directions_run

บ้านต้นมะขามเทศ น่าอยู่ สุขภาพดี ด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ บ้านต้นมะขามเทศ น่าอยู่ สุขภาพดี ด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน ”

หมู่ที่ 4 บ้านต้นมะขามเทศ ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ

หัวหน้าโครงการ
นายสุเทพ เซ่งล่าย

ชื่อโครงการ บ้านต้นมะขามเทศ น่าอยู่ สุขภาพดี ด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน

ที่อยู่ หมู่ที่ 4 บ้านต้นมะขามเทศ ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 57-01530 เลขที่ข้อตกลง 57-00-1063

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 10 มิถุนายน 2557 ถึง 10 กรกฎาคม 2558


กิตติกรรมประกาศ

"บ้านต้นมะขามเทศ น่าอยู่ สุขภาพดี ด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน หมู่ที่ 4 บ้านต้นมะขามเทศ ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
บ้านต้นมะขามเทศ น่าอยู่ สุขภาพดี ด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน



บทคัดย่อ

โครงการ " บ้านต้นมะขามเทศ น่าอยู่ สุขภาพดี ด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน " ดำเนินการในพื้นที่ หมู่ที่ 4 บ้านต้นมะขามเทศ ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ รหัสโครงการ 57-01530 ระยะเวลาการดำเนินงาน 10 มิถุนายน 2557 - 10 กรกฎาคม 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 198,400.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 200 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภูมิปัญญา ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น ให้เกิดขึ้นกับเด็ก เยาวชนและประชาชนในชุมชน
  2. เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้และสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญา ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น
  3. เพื่อให้เด็กและเยาวชนในโครงการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์กับชุมชน
  4. การสนับสนุนติดตามการดำเนินโครงการ โดยทีม สสส.,สจรส.มอ.

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมปฐมนิเทศโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ปี 2557

    วันที่ 14 มิถุนายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุเทพ เซ่งล่าย และคณะทำงานโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ผศ.ดร.ภก พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ  แนะนำการดำเนินงานโครงการ ภายใต้เงื่อนไขของ สสส.และ สจรส.

    2.นายวินิจ ชุมนูรักษ์ อธิบายการดำเนินงานโครงการผ่านเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข และเอกสารข้อตกลงโครงการ

    3.พี่เลี้ยงพื้นที่ให้คำแนะนำ การรายงานข้อมูลและการใช้เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุขแก่ผู้รับผิดชอบโครงการ ซึ่งผุ้รับผิดชอบโครงการมีความเข้าใจในระดับหนึ่ง ซึ่งอาจจะต้องให้คำปรึกษาและแนะนำอย่างต่อเนื่อง

     

    2 2

    2. ประชุมทีมคณะทำงานในการเตรียมงานเวทีชีแจงโครงการ "บ้านต้นมะขามเทศ น่าอยู่ สุขภาพดี ด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน"

    วันที่ 16 กันยายน 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทราบถึงที่มาของโครงการ

    2.ร่วมวางแผนและลงมือปฏิบัติตามข้อตกลงในที่ประชุม

    3.ลงมือปฏิบัติ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ได้กำหนดวันเวลาในการทำกิจกรรม

    2.ได้ผู้รับผิดชอบในกิจกรรมต่างๆ

    3.ได้จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

     

    10 10

    3. ประชุมจัดทำความเข้าใจโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ แก่แกนนำชุมชน ประชาชนในชุมชนบ้านมะขามเทศและรับสมัครเด็ก เยาวชนร่วมเรียนรู้วัฒนธรรมชุมชนใน 3 ด้าน คือ มโนราห์ ,กลองยาว,อาหารท้องถิ่น

    วันที่ 20 กันยายน 2557 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ประชาสัมพันธ์จัดประชุมแกนนำ  ประชาชนและเยาวชนในชุมชนจำนวน  200  คน

    2.ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการและการรณรงค์ให้พื้นที่การดำเนินการกิจกรรมเป็นพื้นที่ลดเหล้าและบุหรี่

    3.รับสมัครเด้กและเยาวชนในโรงเรียนจำนวน  110  คน  เข้าร่วมเรียนรู้ตามความถนัดและความสมัครใจ  โดยแบ่งเป็น  3  กลุ่มการเรียนรู้  คือ
        -  กลุ่มมโนราห์
        -  กลุ่มการแสดงกลองยาว
        -  กลุ่มอาหารพื้นบ้านเพื่อสุขภาพ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมประชุม  100%

    2.มีการแสดงกลองยาวของกลุ่มไทรใหญ่

    3.เด็กและเยาวชนได้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ตามความถนัดและความสนใจ

     

    200 130

    4. จัดทำป้ายรณรงค์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 20 กันยายน 2557 เวลา 13.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงผู้จัดทำป้ายการประชาสัมพันธ์การรณรงค์ลดสูบบุหรี่ให้ผู้จัดทำทราบถึงขนาดและความต้องการพร้อมทั้งชี้แจงงบประมาณที่สสส.สนับสนุนให้จัดทำแผ่นป้ายเพื่อผู้จัดทำจะได้เข้าใจตรงกันและลดความผิดพลาดโดยผู้ทำป้ายได้นัดวันที่เอาป้ายคือหนึ่งสัปดาห์นับจากวันที่สั่งทำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.คนในชุมชนจำนวน 200 คนทราบถึงการประชาสัมพันธ์การงดเหล้าและสูบบุหรี่

    2.การประสัมพันธ์ในเรื่องนี้สามารถบอกต่อต่อกันได้ตามอีกหลายหมู่บ้าน

     

    2 2

    5. เด็กและเยาวชนฝึกการแสดงกลองยาวครั้งที่ 1

    วันที่ 25 กันยายน 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นายวินัย เคหันติโม ปราช์ญชุมชนด้านกลองยาว บรรยายให้ความประวัติความเป็นมาของกลองยาวในพื้นที่ชุมชน และฝึกทักษะการตีกลองยาวให้กับกลุ่มเด็ก เยาวชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนมีความรู้  ทักษะด้านกลองยาว

    2.เด็กเยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์กับตนเองและชุมชน

    3.เกิดความสามัคคีของคนในชุมชนและชุมชนที่มีความเอื้ออาทรแบ่งปัน

    4.เด็ก  เยาวชนและคนในชุมชนได้รับประสบการณ์และมุมมองใหม่ๆจากภูมิปัญญา

     

    32 30

    6. เด็ก เยาวชน ฝึกรำมโนราห์ครั้งที่1

    วันที่ 25 กันยายน 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กระบวนการเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านโนราห์

    วิธีการ
    -นางเผือน พงค์จักรี ปราชญ์ชุมชน บรรยายให้ความรู้มโนราห์  คุณค่าและเอกลักษณ์นาฎศิลป์ทางภาคใต้

    -ฝึกท่ารำในท่วงท่าต่างๆของโนราห์  12  ท่า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนมีความรู้  ทักษะด้านมโนราห์

    2.เด็กเยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์กับตนเองและชุมชน

    3.เกิดความสามัคคีของคนในชุมชนและชุมชนที่มีความเอื้ออาทรแบ่งปัน

    4.เด็ก  เยาวชนและคนในชุมชนได้รับประสบการณ์และมุมมองใหม่ๆจากภูมิปัญญา

     

    20 20

    7. เด็ก เยาวชนฝึกการแสดงกลองยาวครั้งที่ 2

    วันที่ 26 กันยายน 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กระบวนการเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านกลองยาว

    วิธีการ

    -บรรยายให้ความประวัติความเป็นมาของกลองยาว

    -ฝึกทักษะการตีกลองยาว

    -บรรยายให้ความประวัติความเป็นมาของกลองยาว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนมีความรู้  ทักษะด้านกลองยาว

    2.เด็กเยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์กับตนเองและชุมชน

    3.เกิดความสามัคคีของคนในชุมชนและชุมชนที่มีความเอื้ออาทรแบ่งปัน

    4.เด็ก  เยาวชนและคนในชุมชนได้รับประสบการณ์และมุมมองใหม่ๆจากภูมิปัญญา

     

    30 30

    8. เด็ก เยาวชน ฝึกรำมโนราห์ครั้งที่ 2

    วันที่ 26 กันยายน 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กระบวนการเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านโนราห์
    วิธีการ
    -บรรยายให้ความรู้มโนราห์  คุณค่าและเอกลักษณ์นาฎศิลป์ทางภาคใต้ -ฝึกท่ารำในท่วงท่าต่างๆของโนราห์  12  ท่า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนมีความรู้  ทักษะด้านมโนราห์

    2.เด็กเยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์กับตนเองและชุมชน

    3.เกิดความสามัคคีของคนในชุมชนและชุมชนที่มีความเอื้ออาทรแบ่งปัน

    4.เด็ก  เยาวชนและคนในชุมชนได้รับประสบการณ์และมุมมองใหม่ๆจากภูมิปัญญา

     

    20 20

    9. ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการ

    วันที่ 27 กันยายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เจอพี่เลี้ยงคือพี่อารีย์  สุรรณชาตรี  พูดคุยทำความเข้าใจในการรายงานหน้าเวปไซด์และรายละเอียดข้อมูลในแต่ละหัวข้อว่าทำอย่างไร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการมีความเข้าใจมากยิ่งขึ้นและสามารถนำมาปฏิบัติได้ถูกต้อง

     

    3 3

    10. เด็ก เยาวชนฝึกรำมโนราห์ครั้งที่ 3

    วันที่ 2 ตุลาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ฝึกท่ารำในท่วงท่าต่างๆของโนราห์  12  ท่า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนมีความรู้  ทักษะด้านกลองยาว

    2.เด็กเยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์กับตนเองและชุมชน

    3.เกิดความสามัคคีของคนในชุมชนและชุมชนที่มีความเอื้ออาทรแบ่งปัน

    4.เด็ก  เยาวชนและคนในชุมชนได้รับประสบการณ์และมุมมองใหม่ๆจากภูมิปัญญา

     

    20 20

    11. เด็ก เยาวชน ฝึกการแสดงกลองยาวครั้งที่3

    วันที่ 2 ตุลาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เด็ก เยาวชนมาพร้อมกันที่โรงเรียนวัดไทรใหญ่จำนวน  30  คน

    2.เด็ก เยาวชนพบกับวิทยากรเตรียมตัวฝึกซ้อม

    3.เด็ก  เยาวชน  ฝึกตีกลองยาวและฝึกรำกลองยาวอย่างพร้อมเพรียงกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนมีความรู้  ทักษะด้านกลองยาว

    2.เด็กเยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์กับตนเองและชุมชน

    3.เกิดความสามัคคีของคนในชุมชนและชุมชนที่มีความเอื้ออาทรแบ่งปัน

    4.เด็ก  เยาวชนและคนในชุมชนได้รับประสบการณ์และมุมมองใหม่ๆจากภูมิปัญญา

     

    30 30

    12. เด็ก เยาวชนฝึกการแสดงกลองยาวครั้งที่ 4

    วันที่ 3 ตุลาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วิทยากรโดยนายวินัย  เคหันติโม  ได้มาทำการสอนตีกลองยาวในเวลา  13.00  น.  เด็กและเยาวชนมาลงทะเบียนพร้อมกันและได้พบปะพูดคุย  หลังจากนั้นได้ลงมือตีกลองยาว  และตีฉาบ  อีกทั้งฝึกการรำกลองยาวโดยมีนักเรียนผู้หญิงจำนวน  10  คน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนมีความรู้  ทักษะด้านกลองยาว

    2.เด็กเยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์กับตนเองและชุมชน

    3.เกิดความสามัคคีของคนในชุมชนและชุมชนที่มีความเอื้ออาทรแบ่งปัน

    4.เด็ก  เยาวชนและคนในชุมชนได้รับประสบการณ์และมุมมองใหม่ๆจากภูมิปัญญา

     

    30 30

    13. เด็ก เยาวชน ฝีกมโนราห์ครั้งที่ 4

    วันที่ 3 ตุลาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ฝึกท่ารำในท่วงท่าต่างๆของโนราห์  12  ท่า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนมีความรู้  ทักษะด้านรำมโนราห์

    2.เด็กเยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์กับตนเองและชุมชน

    3.เกิดความสามัคคีของคนในชุมชนและชุมชนที่มีความเอื้ออาทรแบ่งปัน

    4.เด็ก  เยาวชนและคนในชุมชนได้รับประสบการณ์และมุมมองใหม่ๆจากภูมิปัญญา

     

    20 20

    14. ประชุมติดตามและประเมินผลจากการเรียนรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมชุมชน

    วันที่ 8 ตุลาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ผู่เข้าร่วมประชุมพร้อมเพรียงกันณ  กลุ่มออมทรัพย์หมู่  4  บ้านไทรใหญ่

    2.ผู้ใหญ่บ้านมานพ  คงสม  กล่าวเปิดประชุม

    4.ผู้อำนวยการสุเทพ  เซ่งล่าย  ชี้แจงการประชุมการดำเนินงานที่ผ่านและชี้แจงรายเอียดการใช้งบประมาณในการทำกิจกรรม

    5.ผู้เข้าร่วมประชุมรับฟังและเสนอแนะแนวทางในการดำเนินกิจกรรมในขั้นต่อไๆป

    6.ปิดประชุมเวลา  16.30  น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมประชุมได้ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมประชุมและให้ความร่วมมือที่จะดำเนินกิจกรรมบ้านต้นมะขามเทศน่าอยู่  สุขภาพดี  วิถีวัฒนธรรมชุมชน  และจะชักจูงบุตรหลานให้เข้ามาร่วมโครงการอีกได้เล็งเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีเกิดประโยชน์กับคนในชุมชนทำให้ชุมชนมีความสามัคคี  มีความร่วมมือ  อีกทั้งเป็นกิจกรรมทีทำให้เด็กเยาวชนได้ห่างไกลยาเสพติด

     

    20 20

    15. เด็ก เยาวชน ฝีกการแสดงกลองยาวครั้งที่ 5

    วันที่ 9 ตุลาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กระบวนการเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านกลองยาว

    วิธีการ

    -ฝึกทักษะการตีกลองยาว

    -ฝึกทักษะการรำกลองยาว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนมีความรู้  ทักษะด้านกลองยาว

    2.เด็กเยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์กับตนเองและชุมชน

    3.เกิดความสามัคคีของคนในชุมชนและชุมชนที่มีความเอื้ออาทรแบ่งปัน

    4.เด็ก  เยาวชนและคนในชุมชนได้รับประสบการณ์และมุมมองใหม่ๆจากภูมิปัญญา

     

    30 30

    16. เด็ก เยาวชน ฝีกรำมโนราห์ครั้งที่ 5

    วันที่ 9 ตุลาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กระบวนการเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านมโนราห์ วิธีการ -บรรยายให้ความรู้  โนราห์  คุณค่าและเอกลักษณ์นาฎศิลป์ทางภาคใต้

    ฝึกท่ารำในท่วงท่าต่างๆของโนราห์  12  ท่า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนมีความรู้  ทักษะด้านรำมโนราห์

    2.เด็กเยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์กับตนเองและชุมชน

    3.เกิดความสามัคคีของคนในชุมชนและชุมชนที่มีความเอื้ออาทรแบ่งปัน

    4.เด็ก  เยาวชนและคนในชุมชนได้รับประสบการณ์และมุมมองใหม่ๆจากภูมิปัญญา

     

    20 20

    17. ประชุมกรรมการเตรียมแผนงานกิจกรรมยุวฑูตน้อยสำรวจเส้นทางอาหาร

    วันที่ 14 ตุลาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 12คน

    รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม

    -คณะกรรมการจำนวน  12คน

    รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง

    เวลา 13.00 น. คณะกรรมการโครงการ ที่ประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้าน ,อสม,ปราชณ์ชุมชน ,รพสต  ครู ให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลอย่างดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการรับทราบถึงวิธีและขั้นตอนการดำเนินงานและแบ่งงานกันว่าใครทำอะไร  โดยแบ่ง อสม.  ร่วมกับเด็กและเยาวชนออกเก็บข้อมูลในวันที่  27-29  ตุลาคม  2557  โดยนัดลงทะเบียนพร้อมกัยที่ออมทรัพย์บ้านไทรใหญ่หมู่ที่  4

     

    12 12

    18. เด็ก เยาวชนฝึกการแสดงกลองยาวครั้งที่6-7

    วันที่ 15 ตุลาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กระบวนการเรียนรู้ภูมิปัญญาด้านกลองยาว

    วิธีการ

    -ฝึกทักษะการตีกลองยาว

    -ฝึกทักษะการรำกลองยาว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนมีความรู้  ทักษะด้านกลองยาว

    2.เด็กเยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์กับตนเองและชุมชน

    3.เกิดความสามัคคีของคนในชุมชนและชุมชนที่มีความเอื้ออาทรแบ่งปัน

    4.เด็ก  เยาวชนและคนในชุมชนได้รับประสบการณ์และมุมมองใหม่ๆจากภูมิปัญญา

     

    30 30

    19. ร่วมแสดงกลองยาววันทอดกฐินวัดไทรใหญ่

    วันที่ 19 ตุลาคม 2557 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในวันที่  19  ตุลาคม  2557  ณ  วัดไทรใหญ่ได้มีการทอดกฐินขึ้น  และในวันนั้นทางทีมงานปราชญ์ชุมชน  และผู้ปกครอง  ได้นำเด็กและเยาวชนไปร่วมการแสดงกลองยาว  โดยผู้ปกครองช่วยกันแต่งหน้าแต่งชุดการแสดงให้กับเด็ก เยาวชน  กันอย่างสามัคคี  และได้ออกขบวนแห่กฐินไปวัดเวลา  9.00 น ซึ่งในวันนั้นได้รับความสนใจผู้ที่ไปร่วมทำบุญ  และคนที่ร่วมไปให้กำลังใจอย่างล้นหลาม  สร้างความสนุกสนานครื้นเครงเป็นอย่างมาก 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เป็นการแสดงกลองยาวของกลุ่มเด็ก เยาวชน ให้คนในชุมชนได้ร่วมชื่นชมยินดีกับบุตรหลานของตน ที่สามารถถ่ายทอดประเพณัวัฒนธรรมท้องถิ่นในชุมชน อีกทั้งเพื่อเป็นทดสอบความรู้ของกลุ่มเด็ก ที่ได้มีการร่ำเรียนเกี่ยวกับกลองยาวที่ถ่ายทอดโดยปราชญ์ชุมชนผ่านกิจกรรมโครงการ

    -คนในชุมชนตื่นตา ตื่นใจ กับการแสดงของเด็กๆ เยาวชนในท้องถิ่น และให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมและเกิดความสามัคคีในหมู่คณะ

     

    50 50

    20. คืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร

    วันที่ 22 ตุลาคม 2557 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คืนเงินเปิดบัญชีธนาคาร

     

    2 2

    21. จัดกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาเยาวชนในการจัดทำแบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเส้นทางอาหาร ห่วงโซ่การผลิตของท้องถิ่น

    วันที่ 22 ตุลาคม 2557 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในวันที่  22  ตุลาคม  2557  เวลา 8.30  น  ทุกคนมาพร้อมกัน  ณ  ห้องประชุมกลุ่มออมทรัพย์หมู่ที่  4  บ้านไทรใหญ่ โดยมี  เด็ก  เยาวชน  ตัวแทนครู  อสม  รพสต  ผู้ใหญ่บ้านและปราชญ์ชุมชน  ได้เข้าร่วมลงทะเบียน  และหัวหน้าโครงการทำการชี้แจงวัตถุประสงค์  ทุกคนรับทราบและดำเนินกิจกรรมไปในทิศทางเดียวกัน  และได้ทำแบบสอบถามโดย  คุณสมทรงเป็นผู้ออกแบบสอบถาม  ก่อนจะลงพื้นที่ในเวลา  10.00  น. โดยแบ่งกลุ่มอสมกับเด็กและเยาวชนออกเป็น10  ทีมและลงพื้นที่กลุ่มตัวอย่างในหมู่ที่  4  จำนวน  120  ครัวเรือน  ในเวลา  12.30  น. ทุกกล่มได้กลับมาพร้อมกับรับประทานอาหารเที่ยงหลังจากนั้นได้ร่วมกันสรุปและวิเคราะห์ข้อมูลว่าคนชุมชนบ้านต้นมะขามเทศ  มีแหล่งอาหารจากที่ใดบ้าง ผลิตอาหารในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เด็ก  เยาวชน  เกิดการเรียนรู้วิถีชุมชน คือ การทำนา,การทำสวนยางพารา,และการปลูกผัก เช่น ผักสวนครัวทั้งที่ใช้ในด้านอาหารและสมุนไพร เช่น ตะใคร้ มะเขือพวง พริก ขิง ข่า

    2.คนในชุมชนได้รับประสบการณ์และมุมมองใหม่ๆจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งภูมิปัญญาที่พบในพื้นที่ชุมชน คือ ด้านการถนอมอาหารปลาส้ม ,น้ำพริกชนิดต่างๆ

    3.เด็ก  เยาวชน  มีจิตอาสามีความสามัคคีเป็นชุมชนที่มีความเอื้ออาทร

     

    45 24

    22. ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดทำรายงานปิดงวด1 โครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ ภาคใต้ปี 2557 รุ่น1(ภาคใต้ตอนล่าง 7 จังหวัด ได้แก่ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา พัทลุง สตูล และตรัง

    วันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำรายงานปิดงวด 1 โดยมีเอกสารนำส่ง คือ ส.1,ส.2,ง.1และสำเนาสมุดเงินฝากบัญชีธนาคาร พร้อมทั้งตรวจสอบเอกสารบิลค่าใช้จ่ายในกิจกรรมโดยเจ้าหน้าที่ สจรส.มอ.และพี่เลี้ยง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีความเข้าใจในการจัดทำรายงาน แต่เนื่องจากสัญญาณอินเตอร์เน็ตมีการขัดข้อง ทำให้ไม่สาารถดำเนินให้แล้วเสร็จในวันนี้ แต่จะมีการดำเนินการให้เสร็จและนำส่งรายงานไม่เกินวันศุกร์ที่ 7 พ.ย.57 ให้กับ สจรส.มอ.

     

    2 2

    23. เด็ก เยาวชน ฝึกรำมโนราห์ ครั้งที่ 6-7

    วันที่ 12 พฤศจิกายน 2557 เวลา 13.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ท่ารำมโนราห์ ท่าสิบสอง พนมมือ จีบซ้ายตึงเทียมบ่า จีบขวาตึงเทียมบ่า จับซ้ายเพียงเอว จีบขวาเพียงเอว จีบซ้ายไว้หลัง จีบขวาไว้หลัง จีบซ้ายเพียงบ่า จีบขวาเพียงบ่า จีบซ้ายเสมอหน้า จีบขวาเสมอหน้า เขาควาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.นักเรียนมีความรู้  ทักษะด้านรำมโนราห์ 2.เด็กเยาวชนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์กับตนเองและชุมชน 3.เกิดความสามัคคีของคนในชุมชนและชุมชนที่มีความเอื้ออาทรแบ่งปัน 4.เด็ก  เยาวชนและคนในชุมชนได้รับประสบการณ์และมุมมองใหม่ๆจากภูมิปัญญา

     

    22 22

    24. เด็ก เยาวชน ฝึกการแสดงกลองยาว ครั้งที่8-9

    วันที่ 13 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กและเยาวชน  ปราชญ์ชุมชนมาพร้อมกันที่บ้านของนายวินัย  เคหันติโม  ในเวลา  13.00  น.  เด็กและเยาวชนฝึกตีกลอง  เป็นจังหวะโดยปราชญ์ชุมชนได้สอนจังหวะการตีดังนี้  จังหวะเพลงกลองยาว             จังหวะเพลงกลองยาว  หมายถึง  กระสวนจังหวะกลองยาวที่มีการตีวนซ้ำไปมา  โดยใช้เสียงพื้นฐานทั้ง 3 เสียง  ที่ฝึกมาแล้วในตอนต้น  คือ  เสียงป๊ะ  เสียงเพิ่ง  และเสียงบ่อม  มาผูกเป็นเพลง  ต่าง ๆ  และเขียนออกมาในรูปแบบของโน้ตเพลงไทยเดิม  กรมศิลปากรได้มีการกำหนดจังหวะเพลง  กลองยาวและท่ารำไว้อย่างเป็นระเบียบแบบแผนที่แน่นอน  วงกลองยาวโดยทั่วไปจะกำหนดจังหวะเพลงกลองยาวและท่ารำตามท้องถิ่นของตน  ได้ออกแบบท่ารำโดยเทียบเคียงจากกรมศิลปากร  นำมาประยุกต์ให้เข้ากับท้องถิ่นและภูมิปัญญาของวิทยากรท้องถิ่น คือ  คุณวินัย  เคหันติโม  ครูภูมิปัญญาไทย  (การแสดงพื้นบ้านกลองยาว)  ซึ่งกำหนดสำหรับการแสดง 1 ชุด มี 12 เพลงด้วยกัน  ดังนี้ 1.  จังหวะเพลงกลองยาวฟ้อนรำ  หมายถึง  เพลงตีจังหวะกลองยาวในลำดับที่ 1 มีลีลาที่  อ่อนช้อยสวยงาม  สง่าผ่าเผย  ใช้ประกอบการรำท่าที่ 1  (ท่าออก)  และท่าที่ 2 ของการรำกลองยาว  มีเสียงต่าง ๆ  ใน 1 จังหวะ ดังนี้ - - - บ่อม/ - เพิ่ง - -/ - เพิ่ง - -/ - เพิ่ง – บ่อม/  จะต้องตีเสียงดังกล่าวนี้ให้ครบ 8 จังหวะ  แล้วลงจบจังหวะด้วยเสียง - - ป๊ะ ป๊ะ/ - - - บ่อม/- - - บ่อม/ - - - บ่อม/
    2.  จังหวะเพลงกลองยาวชาวทุ่ง  หมายถึง  เพลงตีจังหวะกลองยาวในลำดับที่ 2  มีลีลาแบบสบายสบาย  เหมือนเดินชมความสดใสของท้องทุ่งนา  ใช้ประกอบการรำท่าที่ 3  ของการรำกลองยาวชาวบ้านต้นมะขามเทศ มีเสียงต่าง ๆ  ใน 1 จังหวะ ดังนี้ /- - - บ่อม/ - - - บ่อม/ - - - บ่อม/- เพิ่ง – บ่อม/จะต้อง ตีเสียงดังกล่าวนี้ให้ครบ  8  จังหวะ  แล้วลงจบจังหวะด้วยเสียง / - - ป๊ะ ป๊ะ/ - - - บ่อม/ - - - บ่อม/
    3.  จังหวะเพลงกลองยาวปลุกใจ  หมายถึง  เพลงตีจังหวะกลองยาวในลำดับที่ 3  มีลีลาเร่งเร้าปลุกใจให้สนุกสนานในการเล่นกลองยาว  ใช้ประกอบการรำท่าที่ 4  ของการรำกลองยาวชาวบ้านต้นมะขามเทศ มีเสียงต่าง ๆ  ใน 1 จังหวะ ดังนี้ /- - - - / - เพิ่ง - บ่อม/ - - - เพิ่ง/ - เพิ่ง - บ่อม/  จะต้องตีเสียงดังกล่าวนี้ให้ครบ 8 จังหวะ  แล้วลงจบจังหวะด้วยเสียง /- - ป๊ะ ป๊ะ/- - - บ่อม/- - - บ่อม/- - - บ่อม/
      4.  จังหวะเพลงกลองยาวระทึกใจ  หมายถึง  เพลงตีจังหวะกลองยาวในลำดับที่ 4  มีลีลาที่คึกคัก    เร้าใจด้วยเสียงเพลงตีจังหวะกลองยาว  ใช้ประกอบการรำท่าที่ 5  ของการรำกลองยาวชาวต้นมะขามเทศ  มีเสียงต่าง ๆ  ใน 1 จังหวะ ดังนี้  /- - - เพิ่ง/ - เพิ่ง - -/ - เพิ่ง – เพิ่ง/ - - - ป๊ะ/  จะต้องตีเสียงดังกล่าวนี้ให้ครบ 8 จังหวะ  แล้วลงจบจังหวะด้วยเสียง /- - ป๊ะ ป๊ะ/- - - บ่อม/- - - บ่อม/- - - บ่อม/
    5.  จังหวะเพลงกลองยาวเถิดเทิง  หมายถึง  เพลงตีจังหวะกลองยาวในลำดับที่ 5  มีลีลาที่สนุกสนานตามแบบฉบับกลองยาว  ใช้ประกอบการรำท่าที่ 6  ของการรำกลองยาวชาวบ้านต้นมะขามเทศ มีเสียงต่าง ๆ  ใน 1 จังหวะ ดังนี้  /- - - - / - เพิ่ง - ป๊ะ/ - - - เพิ่ง/ - เพิ่ง - ป๊ะ/  จะต้องตีเสียงดังกล่าวนี้ให้ครบ 8 จังหวะ  แล้วลงจบจังหวะด้วยเสียง /- - ป๊ะ ป๊ะ/- - - บ่อม/- - - บ่อม/- - - บ่อม/  ดังแผนภูมิต่อไปนี 6.  จังหวะเพลงกลองยาวเร้าใจ  หมายถึง  เพลงตีจังหวะกลองยาวในลำดับที่ 6  มีลีลาที่สนุกสนาน  เร้าใจ  ใช้ประกอบการรำท่าที่ 7  ของการรำกลองยาวชาวบ้านต้นมะขามเทศ  มีเสียงต่าง ๆ ใน 1 จังหวะ ดังนี้    /- - เพิ่ง บ่อม /- เพิ่ง – บ่อม/ เพิ่ง บ่อม เพิ่ง บ่อม/ - ป๊ะ ป๊ะ ป๊ะ/  จะต้องตีเสียงดังกล่าวนี้ให้ครบ 8 จังหวะ  แล้วลงจบจังหวะด้วยเสียง /- - ป๊ะ ป๊ะ/- - - บ่อม/- - - บ่อม/- - - บ่อม/  ดังแผนภูมิต่อไปนี้ 7.  จังหวะเพลงกลองยาวไพรสวรรค์  หมายถึง  เพลงตีจังหวะกลองยาวในลำดับที่ 7  มีลีลาที่รู้สึกสบายเหมือนได้อยู่ในดินแดนแห่งสวรรค์  ใช้ประกอบการรำท่าที่ 8  ของการรำกลองยาวชาวบ้านต้นมะขามเทศ  มีเสียงต่าง ๆ  ใน 1 จังหวะ ดังนี้  /- - - ป๊ะ / - เพิ่ง - ป๊ะ/ - เพิ่ง – ป๊ะ/ - เพิ่ง - เพิ่ง/  จะต้องตีเสียงดังกล่าวนี้ให้ครบ 8 จังหวะ  แล้วลงจบจังหวะด้วยเสียง /- - ป๊ะ ป๊ะ/- - - บ่อม/- - - บ่อม/- - - บ่อม/  ดังแผนภูมิต่อไปนี้ 8.  จังหวะเพลงกลองยาวฉลองชัย  หมายถึง  เพลงตีจังหวะกลองยาวในลำดับที่ 8  มีลีลาที่ทำให้รู้สึกเหมือนมีชัยชนะ  ใช้ประกอบการรำท่าที่ 9  ของการรำกลองยาวชาวบ้านต้นมะขามเทศ มีเสียงต่าง ๆ  ใน 1 จังหวะ ดังนี้  /-  -  -  ป๊ะ/- เพิ่ง - ป๊ะ/- เพิ่ง -ป๊ะ/ - เพิ่ง – บ่อม/  จะต้องตีเสียงดังกล่าวนี้ให้ครบ 8 จังหวะ  และลงจบจังหวะด้วยเสียง  /- - ป๊ะ ป๊ะ/- - - บ่อม/- - - บ่อม/- - - บ่อม/ 9.  จังหวะเพลงกลองยาวบ้านนา  หมายถึง  เพลงตีจังหวะกลองยาวในลำดับที่ 9  มีลีลาที่ให้รู้สึกว่าบ้านนาเรานี้ช่างมีความสุข  ใช้ประกอบการรำท่าที่ 10  ของการรำกลองยาวชาวบ้านต้นมะขามเทศ  มีเสียง    ต่าง ๆ  ใน 1 จังหวะ ดังนี้  /- เพิ่ง – ป๊ะ/ - เพิ่ง – เพิ่ง/ - ป๊ะ เพิ่ง ป๊ะ/ - เพิ่ง เพิ่ง เพิ่ง/  จะต้องตีเสียงดังกล่าวนี้ให้ครบ 8 จังหวะและลงจบจังหวะด้วยเสียง /- - ป๊ะ ป๊ะ/- - - บ่อม/- - - บ่อม/ - - - บ่อม/
    10.  จังหวะเพลงกลองยาวกลองศึก  หมายถึง  เพลงตีจังหวะกลองยาวในลำดับที่ 10  มีลีลาที่แสดงออกถึงความคึกคัก  ฮึกเหิม  และกล้าหาญชาญชัยยิ่งนัก  ใช้ประกอบการรำท่าที่ 11  ของการรำกลองยาวชาว บ้านต้นมะขามเทศ มีเสียงต่าง ๆ  ใน 1 จังหวะ ดังนี้ /- - - ป๊ะ / -  เพิ่ง – ป๊ะ/ - - - ป๊ะ / -  เพิ่ง – ป๊ะ/  จะต้องตีเสียงดังกล่าวนี้ให้ครบ 8 จังหวะ  แล้วลงจบจังหวะด้วยเสียง /- - ป๊ะ ป๊ะ/ - - - บ่อม/ - - - บ่อม/  - - - บ่อม/
    11.  จังหวะเพลงกลองยาวรื่นเริง  หมายถึง  เพลงตีจังหวะกลองยาวในลำดับที่ 11  มีลีลาที่แสดงออกถึงความรื่นเริง  และมีความสุข  ใช้ประกอบการรำท่าที่ 12 ของการรำกลองยาวชาวบ้านต้นมะขามเทศ  มีเสียงต่าง ๆ  ใน 1 จังหวะ ดังนี้ /- - - ป๊ะ/ - - - เพิ่ง/ - - - ป๊ะ/ - - - เพิ่ง/  จะต้องตีเสียงดังกล่าวนี้ให้ครบ 8 จังหวะ  แล้วลงจบจังหวะด้วยเสียง /- - ป๊ะ ป๊ะ/ - - - บ่อม/ - - - บ่อม/  - - - บ่อม/  ดังแผนภูมิต่อไปนี้ 12.  จังหวะเพลงกลองยาวชาวไทย  หมายถึง  เพลงตีจังหวะกลองยาวในลำดับที่ 12  มีลีลาที่แสดงออกถึงความภาคภูมิใจในความเป็นไทย  ใช้ประกอบการรำท่าที่ 13  ของการรำ กลองยาวชาวบ้านต้นมะขามเทศ มีเสียงต่าง ๆ ใน 1 จังหวะ ดังนี้  /- - - ป๊ะ/ - เพิ่ง – บ่อม/ - - - ป๊ะ/ - เพิ่ง- บ่อม/  จะต้องตีเสียงดังกล่าวนี้ให้ครบ 8 จังหวะ  แล้วลงจบจังหวะด้วยเสียง /- - ป๊ะ ป๊ะ/ - - - บ่อม/ - - - บ่อม/ - - - บ่อม/
     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เด็กและเยาวชนสามาถตีกลองยาวเป็นจัวหวะต่างๆได้

    2.เด็กและเยาวชนมีความสนุกสนาน

     

    32 32

    25. เด็ก เยาวชนฝึกการแสดงกลองยาว ครั้งที่ 10

    วันที่ 24 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วิทยากรสอนการรำให้กับนางรำกลองยาว ท่ารำต่าง ๆ ในการรำกลองยาว

    ๑. ท่าเซิ้ง

    ๒. ท่าจีบมือยาว

    ๓. ท่าสอดสร้อยมาลา

    ๔. ท่าชักแป้งผัดหน้า

    ๕. ท่าสอดสร้อยมาลา

    ๖. ท่าจีบข้าง

    ๗. ท่าไหว้

    ๘. ท่างูฟ้อนหาง

    ๙. ท่าช้างประสานงาจันทร์ทรงกรดยกขาหน้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.เด็กและเยาวชนสามาถตีกลองยาวเป็นจัวหวะต่างๆได้

    2.เด็กและเยาวชนมีความสนุกสนาน

     

    30 30

    26. เยาวชนร่วมแสดงกลองยาวในวันพ่อแห่งชาติ

    วันที่ 3 ธันวาคม 2557 เวลา 19:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็กและเยาวชนพร้อมกันที่โรงเรียนวัดไทรใหญ่  โดยเริ่มจากเวลา  16.30  น.  มีช่างแต่งหน้ามาเตรียมแต่งหน้าเด็กแต่งตัวนางรำ  และเด็กที่ทำการตีกลองยาว  ที่โรงเรียนวัดไทรใหญ่  ในเวลา  19.00  น.  ได้เดินทางไปรายงานตัวที่เทศบาลควนเนียง  โดยมีรถที่นำไปจำนวน  2  คัน  พอไปถึงรายงานตัวเสร็จ  ก็นั่งรอเพื่อทำการแสดง  ซึ่งการแสดงกลองยาวได้รายการลำดำดับที่  4  การแสดงเป็นไปด้วยความเรียบร้อย  สวยงาม  ได้รับความสนใจจากผู้ชมเป็นจำนวนมาก  พิธีการได้ประกาศการแสดงที่อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การแสดงกลองยาวควรแก่การอนุรักษ์และได้รับความสนใจจากผู้ชมเป็นจำนวนมาก

     

    200 50

    27. เรียนรู้ภูมิปัญญา ในด้านอาหารท้องถิ่น ครั้งที่ 1 "การทำน้ำสมุนไพร"

    วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วิทยากรมาให้ความรู้ชื่อนางสมศรี  ขุนเดื่อ  มาให้ความรู้ในการทำน้ำสมุนไพรในเวลา  13.00  น.  นักเรียนมาพร้อมกันที่โรงอาหารของโรงเรียนวัดไทรใหญ่  ในการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ผู้เข้าร่วมได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  ถึงขั้นตอนการลงมือทำวิทยากรได้อธิบายถึงที่มาของการทำน้ำสมุนไพร  ว่ามีประโยชน์อย่างไร  ทำไมถึงได้ทำน้ำสมุนไพรขึ้น  และได้บอกถึงส่วนผสมและวิธีขั้นตอนการทำ  ซึ่งน้ำสมุนไพรที่นำมาสอนในวันนี้คือ  น้ำกระเจี๊ยบกับน้ำอัญชัณสาเหตุที่ทำน้ำสองชนิดนนี้เพราะเป็นสมุนไพรที่คนในท้องถิ่นนิยมปลูกกันตามบ้านของตนเอง  เรามารู้จักน้ำกระเจี๊ยบกันว่ามีขั้นตอนทำอย่างไรน้ำกระเจี๊ยบ

    น้ำกระเจี๊ยบ

            กระเจี๊ยบแดง เป็นพืชสมุนไพรที่ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 3–6 ศอก ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบมีหลายแบบด้วยกัน ขอบใบเรียบ บางทีก็มีรอยหยักเว้า 3 หยัก สีของดอกเป็นสีชมพู ตรงกลางดอกมีสีเข้มมากกว่าขอบนอกของกลีบ กลีบดอกร่วงโรยไป กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงก็จะเจริญเติบโตขึ้นอีกเกิดเป็นสีม่วงแดงเข้มหุ้ม เมล็ดเอาไว้ภายใน ส่วนผสม

          1.ดอกกระเจี๊ยบสด/แห้ง 20 กรัม

          2.น้ำเชื่อม 30 กรัม

          3.น้ำเปล่า 200 กรัม

          4.เกลือป่นเสริมไอโอดีน 2 กรัม ( 2/5 ช้อนคาว )

    วิธีทำ
          1.เอาดอกกระเจี๊ยบสดหรือแห้งก็ได้ ล้างน้ำทำความสะอาด นำใส่หม้อต้ม จนเดือด แล้วลดไฟลงอ่อนๆเคี่ยวเรื่อยๆจนน้ำเป็นสีแดงจนเข้มข้น       2.เอาดอกกระเจี๊ยบขึ้นจากหม้อต้ม แล้วเอาน้ำเชื่อมและเกลือใส่ลงไป ปล่อยให้น้ำกระเจี๊ยบเดือด 1 นาที ยกลงชิมรสตามชอบ       3.เอาขวดเปล่ามาล้างทำความสะอาด ต้มในน้ำเดือด 20 นาที นำน้ำกระเจี๊ยบแดงมากรอกแล้วปิดจุกให้แน่น แช่ตู้เย็นเก็บไว้ได้นาน …หรืออีกวิธีหนึ่ง…นำดอกกระเจี๊ยบมาตากแห้ง แล้วนำมาบดเป็นผง นำผงกระเจี๊ยบครั้งละ 1 ช้อนชา ชงในน้ำเดือด 1 ถ้วย(250 มิลลิกรัม) ประโยชน์ของน้ำกระเจี๊ยบ
            ** ให้วิตามินเอสูงมาก
          ** ช่วยบำรุงสายตา
          ** มีแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
          ** ช่วยขับปัสสาวะ ลดความดันโลหิต
        ** เป็นยาระบายอ่อนๆ
          ** ช่วยแก้อาการกระหายน้ำ น้ำอัญชัณ วิธีทำ 1) เก็บดอกอัญชัญริมรั้ว 10 ดอกขึ้นไป ต่อน้ำ 2 ลิตร (สังเกตเอานะค่ะถ้าอยากได้น้ำอัญชัญสีเข้มก็ใส่น้ำน้อย ดอกอัญชัญมากหน่อยเท่านั้นเองค่ะ) ล้างให้สะอาด 2) ตัดใบเตยเลือกใบเตยสีเข้ม 3-5 ใบ ล้างให้สะอาด ตัดใบเตยเป็นท่อนๆ ขนาดพอใส่ภาชนะที่เราจะต้ม 3) ตั้งน้ำให้เดือด ใส่ใบเตยลงไป 1 นาที แล้วใส่ดอกอัญชัญลงไป ใช้ทัพพีคนให้ดอกอัญชัญและใบเตยจมน้ำ รอจนดอกอัญชัญเปลี่ยนเป็นสีขาว (น้ำในหม้อเป็นสีน้ำเงิน) ปิดไฟ เปิดฝาภาชนะเพื่อระบายความร้อน 4) ใส่น้ำแข็งสะอาดให้เต็มแก้ว ตักน้ำอัญชัญใบเตย ใส่แก้ว พร้อมดื่ม
    5) รอให้น้ำอัญชัญใบเตย เย็น-อุ่น เทใส่เหยือกแก้ว พร้อม เติมดื่มได้ทั้งวัน ควรดื่มให้หมดภายใน 1 วัน/เก็บในตู้เย็นได้นาน 5 วัน

    เคล็ดลับ: อย่าต้มใบเตยในน้ำนานเกินไป เพราะจะทำให้กลิ่นหอมของใบเตยจางลงและอาจจะเหม็นเขียวได้ด้วยนะค่ะ สังเกตสีใบเตยที่เปลี่ยนไปอย่าให้ใบเตยเป็นสีน้ำตาลนะค่ะ ใบเตยจะช่วยดับกลิ่นเฉพาะตัวของอัญชัญ ทำให้น้ำสมุนไพรแก้วนี้ดื่มง่าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมโครงการรู้สึกสนุกสาน  และได้ลงมือปฏิบัติเอง  โดยแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบและสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ  หลังจากลงมือทำผู้เข้าร่วมได้นำน้ำสมุนไพรสองชนิดกลับไปให้ผู้ปกครองได้ลองชิมฝีมือของตนเอง

     

    22 22

    28. เด็ก เยาวชน ฝึกการทำอาหารท้องถิ่น ครั้งที่ 2 "น้ำพริกปลาทู"

    วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในวันทำกิจกรรมครั้งนี้เป็นครั้งที่  2  วันนี้วิทยากรได้สอนการทำน้ำพริกปลาู  เนื่องจากน้ำพริกมีส่วนผสมของสมุนไพรที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นเช่นผักชนิดต่างๆและชุมชนเราก็อยู่ติดกับทะเลสาบสงขลาซึ่งเป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยกุ้งหอยปูปลา  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความชื่นชอบและสนุกสนานในการทำน้ำพริกปลาทูดดยแบ่งเป็นกลุ่ม  สร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้น  ซึ่งมีวิธีและขั้นตอนการทำดังนี้ ส่วนประกอบ

    ปลาทูนึ่ง 2 ตัว น้ำมันพืช 1 ถ้วย พริกหนุ่ม 5 เม็ด พริกขี้หนู 13 เม็ด หอมแดง 5 หัว กระเทียม 2 หัว มะนาว 2 ช้อนโต๊ะ น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ น้ำต้มสุก 1/2 ถ้วย ผักสดหรือผักลวก วิธีทำ

    1. ตั้งกระทะน้ำมันด้วยไฟกลางจนร้อน  ใส่ปลาทูลงทอดจนสุกและหนังปลาเหลืองกรอบทั้งสองด้าน ตักขึ้น พักให้เย็น แกะเอาแต่เนื้อปลา ใส่ถ้วย พักไว้

    2. ตั้งกระทะด้วยไฟกลางให้ร้อน จากนั้นใส่พริกหนุ่มและพริกขี้หนู กระเทียม หอมแดงลงคั่ว ให้ผิวไหม้เล็กน้อย ตักขึ้นลอกเอาแต่เปลือกที่ไหม้ออก

    3. โขลกพริกหนุ่ม พริกขี้หนู กระเทียม หอมแดง เข้าด้วยกัน ให้ละเอียด จากนั้นใส่เนื้อปลาทูที่แกะ โขลกต่อพอละเอียด และเข้ากันดี ตักใส่ถ้วย

    4. ใส่น้ำต้มสุก น้ำปลา และน้ำมะนาว ลงในถ้วยน้ำพริก คนให้เข้ากัน ชิมรสให้ออกเปรี้ยว เค็ม เผ็ด รับประทานกับผักลวกหรือผักสด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมให้ความสำคัญและสนใจในการทำน้ำพริกและสามารถนำกลับไปทำที่บ้านทานเองได้

     

    22 22

    29. เด็ก เยาวชน เรียนรู้การทำอาหารท้องถิ่น ครั้งที่ 3 "ทำขนมวุ้นแฟนตาซี"

    วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้การทำอาหารในครั้งที่  3  วิทยากรมาสอนการทำขนมวุ้นแฟนซี  ซึ่งประกอบจะใช้ส่วนผสมที่มาจากธรรมชาติคือสีต่าง  เช่น  สีม่วงดอกอัญชัณ  สีเขียวใบเตย  สีชมพูดอกเฟื่องฟ้าวิธีและขั้นตอนการทำมีดังนี้ สูตรขนมวุ้นแฟนซี วัตถุดิบวุ้นแฟนซี ส่วนหวาน 1. ผงวุ้น 8 ก. 2. น้ำเปล่า 750 มล. 3. น้ำตาลทราย 120 ก. 4. สีจากธรรมชาติ  เช่นสีอัญชัณ  สีใบเตย  สีดอกเฟื่องฟ้า ส่วนเค็ม 6. ผงวุ้น 3 ก. 7. กะทิ 250 มล. 8. เกลือ 1/2 ชช. วิธีทำวุ้นแฟนซี 1. นำส่วนผสมส่วนเค็ม ได้แก่ ผงวุ้น กะทิ เกลือ ผสมให้เข้ากัน พักไว้ 5 นาที และนำผงวุ้น น้ำเปล่า คนให้เข้ากันในหม้ออีกใบหนึ่ง พักไว้ 5 นาที 2. ตั้งไฟอ่อนสำหรับส่วนกะทิ และเปิดไฟแรงสำหรับส่วนน้ำเปล่า (หมั่นคนเสมอทั้งสองหม้อ) 3. เมื่อส่วนกะทิเริ่มเดือด เติมเกลือลงไปและคนให้เข้ากัน ปิดแก็สและพักไว้ และเมื่อส่วนน้ำเปล่าเดือด ให้เติมน้ำตาลทราย กลิ่นมะลิ คนให้เข้ากัน พักไว้ 4. เทส่วนกะทิใส่ชาม และแบ่งส่วนของน้ำเปล่าให้ได้ 3 ส่วน และผสมสีถ้วยละสี นำถ้วยส่วนผสมทั้งหมดใส่ลงถาดที่รองด้วยน้ำร้อน 5. ตักกะทิใส่ถ้วยพิมพ์ และสลับสีในแต่ละชิ้นไปเรื่อยๆจนหมด ในการตักแต่ละชิ้นจะต้องพัก 5 นาที ในทุกชั้นเพื่อให้วุ้นแข็งตัว แช่เย็นอย่างน้อย 1 ชม.ก่อนเสิร์ฟ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้ารวมโครงการสามารถทำและไปประกอบอาชีพได้

     

    22 22

    30. เด็ก เยาวชน เรียนรู้การทำอาหารท้องถิ่น การทำน้ำพริกปลากรอบครั้งที่4

    วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วิทยากรมาสอนทำน้ำพริกสดซึ่งเป็นอาหารที่คนในชุมชนนิยมทำรับประทานกันในครัวเรื่อนซึ่งมีวิธีทำดังนี้
    น้ำพริกปลากรอบ ส่วนผสม  ปลาทูสดทอดกรอบ  1-2  ก.ก มะนาว  6-10  ลูก หอมแดง  20  หัว น้ำปลาดี  2  ช้อนโต๊ะ เกลือ  1  ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนู  40  เม็ด ปลาป่น-กุ้งแห้งป่น  อย่างละ  1  ขีด น้ำตาลทราย  3-4  ช้อนโต๊ะ วิธีทำ 1.เอาปลาที่แกะเนื้อออกโขลกเบาๆพอหยาบในครกแล้วตักขึ้น 2.คลุกเคล้าให้เข้ากัน  ชิมรสให้มีรส  เค็ม  เปรี้ยว  หวาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำกลับไปทำกินในครัวเรือนได้

     

    40 40

    31. เด็ก เยาวชน เรียนรู้การทำอาหารท้องถิ่น การทำผัดมะเขือครั้งที่5

    วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    :: ส่วนผสมและเครื่องปรุง ::

    • มะเขือยาว 1 ลูกหนักประมาณ 200 กรัม
    • หมูสับติดมันเล็กน้อย 50 กรัม
    • กระเทียมไทยกลีบเล็ก สับหยาบ 1 ชต.
    • พริกขี้หนูเม็ดใหญ่สีแดง (พริกจินดา)4 เม็ด
    • โหระพา 2-3 กิ่ง
    • เต้าเจี้ยว 1 ชต.
    • ซอยหอยนางรม 1 + 1/2 ชต.
    • ซีอิ๊วขาว 1/2 ชต.
    • น้ำตาลทราย 1 ชช.
    • น้ำมันพืชสำหรับผัด 2 ชต.
    • น้ำมันพืชสำหรับทอด 1/2 ถ้วย
    • น้ำเปล่า 1/4 ถ้วย

    วิธีทำ ตั้งหม้อใส่น้ำกะให้พอท่วมมะเขือยาวด้วยไฟแรงจนเดือด ใส่เกลือลงไป ¼ ช้อนชา ระหว่างที่รอน้ำเดือด ให้ล้างมะเขือยาวให้สะอาดแล้วหั่นเฉลียงเป็นชิ้นพอดีคำ ใส่ถ้วยพักไว้ พอน้ำเดือดใส่มะเขือยางลงไปลวกพอเริ่มสุกแต่ไม่ถึงกับสุกมาก ให้ตักขึ้นใส่น้ำเย็นทิ้งไว้ให้หายร้อน จึงนำขึ้นใส่ตะแกรงพักให้สะเด็ดน้ำ ตั้งกระทะน้ำมันด้วยไฟกลางจนร้อน ใส่กระเทียมลงไปเจียวพอเหลือง ใส่หมูสับลงไปผัดจนหมูสับสุกดีใส่พริกลงไปใส่ซอสหอยนางลม ซีอิ้วขาว เต้าเจี้ยวดำและน้ำตาลลงไปคนให้เข้ากัน เร่งไฟแรงใส่น้ำซุปลงไปครึ่งหนึ่ง พอเดือด ใส่น้ำซุปครึ่งที่เหลือลงไป พอเดือดอีกครั้งลดไฟลงเหลือปานกลาง พอซอสเริ่มข้น ใส่หอมหัวใหญ่ซอยและมะเขือยาวที่ลวกลงไปผัดพอเข้ากันดีใส่โหระเด็ดใบลงไปผัดพอโหระพาอ่อน ชิมรส ปรุงตามชอบ ปิดไฟ ตักใส่จานแต่งหน้าด้วยโหระพาเด็ดยอด เสิร์ฟกับข้าวสวยร้อนๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทุกคนให้ความร่วมมือและสามารถปฏิบัติได้

     

    40 40

    32. "พี่สอนน้อง " โดยจัดเป็นกลุ่มเรียนรู้ในโรงเรียนวัดไทรใหญ่ เกี่ยวกับภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นด้านมโนราห์

    วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มโนราห์ หรือ โนรา หรือเขียนว่า มโนห์รา ก็มี เป็นชื่อศิลปะการแสดงพื้นเมืองอย่างหนึ่งของภาคใต้ มีแม่บทท่ารำอย่างเดียวกับละครชาตรี บทร้องเป็นกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ สรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว มีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำและเครื่องแต่งกายเครื่องดนตรีประกอบด้วย กลอง ทับคู่ ฉิ่งโหม่ง ปี่ชวา และกรับ ปัจจุบันพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วย เดิมนิยมใช้ผู้ชายล้วนแสดง แต่ปัจจุบันมีผู้หญิงเข้าไปแสดงด้วย  จึงได้จัดโครงการพี่สอนน้องขึ้นซึ่งในวันนี้พี่ได้มาสอนท่ารำมโนราห์ให้กับน้องๆในโรงเรียน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    น้องในโรงเรียนมีความสนุกสนานและชื่นชอบศิลปวัฒนธรรมไทย

     

    75 75

    33. เด็ก เยาวชน ฝึกรำมโนราห์ ครั้งที่ 8-10

    วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโนราห์ได้รับความสนใจจากคนในชุมชนและได้ออกงานต่างๆมากมาย  ซึ่งทุกคนมีความชำนาญในท่ารำมโนราห์ท่าต่างๆจนเกิดความชำนาญ  และสามารถเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมให้กับผู้ชมได้รับชมอย่างมีความสุขอีกทั้งช่วยสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทุกคนตระหนักและเห็นความสำคัญร่วมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น

     

    20 20

    34. เด็กและเยาวชนเรียนรู้การทำอาหารท้องถิ่นครั้งที่6 "ยำสมุนไพร"

    วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วิทยากรได้สอนการทำยำสมุนไพร  สมุนไพรไทยขึ้นชื่อในเรื่องของสรรพคุณทางยาเพื่อสุขภาพ โดยเฉพาะความร้อนแรงนั้นมีส่วนในระบบการคลายความอืดแน่นเฟ้อได้อย่างดี บำรุงธาตุต่างๆ อีกทั้งแต่ละชนิดยังอุดมด้วยเส้นใยอาหารที่ให้ผลดีต่อระบบทางเดินอาหาร ลองนำสมุนไพรต่างๆ มาปรุงรวมมิตรกันในรสชาติที่ชอบ วันนี้นำเสนอยำสมุนไพร ส่วนผสม
    หอมแดง                  80 กรัม
    ขิง                          80 กรัม
    ตะไคร้                    50 กรัม
    ถั่วทอด                    50 กรัม
    กระชายซอยทอด      50 กรัม
    ใบมะกรูดทอด          10 กรัม
    กุ้งแห้งทอด              30 กรัม
    หมูสับรวนให้สุก        30 กรัม
    ต้นหอมซอย            10 กรัม
    พริกขี้หนูซอย          10 กรัม
    มะนาว                      2 ช้อนโต๊ะ
    น้ำปลา                    2 ช้อนโต๊ะ


    วิธีทำ - หั่นหอมแดง ขิง ตะไคร้ เป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋าเล็กๆ - นำมาคลุกเล้าเข้ากับเครื่องปรุง คือ มะนาว น้ำปลา พริก ต้นหอมซอย - ใส่ถั่ว กุ้งแห้ง และสมุนไพรทอดที่เหลืออื่นๆ ลงคลุกเคล้ารวมกันอีกครั้ง แล้วจัดเสิร์ฟ เคล็ดลับ

    เครื่องปรุงที่ต้องทอด ให้ทอดในน้ำมันร้อนจัด แล้วรีบตักขึ้นพักไว้ให้เย็น การคลุกเคล้าให้คลุกเคล้าแต่เบามือเพื่อไม่ให้สมุนไพรที่ทอดไว้ช้ำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำกลับไปทำกินที่บ้านได้

     

    40 40

    35. เด็ก เยาวชน เรียนรู้การทำอาหารท้องถิ่น ครั้งที่ 7 การทำหมี่กรอบ"

    วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้วิทยากรได้มาสอนทำหมี่กรอบมีวิธีทำดังนี้ เครื่องปรุง 1. เส้นหมี่แห้ง 1 ห่อ (ควรเลี่ยงยี่ห้อไวไว เพราะทอดแล้วจะนิ่ม) 100 กรัม 2. เต้าหู้เหลืองหั่นฝอย ตากแดด 1 แดด (ครึ่งวัน) 3. น้ำมันพืชครึ่งขวด 4. หอมแดง 2 หัว 5. กระเทียม 5 กลีบ 6. ไข่เป็ด 2 ใบ (ไม่ใช้ไข่ไก่เพราะทอดแล้วจะนิ่ม) 7. น้ำตาลปี๊บ 2 ช.ต. 8. น้ำปลา 1 ช.ต. 9. ส้มมะขาม 2 ฝักคั้นเอาแต่น้ำ 10. น้ำตาลทรายครึ่งถ้วย 11. เต้าเจี้ยวขวด 2 ช.ต. 12. พริกชี้ฟ้าสีแดงหั่นฝอย วิธีทำ 1. เจียวหอม กระเทียม ทุบแล้วสับ ๆให้น้ำมันหอม เอาขึ้น 2. ตีไข่เป็ดโรยในตะแกรง วนลงไปให้ฟูเหลืองกรอบเป็นฝอยกลับเอาขึ้น เก็บไว้ให้กรอบ 3. เอาน้ำมันทอดเต้าหู้เหลืองที่ตากเอาไว้ 4. ทอดหมี่ในน้ำมันทีละน้อยในน้ำมันร้อนปานกลางพอฟูแล้วเอาตะแกรงช้อนขึ้นมาให้สะเด็ดน้ำมัน ปนกับหอมกระเทียมที่ทอดไว้ 5. เอาน้ำมันที่ทอดไว้เหลือครึ่งหนึ่งเคี่ยวน้ำตาลปี๊บ 2 ช.ต.ในน้ำมันนั้น ใส่น้ำปลา น้ำตาลทราย ส้มมะขาม อย่าให้เปรี้ยวมาก(ใส่มะนาวหน่อยหนึ่งก็ได้)ใส่เต้าเจี้ยวขวด ถ้าหยดลงไปในน้ำจะปั้นเป็นก้อนได้ ถ้าใส่เปลือกส้มซ่าจะทำให้หอม 6. เสร็จแล้วเอาเครื่องใส่รวม คลุกให้เข้ากัน 7. เอาไข่ฝอยใส่โรยหน้า เอาพริกชี้ฟ้าหั่นฝอยโรย ใส่ถุงอยู่ได้ 2-3 วัน ถ้าใส่ตู้เย็นอยู่ได้เป็นอาทิตย์ 8. (ปรุงรสออกเค็มๆ หวานๆ เปรี้ยวน้อย ๆ )

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผูเข้าร่วมโครงการให้ความสนใจเป็นอย่างดี

     

    40 20

    36. เด็ก เยาวชน เรียนรู้ การทำอาหารท้องถิ่น ครั้งที่ 8 การทำขนมเทียน"

    วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้ได้ทำขนมเทียนซึ่งเป็นขนมพื้นบ้านทางภาคใต้ที่นิยมทำกันในวันทำบุญเดือนสิบ ขั้นตอนและวิธีทำดังนี้ ส่วนประกอบ

    1.แป้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว 2. น้ำตาล 3. ใบตอง 4. มะพร้าว ถั่วเหลือง 5. น้ำมัน 6. น้ำ
    วิธีทำ

    1. ตัดใบตองตากไว้กลางแดด ประมาณ 2 -4 ชั่วโมง
    2. เมื่อใบตองอ่อนตัวแล้ว ตัดเป็นรูป 5 เหลี่ยม ความยาวตามต้องการ
    3. ทำไส้หวานหรือไส้เค็ม (หรือรสที่ชอบ) แล้วใส่สาหร่ายเกลียวทองลงไปประมาณ 4-5 แคปซูล หรือตามใจชอบเช่นกัน 4 นำแป้งข้าวเจ้าและแป้งข้าวเหนียวมาผสมให้เข้ากัน ในอัตราส่วน 1: 1/2 การที่ใส่ทั้งแป้งข้าวเจ้าและแป้งข้าวเหนียวก็เพื่อไม่ให้แป้งนั้นแข็งตัว จากนั้นนวดให้เข้ากันด้วยน้ำธรรมดา
    4. ปั้นแป้ง ยัดไส้ที่ชอบ แล้วห่อด้วยใบตอง
    5. นำไปนึ่งให้สุกโดยใช้ไฟปานกลาง นึ่งไว้ประมาณ 2-3 ชั่วโมง แล้วนำออกจากเตา เป็นอันเสร็จวิธีการทำ
      เสร็จแล้ว เมนูง่ายๆ รสชาติอร่อย เหมาะเป็นของหวาน หรืออาหารว่าง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปฏิบัติได้จริง

     

    40 20

    37. "พี่สอนน้อง " โดยจัดเป็นกลุ่มเรียนรู้ในโรงเรียนวัดไทรใหญ่ เกี่ยวกับภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นด้านอาหารท้องถิ่น

    วันที่ 1 มีนาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นักเรียนโรงเรียนวัดไทรใหญ่ ฝึกอาหารชนิดต่างๆ  โดยสนใจที่จะรู้จะกับเครื่องปรุงบางชนิด และกรรมวิธีการทำ เรียนรู้วัสดุอุปกรณ์ในการประกอบอาหารเช่น  กระทะ  ตะหลิว  ลังถึง  โดยมีพี่เลี้ยงคอยฝึกสอนให้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในเวลา 13.00 น. มีนักเรียนโรงเรียนวัดไทรใหญ่ จำนวน 75 คน  เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งในครั้งนี้มีจะให้เด็กนักเรียนที่สนใจในปรุงอาหารชนิดนั้น โดยนักเรียนส่วนใหญ่จะสนใจเครื่องปรุง  วัสดุอุปกรณ์ เป็นจำนวนมาก

     

    75 75

    38. เด็ก เยาวชน เรียนรู้การทำอาหารท้องถิ่น การทำน้ำพริกกะปิกับข้าวหมูแดงครั้งที่9-10

    วันที่ 2 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เด็ก เยาวชน เรียนรู้การทำอาหาร โดยวิทยากรให้ความรู้การประกอบอาหาร 2 เรื่อง คือ การทำน้ำพริกกะปิ และหมูแดง

    1.เรียนรู้การทำน้ำพริกกะปิ
    เป็นน้ำพริกที่ชาวบ้านนิยมมากที่สุด รสเข้มข้น ไม่มีสูตรเฉพาะตัว ตามแต่จะปรุงรสกันไป สิ่งที่ต้องเตรียม 1. พริกขี้หนูสวน 70 กรัม 2. กะปิห่อใส่ใบตอง 300 กรัม 3. กุ้งแห้งป่น 200 กรัม 4. น้ำตาลปี๊บ 5 ช้อนโต๊ะ 5. น้ำปลา 4 ช้อนโต๊ะ 6. น้ำมะนาว 8 ช้อนโต๊ะ 7. กระเทียมสดแกะเปลือก 100 กรัม 8. มะเขือเปราะ เอาเมล็ดออก 50 กรัม 9. มะอึก ซอยละเอียด 50 กรัม วิธีทำ 1. โขลกกะปิกับพริกขี้หนู กระเทียม พอละเอียดแล้ว ใส่กุ้งแห้งป่น โขลกให้เข้ากัน 2. ใส่มะเขือเปราะ มะอึก โขลกเบา ๆ ให้เข้ากัน 3. ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลปี๊บ น้ำมะนาว อาจะใส่มะขามอ่อน หรือมะม่วงด้วยก็ได้ 4. เสร็จแล้ว สามารถนำมารับประทานร่วมกับปลาทอด ปลาทู ผัก ได้

    2.เรียนรู้การทำหมูแดง

    หมูสันใน 1 เส้น ( 500 กรัม)

    ผักชี 2 ต้น

    กระเทียมใหญ่ 7 กลีบ

    ผงพะโล้ 1 ช้อนโต๊ะ

    น้ำตาลทราย 1 ถ้วย

    น้ำปลา 1/2 ถ้วย

    พริกไทยป่น 1 ช้อนชา

    สีผสมอาหารสีแดง 1 ช้อนชา

    วิธีทำหมูแดง

    1. ทุบรากผักชี ทุบกระเทียมทั้งเปลือก

    2. นำหมูสันในมาจิ้ม เพื่อให้ส่วนผสมซึมเข้าไปในเนื้อหมู สาเหตุที่ใช้เนื้อหมูสันใน เวลาย่างจะนุ่ม

    3. นำน้ำตาลทราย น้ำปลา พริกไทยป่น ผงพะโล้ ใส่ลงไปในชามผสม ตามด้วยสีผสมอาหารสีแดง

    4. คลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน ใส่ผักชีและกระเทืยม ใส่หมูสันใน คลุกเคล้าให้เข้ากันจากนั้นก็นำฟิล์มถนอมอาหารแรปไว้และนำไปเข้าตู้เย็น ค้างไว้ 1 คืน หากไม่มีเวลาให้แช่ไว้แค่ 2 ชั่วโมงก็ใช้ได้แล้ว 200 องศา เข้าเตาอบ 40 นาที หรือ ใช้เตาถ่านย่างก็ได้

    วิธีทำ ข้าวหมูแดง ส่วนผสมน้ำราดหมูแดง

     น้ำต้มกระดูกหมู

     ซีอิ๊วขาว 4 ช้อนโต๊ะ

     น้ำตาลทรายแดง 4 ช้อนโต๊ะ

     น้ำที่เหลือจากหมักหมูแดง

     งาขาวคั่ว 1/2 ถ้วย

     แป้งมันละลายน้ำ 1/4 ถ้วย

    วิธีทำน้ำราดหมูแดง

    1. นำงาขาวและถั่วลิสงปั่นในโถปั่นให้ละเอียด

    2. คั้งน้ำซุปให้เดือด เติมน้ำหมักหมูแดงลงไปต้มให้เดือด 10 นาที ตักเครื่องหมักหมูแดงทิ้งไป เติมซีอิ๊วดำ และถั่วกับงาที่ปั่นไว้ลงไป

    3. นำแป้งที่ละลายกับน้ำแล้วใส่ลงไปในหม้อ ค่อยๆ ใส่ที่นิดพร้อมกับคนไปด้วยอย่างสม่ำเสมอเพื่อไม่ให้แป้งเป็นก้อน

    4. ส่วนของน้ำราดก็เป้นอันเสร็จแล้วค่ะ จากนนี้ก็จัดจานได้เลย จัดเรียง หมูแดงบนข้าวสวยร้อนๆ พร้อมกับไข่ต้มและกุนเชียง แตงกวาหั่นสไลด์วางข้างๆ และเสริฟได้เลย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

     

     

    40 40

    39. ประชุมติดตามและประเมินผลจากการเรียนรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมชุมชน

    วันที่ 11 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในเวลา9.00 น.คณะกรรมการโครงการจัดประชุมเพื่อร่วมกันปรึกษาหารือ และซักซ้อมทำความเข้าใจ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทุกคนเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน

     

    15 15

    40. "พี่สอนน้อง " โดยจัดเป็นกลุ่มเรียนรู้ในโรงเรียนวัดไทรใหญ่ เกี่ยวกับภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นด้านกลองยาว

    วันที่ 23 มีนาคม 2558 เวลา 13.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นักเรียนโรงเรียนวัดไทรใหญ่ ฝึกหัดเล่นเครื่องดนตรีกลอง  ฉาบ  การรำ โดยมีพี่เลี้ยงคอยฝึกสอนให้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในเวลา 13.00 น. มีนักเรียนโรงเรียนวัดไทรใหญ่ จำนวน 75 คน  เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ซึ่งในครั้งนี้มีจะให้เด็กนักเรียนที่สนใจในเครื่องดนตรีชนิดไหนก็ฝึกซ้อมชนิดนั้น โดยนักเรียนส่วนใหญ่จะสนใจกลอง  การรำ เป็นจำนวนมาก

     

    75 75

    41. อบรมเชิงปฎิบัติการ การทำหนังสั้นเกี่ยวกับวัฒนธรรมชุมชน

    วันที่ 29 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมศิษย์เก่าโรงเรียนวัดไทรใหญ่เป็นวิทยากรมาบรรยายถึงการทำหนังสั้นให้กับนักเรียน และครู ในการทำหนังสั้น ซึ่งสร้างความตื่นเต้นให้กับเด็กและเยาวชนมากเพราะเป็นกิจกรรมที่ไม่มีอยู่ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน แต่จากการจัดกิจกรรมดังกล่าวทำให้เด็ก เยาวชนได้เรียนรู้การทำหนังสั้น โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในชุมชน ทำให้เด็ก เยาวชนรู้จักชุมชนตนเองมากขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เด็ก เยาวชน มีความรู้ในการทำหนังสั้น

    -เด็ก เยาวชน ได้เรียนรู้เรื่องราวท้องถิ่นตนเองมากขึ้น

     

    35 35

    42. ร่วมเสวนาในหัวข้อ "ภูมิปัญญาอาหารชุมชน เส้นทางความมั่นคงทางอาหาร ระะบบการผลิตที่เกื้อหนุน รักษาความสมดุลของระบบนิเวศวิทยา"

    วันที่ 1 พฤษภาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา13.00น. ประชาชนในชุมชนเข้าร่วมประชุม ซึ่งผอ.สุเทพ โรงเรียนวัดไทรใหญ่ กล่าวเปิดประชุม และชี้แจงการดำเนินงานของโครงการ พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประเด็นการทำเกษตรของชุมชน สำหรับชุมชนต้นมะขามเทศเป็นชุมชนที่มีการทำสวนยาง ทำนา การทำเกษตรของชุมชนในบางครัวเรือนยังมีการใช้สารเคมีทำให้เกิดผลกระทบทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค ดังนั้นการผลักดันให้ทางท้องถิ่นมามาหนุนเสริมการทำเกษตรที่มีความปลอดภัยในชุมชนจะทำให้คนในชุมชนมีสุขภาพที่ดี ซึ่งในพื้นที่ตำบลควนรู้ก้มีต้นแบบครัวเรือนที่มีการนำปรัชญา ศก.พอเพียงมาใช้ในชีวิต

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันระหว่างผู้เข้าสัมมนาด้วยกันและผู้เข้าสัมมนากับวิทยากรเพื่อค้นหาวิธีการแก้ปัญหาหรือแนวทางปฏิบัติร่วมกันให้ได้แนวทางประกอบการตัดสินใจหรือกำหนดนโยบายทั้งนี้ยังกระตุ้นให้ผู้ร่วมเข้าสัมมนานำหลักวิธีการที่ได้เรียนรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์

     

    200 130

    43. เก็บข้อมูลในการผลิตหนังสั้น เรื่องราวของชุมชนบ้านต้นมะขามเทศ

    วันที่ 16 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปฎิบัติการทำหนังสั้นตามที่อบรม โดยมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลบุคคล แกนนำชุมชน บุคคลที่มีความรู้ สร้างคุณประโยชน์ให้กับชุมชน เช่น ปราชญ์ชุมชนด้าน ศก.พอเพียง ปราชญ์ชุมชนด้านการแสดง, ผู้นำชุมชนฝ่ายปกครอง เช่น ผู้ใหญ่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -มีข้อมูลชุมชน ทั้งตัวบุคคล และภูมิปัญญา ในการนำข้อมูลที่ได้มาผลิตเป็นหนังสั้น

    -เด็ก เยาวชน มีความรู้เกี่ยวกับชุมชนตนเองมากขึ้น

    -เกิดความสัมพันธ์ระหว่างคนสองวัยในชุมชน

     

    200 130

    44. เวทียื่นข้อตกลงการทำเกษตร ผลิตอาหารปลอดภัย ให้กับหน่วยงานในท้องถิ่น (อบต.ควนรู)

    วันที่ 19 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมร่วมกับ อบต.ควนรูเพื่อเสนอข้อตกลงในการทำเกษตรปลอดภัย,เกษตรผสมผสาร เพื่อลดการทำเกษตรเชิงเดียว ปลูกยางพาราอย่างเดียว ในพื้นที่ชุมชน เพื่อให้ท้องถิ่นได้มีแผนงานสนับสนุนงบประมาณในการให้ความรู้ชุมชนในการปรับวิถีการผลิต

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สำหรับพื้นที่ตำบลควนรู ทาง อบต.มีแผนของการผลิตอาหารปลอดภัย และผลักดันให้คนในชุมชนมีการทำเกษตรผสมผสาร เนื่องจากพื้นที่ควนรูก็มีต้นแบบอยู่ ซึ่งทางอบต.ก็เห็นความสำคัญที่ให้ชุมชนนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต

     

    45 30

    45. จัดตั้งศิลปินน้อยพื้นบ้านด้านมโนราห์และกลองยาว

    วันที่ 20 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจนักเรียนและแกนนำชุมชนในการจัดตั้งกลุ่มศิลปินน้อยพื้นบ้านโรงเรียนวัดไทรใหญ่ โดยมีนักเรียนที่ผ่านการเรียนรู้ฝึกปฎิบัติการแสดงด้านกลองยาว และมโนราห์ เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนและสามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับรุ่นน้องๆในโรงเรียนที่สนใจ โดยมีปราชญ์ชุมชนที่จะเคยหนุนเสริมให้ความรู้กับกลุ่มเด็ก เยาวชน ในด้านมโนราห์ 2 คน คือ นายนพนนท์เตโชวัตินางจิญณัญบัวสม วิทยากรด้านกลองยาว จำนวน2คน คือนายวินัยเคหันติโมนายประเวช แก้วอัมพรในส่วนของกลุ่มมโนราห์จะมีครูที่คอยควบคุมและให้ความรู้เพิ่มเติมจำนวน 1คนคือนางนิรมลแจ่มจันทาด้านกลองยาว จำนวน1คนคือครูสุชีลาแสนพิพัฒน์ซึ่งในแต่ละกลุ่มเด็ก จะมีตัวแทนเยาวชนด้านมโนราห์4คนตัวแทนเยาวชนด้านกลองยาว 4 คนตัวแทนเหล่านี้จะเป็นแกนนำในการถ่ายทอดศิลปะความรู้พื้นบ้านให้กับสมาชิกในกลุ่มต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีศิลปินน้อยที่เป็นกลุ่มนักเรียน และเด็ก เยาวชนในชุมชน คือ ด้านมโนราห์ จำนวน20 คน และด้านกลองยาว จำนวน20 คน ซึ่งกลุ่มเด็ก เยาวชน มีความชำนาญในการแสดงและสามารถไปแสดงในงานต่างๆของชุมชน และการรับงานแสดงนอกชุมชน

     

    15 15

    46. ประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อปิดโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ภาคใต้ ปี 2557 รุ่น1(ภาคใต้ตอนล่าง 7 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา พัทลุง สตูลและตรัง

    วันที่ 29 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00-15.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำรายงานกิจกรรม

    1.รายงานการเงิน ง.1,ง.2

    2.รายงานส.4, ส.3

    3.ตรวจเอกสารการเงิน

    4.ดูความเรียบร้อยของหน้าเว็บไซค์ คนใต้สร้างสุข

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.มีบางส่วนที่ต้องกลับไปแก้ไข เพิ่มเติม เช่น เอกสารการเงินไม่ลงลายมือชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม

    2.เพิ่มรูปภาพในแต่ละกิจกรรม

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภูมิปัญญา ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น ให้เกิดขึ้นกับเด็ก เยาวชนและประชาชนในชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. ครอบครัวของเด็ก 70 ครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมกับเด็กเพิ่มขึ้น 2. ร้อยละ 50 มีเยาวชนศิลปินพื้นบ้านเพิ่มขึ้นในชุมชน 3. ร้อยละ 80 คนในชุมชนตระหนักถึงคุณค่าภูมิปัญญาและวัฒนธรรมชุมชน โดยนำเอาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต

    -ร้อยละ 60 ผู้ปกครอง แกนนำชุมชน ปราชญ์ชุมชน เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของลูก หลานตนเอง ผู้ปกครองเห็นความสามารถในการแสดงบุตรหลานทำให้เกิดความภาคภูมิใจ

    -มีกลุ่มศิลปินพื้นบ้านที่เป็นกลุ่มเด็ก เยาวชน และนักเรียนในโรงเรียนวัดไทรใหญ่ ในด้านมโนราห์ 20 คน กลองยาว 20 คน

    2 เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้และสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญา ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น
    ตัวชี้วัด : 1. เกิดคลังภูมิปัญญาชุมชน ใน 3 ด้าน ด้านมโนราห์ ,ด้านกลองยาว และอาหารท้องถิ่นคนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยผ่านการเรียนรู้และรวบรวมโดยเยาวชน จำนวน 1 เล่ม 2. เด็กและเยาวชน 70 คนเข้าร่วมเรียนรู้ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมชุมชนตามความสนใจและความถนัด

    -เกิดการจัดการเรียน การสอน ด้านมโนราห์ กลองยาว และอาหารท้องถิ่น ในกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนวัดไทรใหญ่ จำนวน 1 ภาคเรียน

    -ร้อยละ 50 เด็ก เยาวชนมีความรู้ด้านมโนราห์ และกลองยาว และสามารถปฎิบัติได้ แสดงได้โดยมีการแสดงร่วมกับกลุ่มผู้ใหญ่มีกลุ่มศิลปินตัวน้อยด้านมโนราห์ 20 คน กลองยาว 20 คน

    3 เพื่อให้เด็กและเยาวชนในโครงการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์กับชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. เกิดกิจกรรมเสริมในโรงเรียนของชุมชน (โครงการพี่สอนน้อง)

    เกิดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในหลักสูตรการเรียน การสอนของโรงเรียนวัดไทรใหญ่ โดยให้รุ่นพี่ที่มีความรู้ ความสามารถในการแสดงกลองยาวและมโนราห์ มาถ่ายทอดให้กับนักเรียน ระดับชั้น ป.4-ป.6

    4 การสนับสนุนติดตามการดำเนินโครงการ โดยทีม สสส.,สจรส.มอ.
    ตัวชี้วัด : 1. การเข้าร่วมประชุมติดตามการดำเนินโครงการ ร้อยละ 2. การจัดทำรายงานการโครงการ คือ รายงานการเงิน,รายงาน ส.1 ส.2

    มีการประชุมร่วมกับ สจรส.มอ. ทุกครั้งและมีการจัดทำรายงานปิดโครงการนำส่ง สสส.ได้

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภูมิปัญญา ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น ให้เกิดขึ้นกับเด็ก เยาวชนและประชาชนในชุมชน (2) เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้และสร้างการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ภูมิปัญญา ประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น (3) เพื่อให้เด็กและเยาวชนในโครงการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์กับชุมชน (4) การสนับสนุนติดตามการดำเนินโครงการ โดยทีม สสส.,สจรส.มอ.

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ บ้านต้นมะขามเทศ น่าอยู่ สุขภาพดี ด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน

    รหัสโครงการ 57-01530 รหัสสัญญา 57-00-1063 ระยะเวลาโครงการ 10 มิถุนายน 2557 - 10 กรกฎาคม 2558

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    มีการใช้ทุนความรู้เดิมที่มีอยู่ในชุมชนโดยเฉพาะด้านมโนราห์ และกลองยาว สร้างการเรียนรู้ให้กับเด็ก เยาวชนในพื้นที่

    -รายงาน ส.3
    -เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    มีหลักสูตรท้องถิ่นด้านมโนราห์และกลองยาว

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    กระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนและโรงเรียน โดยการใช้ทุนคน ปราชญ์ชุมชน

    -รายงาน ส.3
    -เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดกลุ่มศิลปินน้อยพื้นบ้านในด้านมโนราห์ และกลองยาว

    -รายงาน ส.3

    -เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    โรงเรียนวัดไทรใหญ่ที่มีการจัดการเรียน การสอนในโรงเรียนด้านวัฒนธรรมท้องถิ่นด้านมโนราห์และกลองยาว ที่เดิมทีความรู้นี้มีอยู่เฉพาะในพื้นที่ชุมชนเฉพาะกลุ่มเท่านั้น

    -รายงาน ส.3

    -เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    -โรงเรียนวัดไทรใหญ่

    มีหลักสูตรท้องถิ่นด้านมโนราห์และกลองยาว

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    ท่ารำของมโนราห์ 12 ท่า และกลองยาว ทำให้ร่างกายเกิดการเตลื่อนไหวร่างกาย ทำให้ผู้เรียน และผู้ฝึกเป็นประจำมีร่างกายที่แข็งแรง

    -รายงาน ส.3

    -เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    -โรงเรียนวัดไทรใหญ่

    พัฒนาเป็นท่าออกกำลังกายในพื้นที่ชุมชนและโรงเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    คนในชุมชนมีความรู้ในการประกอบอาหารและการดูแลสุขภาพ เช่น การประกอบอาหารที่ปลอดภัย และถุกหลักโภชนาการ

    -รายงาน ส.3

    -เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    -โรงเรียนวัดไทรใหญ่

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    ท่ารำของมโนราห์ 12 ท่า และกลองยาว ทำให้ร่างกายเกิดการเตลื่อนไหวร่างกาย ทำให้ผู้เรียน และผู้ฝึกเป็นประจำมีร่างกายที่แข็งแรง

    -รายงาน ส.3

    -เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    -โรงเรียนวัดไทรใหญ่

    พัฒนาเป็นท่าออกกำลังกายในพื้นที่ชุมชนและโรงเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    ศิลปะวัฒนธรรม ด้านกลองยาวและมโนราห์ มีความสวยงาม และสนุกสนาน ทำให้ผู้ชมและนักแสดงมีความเพลิดเพลิน มีความสบายใจ รู้สึกชื่นชมในบุตรหลานของตนเอง

    -รายงาน ส.3

    -เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    -โรงเรียนวัดไทรใหญ่

    มีหลักสูตรท้องถิ่นด้านมโนราห์และกลองยาว

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    ศิลปะการแสดงที่เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่น ด้านมโนราห์และกลองยาว ที่มีเด็ก เยาวชนอยู่ในกลุ่มแสดง ทำให้การชุดแสดงมีความน่าสนใจเพิ่มขึ้น ดัวยความน่ารัก ความสนใจของวัยเด็ก ทำให้มีงานแสดง เด็ก เยาวชน มีรายได้ มีอาชีพ

    -รายงาน ส.3

    -เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    -โรงเรียนวัดไทรใหญ่

    มีหลักสูตรท้องถิ่นด้านมโนราห์และกลองยาว

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    การทำงานของแกนนำในชุมชนและโรงเรียน ผู้ปกครอง

    -รายงาน ส.3

    -เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    -โรงเรียนวัดไทรใหญ่

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    ชุมชนมีปราชญ์ชุมชนที่มีความรู้ด้านมโนราห์และกลองยาว ซึ่งเป็นวัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตของคนในชุมชน และคนในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

    -รายงาน ส.3

    -เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    -โรงเรียนวัดไทรใหญ่

    มีศูนย์เรียนรู้ในชุมชนและโรงเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    ส่งเสริมให้การแสดงมฯราห์ และกลองยาวเป็นกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในโรงเรียนวัดไทรใหญ่ โดยจัดให้เป็นชมรมชั่วโมงการเรียน การสอน

    -รายงาน ส.3

    -เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    -โรงเรียนวัดไทรใหญ่

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    มีกลุ่มเรียนรู้มโนราห์และกลองยาวทั้งในชุมชนและโรงเรียน

    -รายงาน ส.3

    -เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    -โรงเรียนวัดไทรใหญ่

    มีศูนย์เรียนรู้ในชุมชนและโรงเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    มโนราห์และกลองยาว ซึ่งเป็นวัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตของคนในชุมชน และคนในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา การที่เด็ก เยาวชนมีความรู้ ความสามารถ และอนุรักษ์ไว้ นำไปสู่ความภูมิใจในคุณค่าของตนเองและชุมชน

    -รายงาน ส.3

    -เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    -โรงเรียนวัดไทรใหญ่

    มีศูนย์เรียนรู้ในชุมชนและโรงเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    มโนราห์และกลองยาว เป็นศิลปะการแสดงในลักษณะกลุ่มมีทั้งชายและหญิง ทำให้เกิดความสามัคคี เกิดการทำงานร่วมกัน

    -รายงาน ส.3

    -เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    -โรงเรียนวัดไทรใหญ่

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    เป็นชุมชนชนบท มีวิถีการเกษตร มีการพึ่งพา อาศัยกันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น งานบุญ งานแต่ง และงานอื่นๆในชุมชน

    -รายงาน ส.3

    -เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    -โรงเรียนวัดไทรใหญ่

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    บ้านต้นมะขามเทศ น่าอยู่ สุขภาพดี ด้วยวิถีวัฒนธรรมชุมชน จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 57-01530

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายสุเทพ เซ่งล่าย )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด