโครงการ 4 ครั้ง การได้ร่วมประชุมกับแกนนำเยาวชน 1 ครั้งและการจัดกิจกรรม3ครั้งคือ

    1. การลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลสถานะการณ์เด็กเยาวชนและครอบครัว
    2. การจัดอบรมผู้ปกครองเรื่องทักษะการสื่อสารกับลูกหลาน
    3. การจัดอบรมเด็กและเยาวชนเพื่อให้เกิดความตระหนักสำนึกรักชุมชน

    ให้คณะทำงานโครงการได้รับทราบและร่วมกันแสดงความคิดเห็นเพื่อประเมินผลสถานะของชุมชนหมู่ 5 บ้านปลักแรดก่อนการจัดกิจกรรมและหลังการจัดกิจกรรมจากการพูดคุยถึงเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนหมู่5บ้านปลักแรดหลังการจัดกิจกรรม นาย กาด วาหาบ ผู้ใหญ่บ้านและเป็นประธานโครงการได้สรุปว่าขณะนี้สถาณะการณ์ในชุมฃนหมู่ที่5ปลักแรดของเราดีขึ้นมากปัญหาการลักขโมยการทะเลาะเบาะแว้งที่เคยมีลดลงไปมากจนไม่มีชาวบ้านไปแจ้งความร้องทุกข์เรื่องราวต่างๆ หลังจากนั้นนางสาวกันติยา วาหาบได้แจ้งเรื่องค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมและการจัดประชุมทุกครั้งให้ที่ประชุมทราบและนัดประชุมพูดคุยครั้งต่อไปเพื่อจัดตั้งศูนย์บริการที่เป็นมิตรกับเยาวชนในวันที่16 เดือนพฤศจิกายน 2557 ปิดประชุมเวลา16.30น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดความตื่นตัวในกลุ่มผู้นำที่พร้อมจะพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเพื่อให้เกิดความสงบสุขความสามัคคีที่ยั้งยืน ภาคีภาคส่วนต่างๆให้ความสำคัญกับเด็กและเยาวชนมากขึ้น เกิดการรวมตัวในกลุ่มเด็กและเยาวชนโดยแกนนำเยาวชนเพื่อปฏิรูปชุมชนให้ก้าวไปสู่มิติใหม่ เด็กและเยาวชนสามารถนำทักษะพื้นฐานที่ได้ทำกิจกรรมนำไปปฏิบัติกับชุมชนและกลุ่มเยาวชนด้วยกันเองช่วยกันดูแลปกป้องชุมชนจากสถานะการณ์ต่างๆในชุมชนได้ทำให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและเยาวชนเกิดความสำนึกรักบ้านเกิดมากยิ่งขึ้น และในส่วนของเยาวชนแกนนำมีศักยภาพมากขี้นในการกำหนดระเบียบกติการ่วมกันของกลุ่มเยาวชนสามารถรวมกลุ่มกันประสานงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องของการพัฒนาชุมชนและร่วมกันปกป้องเยาวชนกลุ่มเสี่ยงได้

     

    30 24

    15. ประชุม พูดคุย เพื่อจัดตั้งศูนย์บริการที่เป็นมิตรกับเยาวชน ครั้งที่ 1

    วันที่ 16 พฤศจิกายน 2557 เวลา 13:00-16.00น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เปิดประชุมเวลา13.00น.โดยนายเจ๊ะหวี ดีนนุ้ย กรรมการฝ่ายปกครองและเป็นแกนนำเยาวชนได้พูดคุยปรึกษากับคณะทำงานโครงการและเยาวชนร่วมประชุมเพื่อจัดตั้งศูนย์บริการที่เป็นมิตรกับเยาวชนโดยการให้เยาวชนจิตรอาสาที่เคยผ่านการอบรมเสนอตัวเพื่อเป็นที่ปรึกษาและรับฟังปัญหาของเยาวชนในเรื่องของการอยู่ร่วมกันกับคนในครอบครัวและกับคนอื่นๆในสังคม ตลอดจนปัญหาความไม่เข้าใจกันของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เยาวชนเกิดการรวมกลุ่มกันทำให้มีการมั่วสุมทำกิจกรรมที่ไม่ดีหรืออาจจะทำให้เยาวชนหันไปพึ่งพายาเสพติดได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เยาวชนจิตอาสาและคณะทำงานศูนย์บริการที่เป็นมิตรกับเยาวชนรวม30คนเพื่อเป็นที่ปรึกษาและเป็นแกนนำชักชวนเยาวชนกลุ่มเสี่ยงทำในสิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมมีการจับกลุ่มพูดคุยกันแสดงความรู้สึกที่จริงใจต่อกันทำให้เด็กและเยาวชนเกิดความไว้วางใจและลดช่องว่างระหว่างวัยและร่วมทำกิจกรรมกับผู้ใหญ่มากขึ้น จากการทำกิจกรรมทำให้ผู้ปกครองบางส่วนสามารถรับรู้ถึงปัญหามากขึ้นและสามารถหาวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างถูกวิธีเยาวชนกลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในสิ่งที่เกิดขึ้นและสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ จากการจัดกิจกรรมต่างๆทำให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนระหว่างกลุ่มผู้นำ ผู้ปกครองกลุ่มเป้าหมายและเยาวชนได้ร่วมกันส่งเสริมกระบวนการจัดการชุมชนในส่วนของการพัฒนา การมีส่วนร่วมในการวางแผนการทำงาน การจัดทำโครงการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้ชุมชนสามารถมองเห็นเหตุการณ์หรือสถานการณ์ของเยาวชนที่เกิดขึ้นจริงและสามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจและช่วยกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนได้

     

    30 30

    16. ส่งข้อมูลเกี่ยวกับเยาวชน

    วันที่ 25 พฤศจิกายน 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการและเจ้าหน้าที่ข้อมูลได้นำส่งรายชื่อเยาวชนที่มีอายุระหว่าง10-20ปี จำนวน38คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้นำส่งรายชื่อเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 10-20จำนวน 38 คน

     

    2 2

    17. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 6 ประชุมประจำเดือนของสภาชุมชน เพื่อวางแผนการดำเนินงานในระยะต่อไป

    วันที่ 15 ธันวาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เปิดประชุมเวลา13.00น.โดยนาย กาด วาหาบ ประธานโครงการและเป็นผู้นำ ฝ่ายปกครองได้บอกกล่าวให้ที่ประชุมทราบเรื่องการขึ้นทะเบียนเกษตรกรให้ประชาชนเตรียมเอกสาร
    1. เอกสารบัตรประจำตัวประชาชน 2. เอกสารสำเนาทะเบียนบ้าน
    3. เอกสารกรรมสิทธ์ในที่ดินอย่างละ 2 ชุด เตรียมพร้อมเพี่อไปขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่อำเภอท่าแพ หลังจากนั้นนาย เจ๊ะหวี ดีนนุ้ยผู้ช่วยฝ่ายปกครองได้รายงานสถาณะการณ์ในชุมชนหมู่ 5 บ้านปลักแรดหลังจากมีการจัดกิจกรรมของโครงการสี่แยกวัดใจฃึ่งเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 15 เดือนพฤษภาคม 2557 ประชาชนได้ให้ความสำคัญกับชุมชนมากขึ้นสังเกตุได้จากการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านจะมีประชาชนเข้าร่วมประชุมมากขึ้นและนำเอาปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนมาเล่าสู่กันฟังเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาในชุมชน ก่อนปิดประชุมเวลา 16.00น.นายกาด วาหาบ ผู้ใหญ่บ้านประกาศว่าต่อไปนี้หมู่5 บ้านปลักแรดจะมีการประชุมสภาชุมชนทุกเดือนโดยกำหนดว่าหลังจากวันประชุมประจำเดือนกำนันผู้ใหญ่บ้านที่อำเภอ 3 วัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปได้กำหนดวันที่และเวลาในการประชุมสภาองค์กรชุมชน ได้รับรู้ปัญหาหาที่เกิดขึ้นในชุมขน จากการประชุมสภาองค์กรชุมชนเด็กและเยาวชนสามารถนำความรู้ต่างๆที่ได้จากการจัดกิจกรรมไป ปฏิบัติได้จริง สามารถเข้าใจปัญหาและแก้ไขปัญหาต่างๆหรือสถานะการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นจริงได้
    และนอกจากนี้ชุมชนสามารถเป็นตัวอย่างให้กับชุมชนใกล้เคียงได้และเยาวชนหมู่บ้านใกล้เคียง อยากเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชุมชนด้วย หลังจากการจัดกิจกรรมเสร็จในแต่ละครั้งเยาวชน ยังอยากมีส่วนร่วมและให้จัดกิจกรรมอีก

     

    30 25

    18. ประชุม คณะบริการที่เป็นมิตรกับเยาวชน ครั้งที่ 2 เพื่อวางแผนเวทีพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชน

    วันที่ 1 มกราคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เปิดประชุมเวลา 13.00น.โดยนางเจ๊ะน๊ะ ใบกาเด็น ผู้รับผิดชอบโครงการได้รายงานเรี่อง การนำส่งรายชื่อเยาวชนให้กับสำนักงานศูนย์บริการที่เป็นมิตรกับเยาวชนหลังจากนั้นได้มอบให้
    นายอับดลกอหนี ลิ่มมิตร แกนนำเยาวชนได้ทำความเข้าใจกับเยาวชนและผู้ร่วมประชุมเรื่อง วางแผนการจัดเวทีพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยมอบหมายให้ นายสมิ บารา ประสานกับเยาวขน ในหมู่ 5 บ้านปลักแรด นายอาซีซันองสารา ประสานกับเยาวชนพื่นที่ใกล้เคียงนายเจ๊ะหวีดีนนุ้ย
    รับผิดชอบเรื่องเวทีและเคร่ื่ืองเสียง นางม๊ะ หลงกอหราบ รับผิดชอบเรื่องอาหาร นางสาววิภายาง๊ะ
    รับเรื่องติดต่อวิทยากร สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับมอบหมายหน้าที่จะคอยให้ความช่วยเหลือ เรื่องทั่วไปปิดประชุมเวลา 16.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้แบ่งงานกันทำเพิ่อให้บรรลุตามจุดประสงค์ทุกคนรับหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายพร้อมปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

    1.นายอับดลกอหนี ลิมมิตร แกนนำเยาวชนให้ทำความเข้าใจกับเยาวชนและผู้เข้าร่วมประชุมเรื่องการวางแผนการจัดเวทีพัฒนาเด็กและเยาวชน 2.นายสมิ บารา ประสานกับเยาวชนในพื้นที่หมู่5 บ้านปลักแรดในการเข้าร่วมกิจกรรม 3.นายอาซีซัน องสารา ประสานกับเยาวชนพื้นที่ใกล้เคียงในการเข้าร่วมกิจกรรม 4.นายยูนุส หลงกอหราบ รับผิดชอบเรื่องเวทีและเครื่องเสียง 5.นางม๊ะ หลงกอหราบ รับผิดชอบเรื่องอาหาร 6.นางสาววิภา ยาง๊ะ รับผิดชอบในส่วนของการติดต่อวิทยากร

     

    30 30

    19. อบรมเวทีพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน ให้สามารถจัดทำระเบียบ กติการ่วมของสี่แยกวัดใจได้

    วันที่ 10 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 9.00 น. รับลงทะเบียนเยาวชนและผู้เข้าร่วมโครงการ

    เวลา 9.30 น. เปิดเวทีโครงการ

    เวลา 9.40 น. นายยูโสบ องสารา ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการได้แจ้งให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทราบถึง
    วัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เพื่อให้แกนนำชุมชนและเยาวชนได้ร่วมกันวางกฎระเบียบ ของชุมชนและตั้งเป็นข้อตกลงที่จะปฏิบัติร่วมกัน

    เวลา 10.00 น. นายกาด วาหาบ ประธานโครงการ เปิดงานเพื่อดำเนินกิจกรรมต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนกล้าแสดงออก มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น และพร้อมที่จะร่วมกันแก้ปัญหาของชุมชน โดยการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่แกนนำชุมชนและเยาวชนได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้นมา
    ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานที่เป็นเยาวชน โดยการเลือกประธานเยาวชน ดังนี้

    1.นายกุรซีร์ โต๊ะเจ๊ะเหงาะ ประธาน 2.นายทศพร ล่าสาด รองประธาน 3.นายอนิรุจ หมาดเต๊ะ เลขานุการ
    4.นายบราซิล ยาหมาย เหรัญญิก

    และแต่งตั้งคณะกรรมการแต่ละเขตๆละ 1 คน เพื่อเป็นแกนนำ ได้แก่ 1.นายอรรถกรณ์ หมาดปาหยัง 2.นายวีระ โต๊ะดุสน 3.นายดลรอสัก เหมนะ 4.นายสิริศักดิ์ เหร็บราเย็น 5.นายสุรศักดิ์ ดีนนุ้ย
    รวมเป็นกรรมการทั้งหมด 9 คนกรรมการที่ได้รับการคัดเลือกจะเป็นแกนนำของเด็กและเยาวชน ในการทำกิจกรรมร่วมกับผู้ใหญ่และชักชวนเยาวชนกลุ่มเสี่ยงให้ห่างไกลจากอบายมุขและร่วมกัน ทำสิ่งดีเพื่อแก้ปัญหาของเยาวชนในชุมชน

     

    40 40

    20. เพื่อสรุปรูปแบบกติกาของชุมชน

    วันที่ 12 มกราคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำส่งรายละเอียดการจัดกิจกรรมอบรมเวทีพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนเพื่อจัดระเบียบกติกาของชุมชน
    กฎกติกาที่ร่วมกันกำหนดไว้คือ
    1. หากมีทรัพย์สินในชุมชนสูญหายและสืบทราบว่าเป็นการกระทำของเด็กและเยาวชนในชุมชน
    ครั้งที่ 1 ตักเตือนและเอาของมาคืน
    ครั้งที่ 2 แจ้งให้ผู้ปกครองรับทราบและบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เช่นทำความสะอาดสถานที่สาธารณะเป็นเวลา1เดือน
    ครั้งที่ 3 อยู่ที่ดุลพินิจของกรรมการหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง 2. การฃิ่งมอเตอร์ไฃร์เสียงดังรบกวน
    ครั้งที่ 1 ตักเตือน
    ครั้งที่ 2 จะทำการยึดรถมอเตอร์ไซร์เอาไว้ก่อน แล้วให้ผู้ปกครองของเยาวชนมาเอารถคืน
    ครั้งที่ 3 อยู่ที่ดุลพินิจของกรรมการหมู่บา้นและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง 3. กฎระเบียบการใช้บริการ ร้านคอมพิวเตอร์ 1). วันจันทร์-วันศุกร์(ยกเว้นวันพฤหัสบดี) เปิดร้านเวลา 9.00-22.30 น. 2). วันเสาร์-วันอาทิตย์ เปิดร้านเวลา 8.00-23.00 น. 3). วันพฤหัสบดี เปิดร้านเวลา 9.00-18.00 น. 4. การจัดการกับสิ่งอบายมุกต่างๆในหมู่บ้าน 1). ต่ำกว่า15 ปี ให้คณะกรรมการเยาวชน ม.5 เป็นผู้ตักเตือน อายุระหว่าง 16-18 ปี ให้ผู้ใหญ่ตักเตือน 2). ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ เช่น มัสยิด โรงเรียน ร้านคอมพิวเตอร์
    5. กิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในหมู่บ้าน 6. ห้ามจับกลุ่ม มั่วสุม เกินเวลา 23.00 น. 7. ทุกค่ำวันศุกร์(วันพฤหัสบดีตอนกลางคืน) หลังละหมาดมัฆริบ ให้เยาวชนในหมู่บ้านรวมตัวกันมาเรียนอัลกรุอาน ที่มัสยิดบ้านปลักแรดพัฒนา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เด็กและเยาวชนหมู่5บ้านปลักแรดได้กฏกติกาที่ใช้ร่วมกันคือนำส่งรายละเอียดการจัดกิจกรรมอบรมเวทีพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนเพื่อจัดระเบียบกติกาของชุมชน
    กฎกติกาที่ร่วมกันกำหนดไว้คือ
    1. หากมีทรัพสินในชุมชนสูญหายและสืบทราบว่าเป็นการกระทำของเด็กและเยาวชนในชุมชน
    ครั้งที่ 1 ตักเตือนและเอาของมาคืน
    ครั้งที่ 2 แจ้งให้ผู้ปกครองรับทราบและบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เช่นทำความสะอาดสถานที่สาธารณะเป็นเวลา1เดือน ครั้งที่ 3 อยู่ที่ดุลพินิจของกรรมการหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง 2. การฃิ่งมอเตอร์ไฃร์เสียงดังรบกวน
    ครั้งที่ 1 ตักเตือน
    ครั้งที่ 2 จะทำการยึดรถมอเตอร์ไซร์เอาไว้ก่อน แล้วให้ผู้ปกครองของเยาวชนมาเอารถคืน
    ครั้งที่ 3 อยู่ที่ดุลพินิจของกรรมการหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง 3. กฎระเบียบการใช้บริการ ร้านคอมพิวเตอร์ 1). วันจันทร์-วันศุกร์(ยกเว้นวันพฤหัสบดี) เปิดร้านเวลา 9.00 - 22.30 น. 2). วันเสาร์-วันอาทิตย์ เปิดร้านเวลา 8.00 - 23.00 น. 3). วันพฤหัสบดี เปิดร้านเวลา 9.00 - 18.00 น. 4. การจัดการกับสิ่งอบายมุกต่างๆในหมู่บ้าน 1). ต่ำกว่า 15 ปี ให้คณะกรรมการเยาวชน ม.5 เป็นผู้ตักเตือน อายุระหว่าง 16-18 ปี ให้ผู้ใหญ่ตักเตือน 2). ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ เช่น มัสยิด โรงเรียน ร้านคอมพิวเตอร์
    5. กิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ในหมู่บ้าน 6. ห้ามจับกลุ่ม มั่วสุม เกินเวลา 23.00 น. 7.ทุกค่ำวันศุกร์(วันพฤหัสบดีตอนกลางคืน) หลังละหมาดมัฆริบ ให้เยาวชนในหมู่บ้านรวมตัวกันมาเรียนอัลกรุอาน ที่มัสยิดบ้านปลักแรดพัฒนา

     

    2 2

    21. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 7 เพื่อวางแผนการอบรมเรื่องการจัดทำดินพร้อมปลูก

    วันที่ 15 มกราคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงานโครงการครั้งที่ 7 เพื่อวางแผนอบรม เรื่องการจัดทำดินพร้อมปลูก เริ่มประชุมเวลา 13.00 น.
    เพื่อวางแผนอบรมเรื่องการทำดินพร้อมปลูกโดยแบ่งคณะทำงานแต่ละฝ่ายตามความถนัด 1. นางเจ๊ะน๊ะ ใบกาเด็น ผู้จัดทำโครงการ ประสานงานวิทยากร และจัดทำป้ายไวนิล 2. นายยูโสบ องสารา ผู้ร่าวมจัดทำโครงการ ประสานงานผู้เข้าอบรม 3. นายเจ๊ะหวี ดีนนุ้ย จัดการเรื่องวัสดุและอุปกร ณ์ 4.นางม๊ะ หลงกอหราบ และนางสาววิภา ยาง๊ะ เป็นฝ่ายจัดการเรื่องอาหาร 5.นายอับดุลกอหนี ลิ่มมิตร จัดเตรียมเวทีใช้ในการอบรมเศรษฐกิจพอเพียงและทำบัญชีครัวเรือน ปิดประชุม เวลา 16.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สถานที่ๆใช้ในการอบรมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงและการทำบัญชีครัวเรือนจะใช้สถานที่มัสยิดบ้านปลักแรดพัฒนาและการทำกิจกรรมการทำดินพร้อมปลูกจะใช้สถานที่ใกล้กับอาคารเอนกประสงค์หมู่ 5 บ้านปลักแรดฃึ่งได้มีการเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ไว้พร้อมแล้ว และได้มอบหมายงานให้แต่ละฝ่ายเป็นผู้รับผิดชอบ

     

    30 28

    22. อบรม พ่อ แม่ ลูก ในการจัดทำดินพร้อมปลูก เพื่อสร้างรายได้และเสริมความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและชุมชน

    วันที่ 25 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    อบรม พ่อ แม่ ลูก ในการจัดทำดินพร้อมปลูก เพื่อสร้างรายได้และเสริมความสัมพันธ์ภายในครอบครัวและชุมชน เริ่มลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม เวลา 9.00 - 9.30 น. อบรมภาคทฤษฎีโดยวิทยากร นายรินณ์ ศรีพุฒ เกษตรอำเภอท่าแพ เรื่องการใช้ปุ๋ยชีวภาพหรือปุ๋ยอินทรีย์ในสวนผัก สวนยาง และสวนผลไม้ต่างๆ เพื่อช่วยฟื้นฟูสภาพดิน และลดการใช้สารเคมี และสอนวิธีการกำจัดเชื้อราในแปลงผัก ในยางยืนต้นตาย อบรมภาคปฏิบัติ เวลา 13.30 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกในชุมชนที่เข้าร่วมอบรมได้ใช้ปุ๋ยชีวภาพ เด็กและผู้ปกครองได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ได้มีความรู้ความเข้าใจ เรื่องอาชีพการทำดินพร้อมปลูกเสริมรายได้ให้กับครอบครัว เด็กและเยาวชนและผู้ปกครองได้รับความรู้ในการทำเกษตรผสมผสานตามหลักเศษฐกิจพอเพียงจากการสาธิตให้ความรู้กับแกนนำ เยาวชน ในที่ประชุมได้เสนอให้จัดศูนย์เรียนรู้ให้กับเยาวชนและประชาชนในหมู่บ้านเนื่องจากมีทรัพยากรที่มีความพร้อมในทุกๆด้าน เช่น มีปลาป่นที่ราคาถูกเพราะอยู่ติดกับทะเล เศษวัชพืชหาง่ายเพราะมีพื้นที่ในการทำเกษตรกรรม มูลสัตว์ก็หาได้ง่ายในชุมชนเพราะมีการเลี้ยงเป็ด ไก่ แพะและวัวเป็นอาชีพเสริม

     

    50 50

    23. อบรมเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การทำบัญชีครัวเรือน การออม การเพิ่มรายได้ลดรายจ่าย เพื่อให้ครอบครัวที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความเข้าใจในแนวคิดเศรฐกิจพอเพียง

    วันที่ 26 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การเปิดอบรมคณะผู้จัดทำโครงการได้ท่านเกษตรอำเภอท่าแพให้เกียรติเป็นวิทยากร ได้กล่าวเปิดการประชุมเวลา13.00น.วาระการประชุมได้พูดคุยเรื่องการจัดกิจกรรม การติดตามผลกลุ่มเป้าหมาย จากนั้นได้แบ่งกลุ่มเป้าหมายตามหน้าที่ของกิจกรรมและลงพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป ปิดประชุมเวลา16.00น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเป้าหมายเข้าใจวิธีการทำบัญชีรายรับรายจ่ายในครอบครัวของตัวเองและรู้ว่าอะไรควรจ่ายอะไรควรประหยัดประกอบกับได้ผ่านอบรมเรื่องการทำดินพร้อมปลูกหรือปุ๋ยชีวภาพมาแล้วจึงได้รวมกลุ่มกันปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อไว้กินในครัวเรือนที่เหลือแบ่งขายเพื่อเป็นรายได้เสริม

     

    50 52

    24. ประชุมคณะบริการที่เป็นมิตรกับเยาวชน ครั้งที่ 3 ประชุมประจำเดือนเพื่อกำหนดแผนงาน ในการลงพื้นที่

    วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา13.00น.ประธานกล่าวรายงานวาระการประชุมเพื่อจัดกิจกรรมติดตามผลกลุ่มเป้าหมายเวลา 14.00น.แบ่งภาระหน้าที่ในกิจกรรมลงพื้นที่ เวลา14.30น.คณะทำงานสอบถามรายละเอียดกิจกรรมว่ามีขั้นตอนในการปฏิบัติอย่างไร เวลา15.30 น.คณะทำงานรับทราบหน้าที่ของตนเอง เวลา 16.00 น.ประธานกล่าวปิดประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำให้กิจกกรมที่จะปฏิบัติต่อไปมีความคืบหน้าไปมาก  อีกทั้งทำให้คณะทำงานเข้าใจการทำงานในกิจกรรมมากขึ้น

     

    30 30

    25. การรายงานผลการดำเนินงานครึ่งปี

    วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดทำรายงานโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ปิดงวดที่ 1 โครงการ

     

    2 2

    26. ประชุมคณะทำงานโครงการครั้งที่ 8 เพื่อวางแผนการจัดเวที

    วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงชื่อผู้เข้าร่วมประชุม เวลา13.00น.ประธานแจ้งที่ประชุมทราบเรื่องการประชุมเพื่อวางแผนการจัดเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็นและกำหนดกติการ่วมของชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ผู้รับผิดชอบงานแต่ละฝ่าย ดังนี้ 1 ด้านสถานที่ผู้รับผิดชอบ คือ นาย อับดุลกอหนี ลิมมิตร 2 วิทยากร ผู้รับผิดชอบ คือ นาง เจ๊ะน๊ะ ใบกาเด็น 3 อาหารผู้เข้าร่วมกิจกรรมและคณะทำงาน ผู้รับผิดชอบ คือ นาง ม๊ะ หลงกอหราบ 4 เครื่องเสียง ผู้รับผิดชอบ คือ นาย เจ๊ะหวี ดีนนุ้ย 5 อุปกรณ์การอบรม

     

    30 24

    27. การจัดเวทีรับฟังคามคิดเห็นเรื่องการกำหนดกติการ่วมของชุมชน (กฎของเราบ้านของเรา) เพื่อให้คนในชุมชนได้ร่วมกำหนดกฎระเบียบของชุมชน

    วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม เวลา9.00 น - 9.30 นนายกาด วาหาบ ตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 บ้านปลักแรดและเป็นประธานโครงการกล่าวเปิดเวทีการจัดกิจกรรมว่า การวางกฎกติกาของชุมชนเป็นสิ่งที่ดีและน่าจะมีมานานแล้ว นับว่าเป็นโอกาสดีที่คณะทำงานโครงการได้นำโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นน่าอยู่เข้ามาพัฒนาชุมชนของเรา พร้อมทั้งจัดกิจกรรมเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นเรื่องการกำหนดกติการ่วมของชุมชน ่ที่เรียกว่ากฎของเราบ้านของเรา และเมื่อได้วางกติกาไว้แล้วก็ขอความร่วมมือจากชุมชนให้ช่วยกันปฏิบัติตามกฎกติกาที่ได้ร่วมกันกำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัดด้วย เพื่อความสงบสุขของชุมชนและช่วยกันป้องกันเด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงให้ห่างไกลจากสิ่งเสพติด อบายมุข ที่มีอยู่มากมายในสังคมปัจจุบันด้วย หลักจากนั้นประธานโครงการก็ได้มอบเวทีให้กับวิทยากรเพื่อดำเนินการต่อไป
    วิทยากรจึงได้เปิดโอกาสให้สมาชิกของชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้ร่วมกันกำหนดกติกาของชุมชน โดยเริ่มแรกเด็ก เยาวชน และแกนนำเยาวชนเสนอกฎของวัยรุ่น เสร็จแล้วทีมงานผู้นำชุมชนและสมาชิกของชุมชนได้เสนอกฎกติกาของชุมชน ปิดประชุมเวลา 16.00 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับความร่วมมือจากชุมชน ประชาชนให้ความสนใจในการร่วมกันกำหนดกติกาของชุมชน เพราะเป็นสิ่งที่อยากให้มีในชุมชน ทุกคนจึงร่วมกันวางกฎระเบียบของหมู่บ้านที่พอจะปฏิบัติกันได้เพื่อความสงบสุขของชุมชน ทั้งยังช่วยให้เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงได้รับความสนใจมากขึ้น โดยการจัดให้มีหน่วยกระเวนเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง (คือบริเวณสี่แยก) ซึ่งเป็นแหล่งมั่วสุมของวัยรุ่น เด็กและเยาวชนก็ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมและร่วมกันวางกฎกติกาของสี่แยกวัดใจ ดังนี้ 1. หากมีทรัพสินในชุมชนสูญหายและสืบทราบว่าเป็นการกระทำของเด็กและเยาวชนในชุมชน
    ครั้งที่ 1 ตักเตือนและเอาของมาคืน
    ครั้งที่ 2 แจ้งให้ผู้ปกครองรับทราบและบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เช่น ทำความสะอาดสถานที่สาธารณะเป็นเวลา 1 เดือน ครั้งที่ 3 อยู่ที่ดุลพินิจของกรรมการหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง 2. การฃิ่งมอเตอร์ไฃร์เสียงดังรบกวน
    ครั้งที่ 1 ตักเตือน
    ครั้งที่ 2 จะทำการยึดรถมอเตอร์ไซเอาไว้ก่อน แล้วให้ผู้ปกครองของเยาวชนมาเอารถคืน
    ครั้งที่ 3 อยู่ที่ดุลพินิจของกรรมการหมู่บา้นและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง 3. กฎระเบียบการใช้บริการ ร้านคอมพิวเตอร์ 1). วันจันทร์ - วันศุกร์(ยกเว้นวันพฤหัสบดี) เปิดร้านเวลา 9.00 - 22.30 น. 2). วันเสาร์ - วันอาทิตย์ เปิดร้านเวลา 8.00 - 23.00 น. 3). วันพฤหัสบดี เปิดร้านเวลา 9.00 - 18.00 น. 4. การจัดการกับสิ่งอบายมุกต่างๆในหมู่บ้าน 1). ต่ำกว่า 15 ปี ให้คณะกรรมการเยาวชน ม.5 เป็นผู้ตักเตือน , 16 - 18 ปี ให้ผู้ใหญ่ตักเตือน 2). ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ เช่น มัสยิด โรงเรียน ร้านคอมพิวเตอร์
    5. กิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ในหมู่บ้าน 6. ห้ามจับกลุ่ม มั่วสุม เกินเวลา 23.00 น. 7.ทุกค่ำวันศุกร์(วันพฤหัสบดีตอนกลางคืน) หลังละหมาดมัฆริบ ให้เยาวชนในหมู่บ้านรวมตัวกันมาเรียนอัลกรุอาน ที่มัสยิดบ้านปลักแรดพัฒนา

    สำหรับในส่วนของผู้นำชุมชน และผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้ร่วมกันวางกฎกติกาของชุมชน ดังนี้ 1. ช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดในชุมชน(มีการร่วมกันพัฒนาทุกเดือนหลังประชุมสภาชุมชน) 2. ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น 3. ไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดไม่ว่าจะเป็นผู้ฃื้อผู้เสพหรือผู้ขาย 4. ไม่ทำลายของที่เป็นส่วนรวม 5. ช่วยกันรักษาวัฒนธรรมและประเภนีที่ดีงามของท้องถิ่น 6 หากมีการจัดกิจกรรมงานรื่นเริงที่มีบุคคลต่างถิ่นเข้ามาพลุกพ่านต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองทราบล่วงหน้า15วัน 7. หากขาดประชุมเกิน 3 ครั้ง จะไม่มีสิทธิคัดค้านหริอออกความเห็นใดๆ เกี่ยวกับงบประมาณที่มีอยู่ในชุมชน

     

    120 112

    28. ประชุม คณะบริการที่เป็นมิตรกับเยาวชน ครั้งที่ 4 ประชุมเพื่อวางแผนการตระเวนลงพื้นที่ ให้คำปรึกษา ในครั้งต่อไป

    วันที่ 1 มีนาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประสานคณะบริการที่เป็นมิตรกับเยาวชนเข้าร่วมประชุมเพื่อวางแผนการตระเวนลงพื่นที่โดย แบ่งพื่นที่การทำงานออกเป็น4โฃนและแบ่งกลุ่มคณะทำงานออกเป็น4กลุ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้คณะทำงาน4โฃนโดยแต่ละโฃน จะมีคณะทำงาน 7-8คนเพื่อตระเวนลงพื่นที่ให้คำปรึกษาก้บเยาวชนกลุ่มเสี่ยงและพูดคุยกับผู้ปกครองเพื่อคิดหาแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป

     

    30 30

    29. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 9 เพื่อกำหนดรูปแบบเวทีการประกาศความคิดเห็นและลงกติการ่วมกับภาคส่วนอื่นๆ

    วันที่ 15 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มประชุมเวลา 9.00น.ประธานโครงการแจ้งวัตถุประสงค์ให้ที่ประชุมทราบเรี่องเพื่อกำหนดรูปแบบการประกาศความคิดเห็นและลงกติการ่วมกับภาคส่วนอื่นๆคือ.สภาผู้นำชุมชน ภาคประชาชนส่วนท้องถิ่น หน่วยงานรัฐในพื้นที่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประชุมเพื่อวางแผนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด เยาวชนกลุมเสี่ยงและร่วมกันกำหนดกฏกติกาของชุมชนโดยแบ่งหน้ที่การประสานงานไปตามความเหมาะสม

     

    30 30

    30. การจัดเวทีประกาศความคิดเห็นและการลงกติการ่วมกับภาคส่วนอื่นๆ

    วันที่ 25 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบียนผู้เข้าร่วกิจกรรมเวลา 9.00-10.00. น ประสานหน่วยงานภาคีทุกภาคส่วนมาร่วมกันเป็นสักขีพยานในการประกาศกติการ่วมของชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีกฏระเบียบสำหรับบังคับใช้ในชุมชน

    • ช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดในชุมชน(มีการร่วมกันพัฒนาทุกเดือนหลังประชุมสภาชุมชน)
    • ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
    • ไม่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดไม่ว่าจะเป็นผู้ฃื้อผู้เสพหรือผู้ขาย
    • ไม่ทำลายของที่เป็นส่วนรวม
    • ช่วยกันรักษาวัฒนธรรมและประเภนีที่ดีงามของท้องถิ่น6หากมีการจัดกิจกรรมงานรื่นเริงที่มีบุคคลต่างถิ่นเข้ามาพรุกพ่านต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองทราบล่วงหน้า15วัน

     

    100 100

    31. เพื่อสรุปข้อมูลจากชุมชน

    วันที่ 28 มีนาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการและแกนนำชุมชนร่วมกันติดตามผลและประเมินผลเพื่อสรุปข้อมูลที่ได้จากชุมชน เพื่อนำไปใช้ในการประกอบการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ประสานงานกับกลุ่มเป้าหมายแล้ว

     

    2 2

    32. ประชุมคณะบริการที่เป็นมิตรกับเยาวชน ครั้งที่ 5 ประชุมเพื่อวางแผนการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง และการให้คำปรึกษาในการลงพื้นที่

    วันที่ 1 เมษายน 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เปิดประชุมเวลา 13.00 น.ประธานแจ้งที่ประชุมทราบเรื่องการประชุมคณะบริการที่เป็นมิตรกับเยาวชนครั้งที่5 โดยในครั้งนี้ได้มอบหมายให้นาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกในชุมชนมีความกระตือรือร้นในการที่จะให้มีการจัดกิจกรรมอย่างต่อไปเพราะจากการสังากตุพฤติกรรมของเยาวชนในปกครองแล้วมีสิ่งที่ดีๆเกิดขึ้นและกลุ่มเสี่ยงมีการรวมตัวกันสร้างกิจกรรมที่ดีๆ

     

    30 30

    33. เพื่อส่งร้ายชื่อเยาวชนกลุ่มเสี่ยง

    วันที่ 4 เมษายน 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ส่งรายชื่อเยาวชนกลุ่มเสี่ยงที่มีอยู่ในชุมชนให้ศูนย์ประสานงานที่เป็นมิตรกับเยาวชนรับทราบเพื่อจะได้เป็นที่ปรึกษาและแนะนำในการแก้ของเยาวชนในเรื่องที่ชุมชนไม่สามารถแก้ปัญหาได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เพื่อส่งรายชื่อเยาวชนกลุ่มเสียงที่มีอยู่ในชุมชนให้ศูนย์ประสานงานที่เป็นมิตรกับเยาวชนรับทราบเพื่อจะได้เป็นที่ปรึกษาและแนะนำในการแก้ของเยาวชนในเรื่องที่ชุมชนไม่สามารถแก้ปัญหาได้

     

    2 2

    34. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 10 เพื่อเตรียมสรุปผล ทบทวนกิจกรรม การจัดเวทีประกาศความคิดเห็น

    วันที่ 15 เมษายน 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มเปิดประชุมเวลา 13.00 น. ผู้ใหญ่บ้านแจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องการลงทะเบียนเรือประมงให้ประชาชนนำเอกสาร บัตรประชาชน 1 ฉบับ เอกสารสำเนาทะเบียนบ้าน 1 ฉบับ ไปลงทะเบียนที่มัสยิดบ้านปลักแรดพัฒนา ในวันที่ 20 เมษายน 2558 จะมีเจ้าหน้าที่มาจากอำเภอท่าแพ มาให้บริการ จากนั้น นายยูโสบ องสารา ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องการจัดประชุมเพื่อเตรียมสรุปผลทบทวนกิจกรรมการจัดเวทีประกาศความคิดเห็นว่าจากการจัดกิจกรรมมาแล้วตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2557 รวมแล้ว 9 กิจกรรมส่งผลให้กับชุมชนหมู่บ้านของเราอย่างไรบ้าง เด็กและเยาวชนของเรามีพฤติกรรมการพัฒนาที่ดีไปด้านใดบ้าง จากการทำกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบเรื่องการจัดประชุมเพื่อเตรียมสรุปผลทบทวนกิจกรรมการจัดเวทีประกาศความคิดเห็นว่าจากการจัดกิจกรรมมาแล้วตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2557 รวมแล้ว 9 กิจกรรมส่งผลให้กับชุมชนหมู่บ้านของเราอย่างไรบ้าง เด็กและเยาวชนของเรามีพฤติกรรมการพัฒนาที่ดีไปด้านใดบ้าง จากการทำกิจกรรม

     

    30 30

    35. สรุป ถอดบทเรียนโครงการ2วัน 1คืน

    วันที่ 25 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบืยนเรียบร้อยเวลา09.30น.ประธานโครงการได้แจ้งให้ทราบถึงการจัดกิจกรรมการถอดบทเรียนในครั้งนี้ว่าจากการที่สสส.ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการสร้างเสริมสุขภาพให้กับโครงการสี่แยกวัดใจลูกหลานหมู่ 5. บ้านปลักแรดหลังจากนั้นได้เชิญวิทยากรซึ่งเป็นประธานเยาวชนตำบลสาคร คือ นายนควัฒน์ เกษมบุญ เป็นผู้กล่าวเปิดงานและให้ความรู้แก่เยาวชนหลังจากนั้นได้เริ่มทำกิจกรรมดังนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เยาวชนในหมู่บ้านมีความรักความสามัคคีกัน
    2. ทำให้เยาวชนรู้จักสร้างคุณประโยชน์แก่หมู่บ้าน
    3. ช่วยลดช่องว่างระหว่างเยาวชนกับผู้ใหญ่ให้ลดน้อยลงไป
    4. เยาวชนกล้าแสดงความสามารถแก่สาธารณะชนได้
    5. สร้างความผูกพันธ์ระหว่างเยาวชนกับผู้ใหญ่ได้มากยิ่งขึ้น
    6. ทำให้การแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชนลดน้อยลงได้
    7. ทำให้เยาวชนกลุ่มเป้าหมายห่างไกลจากยาเสพติด

     

    32 28

    36. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 11 เพื่อสรุปผลของการถอดบทเรียน

    วันที่ 30 เมษายน 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จากการจัดกิจกรรมถอดบทเรียนในวันที่ 25-26 เมษายน 2558
      เพื่อสรุปผลการถอดบทเรียนได้มีการร่วมกันประชุมคณะทำงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เยาวชนกล้าแสดงความสามารถในทางที่สร้างสรรค์แก่สาธารณะชนได้
    2. สร้างความผูกพันธ์ระหว่างเยาวชนกับผู้ใหญ่ได้มากยิ่งขึ้น
    3. ทำให้การแพร่ระบาดของยาเสพติดในชุมชนลดน้อยลงได้
    4. เยาวชนกับแกนนำชุมชนสามารถพูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนได้

     

    30 26

    37. ประชุมคณะบริการที่เป็นมิตรกับเยาวชน ครั้งที่ 6 ประชุมเพื่อกำหนดรูปแบบสำหรับการต่อยอดแผนงานในครั้งต่อๆไป

    วันที่ 1 มิถุนายน 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการสรุปผลการดำเนินงานในทุกกิจกรรมและรายงานผลการประชุม

    เพื่อให้ชุมชนได้รับรู้ถึงข้อมูลและหลักการจัดกิจกรรมตลอดจนผลที่เกิดขึ้นจริง

    ในชุมชนว่ามีอะไรบ้าง ร่วมกันสรุปถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน
    สรุปผลการจัดกิจกรรมตลอดโครงการ ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัด กิจกรรมในการต่อยอดครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เยาวชนได้รับสิทธิการฝึกอาชีพจากกศน.ในเรื่อง การทำสบู่ การทำนำ้ยาล้างจาน การเดินสายไฟเบื้องต้นภายในครัวเรือน
    2. เยาวชนได้รับสิทธการฝึกอาชีพจากศูนพัฒนาฝีมือแรงงานด้าน ช่างยนต์ ช่างตัดผม ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า

     

    30 30

    38. ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 12 เพื่อกำหนดกิจกรรมของบ้านปลักแรด หมู่ที่ 5 ในการดำเนินการครั้งต่อๆไป

    วันที่ 15 มิถุนายน 2558 เวลา 13:00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 12 เพื่อกำหนดกิจกรรมของบ้านปลักแรด หมู่ที่ 5
    ในการดำเนินการในครั้งต่อๆไป มีรายละเอียดดังนี้ คณะกรรมการสรุปผลการดำเนินงานในทุกกิจกรรมและรายงานผลในที่ประชุม เพื่อคืนข้อมูลให้ชุมชนได้รับรู้ถึงหลักการจัดกิจกรรมและผลที่เกิดฃึ้นในชุมชนว่ามีอะไรบ้าง
    เช่น การเปลี่ยนแปลงของคนในชุมชน จากการทำกิจกรรมร่วมกันตลอดโครงการ คนในชุมชนเกิดความรักความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันมากขึ้น ซึ่งสังเกตุได้จ ากการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน ในส่วนของสภาวะแวดล้อมในชุมชนทุกครัวเรือนได้มีการปลูกผักปลอดสารพิษ ไว้กินเองเด็กและเยาวชนต่างให้ความสนใจเป็นอย่างดีในการร่วมกันทำกิจกรรม
    ได้มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน ก่อให้เกิดกระบวนการมี ส่วนร่วมของคนในชุมชน เกษตรกรในหมู่บ้านที่มีความรู้เรื่องการปลูกผักและ การทำปุ๋ยได้สอนให้เยาวชนได้เรียนรู้ถึงกระบวนการในการทำปุ๋ยและ การปลูกผักที่ถูกวิธีทำให้สามารถเกิดเป็นอาชีพเสริมในชุมชนได้นอก

    จากนี้ได้มีการตั้งกฎกติกาและข้อตกลงของชุมชนให้สามารถปฏิบัติตนร่วมกัน ในชุมชนได้อย่างไม่เกิดปัญหาและร่วมกันคิดกิจกรรมต่อยอดให้กับชุมชนต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ในชุมชน

    2.มีการประชุมสภาชุมชนทุกวันที่15ของทุกเดือน

    3.ได้มีการจัดตั้งกลุ่มทำปุ๋ยอินทรีย์ในชุมชน

    4.มีการกำหนดกฏระเบียบภายในชุมชน

    5.มีกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อจำหน่ายในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง

    6.ได้สร้างอาชีพเสริมให้กับเยาวชนในชุมชน

     

    30 30

    39. ถอนเงินเปิดบัญชีธนาคาร

    วันที่ 19 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เดินทางไปเปิดบัญชี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ไม่มี

     

    3 2

    40. ล้างภาพอัดขยายภาพ

    วันที่ 20 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการโครงการได้ร่วมกันคัดเลือกรูปภาพจากการทำกิจกรรมในโครงการทั้งหมดเพื่อส่งให้สสส.เพื่อใช้ในการประกอบการทำโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้คัดเลือกรูปและจัดส่งเรียบร้อยแล้ว

     

    1 1

    41. เพื่อสรุปแผนงานการต่อยอด

    วันที่ 23 มิถุนายน 2558 เวลา 13:00น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการร่วมกันสรุปข้อมูลประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่แล้วทำรายงานเพื่อนำเสนอแก่ที่ประชุมเพื่อให้รับรู้ถึงผลการปฏิบัติงานของโครงการในชุมชนว่าได้จัดทำกิจกรรมอะไรไปบ้างและสรุปผลการจัดทำโครงการว่ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชนอย่างไร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จัดเก็บเอกสารและหลักฐานทุกกิจกรรมได้อย่างถูกต้องครบถ้วนเรียบร้อย

     

    2 2

    42. สรุปปิดโครงการ

    วันที่ 1 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงานร่วมกันตรวจสอบหลักฐานและเอกสารทุกกิจกรรมที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วสรุปรวบรวมรายงาน ช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง คัดเลือกรูปลงตามกิจกรรม พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของรายงานการจ่ายงบประมาณและจัดเก็บรวบรวมเอกสารต่างๆไว้เป็นชุดๆเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบและการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เก็บเอกสารและหลักฐานการจัดกิจกรรมได้ถูกต้องครบถ้วนเรียบร้อยและได้ทำรายงานส่งสสส.

     

    5 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชน
    ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ:เกิดกลไกสภาชุมชนบ้านปลักแรดที่สามารถขับเคลื่อนงานอย่างเป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหา พัฒนาชุมชนของตนเองโดยมีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง รวม 12 ครั้ง เชิงคุณภาพ:.กลไกคณะทำงานมีส่วนร่วมในการกำหนด ออกแบบ สำรวจและได้รับรู้สถานการณ์ปัญหาเด็กโดยตรง เข้าใจปัญหาว่ามีอยู่อย่างไร รู้ช่องทางที่จะแก้ไขปัญหา เกิดความสัมพันธ์ต่อกัน

    ในการจัดทำโครงการได้มีการจัดการประชุมเดือนละหนึ่งครั้งคือทุกวันที่15ของเดือนรวมการประชุมทั้งหมด12ครั้ง ในแต่ละครั้งของการประชุมมีหน่วยงานจากทางราชการเข้าร่วมด้วยเช่นเจ้าหน้าที่จากเกษตรอำเภอ จากองค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าหน้าที่จากมูลนิธิร่มไทร คณะครู ร.ร.สมาคมเลขานุการสตรี3 สมาชิกอบต. ผู้ใหญ่บ้าน อิหม่าม ตลอดจนประชาชนและเยาวชนในหมู่บ้าน ซึ่งในการประชุมแต่ละครั้งได้มีการขับเคลื่อนโครงการในเรื่องของการปฏิบัติงาน การดำเนินโครงการ การติดตามผลการทำงาน การป้องกันแก้ไขปัญหาต่างๆในชุมชน ให้ประชาชนและเยาวชนในชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้ในชุมชนโดยไม่เกิดปัญหาและเกิดความรักความสามัคคีในชุมชน

    2 เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการจัดการชุมชน
    ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ:1.เยาวชนได้ร่วมกิจกรรมจัดเก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์เด็กเยาวชน 2.-ร้อยละ 60 ของเยาวชนและครัวเรือนในชุมชนหมู่ 5 บ้านปลักแรด หันมามีส่วนร่วมทำกิจกรรมร่วมกันผ่านการทำดินพร้อมปลูก เชิงคุณภาพ:1.ทำให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและปรับทัศนคติ เกิดความเข้าใจระหว่างพ่อแม่ลูก 2.ครอบครัวพ่อ แม่ ลูก และคนในชุมชนร่วมกันหันมาพัฒนาชุมชนผ่านกิจกรรม

    เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการให้ความร่วมมือกับโครงการเป็นอย่างดี ส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้ปกครองให้ความรร่วมมือกับโครงการและการให้ความสำคัญกับโครงการทำให้เยาวชนเกิดความมั่นใจในการจัดทำกิจกรรมในแต่ละครั้งจึงก่อให้เกิดความร่วมมือกันในการทำกิจกรรมและกิจกรรมสามารถผ่านไปได้ด้วยดี ในส่วนของโครงการการจัดทำปุ๋ยอินทรีย์และการปลูกผักปลอดสารพิษนั้นกิจกรรมสามารถผ่านไปด้วยดี ปุ๋ยที่ได้จากการรวมกลุ่มนำมาใช้ได้ในชุมชนบางส่วนนำออกจำหน่ายให้หมู่บ้านใกล้เคียงในส่วนของผักปลอดสารพิษสามารถนำมาจำหน่ายในชุมชนและบางส่วนมีการรวมกลุ่มกันจำหน่ายให้กับแม่ค้าเพื่อนำไปส่งต่อกับตลาดใกล้เคียงต่อไป จากการร่วมกันทำกิจกรรมทำให้ชุมชนเข้มแข็งขึ้นมีความรักความสามัคคีเยาวชนรู้จักการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และสามารถหารายได้ให้กับตนเองทำให้มีกำลังใจในการเข้าร่วนกันทำกิจกรรม และกิจกรรมโครงการสามารถผ่านไปได้ด้วยดี

    3 เพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและหนุนให้เกิดกติกาชุมชน ม.5 ปลักแรด
    ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ:ร้อยละ 60 ของเยาวชนและประชาชนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อกำหนดระเบียบ กติการ่วมกัน เชิงคุณภาพ:คนในชุมชนปฏิบัติตามกฏระเบียบการของหมู่บ้านที่กำหนดมีความสุขที่ยั่งยืน

    ได้รับความร่วมมือจากประชาชนในชุมชนและให้ความสนใจในการร่วมมือกันกำหนดกติกาของชุมชนซึ่งเป็นสิ่งที่ชุมชนอยากให้มีและเกิดขึ้นจริงในชุมชน ทุกคนจึงร่วมกันกำหนดระเบียบของชุมชนที่พอจะปฏิบัติกันได้เพื่อความสงบสุขของชุมชนทั้งยังช่วยให้เด็กและเยาวชนกลุ่มเสี่ยงได้รับความสนใจมากขึ้นโดยจัดให้มีการลาดตระเวนและการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงในชุมชนคือบริเวณสี่แยกบ้านปลักแรดซึ่งเป็นแหล่งมั่วสุมของกลุ่มวัยรุ่น จากการร่วมกันกำหนดระเบียบชุมชนในครั้งนี้กลุ่มเยาวชนให้ความสนใจกิจกรรมครั้งนี้มากทำให้โครงการประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

    4 เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลโครงการ
    ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส. สจรส.

    ได้เข้าร่วมโครงการทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรม

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชน (2) เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการจัดการชุมชน (3) เพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็งและหนุนให้เกิดกติกาชุมชน ม.5 ปลักแรด (4) เพื่อการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ สี่แยกวัดใจลูกหลาน ม.5 บ้านปลักแรด

    รหัสโครงการ 57-01461 รหัสสัญญา 57-00-0772 ระยะเวลาโครงการ 20 พฤษภาคม 2557 - 20 มิถุนายน 2558

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    การจัดทำดินพร้อมปลูกผักปลอดสารพิษ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    กฎกติกาที่ร่วมกันกำหนดไว้คือ 1. หากมีทรัพสินในชุมชนสูญหายและสืบทราบว่าเป็นการกระทำของเด็กและเยาวชนในชุมชน ครั้งที่ 1 ตักเตือนและเอาของมาคืน ครั้งที่ 2 แจ้งให้ผู้ปกครองรับทราบและบำเพ็ญสาธารณประโยชน์เช่นทำความสะอาดสถานที่สาธารณะเป็นเวลา1เดือน ครั้งที่ 3 อยู่ที่ดุลพินิจของกรรมการหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง 2. การฃิ่งมอเตอร์ไฃร์เสียงดังรบกวน ครั้งที่ 1 ตักเตือน ครั้งที่ 2 จะทำการยึดรถมอเตอร์ไซร์เอาไว้ก่อน แล้วให้ผู้ปกครองของเยาวชนมาเอารถคืน ครั้งที่ 3 อยู่ที่ดุลพินิจของกรรมการหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง 3. กฎระเบียบการใช้บริการ ร้านคอมพิวเตอร์ 1). วันจันทร์-วันศุกร์(ยกเว้นวันพฤหัสบดี) เปิดร้านเวลา 9.00 - 22.30 น. 2). วันเสาร์-วันอาทิตย์ เปิดร้านเวลา 8.00 - 23.00 น. 3). วันพฤหัสบดี เปิดร้านเวลา 9.00 - 18.00 น. 4. การจัดการกับสิ่งอบายมุกต่างๆในหมู่บ้าน 1). ต่ำกว่า 15 ปี ให้คณะกรรมการเยาวชน ม.5 เป็นผู้ตักเตือน อายุระหว่าง 16-18 ปี ให้ผู้ใหญ่ตักเตือน 2). ห้ามสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ เช่น มัสยิด โรงเรียน ร้านคอมพิวเตอร์ 5. กิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ในหมู่บ้าน 6. ห้ามจับกลุ่ม มั่วสุม เกินเวลา 23.00 น. 7.ทุกค่ำวันศุกร์(วันพฤหัสบดีตอนกลางคืน) หลังละหมาดมัฆริบ ให้เยาวชนในหมู่บ้านรวมตัวกันมาเรียนอัลกรุอาน ที่มัสยิดบ้านปลักแรดพัฒนา

    ผลดำเนินงานกิจกรรม

    ติดตามการปฏิบัติใข้งาน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    หน่วยงานจากทางราชการเข้าร่วมด้วย ได้แก่ เจ้าหน้าที่จากเกษตรอำเภอ จากองค์การบริหารส่วนตำบล เจ้าหน้าที่จากมูลนิธิร่มไทร คณะครู ร.ร.สมาคมเลขานุการสตรี3 สมาชิกอบต.

    รายงานการประชุม การลงทะเบียน

    การสนับสนุนจากเครือข่าย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    เกิดกลไกการทำงานในชุมชน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    ใช้กระบวนสำรวจข้อมูลด้วยแบบสอบถาม เกิดการเรียนรู้ถึงข้อมูล

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    สี่แยกวัดใจลูกหลาน ม.5 บ้านปลักแรด จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 57-01461

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางเจ๊ะน๊ะ ใบกาเด็น )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด