directions_run

ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น ”

ที่ทำการหมู่บ้าน ม.6 ต.สลุย อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร

หัวหน้าโครงการ
นางเกศินี สุวรรณรัตน์

ชื่อโครงการ ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น

ที่อยู่ ที่ทำการหมู่บ้าน ม.6 ต.สลุย อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร จังหวัด ชุมพร

รหัสโครงการ 57-01502 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0940

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2014 ถึง 30 มิถุนายน 2015


กิตติกรรมประกาศ

"ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น จังหวัดชุมพร" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ที่ทำการหมู่บ้าน ม.6 ต.สลุย อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น



บทคัดย่อ

โครงการ " ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น " ดำเนินการในพื้นที่ ที่ทำการหมู่บ้าน ม.6 ต.สลุย อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร รหัสโครงการ 57-01502 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2014 - 30 มิถุนายน 2015 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 137,750.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 150 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและอาชีพให้กับประชาชนในชุมชน ให้สามารถพึ่งพาตนเอง มีสุขภาพที่ดี มีการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และลดภาวะหนี้สิน โดยใช้ทรัพยากรและทุนท้องถิ่นเดิมที่มีอยู่ในชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
  2. เพื่อการบริหารและจัดการโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. รับฟังขั้นตอนการทำโครงการและทำความเข้าใจในการทำโครงการ

    วันที่ 14 มิถุนายน 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1).ได้ทำความรู้จักพี่เลี้ยง-ทีม สจรส.
    2).ทบทวนโครงการทำแผนกิจกรรมที่ชัดเจน เช่น ลงรายละเอียด กำหนดวันที่ที่แน่นอน มีกิจกรรมอย่างน้อย 20 ครั้ง 3).อบรมและลงข้อมูลในระบบติดตามประเมินผล และระบบรายงานผ่าน WWW.happynetwork.org 4).ทำความเข้าใจเรื่องการทำรายงานและการเงิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับความรู้ และเข้าใจถึงวิธีการจัดทำและลงรายงานทางwww.คนใต้สร้างสุขที่ถูกต้อง

     

    2 2

    2. ประชุมชี้แจงโครงการ

    วันที่ 30 มิถุนายน 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1).ได้ทำความรู้จัก ชื่อพี่เลี้ยงผู้ติดตามในพื้นที่ของ สสส. 2).ให้ความรู้เรื่องแนวคิดเศรฐกิจพอเพียงห้กับประชาชนในชุมชน ให้สามารถพึ่งตนเอง มีสุขภาพที่ดี มีการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และลดภาวะหนี้สิน 3).จัดตั้งกลุ่มชุมชน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสมุนไพร กลุ่มทำสิ่งประดิษฐ์ พร้อมกับลงทะเบียนเป็นสมาชิก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1).ให้คำแนะนำแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง   - การจัดทำบัญชีครัวเรือน เพื่อลดรายจ่าย -  เพิ่มรายได้ ให้กับคนในชุมชน โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามพระราชดำรัชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู้หัว ที่เรียกว่า (ปรัชญาเศรษฐกิจพิเพียง)3 ห่วง 2 เงื่อนไข ให้ประชาชนอยู่อย่างพอมีพอกิน 2).การจัดตั้งกลุ่ม แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
      - กลุ่มพืชสมุนไพร
      - กลุ่มทำสิ่งประดิษฐ์ 3).การลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่ม   - การลงทะเบียนสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มสามารถลงสมัครได้ทุกคนทุกเพศทุกวัย และได้ทุกวันที่ 8 ของเดือน ที่มีการประชุม ที่ศาลาประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน สามารถลงสมัครได้ที่ประธานของกลุ่ม 4).ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมที่จะต้องทำตลอดปีงบประมาณ 2557   - การชี้แจงรายละเอียดที่จะต้องจัดทำกิจกรรมตลอดปีงบประมาณ 2557 มีทั้งหมดประมาณ 30 กิจกรรม
    5).พูดคุยขอความคิดเห็นกับประชาชนที่เข้าประชุม 6).แกว่งแขนลดโรค   - เคล็ดลับดีๆจากหัวหน้าฝ่ายโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลท่าแซะ การแกว่งแขนติดต่อกันเป็นเวลา 20 นาที เป็นการลดโรคที่สะสมในร่างกายเช่น ความดันโลหิต เบาหวาน การสะสมของไขมัน ช่วยลดอาการเครียด ช่วยลดโอกาศเกิดโรคหัวใจและหลอกเลือด

     

    150 102

    3. จัดทำข้อมูลและวางแผนการดำเนินการเพื่อการออมและลดภาวะหนี้สิน พร้อมทั้งร่างกติกาชุมชน

    วันที่ 8 กรกฎาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1).จัดทำข้อมูลแผนการดำเนินงานเพื่อการออมและลดภาวะหนี้สิน
    2).ร่างกติกาชุมชน 3).แจ้งให้ประชาชนทราบในเวทีประชุมประจำเดือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1).จัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อการออมและลดภาวะหนี้สินโดย     - จัดทำสมุดบัญชีครัวเรือน รายรับ - รายจ่าย จำนวน 150 เล่ม 2).ร่างกติกาชุมชน โดยมีเนื้อหาแบ่งเป็นหมวดหมู่ ดังนี้   หมวดที่ 1 บทความทั่วไป   หมวดที่ 2 แนวทางการดำเนินงานการบริหาร   หมวดที่ 3 อำนาจ – สิทธิ์ – หน้าที่คณะกรรมการกลุ่มฯและการเงิน   หมวดที่ 4 การหมดวาระหรืการพ้นวาระของคณะกรรมการในตำแหน่ง   หมวดที่ 5 สิทธิ์และหน้าที่ของสมาชิกกลุ่มฯ   หมวดที่ 6 ข้อเพิ่มเติม 3).แจ้งให้ประชาชนทราบในเวทีประชุมประจำเดือน พร้อมกับเชิญชวนให้เข้ารับการอบรมในวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เวลา 9.00 น. ในหัวข้อเรื่อง อบรมให้ความรู้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

     

    32 32

    4. อบรมให้ความรู้เรื่องแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

    วันที่ 10 กรกฎาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.อบรมให้ความรู้เรื่องแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 2.แจกสมุดบันทึก รายรับ - รายจ่าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    อบรมให้ความรู้เรื่องแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดย อาจารย์โกวิทย์ ยังปักษี และอาจารย์กัลยารัตน์ บรรพต อาจารย์จากโรงเรียนบ้านคันธทรัพย์ พร้อมทั้งอาจารย์ณัฐวุฒิ วิวัฒภิญโญ เป็นผู้เปิดโครงการ เนื้อหาที่อบรมหลักๆมีดังนี้
    1).ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
      3 ห่วง >>> ห่วงที่ 1 ความพอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง ความพอดีไม่มากหรือว่าน้อยจนเกินไปโดยต้องไม่เบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่นให้เดือดร้อน             ห่วงที่ 2 ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ             ห่วงที่ 3 การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล     2 เงื่อนไข >>> เงื่อนไขที่ 1 ความรู้ คือ มีความรอบรู้เกี่ยวกับ วิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ คุณธรรมประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต                 เงื่อนไขที่ 2 คุณธรรม คือ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต 2).ความพอดี 5 ประการ หลักเหตุผล 5 ประการ หลักภูมิคุ้มกัน 2 หลัก ความพอดี 5 ประการ   ประการที่ 1 >>> ความพอดีด้านจิตใจ คือ ต้องเข็มแข็ง  พึ่งตนเองได้  มีจิตสำนึกที่ดี  เอื้ออาทร และนึกถึงประโยชน์ส่วนรวม   ประการที่ 2 >>> ความพอดีด้านสังคม คือ ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน  รู้จักผนึกกำลัง และมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากรากฐานที่มั่นคงและแข็งแรง   ประการที่ 3 >>> ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม คือ รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดรอบคอบ  เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด  และใช้ทรัพยากรใน ประเทศเพื่อพัฒนาประเทศ  ให้มั่นคงอยู่เป็นขั้นเป็นตอนไป   ประการที่ 4 >>>  ความพอดีด้านเทคโนโลยี คือ  รู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการ และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเองเพื่อสอดคล้องและเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง   ประการที่ 5 >>> ความพอดีด้านเศรษฐกิจ คือ เพื่อรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่างพอควร  พออยู่  พอกิน  สมควรตามอัตภาพและฐานะของตน หลักเหตุผล 5 ประการ   1).ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายในทุกด้าน ลดความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีวิต   2).ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีวิต   3).ละเลิกการเก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในทางการค้าขายประกอบอาชีพแบบต่อสู้กันอย่างรุนแรง   4).ไม่หยุดนิ่งที่หาหนทางในชีวิต หลุดพ้นจากความทุกข์ยาก   5).ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลด เลิก สิ่งยั่วกิเลสให้หมดสิ้นไป ไม่ก่อความชั่วให้เป็นเครื่องทำลายตัวเอง ทำลายผู้อื่น พยายามเพิ่มพูนรักษาความดี ที่มีอยู่ให้งอกงามสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

     

    150 140

    5. อบรมการทำดอกไม้ผ้าใยบัวและการจัดดอกไม้สด

    วันที่ 19 กรกฎาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. อบรมให้ความรู้เรื่องการทำดอกไม้ผ้าใยบัว
    2. ประดิษฐ์ดอกไม้ให้ดูเป็นตัวอย่างโดยวิทยากร
    3. ให้สมาชิกที่เข้าร่วมอบรมทดลองทำด้วยตนเอง
    4. ให้คำแนะนำพร้อมกับตรวจดูเป็นรายบุคคล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.อบรมให้ความรู้เรื่องการทำดอกไม้ผ้าใยบัว มีรายละเอียดดังนี้     - ดอกไม้ผ้าใยบัวเหมาะกับการทำช่อดอกไม้รับปริญญา แจกันตั้งโต๊ะ กระเช้าตั้งโต๊ะ เป็นของขวัญให้ญาติผู้ใหญ่ งานมงคลต่างๆ     - สามารถนำดอกไม้ผ้าใยบัวมาดัดแปลงเป็น ดอกไม้การะบูล ใช้สำหรับตั้งหน้ารถ ใส้ตู้เสื้อผ้า ห้องต่างๆ เพื่อดับกลิ่นอับ
        - ดอกไม้การะบูลสามารถนำมาทำเป็นของชำร่วยงานต่างๆ เพื่อสร้างรายได้ให้กับคนที่ว่างงาน รอบเช้า   ดอกไม้การบูร อุปกรณ์   1.ผ้าใยบัว(สีอะไรก็ได้)   2.การบูร   3.ลวด(สีอะไรก้ได้)   4.ด้าย   5.ฟรอร่าเทปสีเขียว   6.กรรไกร   7.ก้านดอกไม้ วิธีทำ   1.นำลวดมาบิดเกลียว 2 เส้น บิดเกลียวรวมกันไว้ที่โคนด้านล่างแล้วหุ้มด้วยผ้าใยบัวจะได้ 1 กลีบ ทำทั้งหมด 5 กลีบ   2.นำการบูรมาปั้นเป็นลูกเล็กๆ หรือขนาดตามที่เราต้องการ   3.นำก้านดอกมาเสียบกับการบูรแล้วหุ้มด้วยผ้าใยบัว   4.นำกลีบดอกที่เตรียมไว้มาเข้าดอกโดยการหักโคนดอกที่บริเวณด้ายที่มัดไว้ด้านหลังวางต่อกันจนครบ 5 กลีบ นำด้ายมามัดให้เรียบร้อย   5.นำฟรอร่าเทปสีเขียวมาพันทับเพื่อเก็บงานให้เรียบร้อย เป็นอันเสร็จการทำดอกไม้จากการบูร รอบบ่าย   ดอกไม้ผ้าใยบัว(ดอกลีลาวดี) อุปกรณ์   1.ผ้าใยบัวสีเขียว(ใช้ทำใบ)   2.ผ้าใยบัวสีอะไรก็ได้(ตามที่ตนเองชอบ)   3.ลวด(สีอะไรก้ได้)   4.ด้าย   5.ฟรอร่าเทปสีเขียว   6.กรรไกร   7.ก้านดอกไม้ วิธีทำ   1.ขั้นตอนการทำกลีบดอก ให้ทำเหมือนกับดอกไม้การบูร(ขั้นตอนที่ 1) จำนวน 5 กลีบ   2.นำกลีบดอกลีลาวดีมาหุ้มผ้าใยบัวสีที่ตนเองชอบพันด้ายให้เรียบร้อย   3.นำกลีบดอกลีลาวดีที่หุ้มผ้าใยบัวเสร็จเรียบร้อยแล้วมาเข้าดอกโดยการนำกลีบอันแรกมาพันกับก้านดอก ทำเหมือนกันจนครบ 5 กลีบ   4.นำลวดมาดัดเหมือนกับกลีบดอกลีลาวดี แต่หุ้มผ้าสีเขียวเพื่อทำใบ จำนวน 3 ใบ   5.นำฟรอร่าเทปมาพันปิดก้านดอกพร้อมกันติดใบ เพื่อเก็บงานให้เรียบร้อย   6.การดัดดอกลีลาวดีทำได้โดยการดัดบริเวณปลายกลีบโค้งไปด้านหลัง เป็นอันเสร็จเรียบร้อยการทำดอกไม้ผ้าใยบัวดอกลีลาวดี 3.ให้สมาชิกที่เข้าร่วมอบรมหัดทำ พร้อมกับวิทยากรให้คำแนะนำไปพร้อมกับการสอน 4.สอนทำดอกไม้การะบูล โดยการทำนำลวดมาบิดให้เป็นสปริงแล้วยืดออก มาเข้าโครงให้เป็นกลีบดอก กุ้มด้วยผ้าใยบัว นำการะบูลมาห่อด้วยผ้าใยบัว และนำมาเข้าเป็นดอกพร้อมกับติดใบ พันก้านให้เรียบร้อย 5.วิทยากรให้คำแนะนำไปพร้อมกับการสอน 6.แนะนำถึงประโยชน์การทำดอกไม้ผ้าใยบัว

     

    20 15

    6. อบรมการทำดอกไม้ผ้าใยบัวและการจัดดอกไม้สด

    วันที่ 20 กรกฎาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.อบรมให้ความรู้เรื่องของการจัดดอกไม้สด 2.สาธิตให้สมาชิกดูเป็นตัวอย่างก่อนที่จะให้สมาชิกลงมือปฎิบัติจริง 3.ให้สมาชิกลงมือปฎิบัติจริง พร้อมกับมีวิทยากรคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด 4.ให้คำแนะนำกับสมาชิกในเรื่องของประโยชน์การจัดดอกไม้สด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดดอกไม้สด มีรายละเอียดดังนี้   - จัดดอกไม้สด เหมาะกับงานพิธีต่างๆ เช่น งานมงคล งานศพ ทำช่อดอกไม้งานรับปริญญา จัดกระเช้า
    รอบเช้า   - จัดดอกไม้สำหรับตั้งโต๊ะและจัดดอกไม้สำหรับงานศพ รอบบ่าย   - จัดดอกไม้สำหรับงานพิธีต่างๆ เช่น งานแต่ง งานบวช 2.สอนจัดดอกไม้สดโดยการทำเป็นแบบอย่างให้ดู การปักทำมุม การปักใบ การปักดอก โดยเน้นตรงกลางแล้วมุมข้าง การเลือกดอกไม้ให้เลือกสีที่ตัดกัน 3.สมาชิกหัดทำพร้อมกับมีวิทยากรคอยให้คำแนะนำไปพร้อมกับการสอน 4.วิทยากรบอกถึงประโยชน์ในการจัดดอกไม้สด และการสร้างรายได้เสริม

     

    20 15

    7. สมาชิกทำดอกไม้ที่บ้าน

    วันที่ 21 กรกฎาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ให้คำแนะนำเพิ่มเติมกับสมาชิกเกี่ยวกับการประดิษฐ์ดอกไม้ผ้าใยบัว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.วิทยากรติดตามความก้าวหน้าของสมาชิกในกลุ่มที่บ้าน 2.ให้คำแนะนำเพิ่มเติมในส่วนที่สมาชิกไม่เข้าใจ 3.หลังจากการอบรมทำสิ่งประดิษฐ์ผ้าใยบัว สมาชิกในกลุ่มสว่นใหญ่สามารถทำสิ่งประดิษฐ์ได้โดยไม่ต้องให้วิทยากรให้คำแนะนำเพิ่มเติม

     

    20 15

    8. ปรับกติกาชุมชน การจัดการตลาด และประชาสัมพันธ์การใช้กติกา

    วันที่ 8 สิงหาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ปรับกติกาชุมชน 2.วางแผนการจัดการตลาด 3.ประชาสัมพันธ์การใช้กติกา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ปรับกติกาชุมชน จะแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ดังนี้   หมวดที่ 1 บทความทั่วไป   หมวดที่ 2 แนวทางการดำเนินงานการบริหาร   หมวดที่ 3 อำนาจ – สิทธิ์ – หน้าที่คณะกรรมการกลุ่มฯและการเงิน   หมวดที่ 4 การหมดวาระหรืการพ้นวาระของคณะกรรมการในตำแหน่ง   หมวดที่ 5 สิทธิ์และหน้าที่ของสมาชิกกลุ่มฯ   หมวดที่ 6 ข้อเพิ่มเติม
    2. วางแผนการตลาด   1. วางแผนการตลาดด้วยการจะนำผลผลิตจากการทำดอกไม้นำเสนอขายตามหน่วยงานต่างๆ
        2. มีการกำหนดกติกาว่ารายได้ที่เกิดจากกลุ่มต้องหักค่าบริหารจัดการเข้ากลุ่มร้อยละ 20
        3. สมาชิกต้องมีการออมคนละ30บาท พร้อมทั้งให้สมาชิกทุกคนต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดในเรื่องการออม ลดสิ่งฟุ่มเฟือยและสร้างรายได้เสริม
    3. ประชาสัมพันธ์การใช้กติกา

     

    32 32

    9. จัดทำแปลงสมุนไพรสาธิตในพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้าน

    วันที่ 9 สิงหาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ปักหลักขุดหลุมเพื่อที่จะฝังเสา 2.คัดแยกพันธ์พืช 3.กำจัดวัชพืชที่อยู่ในแปลง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ขุดหลุมฝังเสาเพื่อที่จะล้อมรั้วกั้นไม่ให้สัตว์ใหญ่เข้ามาเหยียบย่ำสมุนไพรในแปลง 2.คัดแยกพันธ์สมุนไพรเพื่อที่จะนำไปปลูกในแปลง 3.กำจัดวัชพืชที่อยู่ในแปลง 4.นำพันธ์พืชที่คัดเรียบร้อยแล้วลงปลูกในแปลงพร้อมกับรดน้ำ

     

    50 27

    10. จัดทำแปลงสมุนไพรในพิ้นที่สาธารณะของหมู่บ้าน

    วันที่ 10 สิงหาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.นำเมล็ดพันธ์พืชลงปลูก 2.กำจัดวัชพืชที่อยู่รอบๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สมาชิกช่วยกันนำเมล็ดพันธ์พืชลงปลูกในแปลง ได้แก่   1.ขมิ้นชัน   2.ฟ้าทะลายโจร   3.ว่านเอ็นเหลือง   4.ว่านหางจรเข้   5.หนุมานประสานกาย   6.ตะไคร้   7.หัวไพล   8.เสลดพังพอน   9.ทุเรียนน้ำ   10.ชุมเห็ดเทศ 2.ช่วยกันกำจัดวัชพืชที่อยู่รอบๆพร้อมกับรดน้ำ   - โดยการถอน ดายหญ้า และตัดหญ้าบริเวณในร่องทางเดิน

     

    50 30

    11. สมาชิกจัดทำแปลงสมุนไพรที่บ้าน

    วันที่ 11 สิงหาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.สมาชิกกลุ่มพืชสมุนไพรจัดทำแปลงปลูกพืชสมุนไพร 2.หาพันธ์พืชสมุนไพรมาปลูก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.แต่ละครัวเรือนจัดทำแปลงพืชสมุนไพร 2.หาพันธ์พืชมาปลูก หลักๆอย่างน้อย 5 ชนิด   1.ชุมเห็ดเทศ   2.ตะไคร้หอม   3.ขมิ้นขัน   4.ฟ้าทะลายโจร   5.ว่านหางจรเข้   6.เสลดพังพอน 3.ดูแลรักษา แลกเปลี่ยนความรู้

     

    50 17

    12. จัดดอกไม้สดตามงานพิธีต่าง ๆ

    วันที่ 15 สิงหาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประธานกลุ่มจะเป็นผู้มอบหมายงานให้กับสมาชิกในกลุ่ม 2.สมาชิกกลุ่มร่วมกันจัดดอกไม้สดตามงานพิธีต่างๆ ในช่วงเทศกาล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.สมาชิกในกลุ่มจัดดอกไม้สดหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ณ ที่ทำการหมู่บ้าน หมู่ที่ 6 ตำบลสลุย อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร 2.สมาชิกในกลุ่มจัดซุ้มถ่ายรูปวันแม่ ณ โรงเรียนบ้านทรายขาว 3.สมาชิกในกลุ่มจัดบอร์ดประกาศข่าวสารวันแม่ ณ โรงเรียนบ้านทรายขาว

     

    20 8

    13. เก็บเงินออมสมาชิกคนละ 30 บาทเพื่อความเป็นเจ้าของ

    วันที่ 8 กันยายน 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะกรรมการกลุ่มและคณะกรรมการโครงการพร้อมทั้งชี้แจงการเก็บเงินออมสมาชิกคนละ 30 บาทเพื่อความเป็นเจ้าของ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมคณะกรรมการประจำเดือนในเรื่องการเก็บเงินออมสมาชิกคนละ 30 บาทเพื่อความเป็นเจ้าของ โดยมีรายละเอียดดังนี้   1) คณะกรรมการกลุ่มได้จัดเก็บเงินไปก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 8 กรกฏาคม 2557 คนละ 30 บาท พร้อมทั้งจัดทำบัญชีครัวเรือนของสมาชิก เพื่อลดสิ่งฟุ่มเฟือนในครัวเรือน   2) การจัดเก็บเงินออมคนละ 30 บาทนั้น สมาชิกสมัครเพื่อความเป็นเจ้าของ ทั้ง 2 กลุ่ม ซึ่งมีสมาชิกรวม 43 คน แบ่งเป็น     2.1) กลุ่มสมาชิกปลูกพืชสมุนไพร มีสมาชิก 23 คน     2.2) กลุ่มสมาชิกทำสิ่งประดิษฐ์ มีสมาชิก 20 คน             รวมทั้งหมด 43 คน เป็นเงิน 1,290 บาท   3) เงินในส่วนนี้ทางคณะกรรมการกลุ่ม ได้จัดทำบัญชีไว้เพื่อต่อยอด เมื่อสมาชิกนำรายได้เข้ากลุ่ม ถึงสิ้นปีทางกลุ่มจะมีปันผลจากการขายผลผลิตให้กับสมาชิก เพื่อความเป็นขวัญกำลังใจให้กับสมาชิกต่อไป

     

    32 25

    14. การขายผลผลิตทุกชนิดที่เกิดขึ้นในกลุ่มและการบริหารจัดการ

    วันที่ 8 ตุลาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะกรรมการกลุ่มและคณะกรรมการโครงการพร้อมทั้งชี้แจงการขยายผลผลิตทุกชนิดที่เกิดขึ้นในกลุ่ม และการบริหารจัดการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1) การขยายผลผลิตในกลุ่มปลูกพืชสมุนไพรที่ผ่านมานั้น ผลผลิตยังไม่สามารถนำไปขายได้ แต่ทางกลุ่มได้นำผลผลิตสมุนไพรบางชนิดที่ขายพันธ์ได้เร็ว ไปขยายพันธ์ปลูกเพิ่มเติม เช่น ข่า ขมิ้น ว่านหางจระเข้ กระชาย และในบางชนิดสามารถนำไปแปรรูปได้เลย เช่น     - ตะไคร้หอม : นำไปเป็นส่วนผสมของลูกประคบ             : นำไปสกัดเป็นสารระเหยกันยุงได้
        - ตะไคร้แกงและขมิ้นเหลือง : นำไปทำเครื่องแกง 2) การบริหารจัดการ
        - ประธานกลุ่มได้แจ้งกับสมาชิกให้นำสมุนไพรไปปลูก เพื่อที่จะนำผลผลิตที่ได้มาขายกับทางกลุ่ม โดยประธานกลุ่มได้ติดต่อประสานงานหาตลาดรองรับไว้เรีบยร้อยแล้ว คือ รพ.สต. และพ่อค้าจากตลาดนัด แต่มีข้อแม้ว่าผลผลิตที่สมาชิกนำมาขายกับทางกลุ่มจะต้องเหลือกินและใช้ในครัวเรือนแล้ว     - ทางกลุ่มจะจัดอบรมในเรื่องการนำสมุนไพรไปแปรรูป เช่น อบรมทำลูกประคบ ทำเครื่องแกง การสกัดสารระเหยจากตะไคร้หอม และการทำน้ำสมุนไพรเพื่อสุขภาพ

     

    32 30

    15. พบเจ้าหน้าที่ สสส.

    วันที่ 15 ตุลาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รับฟังคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ สสส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ สสส. (somboon(Trainer))   - วันที่ 14 มิ.ย. 57 ค่าเดินทางถูกต้อง ส่วนค่าที่พักจะได้แค่ 900.- บาทตามบิล แต่ค่าอาหารอีก 100.- บาท เบิกไม่ได้ครับ ดังนั้นใบสำคัญจ่ายจึงต้องแก้ไขใหม่   - วันที่ 26 มิ.ย. 57หัวเรื่องเขียนผิด เขียนว่า ส่งหนังสือสัญญาคืน สสส. แต่ใบรายละเอียดเขียนเบิกค่าเปิดบัญชี 500.- บาท และค่าอาหาร 200.-  และแนบใบเสร็จค่าส่งเอกสารและใบเสร็จค่าน้ำมันมาให้มูลค่า 70และ 500.- บาทใบในเสร็จค่าน้ำมัน เขียนคำว่า "สด" ซึ่งใช้ไม่ได้   - ค่าป้ายโครงการที่ระบุในใบเสร็จใบเดียวกับค่าป้ายปลอดบุหรี่ ไม่ได้อยู่ในเงื่อนไขที่จะต้องเบิกเงินจากโครงการ  จึงไม่สามารถเบิกได้ ประกอบกับทางโครงการได้ไม่ถ่ายป้ายที่ทำถูกต้องและแล้วเสร็จมาแนบ จึงไม่ทราบว่าเป็นป้ายที่ถูกต้องตามแบบที่กำหนดหรือไม่   - การบันทึกรายการกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งกิจกรรมหลักและกิจกรรมย่อย ในปฏิทิน ยังคาบหมวดและยังไม่ถูกต้อง รบกวนโครงการปรับหมวดหมู่ของกิจกรรมให้ถูกต้องด้วยครับ โดยให้ดูจากงบในแต่ละกิจกรรมหลัก และในแต่ละกิจกรรมหลักนั้นมีกิจกรรมย่อยหรือทำกี่ครั้งก็ให้เฉลี่ยค่าใช้จ่าย และรวมแล้วทุกกิจกรรมย่อยจะต้องไม่เกินจากค่าใช้จ่ายของหมวดกิจกรรมใหญ่ เช่น การประชุมประจำเดือน กำหนด 12 ครั้ง แต่โครงการบันทึกแค่ 10 ครั้ง ขาดอีก 2 ครั้ง ประกอบกับกิจกรรมปฐมนิเทศ โครงการนำไปบรรจุเอาไว้ในกิจกรรมประชุมประจำเดือน ซึ่งไม่ถูก จึงทำให้ค่าใช้จ่ายในหมวดนี้ไม่ตรงกัน เป็นต้น   - หากเป็นไปได้ โครงการปรับปรุงรายการเบิกค่าใช้จ่ายและใบเสร็จแนบตามที่แจ้งแล้ว ควรนำมาให้ผม (สมบูรณ์)ดูอีกครั้งพร้อมสำเนาสมุดบัญชีที่ปรับรายการแล้ว เพื่อสามารถปิดงวด 1 ได้ทันภายในวันที่ 30 ต.ค. 57 เพื่อจะได้ไม่ต้องเดินทางไปปิดงวดที่ มอ.   - หากเป็นไปได้ รบกวนพี่เลี้ยงในพื้นที่ช่วยตรวจสอบอีกทางหนึ่งด้วย
    ( ขอขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆที่มอบให้ จะนำไปปรับปรุงและแก้ไข ถ้าหากโครงการนี้มีข้อบกพร่องประการใด ผู้จัดทำต้องขออภัย แล้วจะนำไปปรับปรุงแก้ไขในโอกาสต่อไป ) By เกศินี  สุวรรณรัตน์

     

    2 2

    16. วิเคราะห์ผลการทำบัญชีครัวเรือนและจัดทำข้อกำหนดชุมชน

    วันที่ 8 พฤศจิกายน 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.วิเคราะห์ผลของการจัดทำบัญชีครัวเรือน 2.จัดทำข้อกำหนดรวมทั้งการลดสิ่งฟุ่มเฟือย การออม และสร้างรายได้เสริม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. วิเคราะห์ผลของการจัดทำบัญชีครัวเรือน     - หลังจากที่จัดการอบรมให้ความรู้เรื่องแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านคันธทรัพย์ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2557 เด็กนักเรียนได้นำความรู้ที่ได้จากการอบรมพร้อมกับสมุดจดบัญทึกรายรับ-รายจ่ายไปแนะนำกับพ่อแม่ของตนเองในเรื่องของการจัดทำบัญชี แนะนำการออม การลดสิ่งฟุ่มเฟือย และการสร้างรายได้เสริม ในระยะเวลา 4 เดือนที่ผ่านมาได้สอบถามกับเด็กนักเรียนอีกครั้งผลปรากฏว่าทุกครอบครัวมีเงินเหลือใช้มากขึ้น มีการหารายได้เสริมในช่วงที่ว่างจากงานประจำเช่น การปลูกผักสวนครัวและการปลูกสมุนไพรเพื่อนำไปขาย มีการลดการใช้จ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็น
    2. จัดทำข้อกำหนดในการทำบัญชีครัวเรือน     - จดบันทึกรายรับ - รายจ่ายในครอบครัวทุกวันให้ติดเป็นนิสัย     - สรุปยอดเงินรายรับ - รายจ่ายประจำวัน เพื่อยกยอดเงินในบัญชีรายรับ-รายจ่ายไปไว้ในวันถัดไป
    3. การลดสิ่งฟุ่มเฟือย     - ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น     - มีเงินสดติดตัวเท่าที่จำเป็นใช้ในแต่ละวันและไม่พกบัตรเต็มกระเป๋า
    4. การออม     - เงินที่เหลือจากใช้จ่ายในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็นเหรียญหรือธนบัตรให้นำมาเก็บออมเงินไว้ และต้องทำให้ตัวเองนั้นออมเงินให้ติดเป็นนิสัย
    5. การสร้างรายได้เสริม     - รายได้เสริม คือ อาชีพที่เพิ่มจากอาชีพประจำที่มีอยู่ เป็นการเพิ่มช่องทางการทำเงินหรือเพิ่มรายได้ให้มากขึ้นให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต

     

    32 50

    17. ความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของพีชสมุนไพรแต่ละชนิด วิธีการปลูกบำรุงรักษาแปลง การใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม

    วันที่ 15 พฤศจิกายน 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1) ความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด
    2) วิธีการปลูกการบำรุงรักษาแปลง
    3) การใช้ปุ๋ยที่เหมาะสม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1) ความรู้เกี่ยวกับสรรพคุณของพืชสมุนไพรแต่ละชนิด
        1.1) ฟ้าทะลายโจร
              จัดเป็นพืชล้มลุกที่มีความสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร หรือประมาณ 1-2 ศอก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งมาก ทุกส่วนของต้นมีรสขม กิ่งเป็นใบสีเหลี่ยม ลักษณะเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ลักษณะของใบรียาว ปลายใบแหลม ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว มีดอกย่อย กลีบดอกมีสีขาวโคนกลีบติดกัน ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ (มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่) ส่วนปากล่างมี 2 กลีบ ผลฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นฝัก ฝักจะคล้ายกับฝักต้อยติ่ง (หรือเป๊าะเป๊ะ) ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่ฝักจะเป็นสีน้ำตาล และแตกได้ ภายในฝักมีเมล็ดจำนวนมาก สีน้ำตาลอ่อน         - สรรพคุณ
                ฟ้าทะลายโจรช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย รวมไปถึงช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวในร่างกายให้จับกินเชื้อโรคได้ดียิ่งขึ้น มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งใบใช้เป็นยาขมช่วยทำเจริญอาหาร ช่วยป้องกันและแก้อาการหวัด คัดจมูก แก้อาการปวดหัวตัวร้อน อาการปวดหัวแบบไม่มีสาเหตุ ระงับอาการอักเสบ แก้อาการเจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบแก้อาการติดเชื้อ ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่เป็นเสาหตุทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน เป็นบิด รักษากระเพาะลำไส้อักเสบ ช่วยในการย่อยอาหาร และช่วยเร่งให้ตับสร้างน้ำดี
        1.2) มะรุม
              จัดเป็นพืชผักพื้นบ้านของไทย มีประโยชน์อเนกประสงค์ ทั้งทางด้านอาหาร ยาและอุตสาหกรรม เป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ทนแล้ง ปลูกง่ายในเขตร้อน อาจจะเติบโตมีความสูงถึง 4 เมตรและออกดอกภายในปีแรกที่ปลูก ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ชนิดที่แตกใบย่อย 3 ชั้น ยาว 20 - 40 ซม. ออกเรียงแบบสลับ ใบย่อยยาว 1 - 3 ซม. รูปไข่ ปลายใบและฐานใบมน ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าและมีขนเล็กน้อยขณะที่ใบยังอ่อน ใบมีรสหวานมัน ออกดอกในฤดูหนาว บางพันธุ์ออกดอกหลายครั้งในรอบปี ดอกเป็นดอกช่อ สีขาว กลีบเรียง มี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบแยกกัน ดอกมีรสขม หวาน มันเล็กน้อย ผลเป็นฝักยาว เปลือกสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมน เป็นระยะ ๆ ตามยาวของฝัก ฝักยาว 20 - 50 ซม. ฝักมีรสหวาน เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม มีปีกบางหุ้ม 3 ปีก เส้นผ่าศูนย์กลางของเมล็ดประมาณ 1 ซม.         - สรรพคุณ             (ใบ) ใช้ถอนพิษไข้ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ แก้แผล ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต             (ยอดอ่อน) ใช้ถอนพิษไข้             (ดอก) ใช้แก้ไข้หัวลม เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันมะเร็ง             (ฝัก) แก้ไข้ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต             (เมล็ด) เมล็ดปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้บวม แก้ปวดตามข้อ ป้องกันมะเร็ง             (ราก) รสเผ็ด หวาน ขม สรรพคุณ แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหัวใจ รักษาโรคไขข้อ (rheumatism)             (เปลือกลำต้น) รสร้อน สรรพคุณขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อน ๆ แก้ลมอัมพาต ป้องกันมะเร็ง คุมกำเนิด เคี้ยวกินช่วยย่อยอาหาร             (ยาง gum) ฆ่าเชื้อไทฟอยด์ ซิฟิลิส (syphilis) แก้ปวดฟัน (earache, asthma)     1.3) ชุมเห็ดเทศ
              เป็นพรรณไม้พุ่มขนาดกลาง ลำต้นมีความสูง 2-3 เมตร ก้านใบนั้นยาว ในก้านหนึ่งนั้นจะมีใบแตกออกเป็น 2 ทาง มีลักษณะคล้ายใบมะยม แต่จะโตและยาวกว่าประมาณ 10-12 ซม. และกว้างประมาณ 3-6 ซม.         - สรรพคุณ             (ใบสด) รักษาโรคผิวหนัง กลากเกลื้อน ฝีและแผลพุพอง             (ดอก) ใบสดหรือแห้ง - เป็นยาระบาย ยาถ่าย ถ่ายพยาธิลำไส้             (เมล็ด) ขับพยาธิ เป็นยาระบายอ่อน     1.4) ว่านหางจระเข้           เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออิ่มอวบ จัดอยู่ในตระกูลลิเลี่ยม (Lilium) แหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและบริเวณตอนใต้ของทวีปแอฟริกา พันธุ์ของว่านหางจระเข้มีมากมายกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีต่างๆกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น         - สรรพคุณ             (ใบ) - รสเย็น ตำผสมสุรา พอกฝี             (ทั้งต้น) - รสเย็น ดองสุราดื่มขับน้ำคาวปลา             (ราก) - รสขม รับประทานถ่ายโรคหนองใน แก้มุตกิด             (ยางในใบ) - เป็นยาระบาย             (น้ำวุ้นจากใบ) - ล้างด้วยน้ำสะอาด ฝานบางๆ รักษาแผลสดภายนอก น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำให้แผลเป็นจางลง ดับพิษร้อน ทาผิวป้องกันและรักษาอาการไหม้จากแสงแดด ทาผิวรักษาสิวฝ้า และขจัดรอยแผลเป็น             (เนื้อวุ้น) - เหน็บทวาร รักษาริดสีดวงทวาร             (เหง้า) - ต้มรับประทานแก้หนองใน โรคมุตกิด     1.5) บัวบก           เป็นพืชสมุนไพรที่อยู่ในแถบเอเชีย ใบบัวบกสามารถช่วยรักษาแผลให้หายได้เร็วขึ้นและยังช่วยลดอาการอักเสบของแผลได้ดี เพราะมีกรดมาเดคาสสิก กรดอะเซียติก และสารอะเซียติโคไซด์ ยาแผนปัจจุบันทำเป็นรูปครีมผงโรยแผล ยาเม็ดรับประทาน เพื่อใช้รักษาแผลสดและแผลผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นแผลไฟไหม้ หรือแผลฝีหนองหรือแผลสด โดยใช้ใบและต้นสดตำละเอียดคั้นน้ำทานวันละ 3 - 4 ครั้ง หรืออาจใช้กากพอกบริเวณแผลด้วยก็ดี ในศรีลังกาใส่ในข้าวต้ม โดยต้มข้าวกับน้ำซุปผักจนสุกนุ่ม ใส่กะทิ ปรุงรสด้วยเกลือ ยกลงแล้วจึงใส่ใบบัวบก ในไทยใช้เป็นผักแนม กินกับผัดไทย ผัดหมี่ หมี่กะทิ ขนมจีน ลาบ ทำยำใบบัวบก หรือคั้นทำน้ำใบบัวบก ทางภาคใต้ใส่ในแกงพริกหมู         - สรรพคุณ               (ใบ) - มีสาร Asiaticoside ทำยาทาแก้แผลโรคเรื้อน               (ทั้งต้นสด)
                        - เป็นยำบำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย เมื่อยล้า                     - รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือมีการชอกช้ำจากการกระแทก แก้พิษงูกัด                     - ปวดศีรษะข้างเดียว                     - ขับปัสสาวะ                     - แก้เจ็บคอ                     - เป็นยาห้ามเลือด ส่าแผลสด แก้โรคผิวหนัง                     - ลดความดัน แก้ช้ำใน               (เมล็ด) - แก้บิด แก้ไข้ ปวดศีรษะ 2) วิธีการปลูกการบำรุงรักษาแปลง     2.1) ฟ้าทะลายโจร           - ใช้กิ่งปักชำได้แต่เพาะเมล็ดง่ายกว่า เวลางอกเป็นต้นจะขึ้นพร้อมเพรียงกันสวยงาม เมล็ดเก็บจากจากฝักแก่สีน้ำตาลเข้ม เปลือกหุ้มแข็ง ก่อนหว่านควรกระตุ้นการงอกโดยนำเมล็ดไปแช่น้ำธรรมดาสัก 2 คืนหรือแช่น้ำร้อน 80-100 องศาเซลเซียส ประมาณ 5-10 นาที           - โดยทั่วไปปลูกโดยไม่ต้องทำแปลง ยกเว้นพื้นที่ค่อยข้างลุ่มก็อาจทำแปลงยกร่องกว้าง 1-2 เมตร ไถพรวนดิน ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักพอประมาณไม่ต้องมาก ถ้าดินร่วนซุยอุดมสมบูรณ์อยู่แล้วก็แทบไม่จำเป็น หากมีเมล็ดมากพอและพื้นที่กว้าง ใช้วิธีหว่านเมล็ดโดยผสมกับทรายหยาบ เพื่อช่วยให้หว่านง่ายขึ้น หว่านให้หนาสักหน่อยถ้าหว่านบางเกินไปฟ้าทะลายโจรจะขึ้นสู้หญ้าไม่ได้ แต่หนาเกินไปก็สิ้นเปลืองเมล็ด     2.2) มะรุม           - สภาพพื้นที่ปลูกเจริญเติบโตได้ดีกับดินทุกชนิด โดยเฉพาะดินร่วนปนทราย ทนแล้งได้ดี และไม่ชอบพื้นที่ที่น้้าท่วมขัง การให้น้้า เนื่องจากมะรุมเป็นพืชทนแล้งได้ดี และออกดอกออกฝักตามฤดูกาล การให้น้้า ถ้าเป็นระยะแรกของการปลูก หรือปลูกในฤดูฝนจะไม่มีปัญหาเรื่องการให้น้้า แต่ในฤดูแล้งควรมีการให้น้้าเช้าและเย็น หรือใช้ระบบน้้าหยด จะท้าให้ฝักมีขนาดที่โตและยาวมากขึ้น     2.3) ชุมเห็ดเทศ           - สามารถขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ชอบดินร่วนซุย ชอบน้ำและแสงแดด เจริญเติบโตเร็ว การปลูกโดยทั่วไปมักปลูก โดยใช้เมล็ด สามารถทำได้ 2 วิธี คือ หยอดลงหลุม หรือเพาะชำเมล็ดเป็นต้นกล้าก่อน จึงย้ายลงหลุม เมื่อพืชอายุได้ 3 เดือนขึ้นไป ควรพรวนดินเข้าโคน และทำให้เป็นร่องโดยรอบรัศมีทรงพุ่ม เพื่อใช้สำหรับเก็บขังน้ำ และแนวใส่ปุ๋ย     2.4) ว่านหางจระเข้           - ถ้าต้นว่านหางจระเข้มีลำต้นยาวมาก ควรตัดลำต้นให้สั้นลงให้เหลือลำตันเพียง 2 - 3 นิ้ว ลำต้นที่ ถูกตัดนี้จะงอกรากใหม่อย่างรวดเร็ว การลงดินอย่าลงลึกไปหรือตื้นไป คืออย่าลึกจนเวลาลดน้ำดินไปกลบยอดได้ หรืออย่าตื้นจนต้นโยกเยกเวลารดน้ำ     2.5) บัวบก
              - ระบบรากของต้นบัวบกลึกประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร บัวบกชอบดินที่มีความชุ่มชื้นสูงมากและชอบร่มเงา ต้นจะเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ด้วยการแตกไหล ต้นบัวบกสามารถปลูกได้ตลอดปี มีอายุเก็บเกี่ยว 1-2 เดือน นิยมปักชำด้วยต้นอ่อนๆ ที่งอกจากไหลจะแพร่ขยายได้รวดเร็ว หลังจากต้นตั้งตัวได้แล้วให้ใส่ปุ๋ยยูเรีย สามารถปลูกได้ในกระถางและภาชนะอื่นๆ 3) การใช้ปุ๋ยที่เหมาะสม     3.1) ฟ้าทะลายโจร           - ใส่ปุ๋ยคอกจะเร่งให้ต้นยอดและกอใหญ่ขึ้น ฟ้าทะลายโจรปลูกครั้งเดียวก็พอ ในปีต่อๆ ไปก็จะเกิดขึ้นเอง ไม่ต้องปลูกอีก     3.2) มะรุม           - การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก โดยใส่รอบๆโคนต้น หลังจากนั้นพรวนดินกลบ     3.3) ชุมเห็ดเทศ           - ควรให้ปุ๋ย 2 ระยะ คือ ระยะแรก อายุ 1-2 เดือน ใส่ปุ๋ยเดือนละ 1 ครั้ง ระยะที่สอง อายุ 3 เดือนขึ้นไป ทุกๆ 3 เดือน และลดการให้ปุ๋ยในช่วงเดือน ธ.ค.-ก.พ. เพราะเข้าฤดูหนาว และจะใส่ครั้งต่อไป เมื่อทำการตัดแต่งกิ่ง เสร็จเรียบ ร้อยแล้ว     3.4) ว่านหางจรเข้           - การใส่ปุ๋ยให้กับว่านหางจรเข้ ให้ใส่ปุ๋ยปีละ 1 - 2 ครั้ง     3.5) บัวบก           - ครั้งแรกใส่ปุ๋ยหลังจากปลูก 15 - 20 วัน ทุกครั้งที่มีการใส่ปุ๋ยเสร็จแล้วจะต้องรดน้ำให้ชุ่ม สำหรับอัตราการใส่ปุ๋ยทุกครั้งจะดูการเจริญเติบโต ความอุดมสมบูรณ์ของดินและความสมบูรณ์ของต้นบัวบกด้วย จึงจะทำให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า

     

    50 55

    18. จัดทำน้ำสมุนไพรเพื่อใช้ในการรักษาและดื่มเพื่อสุขภาพ

    วันที่ 5 ธันวาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ศึกษาข้อมูลการทำน้ำกระเจี๊ยบ 2.จัดเตรียมอุปกรณ์ 3.ลงมือทำน้ำกระเจี๊ยบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ศึกษาข้อมูลการทำน้ำกระเจี๊ยบ   - กระเจี๊ยบแดง (อังกฤษ: Roselle) ภาคเหนือ เรียก ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง เงี้ยว แม่ฮ่องสอนเรียก ส้มปู จังหวัดตาก เรียก ส้มตะแลงเครง ภาคกลาง เรียก กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยวเป็นพืชสมุนไพรที่เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 3–6 ศอก ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบมีหลายแบบด้วยกัน ขอบใบเรียบ บางทีก็มีรอยหยักเว้า 3 หยัก สีของดอกเป็นสีชมพู ตรงกลางดอกมีสีเข้มมากกว่าขอบนอกของกลีบ กลีบดอกร่วงโรยไป กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงก็จะเจริญเติบโตขึ้นอีกเกิดเป็นสีม่วงแดงเข้มหุ้มเมล็ดเอาไว้ภายใน   - การขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดปลูก ควรปลูกในหน้าฝน พรวนดินก่อนปลูก ขุดหลุมปลูกหลุมละ 2-3 เมล็ด ระยะห่างของหลุมประมาณ ½-1 เมตร พอต้นอ่อนงอกออกมาแล้ว ให้ถอนต้นที่อ่อนแอกว่าออกไปเอาต้นที่แข็งแรงไว้ รดน้ำ ใส่ปุ๋ย พรวนดิน กำจัดวัชพืชออกให้หมด การใช้ประโยชน์   - กระเจี๊ยบแดงสามารถนำไปทำเป็นเครื่องดื่มแก้กระหายได้ นอกจากนี้น้ำกระเจี๊ยบสามารถใช้ทดสอบสารอาหารที่มีโปรตีนได้ โดยอัตราส่วน 1:2 ซึ่งสีแดงของน้ำกระเจี๊ยบจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงหรือสีอื่น ชาวแอฟริกาตะวันออกนำทั้งใบและผลไปต้มดื่มแก้อาการไอ ชาวอียิปต์ใช้กลีบเลี้ยงสีแดงต้มน้ำดื่มแก้ความดันโลหิตสูง ชาวมอญและพม่านิยมนำผลและใบกระเจี๊ยบไปปรุงอาหารได้หลายอย่าง ใบนำไปยำ หั่นใส่ข้าวยำหรือกินแนมกับอาหารรสจัด ต้ม แกงส้ม ผัดและจิ้มน้ำพริก สรรพคุณ   - น้ำต้มจากดอกกระเจี๊ยบพบว่าใช้เป็นยาขับปัสสาวะได้ดี เป็นยาลดความดันโลหิตสูงได้ และช่วยลดการอักเสบในระบบทางเดินปัสสาวะของผู้ป่วยที่ผ่าตัดนิ่วในไตได้ดี 2.จัดเตรียมอุปกรณ์ อุปกรณ์   - กระเจี๊ยบสดหรือแห้ง   - น้ำตาลทราย   - เกลือ   - น้ำเปล่า   - หม้อ   - เตาถ่าน   - ผ้าขาวบาง   - กะละมัง 3. ลงมือทำน้ำกระเจี๊ยบ   - นำกระเจี๊ยบไปล้างน้ำให้สะอาด   - นำหม้อใส่น้ำตั้งไฟแล้วใส่กระเจี๊ยบลงไป   - เคี่ยวประมาณ 30-40 นาทีหรือรอจนกระเจี๊ยบเปื่อย แล้วยกลงจากเตา สีของน้ำที่ต้มจะเป็นสีแดงสด   - นำน้ำกระเจี๊ยบในหม้อ มากรองด้วยผ้าขาวบาง 2 ชั้น ใส่ในกะละมังเพื่อเอากากออก   - ใส่น้ำตาลทรายลงไปคนให้ละลาย แล้วเติมเกลื่อป่นเล็กน้อย   - ชิมรสชาติให้หวานนำ เมื่อใส่แก้วพร้อมกับน้ำแข็งจะกลมกล่อมพอดี

     

    30 17

    19. ปรับแผนการปฏิบัติและข้อกำหนดการลดสิ่งฟุ่มเฟือย การออม และสร้างรายได้เสริม

    วันที่ 8 ธันวาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปรับแผนการปฏิบัติและข้อกำหนดการลดสิ่งฟุ่มเฟือย การออม และสร้างรายได้เสริม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ในการปรับแผนการปฎิบัติกลุ่มของเรานั้น มีการลดสิ่งฟุ่มเฟือยและการออม มีรายได้เกิดขึ้นจริง ซึ่งมีชาวบ้านครูและนักเรียนเข้าร่วมด้วย
    2. จากการประชุมในจำนวน 50 คน มีผู้สมัครใจเข้าร่วมทำบัญชีครัวเรือน 30 ครัวเรือน
    3. การทำบัญชีครีวเรือนยังไม่สมบูรณ์ทั้งหมดแต่มี 3 ครัวเรือนที่มีการบันทึกที่สมบูรณ์โดยให้เด็กนักเรียนเป็นแกนนำในการนำร่อง ทำบัญชีครัวเรือนต้นแบบ
    4. จากผลสรุปเงินออม เดือน ส.ค. - ต.ค. ดังนี้     4.1) เด็กหญิงสุดารัตน์  ขาวมรดก  3 เดือน
                            เงินที่ได้รับ  4,010 บาท                       ค่าขนม  560 บาท                       ค่าน้ำดื่ม  440 บาท                       ค่าอาหาร  790 บาท                       ค่าอุปกรณ์การเรียน  405 บาท                       รวมทั้งหมด  2,195 บาท                       เหลือเก็บ  1,815 บาท     4.2) นางสาวอุไรวรรณ  ฐานะกาญจน์  3 เดือน
                            เงินที่ได้รับ  2,390 บาท                       ค่าขนม  135 บาท                       ค่าน้ำดื่ม  275 บาท                       ค่าอาหาร  535 บาท                       ค่าอุปกรณ์การเรียน  660 บาท                       ค่าเสื้อผ้า  350 บาท
                            รวมทั้งหมด  1,955 บาท                       เหลือเก็บ  435 บาท     4.3) นางสาวสุพาภรณ์  ขุนดำ 3 เดือน                       เงินที่ได้รับ  1,820 บาท                       ค่าขนม  115 บาท                       ค่าอาหาร  660 บาท                       ค่าน้ำดื่ม  75 บาท                       ค่าอุปกรณ์การเรียน  245 บาท                       รวมทั้งหมด  1,095 บาท                       เหลือเก็บ  725 บาท

     

    32 35

    20. ปรับการดำเนินการของแต่ละกลุ่ม

    วันที่ 8 มกราคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมคณะกรรมการกลุ่มชุมชนและคณะกรรมการโครงการเพื่อปรับการดำเนินการของแต่ละกลุ่ม และทบทวนการออม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการกลุ่มชุมชนและคณะกรรมการโครงการมีการทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของประชาชนในการได้รับความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การประหยัดและการออม การเป็นกลุ่มสมาชิกที่มีการทำดอกไม้จากผ้าใยบัว การทำดอกไม้สดเพื่อใช้ในกิจกรรมของชุมชนไม่ต้องจ้างบุคคลจากภายนอกมาจัดถือว่าเป็นการประหยัดรายจ่ายส่วนหนึ่ง มีการปลูกพืชผักสมุนไพรปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือนและไว้ทำลูกประคบสำหรับการดูแลสุขภาพ การเตรียมวัสดุอุปกรณ์การทำปุ๋ย มอบหมายผู้รับผิดชอบในการรวบรวมรายงานพร้อมทั้งการรับ-จ่ายเงินของกลุ่มเพื่อจัดทำเป้นเงินออมของกลุ่ม มีการติดต่อประสานการตลาดเพื่อจำหน่ายลูกประคบและพืชสมุนไพร และปรับแผนการดำเนินการของแต่ละกลุ่มต่อไป

     

    32 48

    21. ทำปุ๋ยอินทรีย์

    วันที่ 21 มกราคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ฟังบรรยายถึงประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์และการทำปุ๋ยอินทรียืไว้ใช้ในแปลงจากวิทยากรในหมู่บ้าน 2.จัดหาอุปกรณ์เพื่อที่จะทำปุ๋ยอินทรีย์ 3.ลงมือทำปุ๋ยอินทรีย์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ฟังบรรยายถึงประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์และการทำปุ๋ยอินทรียืไว้ใช้ในแปลงจากวิทยากรในหมู่บ้าน   - ปุ๋ยอินทรีย์ (Organic Fertilizer) คือ ปุ๋ยที่ได้จากอินทรีย์สารซึ่งผลิตขึ้นโดยกรรมวิธีต่างๆ และจะเป็นประโยชน์ต่อพืชก็ต้องผ่านขบวนการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางชีวภาพเสียก่อน มีวัตถุหลายประเภทที่สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้   - ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์         - ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยเฉพาะคุณสมบัติทางกายภาพของดิน เช่น ความโปร่ง ความร่วนซุย ความสามารถในการอุ้มน้ำ และการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน         - อยู่ในดินได้นานและค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้า ๆ จึงมีโอกาสสูญเสียน้อยกว่าปุ๋ยเคมี       - เมื่อใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพ มีธาตุอาหารรอง / เสริม อยู่เกือบครบถ้วนตามความต้องการของพืช         - ส่งเสริมให้จุลชีพในดินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงดินให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น   -ข้อจำกัดของปุ๋ยอินทรีย์         - มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ         - ใช้เวลานานกว่าปุ๋ยเคมี ที่จะปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ให้แก่พืช         - ราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี เมื่อคิดเทียบในแง่ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารพืช         - หายาก พิจารณาในด้านเมื่อต้องการใช้เป็นปริมาณมาก         - ถ้าใส่สารอินทรีย์มากเกินไป เมื่อเกิดการชะล้างจะทำให้เกิดการสะสมของไนเตรท ในน้ำใต้ดินซึ่งเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้         - การใช้สารอินทรีย์ที่สลายตัวยาก เช่น ขี้เลื่อย เมื่อใช้วัสดุคลุมดิน ถ้าใช้ขี้เลื่อยสดใส่ทับถมกันแน่น จะทำให้เกิดการหมักในสภาพไร้ออกซิเจน ทำให้อุณหภูมิสูงมาก จนเกิดสารสีดำหรือน้ำตาล ในสภาพนี้ขี้เลื่อยจะอิ่มตัวไปด้วยสารพิษซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ชนิดระเหยง่าย มีกลิ่นฉุนมาก และเกิดไอที่มีฤทธิ์กัดกร่อน ทำให้เป็นอันตรายแก่พืชหลายชนิดได้ อย่างไรก็ตาม ขี้เลื่อย เปลือกไม้สามารถนำมาใช้ได้โดยใช้ในดินที่ไม่เป็นกรดจัดเกินไป และมีปุ๋ยไนโตรเจนเพียงพอ ควรเป็นขี้เลื่อยเก่าที่ย่อยแล้ว หรือปล่อยให้ตากแดดตากฝนระยะหนึ่ง การใช้ปูนขาวควบคู่ไปด้วยในปริมาณที่พอเหมาะ จะช่วยลดความเป็นพิษลงได้         - มูลสัตว์ที่ไม่ผ่านการหมักหรือการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนก่อนจะมีโรค แมลงศัตรูพืช และวัชพืชติดมาด้วย ทำให้เกิดปัญหาการแพร่ระบาดภายหลังได้         - ปุ๋ยอินทรีย์สลายตัวอยาก เช่น ขี้เลื่อย ซึ่งมีอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนสูง เมื่อใส่ในดินปลูกพืชจุลินทรีย์จะแย่งไนโตรเจนในดินไปใช้ในขบวนการย่อย มีผลทำให้พืชขาดไนโตรเจนชั่วคราว ถ้าไม่มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนพืชจะขาดจนกว่าจุลินทรีย์เหล่านี้จะมีกิจกรรมลดลง จึงจะได้ไนโตรเจนกลับคืนสู่ดิน       - ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์และวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน ส่งกลิ่นเหม็นไม่เป็นที่จูงใจผู้ใช้และสกปรก         - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากของเหลือทิ้งจากท่อระบายน้ำโสโครก ตามอาคารบ้านเรือนก่อให้เกิดการปนเปื้อนของโลหะหนักหลายชนิดที่เป็นพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท         - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ยังสลายตัวไม่เต็มที่หรือยังอยู่ระหว่างการย่อยสลายจะทำให้เกิดความร้อน จากการย่อยสลาย เป็นอันตรายต่อรากพืช เช่น การใช้มูลสด ๆ ใส่ใกล้โคนปลูกพืช และการใช้มูลที่มีทั้งอุจจาระและปัสสาวะสัตว์ปน โดยไม่มีการเจือจาง จะทำให้ต้นพืชเหี่ยวเฉาได้เนื่องจากความเค็มของกรดในน้ำปัสสาวะ 2.จัดหาอุปกรณ์เพื่อที่จะทำปุ๋ยอินทรีย์   - อุปกรณ์ในการทำ         1. มูลสัตว์ ได้แก่ ขี้หมู , ขี้วัว         2. กากกาแฟ , กากปาล์ม , รำข้าวละเอียด         3. กากน้ำตาล         4. ปุ๋ยยูเรีย         5. พลั่ว         6. พลาสติกหรือผ้าใบ 3.ลงมือทำปุ๋ยอินทรีย์   - วิธีการทำ           1. หมักปุ๋ยโดยการใช้มูลสัตว์ตากแห้ง (ขี้หมู , ขี้วัว)และกากกาแฟ , กากปาล์ม ,และรำข้าวละเอียดมาผสมกับปุ๋ยยุเรีย แล้วใช้พลั่วเคล้าให้เข้ากัน           2. หลักจากคลุกเคล้าเสร็จเรียบร้อยให้นำกากน้ำตาลมาผสมให้เข้ากัน ขณะผสมให้เติมน้ำเพื่อเพิ่มความชื้น           3. ปริมาณความชื้นดังกล่าววัดได้โดยการนำมูลสัตว์ที่ผสมเรียบร้อยแล้ว นำมากำด้วยมือถ้าปล่อยมือออกมูลสัตว์ยังคงรุปได้แสดงว่าปุ๋ยมีความชื้นพอเหมาะ แต่ถ้ากำแล้วปล่อยก้อนมูลสัตว์ออกเป็นก้อนๆแสดงว่าปริมาณน้ำยังไม่พอ ให้เติมน้ำอีก           4. หลังจากที่ผสมคลุกเคล้าแล้วให้พลาสติกหรือผ้าใบมาคลุมเพื่อป้องกันฝนและไม่ให้ความชื้นระเหยออก           5. หลังจากนั้น 3 วันให้ทำการกลับกองปุ๋ยครั้งที่ 1 และถัดจากนั้น 3 วันนับไปอีก 7 วัน กลับกองปุ๋ยเป็นครั้งที่ 2 และครั้งต่อไปทุกๆ 7 วันจนกว่ากองปุ๋ยไม่มีความร้อน มีสีดำและร่วนซุย ได้ปุ๋ยทั้งหมด 700กิโลกรัม

     

    30 55

    22. ทบทวนกิจกรรมของทุกกลุ่มเพื่อการดำรงชีวิตที่รู้จักพอประมาณ

    วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทบทวนกิจกรรมของทุกกลุ่มเพื่อการดำรงชีวิตที่รู้จักพอประมาณ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทบทวนกิจกรรมของทุกกลุ่มเพื่อการดำรงชีวิตที่รู้จักพอประมาณ   คณะกรรมการและสมาชิกได้รับรู้ถึงกิจกรรมที่ทำผ่านมาของทุกกลุ่ม รู้จักการนำมาใช้ในชีวิตประจำวันและครัวเรือน อยู่อย่างพอเพียง รู้จักใช้ รู้จักประหยัด และรู้จักใช้อย่างจำเป็น คณะกรรมการโครงการรับทำตนเองเป็นต้นแบบ

     

    32 49

    23. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายนอกหมู่บ้าน

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ศึกษาดุงาน ณ โครงการอนุรักษพันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร
    2. ศึกษาดูงาน ณ โรงพยาบาลท่าแซะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ศึกษาดุงาน ณ โครงการอนุรักษพันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร 1. พื่นที่ทั้งหมด มี 1,945 ไร่ แบ่งเป็น
              1.1 สวนพฤษศาสตร์ 500 ไร่           1.2 สวนสมุนไพร 300 ไร่           1.3 โรงเรือนและอื่นๆ 1,145 ไร่ 2. สวนสมุนไพรมีแปลงปักชำต้นกล้าทั้งหมด 9 โรงเรือน มีรั้วรอบขอบชิด     ตัวอย่างสมุนไพรที่ปลูก ได้แก่           2.1 เหงือกปลาหมอ ต้นควินิน แก้อักเสบ           2.2 ต้นตะขาบ ต้นกระวาน บำรุงร่างกาย           2.3 พญายอหรือเสลดพังพอน แก้พิษ           2.4 สบู่ส้ม บำรุงเลือด สบู่ดำ แก้ท้องเสีย           2.5 หนุมานถวายแหวน  มาต้มกินแก้ปวดเมื่อย           2.6 ฤาษีนางครวญ
              2.7 ราก 30 หรือสามร้อยห้ว  บำรุงร่างกาย           2.8 ใบหูเสือ มะสัง มะแข่ง           2.9 ต้นกำจัด เป็นยาระบายท้อง มะกล่ำต้น           2.10 อบเชย ศึกษาดูงาน ณ โรงพยาบาลท่าแซะ 1. ห้องแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลท่าแวะ     - เป็นหน่วยงานด้านการผลิตยา ได้แก่           1.1 ยาใช้ทาภายนอก           1.2 ยาใช้กิน     - วัตถุดิบรับซื้อจากกลุ่มในพื้นที่ อำเภอท่าแซะ     - ส่วนใหญ่จะผลิตยาสมุนไพรแผนโบราณ ผลที่ได้ คณะกรรมการและสมาชิกได้เรียนรุ้ เข้าใจเรื่อพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และได้แนวคิดในการนำความรุ้ไปปรับใช้กับตนเอง ครอบครัวและกลุ่มสมุนไพรของชุมชนในการประสานวัสถุดิบและการตลาดของพืชสมุนไพร

     

    20 12

    24. ปรับวิถีชีวิตชุมชนกิจกรรมที่เน้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    วันที่ 8 มีนาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมคณะกรรมการกลุ่มชุมชนและคณะกรรมการโครงการเพื่อจัดกิจกรรมที่เน้นการปรับวิถีชีวิตชุมชนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการกลุ่มชุมชนและคณะกรรมการโครงการมีการประชุมปรับกิจกรรมให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ที่ฝนแล้งทำให้พืชผักในแปลงสาธิตตายลงบางส่วนเนื่องจากการขาดนำ้ จึงมีมติให้สมาชิกกลุ่มปรับวิธีการปลูกที่บ้านของสมาชิกเองเพราะมีแหล่งนำ้และสะดวกต่อการดูแลรักษาและทุกคนในครัวเรือนได้มีเวลาใกล้ชิดกันในการทำกิจกรรมร่วมกันอีกด้วย เพื่อทำให้กลุ่มสามารถเดินต่อไปได้ และมีผลผลิตอย่างต่อเนื่องของโครงการและชุมชน  ในการสมาชิกกลุ่มและผู้นำชุมชนเห็นชอบด้วยและเน้นให้ทุกครัวเรือนนำไปปฏิบัติ โดยกำหนดว่าทุกครัวเรือนต้องมีพืชผักสมุนไพรที่ปลอดสารพิษอย่างน้อย ๕ชนิด และแกนนำชุมชนต้องเป็นแบบอย่างที่ดี

     

    32 102

    25. ทำเครื่องแกง

    วันที่ 15 มีนาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.จัดเตรียมวัตถุดิบ และวัสดุอุปกรณ์ 2.ลงมือทำเครื่องแกง ได้แก่ เครื่องแกงกะทิ เครื่องแกงคั่ว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. จัดเตรียมวัตถุดิบและวัสดุอุปกรณ์     เครื่องแกงกะทิ ได้แก่ ตะไคร้ ข่า พริกแห้ง กระเทียม ขมิ้น กระชาย เกลือ     เครื่องแกงคั่ว ได้แก่ ตะไคร้ ข่า พริกแห้ง กระเทียม ขมิ้น กระชาย เกลือ พริกไทยดำ 2.ลงมือทำเครื่องแกง   2.1 เครื่องแกงกะทิ
      วิธีการทำ   - นำตะไคร้ ข่า กระเทียม ขมิ้น กระชาย มาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆแล้วพักไว้   - หลังจากนั้นนำพริกแห้งล้างให้สะอาด แล้วนำวัถุดิบที่หั่นเสร็จแล้วเทลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วเติมเกลือ   - นำส่วนผสมที่คลุกเคล้าเสร็จแล้วเข้าเครื่องบด จะได้เครื่องแกงที่ไม่ค่อยละเอียดเท่าไหร่ แต่ถ้าต้องการให้ละเอียดให้นำเข้าเครื่องบดเป็นรอบที่ 2
        - หลังจากบดเสร็จเรียบร้อยนำมาตักใส่ถุง พร้องจำหน่าย   2.2 เครื่องแกงคั่ว   - ใช้วิธีการเดียวกับเครื่องแกงกะทิ แต่ให้เพิ่มพริกไทยดำลงไป 3.ผลที่ได้คณะกรรมการ สมาชิกและชาวบ้านได้รู้จักนำสมุนไพรมาปรรูปได้ถูกวิธี เป็นอาหารครัวเรือน เพื่อลดรายจ่ายครัวเรือน และสามารถนำพืชสมุนไพรไปขายให้กับกลุ่มเครื่องแกงแม่บ้านได้

     

    30 15

    26. ทำลูกประคบสมุนไพรในแต่ละครัวเรือน

    วันที่ 17 มีนาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำลูกประคบสมุนไพร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกกลุ่มทั้งหมดได้นำสมุนไพรที่ตนเองปลูกไว้และที่แปลงสาธิตนำมาจัดทำแปรรูปเป็นลูกประคบสมุนไพรโดยมีปราชญ์ชาวบ้านเป็นผู้สอนและมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข(แผนไทย)เป็นผู้ควบคุมดูแล สมาชิกสามารถนำไปทำที่กลุ่มบ้านของตนเองได้และนำส่งให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อใช้กับผู้รับบริการที่รพสต.สลุย และเป็นรายได้เสริมกับสมาชิก การประคบสมุนไพร     การประคบสมุนไพร คือการใช้สมุนไพรหลายอย่างมาห่อรวมกัน ส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหย โดยนำมานึ่งให้ร้อนประคบบริเวณที่ปวดหรือเคล็ดขัดยอกซึ่งน้ำมันหอมระเหยเมื่อถูกความร้อน จะระเหยออกมา ความร้อนจากลูกประคบจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น และยังมีสารสำคัญจากสมุนไพรบางชนิดที่ซึมเข้าทางผิวหนัง ช่วยรักษาอาการเคล็ด ขัด ยอก และลดปวดได้ ตัวยาที่นิยมใช้ทำลูกประคบ 1. ไพล (500 กรัม) แก้ปวดเมื่อยลดการอักเสบ 2. ผิวมะกรูดถ้าไม่มีใช้ใบแทนได้ (200 กรัม) มีน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน 3. ตะไคร้บ้าน (100 กรัม) แต่งกลิ่น 4. ใบมะขาม (300 กรัม) แก้อาการคันตามร่างกาย ช่วยบำรุงผิว 5. ขมิ้นชัน (100 กรัม) ช่วยลดอาการอักเสบ แก้โรคผิวหนัง 6. เกลือ (1 ช้อนโต๊ะ) ช่วยดูดความร้อนและช่วยพาตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้สะดวกขึ้น 7. การบูร (2 ช้อนโต๊ะ) แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจ 8. ใบส้มป่อย (100 กรัม) ช่วยบำรุงผิว แก้โรคผิวหนัง ลดความดัน วิธีการทำลูกประคบ 1. หั่นหัวไพล, ขมิ้นชัน. ต้นตะไคร้, ผิวมะกรูด, ตำพอหยาบ ๆ (เวลาประคบจะทำให้ระคายผิว) 2. นำใบมะขาม, ใบส้มป่อย(เฉพาะใบ)ผสมกับสมุนไพร ข้อ1 เสร็จแล้วให้ใส่เกลือ, การบูร คลุกเคล้าให้เป็นเนื้อเดียวกันแต่อย่าให้แฉะเป็นน้ำ 3. แบ่งตัวยาที่เรียบร้อยแล้วใส่ผ้าดิบห่อเป็นลูกประคบประมาณลูกส้มโอ รัดด้วยเชือกให้แน่น (ลูกประคบเวลาถูกความร้อนยาสมุนไพรจะฝ่อลงให้รัดใหม่ให้แน่นเหมือนเดิม) 4. นำลูกประคบที่ได้ไปนึ่งในหม้อนึ่ง ใช้เวลานึ่งประมาณ 15-20 นาที 5. นำลูกประคบที่รับความร้อนได้ที่แล้วมาประคบคนไข้ที่มีอาการต่าง ๆ โดยสับเปลี่ยนลูกประคบ วิธีการประคบ 1. จัดท่าคนไข้ให้เหมาะสม เช่น นอนหงาย, นั่ง, นอนตะแคง ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จะทำการประคบสมุนไพร 2. นำลูกประคบที่รับความร้อนได้ที่แล้วมาประคบบริเวณที่ต้องการประคบ (การทดสอบความร้อนของลูกประคบคือแตะที่ท้องแขนหรือหลังมือ) 3. ในการวางลูกประคบบนผิวหนังคนไข้โดยตรงในช่วงแรก ๆ ต้องทำด้วยความเร็ว ไม่วางแช่นาน ๆ เพราะคนไข้จะทนความร้อนไม่ได้มาก 4. เมื่อลูกประคบคลายความร้อนลงก็สามารถเปลี่ยนลูกประคบอีกลูกหนึ่งแทน (นำลูกเดิมไปนึ่งต่อ) ทำซ้ำตาม ข้อ 2,3,4 ประโยชน์ของการประคบ จากตัวยาสมุนไพรและความร้อน 1. บรรเทาอาการปวดเมื่อย 2. ลดอาการบวม อักเสบของกล้ามเนื้อ, เอ็น, ข้อต่อหลัง 24-48 ชั่วโมง 3. ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ 4. ช่วยให้เนื้อเยื่อ, พังผืด ยึดตัวออก 5. ลดการติดขัดของข้อต่อ 6. ลดอาการปวด 7. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด ข้อควรระวัง 1. ห้ามใช้ลูกประคบที่ร้อนเกินไป โดยเฉพาะกับบริเวณผิวหนังอ่อน ๆ หรือบริเวณที่เคยเป็นแผลมาก่อน ถ้าต้องการใช้ควรมีผ้าขนหนูรองก่อนหรือรอจนกว่าลูกประคบจะคลายร้อนลงจากเดิม 2. ควรระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วยเบาหวาน อัมพาต เด็ก และผู้สูงอายุ เนื่องจากกลุ่มบุคคลดังกล่าวความรู้สึกตอบสนองต่อความร้อนช้า อาจจะทำให้ผิวหนังไหม้ พองได้ง่าย ถ้าต้องการใช้ควรจะ "ใช้ลูกประคบที่อุ่น ๆ" 3. ไม่ควรใช้ลูกประคบสมุนไพรในกรณีที่มีแผล การอักเสบ (ปวด, บวม, แดง, ร้อน) ในช่วง 24 ชั่วโมง 4. หลังจากประคบสมุนไพรแล้ว ไม่ควรอาบน้ำทันทีเพราะจะไปชะล้างตัวยาออกจากผิวหนัง และอุณภูมิของร่างกายปรับเปลี่ยนไม่ทันอาจจะทำให้เป็นไข้ได้ วิธีเก็บรักษา 1. ลูกประคบสมุนไพรที่ทำในแต่ละครั้ง สามารถเก็บไว้ใช้ซ้ำได้ 3-5 วัน 2. ควรเก็บลูกประคบไว้ในตู้เย็น จะทำให้เก็บได้นานขึ้น (ควรเช็คลูกประคบด้วย ถ้ามีกลิ่นบูดหรือเหม็นเปรี้ยวไม่ควรเก็บไว้) 3. ถ้าลูกประคบแห้ง ก่อนใช้ควรพรมด้วยน้ำหรือเหล้าขาว 4. ถ้าลูกประคบที่ใช้ไม่มีสีเหลืองหรือสีเหลืองอ่อนลงแสดงว่ายาที่ใช้จืดแล้ว (คุณภาพน้อยลง) จะใช้ไม่ได้ผลควรเปลี่ยนลูกประคบใหม่


                 

     

    30 30

    27. การแบ่งปันและการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

    วันที่ 8 เมษายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

      ประชุมร่วมกันของคณะกรรมการชุมชน คณะกรรมการโครงการ และประชาชนในชุมชนเพื่อทบทวนผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการประชุมทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของคณะกรรมการชุมชนและคณะกรรมการโครงการเพื่อนำปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานมาปรับปรุงแก้ไข ช่วยเหลือและแบ่งปันในส่วนต่าง ๆที่ทีมงานต้องให้ความร่วมมือและขอความช่วยเหลือจากส่วนต่างๆ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในครั้งนี้ทำให้ทีมงานต้องปรับหน้าที่ในการสรุปผลการดำเนินการ การรวบรวมผลงานและรายได้ที่เกิดขึ้นทั้งที่เป็นส่วนรวมและของกลุ่ม มีการมอบหมายหน้าที่ เพื่อที่จะนำเข้าที่ประชุมในครั้งต่อไป

     

    32 55

    28. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ

    วันที่ 8 พฤษภาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการโครงการประชุมสรุปผลกิจกรรมในช่วงเช้าเพื่อนำผลสรุปกิจกรรมทั้งหมดเสนอในเวทีประชุมประจำเดือนหมู่บ้านในตอนเที่ยงถึงเย็น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลการการดำเนินงานโครงการของกลุ่มสิ่งประดิษฐ์และกลุ่มพืชสมุนไพรที่มีการจัดกิจกรรมการปลูกพืชและทำปุ๋ย รวมทั้งแปรรูปได้เป็นลูกประคบ การะบูนผ้าใยบัวดูดสารพิษ ขายให้กับชุมชนและรพสต.สลุย และมีการปันส่วนเป็นค่าบริหารจัดการของกลุ่มจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีรายได้ในระยะแรก 2,350 บาท จากการหักจากรายได้ร้อยละ 20 แล้วเก็บไว้ที่กรรมการกลุ่ม และกลุ่มต้องมีการประชุมอย่างต่อเนื่อง มีการเก็บรายได้นั้น และอื่น ๆ ชุมชนรับทราบทุกกิจกรรมที่ผ่านมา คนในชุมชนเข้าใจและมีการเสนอให้ขยายของกลุ่มไปยังครอบครัวของสมาชิกได้ผลดีต่อไปทางกลุ่มหาข้อมูลเพิ่มเพื่อเป็นแนวทางต่อไป เช่นเรื่องเด็กและเยาวชน ผู้ด้อยโอกาส

     

    150 150

    29. พบพี่เลี้ยงโครงการเพื่อจัดทำรายงานสรุปปิดโครงการ

    วันที่ 11 พฤษภาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตรวจสอบเอกสารและจัดทำรายงานปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ตรวจสอบเอกสารและจัดทำรายงานปิดโครงการ

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1.เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและอาชีพให้กับประชาชนในชุมชน ให้สามารถพึ่งพาตนเอง มีสุขภาพที่ดี มีการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และลดภาวะหนี้สิน โดยใช้ทรัพยากรและทุนท้องถิ่นเดิมที่มีอยู่ในชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
    ตัวชี้วัด : 1.1 ประชาชนมีอาชีพเสริม และมีกระบวนการบริหารจัดการตนเองให้มีรายได้และเงินออมเพิ่มขึ้น ภาวะหนี้สินลดลง1.2 มีการบริโภคและใช้พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพ 1.3 มีเงินออมสมทบสำหรับหมุนเวียนในชุมชน จากรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
    1. ประชาชนมีอาชีพเสริมด้วยการทำการแปรรูปพืชสมุนไพรเช่น ลูกประคบ ยากันยุง การะบูนดูดสารพิษ ยาแก้ปวดข้อ ขายที่รพสต.สลุยและตลาดนัดเคลื่อน และทำเครื่องแกงขายให้กับกลุ่มเครื่องแกงบ้านเนินทอง ทำให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้นบางส่วนจากการขายแต่ยังไม่เพียงพอต่อการใช้ต้องทำกิจกรรมต่อเนื่องต่อไป และมีการบริหารจัดการกลุ่มด้วยการมีคณะกรรมการรับผิดชอบร่วมกัน และมีกลุ่มออมในโรงเรียนจากการทำบัญชีครัวเรือน
    2. มีการบริโภคและใช้พืชสมุนไพรเพื่อสุขภาพด้วยการใช้ลูกประคบเมื่อปวดเมื่อยพร้อมกับทายาแก้ปวดข้อและปวดเมื่อยแก้คัน อีกส่วนหนึ่งนำพืชสมุนไพรเช่นขมิ้น พริกแกง ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม พริกไทย ใบมะกรูด และกระชายเป็นเครื่องแกงปักใต้รับประทานเพื่อสุขภาพ
    3. มีเงินออมสมทบสำหรับหมุนเวียนในชุมชนจากรายได้ร้อยละ 20 ในครั้งก่อนปิดโครงการจำนวน 2,350 บาท
    2 เพื่อการบริหารและจัดการโครงการ
    ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการเข้าร่วมทำกิจกรรมในโครงการ สสส. หรือ สจรส.

    มีการเข้าร่วมกิจกรรมกับสสสและสจรส.ด้วยการปฐมนิเทศ พบพี่เลี้ยงโครงการเพื่อตรวจสอบรายงานและงบดำเนินการ และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการปี2558 อีกหนึ่งครั้ง

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและอาชีพให้กับประชาชนในชุมชน ให้สามารถพึ่งพาตนเอง มีสุขภาพที่ดี มีการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และลดภาวะหนี้สิน โดยใช้ทรัพยากรและทุนท้องถิ่นเดิมที่มีอยู่ในชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง (2) เพื่อการบริหารและจัดการโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น

    รหัสโครงการ 57-01502 รหัสสัญญา 57-00-0940 ระยะเวลาโครงการ 1 มิถุนายน 2014 - 30 มิถุนายน 2015

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    ประชาชนได้มีความรู้ และ มีความเข้าใจในการนำสมุนไพรมาใช้

    แปลงพืชผักสมุนไพร

    การแปรรูปสมุนไพรและส่งเสริมการเรียนรู้เพิ่มขึ้นในการบรรจุ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    ลูกประคบสมุนไพรและการบูรผ้าใยบัว

    ตัวอย่างผลิตภัณฑ์

    ส่งเสริมการตลาด

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    ประชาชนเข้ามาสมัครเป็นสมาชิกกลุ่มพืชสมุนไพร

    การลงรายชื่อในรายงานการประชุม

    การสร้างกติกากลุ่มที่มีการส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการทุกด้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนทัศนคติในการดูแลตนเองตามนโยบายด้านสุขภาพที่มีปฏิบัติ ๓ อ. ๒ส.ประด้วยการมีการรับประทานอาหารให้ครบตามหลักโภชนาการ การออกกำลังกายและการมีอารมย์ดี ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสุราและสิ่งเสพติด

    รายงานการประชุม

    การนำพืชสมุนไพรมาปรับใช้กับตนเองและครอบครัว

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    ปลูกพืชผักปลอดสารพิษไว้อุปโภคบริโภค

    รายงาน

    จัดทำเป็นอาหารปลอดภัยในครัวเรือน หมู่บ้านหรือจัดทำในกิจกรรมของตำบลหรือระดับชาติ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    ทำการออกกำลังกายทุกวันเพื่อให้สุขภาพดีขึ้น/ลดความเครียด

    รายงาน

    การทำงานประจำวันให้เป็นกิจกรรมการออกกำลังกาย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    ประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการลด ละ เลิกอบายมุข เพื่อให้มีสุขภาพดีขึ้นและเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนรุ่นหลัง

    รายงาน

    ทำกิจกรรมให้ครอบคลุมทั้งหมู่บ้านทั้งในกลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงในเรื่องอบายมุขและสิ่งเสพติด

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

    รู้จักการดูแลตนเองในการใช้ชีวิตแต่ละวันด้วยความไม่ประมาท

    รายงาน

    ผู้ใหญ่บ้านและแกนนำมีการพูดคุยติดตามผลทุกวันสิ้นเดือนของหมู่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    มีการทำกิจกรรมร่วมกันของชุมชนให้ร่างกายและจิตใจดีขึ้น

    รายงาน

    กลุ่มเด็กและเยาวชนสามารถร่วมงานในวันสำคัญๆ ร่วมกับผู้ปกครองและผู้สูงอายุได้อย่างมีความสุข

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    ประชาชนรู้จักนำพืชผักสมุนไพรมาแปรรูปเพื่อใช้อุปโภคบริโภคในครัวเรือน เพื่อทำให้สุขภาพร่างของตนดีขึ้น

    รายงาน

    ขยายเครือข่ายการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพมากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    ปฏิบัติ ทำในสิ่งที่ดี มีศีลธรรมต่อตนเองและผู้อื่น ไม่เห็นแก่ตัวทำตนให้เป็นแบบอย่างของครอบครัวและชุมชน

    รายงาน

    ครัวเรือนต้นแบบสามารถถ่ายทอดให้กลุ่มอื่น ๆได้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    กำจัดขยะโดยการเผาและฝังดิน หรือนำไปทำสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น โคมไฟจากขวดพลาสติก การปลูกป่าทดแทนเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมีในการปลูกพืช

    สวนแปลงสาธิตสมุนไพรและในสวนยางพารา

    ส่งเสริมให้มีการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    เยาวชนในหมู่บ้านมีความสามัคคีปรองดอง มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  ชักชวนให้บุคคลในครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆทีมีขึ้นในหมู่บ้าน เพื่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเหล่านั้นส่งเสริมให้มีการร่วมกันบำเพ็ญประโยชน์ในวันสำคัญทางศาสนา และร่วมกันพัฒนาหมู่บ้านในเทศกาลสำคัญเพื่อเป็นประเพณือันดีงาม

    จำนวนคนที่เข้าร่วมกิจกรรม

    มีการรวมกลุ่มกันพํฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่องทุกกิจกรรม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    มีกลุ่มเสริมรายได้

    รายงาน

    การพัฒนาศักยภาพกลุ่มให้เพิ่มมากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    เข้าร่วมเครือข่ายแพทย์แผนไทยของ รพ.ท่าแซะและโครงการพระเทพรัตน์ และโรงเรียนไกลบ้าน ๒ โรง

    รายงานการประชุมและภาพถ่าย

    มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    มีบุคลากรที่เป็นภูมิปัญญาชน ภูมิปัญญาในท้องถิ่น เช่น หมอนวด หมอบีบ หมอเอ็น หมอกระดูก หมอโบราณ และการทำสิ่งประดิษฐ์

    รายงานการประชุม

    ขยายโอกาสให้ทุกคนที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นได้รับการพัฒนาความรู้และเป็นอาชีพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    กลุ่มทำงานต่อเนื่อง และร่วมกับเครือข่ายตลอดทั้งทั้งกลุ่มประดิษฐ์ และกลุ่มสมุนไพร

    รายงาน

    มีการขยับอย่างต่อเนื่องในชุมชนแม้ไม่มีงบประมาณเสริมถือว่าเป็นโอกาสของหมู่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงานมีการเรียนรู้ในการปฏิบัติกิจกรรมโครงการอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ทำให้เป็นการเพิ่มทักษะความชำนาญได้เป็นอย่างดี

    การบันทึกข้อมูลได้อย่างถูกต้อง

    สามารถสอนบุคคลอื่น ๆให้สามารถจัดการกิจกรรมโครงการได้อย่างดี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    ภูมิใจที่ทำให้ประชาชนในหมู่บ้าน และสมาชิกได้รับความรู้และได้รับประโยชน์โดยตรงเพื่อการใช้ชีวิตที่ดีต่อไป

    การสัมภาษณ์

    สามารถเป็นแบบอย่างกับผู้อื่นได้ ที่สามารถทำได้โดยไม่หวังผลตอบแทน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    สมาชิกและประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น และลดความเห็นแก่ตัวลง

    สอบถาม

    ชุมชนสามารถพัฒนาต่อยอดได้อย่างมีส่วนร่วมของชุมชนทุกขั้นตอน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    รู้จักใช้ชีวิตที่มีค่าให้เกิดประโยชน์ที่สุด

    สอบถามและรายงาน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

    สังเกตุและสอบถาม

    ประชาชนส่วนใหญ่สามารถแลกเปลี่ยนของกินของใช้ที่จำเป็นกันได้โดยไม่ต้องซื้อ และมีการลงแขกช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    โดยใช้ประสบการณ์ที่ผ่านมา และที่ได้เรียนรู้

    สังเกตุและสอบถามจากข้อมูลที่ได้รับ

    ผู้นำมีการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากชุมชนเป็นอย่างดีมติในที่ประชุมทุกครั้งมีการรับรองและนำเสนอ ประกาศให้ทุกคนปฏิบัติ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ร่วมสร้างชุมชนบ้านเนินทองน่าอยู่ด้วยทรัพยากรท้องถิ่น จังหวัด ชุมพร

    รหัสโครงการ 57-01502

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางเกศินี สุวรรณรัตน์ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด