directions_run

บ้านนาปริก สุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ตามแนวทางวิถีพอเพียง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ บ้านนาปริก สุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ตามแนวทางวิถีพอเพียง ”

บ้านนาปริก หมู่ที่ 9 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน

หัวหน้าโครงการ
นายก็หลัด บินหมาน

ชื่อโครงการ บ้านนาปริก สุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ตามแนวทางวิถีพอเพียง

ที่อยู่ บ้านนาปริก หมู่ที่ 9 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 57-02547 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0101

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 ตุลาคม 2557 ถึง 15 พฤศจิกายน 2558


กิตติกรรมประกาศ

"บ้านนาปริก สุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ตามแนวทางวิถีพอเพียง จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านนาปริก หมู่ที่ 9 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
บ้านนาปริก สุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ตามแนวทางวิถีพอเพียง



บทคัดย่อ

โครงการ " บ้านนาปริก สุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ตามแนวทางวิถีพอเพียง " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านนาปริก หมู่ที่ 9 ตำบลควนโดน อำเภอควนโดน รหัสโครงการ 57-02547 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 ตุลาคม 2557 - 15 พฤศจิกายน 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 212,375.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 425 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อพัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูล และกลไกของชุมชนในการบริหารเพื่อชุมชนน่าอยู่และการพึ่งตนเองยั่งยืน
  2. เพื่อส่งเสริมชุมชนให้มีการวางแผนการแก้ไขปัญหา (ด้านพฤติกรรมสุขภาพ การบริโภค การออกกำลังกาย (ด้านเศรษฐกิจ) การเพิ่มรายได้ และมีวินัยในการออม
  3. 3. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนของชุมชนในการร่วมกันแก้ไขปัญหา 3.1 ด้านพฤติกรรมสุขภาพ การบริโภค การออกกำลังกาย 3.2 ด้านเศรษฐกิจ สร้างงานภายในชุมชน ส่งเสริมความรู้ ฝึกอบรม การทำบัญชีครัวเรือน เศรษฐกิจพอเพียง
  4. ติดตามสรุป สนับสนุน จาก สสส. สจรส. และพี่เลี้ยง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศน์โครงการ กับ สจรส.มอ และ สสส พร้อมกับพี่เลี้ยงโครงการ

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง
    • กระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล
    • การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์
    • การป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ
    • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง ดังนี้
      • ใบลงทะเบียนต้องมีรายชื่อผู้ร่วมกิจกรรม
      • บันทึกการประชุม วาระการประชุม เอกสารประกอบการประชุมพร้อมภาพถ่ายกิจกรรม
      • กรณีมีค่าอาหาร ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงินหรือใบบิลเงินสด (ถ้าเกิน 5000 บาท ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนทุกครั้ง)
      • กรณีจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ (ค่าวัสดุ คือ ค่าใช้จ่ายเพื่อวัสดุสิ้นเปลืองในการทำกิจกรรม ได้แก่ วัสดุเครื่องเขียน วัสดุสำนักงาน วัสดุโฆษณาและเผยแพร่) ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงิน/บิลเงินสด โดยออกจากร้านมีชื่อที่อยู่ของร้านชัดเจน มีเลขกำกับภาษี/เลขบัตรประชาชน ของเจ้าของร้าน บิลออกในนามโครงการของพื้นที่ตนเอง
      • ค่าใช้สอย ได้แก่ ค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าถ่ายเอกสาร ค่าอาหารและเครื่องดื่ม
      • ค่าตอบแทน ได้แก่ ค่าตอบแทนวิทยากร กรณีเป็นรายชั่วโมง ต้องมีความรู้ความชำนาญ กรณีเป็นปราญชชาวบ้าน หรือ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. คิดเป็นรายชั่วโมง 600 บาท,กรณีเป็นคนต่างพื้นที่ สามารถเบิกได้ 1000 บาท/วัน
      • ใบสำคัญรับเงินจะต้องไม่มีรอยลบ รอยขูดหรือรอยขีดเขียน **ห้ามใช้ใบส่งของแทนบิลเงินสดหรือใบสำคัญรับเงิน
    2. รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะต้องมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย มากกว่า หรือเท่ากับ 5-10 % ของเป้าหมายที่วางไว้
    3. รับรู้การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์
      • ทุกกิจกรรมจะต้องมีการบันทึกรายละเอียดกิจกรรมและรายละเอียดทางการเงิน ในเว็ปไซต์ www.happynetwork.org
    4. สามารถรับรู้ถึงกระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ
    5. การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ • การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

     

    2 2

    2. ทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการในหมู่บ้าน

    วันที่ 9 ธันวาคม 2557 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายและประชาสัมพันธ์ในมัสยิด เพื่อชี้แจงรายละเอียดโครงการให้คนในชุมชนรับทราบ และจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ บ้านนาปริก สุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ตามแนวทางวิถีพอเพียง จำนวน 1 ป้าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ป้ายโครงการเพื่อประชาสัมพันธืให้คนในชุมชนได้รับทราบได้อย่างทั่วถึง ร้อยละ 80 รับทราบข้อมูลข่าวสาร จำนวน 340 คน

     

    340 340

    3. ทำป้ายเขตปลอดบุหรี่(สสส)

    วันที่ 10 ธันวาคม 2557 เวลา 15:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการออกแบบ ป้ายปลอดบุหรี่ให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนดของ สสส ให้ร้านดำเนินการให้ตามแบบ นำป้ายมาติดในการทำกิจกรรมและสถานที่ศูนย์รวมของชุมชน มีป้ายเขตปลอดบุหรี่ จำนวน 1 ป้าย ตามเกณฑ์ที่ สสส กำหนด จัดทำป้ายปลอดบุหรี่ จำนวน 1 ป้าย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีสถานที่ และป้ายปลอดบุหรี่เพื่อเป็นเชิงสัญลักษณ์ในชุมชน

     

    100 2

    4. เปิดตัวโครงการแก่ชุมชน/ประชุมคณะกรรมการโครงการ

    วันที่ 13 ธันวาคม 2557 เวลา 08:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.การเตรียมการ 2.การดำเนินการ 3.สรุปและติดตามประเมินผล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.การเตรียมการ :
    -ทำหนังสือเชิญเข้าร่วมเวทีประชาคมเพื่อเปิดตัวโครงการ -ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรม งบประมาณในแต่ละกิจกรรม
    2.การดำเนินการ : - จัดเวทีประชาคมเพื่อเปิดตัวโครงการ ณ ศาลาเอนกประสงค์มัสยิดฟัตหุเราะห์มาน เริ่มเวลา 13.00 น. ลงทะเบียน โดย เครือข่ายบัณฑิตอาสา เวลา 14.00 น. -เวทีประชาคม โดยท่านผู้ใหญ่บ้าน (นายหยัน โต๊ะประดู่)
    -ผู้รับผิดชอบโครงการ(คุณก้หลัด บินหมาน)แนะนำคณะกรรมการทีมทำงานทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ แนะนำพี่เลี่ยง(คุณธิดา เหมือนพะวงศ์) ชี้แจงรายละเอียด ปฏิทินการดำเนินงานต่อ ใน 23 กิจกรรมหลัก และกิจกรรมย่อย รวมถึงชี้แจงงบประมาณ ที่ได้รับการจัดสรรให้ชุมชนได้รับทราบในแต่ละงวด
    -พี่เลี้ยง(คุณธิดา เหมือนพะวงศ์)ในการพูดคุย/ข้อซักถามเพิ่มเติม และสรุปถึง นโยบาย แนวทางการดำเนินงานของ สสส และประชาสัมพันธ์ การดำเนินงาน วัตถุประสงค์ การสนับสนุนในโครงการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ฯ เพื่อให้ ชุมชนได้ทราบขั้นตอน การขอรับการสนับสนุน และสรุปกิจกรรมโดยภาพรวมของโครงการ หมู่ที่ 9 บ้านนาปริก ขอความร่วมมือชุมชนในการเข้าร่วมกิจกรรม พร้อมทั้งเสริมสร้างกำลังใจให้กับทีมงาน ที่มีจิตอาสาในการทำงานพัฒนาชุมชน
    -ทางผู้ใหญ่บ้าน และหัวหน้าโครงการ ได้เปิดโอกาส ข้อซักถาม ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากชุมชน
    3. เกิดคณะทำงานสุขภาพ 1 ชุด จำนวน 20 คน ประกอบด้วย ผู้ใหญ่ สมาชิกอบต. แกนนำชุมชน ผู้นำศาสนา อสม. บัณทิตอาสา เด็กและเยาวชน  และแบ่งหน้าที่โครงสร้างการทำงาน
    -ผู้นำศาสนา(นายเจ๊ะอิสมาแอน ปะดุกา) กล่าวปิดท้าย สรุป

     

    20 110

    5. ประชุุมเชิงปฏิบัติการ/สร้างทีม

    วันที่ 26 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00-16.30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.การเตรียมการ :  ทำหนังสือเชิญคณะกรรมการทีมเก็บข้อมูลเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ 2.การดำเนินการ :ประชุมทีมงานเก็บข้อมูลเพื่อวิเคาระห์ปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชนจำนวน 2 วัน  เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ทีมเก็บข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.การเตรียมการ :
    - ทำหนังสือเชิญคณะกรรมการทีมเก็บข้อมูลเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ - ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรม งบประมาณโครงการ และวางแผนการทำงานในไตรมาศแรกเพื่อขับเคลืื่อนงานให้เกิดประสิทธิภาพ

    2.การดำเนินการ : -ประชุมเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการทีมเก็บข้อมูล ณ ศาลาเอนกประสงค์มัสยิดฟัตหุเราะห์มาน เริ่มเวลา 09.00 น. ลงทะเบียน

    -ผู้ใหญ่บ้าน(นายหยัน โต๊ะประดู่) กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม และชี้แจงการทำโครงการ สสส ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่เหมือนโครงการที่หมู่บ้านเคยได้รับ เป็นโครงการที่ชัดเจน สามารถตรวจสอบได้และเข้าไปดุูข้อมูลความก้าวหน้าของโครงการได้

    -ผู้รับผิดชอบโครงการ(คุณก็หลัด บินหมาน)แนะนำคณะกรรมการทีมเก็บข้อมูลโดยคัดเลือกจากตัวแทนแต่ละฝ่ายในชุมชนเพื่อการมีส่วนร่วมและครอบคลุมข้อมูลรอบด้าน แนะนำพี่เลี่ยง(คุณธิดา เหมือนพะวงศ์) อีกครั้ง ในการให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาอยู่เสมอ และหัวหน้าโครงการได้ให้กำลังใจแก่ทีมงานในการดำเนินกิจกรรมตามแผนปฏิทิน  และการใช้จ่ายเงินในแต่ละงวดของโครงการฯ รวมถึงการเสียสละในการทำงานร่วมกันในสังคม

    -เลขานุการฯ(นางสาวไหมยูรี บินหมาน)ชี้แจงการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนกิจกรรม และกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปทั้ง 4 กิจกรรมคือ การไปปฐมนิเทศโครงการ/การทำป้ายโครงการ/การประชุมเปิดตัวโครงการ และการประชุมเชิงปฏิบัติการ ที่กำลังดำเนินการแก่ทีมเก็บข้อมูล และการดำเนินการในครั้งนี้ได้ทีมงานที่ชัดเจนและมีศักยภาวึ่งได้รับคัดเลือกจากตัวแทนต่างๆทั้งนี้ได้ชี้แจงการเก็บข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน ในด้านความเป็นอยู่ สุขภาพ ครอบครัว รายได้ การศึกษา ตาม 30 ตัวชี้วัด(จปฐ.) ซึ่งทางสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอควนโดน ได้แต่งตั้งคณะจัดเก็บ จปฐ.จำนวน 5 คนคือนางหยำ บินหมาน นางสาวนุชไอนี เจะพร นางสาวสุปราณี โต๊ะประดู่ นางสาวณัฐกานต์ ปาละวันและนางสาวกฤษณา โต๊ะฝา โดยทุกคนได้รับการผ่านการจัดเก็บมาแล้วในการเป็นพี่เลี้ยงสอนน้องๆในการทำงานในการเก็บข้อมูล ในการสนับสนุนแบบสอบถามส่วนหนึ่งที่ใช้ในการเก็บข้อมูลในชุมชน และทีมเก็บข้อมูลได้วิเคราะห์และออกแบบเครื่องมือแบบสอบถามเป็นข้อเสนอแนะด้านสุขภาพของคนในชุมชน เพื่อซักถามเพื่อให้ได้ข้อมูลที่กระชับมากขึ้น

    -เหรัญญิก (นายสอหมาด มาลินี)ชี้แจงการใช้งบประมาณเพิ่มเติม และแนะนำเทคนิคในการสัมภาษณ์ ยอมรับความคิดเห็นจากผู้อื่น และต้องมีความอดทนให้มาก

    -อสม.ที่ได้รับการแต่งตั้งจากอำเภอในการจัดเก็บข้อมูล ได้อธิบายรูปแบบและการสอบถามข้อมูลในแต่ละตัวชี้วัด เพื่อความเข้าใจให้แก่ทีมเก็บข้อมูล และแบ่งหน้าที่การเก็บข้อมูลเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คนในการลงลงปฏิบัติงานในแต่ละโซนของหมู่บ้าน

    -เลขานุการฯได้อธิบายแบบสัมภาษณ์ให้แก่ทีมเก็บข้อมูลอีกครั้ง เพื่อการลงพื้นที่เก็บข้อมูลปฏิบัติจริง

     

    20 20

    6. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ สสส

    วันที่ 19 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้กลุ่มเป้าหมายทีมงานเก็บข้อมุลในหมู่บ้าน จำนวน 20 คน เพื่อจัดทำเสื้อ สสส ประชาสัมพันธ์ให้แก่ทีมเก็บข้อมูลในการทำงานในหมู่บ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    หากลุ่มเป้าหมายทีมงานเก็บข้อมุลในหมู่บ้าน โดยให้คณะกรรมการและอาสามัครประจำหมู่บ้าน(อสม)ที่จิตอาสาในการทำงานร่วมกับหมู่บ้านเป็นแกนนำ และนำเยาวชนที่ว่างงานและกำลังศึกษาที่ต้องการช่วยเหลือหมู่บ้านมาร่วมเป็นทีมงานเก็บข้อมูลชุมชน เพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูลจริง โดยจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์(เสื้อ)ให้แก่ทีมเก็บข้อมูล จำนวน 20 ตัว

     

    20 20

    7. ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย และประกาศในมัสยิด

    วันที่ 20 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการ สสส ที่ดำเนินการไปแล้ว และกำลังจะดำเนินกิจกรรมต่อไป ให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบและเข้าร่วมกิจกรรมของหมู่บ้านอย่างพร้อมเพรียงกัน พร้อมมีการทำหนังสือเชิญอีกคร้้งหนึ่งเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมตามกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นายเจ๊ะอิสมาแอน ปะดุกา ในฐานะผู้นำศาสนาและหนึ่งในคณะกรรมการ ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการตามเสียงตามสาย และประชาสัมพันธ์หลังละหมาด ในการดำเนินโครงการ สสส และกิจกรรมที่ประชาชนในหมู่บ้านจะได้รับและมีการประชาสัมพันธ์หลังละมาดวันศุกร์อีกครั้งหนึ่ง

     

    50 50

    8. เก็บข้อมูลในการลงพื้นที่ปฏิบัติจริง /และสังเคราะห์ข้อมูล

    วันที่ 24 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.แบ่งโซนการเก็บ มีการนัดทีมเก็บข้อมูลชุมชนเข้าร่วมประชุมเพื่อแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำงาน โดยแบ่งออกเป็น 5 โซน โดยแบ่งกลุ่มละ 3 คน(อสม.เยาวชน)โดยแต่ละกลุ่มจะมีประธานกลุ่มเพื่อรับผิดชอบอยู่แล้วและมี(ผู้ใหญ่บ้าน อบต ผู้นำชุมชน)เป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำในการทำงาน 2.นัดวันในการลงพื้นที่เก็บข้อมูล 3.ลงเก็บข้อมูล 4.นัดกันใหม่(ฝนตก) 5.นัดส่งข้อมูล โดยให้ประธานแต่ละกลุ่มรับผิดชอบในการมอบส่งงานให้แก่เลขานุการฯโครงการเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง 6.นำข้อมูลมาวิเคราะห์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.ในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลชุมชน เนื่องจากเป็นฤดูฝนทำให้เป็นอุปสรรคในการทำงาน ทำให้เกิดความล่าช้าในการทำงาน 2.ในการเก็บข้อมูล ยังขาดทักษะในการถามและการเก็บข้อมูล ทำให้บางโซนอาจได้ข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง
    3.บางครัวเรือนทำงานนอกบ้าน ทีมเก็บข้อมูลต้องหาเวลาเพื่อสนทนาหาข้อมูลครัวเรือนนั้นๆ

     

    20 20

    9. ทำเวทีประชุมประชาคมหมู่บ้าน (เวทีคืนข้อมูล)

    วันที่ 31 มกราคม 2558 เวลา 13:30 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ทำหนังสือเชิญทุกครัวเรือน (ลงนามโดยผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการฯ) 2.คณะกรรมการแบ่งงานกันแจกจ่ายหนังสือในแต่ละโซน 3.คณะการกรรมการแบ่งความรับผิดชอบและบทบาทของคณะกรรมการและการพูดคุยแลกเปลี่ยนกับชุมชน
    4.เลขานุการฯได้เตรียมข้อมูล ในการคืนข้อมูลให้ชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เวลา 13.30 น. คณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายทำหน้าที่รับลงทะเบียนผู้เข้าร่วมเวทีประชาคมหมู่บ้าน เมื่อที่ประชุมพร้อมทางคณะกรรมการผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน และขอขอบคุณที่ได้เสียสละมาร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน และแนะนำพี่เลี้ยงโครงการที่คอยให้คำแนะนำกับชุมชนตลอดมา(คุณธิดา เหมือนพะวงศ์) ทั้งนี้ผู้้รับผิดชอบโครงการ(นายก็หลัด บินหมาน)ได้เชิญผู้ใหญ่บ้าน(คุณหยัน โต๊ะประดู่)กล่าวเปิดประชุม ผู้ใหญ่บ้านได้คุยในโครงการที่หมู่บ้านได้รับการสนับสนุนจาก สสส.ซึ่งจะมีความแตกต่างจากงบประมาณที่หมู่บ้านเคยได้รับ ซึ่งโครงการจะมุ่งเน้นให้คนในชุมชนมีสุขภาวะดี ภายใต้กรอบเศรษฐกิจพอเพียง หลังจากนั้นคุณเจ๊ะอิสมาแอน ปะดุกา(ผู้นำศาสนา)พุูดคุยและให้โอวาทในด้านศาสนากับสุขภาพของคนในชุมชน ยกตัวอย่างคนเราหากร่างกายสมบูรณ์ การทำละหมาดก็สามารถก้ม ยืน นั่งได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ถ้าหากสุขภาพไม่ดี ก็ทำละหมาดได้ไม่เต็มที่และไม่สมบูรณ์แบบนั่นเอง ขอให้ทุกคนได้ตระหนักและหันมารักสุขภาพของตัวเอง ลูกหลานและคนรอบข้าง มีเงินมากมาย แต่สุขภาพแย่ก็ใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ และฝากปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชน ซึ่งจะทำให้เกิดผลเสียด้านสุขภาพตามมา หลังจากนั้นเลขานุการฯโครงการ(นางสาวไหมยูรี บินหมาน)ได้เปิดเวทีคืนข้อมูลให้ชุมชนในแต่ละด้านกิจกรรม โดยใช้โปรแกรม Power point เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่ชื่อโครงการ คณะกรรมการ วัตถุประสงค์โครงการ พร้อมชี้แจงกิจกรรรมและงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินในช่วง 7 กิจกรรมแรก โดยชี้แจงผลการดำเนินงานการเก็บข้อมูลชุมชน คืนข้อมูลสู่ชุมชนบ้านนาปริก ในเรื่องประชากรซึ่งจะใช้ข้อมูลจาก จปฐ. ซึ่งพบว่าประชากรของบ้านนาปริกส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน และประกอบอาชีพทำสวน และสภาพปัญหาของชุมชนบ้านนาปริกที่ต้องดำเนินการแก้ไขและพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยแบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ 1.ปัญหาด้านพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ซึ่งจากการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ปัญหาที่ชาวบ้าานาปริกคิดว่าเป็นปัญหาด้านสุขภาพ ได้แก่ โรคอ้วน(รอบเอวเกิน 59 คน)โรคความดันโลหิตสูง(จำนวน 15 คน)โรคเบาหวาน(จำนวน 13 คนและเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง142 คน)โรคปวดเมื่อยกล้ามเนื่อ จากการประกอบอาชีพ โรคหอบ และยาเสพติด และชุมชนบ้านนาปริก พบว่าจากปัญหาดังกล่าว ชาวบ้านนาปริกต้องการ/แนวทางในการแก้ไขปัญหาคือ 1.ให้คำแนะนำ/ความรู้/การตรวจสุขภาพแก่ชาวบ้านในด้านปัญกาสุขภาพ/การควบคุมอาหารและแนวทางป้องกันโรคเพื่อลดปัญหาที่ตามมา 2.สร้างสนามกีฬาที่ได้มาตรฐาน อาจต้องขอสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นเช่น อบต.3.ควบคุมอาหารการกิน(รณรงค์การลด หวาน มัน เค็ม)4.การปลูกผักไว้กินเอง ซึ่งครัวเรือนก็ทำกันบ้างแล้ว 5.ตั้งชมรมออกกำลังกายในหมู่บ้าน โดยทุกๆตอนเย็นมีการออกกำลังกาย เดิน วิ่ง ปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ โดยไม่ผิดต่อหลักศาสนาอิสลามและมีการทำกิจกรรมการอย่างต่อเนื่อง 2.ด้านสิ่งแวดล้อมจากการสำรวจของทีมเก็บข้อมูลนั้น บ้านเรือนถูกสุขลักษณะ ตามสุขาภิบาลเพียงพอ 3.ด้านเศรษฐกิจ ด้านรายได้ รายได้เฉลี่ยต่อคนตามเกณฑ์ จปฐ. 30,000 บาท/ปี/คน ถือว่าผ่านเกณฑ์ทุกครัวเรือนจาการสำรวจทั้งหมด 104 ครัวเรือน และทางผู้นำชุมชนได้สมทบทุนในการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์หมู่บ้านทั้งกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว และแผนการดำเนินการที่ต้องดำเนินการต่อไปเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการในแต่ละกิจกรรม สุดท้าย(คุณธิดา เหมือนพะวงศ์)พี่เลี้ยงโครงการได้พูดคุยและให้คำแนะนำด้านรายได้ โดยวิเคราะรายรับรายจ่ายเฉลี่ยของแต่ละครัวเรือนออกมาให้ชัดเจน และให้กำลังใจแก่คณะทำงานของหมู่บ้านที่มีความตั้งใจอยากให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลง ปิดประชุมเวลา 16.00 น.

     

    100 85

    10. นำข้อมูลที่ได้เข้าสู่การจัดฐานข้อมูลระบบสารสนเทศ

    วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. เก็บข้อมูล
    2. วิเคราะห์ข้อมูลสรุปปัญหา
    3. นำข้อมูลไปไว้ในฐานข้อมูลหมู่บ้านเพื่อทำแผนพัฒนาและจุดเรียนรู้ของคนในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากที่ทีมเก็บข้อมูลได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในหมู่บ้านนี้นั้น ได้รับทราบปัญหาต่างๆของชุมชน สามารถวิเคราะห์ปัญหาออกมาเป็น 3 ด้านได้แก่

    • ปัญหาด้านพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ซึ่งจากการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ปัญหาที่ชาวบ้าานาปริกคิดว่าเป็นปัญหาด้านสุขภาพ ได้แก่ โรคอ้วน(รอบเอวเกิน 59 คน)โรคความดันโลหิตสูง(จำนวน 15 คน)โรคเบาหวาน(จำนวน 13 คนและเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง142 คน)โรคปวดเมื่อยกล้ามเนื่อ จากการประกอบอาชีพ โรคหอบ และยาเสพติด และชุมชนบ้านนาปริก พบว่าจากปัญหาดังกล่าว ชาวบ้านนาปริกต้องการ/แนวทางในการแก้ไขปัญหาคือ
    1. ให้คำแนะนำ/ความรู้/การตรวจสุขภาพแก่ชาวบ้านในด้านปัญกาสุขภาพ/การควบคุมอาหารและแนวทางป้องกันโรคเพื่อลดปัญหาที่ตามมา
    2. สร้างสนามกีฬาที่ได้มาตรฐาน อาจต้องขอสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นเช่น อบต.
    3. ควบคุมอาหารการกิน(รณรงค์การลด หวาน มัน เค็ม)
    4. การปลูกผักไว้กินเอง ซึ่งครัวเรือนก็ทำกันบ้างแล้ว
    5. ตั้งชมรมออกกำลังกายในหมู่บ้าน โดยทุกๆตอนเย็นมีการออกกำลังกาย เดิน วิ่ง ปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ โดยไม่ผิดต่อหลักศาสนาอิสลามและมีการทำกิจกรรมการอย่างต่อเนื่อง
    • ด้านสิ่งแวดล้อมจากการสำรวจของทีมเก็บข้อมูลนั้น บ้านเรือนถูกสุขลักษณะ ตามสุขาภิบาลเพียงพอ
    • ด้านเศรษฐกิจ ด้านรายได้ รายได้เฉลี่ยต่อคนตามเกณฑ์ จปฐ. 30,000 บาท/ปี/คน ถือว่าผ่านเกณฑ์ทุกครัวเรือน และจากการทำเวทีคืนข้อมูลให้ชุมชนแล้วทางทีมเก็บข้อมูลได้มอบหมายให้เยาวชน และบัณฑิตอาสาฯซึ่งมีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์อยู่บ้างในการนำข้อมูลที่ได้เข้าสู่การจัดฐานข้อมูลระบบสารสนเทศในศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านนาปริก

     

    20 20

    11. จัดเวทีร่วมกันสร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน/ทำแผนชุมชน

    วันที่ 9 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.เชิญวิทยากรให้ความรู้ในการจัดทำแผน จำนวน 2 วัน 2.ให้ผู้เข้าประชุมทำแผน ได้แบ่งกลุ่มเพื่อวิเคราะห์ปัญหา 3.นำปัญหาที่ได้จากการวิเคราะห์มานำเสนอ และบรรจุไว้ในแผนพัฒนาหมู่บ้านและบูรณาการควบคู่กับแผนอของ อบต.ควนโดน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วันที่ 9 มีนาคม 2558 ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุมทำแผนเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน/ทำแผนชุมชน เมื่อที่ประชุมพร้อมผู้ใหญ่บ้าน (นายหยัน โต๊ะประดู่) กล่าวต้อนรับ คุณอธิธ์พล สารบัญ พัฒนาการอำเภอควนโดน จากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอควนโดน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จากรพ.สต.ควนโดน ซึ่งเป็นวิทยากรกระบวนการทำแผนให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมในวันนี้ และกล่าวต้อนรับที่ประชุม และให้ผู้รับผิดชอบโครงการ (นายก็หลัด บินหมาน)ได้พบปะพูดคุยและคุยในกิจกรรมที่ผ่านมาจนถึงกระบวนการทำแผนและแผนที่ต้องดำเนินต่อไปในอนาคตเพื่อทำความเข้าใจในการทำงานแก่คณะทำงาน เมื่อถึงเวลา ท่านวิทยากร(พัฒนาการอำเภอ)ก็มาพบปะผู้เข้าร่วมจัดทำแผนในวันนี้ ก่อนอื่นได้ให่กำลังใจในการทำงานแก่ทีมงานเพราะการทำงานต้องอดทน เสียสละ อย่าคิดว่าทำแล้วไม่มีอะไรดีขึ้น อยู่อย่างไรก็อย่างนั้น เพราะนั่นหมายถึงคุณยังไม่มีคำว่า "จิตอาสา" ทำงานอย่าท้อแท้ ผลมันไม่ได้ออกทันที แต่ผลมันจะออกมาเรื่อยๆ แต่เวลาจะเป็นตัวพิสูจน์ให้เห็นและให้มองกลับไปข้างหลังตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนับจากวันนั้นถึงวันนี้ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงมากมายแทบจะไม่มีอะไรหลงเหลืออยู่เลย ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้เรียกว่า การพัฒนาในทางที่ดีขึ้น ไม่ว่า ถนน บ้านเรือน แต่ในอดีตมีคนสุขภาพไม่ดี ขาดสารอาหารเยอะ แต่ความแตกต่างในยุคปัจจุบันคืออาหารมากมีให้เลือกเยอะเยอะ การขาดสารอาหารแทบจะไม่มี แต่ทำให้คนในปัจจุบันมีปัญหาเรื่่องโรคและสุขภาพ เพราะกินไม่เลือก ตามปาก ทำให้มีปัญหาด้านสุขภาพมากมาย ทางคณะกรรมการจึงมีความตั้งใจดีที่ได้ทำโครงการนี้เพราะคำนึงถึงสุขภาพของคนในชุมชนเปรียบเสมือนโครงการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)ต้องมุ่งมั่น และตั้งใจ ผลที่ตามมาชุมชนบ้านนาปริกต้องมีการเปลี่ยนแปลง คนนาปริกสุขภาพ กาย จิต และสิ่งแวดล้อมที่ดี ฉะนั้น ต้องทำให้บรรลุเป้าหมายในการทำโครงการนี้ให้ได้ หลังจากนั้นได้ให้ความรู้ในการให้ความสำคัญในการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อสอดคล้องในการแก้ปัญหาได้ตรงจุดของคนในชุมชนมากขึ้น อาจจะเป็นโครงการที่ชาวบ้านสามารถทำเองหรือต้องการขอสนับสนุนงบประมาณเพื่อทำร่วมกับภาครัฐ ซึ่งการบรรจุไว้ในแผนพัฒนาหมู่บ้านหรือแผนสามปี ของอบต.นั้นล้วนมีความสำคัญเพราะเป็นปัญหาที่ต้องมีการแก้ไขปัญหาร่วมกันทุกภาคส่วน และเป็นการแก้ปัญหาของชุมชนได้ตรงจุด และต่อมาท่านวิทยากร(เจ้าหน้าที่สาธารณสุข)ได้ให้ความรู้ด้านปัญหาสุขภาพของชุมชน จากที่ทีมเก็บข้อมูลได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลจากชาวบ้านมาแล้ว ให้ทางผู้ประชุมได้แบ่งกลุ่มและวิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน โดยจะมีการแบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่มเพื่อวิเคราะห์และเสนอปัญหาร่วมกัน โดยการระดมความคิด และเสนอปัญหาในด้านสุขภาพ ปัญหา สาเหตุ แนวทางแก้ไข และทำอย่างที่จะแก้ปัญหาเพื่อจัดทำเป็นแผนพัฒนาหมู่บ้าน โดยแต่ละกลุ่มได้เสนอแนวคิดในด้านต่างๆ โดยมีบัณฑิตอาสาฯร่วมเป็นพี่เลี้ยงกระบวนการกลุ่มในครั้งนี้ด้วย เพื่อเสนอในแผนพัฒนาหมู่บ้านควบคู่กับแผนหมู่บ้านของ อบต.ต่อไป และทางเลขานุการฯได้ขอขอบคุณท่านวิทยากรที่มาร่วมให้ความรู้ในการจัดแผนในครั้งนี้ด้วย วันที่ 10 มีนาคม 2558 เมื่อที่ประชุมพร้อม นายก็หลัด บินหมาน ดำเนินการและพูดคุยในการทำแผนที่ผ่านมา และได้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายแผน วิเคราะห์ นโยบายของอบต.ควนโดนได้เข้ามาทำแผนการพัฒนาหมู่บ้าน ประจำปี ๒๕๕๙และแผนสามปีของ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ตำบลควนโดน โดยทางชุมชนได้เสนอแผนในเรื่่องโครงสร้างพื้นฐาน ถนน และจากการทำแผนปัญหาด้านสุขภาพที่ผ่านมาได้มีการนำเสนอเพื่อบรรจุไว้ในแผน อบต.เช่่นกัน ไม่ว่าการสนับสนุนเครื่องออกกำลังกายในชุมชน สร้างสนามกีฬา อบรมเพิ่มความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ เป็นต้น ทำให้ผู้เข้ารับการเสนอแผนมีความพึงพอใจในการร่วมประชุมทำแผนในครั้งนี้ สุดท้ายนายเจ๊ะอิสมาแอน ปะดุกา ผู้นำศาสนา ได้ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมทำแผนและให้โอวาทในด้านศาสนากับการทำงานเสียสละเพื่อส่วนรวมมากขึ้น และปิดประชุม เวลา 15.30 น.

     

    20 20

    12. ติดตามความก้าวหน้าโครงการ ตรวจเอกสาร รายงานผลการดำเนินงาน และการเดินทางไปพบพี่เลียงในการตรวจเอกสาร

    วันที่ 25 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • การเดินทางไปพบพี่เลี้ยงเพื่อตรวจเอกสารภายในอำเภอควนโดน
    • คืนเงินเปิดบัญชีให้กับคณะกรรมการที่เปิดบัญชีโครงการ
    • นำเอกสารไปตรวจเอกสารทางการเงิน เพื่อปิดงวด 1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ตรวจเอกสารทางเงิน เพื่อปิดการรายงานการเงินงวด 1 โดยมีเจ้าหน้าที่ให้การแนะนำในการแยกหมวดหมู่ทางการเงินให้ถูกต้อง และการส่งรายงาน การทำใบปะหน้าในการตรวจเอกสารให้ง่ายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และรวมถึงการดำเนินแบบ ภาคีเครือข่าย ในการดำเนินโครงการเพื่อให้โครงการบรรลุเป้าหมายมากที่สุด

     

    2 2

    13. ค่าภาพถ่ายกิจกรรม

    วันที่ 30 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เพื่อรายงานภาพกิจกรรม แต่ละรายกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับผลการปฏิบัติจริง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดทำภาพถ่ายรายกิจกรรม เพื่อรายงานผลการดำเนินแต่ละกิจกรรมให้พี่เลี้ยงตรวจเอกสารตามผลการดำเนินการจริง

     

    2 2

    14. ประชุมปรับพฤติกรรมสุขภาพ เส้นทางสู่การลดโรค/ทำสมุดบันทึกน้ำหนัก

    วันที่ 8 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชุมคณะกรรมการหลัก 5 คน เพื่อปรึกษาและหารือแนวทางการดำเนินงาน
    2. ประชุมคณะกรรมการทั้ง 20 คน เพื่อกำหนดเป้าหมายในการทำกิจกรรมร่วมกันและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำงาน
    3. เชิญพี่เลี้ยงโครงการ และคณะทำงาน ร่วมปรึกษาและหาแนวทางทำงานที่เป็นภาคีเครือข่าย เข้าร่วมในการทำกิจกรรม
    4. ดำเนินกิจกรรมตามแผน
    5. สรุปผลการดำเนินกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ประชุมคณะกรรมการหลัก 5 คน ประกอบด้วย นายก็หลัด บินหมาน ผู้รับผิดชอบโครงการ นายหยัน โต๊ะประดู่ ผู้ใหญ่บ้าน นายเจ๊ะอิสมาแอน ปะดุกา ผู้นำศาสนา นายสอหมาด มาลินี ประธาน อสม. และนางสาวไหมยูรี บินหมาน บัณฑิตอาสาฯ โดยมีวาระการประชุมกำหนดทิศทางการดำเนินงาน ชี้แจงงบประมาณที่ทางคณะกรรมการได้เซ็นสัญญาร่วมในการทำโครงการ และประมวลผลกิจกรรมที่ผ่านมางวด 1 และกิจกรรมตามแผนที่หมู่บ้านต้องดำเนินต่อในงวด 2 ซึ่งผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงการโอนเงินจาก สสส.งวดที่ 2 ซึ่งทางหมุ่บ้านต้องดำเนินกิจกรรมไปตามปฎิทินท่ีชุมชนได้วางไว้ โดยจะมีกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงของบ้านนาปริก ซึ่งทางคณะกรรมการได้รับรายละเอียดและนัดทีมคณะทำงานเพื่อชี้แจงแผนการดำเนินงานในขั้นต่อไป
    2. ประชุมคณะทำงานทั้ง 20 คน ประกอบด้วยคุณธิดา เหมือนพะวงศ์ พี่เลี้ยงโครงการ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา สมาชิก อบต. อสม. บัณฑิตอาสาฯ เยาวชน และแกนนำกลุ่มสตรี โดยนายก็หลัด บินหมาน ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงรรายละเอียดโครงการ และอุปสรรคที่ต้องทำกิจกรรมล่าช้า เนื่องจากต้องรอการตรวจเอกสารอย่างละเอียดจาก สสส. และขอขอบคุณคณะกรรมการที่ให้ความร่วมมือในการทำงานตลอดมา ต่อด้วยนายเจ๊ะอิสมาแอน ปะดุกา ผู้นำศาสนา ได้กล่าวดุอาร์นำแก่คณะกรรมการและขอพรจากพระเจ้าให้คณะทำงานสามารถทำงานลุล่วงไปด้วยดี และให้โอวาทในการทำงานแก่คณะทำงานตามหลักศาสนาอิสลาม ต่อด้วยผู้ใหญ่บ้าน ได้ให้คำแนะนำในการทำงานร่วมกัน ต้องไว้ใจกัน ต้องเห็นใจกัน และต้องเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ต่อจากนั้นเลขานุการฯโครงการได้ชี้แจงแผนกิจกรรมที่ทางหมู่บ้านต้องดำเนินต่อ ซึ่งครั้งนี้จะมีการทำกิจกรรม 2 กิจกรรม ซึ่งใช้เวลาทั้งหมด 4 วัน โดยกิจกรรมในครั้งนี้จะมีกลุ่มเป้าหมายที่ทางคณะทำงานเคยสำรวจด้านสุขภาพอยู่แล้ว และอีกส่วนหนึ่งจะหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก รพ.สต.เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ และเชิญพี่เลี้ยงโครการพบปะพูดคุยกับคณะทำงานพร้อมให้คำแนะนำแก่คณะทำงานได้เป็นอย่างดี ซึ่งมตืที่ประชุมได้กำหนดการจัดกิจกรรม ในวันที่ 8-11 มิ.ย. 58 โดยสองวันแรก จะมีการให้คำแนะนำด้านสุขภาพและรูปแบบการออกกำลังกายและทำสมุดบันทึกสุขภาพ วันที่สาม เป็นการออกกำลังกายไม้พลองป้าบุญมี วันที่สี่ จะเป็นการทำเมนูชูสุขภาพ และเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม โดยทำเป็นบัตรเชิญ และหางบัตรสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมครบ 4 วัน ซึ่งรางวัลหางบัตร ทางคณะกรรมการและผู้นำชุมชนร่วมสมทบทุน ซึ่งทางคณะทำงานได้มีการแบ่งความรับผิดชอบออกเป็น 4 ฝ่าย คือ
    3. ฝ่ายอำนวยการ นายหยัน โต๊ะประดู่ นายเจ๊ะอิสมาแอน ปะดุกา นายสอหมาด มาลินี และนายก็หลัด บินหมาน
    4. ฝ่ายประชาสัมพันธ์ นายเจ๊ะอิสมาแอน ปะดุกา(ผู้นำศาสนา) นายอารุสมีน ปะดุกา (เยาวชน) นางหยำ บินหมาน มีการประชาสัพันธ์เสียงตามสาย และทำหนังสือเชิญเข้าร่วมกิจกรรม
    5. ฝ่ายธุรการ นางสาวไหมยูรี บินหมาน(บัณฑิตอาสาฯ)นางสาวสุวรรณา เจะพร นางสาวยุพา มาลินี นางสาวลีนา บินหมาน (เยาวชน)
    6. ฝ่ายปฏิคม อสม. และแกนนำกลุ่มสตรี
    7. ฝ่ายกิจกรรม นายอารวี มาลินี นายอารุสมีน ปะดุกา และนายณัฐพงศ์ รักฤทธิ์ แกนนำเยาวชน

    - การดำเนินกิจกรรมวันที่ 8 มิถุนายน 2558 เริมลงทะเบียนตั้งแต่ 08.30 - 09.00 น. เมื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรมพร้อม นายอารุสมีน ปะดุกา (แกนนำเยาวชน) ทำหน้าที่พิธีกร ได้พูดคุยและเชิญผู้เข้าร่วมประชุมเข้าห้องประชุม และเชิญนายก็หลัด บินหมาน ฐานะผู้รับผิดชอบโครงการได้พูดคุยวัตถุประสงค์ เป้าหมายโครงการ ให้ที่ประชุมได้รับทราบ หลังจากนั้นเชิญนายหยัน โต๊ะประดู่(ผู้ใหญ่บ้าน) ได้พบปะผู้เข้าร่วมประชุมและให้โอวาทแก่ผู้เข้าร่วมประชุม และเชิญนายเจ๊ะอิสมาแอน ปะดุกา(ผู้นำศาสนา) ได้ให้คำแนะนำด้านสุขภาพเบื้องต้น ตามหลักศาสนาอิสลาม และการออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพ ตามหลักศาสนาอิสลาม ดังคำกล่าว "สุขภาพดีไม่มีขาย อยากได้ต้องทำเอง" และยังกล่าวอีกว่า คนบ้านนาปริกโชคดี ที่มีโอกาสได้ทำกิจกรรมเหล่านี้เพราะสุขภาพต่อให้มีเงินล้าน สุขภาพไม่ดี ก็ทำอะไรไม่ได้ หลังจากนั้นทางพฺิธีกร หลังจากนั้นได้เชิญนางธิดา เหมือนพะวงศ์ (พี่เลี้ยงโครงการ) ได้ให้คำแนะนำ และให้กำลังใจคณะทำงานที่ีความตั้งใจได้นำโครงการดีๆมาสู่ชุมชนบ้านนาปริก และชื่นชมผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่เห็นความสำคัญเป็นโอกาสดีที่พี่น้องชาวบ้านนาปริก ได้ร่วมกิจกรรมเหล่านี้ และที่สำคัญสสุขภาพดีแล้ว ชุมชนยังได้มีความสามัคคี และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข หลังจากนั้นพิธีกร ได้ขอขอบคุณพี่เลี้ยงโครงการที่ให้คำแนะนำดีๆ แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้ และรับประทานอาหารร่วมกัน และชี้แจงกำหนดการช่วงบ่ายได้มีวิทยากรกระบวนการเข้าร่วม เมื่อถึงเวลาพิธีกรได้เชิญวิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขมาให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพและการดูแลสุขภาพด้วนตนเอง โดยเน้นการกินอาหารอารมณ์ และการออกกำลังกาย ให้ถูกวิธีโดยการดูแลสุขภาพปลูกผักไว้กินเองและการออกกำลังกายที่ถูกวิธี และมีการแนะนำการบันทึกคู่มือการดูแลสุขภาพตนเอง พร้อมคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเองซึ่งจะมีการลงบันทึกตั้งแต่วันแรกที่ได้รับคู่มือโดยการแนะนำจากท่านวิทยกากร โดยอธิบายการทำและลงรายละเอียดหลังจากนั้น(นางสาวไหมยูรีื บินหมาน)เลขานุการฯโครงการได้นัดแนะผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อเตรียมอุปกรณ์ในการทำน้ำสมุนไพรสาธิตจากคณะกรรมการโครงการ สสส. ในวันพรุ่งนี้และแจ้งกำหนดการเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมในวันดังกล่าว- การดำเนินกิจกรรมวันที่ 9 มิถุนายน 2558 เมื่อที่ประชุมพร้อม พิธีกรได้เชิญนายหยัน โต๊ะประดู่ (ผู้ใหญ่บ้าน) ในการพูดคุยและพบปะผู้ร่วมกิจกรรมในวันนี้และชื่นชมผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่ให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน และเชิญคุณธฺิดา เหมือนพะวงศ์ พี่เลี่ยงโครงการ พูดคุยกับผู้เข้าร่วมกิจกรรมและให้กำลังใจแก่คณะทำงาน หลังจากนั้นจะเป็นการสาธิตการทำน้ำสมุนไพรจากกลุ่ม อสม.ที่เป็นคณะกรรมโครงการฯโดยมอบหมายให้แต่ละกลุ่มทำน้ำสมุนไพร ได้แก่ น้ำกระเจี๊ยบ น้ำแมงลักผสมใบกาบหอย น้ำอัญชัญมะนาว ซึ่งล้วนเป็นน้ำสมุนไพรและสรรพคุณในการรักษาโรค ซึ่งจากการสาธิตนั้น วิทยากรได้ให้ความรู้เพิ่มเติม ในการดูแลสุขภาพของตัวเองโดยเน้น ลดหวาน มัน เค็ม และปรับเปลี่ยนการกินของตัวเองก่อน ถ้าทุกคนทำได้ก็สามารถทำให้คนนาปริกไม่มีโรค สุขภาพดีถ้วนหน้า หลังจากนั้นเลขานุการฯโครงการ เยาวชน และคณะกรรมการโครงการ นั้นได้แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการวันนี้ออกมาเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 12-15 คน ซึ่งใช้กระบวนการนับ 1-6 โดยในแต่ละกลุ่มจะมีหัวหน้าทีมมาจากคณะกรรมการโครงการฯอยู่แล้ว ในการแบ่งกลุ่มในวันนี้จะใช้ในกระบวนการสาธิตการออกกำลังกายในวันพรุ่งนี้- การดำเนินกิจกรรมวันที่ 10 มิถุนายน 2558 เมื่อที่ประชุมพร้อม มีการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม พิธีกรดำเนินการได้เชิญชวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าห้องเพื่อรับความรู้จากท่านวิทยากร เมื่อที่ประชุมพร้อมนายก็หลัด บินหมาน (ผู้รับผิดชอบโครงการ) ได้คุยในกิจกรรมที่ได้ทำไปตั้งแต่วันที่ 8-10 นั้นได้ลุล่วงไปด้วยดี เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน ขอขบอคุณผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่เห็นความสำคัญในการจัดกิจกรรมเพื่อประโยชน์ของคนในชุมชนเอง หลังจากนั้นได้เชิญวิทยากรกระบวนการ ในการให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ได้ยกตัวอย่าง การออกกำลังกาย เช่น การทำความสะอาดบ้าน เดิน ปั่นจักรยาน และการออกกำลังที่ไม่หักโหมจนเกินไป และที่สำคัญการออกกำลังกายจะมีสารความสุขหลั่งออกมา และการออกกำลังกายต้องไม่เป็นภาวะที่ตึงเครียดนั่นเอง โดยสุดท้ายได้เปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้สอบถาม นายเจ๊ะอิสมาแอน ปะดุกา ได้มีคำถามหนึ่งว่า แล้วคนกรีดยางซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนบ้านนาปริก ถื่อว่าเป็นการออกกำลังหรือไม่ คำตอบที่ได้คือ การกรีดยาง ถือว่าเป็นการออกกำลังกาย แต่การกรีดยางบางครั้งต้องทำด้วยความรีบเร่ง ก่อให้เกิดความเครียด เช่นฝนกำลังจะตก เป็นต้น การออกกำลังเช่นนี้จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้้อนอื่นๆตามมา ฉนั้น การออกกำลังที่ถูกต้อง และไม่หักโหมจนเกินไป ใช้้เวลาไม่เกิน 45 นาที และจะมีการออกกำลังเป็นประจำอาทิตย์ละ 3-4 ครั้ง/สัปดาห์ เช่น การรำไม้พลองป้าบุญมี ซึ่งจะมีการสาธิตการรำไม้พลองร่วมกัน เมื่อถึงเวลากำหนดการ บ่าย พิธีกรดำเนินการได้เชิญผู้เข้าร่วมประชุมตั้งแถวตามกลุ่มที่ได้จัดไว้แล้วนั้น พร้อมรับไม้พลองเพื่อใช้ในการออกกำลังกาย คนละ 1 อัน และได้ตั้งแถวกลางสนามหน้ามัสยิดฟัตหุเราะห์มาน และมีการสาธิตการออกกำลังกายรำไม้พลอง 12 ท่าพร้อมๆกัน สร้างเสียงหัวเราะและความสุขแก่ผู้เข้ากิจกรรมเป็นอย่างมากและอยากให้มีกิจกรรมอย่างนี้ต่อเนื่องต่อไป หลังจากนั้น ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมกิจกรรมอีกครั้ง และเชิญพี่เลี่ยงโครงการคุยเพื่อให้คำแนะนำในการทำงานเพื่อให้ชุมชนได้เกิดปรระโยชน์และแนวทางในการททำงานที่ดีขึ้นแก่คณะกรรมการในการกิจกรรมในครั้งนี้

     

    80 80

    15. 1. รณรงค์/ให้ความรู้เปลี่ยนวิธิคิด วิธีกิน สู่ปลอดโรค

    วันที่ 11 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. กิจกรรมลงทะเบียน พร้อมเขียนชื่อ สกุล เป้าหมายในการลดน้ำหนักของตนเอง
    2. วิทยากรจากสาธารณสุขมาให้ความรู้ ทักษะชีวิต เปลี่ยนวิธิคิด วิธีกิน สู่ปลอดโรค
    3. โดยให้แต่ละกลุ่มหยิบสลากเมนูอาหาร ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 6 เมนูคือ ประเภทยำสมุนไพร ต้มปลา นำ้พริกผักลวก แกงเลียง น้ำสมุนไพร ล้วนเป็นเมนูชูสุขภาพทั้งสิ้น
    4. โดยกิจกรรมช่วงเช้าจะเป็นการให้ความรู้ทำอาหาร และโชว์เมนูสุขภาพและรับประทานอาหารร่วมกัน
    5. เพื่อจัดทำข้อตกลงพันธะสัญญาในการลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพของคนนาปริก ในหลักการ 90 วัน คนนาปริก สลัดมัน ลดพุง ตามวิถีพอเพียง โดยมีตัวแทนแต่ละกลุ่มเป็นผู้เซ็นสัญญาร่วมกับท่านนายกอบต.ควนโดน คุณธิดาเหมือนพะวงศ์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข(รพ.สต.ควนโดน) นายหยัน โต๊ะประดู่ ผู้ใหญ่บ้าน นายก็หลัด บินหมาน ประธานรับผิดชอบโครงการ และนายเจ๊ะอิสมาแอน ปะดุกา ผู้นำศาสนา และมีผู้ร่วมกิจกรรมทั้งหมดแนบท้ายรายชื่อในการลงนาม และมี(นายเจ๊ะอสมาแอน ปะดุกา)ผู้นำศาสนา เป็นคนอ่านพันธะสัญญา
    6. หลังจากนั้นได้มีการทำ"กิจกรรมการแข่งขันกิน ผัก" โดยจะมีตัวแทนแต่ละกลุ่มร่วมแข่งขันกินผัก โดยมีนายอารุสมีน ปะดุกา นายณัฐพงศ์ รักฤทธิ์ และนายอารวี มาลินี แกนนำเยาวชนเป็นผู้ดูแลกิจกรรม ซึ่งจะมีการแข่งขันจำนวน 2 ประเภทคือ ชาย และหญิง ซึ่งกิจกรรมนี้ส่งเสริมให้คนในชุมชนหันมากินอาหารที่มีสุขภาพ โดยกิจกรรมจะเน้นการกินผักล้วนๆ และมีน้ำสมุนไพรอีกด้วย หลังจากนั้นจะเป็นการมอบรางวัลแก่ผู้ร่วมกิจกรรมการแข่งขันกินผัก
    7. เป็นการจับรางวัลหางบัตรเพื่อลุ้นรางวัลและทำแบบสอบถามในการเข้าร่วมโครงการ
    8. และสุดท้ายนายหยัน โต๊ะประดู่ ผู้ใหญ่บ้าน ได้กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาตลอด ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้ได้ให้ความรู้ และสาธิตการทำอาหารเพื่อสุขภาพ และส่งเสริมให้คนตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น เพราะยุคปัจจุบันมีอาหารให้เลือกมากมาย แต่เราต้องคำนึงถึงสุขภาพเป็นหลัก วิธีการที่ดีที่สุดคืออยากให้ทุกครัวเรือนของบ้านนาปริกมีผักไว้กินเอง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เมื่อเวลา 08.30-09.00 น. คณะกรรมการทีได้รับมอบหมายได้ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียน พร้อมเขียนชื่อ สกุล เป้าหมายในการลดน้ำหนักของตนเองภายใน 90 วัน ลงกระดาษสีหัวใจที่แจก และนำไปปิดไว้ที่ป้าย 90 วัน คนนาปริก สลัดมัน ลดพุง ตามวิถีพอเพียง เพื่อจะคัดเลือกเป็นบุคคลต้นแบบของบ้านนาปริกต่อไป และตัดคูปองเพื่่อชิงรางวัลหางบัตร และโชว์เมนูตัวอย่างที่ร่างกายต้องการบริโภคในแต่ละวัน หลังจากนั้นนายอารุสมีน ปะดุกา เยาวชนรับหน้าที่พิธีกรในการเชิญชวนผู้ลงทะเบียน และชี้แจงกำหนดการในวันนี้ตั้งแต่เวลา 08.00-16.00 น. และเชิญนายก็หลัด บินหมาน ผู้รับผิดชอบโครงการ พบปะผู้เข้าร่วมกิจกรรมพูดคุยกิจกรรมที่จะดำเนินการมาตั้งแต่วันแรกนั้นว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง ได้แก่ และกิจกรรมในช่วงเช้านี้จะเป็นการให้ความรู้ ทักษะชีวิต เปลี่ยนวิธีคิด วิธีกิน เส้นทางสู่การปลอดโรค แบ่งกลุ่มโดยจากกิจกรรมการออกกำลังกายที่ได้ทำไปเมื่อวานแล้ว โดยให้แต่ละกลุ่มหยิบสลากเมนูอาหาร ซึ่งจะมีอยู่ด้วยกัน 6 เมนูคือ ประเภทยำสมุนไพร ต้มปลา นำ้พริกผักลวก แกงเลียง น้ำสมุนไพร ล้วนเป็นเมนูชูสุขภาพทั้งสิ้น (ลดหวาน มัน เค็ม)โดยแต่กลุ่มมีพี่เลี้ยงจากคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายในการดูแลอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ และให้แต่ละกลุ่มนำเมนูของตัวเองที่ตกแต่งสวยงามมาโชว์ และจะมีตัวแทนจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อบต. เข้ามาชิมเมนูและร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย หลังจากนั้นให้แต่ละกลุ่มไปทำเมนูของกลุ่มตัวเอง โดยกิจกรรมช่วงเช้าทั้งหมดจะเป็นการทำอาหาร และโชว์เมนูสุขภาพและรับประทานอาหารร่วมกัน ช่วงบ่าย เวลา 13.30 น. พิธีกรได้เชิญชี้แจ้งกำหนดการช่วงบ่าย ซึ่งจะมีท่านยะโกบ โต๊ะประดู่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนโดน มาพบปะพูดคุยกับผู้เข้าร่วมกิจกรรม เจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.สต.ควนโดน เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้ด้วย เมื่อที่ปรระชุมพร้อมพิธีกร ได้เชิญผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาพร้อมกัน ณ หน้าอาคารเอนกประสงค์มัสยิดบ้านนาปริก และเชิญนายก็หลัด บินหมาน ในการชี้แจงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมและกลุ่มเป้าหมายให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้รับทราบ และจากที่ทางคณะกรรมการได้จัดกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 8-11 นั้น ตั้งแต่ให้ความรู้ด้านสุขภาพการสาธิตการทำน้ำเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกาย และการบันทึกคู่มือสุขภาพด้วยตนนอง มาแล้วนั้น เราชาวบ้านนาปริกจะทำข้อตกลงร่วมกันในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนเอง ในการจัดทำข้อตกลงพันธะสัญญาในการลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพของคนนาปริก ในหลักการ 90 วัน คนนาปริก สลัดมัน ลดพุง ตามวิถีพอเพียง โดยมีตัวแทนแต่ละกลุ่มเป็นผู้เซ็นสัญญาร่วมกับท่านนายกอบต.ควนโดน คุณธิดาเหมือนพะวงศ์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข(รพ.สต.ควนโดน) นายหยัน โต๊ะประดู่ ผู้ใหญ่บ้าน นายก็หลัด บินหมาน ประธานรับผิดชอบโครงการ และนายเจ๊ะอิสมาแอน ปะดุกา ผู้นำศาสนา และมีผู้ร่วมกิจกรรมทั้งหมดแนบท้ายรายชื่อในการลงนาม และมี(นายเจ๊ะอสมาแอน ปะดุกา)ผู้นำศาสนา เป็นคนอ่านพันธะสัญญา และยกตัวอย่างความคาดหวังและเป้าหมายที่จะลดน้ำหนัก ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับทราบ เพื่อลงนามสัญญาร่วมกัน หลังจากนั้น ท่านยะโกบ โต๊ะประดู่ ได้พบปะพูดคุยในการทำกิจกรรม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดีมาก ที่ส่งเสริมให้คนในชุมชนหันมาดูแลสุขภาพและรักสุขภาพตัวเองมากขึ้น ลด หวาน มัน เค็ม ซึ่งได้ให้คำชื่นชมที่เห็นคนบ้านนาปริก ร่วมทำกิจกรรมดีๆ แบบนี้ หลังจากนั้นได้มีการทำ"กิจกรรมการแข่งขันกิน ผัก" โดยจะมีตัวแทนแต่ละกลุ่มร่วมแข่งขันกินผัก โดยมีนายอารุสมีน ปะดุกา นายณัฐพงศ์ รักฤทธิ์ และนายอารวี มาลินี แกนนำเยาวชนเป็นผู้ดูแลกิจกรรม ซึ่งจะมีการแข่งขันจำนวน 2 ประเภทคือ ชาย และหญิง ซึ่งกิจกรรมนี้ส่งเสริมให้คนในชุมชนหันมากินอาหารที่มีสุขภาพ โดยกิจกรรมจะเน้นการกินผักล้วนๆ และมีน้ำสมุนไพรอีกด้วย หลังจากนั้นจะเป็นการมอบรางวัลแก่ผู้ร่วมกิจกรรมการแข่งขันกินผัก และเป็นการจับรางวัลหางบัตรเพื่อลุ้นรางวัล และมีการแจกแบบสอบถามเพื่อสรุปกิจกรรม ซึ่งจากการกรวบรวมข้อมูลนั้นชุมชนอยากให้มีการจัดกิจกรรมเพื่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการออกกำลังกายอยากให้ตั้งชมรมการออกกำลังกายด้วยไม้พลอง โดยมีการรวมตัวกันอาทิตย์ละ 1 ครั้งและสุดท้ายนายหยัน โต๊ะประดู่ ผู้ใหญ่บ้าน ได้กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาตลอด ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้ได้ให้ความรู้ และสาธิตการทำอาหารเพื่อสุขภาพ และส่งเสริมให้คนตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเองมากขึ้น เพราะยุคปัจจุบันมีอาหารให้เลือกมากมาย แต่เราต้องคำนึงถึงสุขภาพเป็นหลัก วิธีการที่ดีที่สุดคืออยากให้ทุกครัวเรือนของบ้านนาปริกมีผักไว้กินเอง

     

    100 100

    16. ค่าภาพถ่ายกิจกรรม

    วันที่ 15 มิถุนายน 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เพื่อถ่ายภาพรายกิจกรรม รายงานให้พี่เลี้ยงตรวจเอกสารตามที่ปฏิบัติจริง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รูปภาพถ่ายแต่ละรายกิจกรรม เพื่อจัดทำรายงานผลการดำเนินกิจกรรมในแต่ละกิจกรรม

     

    2 2

    17. ประชุมให้ความรู้การทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่ายครัวเรือน และพัฒนาเครื่องมือเก็บข้อมูล

    วันที่ 25 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ให้ความรู้ การทำบัญชีรับรายจ่าย
    2. ทดสอบเครื่องมือระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย
    3. ฝึกปฏิบัติ และติิดตามการทำบัญชีครัวเรือน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • วันที่ 25 มิถุนายน 2558 (นายอารุสมีน ปะดุกา) พิธีกรประชาสัมพันธ์ผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียน เมื่อที่ประชุมพร้อมนายก็หลัด บินหมาน ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมในวันนี้ และขอขอบคุณผู้เข้าร่วมกิจกรรมในการให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรม ต่อจากนั้นนายเจ๊ะอิสมาแอน ปะดุกา ผู้นำศาสนาได้ให้ความรู้และกล่าวหลักธรรมในการดำเนินชีวิตในวิถีอิสลาม ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงการดูแลสุขภาพตามแนวทางศาสนาอิสลามช่วงบ่ายได้มีหลังจากนั้น นายอรุณ คลานุรักษ์ พัฒนากรสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอควนโดน วิทยากรมาให้ความรู้การทำบัญชีครัวเรือน ที่สามารถใช้ในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง วันที่ 2 ช่วงเช้าเริ่มลงทะเบียน หลังจากนั้นวิทยากรได้ให้ความรู้ทบทวนการทำบัญชีครัวเรือนเบื้องต้นแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ต่อจากนั้นให้ตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมฝึกปฏิบัติการทำบัญชีรายรับรายจ่ายด้วยตนเอง โดยวิทยากรได้คอยให้คำแนะนำระหว่างการฝึกปฎิบัติและให้ตัวแทนอาสาได้ออกมาอธิบายและทำเป็นตัวอย่างให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ดู และให้สมาชิกที่เหลือเปิดโอกาสได้ซักถามในส่วนที่ยังไม่เข้าใจ ซึ่งได้มีคำถามจากผู้เข้าร่วมเรื่องการทำบัญชีครัวเรือน ในการลงในสมุดบัญชีครัวเรือนว่า การลงรายรับและรายจ่ายนั้นต้องแยกออกมาชัดเจนหรือไม่ เช่น การซื้อกับข้าวต่อวัน ค่ารถ ค่าน้ำมัน ค่าเล่าเรียน ต้องลงอย่างไร ซึ่งก็ได้รับคำตอบว่าในช่องรายการนั้นให้ลงในหน้าใช้ได้ 12 เดือนการลงรายละเอียดให้ใช้วิธีการรวมและในช่องรายการไม่ต้องลงรายละเอียดแต่ให้รวมยอดแล้วใส่ในช่องที่แยกให้ในเล่มอยู่แล้ว หลังจากนั้นให้ทุกคนลองกลับไปทบทวนที่บ้านแล้วใครมีข้อสงสัยให้กลับมาถามวิทยากรในวันพรุ่งนี้ ส่วนวันที่ 3 เป็นการสรุปและทบทวนในการทำบัญชีครัวเรือน และเปิดโอกาสให้ตัวแทนครัวเรือนได้ซักถามในปัญหาหลังจากที่ทุกคนได้ลองกลับไปทำที่บ้าน ซึ่งจากสอนการทำบัญชีครัวเรือนนั้น ทุกคนได้ให้ความสนใจที่จะนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติ ในการเข้าร่วมโครงการคนต้นแบบบ้านนาปริก ตามโครงการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) หลังจากนั้น นางสาวไหมยูรี บินหมาน (เลขานุการฯโครงการ)ได้ชี้แจงกิจกรรมการคัดเลือกบุคคลต้นแบบในกิจกรรมต่อไปซึ่งถือว่าการที่คนนาปริกจะเป็นคนต้นแบบนั่นต้องอาศัยหลายๆองค์ประกอบ ส่วนหนึ่งนั่นมาจากการทำบัญชีครัวเรือนที่สามารถเป็นตัวอย่างให้กับบุคคลอื่นๆเพื่อเป็นแรงจูงใจอีกทางหนึ่งแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม และชี้แจงหลังจากนั่นจะมีการติดตามการทำบัญชีครัวเรือนจากคณะทำงานต่อไป และผู้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ได้มติที่จะทำบัญชีครัวเรือนพร้อมกันในวันที่ 1 กรกฎาคม 2558เป็นต้นไป และจะมีการติดตามจากคณะทำงานอีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั่นพิธีกรได้กล่าวขอบคุณวิทยากรที่มาให้ความรู้ในครั้งนี้

     

    50 50

    18. ค่าภาพถ่ายกิจกรรม

    วันที่ 30 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พี่เลี้ยงให้คำแนะนำในการบันทึกภาพกิจกรรม และรายงานกิจกรรมให้เป็นปัจจุบัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รูปภาพถ่ายแต่ละรายกิจกรรม เพื่อจัดทำรายงานผลการดำเนินกิจกรรมในแต่ละกิจกรรม

     

    2 2

    19. ประชุมคณะกรรมการโครงการหลัก เพื่อวางแผนการดำเนินงานในงวดที่ 2

    วันที่ 5 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • วางแผนกิจกรรมที่ต้องทำในงวดที่ 2
    • ขั้นตอนในการทำงานในภาคีเครือข่าย
    • รับทราบการทำงานร่วมกัน เพื่อมอบภารกิจแก่คณะทำงานภาคีเครือข่ายร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชุมคณะกรรมการหลัก 5 คน ประกอบด้วย นายก็หลัด บินหมาน ผู้รับผิดชอบโครงการ นายหยัน โต๊ะประดู่ ผู้ใหญ่บ้าน นายเจ๊ะอิสมาแอน ปะดุกา ผู้นำศาสนา นายสอหมาด มาลินี ประธาน อสม. และนางสาวไหมยูรี บินหมาน บัณฑิตอาสาฯ โดยมีวาระการประชุมกำหนดทิศทางการดำเนินงาน ชี้แจงงบประมาณที่ทางคณะกรรมการได้เซ็นสัญญาร่วมในการทำโครงการ และประมวลผลกิจกรรมที่ผ่านมางวด 1 และกิจกรรมตามแผนที่หมู่บ้านต้องดำเนินต่อในงวด 2 ซึ่งผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงการโอนเงินจาก สสส.งวดที่ 2 ซึ่งทางหมุ่บ้านต้องดำเนินกิจกรรมไปตามปฎิทินท่ีชุมชนได้วางไว้ โดยจะมีกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงของบ้านนาปริก ซึ่งทางคณะกรรมการได้รับรายละเอียดและนัดทีมคณะทำงานเพื่อชี้แจงแผนการดำเนินงานในขั้นต่อไป

     

    5 5

    20. ประชุมคณะทำงานและภาคีเครือข่ายโครงการ เพื่อวางแผนการทำงานในกิจกรรมงวดที่ 2

    วันที่ 6 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมสรุปผลการดำเนินกิจกรรมงวด 1
    • ค้นหาปัญหา อุปสรรค ของการดำเนินงานที่ผ่านมา
    • ร่วมหาแนวทางปรับปรุงแก้ไข
    • เตรียมความพร้อมในกิจกรรมที่จะดำเนินในงวด 2
    • แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในกิจกรรมที่จะดำเนินการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการและแกนนำทุกคนให้ความสำคัญในการดำเนินกิจกรรมทุกๆกิจกรรมและร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างจริงจัง ทุกคนร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อประโยชน์ของชุมชน และในวันนี้ได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการทำกิจกรรม โดยมีการประชุมคณะทำงานทั้ง 20 คน ประกอบด้วยคุณธิดา เหมือนพะวงศ์ พี่เลี้ยงโครงการ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา สมาชิก อบต. อสม. บัณฑิตอาสาฯ เยาวชน และแกนนำกลุ่มสตรี โดยนายก็หลัด บินหมาน ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงรายละเอียดโครงการในงวดที่ผ่านมาและกิจกรรมที่ต้องทำต่อในงวดที่ 2และขอขอบคุณคณะทำงานที่ให้ความร่วมมือในการทำงานตลอดมา หลังจากนั้นคุณธิดา เหมือนพะวงศ์ พี่เลี้ยงโครงการได้พบปะคณะทำงานและชี้แจงอุปสรรคที่ต้องทำกิจกรรมล่าช้า เนื่องจากต้องรอการตรวจเอกสารอย่างละเอียดจาก สสส. และขอขอบคุณคณะกรรมการที่ให้ความร่วมมือในการทำงานตลอดมา ต่อด้วยนายเจ๊ะอิสมาแอน ปะดุกา ผู้นำศาสนา ได้กล่าวดุอาร์นำแก่คณะกรรมการและขอพรจากพระเจ้าให้คณะทำงานสามารถทำงานลุล่วงไปด้วยดี และให้โอวาทในการทำงานแก่คณะทำงานตามหลักศาสนาอิสลาม ต่อด้วยผู้ใหญ่บ้าน ได้้ให้คำแนะนำในการทำงานร่วมกัน ต้องไว้ใจกัน ต้องเห็นใจกัน และต้องเห็นประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ต่อจากนั้นเลขานุการฯโครงการได้ชี้แจงแผนกิจกรรมที่ทางหมู่บ้านต้องดำเนินต่อ ซึ่งครั้งนี้จะมีการทำกิจกรรม 2 กิจกรรม ซึ่งใช้เวลาทั้งหมด 4 วัน โดยกิจกรรมในครั้งนี้จะมีกลุ่มเป้าหมายที่ทางคณะทำงานเคยสำรวจด้านสุขภาพอยู่แล้ว และอีกส่วนหนึ่งจะหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก รพ.สต.เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ และเชิญพี่เลี้ยงโครการพบปะพูดคุยกับคณะทำงานพร้อมให้คำแนะนำแก่คณะทำงานได้เป็นอย่างดี ซึ่งมตืที่ประชุมได้กำหนดการจัดกิจกรรม ในวันที่ 8-11 มิ.ย. 58 โดยสองวันแรก จะมีการให้คำแนะนำด้านสุขภาพและรูปแบบการออกกำลังกายและทำสมุดบันทึกสุขภาพ วันที่สาม เป็นการออกกำลังกายไม้พลองป้าบุญมี วันที่สี่ จะเป็นการทำเมนูชูสุขภาพ และเชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม โดยทำเป็นบัตรเชิญ และหางบัตรสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมครบ 4 วัน ซึ่งรางวัลหางบัตร ทางคณะกรรมการและผู้นำชุมชนร่วมสมทบทุน ซึ่งทางคณะทำงานได้มีการแบ่งความรับผิดชอบออกเป็น 4 ฝ่าย คือ 1. ฝ่ายอำนวยการ นายหยัน โต๊ะประดู่ นายเจ๊ะอิสมาแอน ปะดุกา นายสอหมาด มาลินี และนายก็หลัด บินหมาน
    2. ฝ่ายประชาสัมพันธ์ นายเจ๊ะอิสมาแอน ปะดุกา(ผู้นำศาสนา) นายอารุสมีน ปะดุกา (เยาวชน) นางหยำ บินหมาน มีการประชาสัพันธ์เสียงตามสาย และทำหนังสือเชิญเข้าร่วมกิจกรรม 3. ฝ่ายธุรการ นางสาวไหมยูรี บินหมาน(บัณฑิตอาสาฯ)นางสาวสุวรรณา เจะพร นางสาวยุพา มาลินี นางสาวลีนา บินหมาน (เยาวชน)
    4. ฝ่ายปฏิคม อสม. และแกนนำกลุ่มสตรี 5. ฝ่ายกิจกรรม นายอารวี มาลินี นายอารุสมีน ปะดุกา และนายณัฐพงศ์ รักฤทธิ์ แกนนำเยาวชน

     

    20 20

    21. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน ติดตามประเมินครัวเรือน

    วันที่ 8 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ติดตามเครื่องมือเก็บข้อมูลระบบบัญชีรายรับ -รายจ่าย ของครัวเรือน
    2. ลงพื้นที่เก็บข้อมูลการทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของครัวเรือน
    3. ให้คำแนะนำและสร้างแรงจูงใจในการทำบัญชีอย่างถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานโครงการ,เด็กเยาวชนและภาคีที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่เพื่อติดตามการทำบัญชีรายรับ รายจ่าย ของครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ หลังจากที่วิทยากรเข้าอบรมให้ความรู้ในเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนที่ผ่านมา และให้ทุกคนกลับไปทำตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 58 เป็นต้นไป ในการบันทึกรายรับรายจ่ายที่เกิดขึ้นจริง ทั้งในครัวเรือนและการประกอบอาชีพโดยให้การแนะนำในการลงรายการ ลงรายรับ โดยครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการก็มีความรู้ในการทำบัญชีอยู่บ้างแล้ว และทำกันอย่างต่อเนื่อง ทางคณะกรรมการจึงลงพื้นที่เพื่อติดตามการลงบัญชีที่ถูกต้อง โดยมีคำถามในเรื่องการลงบัญชีรายจ่าย อย่างเช่น ค่าแชร์ ค่าผ่อนรถ ค่าชำระเงินกู้ จะให้ลงในช่องรายการใด ทางคณะกรรมการได้ให้คำแนะนำ ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายให้ลงในช่องตามรายการตามสมุดบัญชีได้เลย และการลงรายรับจะมีรายได้หลัก กับรายได้เสริมให้ผู้ทำบัญชีได้เข้าใจตรงกัน ในการลงรายรับของแต่ละครัวเรือน เช่น กรีดยาง ถือเป็นรายได้หลัก ขายเงาะ กระท้อน รายได้เสริมเพราะขายผลลิตได้ปีละครั้งเท่านั้น ซึ่งทุกคนสามารถเข้าใจ และลงรายละเอียดได้ถูกต้อง โดยการติดตามในครั้งนี้ถือว่าทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้ในระดับหนึ่ง หลังจากนี้ทางคณะทำงานจะมีการติดตามการทำบัญชีครัวเรือนอย่างสมำ่เสมอเพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้เข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่องโดยทางคณะกรรมการที่ได้รับมอบหมายในการติดตามการทำบัญชีครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง ช่วงแรกๆๆจะติดตามอาทิตย์ละครั้งโดยจะลงพื้นที่ช่วงวันที่ 8,15,22,29 ก.ค. 58 ในช่วงเดือนแรก ส่วน 2 อาทิตย์ต่อไปคือ 15,31 ส.ค.58 15,30 ก.ย.58เมื่อเริ่มทำเป็นก็จะมีการติดตามอย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยจะลงพื้นที่ในวันที่ 30 ต.ค. 58 เพื่อสรุปรายรับ รายจ่าย ครัวเรือนเพื่อวิเคราะห์รายได้แต่ละครัวเรือน และจะติดตามกิจกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อจะขยายผลให้กับครัวเรือนอื่นๆต่อไป

     

    50 50

    22. ติดตามประเมินดูแลสุขภาพ/การออม

    วันที่ 29 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการโครงการ เยาวชน บัณฑิตอาสาฯ อสม. ได้ประชุมคณะกรรมการและลงพื้นที่ติดตามและให้คำแนะนำในการทำบัญชีครัวเรือนแก่ครัวเรือนเป้าหมายที่เข้คาร่วมโครงการทำบัญชีครัวเรือนต้นแบบ ซึ่งทุกคนสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้ด้วยตัวเอง เกิดประชาชนต้นแบบในพื้นที่หมู่ที่ 9 บ้านนาปริก สามารถขยายความรู้ไปยังครัวเรือนอื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทุกคนมีความตั้งใจในการทำ บัญชีครัวเรือนของตัวเอง และจากการลงพื้นที่ในช่วงเดือนแรก รายจ่ายมักจะมากกว่ารายรับ มีการดึงเงินออมมาใช้ในครัวเรือนมากขึ้น เนื่องจากคนในพื้นที่ยึดอาชีพในการทำสวนยางพารา ฝนตกมาก ทำให้ไม่มีรายรับ แต่ถึงรายจ่ายจะมากกว่า แต่ทุกครัวเรือนสามารถอยู่ได้ เพราะทุกครัวเรือนมีการปลูกผักไว้บริโภคกินเอง เลี้ยงปลา มีการแบ่งปันอาหารซึ่งกันและกัน ค่าอาหารจึงไม่ต้องซื้อ สามารถลดรายจ่ายตรงนี้ได้ ทำให้คนในชุมชนบ้านนาปริกสามารถอยู่ด้วยกันได้

     

    25 25

    23. ค่าภาพถ่ายกิจกรรม

    วันที่ 5 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เพื่อถ่ายภาพรายกิจกรรม รายงานให้พี่เลี้ยงตรวจเอกสารตามที่ปฏิบัติจริง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รูปภาพถ่ายแต่ละรายกิจกรรม เพื่อจัดทำรายงานผลการดำเนินกิจกรรมในแต่ละกิจกรรม

     

    2 2

    24. คัดเลือกบุคคลต้นแบบการดูแลสุขภาพ

    วันที่ 28 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -จากการจัดกิจกรรมให้กับคนในชุมชนที่ผ่านๆมานั้น ทำให้คนในชุมชนเกิดความคิด ความรู้ในการรวมกลุ่มในการสร้างรายได้และอาชีพให้กับครัวเรือน จึงมีความตั้งใจในการจะรวมกลุ่มกันเพาะเห็่ด เพื่อสร้างรายได้ให้กับตัวเองและครัวเรือนมากขึ้น ซึ่งส่วนหนึ่งก็ได้รับงบประมาณจากกระทรวงมหาดไทยในการให้งบประมาณสนับสนุนในการก่อสร้างโรงเรือนเพาะเห็ด และส่วนหนึ่งก็จะนำความรู้และงบประมาณจากโครงการ สสส. ในการสนับสนุนอุปกรณ์ก้อนเชื้อในการเพาะเห็ดและการปลูกผักเพื่อสร้างรายได้ให้กับครัวเรือมากยิ่งขึ้นและสามารถเป็นต้นแบบและขยายความรู้ไปให้แก่ครัวเรือนอื่นๆต่อไป
    -วันที่ 28 สิงหาคม 2558 เริ่มกิจกรรม เวลา 09.00 น. นางสาวไหมยูรี บินหมาน (เลขานุการฯโครงการ) ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการ เชิญผู้เข้าร่วมกิจกรรมลงทะเบียนตามที่ได้ทำหนังสือเชิญเข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 คน หลังจากนั้นได้เชิญ(คุณเน๊าะ เทศอาเส็น)อีหม่ามของบ้านนาปริกเปิดพิธี โดยบทนำอัลกุรอ่าน หลังจากนั้นคุณเจ๊ะอิสมาแอน ปะดุกา ผู้นำศาสนาในฐานะคณะกรรมการโครงการฯ ได้พูดคุยการใช้ชีวิตตามแนวทางศาสนาอิสลามควบคู่กับการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน ซึ่งศาสนาอิสลามสอนให้เป็นคนดี รูัจักอยู่ รู้จักทำ รู้จักหน้าที่ อยู่อย่างพอเพียง ซึ่งสอดคล้องตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งโครงการนี้ก็เช่นกัน ล้วนเป็นโครงการที่ให้ประโยชน์ต่อคนในชุมชนเป็นอย่างมาก มีกิจกรรมร่วมกัน มีการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมสุขภาพมีกิจกรรมส่งเสริมอาชีพ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ดีท้งสิ้น หลังจากนั้นเชิญคุณหยัน โต๊ะประดู่ (ผู้ใหญ่บ้าน) ได้พบปะพูดคุยกับชาวบ้าน โดยท่านได้ให้แนวทางการทำงานร่วมกัน การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมที่เกิดประโยชน์ต่อชุมชน ให้ประชาชนได้ร่วมคิด ร่วมเสนอ ร่วมทำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนมากที่สุด ต่อด้วยวิทยากรให้ความรู้ด้านการมีสุขภาวะดีของคนในชุมชน และให้คำแนะนำการปลูกผัก การใช้ชีวิตในประจำวัน โดยการปลูกผักปลอดสารพิษไว้กินเอง ออกกำลังกาย ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์มีการรวมกลุ่มด้านอาชีพทำกิจกรรมต่างๆที่เกิดรายได้ให้กับครัวเรือน ซึ่งเป็นความต้องการของประชาชนในชุมชนอยู่แล้ว หลังจากนั้น คุณก็หลัด บินหมาน ประธานคณะกรรมการโครงการฯ ได้พบปะพูดคุยและขอขอบคุณคณะทำงาน พี่เลี้ยงโครงการ และประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม และชี้แจงกิจกรรมตามกำหนดการที่ทำไว้แล้วนั้น -วันที่ 29 สิงหาคม 2558 ได้มีการสาธิตการทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า ซึ่งเป็นความตั้งใจของประชาชนในพื้นที่อยู่แล้ว เพื่อที่จะได้นำความรู้ไปใช้ในทำจริงไม่ว่าในครัวเรือนหรือการรวมกลุ่มก็ตาม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและยั่งยืน โดยทุกคนได้ให้ความร่วมมือลงมือปฏิบัติจริง ตั้งแต่การผสมอัตราส่วนตั้งแต่ รำ ขี้เลื่อย การอัด การใส่เชื้อ การเรียงก้อนเห็ด การนึ่ง และได้ให้ความรู้ต่อจนถึงวิธีการพักเชื้อ นำไปให้เชื้อเห็ดเดินเต็มที่ จนครบกระบวนการถึงการออกดอก ซึ่งทุกคนได้ให้ความสนใจซึ่งส่วนหนึ่งจากการทำจะมอบให้เป็นผลผลิตของกลุ่ม ส่วนหนึ่งให้ชาวบ้านได้นำกลับไปดูแลเองที่บ้าน -วันที่ 30 สิงหาคม 2558 นางสาวไหมยูรี บินหมาน ทำหน้าที่เลขานุการโครงการฯ ได้ทำวิดีโอสรุปประมวลภาพกิจกรรมทั้งหมดให้แก่ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการได้ชม มีการสรุปขั้นตอนการทำงานตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงกิจกรรมที่ดำเนินการ ทำให้สร้างบรรยากาศที่ดี และเพิ่มเสียงหัวเราะในการรับชม ทางคณะกรรมการมีรอยยิ้มในการทำงานร่วมกัน หลังจากเสร็จสิ้นภารกิจ 3 วัน ประธานคณะกรรมการโครงการฯ ได้มาสรุปกิจกรรมโดยขอขอบคุณคณะทำงานทุกท่าน และที่มากไปกว่านี้คือประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องด้วยดีตลอดมา และเปิดโอกาสซักถามในกิจกรรมที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมอยากให้ทางคณะกรรมดำเนินโครงการต่อเนื่องในการทำกิจกรรม/โครงการในหมู่บ้านต่อไป หลังจากนั้นได้มีการมอบเกียรติบัตรการคัดเลือกบุคคลต้นแบบ โดยใช้หลักเกณฑ์ต่างๆ ในการคัดเลือกบุคคลต้นแบบ โดยเลือกจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การทำบัญชีครัวเรือน การบันทึกสุขภาพของตัวเอง จำนวน 50 ครัวเรือน และมอบเกียรติบัตรให้กับครัวเรือนต้นแบบทั้ง 50 ครัวเรือนเพื่อเป็นแบบอย่างในชุมชน และมีการมอบพันธุ์ผักให้กับครัวเรือนทุกครัวเรือนซึ่งต่อไปหมู่บ้านนาปริกจะต้องเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในอนาคต

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เกิดครัวเรือนต้นแบบ และคนต้นแบบ
    • เกิดกลุ่มอาชีพ เพื่อเพิ่มรายได้ ในการทำกิจกรรมร่วมกัน
    • เกิดความร่วมือ ร่วมใจ สามัคคี ของคนในชุมชน

     

    100 100

    25. ค่าภาพถ่ายกิจกรรม

    วันที่ 1 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เพื่อถ่ายภาพรายกิจกรรม รายงานให้พี่เลี้ยงตรวจเอกสารตามที่ปฏิบัติจริง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รูปภาพถ่ายแต่ละรายกิจกรรม เพื่อจัดทำรายงานผลการดำเนินกิจกรรมในแต่ละกิจกรรม

     

    2 2

    26. จัดนิทรรศผลงานโครงการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    วันที่ 4 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แต่ละพื้นที่ได้ไปจัดนิทรรศการร่วมกัน โดยนำผลงานจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชุมชน ความเข้มแข็งของชุมชน ในด้านเศรษฐกิจพอเพียง มีการนำผลไม้ และผักพื้นบ้านไปจำหน่าย และร่วมตกแต่งบูธให้ดูเป็นธรรมชาติเสมือนภาพจำลอง มีการนำผลผลิตของชุมชน เช่น ก้อนเชื้อเห็ด ผลไม้ จำพวกลองกอง จำปะดะ ไปจัดกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลงานออกมามีคุณภาพ เพราะความตั้งใจและการมีส่วนร่วมของคณะทำงาน และยังได้ทำกิจกรรมร่วมกันกับพี่เลี้ยง และชุมชนอื่นๆๆอีกด้วย

     

    2 2

    27. สรุปรายงานแผนการเงินเพื่อปิดโครงการและรายงานการดำเนินงานงวด 2

    วันที่ 9 กันยายน 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สรุปค่าใช้จ่าย เคลียเอกสาร เพื่อรายงานการเงินแก่ สสส/สจรส

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการมีการเตรียมเอกสารของโครงการที่ดำเนินการ เพื่อรายงานการเงินกับ สสส/สจรส ต่อไป

     

    5 5

    28. พบพี่เลี้ยงปรึกษาปัญหาและสรุปผลการดำเนินงาน

    วันที่ 20 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประสานพี่เลี้ยง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การลงรายงาน ในระบบให้เป็นปัจจุบัน

     

    2 2

    29. คณะทำงาน ไปพบพี่เลี้ยงโครงการ

    วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -  สรุปการทำงานโครงการในระยะเวลา 1 ปี ปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไข และจะดำเนินการโครการปี ๒ หรือไม่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานโครงการ สสส. จากการทำงานร่วมกัน ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน การทำงานร่วมกันของทีมงาน ความร่วมมือของชาวบ้านในชุมชนซึ่งถือว่าการให้ความร่วมมือของชาวบ้านอยู่ในระดับดีมาก เพราะทุกครั้งที่มีกิจกรรมจะได้รับความสนใจในการเข้าร่วม และจากการทำกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา ได้เปิดโอกาสในการซักถามถึงความต้องการต่อโครงการในปีต่อไป ได้รับการตอบรับที่ดี 

     

    15 15

    30. ค่าภาพถ่ายกิจกรรม

    วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เลือกภาพถ่าย และปริ้นภาพถ่ายกิจกรรม เพื่อรายงานผลการดำเนินงานรายกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ภาพกิจกรรมเป็นรายกิจกรรม เพื่อจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการแก่ พี่เลี้ยง สสส สจรส.เพื่อตรวจเอกสารต่อไป

     

    2 2

    31. พบพี่เลี้ยงปรึกษาปัญหาและสรุปผลการดำเนินงาน

    วันที่ 14 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประสาน และนำเอกสารทางการเงินไปตรวจกับพี่เลี้ยงโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตรวจสอบความถูกต้อง ทั้งในตัวเอกสาร และในเว็ป

     

    2 2

    32. พบพี่เลี้ยง ตรวจเอกสารการเงิน เพื่อปิดโครงการ

    วันที่ 4 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประสานพี่เลี้ยง เพื่อรับคำแนะนำในการตรวจเอกสารจากพี่เลี้ยง 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารในการดำเนินงานโครงการ เพื่อนำเอกสารไปตรวจกับ สสส สจรส ต่อไป

     

    2 2

    33. ประชุมตรวจเอกสารการเงินกับ สสส สจรส พร้อมพี่เลี้ยงโครงการ

    วันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำเอกสาร ทางการเงิน ในการดำเนินโครงการแต่ละกิจกรรมให้ทาง สสส สจรส ตรวจ เพื่อปิดโครงการปี 57

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทาง สสส สจรส ตรวจเอกสารทางการเงิน และแนะนำการแก้ไขเอกสารเพิ่มเติมส่ง สจรส ต่อไป

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อพัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูล และกลไกของชุมชนในการบริหารเพื่อชุมชนน่าอยู่และการพึ่งตนเองยั่งยืน
    ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1. มีข้อมูลชุมชน จำนวน 1 ชุด 2. ร้อยละ 60 ของประชากรมีส่วนร่วมในในการแสดงความคิดเห็นเพื่อจัดทำแผนชุมชน 3. จำนวนแกนนำของหมู่บ้านร้อยละ 70 เข้าร่วมประชุมจัดทำแผน 4. เกิดแผนชุมชน จำนวน 1 แผน เชิงคุณภาพ มีชุดข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ และประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนัก มีจิตอาสาร่วมกันสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง รับทราบรายละเอียดกิจกรรมที่เกิดขึ้น ร่วมกันแสดงความคิดเห็นและวางแผนการดำเนินกิจกรรม

    1.มีข้อมูลที่เป็นฐานข้อมูลชุมชน จำนวน 1 ชุด 2.ประชาขนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนทุกขั้นตอนและร่วมเทีคืนข้อมูลปัญหาชุมชนเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาร่วมกัน 3.มีประชาชนในชุมชนแกนนำชุมและภาคีเครือข่ายเข้าร่วมจัดทำแผน ร้อยละ 80

    2 เพื่อส่งเสริมชุมชนให้มีการวางแผนการแก้ไขปัญหา (ด้านพฤติกรรมสุขภาพ การบริโภค การออกกำลังกาย (ด้านเศรษฐกิจ) การเพิ่มรายได้ และมีวินัยในการออม
    ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1. มีการนำแผนชุมชนมาแกไขปัญหา ในการส่งเสริมสุขภาพและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจชุมชน 2. ร้อยละ 60 คนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจการทำระบบบัญชี-รายจ่าย ของครัวเรือน 3. เกิดครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 50 หลัง ในการทำระบบบัญชีรายรับ-รายจ่าย ของครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง เชิงคุณภาพ ประชาชนมีสุขภาวะ โรคเรื้อรั้ง ด้านบุคคลสภาพแวดล้อม กลไกในชุมชน ที่มีการบูรณาการ ความพอเพียง ทำให้ประชาชนเล็งเห็นประโยชน์การวางแผนการดูแลสุขภาพ และการใช้เงินและมีความกระตือรือร้นในการออมมากขึ้น เพื่อสุขภาวะที่ดียั่งยืน

    1.มีการนำแผนที่ได้จากชุมชนมาร่วมแก้ปัญหาในด้านต่างๆเช่น สุขภาพ รายได้ เศรษฐกิจ และความเป็นอยู่คนในชุม 2.มีการทำบัญชีครัวเรือนรายรับรายจ่ายอย่างต่อเนื่องเพื่อลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น

    3 3. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนของชุมชนในการร่วมกันแก้ไขปัญหา 3.1 ด้านพฤติกรรมสุขภาพ การบริโภค การออกกำลังกาย 3.2 ด้านเศรษฐกิจ สร้างงานภายในชุมชน ส่งเสริมความรู้ ฝึกอบรม การทำบัญชีครัวเรือน เศรษฐกิจพอเพียง
    ตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ 1. อัตราการบริโภคผักและผลไม้อย่างเพียงพอตามข้อแนะนำ (400 กรัมต่อวัน) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 2. มีตำรับอาหารสมุนไพรพื้นบ้าน 3. จำนวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชนเรื่องการร่วมกลุ่ม จำนวน 50 ครัวเรือน 4. คนในชุมชนร่วมมือกันสร้างกลุ่มเพาะเห็ดและเข้าร่วมดำเนินในกิจกรรมต่างๆ จำนวน 50 ครัวเรือน 5. รายได้ต่อครัวเรือนของคนในชุมชนเพิ่มขึ้นจากการเก็บข้อมูลบัญชีครัวเรือน เชิงคุณภาพ ประชาชนในชุมชนมีรูปแบบการดูแลสุขภาพที่สอดคล้องวิถีชุมชน มีองค์ความรู้สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ยั่งยืนและประชาชนในชุมชนสามารถจัดตั้งกลุ่มได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

    1.ชุมชนมีการปลูกผักไว้กินเอง ปลอดสารพิษ เพื่อสุขภาพและสร้างรายได้ให้กับครัวเรือน 2.คนในชุมชนมีการรวมกลุ่มในการส่งเสริมและสร้างอาชีพให้กับตัวเอง โดยการรวมกลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้ามีรายได้เข้าสู่ชุมชนและครัวเรือน

    4 ติดตามสรุป สนับสนุน จาก สสส. สจรส. และพี่เลี้ยง
    ตัวชี้วัด : รับการสนับสนุนติดตาม จาก สสส. สจรส. และพี่เลี้ยง

    ขอขอบคุณทางสสส สจรส ที่สนับสนุนทุนเพื่อประโยชน์ต่อชุมชน ส่วนพี่เลี้ยงโครงการจะมีการติดตามให้คำแนะนำปรึกษา และให้กำลังคณะทำงานอยู่เสมอ เมื่อชุมชนต้องการคำแนะนำจะได้รับการตอบรับที่ดีเสมอมา

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อพัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูล และกลไกของชุมชนในการบริหารเพื่อชุมชนน่าอยู่และการพึ่งตนเองยั่งยืน (2) เพื่อส่งเสริมชุมชนให้มีการวางแผนการแก้ไขปัญหา (ด้านพฤติกรรมสุขภาพ การบริโภค การออกกำลังกาย (ด้านเศรษฐกิจ) การเพิ่มรายได้ และมีวินัยในการออม (3) 3. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนของชุมชนในการร่วมกันแก้ไขปัญหา

    3.1 ด้านพฤติกรรมสุขภาพ การบริโภค การออกกำลังกาย

    3.2 ด้านเศรษฐกิจ สร้างงานภายในชุมชน ส่งเสริมความรู้ ฝึกอบรม การทำบัญชีครัวเรือน เศรษฐกิจพอเพียง (4) ติดตามสรุป สนับสนุน จาก สสส. สจรส. และพี่เลี้ยง

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ บ้านนาปริก สุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ตามแนวทางวิถีพอเพียง

    รหัสโครงการ 57-02547 รหัสสัญญา 58-00-0101 ระยะเวลาโครงการ 15 ตุลาคม 2557 - 15 พฤศจิกายน 2558

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    อาหารพื้นบ้านต้านโรค ชุมชนมีการจัดทำเมนูอาหารต้านโรคโดยนำภูมิปัญญาและพืชผักในชุมชนมาปรุงอาหารเป็นเมนูต้านโรค และการเรียนรู้วิสาหกิจชุมชน เรื่องการเพาะเห็ด

    เอกสารความรู้ และแหล่งข้อมูลจากคนเข้าร่วมกิจกรรมและปราชญ์ผู้รู้

    จัดทำเป็นคู่มือชุมชนหรือพัฒนาต่อความมั่นคงด้านอาหาร

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    คู่มือการออมและคู่มือสุขภาพสุขภาพ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยรวบรวมเนื้อหาการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย

    สมุดคู่มือ

    เพิ่มรายละเอียด 3 อ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    รูปแบบการทำงาน แบบพี่ดูแลน้อง โดยนำกลุ่มเยาวชนเข้าร่วมเป็นนักจัดเก็บข้อมูลชุมชน โโยมีพี่ อสม.เป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินงาน

    ทีมเยาวชนจัดเก็บข้อมูล

    ทีมเยาวชน แกนนำประจำครอบครัว

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    เกิดรูปแบบการทำงานที่มีหลากหลายกลุ่มเพิ่มมากขึ้น จากเดิมเฉพาะกลุ่ม อสม. ที่ดูแลด้านสุขภาพ แต่มีการร่วมเครือข่ายทั้งในระดับบุคคล ครอบครัวและชุมชน

    โครงร้างการทำงาน

    ขับเคลื่อนให้เกิดสภาผู้นำชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เครือข่ายเยาวชน คณะกรรมการบริหารโครงการมีการรับสมัครเด้กและเยาวชนเข้าร่วมในการดำเนินงาน เพื่อมาขับเคลื่อนแนวทางการทำงานในรูปแบบ พี่สอนน้อง โดยมีการชักชวนต่อๆกัน ใการดูแลโดยมี อสม.เป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินงาน

    เครือข่ายเยาชน

    พัฒนาเกิดการเรียนรู้ หรือหลักสูตรโรงเรียนส่งเสริมคุณภาพชีวิต เพื่อการเรียนรู้วิถีชุมชน และการสืบทอดภูมิปัญญาที่ควรอนุรักษณ์และเพื่อเป็นการสร้างทักษะชีวิต และภูมิคุ้มกันให้เด้กและเยาวชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    ศูนยืเรียนรู้การเพาะเห้ด ที่มีการรวมกลุ่มกันของกลุ่มแม่บ้าน

    ศูนย์เรียนรู้

    พัฒนาต่อเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

    -

    -

    -

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการมีการดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น

    จากการสังเกต สำรวจ

    สร้างความตระหนักและกิจกรรม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    ชุมชนมีการนำภูมิปัญญามาส่งเสริมการบริโภค เป็น เมนูอาหาร และมีการปลูกผักในระดับครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น

    จากการสอบถามสำรวจ

    ขยายผลการปลูกให้ครอบครัวทุกหลังคาเรือนและสร้างครัวเรือนต้นแบบโดยนำแนวทางเกษตรอินทรีย์ร่วมด้วย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    ชุมชนมีการรวมกลุ่มออกำลังกาย แต่ละกลุ่ม และรูปแบบสอดคล้องวิถีชุมชนเช่น ไม้พลองป้าบุญมีฟุตบอล ตระกร้อ วิ่ง เดินและการปั่นจักรยาน

    จากการสังเกต สำรวจ

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    มีการลดละเลิก บุหรี่ อย่างห็นได้ชัดโดยเฉพาะการเคารพกติกาไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ

    จากการสังเกต สำรวจ

    สร้างมาตราการทางสังคม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    มีการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรม และมีการนำแนวทางศาสนาอิสลามกับสร้างเสริมสุขภาพร่วมด้วย

    สมาชิกกลุ่ม

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    มีการนำภูมิปัญญา สมุนไพรและพืชผักในชุมชน มาปรุงเป็นเมนูต้านโรค

    เมนูอาหารพื้นบ้าน

    จัดทำเป็นสื่อเรียนรู้ชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    มีการจัดการพฤติกรรมการใช้จ่ายในระดับตนเองและครัวเรือน โดยมีการจัดทำสมดบัญชีการออม

    คู่มือการออม

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

    -

    -

    -

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    มีการจัดพื้นที่ด้านการปลูกผักและการออกกำลังกายโดยชุมชน

    สังเกตและสำรวจ

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    มีการรวมกุล่มด้านการจัดทำวิสาหกิจชุมชนด้านการเพาะเห้ด

    ศูนย์เรียนรู้การเพาะเห็ด

    ต่อยอดเป็นผลิตภัณธ์ชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

    มีการนำทุนทางสังคมด้านพื่ชสมุนไพร และจัดเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชน

    ศูนย์เรียนรู้สมุนไพร

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน
    1. งานเลี้ยงชุมชนเลี้ยงน้ำสมุนไรแทนน้ำอัดลม
    2. งานเลี้ยงชุมชน มีเมนูผัก 2-3 ชนิด
    3. ทุกครัวเรือนปลูกผัก อย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไป

    รายงานผลการดำเนินงาน

    ประกาศใช้ครอบคลุมและขับเคลื่อนสู่นโยบายสาธารณะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

    -

    -

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

    -

    -

    -

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    มีการเชื่อมโยงการทำงานกับเครือข่ายภายนอก เช่น รพ.สต.ควนโดนอบต.ควนโดนพัฒนาชุมชนเกษตรตำบล

    การบันทึกรายงานผลการดำเนินงาน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    ชุมชนมีการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำมาทำแผนในการแก้ไขปัญหาโดยชุมชนเอง

    การบันทึกรายงานผลการดำเนินงาน

    นำแผนสู่การปฏิบัติและนำเสนอสู่ช่องทางอื่นๆทั้งภายในชุมชนและนอกชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    มีการใช้ทรัยากรชุมชนด้านคน ผู้ทรงคูณวุฒิ ปราชญ์ผู้รู้ ในการศึกษาภูมิปัญญา วิถีชุมชนและมีการระดมทุนจากผู้นำทางการในการขอรับสนุนกิจกรรมนอกเหนือจากแผนการดำเนินงาน

    การบันทึกรายงานผลการดำเนินงาน

    จัดทำเป็นคู่มือ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    คณะทำงานและกลุ่มเป้าหมายมีการรวมกลุ่มในการจัดทำกิจกรรม โดยการรวมกลุ่มของแม่บ้าน ผู้สูงอายุ ในการอกกำลังกายและวิสาหกิจชุมชน

    จากข้อมูลของชุมชน

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    การจัดการสุขภาพของคนต้นแบบ

    จากข้อมูลของชุมชน

    จัดทำเป็นคู่มือ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

    รายงานผลการดำเนินงาน /แผนปฏิบัติการ

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

    -

    -

    -

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    ทางคณะกรรมการการดำเนินงาน มีความภูมิใจในการทำงานที่ทางชุมชนให้ความร่วมมือและงานที่ได้รับมอบหมายเกิดประโยชน์กับชุมชน และได้รับความไว้วางใจในการดำเนินงานต่อ

    จากการพูดคุย ซักถาม

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    การดำเนินงานมีความตั้งใจในการทำงานโดยมีการสละเวลาในการประกอบอาชีพในบางช่วงกิจกรรมหรือการเข้าร่วมประชุม มีการสลับหมุ่นเวียนกันในทางทีมงานเพื่อไม่ให้มีผลกระทบกับการประกอบอาชีพหรือการใช้ชีวิตประจำวัน

    จากการพูดคุย สัมภาษณ์

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    ชุมชนโดยส่วนใหญ่มีการน้อมนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง มีการปลูกผักเพิ่มขึ้น และใช้พืืชสมุนไพรในท้องถิ่น อยู่แบบเรียบง่าย

    จาการรายงานผลกรดำเนินงาน

    จัดทำคู่มือ บันทึก

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    เกิดการช่วยเหลือในการทำกิจกรรมร่วมกันของชุมชนทั้งกิจกรรมในโครงการและกิจกรรมอื่นๆของชุมชน เช่น งานแต่งงาน งาบุญ งานกีฬาของชุมชน

    จากการสังเกตการทำกิจกรรม และการติดตามลงพื้นที่

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    ในการดำเนินงานมีการพูดคุย โดยใช้เหตุและผลในการดำเนินกิจกรรม เมื่อเกิดข้อขัดแย้ง จะมีการร่วมฟังความิดเห็นและลงมติโดยใช้กระบวนการมีส่วนรวมและเสียงจากคนส่วนใหญ่เพื่อประกอบการตัดสินใจร่วมด้วย

    จากการสังเกตการทำกิจกรรม และการติดตามลงพื้นที่

    -

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

    -

    -

    -

    บ้านนาปริก สุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ตามแนวทางวิถีพอเพียง จังหวัด สตูล

    รหัสโครงการ 57-02547

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายก็หลัด บินหมาน )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด