แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ พัฒนาชุมชนราษฏร์บำรุงแบบเศรษฐกิจพอเพียง ”

ชุมชนราษฎร์บำรุง 222/1 ถ.ราษฎร์บำรุง ต.ตะกั่วป่า อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา 82110

หัวหน้าโครงการ
นางศรีประภา ดอกไม้

ชื่อโครงการ พัฒนาชุมชนราษฏร์บำรุงแบบเศรษฐกิจพอเพียง

ที่อยู่ ชุมชนราษฎร์บำรุง 222/1 ถ.ราษฎร์บำรุง ต.ตะกั่วป่า อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา 82110 จังหวัด พังงา

รหัสโครงการ 57-02545 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0103

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 16 ตุลาคม 2557 ถึง 15 พฤศจิกายน 2558


กิตติกรรมประกาศ

"พัฒนาชุมชนราษฏร์บำรุงแบบเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดพังงา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ชุมชนราษฎร์บำรุง 222/1 ถ.ราษฎร์บำรุง ต.ตะกั่วป่า อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา 82110

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
พัฒนาชุมชนราษฏร์บำรุงแบบเศรษฐกิจพอเพียง



บทคัดย่อ

โครงการ " พัฒนาชุมชนราษฏร์บำรุงแบบเศรษฐกิจพอเพียง " ดำเนินการในพื้นที่ ชุมชนราษฎร์บำรุง 222/1 ถ.ราษฎร์บำรุง ต.ตะกั่วป่า อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา 82110 รหัสโครงการ 57-02545 ระยะเวลาการดำเนินงาน 16 ตุลาคม 2557 - 15 พฤศจิกายน 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 204,680.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 250 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ประชาชนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมีการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นการเสริมสร้างให้มีสุขภาพจิตที่ดี มีการรวมกลุ่มในการสร้างงาน สร้างอาชีพ ดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
  2. มีการอนุรักษ์สืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีคนไทยเชื้อสายจีน ให้สืบสานไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน
  3. เพื่อติดตามสนับสนุนจาก สสส สจรส และพี่เลี้ยง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. -ประชุมกรรมการและแกนนำชุมชนจัดทำแนวทางการดำเนินการโครงการ ประชุมชี้แจ้งโครงการ

    วันที่ 20 ตุลาคม 2557 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เชิญชวนกรรมการและสมาชิกกลุ่มจากผู้ที่มีจิตอาสาในหมู่บ้านซึ่งจิตอาสาที่มีเวลาว่าง เช่น ผู้สูงอายุ แม่บ้าน อสม. และเยาวชน ที่ว่างงาน มาเข้าร่วมประชุม

    2.ลงทะเบียนกรรมการและคนในชุมชนเพื่อเป็นหลักฐานในว่าได้มาประชุมจริงในโครงการนี้

    3.ประชุมจัดทำแนวทางการดำเนินโครงการ -อธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการและกิจกรรม ที่จะดำเนินการตามโครงการ โดยเน้นผู้ที่มีเวลาว่างเพื่อเป็นการชักชวนมาร่วมกิจกรรม -อธิบายเรื่องเเก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของชุมชน -อธิบายปัญหาเกี่ยวกับคนที่มีเวลาว่างทำให้คนมีเวลามาร่วมกิจกรรมและทำประโยชน์ให้กับชุมชน

    4.รับประทานอาหารกลางวัน

    5.ปิดการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากที่ได้มีการเชิญชวนสมาชิกจิตอาสาในชุมชนปรากฎว่าสมาชิกและคนในชุมชนแกนนำ ได้มีความร่วมมือเป็นอย่างดี ทั้งนี้ได้มีการอธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการและกิจกรรม ที่จะดำเนินการตามโครงการ โดยเน้นผู้ที่มีเวลาว่างเพื่อเป็นการชักชวนมาร่วมกิจกรรม  โดยสมาชิกแต่ละคนได้เห็นด้วยกับโครงการ และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
    -กรรมการและแกนนำที่มาประชุมได้อธิบายหลักการในการทำโครงการการนี้ สมาชิกที่มาประชุมช่วยกันวางแผนและได้เสนอข้อคิดเห็นต่างๆ และกรรมการได้ชี้แนะการดำเนินโครงการนี้ไห้กับคนในชุมชนรับทราบเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติจริงและอธิบายเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการและกิจกรรมที่จะดำเนินงานของโครงการ  โดยเน้นผู้ที่มีเวลาว่างชักชวนมาร่วมกิจกรรมของชุมชนเพื่อแก้ปัญหาที่ตรงกับปัญหาเศรษฐกิจของชุมชนให้กับครัวเรื่อนที่มีเวลาว่างที่อยู่ในบ้านในชุมชนเพื่อไห้คนที่มีเวลาที่อยู่บ้านเฉยๆออกมาร่วมกิจกรรมที่โครงการได้จัดทำขึ้น  ซึ่งเป็นการใช้เวลาว่างไห้เกิดประโยนช์และนำไปสู่รายได้ของลูกบ้านในชุมชน ตอนเที่ยงได้มีการเลี้ยงอาหารกลางวันหลังจากนั้นได้มีการประชุมต่อเพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินโครงการซึ่งที่ประชุมได้ไห้ข้อเสนอแนะและได้ปรับกิจกรรมไห้สอดคล้องกับความต้องการของโครงการ

     

    35 35

    2. กิจกรรมปฐมนิเทศ

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง

    -กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล

    -การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน  การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์

    -การป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ

    -การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง ดังนี้
      - ใบลงทะเบียนต้องมีรายชื่อผู้ร่วมกิจกรรม  - บันทึกการประชุม วาระการประชุม เอกสารประกอบการประชุมพร้อมภาพถ่ายกิจกรรม  - กรณีมีค่าอาหาร ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงินหรือใบบิลเงินสด  (ถ้าเกิน 5000 บาท ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนทุกครั้ง)  - กรณีจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ (ค่าวัสดุ คือ ค่าใช้จ่ายเพื่อวัสดุสิ้นเปลืองในการทำกิจกรรม ได้แก่ วัสดุเครื่องเขียน วัสดุสำนักงาน วัสดุโฆษณาและเผยแพร่) ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงิน/บิลเงินสด โดยออกจากร้านมีชื่อที่อยู่ของร้านชัดเจน มีเลขกำกับภาษี/เลขบัตรประชาชน ของเจ้าของร้าน  บิลออกในนามโครงการของพื้นที่ตนเอง    - ค่าใช้สอย ได้แก่ ค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าถ่ายเอกสาร ค่าอาหารและเครื่องดื่ม    - ค่าตอบแทน ได้แก่ ค่าตอบแทนวิทยากร  กรณีเป็นรายชั่วโมง ต้องมีความรู้ความชำนาญ  กรณีเป็นปราญชชาวบ้าน หรือ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. คิดเป็นรายชั่วโมง 600 บาท,กรณีเป็นคนต่างพื้นที่ สามารถเบิกได้ 1000 บาท/วัน    - ใบสำคัญรับเงินจะต้องไม่มีรอยลบ รอยขูดหรือรอยขีดเขียน  **ห้ามใช้ใบส่งของแทนบิลเงินสดหรือใบสำคัญรับเงิน รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะต้องมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย มากกว่า หรือเท่ากับ 5-10 % ของเป้าหมายที่วางไว้ รับรู้การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน  การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์
    - ทุกกิจกรรมจะต้องมีการบันทึกรายละเอียดกิจกรรมและรายละเอียดทางการเงิน ในเว็ปไซต์ www.happynetwork.org สามารถรับรู้ถึงกระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน หลังจากนั้นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำในการปฎิบัติ

     

    3 3

    3. ประชุมคณะกรรมการ เตรียมความพร้อมในการชี้แจงรายละเอียดโครงการให้กับชุมชนได้รับทราบ

    วันที่ 7 ธันวาคม 2557 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.จัดทำเอกสารตามแนวทางที่กำหนดซึ่งมีเนื้อหาสาระที่ประกอบด้วย เรื่อง เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมประเพณีวัฒนธรรม ปัญหาสุขภาพของชุมชน เป็นต้น

    2.ประชุมเพื่อทบทวนแนวทางการชี้แจงโครงการให้กับชุมชน ซึ่งกรรมการส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวทางที่ได้กำหนดไว้แล้วโดยเรียงตามกำหนด ดังนี้ พิธีเปิดโดย นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองตะกั่วป่า พร้อมทั้งมอบนโนบายในการดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชนหัวหน้าโครงการ คือ นาง ศรีประภา ดอกไม้ ได้อธิบายและชี้แจงโครงการโดยละเอียดเพื่อให้ชุมชนได้รับทราบตามรายละเอียดเอกสารที่แจกให้

    3.รับประทานอาหารกลางวัน

    4.ปิดการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -คณะกรรมการส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวทางที่ได้กำหนดไว้แล้วโดยเรียงตามกำหนด ดังนี้ พิธีเปิดโดย นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองตะกั่วป่า พร้อมทั้งมอบนโนบายในการดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนา ชุมชน ให้ประชาชนได้รับทราบเกี่ยวกับข้อมูล เรื่องสภาวะเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สุขภาพ ปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆของชุมชนได้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น แกนนำและประชาชนได้ร่วมมือกันอนุรักษ์ เพื่อความยั่งยืนของคนในชุมชน อธิบายเรื่องการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้กับคนในชุมชนได้รับทราบว่าเศรษฐกิจของชุมชนเป็นอย่างไร หลังจากการประชุมเสร็จได้มีการจัดเลี้ยงอาหารกลางวันและมีการประชุมทำความเข้าใจเพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจที่ดีขึ้น

    -เตรียมความพร้อมสำหรับจะประชุมในวันที่ 13 ธันวาคม 2557 เช่นเอกสารการลงทะเบียน เป็นต้น

    -เรื่องของการประกาศเชิญชวนให้ประชาชนในชุมชนโดยแบ่งละเเวกบ้านให้คณะกรรมการและแกนนำเข้าร่วมกิจกรรม

     

    35 35

    4. -ประชุมชี้แจงโครงการเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจให้แก่ครัวเรือนในชุมชนและกรรมการให้รับทราบ

    วันที่ 13 ธันวาคม 2557 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เรื่มจากการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม

    2.ประธานเปิดโครงการประชุมชี้แจงโครงการเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจให้แก่ครัวเรือนในเรื่อง

    -เศรษฐกิจพอเพียง

    -แก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของชุมชน

    -การพัฒนาอาชีพของประชาชนในพื้นที่

    -ปัญหาของชุมชน และข้อมูลอื่นๆ

    3.พักรับประทานอาหารกลางวัน

    4.รับประทานอาหารว่าง

    5.ปิดการประชุมโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -คณะกรรมการชี้แจงแนวทางที่ได้กำหนดไว้ในโครงการแล้วโดยเรียงตามลำดับดังนี้ พิธีเปิดโดย นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองตะกั่วป่า พร้อมทั้งมอบนโนบายในการดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน

    • ประธานคือ นาง ศรีประภา ดอกไม้ ได้อธิบายและชี้แจงโครงการโดยละเอียดเพื่อให้ชุมชนได้รับทราบตามรายละเอียดเอกสารที่ได้รับ  ซึ่งประกอบด้วยความเป็นมาของโครงการทั้งนี้ได้เน้นให้สมาชิกและลูกบ้านได้ปฏิบัตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของทุกคนในหมู่บ้านและอธิบายถึงการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของชุมชน

    -ประชาชนที่เข้าร่วมประชุมให้ความสนใจ

     

    250 250

    5. ประชุมทีมงานในการสร้างแบบสำรวจและสาธิตการทำน้ำสมุนไพร

    วันที่ 5 มกราคม 2558 เวลา 09:00-12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ค้นหาปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้เกี่ยวกับการทำน้ำสมุนไพร

    2. นำปราชญ์ชาวบ้านมาร่วมแลกเปลื่ยนเรียนรู้ในการเตรียมสอนและสาธิตการทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ

    3. เชิญชวนให้ประชาชนที่สนใจมาเข้าร่วมกิจกรรม

    4. สาธิตการทำน้ำสมุนไพร เช่น น้ำข้าวโพด,น้ำดอกอัญชัน,น้ำดอกดาหรา เป็นต้น

    5. ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม สามารถนำไปเป็นอาชีพเสริมได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและจัดทำเป็นผลิตภัณฑ์ได้มีจำนวน2คนคือ นางกมลา ดอกไม้ นางชนิดา รวบรัด

    -จัดเตรียม วัสดุและอุปกรณ์สำหรับสาธิตโดยสมุนไพรที่นำมามีทั้งหมด 3 ชนิด คือ น้ำข้าวโพด,น้ำดอกอัญชัน,น้ำดอกดาหรา โดยผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตในครั้งนี้ คือ เเชมพูดอกอัญชัล น้ำสมุนไพรดอกอัญชัล น้ำสมุนไพรดอกดาหรา น้ำข้าวโพด

    -ประชุม สาธิต ผลิตภัณฑ์ตามที่กำหนด โดยมีการอธิบายรายละเอียดการทำน้ำสมุนไพรแต่ล่ะชนิดรวมทั้งให้ประชาชนได้ร่วมปฏิบัติ แต่ละคนให้ความร่วมมือในการปฏิบัติ  เพื่อให้สามาชิกไปทำเป็นอาชีพเสริมได้

    -ประชาชนให้ความสนใจและมีความพึงพอใจเป็นอย่างมาก

     

    100 92

    6. ป้ายปลอดบุหรี่

    วันที่ 5 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ออกแบบ รูปแบบ ขนาดตามที่กำหนด และจ้างให้ร้านทำป้ายตามที่สั่ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ออกแบบและจัดทำป้ายโครงการ และป้าย "พื้นที่นี้ปลอดบุหรี่" เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงานโครงการ และติดตั้งในวันที่ 12 ธันวาคม 2557 รณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ

     

    0 2

    7. กิจกรรมสาธิตการทำขนมพื้นบ้านใช้วัสดุธรรมชาติตามเศรษฐกิจพอเพียง

    วันที่ 6 มกราคม 2558 เวลา 09:00 - 12.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ค้นหาปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้เกี่ยวกับการทำขนมสอดไส้

    2.นำปราชญ์ชาวบ้านมาร่วมแลกเปลื่ยนเรียนรู้ในการเตรียมสอนและสาธิตการทำขนมสอดไส้

    3.เชิญชวนให้ประชาชนที่สนใจมาเข้าร่วมกิจกรรม

    4.สาธิตการทำขนมสอดไส้โดยละเอียดพร้อมทั้งประชาชนที่เข้าร่วมประชุมได้ฝึกปฎิบัติ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้เกี่ยวกับขนมสอดไส้ ได้มี จำนวน 2 คน คือนางสมครี สอนเสริม นางชดารัตน์ หลี่สกุล

    • จัดเตรียม วัสดุและอุปกรณ์สำหรับสาธิตโดยใช้ แป้ง น้ำตาล มะพร้าว ใบตอง มาทำขนมสอดไส้
    • ประชุม สาธิต ผลิตภัณฑ์ตามที่กำหนด โดยมีการอธิบายรายละเอียดการทำขนมสอดไส้ รวมทั้งให้ประชาชนได้ร่วมปฏิบัติ แต่ละคนให้ความร่วมมือในการปฏิบัติ  เพื่อให้สามาชิกไปทำเป็นอาชีพเสริมได้

     

    100 127

    8. -ประชุมกรรมการและแกนนำชุมชนจัดทำแนวทางการดำเนินการโครงการ สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมการทำน้ำสมุนไพรและผลิตภัณฑ์

    วันที่ 20 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมการทำน้ำสมุนไพรและผลิตภัณฑ์จากที่ได้สังเกตกลุ่มผลิตภัณฑ์จากน้ำสมุนไพรนั้น พบว่าประชาชนให้ความสนใจเป็นจำนวนมากพร้อมทั้งในชุนชนได้มีการปลูกสมุนไพรเหล่านี้อยู่เเล้วเป็นเรื่องที่น่าสนใจโดยจะทำการขยายผลเป็นบัญจุภัณฑ์ เพื่อจำหนาย ไปยังร้านค้าต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับชุมชนต่อไป

    -สำหรับการวางแผนประชุมชี้แจงทีมสำรวจครัวเรือนนั้นเน้นให้เด็กและเยาวชนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้ จึงวางแผนที่จะประชุมชี้แจงในช่วงที่นักเรียนปิดเทอมซึ่งคาดว่าจะดำเนินการภายในเดือน เมษายน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    แกนนำและกรรมการชุมชนให้ความร่วมมือและร่วมวางแผนโครงการให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมที่จะขยายผลของกิจกรรมสู่ชุมชน

     

    20 35

    9. -ประชุมกรรมการและแกนนำชุมชนจัดทำแนวทางการดำเนินการโครงการ พัฒนาเป็นหลักสูตรท้องถิ่น

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมการพัฒนาเป็นหลักสูตรท้องถิ่น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -มีการดำเนินกิจกรรม ในการเข้าร่วมการพัฒนาเป็นหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการปฏบัติ

     

    20 35

    10. -สรุปเป็นบทเรียนสำหรับเด็กและเยาวชน และผู้สนใจ

    วันที่ 30 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ลงทะเบียน

    2.แนะนำปราชญ์ชาวบ้านและแกนนำให้เด็กๆรู้จัก

    3.ดำเนินงานตามแผนที่วางไว้

    4.พักรับประธานอาหาร

    5.ทำกิจกรรม

    6.จบกิจกกรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้หลักสูตรชุมชนและหลักสูตรอาหารพื้นบ้านลดหวานมันเค็ม

     

    30 35

    11. พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น

    วันที่ 1 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำหลักสู่มาพัฒนาท้องถิ่นให้น่าอยู่

    1. ลงทะเบียน

    2. บรรยายหลักสูตร

    3. พักรับประทานอาหารกลางวัน

    4. สรุปกิจกรรมของวัน

    5.ปิดกิจกรรมวันนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้หลักสูตรต่างๆ และทำให้เห็นถึงความสามัคคีของชุมชน โดยมีผู้ให้ข้อมูลหลักสูตร คือ นายป่า ดอกไม้

     

    70 72

    12. สืบถอดด้านวัฒนธรรมไทยเชื้อสายจีน

    วันที่ 3 เมษายน 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่ 1

    1.ประชุม และวางแผน

    2.บรรยายถึงลำดับขั้นตอนของกิจกรรม

    3.รับฟังและทำกิจกรรมต่างๆ

    วันที่ 2

    1.บรรยายถึงลำดับขั้นตอนของกิจกรรม

    2.รับฟังและทำกิจกรรมต่างๆ

    3.สรุปผลการทำกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กิจกรรมเป็นไปด้วยดี ไม่มีปัญหาต่อการดำเนินงานใดๆ ทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ได้รับประโยชน์และความรู้ต่างๆจากการทำกิจกรรมนี้เป็นอย่างมาก

    พิธี เช็งเม้ง (ไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน )

    ความหมาย
    เชงเม้ง เป็นชื่อของสารท ( 1 ปีมี 24 สารท ) "เช็ง" หมายถึง สะอาด บริสุทธิ์ และ "เม้ง" หมายถึง สว่าง รวมแล้วหมายความถึง ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์ สารท เช็งเม้ง หรือ เชงเม้ง เริ่มต้นประมาณ 5 เมษา - 20 เมษา เป็นฤดูใบไม้ผลิ อากาศจะคลายความหนาวเย็น
    ระยะเวลา
    ช่วงเวลา เชงเม้งจะทำในเดือน ๕ ระหว่าง วันที่ ๓ ถึงวันที่ ๗ เมษายน ทุกปี โดยจะสะดวกไปทำพิธีกรรมในวันใดก็ได้ ไหว้เช็งเม้งวันไหว้ วันใดก็ได้ในช่วง 15 วันแรกของเดือน 3 ของจีนทุกปี จะอยู่ที่ประมาณปลายเดือนมีนาคม - ต้นเดือนเมษายน
    ความสำคัญ เชงเม้ง (ไหว้หลุมฝังศพบรรพบุรุษ) เป็นพิธีกรรมที่แสดงถึงความกตัญญูกตเวทีที่มีต่อบรรพบุรุษ แสดงถึงการมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และสะท้อนให้เห็นถึงความรักใคร่สามัคคีกัน นอกจากนั้นยังทำให้เหล่าเครือญาติได้มาร่วมพิธีกรรมนี้ได้พบปะสังสรรค์กินเลี้ยงกันหลังจากเสร็จพิธี เป็นการสร้างสายสัมพันธ์ภายในครอบครัวและเหล่าเครือญาติ พิธีกรรม
    การประกอบพิธีกรรมนี้ ชาวจีนมีความเชื่อในเรื่อง พระภูมิเจ้าที่ นรก สวรรค์ วิญญาณบรรพบุรุษ ภูตผี วิญญาณเร่ร่อน การทำมาหากิน เคล็ด ชาติภพ เช่น ชาวจีนเชื่อว่าการนำสิ่งของไปเซ่นไหว้ที่หลุมศพ การพูนดินที่หลุม การโปรยกระดาษสีต่าง ๆ เพราะเป็นการแสดงออกถึงความกตัญญูรู้คุณต่อบรรพบุรุษ ผู้มีพระคุณ เป็นการบอกเล่าแก่สังคมว่าตนยังคงระลึกถึงผู้มีพระคุณอยู่เสมอและการทำกงเต็ก ก็เนื่องจากชาวจีนเชื่อว่า คนที่ตายไปแล้วไม่ได้ไปไหน ยังคงดำเนิน ชีวิตอยู่ในอีกโลกหนึ่ง และอาจจะต้องการความช่วยเหลือจากมนุษย์เหมือนกับที่มนุษย์ต้องการความช่วยเหลือเช่นกัน


    อาหารที่ใช้ในการประกอบพิธีมีดังนี้ คือ ๑. ไก่ต้ม ๑ ตัว ๒. หมูสามชั้น ต้ม ๑ ชิ้น (โดยประมาณขนาด ๑/๒ กิโลกรัม ขึ้นไป)
    ๓. เส้นบะหมี่สด ๔. ขนม ๓ อย่าง คือ เต่เหลี่ยว ข้าวเหนียวกวน ขนมเต่า (ขนมกู้) ๕. ขนมถ้วยฟู (ฮวดโก้ย) ๖. สับปะรด ๒ ลูก (ใช้ทั้งก้านและหัวจุก) ๗. น้ำชา ๘. ธูปเทียน, กระดาษเงิน, กระดาษทอง, ประทัด การประกอบพิธีกรรม มีดังนี้ คือ ๑. นำอาหาร ขนม และผลไม้ ใส่ภาชนะเป็น ๒ ชุด (เล็ก- ใหญ่) ๒. ให้นำไก่ต้ม, หมูต้มและเส้นบะหมี่สดใส่ถาดเดียวกัน ๓. นำขนมแต่ละชนิดใส่จานแยกเป็นแต่ละชนิด ๔. สับปะรดใส่จานละ ๑ ลูก ๕. น้ำชาที่ละ ๒ ถ้วยชาเล็ก (ถ้วยตะไล) ๖. อาหารชุดใหญ่ให้วางไว้หน้าหลุมฝังศพบรรพบุรุษ ชุดเล็กไว้สำหรับเจ้าที่ ๗. จุดธูป-เทียนสำหรับบูชา (เทียน ๒ เล่ม, ธูป ๒ เล่ม ตั้งใช้บูชาบรรพบุรุษและเจ้าที่) ๘. เมื่อธูปหมดไปประมาณ ๑/๒ เล่ม ให้เผากระดาษเงินให้แก่บรรพบุรุษและเผากระดาษทองที่เคารพแก่เจ้าหน้าที่ ๙. ให้เอากระดาษเงินวางบนหลุมฝังศพของบรรพบุรุษ ๑๐. ให้จุดประทัดเป็นอันเสร็จพิธีกรรม
    เทศกาลเช็งเม้ง ประเพณีที่สำคัญมากที่สุดของของชาวจีนคือ ไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน
    ประเพณีเดือน 3 หรือเรียกว่า “ ซาโง้ย “ ของชาวจีน หรือ ประเพณีเช้งเม้ง หรือที่ภาษาฮกเกี้ยนเรียกว่า “ เฉ่งเบ๋ง “ เป็นการไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่สุสานฝังศพหรือที่ป่าช้า (ฮวงจุ้ย) ซึ่งจะกระทำกันในวัน 4 ค่ำ หรือ 5 ค่ำ เดือน 3 ของจีน หรือตรงกับวันที่ 5 เมษายน ของ ทุก ๆ ปี เป็นพิธีกรรมที่ชนรุ่นหลัง แสดงถึงความกตัญญูที่มีต่อบรรพบุรุษ โดยก่อนที่จะถึงวันเซ่นไหว้สักสองสามวัน ลูกหลานก็จะชักชวนกันไปถางหญ้าบริเวณหลุมฝังศพ (บ่อง) ของบรรพบุรุษ ให้สะอาดเรียบร้อยปราศจากต้นไม้ หญ้ารกรุงรัง รวมทั้งบริเวณเจ้าที่ (ไท้เต่กัง) และพูนดินบนหลุมศพให้สูงขึ้น เมื่อถึงวันไหว้ลูกหลานก็จะเอากระดาษสีต่าง ๆ มาตกแต่งหลุมศพ การโดยกระดาษหลากสี อาจจะเป็นการให้เห็นได้ชัดว่า วันนี้ลูกหลานมาไหว้บรรพบุรุษเป็นการบอกให้รู้ว่า หลุมศพนี้มีลูกหลานมาเซ่นไหว้แสดงความระลึกถึง ความกตัญญูแล้ว ส่วนหลุมศพที่ไม่มีคนมาไหว้หลาย ๆ ปี นานไปก็จะสูญหายจากนั้นก็จะนำอาหารคาวหวานไปเซ่นไหว้ การนำกระดาษหลากสีไปประดับบนหลุมฝังศพ เปรียบกระดาษสี คือ เสื้อผ้าใหม่สำหรับผู้ตาย และการนำดินมากลบบนหลุมให้เป็นเนินสูง ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นการทำให้ลูกหลานทำมาหากินเพิ่มพูน หากหลุมศพใดไม่กลบดินหรือพอกพูนดิน ลูกหลานจะทำมาหากินไม่บังเกิด ไม่ มีทรัพย์สินเงินทองเพิ่มพูน อนึ่งในระยะนี้ ถ้าลูกหลานต้องการซ่อมแซมหลุมศพ (บ่อง) ให้ สวยงามก็สามารถทำได้ แต่สำหรับเดือนอื่น ๆ ห้ามทำเด็ดขาด ถือว่าเป็นสิ่งอับปมงคลจะทำลูกหลานมีอันเป็นไป หรือลูกหลานจะทำมาหากินไม่เจริญรุ่งเรือง ปัจจุบันจะเห็นว่า ชาวบ้านยังคงมีความเชื่อในด้านกระทำกับหลุมศพ และถือเคล็ดว่าหากไม่ได้ทำหรือทำไม่ดี ตนเองจะได้รับผลกระทบในการทำมาหากิน และความเป็นอยู่ ซึ่งชาวบ้านเรียนรู้จากคนรุ่นก่อนที่ได้เล่าสืบต่อกันมา และจากประสบการณ์ของตนเอง วัน “ เช้งเม้ง “ ที่ชาวไทยเชื้อสายจีนปฏิบัติอยู่นี้ ถือว่าเป็นกิจกรรมของประเพณีที่ให้ลูกหลาน อนุชนรุ่นหลัง ได้แสดงถึงความกตัญญูที่มีต่อบรรพบุรุษ เป็น วันรวมญาติครั้งใหญ่เพื่อร่วมกันกระทำกิจกรรมเซ่นไหว้บรรพบุรุษ วันเช้งเม้งจะมี 2 แบบ คือ วันเช้งเม้งเก่า ซึ่งตรงกับวันที่ 5 เมษายน และวันเช้งเม้งใหม่ ซึ่งจะกระทำกันระหว่างเดือน 2-3 สำหรับชาวจีนในภูเก็ตนั้น นับเอาวันที่ 5 เมษายน เป็นวันเช้งเม้ง ตลอดระยะเวลาก่อนวันที่ 5 เมษายน 10 วันหรือหลังวันที่ 5 เมษายน 10 วัน ลูกหลานจะพากันไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่สุสานบรรพบุรุษพร้อมทั้งนำสิ่งของไปเซ่นไหว้ เช่น น้ำชา (เต๋) ขนมข้าวเหนียวกวน (บี้โก้) ขนมฟู (ฮวดโก้ย) ขนมเต่าแดง (อั้งกู้) เนื้อ หมูต้ม ไข่ไก่ต้ม หมี่เหลือง (ส้ามเช้ง) กระดาษสี ต่าง ๆ แปะบนหลุมฝังศพ (บ่องจั้ว) ธูปเล็ก (เหี้ยว) เทียนเล็ก (เจก) กระดาษทองเล็ก (กิ้มจั้ว) กระดาษเงินเล็ก (หยินอาจั้ว) ประทัด (ผ่าง) นอกจากนั้นยังมีเครื่องทำกงเต็ก อันได้แก่ เสื้อผ้า ธูปเทียน ดอกไม้ กระดาษเงิน กระดาษทอง เพราะชาวบ้านมีความเชื่อว่า เมื่อเผาของจำลองเหล่านี้แล้วจะไปถึงผู้รับในปรโลกชาวจีนในอดีตเมื่อมีญาติพี่น้อง หรือพ่อแม่ตาย บรรดาลูกหลานนิยม ฝังศพของญาติพี่น้อง และบรรพบุรุษ แม้แต่คนงานกรรมกรเหมืองแร่ดีบุกในสมัยก่อน ที่ไม่มีครอบครัว ต้องอาศัยที่ทำงานในเหมืองเป็นที่พักอาศยเมื่อตายไป บรรดาพรรคพวกที่ร่วมงานด้วยกัน ก็จะนำศพนั้นไปฝังตามสุสานป่าช้าที่ทางราชการได้กำหนดไว้ สำหรับผู้ที่มีฐานะดี ก็จะมีสุสานประจำตระกูล หรือสุสานภาษาเดียวกัน ซึ่งแสดงเอกลักษณ์ของสุสานแต่ละกลุ่มภาษาที่แตกต่างกัน ในทางรูปธรรมแต่ความหมายที่สื่อก็จะเหมือนกัน เพื่อให้วิญญาณผู้ตายสู่สุคติ และให้ผู้มีชีวิตอยู่ได้มีความเจริญรุ่งเรือง ประโยชน์ของการไป ไหว้บรรพบุรุษ เทศกาลเชงเม้ง เพื่อรำลึกถึงคุณความดี ที่บรรพบุรุษของเราได้กระทำไว้ ได้ดูแลเรา ลำบากเพื่อเราให้มีความเป็นอยู่ที่ดี เป็นแบบอย่างการดำเนินชีวิต"เราสบาย เพราะพ่อแม่ บรรพบุรุษลำบาก"เป็นศูนย์รวมตระกูล ผังตระกูล โดยทั่วไป การไหว้ที่ดีที่สุด ต้องนัดหมายไปไหว้พร้อมกัน ( วันและเวลาเดียวกัน ) ทำให้ลูกหลานที่อยู่กระจายกันไป ได้มาพบปะ สังสรรค์กันพร้อมหน้า เป็นการสร้างความสามัคคี สร้างจุดศูนย์รวม กล่าวได้ว่าเป็น วันรวมญาติ เป็นกรอบถนนชีวิตของลูกหลานทุกคน "พ่อแม่ตายแล้ว ยังกำหนดชะตาชีวิตลูกหลาน" เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต เน้นความกตัญญูที่มีต่อบุพการีและลูกหลานควรปฏิบัติตามเป็นการเตือนสติตน ความตายต้องเกิดขึ้นกับทุกคน และเป็นธรรมดาของมนุษย์ปุถุชนกราบไหว้ ระลึกถึงพระคุณ ของพ่อแม่บรรพบุรุษ ตั้งเครื่องบูชาเซ่นไหว้ดวงวิญญาณของท่าน ประเพณีปฏิบัติในวัน เช็งเม้ง 1.ทำความสะอาดสุสาน(เซ้าหมอ)ลงสีที่ป้ายชื่อให้ดูใหม่ - คนตายแล้วลงสีเขียว หรือสีทองขลิบเขียว คนเป็นลงสีแดง ( ห้ามถอนหญ้า - อาจกระทบตำแหน่งห้าม เช่น ทิศอสูร ทิศแตกสลาย ทิศดาวเบญจภูติ ) บ้างก็ตกแต่งด้วย กระดาษม้วนสายรุ้ง(สุสานคนเป็น - แซกี - ใช้สายรุ้งสีแดง:: สุสานคนตาย - ฮกกี - ใช้หลากสีได้) (ห้ามปักธง ลงบนหลังเต่า เท่ากับทิ่มแทงหลุม และบางความเชื่อ ทำให้หลังคาบ้านของบรรพบุรุษรั่ว) 2. กราบไหว้ เจ้าที่ เป็นการให้เกียรติ และขอบคุณที่ช่วยคุ้มครองดูแลการจัดวางของไหว้ (เรียงลำดับจากป้าย) เทียน 1 คู่ + ธูป 5 ดอก (อาจปักลงบนฟักได้) ชา 5 ถ้วยเหล้า 5 ถ้วยของไหว้ต่าง ๆ เช่น ขนมอี๋ ผลไม้ *** ควรงดเนื้อหมู – เพราะเคยมีปรากฏว่า เจ้าที่เป็นอิสลาม *** กระดาษเงิน กระดาษทอง การจัดวางของไหว้ ( เรียงลำดับจากป้าย - จะต่างกับข้างต้น ) ชา 3 ถ้วย เหล้า 3 ถ้วย ของไหว้ต่างๆเช่นขนมอี๋ผลไม้ * ของไหว้ ตามความเชื่อประเพณีของแต่ละท้องถิ่น ส่วนใหญ่เป็น ขนมถ้วยฟู - ฮวกก้วย * กระดาษเงิน กระดาษทอง ฯลฯ เทียน 1 คู่ + ธูป ตามจำนวนบรรพบุรุษ ท่านละ 1 ดอก หมายเหตุ *** ห้ามวางของตรงแท่นหน้า เจียะปี ( ป้ายหิน ที่จารึกชื่อ บรรพบุรุษ )
    เพราะเป็นที่เข้าออกของ วิญญาณบรรพบุรุษ ไม่ใช่เก้าอี้นั่ง อย่างที่หลายคนเข้าใจผิด***
    พิธีเช็งเม้ง ผู้อาวุโส เป็นผู้นำกราบ ไหว้จนเทียนใกล้หมดก้าน ลูกหลานตีวงล้อมด้วยหวาย เผา กระดาษเงิน กระดาษทอง ฯลฯ เป็นการกำหนดขอบเขตว่า สิ่งเหล่านี้ลูกหลานส่งให้ บรรพบุรุษของครอบครัว นั้น ๆ เป็นการเฉพาะ ป้องกันการแย่งชิง ( ผู้ตีวงล้อม ต้องเป็นลูกหลานเท่านั้น ) *** เป็นอันเสร็จพิธี บางครอบครัวก็จะมานั่งล้อมวงทานอาหารกันต่อ แสดงความสมานสามัคคีแก่ บรรพบุรุษ ความเชื่อและข้อเท็จจริงตาม หลักฮวงจุ้ย เมื่อทานหอยแครงเสร็จ จะโยนเปลือกหอยแครง ลงบนเนินหลังเต่า ( เนินดินด้านหลัง ป้ายสุสานบรรพบุรุษ ) ความหมายคือมีลูกหลานมาก ประเด็นนี้ ไม่ขัดกับหลักวิชาทุกครั้งที่มา จะขุดเอาดินมากลบบนหลังเต่า โดยเชื่อว่า จะทำให้การค้าเพิ่มพูน ข้อเท็จจริง : จะทำก็ต่อเมื่อ หลังเต่ามีรูแหว่งไป จึงซ่อมแซม และต้องดูฤกษ์โดยเฉพาะการขุดดิน ถือเป็นการกระทบธรณี ปลูกดอกไม้ รอบๆ สุสานบรรพบุรุษ ข้อเท็จจริง : ห้ามปลูกดอกไม้ รอบๆ สุสานบรรพบุรุษ มีความหมายด้าน ชู้สาว แต่ปลูกหญ้าได้หากต้องการซ่อมแซม สุสานบรรพบุรุษ ทำได้เฉพาะ สารทเช็งเม้ง เท่านั้น ข้อเท็จจริง : ไม่จำเป็นต้องเป็นสารทนี้เท่านั้น ขึ้นอยู่กับฤกษ์หากทำในสารทนี้ โดยไม่ดูฤกษ์ กลับจะเกิดโทษภัยจาก อสูรจุดประทัด เพื่อกำจัดผีร้ายให้พ้นไป ข้อเท็จจริง : ตามหลักวิชา การจุดประทัด เป็นการกระตุ้น หากตำแหน่งถูกต้อง ก็จะได้ลาภหากผิดตำแหน่ง จะเกิดปัญหา ( ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจเรื่อง ดาว 9 ยุค และฤกษ์ เป็นอย่างดี)บางครอบครัวต้องการประหยัด จัดอาหารไหว้เพียง 1 ชุด ไหว้หลายแห่ง
    ข้อเท็จจริง : ทำเช่นนี้ไม่ถูกต้อง บรรพบุรุษ ชุดแรกสุดเท่านั้นที่ได้รับบางคนเชื่อว่า จะไม่เผากระดาษทองให้กับ บรรพบุรุษ นอกจากตายมานานแล้ว ถือว่าได้เปลี่ยนสถานภาพเป็นเทพ ข้อเท็จจริง : ตามประเพณีโดยทั่วไปไม่มีการไว้ทุกข์พ่อแม่ ต้องนาน 3 ปี ข้อเท็จจริง : ประเพณีบางท้องถิ่น กำหนดเช่นนั้นจริง โดยเน้นเรื่องความกตัญญูเป็นหลักการไป ไหว้บรรพบรุษ ครั้งแรก ต้องดูฤกษ์
    ข้อเท็จจริง : เป็นเรื่องถูกต้องตามหลักวิชา ฮวงจุ้ย โดยปกติแล้ว ซินแส จะเป็นผู้กำหนดฤกษ์ให้ หากทิศด้านหลัง สุสาน เป็นทิศห้าม ทิศอสูร ทิศแตกสลาย ต้องใช้ฤกษ์ปลอดภัยเท่านั้น ปีต่อ ๆ ไป ไม่ต้องมีการ ดูฤกษ์ อีก การไหว้ไม่ได้จำกัดว่า จะต้องไหว้ใน สารทเช็งเม้ง เท่านั้น ซึ่งปัจจุบัน จะพบว่าคนกลุ่มหนึ่งจะไปไหว้ก่อนถึงเทศกาลเช็งเม้ง เพื่อหลีกหนีปัญหาการจราจร และเราสามารถเลือกไปไหว้ในช่วง ตังโจ่ย แทน ( โดยเฉพาะหากด้านหลัง สุสาน เป็นทิศตะวันตก )อากาศเย็นสบายกว่า ปัญหา จราจรน้อย ของไหว้ราคาไม่แพง คนไม่พลุกพล่าน

    ความรู้จากการทำพิธีนั้นต้องเป็นบุคคลที่มีความตั้งใจ ใจรักและมีศีลธรมม และยังมีการทำพิธีถือศีลกินเจที่ลูกหลานช่วยกันอนุรักษ์อีกด้วย

    ประเพณีกินเจ ประวัติ เทศกาลเจ เริ่มขึ้นเมื่อประมาณ 400 ปีมาแล้วในประเทศจีน ตามตำนานระบุว่า เกิดขึ้นในสมัยที่ชาวจีนถูกแมนจูเข้ามาปกครอง และบังคับชนชาติจีนยอมรับวัฒนธรรมของตนสมัยนั้นเองมีคนจีนกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันต่อต้านแมนจู โดยใช้หลักทางธรรมเข้าร่วมด้วย ชาวจีนกลุ่มนี้นุ่งขาว ห่มขาว และไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ตามความเชื่อว่า การประพฤติปฏิบัติตามแนวทางนี้จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับตนเองได้ คนกลุ่มนี้เรียกตัวเองว่า “หงี่หั่วท้วง” แต่ท้ายที่สุดก็พ่ายแพ้ต่อแมนจู และพลีชีพไปจำนวนมากทุกวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ชาวจีนที่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของแมนจู จึงพร้อมใจกันถือศีลกินเจ เพื่อรำลึกถึง “หงี่หั่วท้วง”นอกจากนั้น การกินเจยังเชื่อกันว่าเพื่อเป็นการสักการะพระพุทธเจ้า 7 พระองค์ และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ รวมเป็น 9 พระองค์ หรือดาวนพเคราะห์ทั้ง 9ในพิธีกรรมนี้งดเว้นการฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต หันมาบำเพ็ญศีล โดยตั้งปณิธานการกินเจ งดเว้นอาหารคาว เพื่อสมาทานศีลคือ 1. เว้นจากการเอาชีวิตของสัตว์มาบำรุงชีวิตของตน 2. เว้นจากการเอาชีวิตของสัตว์มาเพิ่มเลือดของตน 3. เว้นจากการเอาชีวิตของสัตว์มาเพิ่มเนื้อของตน เทศกาลกินเจของคนเชื้อสายจีนในไทยก็เป็นไปตามความเชื่อข้างต้น
    คือเพื่อสักการบูชาพระพุทธเจ้า และเจ้าแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์


    ความหมายของเจ คำว่า “เจ” ในภาษาจีนทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายานมีความหมายว่า “อุโบสถ” เดิมหมายความว่า “การรับประทานอาหารก่อนเที่ยงวัน” ตามแบบอย่างของชาวพุทธที่รักษาอุโบสถศีล หรือรักษาศีล 8 ที่จะไม่รับประทานอาหารหลังเที่ยงวันไปแล้ว แต่สำหรับพุทธนิกายมหายานนั้น การรักษาอุโบสถศีลจะรวมถึงการไม่รับประทานเนื้อสัตว์ด้วย เราจึงนิยมเรียกการไม่ทานเนื้อสัตว์รวมไปกับการกินเจ ในปัจจุบันผู้ที่รับประทานอาหารทั้ง 3 มื้อ แต่ไม่กินเนื้อสัตว์ก็ยังคงเรียกว่า “กินเจ” ดังนั้นความหมายของคนกินเจ ไม่เพียงแต่ไม่ทานเนื้อสัตว์ แต่ยังต้องดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม มีความบริสุทธิ์ สะอาด ทั้งกาย วาจา ใจ การกินเจ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง การถือศีลอย่างญวนและจีนที่ไม่กินของสดคาว แต่บริโภคอาหารประเภทผักที่ไม่มีของสดของคาวผสม ซึ่งมาจากรากศัพท์คำภาษาจีนที่ว่า “เจียฉ่าย” หมายถึง การกินอาหารผัก อาหารที่มาจากพืชผักธรรมชาติ ไม่มีเนื้อสัตว์ปะปน และไม่ปรุงด้วยผักฉุน 5 ชนิด ได้แก่ กระเทียม หัวหอม หลักเกียว กุยช่าย ใบยาสูบ และงดเว้นน้ำนมสด นมข้นด้วย เพราะถือว่าเป็นของสดของคาว ช่วงเวลา ประกอบพิธี ๙ วัน ตั้งแต่วันขึ้น ๑ ค่ำ ถึง ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๙ ของจีน (ตรงกับเดือน ๑๑ ของไทย) ช่วงเวลากินเจ ประเพณีกินเจที่ชาวจีนเรียกกันว่า “เก้าอ๊วงเจ” หรือ “กิ้วอ๊วงเจ” แปลว่า “เจเดือน 9″ เริ่มต้นในวันขึ้น 1 ค่ำ ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีน รวม 9 วัน 9 คืน ตรงกับเดือน 11 หรือเดือนตุลาคมของไทย (ตามปฏิทินสากล) คำว่า “เก้าอ๊วง” หรือ “กิ้วอ๊วง” แปลว่า “พระราชา 9 องค์” หรือนพราชา หมายถึงผู้เป็นใหญ่ทั้ง 9 ซึ่งเป็นที่มาของประเพณีกินผักกินเจ จุดประสงค์หลักของการกินเจ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ 1. กินเพื่อสุขภาพ เพราะอาหารเจเป็นอาหารชีวจิต เมื่อกินติดต่อกัน จะทำให้ร่างกายสมดุล สามารถขับพิษของเสียต่าง ๆ ออกจากร่างกายได้ และปรับระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้มีเสถียรภาพ 2. กินด้วยจิตเมตตา เนื่องจากทุก ๆ วัน อาหารที่เรากินประกอบด้วยเลือดเนื้อของสรรพสัตว์ ผู้ที่มีจิตใจดีงามจึงไม่สามารถกินเนื้อของสัตว์เหล่านั้นได้ 3. กินเพื่อเว้นกรรม เพราะการฆ่าเอาเลือดเนื้อผู้อื่นมาเป็นของเราเป็นการสร้างกรรม แม้จะไม่ได้ลงมือฆ่าเองก็ตาม เพราะการซื้อผู้อื่นเท่ากับการจ้างฆ่า ถ้าไม่มีคนกินก็ไม่มีคนฆ่ามาขาย ผู้ที่เข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรมจึงหยุดกิน หันมารับประทานอาหารเจแทน โดยไม่เห็นแก่ความอร่อยในช่วงเวลาสั้น ๆ เพียงแค่ให้อาหารผ่านลิ้นเท่านั้น
    ความหมายของธงเจ อักษรแดง บนพื้นเหลือง เขียนว่า “ไจ” หรือ “เจ” มีความหมายว่า “ของไม่มีคาว” สีแดงเป็นตัวแทนของความเป็นสิริมงคลในชีวิต ส่วนสีเหลืองเป็นสีของพุทธศาสนา หรือผู้ทรงศีล ธงเจนอกจากเป็นสัญลักษณ์ของอาหารเจแล้ว ยังเตือนพุทธศาสนิกชนที่ปฏิบัติตน “ถือศีล-กินเจ” ตระหนักถึงการไม่เบียดเบียนชีวิตสัตว์ และการตั้งอยู่ในศีลตลอดช่วงระยะเวลา 9 วัน 9 คืน การปฏิบัติตัวช่วงเทศกาลกินเจ งดเว้นเนื้อสัตว์ หรือทำอันตรายต่อสัตว์ งด นม เนย หรือน้ำมันจากสัตว์ งดอาหารรสจัด หมายถึง อาหารรสเผ็ดมาก เค็มมาก หวานมาก เปรี้ยวมาก งดผักกลิ่นฉุน 5 ชนิด คือ กระเทียม หัวหอม หลักเกียว กุยช่าย ใบยาสูบ รวมทั้งเครื่องเทศที่มีกลิ่นฉุน รักษาศีล 5 รักษาจิตใจให้บริสุทธิ์ รักษาอารมณ์ให้คงที่ ทำบุญ ทำทาน บางคนที่เคร่งอาจนุ่งขาว ห่มขาว “อาหารเจ“เป็นอาหารที่ปรุงขึ้นจากพืชผักธรรมชาติล้วนๆ ไม่มีเนื้อสัตว์ปน และที่สำคัญต้องไม่ปรุงด้วยผักฉุนทั้ง 5 ตามความเชื่อทางการแพทย์จีน ของผักเหล่านี้มีรสหนัก กลิ่นรุนแรง เป็นเหตุให้อวัยวะหลักสำคัญภายในทั้ง 5 ทำงานไม่ปกติ สำหรับคนที่กินเจอย่างเคร่งครัด นอกจากจะ “ถือศีล-กินเจ” แล้ว ยังต้องเลือกผู้ปรุงอาหารเจที่กินเจด้วย เพื่อให้ “อาหารเจ” นั้นบริสุทธิ์จริงๆ บางคนจะคัดแยกภาชนะบรรจุหรือปรุงอาหาร จากที่ใช้ใส่อาหารที่มีเนื้อสัตว์อย่างเด็ดขาดและในบางแห่งอาจพบว่ามีการจุดตะเกียงเก้าดวงไว้เป็นเวลา 9 วันตลอดระยะเวลากินเจ เพื่อรำลึกถึงบุญคุณพ่อแม่ญาติพี่น้อง และเพื่อเป็นพุทธบูชา การกินเจทำได้ 2 แบบ คือ 1.กินเป็นกิจวัตร คือ ละเว้นการกินเนื้อสัตว์ทั้ง 3 มื้อทุกวัน 2.กินเฉพาะช่วงกินเจ คือ กินเจช่วงวันขึ้น 1 ถึง 9 ค่ำ เดือน 9 ตามปฏิทินจีน ส่วนจะปฏิบัติที่เคร่งครัดกว่า หรือเกินความคิดคำนึงพื้นฐานของคนทั่วไป เช่น ลุยไฟ ใช้เหล็กเสียบแทงตนเอง หรือม้าทรงต่างๆ ในเทศกาลกินเจนั่นคือ ความเชื่ออันแรงกล้าทำให้เกิดสิ่งที่ตนคิดว่าเป็นไปได้เสมอ ประโยชน์ของการกินเจ การกินอาหารเจ นอกจากจะเป็นการถือศีลรักษาประเพณี และละเว้นชีวิตแล้ว ยังให้ประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้ 1. ร่างกายสามารถขับถ่ายของเสียออกได้หมดทำให้ ไม่มีสารพิษตกค้างอยู่ภายใน เพราะสารอาหารจากพืชผักและผลไม้จะช่วยให้ระบบขับถ่ายและการย่อยเป็นปกติ 2. เมื่อรับประทานเป็นประจำ โลหิตจะถูกฟอกให้สะอาดขึ้นเรื่อย ๆ เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายเสื่อมสลายช้าลง ทำให้อายุยืนยาวมีผิวพรรณสดชื่นผ่องใส ร่างกายแข็งแรงรู้สึก มีสุขภาพดี 3. อวัยวะหลักสำคัญภายใน ได้แก่ หัวใจ ไต ม้าม ตับ ปอด และอวัยวะประกอบคือ ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก กระเพาะปัสสาวะ กระเพาอาหาร ถุงน้ำดี แข็งแรงทำงานได้เป็นปกติสมบูรณ์

    1. ร่างกายสามารถต้านทานต่อสารพิษต่าง ๆ ได้แก่ สารเคมี ยาฆ่าแมลง มลภาวะ และก๊าซพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ในอุตสาหกรรม ไอเสียจากเครื่องจักร เครื่องยนต์ ซึ่งสารอาหารในพืชผัก จะช่วยให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายสามารถทนต่อการทำลายจากรังสีต่าง ๆ ได้
    2. สามารถต้านทานสารพิษได้สูงกว่าคนปกติ ในบรรดาผู้ที่ทานเจมักไม่ปรากฎโรครุนแรงหรือเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดตีบ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคไต ฯลฯ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวกับระบบขับถ่าย ย่อยอาหารและทางเดินอาหาร เช่น โรคริดสีดวงทวาร มะเร็งในกระเพาะและลำไส้ โรคกระเพาะ อาหารไม่ย่อย โรคเหล่านี้จะไม่พบเลยในกลุ่มคนผู้ที่รับประทานอาหารเจ อาหารพืชผักและผลไม้เป็นประจำ 6.การกินเจทำให้เกิดความเมตตา เกิดความสงบสุขุม อารมณ์ไม่ฉุนเฉียว ไม่โมโหง่าย ซึ่งจะช่วยเกื้อกูลส่งเสริมให้บารมีธรรมสูงขึ้นเรื่อย ๆ 7.หยุดการสร้างบาป เวรกรรม ทำให้ไม่เกิดการอาฆาต พยาบาท จึงปราศจากศัตรูทั้งมนุษย์และสัตว์ที่คิดมุ่งทำร้ายตามจองเวร ความสำคัญ กินผักภาษาจีนเรียกว่า "เก้าอ็วงเจ" หรือ "กิวอ็วงเจ" เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาของคนไทยที่มีเชื้อสายจีนทางฝั่งทะเลตะวันตก โดยเฉพาะจังหวัดพังงาในเขตอำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง แต่เดิมผู้คนกินผักมักมีเชื้อสายฮกเกี้ยน แต่ในปัจจุบันแพร่หลายไปยังกลุ่มอื่น ๆด้านคุณค่าของพิธีกินผักนั้น นอกจากจะเป็นการช่วยสะเดาะเคราะห์ ปัดเป่าโรคภัยไข้เจ็บ หรือโรคร้ายจากตัวผู้กินผัก แล้วยังเป็นการแสดงออกถึงการเคารพบรรพบุรุษ และเป็นการฝึกจิตใจของผู้กินผักให้บริสุทธิ์ ได้รักษาศีลอีกทั้งยังเหมาะกับสภาพสังคมในปัจจุบันด้วย เพราะเป็นช่วงที่ได้ประหยัดการใช้จ่าย งดการเที่ยวเตร่ อาหารผักก็ราคาถูกกว่า และสุดท้ายยังก่อให้เกิดความสามัคคี เพราะว่าผู้ที่ร่วมกินเจไม่ว่าคนร่ำรวยหรือคนจนจะไปร่วมในพิธีกันอย่างพร้อมเพรียงด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม ทักทายกันด้วยดี ด้วยเหตุนี้จำนวนผู้ที่เข้าร่วมกินผัก อย่างเช่น ในจังหวัดพังงาจึงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทุกปี อันแสดงให้เห็นว่าประเพณีกินผักจะคงอยู่สืบทอดต่อไปอีกนาน

    พิธีกรรม การประกอบพิธีกรรมกินผัก ก่อนพิธี ๑ วัน จะมีการทำความสะอาดศาลเจ้า รมกำยานไม้หอม และมีการยกเสาธงไว้หน้าศาลเจ้า สำหรับอันเชิญดวงวิญญาณของเจ้า เที่ยงคืนก็ประกอบพิธีอัญเชิญยกอ๋องฮ่องเต้ (พระอิศวร) และกิ๋วอ๋องไตเต หรือกิวอ่องฮุดโจ้ว (ผู้เป็นใหญ่ทั้ง ๙) มาเป็นประธานในพิธี จากนั้นก็แขวนตะเกียงน้ำมัน ๙ ดวง อันเป็นสัญลักษณ์ของดวงวิญญาณกิ๋วอ๋องไตเต ไว้บนเสาธง อันเป็นการแสดงว่าพิธีกินผักเริ่มขึ้นแล้ว การใช้ตะเกียงน้ำมัน ๙ ดวง ก็เพื่อให้หมายถึงดวงวิญญาณของกิ๋วอ๋องไตเต หรือ เก้าอ๊วงไตเต คำว่า "เก้าอ๊วงไตเต" หรือกิ๋วอ๋อง แปลว่า นพราชา ตามตำราโหราศาสตร์จีน ก็หมายถึงดาวนพเคราะห์ โดยเชื่อกันว่าดาวเคราะห์ ๙ ดวงนี้ เกิดจากการแบ่งภาคของเทพเจ้า ๙ องค์ ซึ่งทรงอำนาจมาก บริหารธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุทอง เทพเจ้าทั้ง ๙ นี้ เกิดจากการแบ่งภาคของอดีตพระพุทธเจ้า ๗ องค์ กับพระมหาโพธิสัตว์อีก ๒ องค์ เทพเจ้าแห่งดาวนพเคราะห์นี้มีคุณแก่โลกมาก เพราะธาตุทั้งหลายที่พระองค์ประทานให้เป็นของจำเป็นในสรรพสังขาร์ หลังจากทำพิธีรับเจ้ามาเป็นประธานในศาลแล้วก็ทำพิธีวางกำลังทหารรักษาการตามทิศเรียกว่า พิธี "ปังเอี้ย" หรือ ปั้งกุ๊น" พิธีนี้จะใช้ธงสีต่าง ไปปักเป็นสัญลักษณ์การวางกำลังทหาร ถือเอาสมัยซ้องคือการวางกำลังทำทิศ ในช่วงเวลาทำพิธี ๙ วัน จะมีพิธีย่อย ๆ หลายอย่างได้แก่ ๑. พิธีบูชาเจ้า ในวันแรกของพิธีจะมีการบูชาเจ้าด้วยเครื่องเซ่น และตามบ้านของผู้กินผัก เมื่อกินผักได้ครบ ๓ วัน จะถือว่าผู้นั้นสะอาดบริสุทธิ์ หรือที่เรียกว่า "เช้ง" ตอนนี้จะมีการทำพิธีเชิญเจ้า ๒ องค์ มาร่วมพิธี องค์แรกเป็นเจ้าซึ่งทำหน้าที่สำรวจผู้มาเกิดชื่อ "ล้ำเต้า" อีกองค์เป็นเจ้าซึ่งทำหน้าที่สำรวจผู้ตายไปชื่อ "ปักเต้า" ๒. พิธีโขกุ้น หมายถึงการเลี้ยงทหาร ซึงทำพิธีในวัน ๓ ค่ำ ๖ ค่ำ และ ๙ ค่ำ หลังเที่ยงเมื่อเริ่มพิธีต้องมีการเตรียมอาหาร และเหล้าสำหรับเซ่นสังเวย เลี้ยงทหารและมีหญ้าหรือพวกถั่ว เพื่อเป็นอาหารของม้า หรือเมื่อเสร็จพิธีแล้วตอนกลางคืนจะเรียกตรวจพลทหารตามทิศเรียกว่า "เซี่ยมเมี้ย" ๓. พิธีซ้องเก็ง เป็นการสวดมนต์โดยจะเริ่มทำการสวดมนต์ตั้งแต่เมื่อพระกิวอ๋องไตเต หนือกิวอ๋องฮุดโจ้วเข้ามาประทับในโรงพระ และจัดทำพิธีสวดวันละ ๒ ครั้ง ในตอนเช้าและตอนย่ำค่ำ เป็นลักษณะการสวดมนต์เช้า และสวดมนต์เย็น โดยเฉพาะกลางคืน หลังจากสวดมนต์ซึ่งใช้บทสวดคือ ปักเต้าเก็ง ก็จะมีการ "ตักซ้อ" คืออ่านรายชื่อของผู้ที่เข้าร่วมกินเจ ซึ่งอ่านต่อหน้าแท่นบูชา เป็นลักษณะการเบิกตัวเข้าเฝ้า ๔. พิธีบูชาดาว จะทำในคืนวัน ๗ ค่ำ เพื่อขอให้ช่วยคุ้มครองผู้กินผัก ๕. พระออกเที่ยว หรือการแห่เจ้า เป็นการออกเพื่อโปรดสัตว์ออกเยี่ยมประชาชนเคารพนับถือ โดยจะมีขบวนธงและป้ายชื่อแห่นำหน้า จากนั้นก็จะเป็นการเกี้ยวหามพระเรียกว่า "ถ้วยเปี๊ย" โดยจะหามรูปพระบูชาต่าง ๆ ออกนั่งเกี้ยวไป ซึ่งจะจัดตามชั้น และยศของพระ เช่น จากสิญูขึ้นไปก็เป็นง่วนโส่ย สูงไปอีกก็เป็นไต่เต้ สูงขึ้นไปเป็นฮุด จากนั้นจะเป็นขบวนเกี้ยวใหญ่ ซึ่งมักจะใช้คน ๘ คน และมีฉัตรจีนกั้นไปด้วย จะเป็นที่ประทับของกิวอ๋องฮุดโจ้ว ในขณะที่ขบวนแห่ผ่านไป ชาวบ้านจะตั้งโต๊ะบูชาหน้าบ้าน และจุดประทัดต้อนรับขบวนเมื่อผ่านไปถึง ๖. การลุยไฟ กองไฟถือว่าเป็นกองไฟศักดิ์สิทธิ์ ในแง่ความศักดิ์สิทธิ์เป็นการแสดงถึงอิทธิฤทธิ์ที่บังคับไฟไม่ให้ร้อนหรืออาจจะถือว่าเป็นไฟทิพย์ ใช้ชำระความสกปรกของร่างกายให้บริสุทธิ์โดยลุยทั้งคนทรงเจ้าที่กำลังประทับทรง หรือประชาชนโดยทั่วไปก็ได้ ๗. พิธีส่งพระ ทำในวันสุดท้ายของการถือศีลกินผัก โดยตอนกลางวันจะมีการส่งเทวดา มักจะส่งกันที่หน้าเสาธง ส่วนตอนกลางคืนจะมีการส่งพระกิวอ๋องฮุดโจ้วกลับสวรรค์ โดยส่งกลับทางทะเล เมื่อขบวนส่งออกพ้นประตู ไฟทุกดวงในโรงพระต้องดับสนิทหมดแล้ว ตะเกียงที่เสาธงจะถูกดึงขึ้นสูงสุดตอนเช้าของวันแรก หลังจากเสร็จงานกินผักจะมีการลงเสาธง และเรียกกำลังทหารกลับ หลังจากที่เลี้ยงทหารเสร็จแล้ว จากนั้นก็เปิดประตูใหญ่ เมื่อได้ฤกษ์เปิดตามวันในปฏิทิน หรือตามที่เจ้าสั่งไว้ ตำนานการกินเจ ตำนานที่มาของการกินเจ มีเรื่องเล่าอยู่ถึง 7 เรื่องได้แก่ ตำนานที่ 1 รำลึกถึงวีรชนทั้ง 9 เทศกาลกินเจเริ่มขึ้นเมื่อ 400 กว่าปีที่แล้ว โดยชาวจีนกินเจเป็นการบำเพ็ญกุศลเพื่อรำลึกถึงวีรชน 9 คน ซึ่งเรียกว่า “หงี่หั่วท้วง” ซึ่งได้ต่อสู้กับชาวแมนจูผู้รุกรานอย่างกล้าหาญ ถึงแม้จะแพ้และต้องตายก็ตาม ดังนั้นเมื่อถึงวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 9 ชาวจีนที่ยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของชาวแมนจู จึงพากันนุ่งขาวห่มขาว ถือศีลกินเจ เพื่อรำลึกถึงเหล่านักสู้ “หงี่หั่วท้วง” ที่ได้ต่อสู้พลีชีพในครั้งนั้น เพราะเชื่อว่าการปฏิบัติเช่นนี้จะช่วยชำระจิตวิญญาณเกิดความเข้มแข็งทางร่างกายและจิตใจ ตำนานที่ 2 บูชาพระพุทธเจ้า เชื่อว่า เป็นการประกอบพิธีกรรมเพื่อสักการะบูชาพระพุทธเจ้าในอดีตกาล 7 พระองค์ และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ รวมเป็น 9 พระองค์ด้วยกัน หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า “ดาวนพเคราะห์” ทั้ง 9 ได้แก่ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์ พระราหู และพระเกตุ ในพิธีกรรมบูชานี้ สาธุชนในพระพุทธศาสนาจะสละเวลาทางโลกมาบำเพ็ญศีล งดเว้นเนื้อสัตว์ และแต่งกายด้วยชุดขาว ตำนานที่ 3 เก้าอ๊องฝ่ายมหายาน กล่าวไว้ว่า การกินเจเป็นพิธีปฏิบัติที่สืบต่อกันมาของชาวจีนในประเทศไทย เพื่อสักการบูชาพระพุทธเจ้าในอดีตกาล 7 พระองค์ ดังมีในพระสูตร ปั๊กเต๊าโก๋ว ฮุดเชียวไจเอียงชั่วเมียวเกง กล่าวไว้คือ พระวิชัยโลกมนจรพุทธะ พระศรีรัตนโลกประภาโมษอิศวรพุทธะ พระเวปุลลรัตนโลกวรรณสิทธิพุทธะ พระอโศกโลกวิชัยมงคลพุทธะ พระวิสุทธิอาศรมโลกเวปุลลปรัชญาวิภาคพุทธะ พระธรรมมติธรรมสาครจรโลกมโนพุทธะ พระเวปุลลจันทรโภคไภสัชชไวฑูรย์พุทธะ และพระมหาโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ คือพระศรีสุขโลกปัทมอรรถอลังการโพธิสัตว์และพระศรีเวปุลกสังสารโลกสุขอิศวรโพธิสัตว์ รวมเป็น 9 พระองค์ (หรือ “เก้าอ๊อง”)ทรงตั้งปณิธานจักโปรดสัตว์โลก จึงได้แบ่งกายมาเป็นเทพเจ้า 9 พระองค์ด้วยกันคือ ไต้อวยเอี๊ยงเม้งทัมหลังไทแชกุน ไต้เจียกอิมเจ็งกื้อมึ้งงวนแชกุน ไต้กวนจิงหยิ้งลุกช้งเจงแชกุน ไต้ฮั่งเฮี่ยงเม้งม่งเคียกนิวแชกุน ไต้ปิ๊กตังง้วนเนี้ยบเจงกังแชกุน ไต้โพ้วปั๊กเก๊กบู๊เอียกกี่แชกุน ไต้เพียวเทียนกวนพัวกุงกวนแชกุน ไต้ตั่งเม้งงั่วคูแชกุน ฮุ้ยกวงไตเพียกแชกุน เทพเจ้าทั้ง 9 พระองค์ ทรงอำนาจตบะอันเรืองฤทธิ์บริหารธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และทอง ทั่วทุกพิภพน้อยใหญ่สารทิศ ตำนานที่ 4 พิธีบูชาเพื่อระลึกถึงราชวงศ์ซ้อง เชื่อว่า การกินเจกินเจเป็นการบูชากษัตริย์เป๊ง กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์ซ้องซึ่งสิ้นพระชนม์โดยทรงทำอัตวินิบาตกรรม (การฆ่าตัวตาย) ในขณะที่เสด็จไต้หวันโดยทางเรือ เมื่อมีพระชนนมายุได้ 9 พรรษา พิธีบูชาเพื่อระลึกถึงราชวงศ์ซ้องนี้ มีแต่เฉพาะในมณฑลฮกเกี้ยนซึ่ง เป็นดินแดนผืนสุดท้ายของราชวงศ์ซ้องเท่านั้น โดยชาวฮกเกี้ยนได้จัดทำพิธีดังกล่าวนี้ขึ้นด้วยการอาศัยศาสนาบังหน้าการเมือง ประเพณีนี้เข้ามาสู่เมืองไทยโดยชาวจีนแต้จิ๋วที่อพยพจากฮกเกี้ยนนำมาเผยแผ่อีกทอดหนึ่ง ตำนานที่ 5 เล่าเอี๋ย เมื่อ 1,500 ปีก่อน ณ มณฑลกังไสซึ่งเป็นแ

     

    150 155

    13. สาธิตอาหารโดยใช่พืชผักสมุนไพร

    วันที่ 25 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดหาวัตถุดิบ พืชผักสมุนไพร

    2. จัดหาอุปกรณ์เพื่อการสาธิต

    3. จัดหาปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 2 คน

    4. เชิญชวนประชาชนมาร่วมกันทำอาหารด้วยพืชผักสมุนไพร

    5. ทำอธิบายสาธิตก่อนทำอาหาร

    6. พักรับประทานอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การทำกิจกรรมครั้งนี้ ได้วางแผนและตกลงกันไว้ว่า ทำการสาธิตทำอาหารด้วยพืชผักสมุนไพรคือ ข้าวยำ

    • ประโยชน์จากข้าวยำคือ ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาลยอดอ่อนใบอ่อนและดอกรับแระทานเป็นผักออกยอดมากในช่วงฤดูฝนมีจำหน่ายใน ตลาดสดของท้องถิ่นการปรุงอาหารคนโบราณใช้น้ำคั้นจากเถาและใบของกะพังโหมมาผสมปรุงเป็นขนม ขี้หนูทำให้ขนมขี้หนูเป็นสีเขียวชาวเหนือ,ชาวอีสานและชาวใต้รับประทานยอดอ่อนและใบอ่อนเป็นผักสด ร่วมกับน้ำพริกชาวอีสานรับประทานร่วมกับลาบก้อยชาวใต้นำไปฃอยละอียดเป็นผักที่ใช้ผสมปรุงเป็นข้าว ยำส่วนดอกมีการรับประทานสดเป็นผักในบางท้องที่แต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก

    สูตรการทำข้าวยำนั้นไม่ยากเกินไป สามารถนำไปสร้างรายได้ สูตรข้าวยำสมุนไพร (ข้าวยำ)

    ส่วนผสม 1.ข้าวสวย

    2.หัวหอมแดง+กระเทียม+พริก

    3.มะพร้าว

    4.กุ้งแห้ง

    5.กะปิ

    6.พืชผัก+มะกรูด+ตะไคร้+ใบพาโหม

    7.พริกไทยดำ+แตงกวา+สัปปะรด+ดอกอันชัญ

    วิธีทำ 1.เตรียมข้าวสวย

    2.นำพริกกับกระเทียบและหัวหอมแดงมาคั่วให้มีกลิ่นหอม

    3.นำข้าวสวยและสิ่งที่คั่วมาผสมให้เข้ากัน

    4.นำผักชนิดต่างๆที่ล้างแล้วมาหั่นเป็นชิ้นพอดี

    5.นำส่วนผสมมาคลุกคล้าให้เข้ากัน

    6.จากนั้นนำมาใส่จานแล้วรับประทานได้เลย นำผักมากินคู่กันได้เลย.

    อาหารสมุนไพรมีประโยชน์ต่อร่างกาย

     

    150 152

    14. สืบทอดด้านวัฒนธรรมไทย เช่นประเพณีเดิอนสิบไทย และ ประเพณีสงกรานต์

    วันที่ 5 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดหาสถานที่ เพื่อ เรียนรู้วัฒนธรรมไทย

    2. จัดทำแผ่นเอกสารเพื่อนำเสนอ

    3. จัดหาวิทยากรเพื่อทำการสอนชี้แจงเกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีของไทย

    4. ประชาสัมพันธ์ให้เด็กและเยาวชนมาเข้าร่วมเรียนรู้เกี่ยวกับประเพณีไทย

    5. เริ่มทำกิจกรรม เวลา 09.00 ถึง 16.00 น

    6.รับประทานอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประชาชนให้ความสนใจเกี่ยวกับประเพณีไทย วันสาทเดือนสิบ และวันสงกรานต์ ซึ่งเด็กและเยาวชนเหล่านี้จะได้รู้ถึงที่มาที่ไปของประเพณีต่างๆ การทำกิจกรรมนี้ทำให้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างมาก
      ประเพณีสารทไทย ประวัติความเป็นมา วันสารทไทย ตรงกับวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นเทศกาลทำบุญเดือน 10 ของไทย ซึ่งเป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ สารทเป็นคำที่มาจากภาษาอินเดีย แปลว่า ฤดู ซึ่งฤดูสารทนี้เป็นฤดูที่ต้นไม้เริ่มออกผล เมื่อถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวผู้ที่ต้องการให้พืชพันธุ์ธัญญาหารของตนเจริญงอกงามดี ก็ได้นำพืชพันธุ์เหล่านั้นไปถวายสิ่งที่ตนนับถือ ซึ่งประเทศต่างๆ นั้นก็นิยมทำเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว ในประเทศไทยประเพณีการทำบุญวันสารทเป็นพิธีกรรมที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเนื่องจากศาสนาพราหมณ์เผยแพร่เข้ามาในประเทศไทย คนไทยจึงรับประเพณีนี้มาจากศาสนาพราหมณ์ด้วย
      ทำบุญสารทมิได้มีปรากฏแต่ในศาสนาพราหมณ์เท่านั้น การทำบุญสารทเพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่พืชพันธ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ในศาสนาพุทธนั้นก็มีปรากฏในหนังสือพระธรรมบทเล่มหนึ่งพอสรุปใจความได้ดังนี้
      เมื่อพระพุทธวิปัสสนาสี่ ได้เกิดขึ้นในโลก มีพี่น้องสองคนชื่อ มหากาลเป็นพี่ และจุลกาลเป็นน้องทำการเกษตรกรรมร่วมกันปลูกข้าวสาลีบนที่ผืนเดียวกัน จุลกาลนั้นเห็นว่าข้าวสาลีที่กำลังท้องนั้นมีรสหวานอร่อย เห็นว่าควรนำข้าวนั้นไปถวายแด่พระสงฆ์ จึงนำความไปปรึกษากับมหากาลพี่ชาย แต่มหากาลไม่เห็นด้วยเนื่องจากไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อน อีกทั้งก็ไม่เห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น แต่จุบกาลมีความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะนำข้าวไปถวายแด่พระภิกษุ มหากาลจึงแบ่งที่ดินออกเป็น ๒ ส่วน ของตนส่วนหนึ่งและของจุลกาลส่วนหนึ่ง ซึ่งจะนำข้าวส่วนนั้นไปใช้กิจอันใดก็ได้ จุลกาลจึงนำเมล็ดข้าวที่กำลังตั้งท้องมาผ่านำเมล็ดข้าวต้มกับน้านมสด ใส่เนยใส น้ำผึ้ง น้ำตาลทรายกรวด เมื่อเสร็จแล้วจึงนำไปถวายแด่พระสงฆ์ เมื่อถวายภัตตาหารเหล่านี้แด่พระสงฆ์ จุลกาลได้ทูลความปรารถนาของตนกับพระพุทธเจ้าว่า "ด้วยศัพภาสลีทานนี้จงเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าบรรลุธรรมวิเศษก่อนชนทั้งปวง" เมื่อจุลกาลเสร็จธุระจากการถวายภัตตาหารแด่ภิกษุจึงกลับไปดูนาของตนก็พบว่าข้าวสาลีในนานั้นมีความเจริญงอกงามสมบูรณ์เป็นอย่างมากต่อมาเมื่อข้าวสาลีเจริญขึ้นจนเป็นข้าวเม่า จุลกาลก็นำไปถวายพระสงฆ์อีก และได้ทำต่อมาอีกหลายครั้ง คือเมื่อเก็บเกี่ยวข้าว เมื่อทำเขน็ด เมื่อทำฟ่อน เมื่อขนไว้ในลาน เมื่อนวดข้าว เมื่อรวมเมล็ดข้าว เมื่อขนขึ้นฉาง รวมทั้งหมด ๙ ครั้งแต่ข้าวในนาของจุลกาลกลับอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้นมิได้ขาดหายไป ต่อมาจุลกาลได้มาเกิดเป็นพระอัญญาโกณฑัญญะ เมื่อพระพุทธเจ้าทรงประกาศศาสนาด้วยผลบุญแห่งการถวายข้าวแด่พระสงฆ์ท่านอัญญาโกณฑัญญะจึงเป็นบุคคลแรกที่สำเร็จมรรคผลบรรลุธรรมวิเศษก่อนคนทั้งปวงตามที่ได้ปรารถนาไว้ในแต่ชาติจุลกาล การทำบุญสารทนั้นมิได้สำคัญว่ามาจากศาสนาใด เพียงแต่เป็นการทำบุญเพื่อส่งเสริมขวัญกำลังใจแก่เกษตรกรผู้ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร เพื่อให้พืชพันธุ์มีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นไป อีกทั้งการทำบุญมิใช่เรื่องเสียหายหรือแปลกประหลาดแต่ประการใด ด้วยเหตุนี้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงนิยมทำบุญทำทานอยู่เป็นนิจ มิได้ถือวันใดเป็นพิเศษ แต่การทำบุญสารทนั้นด้วยเหตุว่าเป็นฤดูกาลแห่งการเก็บเกี่ยว จึงถือโอกาสทำบุญทำทานให้เป็นของขวัญแก่ไร่นาของตนเท่านั้น ต่อมาประเพณีสารทได้เปลี่ยนความเชื่อถือไปตามกาลเวลาและความเชื่อตามท้องถิ่นของตน บางแห่งเชื่อว่าเป็นการทำบุญเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว บางแห่งก็เป็นประเพณีการทำบุญเนื่องจากว่างจากภารกิจไร่นาจึงถือโอกาสทำบุญครั้งใหญ่เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว เป็นต้น
      พิธีของประชาชนในประเพณีเกี่ยวกับการทำบุญเนื่องในวันสารท ไทย ซึ่งกำหนดไว้เป็นที่แน่นอนว่า วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ดังกล่าว ) การทำบุญของชาวไทยภาคใต้ดังกล่าวนี้มีชื่อเรียกเป็นหลายอย่าง เช่น ๑. ประเพณีทำบุญเดือนสิบ โดยกำหนดเอาเดือนทำบุญเป็นหลัก ๒. ประเพณีทำบุญวันสารท โดยถือหลักของการทำบุญที่มีความ สัมพันธ์กับอินเดีย เหมือนวันสารทไทยของคนไทยในภาคกลาง ดังกล่าวมาแล้ว บางครั้งก็เรียกว่า ประเพณีทำบุญสารทหรือเดือนสิบ ๓.ประเพณีทำบุญตายายหรือประเพณีรับส่งตายาย โดยถือคติ ว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้วกลับมาเยี่ยมลูกหลานในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และกลับนรกตามเดิมในวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ แต่มีบางแห่งถือว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้วเหล่านี้เป็นตายาย เมื่อท่านมาก็ทำบุญรับ เมื่อท่าน กลับก็ส่งกลับ จึงเรียกประเพณีดังกล่าวนี้ว่า ทำบุญตายาย

    ความเชื่อ วันสารท เป็นวันที่ถือเป็นคติและเชื่อสืบกันมาว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้วจะมีโอกาสได้กลับมารับส่วนบุญจากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น จึงมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติในวันนี้และเชื่อว่า หากทำบุญในวันนี้ไปให้ญาติแล้วญาติจะได้รับส่วนบุญได้เต็มที่และมีโอกาสหมดหนี้กรรม และได้ไปเกิดหรือมีความสุข อีกประการหนึ่งสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ทำนาเป็นอาชีพหลักในช่วงเดือน 10 นี้ ได้ปักดำข้าวกล้าลงในนาหมดแล้ว กำลังงอกงาม และรอเก็บเกี่ยวเมื่อสุก จึงมีเวลาว่างพอที่จะทำบุญเพื่อเลี้ยงตอบแทน และขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือแม่พระโพสพ หรือผีไร่ ผีนา ที่ช่วยรักษาข้าวกล้าในนาให้เจริญงอกงามดี และออกรวงจนสุกให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตมาก ช่วงเวลา

    การปฏิบัติ ก่อนวันงาน ชาวบ้านจะทำขนมที่เรียกว่า กระยาสารท และขนมอื่น ๆ แล้วแต่ความนิยมของแต่ละท้องถิ่นในวันงาน ชาวบ้ายจัดแจงนำข้าวปลา อาหาร และข้าวกระยาสารทไปทำบุญตักบาตรที่วัดประจำหมู่บ้านทายก ทายิกา ไปถือศีล เข้าวัด ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลนำข้าวกระยาสารท หรือขนมอื่นไปฝากซึ่งกันและกันยังบ้านใกล้เรือนเคียง หรือหมู่ญาติมิตรที่อยู่บ้านไกลหรือถามข่าวคราวเยี่ยมเยือนกัน บางท้องถิ่นทำขนมสำหรับบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แม่พระโพสพ ผีนา ผีไร่ด้วย เมื่อถวายพระสงฆ์เสร็จแล้วก็นำไปบูชาตามไร่นา โดยวางตามกิ่งไม้ต้นไม้ หรือที่จัดไว้เพื่อการนั้นโดยเฉพาะ

    กิจกรรมในวันสารท วิธีปฏิบัติในการทำบุญวันสารทจะมีความแตกต่างกันออกไป แล้วแต่หมู่บ้าน ชุมชน และขนบธรรมเนียมประเพณีตามภูมิภาคต่างๆ ควรยอมรับว่าแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน และปฏิบัติตามแต่ละท้องถิ่นจะนิยม การทำบุญวันสารท ควรถือเป็นการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ญาติสนิทมิตรสหายทั้งที่ล่วงลับไปแล้วและยังมี ชีวิตอยู่เพราะเป็นช่วงที่ว่างจากการทำนาบ้างหรือไม่เร่งรัดเหมือนกับช่วงปักดำ หรือช่วงเก็บเกี่ยว การไปวัดฟังธรรมในอดีต มักเป็นเรื่องของคนเฒ่าคนแก่เป็นส่วนใหญ่ในวันเช่นนี้ควรส่งเสริมให้เด็ก เยาวชนและคนหนุ่มสาว ไปวัดทำบุญและรักษาศีลให้มากขึ้น เพราะเป็นวัยที่ยังมีพลังที่จะเป็นหลักต่อไปในอนาคต และเป็นช่วงเวลาที่ไม่เร่งรัดงานมากนัก พระสงฆ์ควรเป็นกำลังสำคัญในการเผยแพร่ประเพณีวันสารทให้ประชาชนเข้าใจและรู้ซึ้งถึงวัตถุประสงค์ที่แท้จริง เพื่อส่งเสริมให้สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ควรส่งเสริมฟื้นฟูประเพณีวันสารท ให้มีการปฏิบัติกันอย่างกว้างขวางในหมู่คนไทยทุกกลุ่ม เพื่อเป็นที่รู้จักและแพร่หลายต่อไป

    ผลที่ได้จากประเพณี - เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบรรพชนผู้มีพระคุณได้แสดงความเอื้อเฟื้อให้แก่เพื่อนบ้าน เป็นกาผูกมิตรไมตรีกันไว้ - เป็นการแสดงความเคารพ และอปจายนธรรมแก่ผู้หลักผู้ใหญ่ - เป็นการกระทำจิตใจของตนให้สะอาดหมดจดไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งความโลภ ขจัดความตระหนี่ได้ - เป็นการบำรุงหรือจรรโลงพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป

    เทศกาลสงกรานต์ ประวัติ ประเพณีสงกรานต์ ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณ ตกอยู่ในวันที่ 13,14,15 เมษายนของทุกปี วันสงกรานต์จะเป็นวันที่ 13 วันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เป็นวันเนา วันที่ 15 เป็นวันเถลิงศก ซึ่งเป็นระยะเวลาเข้าฤดูรัอนที่เสร็จจากการเก็บเกี่ยวข้าว จึงว่างจากงานประจำ ประชาชนจะจัดให้มีกิจกรรมที่ถือเป็นปฏิบัติเป็นกิจกรรมของชุมชน แสดงออกถึงความพร้อมเพรียงในการตระเตรียมทำความสะอาดบ้านเรือน วัด ความพร้อมใจกันทำบุญให้ทาน เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญุกตเวทีต่อบรรพบุรุษและบุพการี การสรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ การเล่นรื่นเริง เช่น การเล่นพื้นบ้าน พื้นเมืองต่างๆ และสิ่งที่เป็นการเล่นซึ่งแสดงออกถึงเอกลักษณ์ของเทศกาลนี้คือ การเล่นสาดน้ำของหนุ่มสาวและเด็กด้วยน้ำใจไมตรี สภาพการณ์ดังกล่าวนี้ นำไปสู่ความเกื้อกูล ผูกพัน ด้วยสายใยของวัฒนธรรมที่เป็นมรดกเก่าแก่ของไทยเรา ความหมายของ สงกรานต์ "สงกรานต์" เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่าผ่านหรือเคลื่อนย้ายเข้าไปหมายถึงเวลาที่ ดวงอาทิตย์เคลื่อนจากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่งทุกๆ เดือนยกเว้นเมื่อย้ายจากราศีมีนสู่ราศีเมษจะเรียกชื่อพิเศษว่า "มหาสงกรานต์"เพราะเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามความเชื่อของอินเดียฝ่ายเหนือไทย รับคติความเชื่อเกี่ยวกับวันขึ้นปีใหม่นี้มาใช้เช่นกัน แต่จะเรียกว่า "สงกรานต์" เท่านั้น สงกรานต์ : วันขึ้นปีใหม่ การกำหนดวันขึ้นปีใหม่แต่เดิมของไทยใช้วิธีนับทางจันทรคติดังนั้นแต่ละปีจะไม่ตรงกัน จนลุถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้กำหนดให้ วันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๒ และได้เปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง ในปี พ.ศ.๒๔๘๔ โดยกำหนดวันขึ้นปีใหม่ ตรงกับวันที่ ๑ มกราคม ตามหลักสากล กำหนดวันสงกรานต์ กำหนดวันสงกรานต์มี ๓ วัน คือวันที่ ๑๓ - ๑๔ - ๑๕ เมษายน ของทุกปี มีชื่อเรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันเนา และวันเลิงศก ตามลำดับในแต่ละภูมิภาค มีชื่อเรียกวันดังกล่าวและมีพิธีกรรมแตกต่างกันตามคติความเชื่อของแต่ละท้องถิ่น

    ในวันสงกรานต์ มีประเพณีที่นิยมถือปฏิบัติกัน ดังนี้
    ก่อนวันสงกรานต์ เป็นวันทำความสะอาดบ้านเรือน ชำระล้างสถานที่ สิ่งของเครื่องใช้ ทุกอย่างให้สะอาดหมดจด เพื่อจะได้ต้อนรับปีใหม่ด้วยความแจ่มใสเบิกบานและ ตระเตรียมข้าวของไว้สำหรับทำบุญ
    วันสงกรานต์ มีพิธีทำบุญตักบาตรก่อเจดีย์ทราย ปล่อยนกปล่อยปลา บังสุกุลอัฐิ สรงน้ำพระพุทธรูป สรงน้ำพระสงฆ์ รดน้ำผู้ใหญ่ การสาดน้ำ และการเล่นรื่นเริง คำทำนายวันสงกรานต์ เมื่อถึงวันสงกรานต์คนไทยสมัยก่อนสนใจที่จะรู้ชื่อนางสงกรานต์พาหนะทรงกำหนดวันมหาสงกรานต์เพราะคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมซึ่งจำเป็นต้องพึ่งพาน้ำฝนจากธรรมชาติคำทำนายต่างๆ เป็นการเตรียมพร้อม ในการที่จะต้องเผชิญกับภาวะต่างๆ เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ ผลิตผลและการทำมาหากินทั่วไป

     

    150 151

    15. ค่ายภาพถ่ายกิจกรรม (เหมาจ่ายทั้งโครงการ)

    วันที่ 5 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ถ่ายภาพทั้งโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รูปภาพในการทำกิจกรรมต่างๆ

     

    250 250

    16. ประชุมการจัดการด้านการตลาดจำหน่ายสินค้าจากการผลิต

    วันที่ 10 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.จัดหาสถานที่ เพือ ทำการอธิบายเกี่ยวกับหลักการตลาด

    2.ทำเอกสารเพื่อการบรรยาเกี่ยวกับสินค้าที่ผลิตเพื่อการจำหน่าย

    3.จัดหาวิทยากรทำการบรรยายเพื่อชี้แจงถึงการนำสินค้าสู่ตลาด

    4.ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและเยาวชนได้รับทราบเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม

    5.เริ่มทำกิจกรรม เวลา 09.00 น ถึง 16.00 น

    6.รับประทานอาหารกลางวัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การจัดกิจกรรมครั้งนี้ประชาชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างมาก
    • ประชาชนมีความสนใจในเรื่องการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายสู่ตลาด
    • เป็นการเปิดทางในการสร้างรายได้ให้ประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจ
    • ทำให้เกิดการสร้างรายได้
    • การตั้งเป้าหมายทำให้คนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีแนวคิดและการพัฒนาทักษะตัวเองมากขึ้น
    • กิจกรรมมีผลต่อประชาชน ซึ่งกระตุ้นให้มีแนวคิดต่างๆ
    • ทำให้มองหาตราสินค้าให้มีความแปลกใหม่สวยงามและยึดวัฒธรรมในท้องถิ่น
    • มีของรางวัลเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจต่อผู้เข้าแข่งขัน

     

    25 25

    17. ประกวดการจัดทำตราผลิตภัณฑ์

    วันที่ 30 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00-16.00น น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้สมัครร่วมมือช่วยกันวาดตราผลิตภัณฑ์เพื่อนำมาประกวด

    • ทำการโหวตตราผลิตภัณฑ์ที่ประชาชนร่วมกันวาดมาหนึ่งตราผลิตภัณฑ์ ประชาชน

    • มอบรางวัลให้แก่ผู้ชนะในการประกวดตราผลิตภัณฑ์ จำนวน 2000 บาท

    *ช่วงเช้า การส่งตราผลิตภัณฑ์ของการส่งเข้าประกวดโดยการตัดสินใจจากคณะกรรมการและ ประชาชมผู้เข้าร่วมงาน

    *ช่วงกลางวัน พักรับประทานอาหาร เครื่องดื่ม

    *ช่วงบ่าย การประกาศผู้ชนะการประกวดตราผลิตภัณฑ์และการรับรางวัลจากคณะกรรมการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การจัดทำการโครงการประกวดจัดทำตราผลิตภัณฑ์ เพื่อส่งเสริมและยกระดับความคิด การพัฒนาไอเดียที่แปลกใหม่ ชุมชนราษฎร์บำรุง 222/1 ถ.ราษฎร์บำรุง ต.ตะกั่วป่า จ.พังงา
    • จากหลักการประชุมของแกนนำในการจัดกิจกรรมโครงการครั้งนี้ขึ้นโดยมีผู้เข้าร่วมสมัครการประกวดจัดทำตราผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 กลุ่ม
    • โดยกำหนดการทำตรานั้นต้องนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง และมีการเผยแพร่การส่งเสริม การสร้างรายได้ แก่ผู้ผลิตได้

     

    25 25

    18. เวทีถอดบทเรียนจากปราชญ์ชาวบ้าน

    วันที่ 3 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ลงทะเบียน

    2.รับเอกสารประกอบข้อมูล

    3.การประชุมชี้แจงและลงความเห็น

    4.พักรับประทานอาหาร

    5.ทำกิจกรรมที่กำหนดในหัวข้อเรื่องหลักสูตรลดหวานมันเค็ม

    6.จบกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมประชุม มีความสนใจและตั้งใจในการรับฟัง และยังมีการเสนอแนวคิดใหม่ๆ ของแต่ละบุคคลทำให้บรรยากาศในการประชุมมีแต่ความสุข ทุกคนเป็นกันเองและให้ความร่วมมือกับโครงการนี้อย่างมากและสนับสนุนเป็นอย่างดี ทำให้เกิดหลากหลายแนวคิด จากการทำการปฏิบัติและอบรมมา ทำให้ผู้ที่ได้รับความรู้จากสิ่งที่ทางทีมงานตั้งเป้าหมายไว้ ผู้เข้าทำกิจกกรมมีเป้าหมานสานต่อ งานและ มีแนวคิดพัฒนาให้มีรายได้ในชีวิตประจำวัน

     

    30 30

    19. การอบรมการทำขนมพื้นบ้าน ขนมจีบไส้สังขยา

    วันที่ 17 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เตรียมพร้อมสถานที่ การทำขนม

    2. จัดทำเอกสารขั้นตอนการทำขนมจีบไส้สังขยา

    3. จัดหาวิทยากร

    4. จัดหาอุปกรณ์ เครื่องสำหรับเรียนการทำขนม

    5. เชิญชวน ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนรับทราบและมาเข้ากิจกรรม

    6. เริ่มทำกิจกรรมเวลา 09.00น.-16.00น.

    7. จัดเลี้ยงอาหาร เช้า-เที่ยง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. จัดเตรียมสถานพร้อมเพื่อดำเนินกิจกรรมการสอนทำขนมไส้สังขยา
    2. จัดหาคนสำหรับพิมพ์เอกสารเพื่อชี้แจงและให้ความรู้แกประชาชน
    3. วิทยากรที่มีความรู้เกี่ยวกับการสอนทำขนมจีบไส้สังขยา จำนวน 2 คน คือ 1. นางศรีประภา 2. นาง ชนิดา รวบรัตน์
    4. จัดหาอุปกรณ์เพื่อสาธิต เช่น แป้งสาลี น้ำตาล มะพร้าว ไข่ ใบเตย และอุปกรณ์ต่างๆ
      สูตรการทำขนมจีบไส้สังขยา ส่วนผสมของแป้งมีดังนี้
    5. แป้ง 3 กิโลกรัม 4.น้ำมัน 1 กิโลกรัม
    6. น้ำ 1.2 กิโลกรัม 5.น้ำตาล 1 ขีด
    7. เกลือ 2 ช้อนชา ส่วนผสมของไส้มีดังนี้
    8. ไข่ 25 ลูก 4.น้ำกะทิ 2 กิโลกรัม
    9. น้ำตาล 1.5 กิโลกรัม 5.เกลือ 1 ช้อนชา
    10. ใบเตยสด (พอประมาณ) วิธีทำไส้สังขยา
    11. นำมาหั่นเป็นท่อนๆ แล้วนำไปปั่น ใส่กะทิลงไป แล้วปั่นให้เข้ากัน กรองเอากากใบเตยออก
    12. ตอกใส่ไข่ใส่ลงไป แล้วปั่นให้เข้ากัน เติมน้ำตาลและเกลือตามที่กำหนด
    13. จากนั้นเทลงไปในกระทะ ตั้งไฟปานกลาง แล้วกวนไปทางเดียวกันจนได้ที่ แล้วปิดไฟ วิธีทำตัวแป้ง แป้งชั้นนอก เทแป้งลงในถาดหรือภาชนะ ทำแป้งให้เป็นบ่อ เทน้ำตาล เกลือ น้ำและน้ำมันลงไปในบ่อที่ทำไว้ นวดแป้งให้เข้ากัน จากนั้นพักแป้งไว้ แป้งชั้นใน นำแป้งอีกส่วนหนึ่งมาเทลงบนถาดหรือภาชนะเทน้ำมันลงบนแป้งนวดแป้งให้เข้ากัน เมื่อเราทำแป้งชั้นนอกและชั้นในเสร็จแล้ว ก็มาเริ่มขั้นตอนต่อไป
    14. นำแป้งชั้นนอกมาแบ่งเป็นก้อนๆ ก้อนละประมาณ 100 กรัม และแป้งชั้นในก้อนละประมาณ 50 กรัม
    15. ทำแป้งชั้นนอกให้เป็นแบนๆ นำแป้งชั้นในมาใส่ในแป้งชั้นนอก จากนั้นก็ห่อแป้งเข้าด้วยกันเป็นก้อนๆ
    16. จากนั้นพักแป้งไว้สักพัก นำแป้งมากลิ้ง โดยใช้ไม้ลูกกลิ้ง กลิ้งแผ่ให้เป็นแผ่นยาวๆ แล้วม้วนแป้งให้เป็นม้วนๆ
    17. นำกรรไกรมาตัดแป้งที่ม้วนไว้เป็นท่อนๆให้เท่าๆกันประมาณท่อนละ 1 นิ้ว
    18. แล้วกลิ้งแป้งให้เป็นแผ่นๆแบน ใส่ไส้สังขยาที่ทำเตรียมไว้ มาใส่ลงบนแป้งที่กลิ้งแล้ว
    19. พับครึ่งแป้งเพื่อที่จะจีบกลีบจีบกลีบให้รอบเพื่อไม่ให้ไส้สังขยาไหลออกมานอกตัวแป้ง แล้ววางลงบนถาด
    20. เมื่อเต็มถาดแล้ว นำเข้าเตาอบ ประมาณ 20 นาที นำไข่มาตีให้เข้ากัน เพื่อที่จะนำมาทาหน้าขนม
    21. นำขนมออกมาจากเตาอบ แล้วทาหน้าขนมด้วยไข่ที่เตรียมไว้ เพื่อให้ขนมดีสีน่ากิน
    22. จากนั้นนำเข้าเตาอบอีกรอบ อบต่อประมาณ 20 นาที
    23. พออบเสร็จแล้ว นำออกจากเตาอบ ตั้งไว้ให้หายร้อน บรรจุในถุงที่เตรียมไว้

    24. ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม การเรียนทำขนมจีบ

    25. ประชาชนให้ความร่วมมือดีมากมีความกระตื้อรือรนในการทำกิจกรรมประชาชนในชุมชนรู้จักกันมากขึ้นและสามัคคีเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

     

    100 102

    20. การอบรมการทำขนมพื้นบ้าน ขนมไข่ปลางาดำ

    วันที่ 17 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เตรียมพร้อมสถานที่ การทำขนม

    2. จัดทำเอกสารขั้นตอนการทำขนมไข่ปลางาดำ

    3. จัดหาวิทยากร

    4. จัดหาอุปกรณ์ เครื่องสำหรับเรียนการทำขนม

    5. เชิญชวน ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนรับทราบและมาเข้ากิจกรรม

    6. เริ่มทำกิจกรรมเวลา 09.00น.-16.00น.

    7. จัดเลี้ยงอาหาร เช้า-เที่ยง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.จัดเตรียมสถานพร้อมเพื่อดำเนินกิจกรรมการสอนขนมไข่ปลางาดำ

    2.จัดหาคนสำหรับพิมพ์เอกสารเพื่อชี้แจงและให้ความรู้แก่ประชาชน

    3.วิทยากรที่มีความรู้เกี่ยวกับการสอนทำขนมจีบไส้สังขยา จำนวน 2 คน คือ 1. นาง ชนิดา รวบรัตน์ 2. นาง. มณี ปลอดเหตุ

    4.จัดหาอุปกรณ์เพื่อสาธิต เช่น แป้งสาลี น้ำตาล มะพร้าว ไข่ ใบเตย และอุปกรณ์ต่างๆ

    สูตรขนมไข่ปลางาดำ

    ส่วนผสมมีดังนี้ 1. แป้ง 5.งาดำ

    1. ไข่ 6.น้ำมัน

    2. น้ำตาล 7.เกลือป่น

    3. เนยเหลือง 8.เม็ดมะม่วงหินมะพาน

    วิธีทำ 1. นำแป้งเทลงไปในภาชนะที่เตรียมไว้

    1. ใส่น้ำมันและไข่ลงไป แล้วคนให้เข้ากัน นวดจนได้ที่

    2. เติมเกลือป่นลงไป

    3. ใส่เนยเหลืองที่เตรียมไว้ลงไปแล้วนวดให้เข้ากันอีกครั้ง

    4. จากนั้นใส่น้ำตาลและงาดำลงไป นวดจนเข้ากัน

    5. ตักใส่แม่พิมพ์ที่เตรียมไว้ แล้วแต่งหน้าด้วยเม็ดมะม่วงหินมะพาน

    6. ทาหน้าด้วยไข่ที่ตีไว้นำขนมเข้าเตาอบ

    7. รอจนสุก จากนั้นนำออกจากเตาอบ แล้วตั้งไว้ พอหายร้อน ก็บรรจุใส่ถุง

     

    100 255

    21. ค่าจัดทำรายงาน ส่ง สสส.

    วันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รายงานความก้าวหน้าโครงการ งวดละ 1 ชุด
    • รายงานฉบับสมบรูณ์เมื่อปิดโครงการ 1 ชุด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดทำรายงานได้ครบถ้วน ประกอบไปด้วย

    1.รายงานความก้าวหน้าโครงการ
    2.รายงานฉบับสมบรูณ์เมื่อปิดโครงการ

     

    250 250

    22. กิจกรรมคืนข้อมูลสู่ชุมชน

    วันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เริ่มประชุม
    2. พักรับประทานอาหารกลางวัน
    3. สรุปกิจกรรม
    4. ปิดการประชุม คืนข้อมูลสู่ชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้กิจกรรมดีๆ จาก สสส.ครั้งสุดท้ายของโครงการนี้ เป็นไปอย่างเรียบร้อยดี

     

    100 200

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 ประชาชนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมีการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นการเสริมสร้างให้มีสุขภาพจิตที่ดี มีการรวมกลุ่มในการสร้างงาน สร้างอาชีพ ดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
    ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1.ร้อยละของครัวเรือนที่ประชาชนมีเวลาว่างเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่า 80 ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ - เพื่อให้สมาชิกในชุมชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น - เพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในแนวเศรษรฐกิจพอเพียง - ให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและวิธีใช่เพื่อสุขภาพในชีวิตประจำวัน - เพื่อให้กลุ่มผู้สูงอายุและเยาวชนได้ใช่เวลาว่างให่เป็นประโยชน์ - เพื่อสนับสนุนส่งเสริมให้สามาชิกในชุมชนผู้สูงอายุเยาวชนมีความรักความสามัคคี ปรองดองสมานฉันท์ต่อกัน

    ร้อยละ 80 ครัวเรือน จำนวน 150 ครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ เข้าร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพ เรียนรู้หลักสูตรลดหวานมันเค็ม เรียนรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียง เกิดความสามัคคีปรองดองในชุมชน

    2 มีการอนุรักษ์สืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีคนไทยเชื้อสายจีน ให้สืบสานไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน
    ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ - จำนวนหลักสูตรของวัฒนธรรมประเพณีคนไทยเชื้อสายจีนที่มีการอนุรักษ์และมีการถ่ายทอดสู่ชุมชนจำนวน 3หลักสูตร - จำนวนหลักสูตรของวัฒนธรรมประเพณีไทยที่มีการอนุรักษ์และมีการถ่ายทอดสู่ชุมชนจำนวน 2 หลักสูตร

    เกิดหลักสูตรของวัฒนธรรมประเพณีคนไทยเชื้อสายจีนที่มีการอนุรักษ์และมีการถ่ายทอดสู่ชุมชนจำนวน 3หลักสูตร และเกิดหลักสูตรของวัฒนธรรมประเพณีไทยที่มีการอนุรักษ์และมีการถ่ายทอดสู่ชุมชนจำนวน 2 หลักสูตร

    3 เพื่อติดตามสนับสนุนจาก สสส สจรส และพี่เลี้ยง
    ตัวชี้วัด : 1. รายงานผลการดำเนินงานโครงการ 2. รายงานการเงิน

    สามารถดำเนินงานโครงการส่งผลดำเนินงานกิจกรรมและเอกสารทางการเงิน

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประชาชนในชุมชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมีการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ มีคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นการเสริมสร้างให้มีสุขภาพจิตที่ดี มีการรวมกลุ่มในการสร้างงาน สร้างอาชีพ ดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง (2) มีการอนุรักษ์สืบสานขนบธรรมเนียมประเพณีคนไทยเชื้อสายจีน ให้สืบสานไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน (3) เพื่อติดตามสนับสนุนจาก สสส สจรส และพี่เลี้ยง

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ พัฒนาชุมชนราษฏร์บำรุงแบบเศรษฐกิจพอเพียง

    รหัสโครงการ 57-02545 รหัสสัญญา 58-00-0103 ระยะเวลาโครงการ 16 ตุลาคม 2557 - 15 พฤศจิกายน 2558

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    องค์ความรู้จากการถอดบทเรียนและได้สรุปไว้เป็นบทเรียน

    บทสรุปที่ได้จากการถอดบทเรียน และมีการเผยแพร่ให้กลุ่มที่สนใจ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    โดยการดำเนินการแบบมีส่วนร่วม เช่น การถอดบทเรียนจากปราชญ์การสาธิตในการทำขนมพื้นบ้านซึ่งเป็นภูมิปัญญาจากบรรพบุรุษที่มีการสืบทอดมาจากประเทศจีนรวมทั้งประเพณีของชาวไทยเชื้อสายจีน หรือประเพณีไทย ไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ต่อไป

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    การสาธิตวิธีการในการทำอาหารจากผักพื้นบ้าน (ข้าวยำ)ขนมต่างๆ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    -การปรุงอาหารที่ลด หวาน มัน เค็ม -การบริโภคผักที่ปลอดสารพิษ -การรับประทานอาหารพื้นบ้าน เช่น ข้าวยำ เป็นต้น

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    การดื่มน้ำสมุนไพรที่ผลิตจากสมุนไพรในท้องถิ่น

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    เกิดระบบการจัดการด้านการตลาดจำหน่ายสินค้าจากการผลิต และประกวดการจัดทำตราผลิตภัณฑ์ เป็นการเปิดทางในการสร้างรายได้ให้ประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจ ทำให้เกิดการสร้างรายได้

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    มีการถอดบทเรียนจากปราชญ์ชาวบ้าน ที่เป็นผู้รู้ในด้าน ประเพณีไทยเชื้อสายจีน เช่น พิธีไหว้บรรพบุรุษ พิธีกินเจส่วนในด้านอาหาร มีการถอดบทเรียนในด้าน ข้าวยำ ขนมต่างๆ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    มีการถ่ายทอดความรู้จากปราชญ์สู่ชุมชน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    ได้ทำการสำรวจข้อมูลของชุมชน และมีการสรุปข้อมูลเป็นกลุ่มอายุต่างๆซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะมีประโยชน์ในการนำมาใช้ประกอบการจัดทำแผนของชุมชนทำให้กลุ่มเป้าหมายมีความชัดเจนขึ้นการแก้ปัญหาได้ตรงกับความต้องการของประชาชนและชุมชน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

    การสาธิตทำอาหารด้วยพืชผักสมุนไพรคือ ข้าวยำ • ประโยชน์จากข้าวยำคือ ส่วนที่เป็นผัก/ฤดูกาลยอดอ่อนใบอ่อนและดอกรับแระทานเป็นผักออกยอดมากในช่วงฤดูฝนมีจำหน่ายใน ตลาดสดของท้องถิ่นการปรุงอาหารคนโบราณใช้น้ำคั้นจากเถาและใบของกะพังโหมมาผสมปรุงเป็นขนม ขี้หนูทำให้ขนมขี้หนูเป็นสีเขียวชาวเหนือ,ชาวอีสานและชาวใต้รับประทานยอดอ่อนและใบอ่อนเป็นผักสด
    กิจกรรม

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    -การได้ให้ความรู้แก่ชุมชนการที่ได้สอนให้ผู้ที่ไม่รู้ได้เรียนรู้ทำให้ความรุ้เหล่านี้ไม่สูญหายไปจากชุมชน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    -การใช้ชิวิตโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง เช่น การใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้านในการประกอบอาหารซึ่งนอกจากมีประโยชน์ต่อร่างกายแล้ว เป็นการประหยัด และได้บริโภคผักปลอดสารพิษด้วย

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    พัฒนาชุมชนราษฏร์บำรุงแบบเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัด พังงา

    รหัสโครงการ 57-02545

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางศรีประภา ดอกไม้ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด