แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ฟื้นชีวิตเล คืนวิถีชีวิตชุมชน บ้านหัวลำภู ”

บ้านหัวลำภู หมู่ที่ 1 ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นายถาวร เถี้ยมไล่

ชื่อโครงการ ฟื้นชีวิตเล คืนวิถีชีวิตชุมชน บ้านหัวลำภู

ที่อยู่ บ้านหัวลำภู หมู่ที่ 1 ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 57-02559 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0094

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 ตุลาคม 2557 ถึง 15 พฤศจิกายน 2558


กิตติกรรมประกาศ

"ฟื้นชีวิตเล คืนวิถีชีวิตชุมชน บ้านหัวลำภู จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านหัวลำภู หมู่ที่ 1 ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ฟื้นชีวิตเล คืนวิถีชีวิตชุมชน บ้านหัวลำภู



บทคัดย่อ

โครงการ " ฟื้นชีวิตเล คืนวิถีชีวิตชุมชน บ้านหัวลำภู " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านหัวลำภู หมู่ที่ 1 ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 57-02559 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 ตุลาคม 2557 - 15 พฤศจิกายน 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 213,000.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 185 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้มีสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง
  2. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งโดยชุมชน
  3. เพื่อให้เกิดมาตรการ การเฝ้าระวัง ลาดตะเวน และการบริหารแนวเขตอนุรักษ์อย่างเป็นรุปธรรมและมีความยั่งยืน
  4. ประชุมติดตามการดำเนินโครงการโดย สสส.สจรส.

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมปฐมนิเทศโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ 2557 รอบที่ 2

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น. - 17.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมปฐมนิเทศโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ 2557 รอบที่ 2
    โดยเรียนรู้การลงขัอมูลในเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สามารถลงข้อมูลในเวัปไซต์ คนใต้สร้างสุข ได้ และเรียนรู้การดำเนินโครงการ 

     

    2 2

    2. สภาผู้นำชุมชน คณะทำงานประชุมติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานโครงการ (ครั้งที่ 1)

    วันที่ 10 ธันวาคม 2557 เวลา 19.00 น. - 21.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายของหมู่บ้าน ในเวลาเช้า 5 วัน  (วันที่ตั้งแต่วันที่ วันที่ 4,6,7,8,9 ธันวาคม 2557)เพื่อมาประชุมกันในวันที่ 10 ธันวาคม 2557 เวลา 19.00 น. ถึง เวลา 21.00 น. 2.  สมาชิกกลุ่มต่างๆ จำนวน 32 คน เข้ามาฟังกิจกรรมที่จะดำเนินการ ตามงบประมาณสนับสนุนจาก สสส.
    2. ชี้แจงโครงการในแต่ละกิจกรรมให้กับกลุ่มแกนนำ
    3. เปิดโอกาสให้ซักถามและแสดงความคิดเห็น
    4. กำหนดวันในการดำเนินกิจกรรมแต่ละกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -หลังจากทำความเข้าใจกับกลุ่มแกนนำแล้ว กลุ่มสามารถทำความเข้าใจ และสามารถตอบคำถามให้กับประชาชนหรือสามารถประชาสัมพันธ์โครงการได้

    -แบ่งหน้าที่รับผิดชอบโดยให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านแต่ละชุมชน แจ้งข่าวหรือการทำกิจกรรมที่จะตำเนินการในลำดับต่อไป

     

    34 32

    3. อาสาสมัครชุมชน ออกตรวจลาดตระเวณพื้นที่เขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำ (ครั้งที่1-10)

    วันที่ 15 มกราคม 2558 เวลา 20:00 น. - 23:30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -แจ้งการออกลาดตระเวณให้กับกรรมการฟาร์มทะเล และสภาผู้นำชุมชน ว่ามีการออกลาดตระเวณ และนัดพบกันที่ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลป่าขาด (ทุกๆ ครั้งต้องมีผู้นำที่เป็นทางการจากหน่วยงานของรัฐไปด้วยทุกครั้ง)

    -เตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะเป็นลงเรือ

    -ออกเรือตามแนวเขตอนุรักษ์ ขาไป จากหน้าท่าจุดเฝ้าระวังวัดป่าขาด จนถึง ท้ายเเขตอนุรักษ์ เป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร  และวกเรือกลับมาเรื่อยๆ จนถึงศาลาจุดเฝ้าระวังกลางน้ำหรือกลางเขตอนุรักษ์ คอยเฝ้าสังเกตเหตุการณ์ ประมาณ 3-4 ชั่วโมง หรือดูว่าไม่มีเรือเข้ามาลอยลำบริเวณหน้าเขตอนุรักษ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ออกตรวจความเรียบร้อยในบริเวณเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ ไม่พบการกระทำผิด

     

    34 6

    4. ประชุมจัดตั้งสภาผู้นำชุมชนที่มาจากผู้นำชุมชนที่เป็นทางการ ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน และตัวแทนกลุ่มต่างๆในชุมชน จำนวน 19 คน โดยการรับสมัครจากกลุ่มองค์ต่างๆในชุมชนเพื่อทำความเข้าใจ บทบาทหน้าที่ การทำงานของสภาผู้นำฯ พร้อมทั้งแต่งตั้ง และแบ่งบทบาทหน้ารับผิด

    วันที่ 17 มกราคม 2558 เวลา 10:00 น. - 12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ประชาสัมพันธ์เสียงตามสายหมู่บ้าน เพื่อนัดมาทำประชาคมหมู่บ้านประจำเดือน พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์โครงการ สสส. และการนัดให้มีการแต่งตั้งสภาผู้นำชุมชน วันที่ 17 มกราคม 2558 ที่โรงธรรมวัดป่าขาด

    -ประชุมกันในวาระต่างๆ ของหมู่บ้าน และเลือกกรรมการเพื่อจัดต้้งสภาผู้นำชุมชน โดยให้ประชาชนในชุมชนเป็นคนเลือก จำนวน 19 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้สภาผู้นำ จำนวน 19 คน ประกอบด้วย ปราชญ์ชุมชม,กลุ่มอาชีพ,ผู้นำชุมชนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

     

    50 51

    5. สภาผู้นำชุมชนประชุมติดตาม ประเมินผลการดำเนินงาน (ครั้งที่ 2)

    วันที่ 22 มกราคม 2558 เวลา 19:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ประชุมกลุ่มแกนนำ อธิบายรายละเอียดขั้นตอนของกิจกรรมอีกคร้้งเพื่อความเข้าใจมากขึ้น

    -กำหนดหน้าที่รับผิดชอบเป็นฝ่ายต่างๆ ในการดำเนินกิจกรรม

    -เปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยหรือข้อเสนอแนะ

    -ตอบข้อสงสัย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ทบทวนขั้นตอนการทำงาน

    -หน้าที่การทำงานของแต่ละคนมีความชัดเจนมากขึ้น

     

    34 34

    6. สภาผู้นำฯประชุมชี้แจงโครงการและจัดตั้งคณะทำงาน ภายใต้ชื่อโครงการ "ฟื้นชีวิตเล คืนวิถีชีวิตชุมชน บ้านหัวลำภู"

    วันที่ 25 มกราคม 2558 เวลา 10:00 น. - 12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -นัดประะชุมการเตีรยมความพร้อมกันอีกครั้งที่ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 เวลา 19.00 น.

    -ในวันประชุมชี้แจง คณะทำงานเตรียมสถานที่ต่างๆ ไว้เรียบร้อย

    -ดำเนินการชี้แจงกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ประชาชนมีความเข้าใจการดำเนินงานในพื้นที่

    -ประชาชนในพื้นที่ได้รู้จักกับองค์กรที่สนับสนุนงบประมาณและการดำเนินงานโครงการ คือ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ ( สจรส. มอ.)  และ สสส.

     

    185 184

    7. ทำป้ายเขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 25 มกราคม 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่ และป้ายโครงการ ขนาด 1.5 ม. อยู่ในป้ายเดียวกัน ทั้งนี่เพื่อให้คนในชุมชนได้รู้ข้อมูลโครงการที่จะดำเนินงานในพื้นที่ และประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมลดการสูบบุหรี่  เพื่อให้พื้นที่ที่มีการทำกิจกรรมเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ป้ายเขตปลอดบุหรี่ และป้ายโครงการ จำนวน 1 ป้าย ขนาด 1.5 ม.

     

    2 2

    8. อาสาสมัครชุมชน ออกตรวจลาดตระเวณพื้นที่เขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำ (ครั้งที่ 11-20)

    วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 20:00 น. - 23:30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.แจ้งการออกลาดตระเวณให้กับกรรมการฟาร์มทะเล และสภาผู้นำชุมชน ว่ามีการออกลาดตระเวณ และนัดพบกันที่ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลป่าขาด (ทุกๆ ครั้งต้องมีผู้นำที่เป็นทางการจากหน่วยงานของรัฐไปด้วยทุกครั้ง)

    2.เตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นลงเรือ เช่น  วิทยุมดแดง ,อาหาร น้ำดื่ม ฯลฯ

    3.ออกเรือตามแนวเขตอนุรักษ์ ขาไป จากหน้าท่าจุดเฝ้าระวังวัดป่าขาด จนถึง ท้ายเเขตอนุรักษ์ เป็นระยะทาง 3 กิโลเมตร  และวกเรือกลับมาเรื่อยๆ จนถึงศาลาจุดเฝ้าระวังกลางน้ำหรือกลางเขตอนุรักษ์ คอยเฝ้าสังเกตเหตุการณ์ ประมาณ 3-4 ชั่วโมง หรือดูว่าไม่มีเรือเข้ามาลอยลำบริเวณหน้าเขตอนุรักษ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -อาสาสมัครออกตรวจความเรียบร้อยในบริเวณเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ

    -เสริมสร้างการทำงานร่วมกันของคนในชุมชน และกลุ่มอนุรักษ์

    -ลดการเข้ามาลักลอบการทำประมงในแนวเขตอนุรักษ์

     

    34 8

    9. สภาผู้นำชุมชน คณะทำงานประชุมติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานโครงการ (ครั้งที่ 3)

    วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -สรุปผลการทำงานของการทำกิจกรรมที่ 2 ชี้แจงโครงการให้ประชาชนในชุมชนและกลุ่มเป้าหมายทราบ

    -ปัญหาต่างๆ

    -เตรียมงานกิจกรรมที่จะทำครั้งต่อไป และงานอื่นๆ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -สรุปปัญหาต่างๆ จากกิจกรรมที่ผ่านมา และหาวิธีการแก้ไข

    -ให้สมาชิกเสนอแนะ

    -เตรียมความพร้อมในกิจกรรมต่อไป

    -มอบหมายหน้าที่การทำงาน

     

    34 34

    10. จัดทำแนวเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ หมู่ที่ 1 ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา

    วันที่ 12 มีนาคม 2558 เวลา 14:00 น. - 17.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการทำแนวเขต

    -นำท่า PVC ลงเรือ ไปปักเป็นแนวเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ

    -นำต่อปักให้ลึกลงไป ประมาณ 1 เมตร

    -เทปูนที่ผสมแล้วใส่ลงไปในท่อ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -จัดวางแนวเขตระยะทาง 2 กิโลเมตร จำนวน 40 ต้น

    -มีแนวเขตอนุรักษ์ที่ชัดเจน เพื่อลด หรือลักลอบการเข้ามาจับสัตว็น้ำในแนวเขต ของกลุ่มประมงพื้นบ้านใกล้เคียง

    -สร้างความสามัคีของคนในชุมชนในการทำงานร่วมกัน

     

    34 25

    11. คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

    วันที่ 16 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร จำนวน 500 บาท

     

    2 2

    12. จัดทำรายงานปิดงวด 1

    วันที่ 16 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -จัดทำรายงานปิดงวด 1 โดยมีเอกสารที่ต้องทำ คือ ส. 1 ,ส.2 ,ง. 1

    -การบันทึกข้อมูลในเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข ให้มีความถูกต้อง

    -การตรวจสอบเอกสารการใช้จ่ายเงินในการดำเนินกิจกรรม โดยทีม สจรส.มอ.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -การบันทึกข้อมูลที่ยังต้องมีการปรับในเรื่องของเนื้อหา ตลอดจนเอกสารการเงินที่บางส่วนยังไม่เรียบร้อย เช่น ใบลงทะเบียนผู้เข้าร่วม, การจัดเอกสารการเงินเป็นหมวดกิจกรรม

    -มีเงินสดในมือที่เกิน 5,000  เนื่องจากทางพื้นที่ได้ถอนเงินเพื่อทำกิจกรรมศึกษาดูงาน แต่ทางพื้นที่ปากพะยูนมีภารกิจ  จึงไม่ได้ไป พี่เลี้ยงจึงให้ทางพื้นที่โครงการดูแผนงาน และทำกิจกรรมเพื่อลดเงินสดในมือ โดยให้เวลาในการทำกิจกรรมให้แล้วเสร็จภายในอาทิตย์นี้ และนำส่งเอกสารในวันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2558

     

    2 2

    13. จัดเวทีทำความเข้าใจขั้นตอนการเตรียมปลูกต้นลำพู ต้นจาก ต้นลำภู รวมทั้งการซ่อมแซมซั้งบ้านปลา

    วันที่ 17 มีนาคม 2558 เวลา 9.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -เวลา 09.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน  ,กลุ่มอนุรักษ์ และประชาชน ได้ร่วมกันทำซั้งบ้านปลา จำนวน 30 ลูก
    ขั้นตอนในการทำ ซั้งบ้านปลา
    1. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการทำซั้ง เช่น ไม้โครงในการทำเขต , เชือกไนเอ็น
    2. ตัดไม้ตามที่รกร้าง และกิ่งกาฝากตามต้นตาลโตนด เพื่อนำมาปักรวมๆ กันในโครงซั้งบ้านปลาที่เตรียมไว้ในเขตอนุรักษ์ 3. ขนไม้ที่ตัดมาไว้ที่จุดรวม (ที่ท่าวัดป่าขาด)
    4. ขนไม้ลงเรือ ลำเลียงออกจากท่า เพื่อนำมาปักรวมๆ กันในโครงซั้งบ้านปลาที่เตรียมไว้ในเขตอนุรักษ์ ในเขต 3,000 เมตร

    -ในระหว่างพักเที่ยง ถึงบ่ายโมง ทางกลุ่มได้ชวนคุยการเตรียมพันธุ์ไม้ที่จะปลูกในพื้นที่รอบทะเลสาบสงขลา
    -บ่ายสองโมง หลังจากที่สมาชิกเตรียมอุปกรณ์เพื่อทำซั้ง เสร็จแล้ว ก็ได้ ชวนกันไปปักซั้งในเขตอนุรักษ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ชาวบ้านต่างให้ความสำคัญกับการจัดการเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำของชุมชน ในกิจกรรมซ่อมแซมซั้งบ้านปลา กอปกับอยู่ในช่วงปิดเทอมของนักเรียน เยาวชนในหมู่บ้าน ทำให้เกิดการมีส่วนร่วม มากขึ้น ชุมชนมีปฎิสัมพันธ์ที่ดี ลงช่องว่างระหว่างวัย ทั้งนี้กิจกรรมมีความมุ่งหวังให้เด็กและเยาวชนได้เห็นความสำคัญ ของภูมิปัญญาของชุมชน และสามารถสืบทอดให้รุ่นต่อไปได้

    -ปักซั้งในเขตอนุรักษ์ ได้จำนวน 30 ลูก เพื่อใช้เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาในพื้นที่ หมู่ 1 บ้านป่าขาด

    -คนในชุมชนเกิดความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากร

    -คนในชุมชนเกิดความสามัคคีในการทำงานร่วมกัน

     

    94 25

    14. สภาผู้นำชุมชน คณะทำงานประชุมติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานโครงการ (ครั้งที่ 4)

    วันที่ 17 มีนาคม 2558 เวลา 21:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ประกาศเสียงตามสายก่อนล่วงหน้า เพื่อกำหนดวัน และเวลาในการประชุมประจำเดือนของสภาผู้นำ

    -ประธานสภาผู้นำแจ้งรายละเอียดของกิจกรรมที่จะดำเนินในครั้งต่อไป และสรุปงานประจำเดือนที่ผ่านมา รวมถึงปัญหาและเหตุการณ์ต่างๆ ในชุมชน

    -สรุปงาน และชี้แจงกิจกรรมที่ทำในพื้นที่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากแผนงานเดือนที่ผ่านๆ มาการทำงานเป็นกลุ่มยังไม่เป็นระบบมากนัก  เนื่องจากเป็นการเริ่มการทำงาน  แต่จากที่กลุ่มมีการพูดคุย พบปะกันมากขึ้นทำให้การทำงานของกลุ่มและชุมชนเป็นทางการมากขึ้น เหมือนกับค่อยเป็นค่อยไป แต่ผลสรุปที่ได้ ทำให้สมาชิกรู้จักการรับฝังความคิดเห็นจากผู้อื่น และกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นมากขึ้น

     

    34 34

    15. อาสาสมัครชุมชน ออกตรวจลาดตระเวณพื้นที่เขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำ (ครั้งที่ 21-30)

    วันที่ 18 มีนาคม 2558 เวลา 20:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 19.00 น. อาสาสมัครกลุ่มอนุนักษ์ รวมกันที่จุดนัดพบบ้านรองประธานกลุ่ม ... เพื่อลงเรือออกตรวจรอบพื้นที่เขตอนุรักษ์สัตว์น้ำบ้านหัวลำพู  และพักที่ศาลาเฝ้าระวังหมู่ที่ 1 (ในทะเลสาบ) เฝ้าสังเกตเหตุการณ์ เป็นเวลาประมาณ 3-4ชั่วโมง (ดูว่าไม่มีอะไรผิดสังเกตุ) กลับเข้าสู่ฝั่ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เพื่อให้กลุ่มที่มาลักลอบจับปลาในเขตอนุรักษ์ได้รู้ว่ามีการเฝ้าระวัง และคอยตักให้รู้ว่าเป็นเขตห่วงห้าม

    -สร้างความเข้าในการจับสัตว์น้ำในเขตอนุรักษ์

    -เกิดความสามัคคีของกลุ่มสมาชิกในกลุ่มอนุรักษ์

     

    34 6

    16. ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการชายฝั่งกรณี การจัดการเขตอนุรักษ์ พื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

    วันที่ 19 มีนาคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จากที่มีแผนจะไปศึกษาดูงานในพื้นที่ปากพะยูน  แต่ทางกลุ่มมีภารกิจและไม่สะดวกในช่วงเดือนมีนาคม  ดังนั้นทางคณะทำงานโครงการจึงได้มีการปรึกษาหารือ และสรุปที่จะศึกษาดูงานของกลุ่มอนุรักษ์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา  ซึ่งมีชุมชนที่ทำงานด้านอนุรักษ์ อยู่ 2  พื้นที่  คือ ชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา และสมาพันธ์องค์กรคนรักษ์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ตำบลเกาะยอ อ.สิงหนคร จังหวัดสงขลา

    เวลา.9.00 น. - 13.00 น. ได้ไปเรียนรู้ ศึกษาดูงานของกลุ่มอนุรักษ์ชุมชน.บ้านโคกเมือง  ในนเรื่อง.การจัดการบริหารชุมชนให้เป็นชุมชนน่าอยู่เพิ่งตัวเอง โดยนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต

    เวลา.14.00 น. - 16.00 น. ได้ไปเรียนรู้ ศึกษาดูงานของกลุ่มอนุรักษ์ชุมชนบ้านโคกเปี้ยว ในเรื่อง การใช้จุลินทรีย์ในการปรับสภาพน้ำ EM บอล และการจัดการอนุรักษ์ทรัพยากร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1 .พื้นที่ที่ 1 ศึกษาดูงานบ้านโคกเมือง  ตำบลบางเหรียง อำเภอควนเนียง จังหวัดสงขลา     สิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงาน

          -  การบริหารจัดการองค์กร  เช่น  สภาผู้นำ  กลไกการทำงานของกลุ่มในชุมชน

          -  การนำเอาหลักปราชญ์เศรษฐพอเพียงมาใช้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมอาชีพ และการพึ่งตนเองของคนในชุมชน ลดรายจ่ายในครัวเรือน

          -  การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรชุมชน

    2.พื้นที่ที่  2 ศึกษาดูงาน สมาพันธ์องค์กรคนรักษ์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ตำบลเกาะยอ อ.สิงหนคร จังหวัดสงขลา       สิ่งที่ได้จากการศึกษาดูงาน

            - การน้ำเอาจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น การปรับสภาพน้ำ , น้ำยาล้างจาน, ตัวเร่งผลไม้ เป็นต้น
            - สมาชิกชุมชนได้ฝึกการทำ EM บอล  มีความรู้เกี่ยวกับ em บอล  ซึ่งสมาชิกกลุ่มอนุรักษ์สามารถนำมาปรับใช้กับกิจกรรมการทำ EM บอลในแผนงานโครงการในระยะต่อไป

     

    30 30

    17. ประชุมจัดทำร่างกฎระเบียบการใช้ประโยชน์เขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ (ครั้งที่ 1)

    วันที่ 21 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น - 12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมร่างข้อตกลงการใช้ประโยชน์นอกพื้นที่เขตอนุรักษ์ รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการทำประมง ในการทำร่างประชุมในครั้งนี้เพื่อเป็นการส่ิงที่ประชาชนต้องการเป็นไปในทางเดียวกัน เป็นความคิดเห็นของชาวประมง และจะนำข้อตกลงในที่ประชุมในเสนอในที่ประชุมครั้งต่อไป

    ข้อตกลงของชาวบ้าน

    1. ควรจะทำประชาสัมพันธ์ให้คนในพื้นที่ทราบ

    2. หากมีการลักลอบเข้ามาทำประมงในเขตอนุรักษ์ ควรมีการตักเตือน

    3. หากมีการตักเตือนแล้วยังมีการทำผิดซ้ำ จะมีโทษปรับ และยึดเครื่องมือประมง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการร่างกฎกติกาในการอนุรักษ์ทรัพยากรของชุมชน

    -เกิดข้อตกลงของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรของชุมชน (เป็นการคุยยังไม่ได้นำมาสรุป เพราะต้องการให้ผู้เข้าร่วมนำกลับไปคิด และนัดมาประชุมอีกครั้ง)

     

    25 25

    18. ประชุมจัดทำร่างกฎระเบียบการใช้ประโยชน์เขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ (ครั้งที่ 2)

    วันที่ 19 เมษายน 2558 เวลา 10:00 น. - 12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ประชุมทำร่างกฎระเบียบของชุมชนเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรกรธรรมชาติทางทะเลโดยผ่านเวทีรับฟังความคิดเห็น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เกิดการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการร่างกฎกติกาในการอนุรักษ์ทรัพยากรของชุมชน

    -เกิดข้อตกลงของชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรของชุมชน

     

    25 34

    19. สภาผู้นำชุมชน คณะทำงานประชุมติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานโครงการ (ครั้งที่ 5)

    วันที่ 2 กรกฎาคม 2558 เวลา 10:00 น. - 12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -วางมาตรการ ข้อตกลงของชุมชน ในใช้ทรัพยากรประมงร่วมกันของคนในชุมชน และนอกชุมชนที่เข้ามาทำประมงในเขต เครื่องมือประมงแบบทำลายล้างมีจำนวนลดลง ทรัพยากรประมงมีความสมบรูณ์เพิ่มมากขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -นำข้อสรุปจากการประชุมร่างกฎระเบียบการใช้ประโยชน์เขตอนุรักษ์สัตว์น้ำมาประชุมต่อ และร่วมกันหารือเพื่อหาข้อสรุป

    -เตรียมงานที่จะจัดขึ้นในครั้งต่อไป

     

    34 34

    20. จัดกิจกรรมให้ความรู้ การอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล และวิถีความเป็นอยู่ของคนในชุมชนโดยจัดเป็นฐานกิจกรรมการเรียนรู้ 4 ฐาน (นักเรียนวัดป่าขาด)

    วันที่ 22 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น. - 13.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -จัดกิจกรรมให้ความรู้ ความเข้าใจและความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล และวิถีความเป็นอยู่ของคนในชุมชนโดยจัดเป็นฐานกิจกรรมการเรียนรู้ 4 ฐาน
    โดยวิทยากร โดยปราญชาวบ้าน ที่ปรึกษาชุมชน คณะครูโรงเรียนวัดป่าขาด

    ฐานการเรียนรู้

    1) วิถีชีวิตความเป็นอยู่ตาม วิถีโหนด โดยวิทยากรได้สอนการประดิษฐ์หมวกจากใบตาลโตนด และการทำตับจากที่ใช้มุงหลังคาและวิธีปาดตาล ซึ่งเป็นอาชีพหนึ่งของการทำน้ำตาลโหนด

    2) วิถีชีวิตความเป็นอยู่ตาม วิถีนา

    3) วิถีชีวิตความเป็นอยู่ตาม วิถีเล โดยวิทยากรสอนวิธีการวางแห หรือ การใช้อวน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการจับปลา และประกอบอาชีพประมง ตลอดจนได้พาเด็ก เยาวชนลงพื้นที่ทะเลสาบสงขลา ในพื้นที่เขตอนุรักษ์ และเยี่ยมชมซั้งบ้านปลา ซึ่งเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เด็ก มีความรู้ความเข้าใจ และรู้สึกหวงแหนตระหนักในคุณค่าของวิถีชุมชน ตลอดจนทรัพยากรชุมชน

    -สร้างความสัมพันธ์ในชุมชนระหว่างคนต่างวัย ให้มีความรัก ความเคารพกันมากขึ้น

    -เกิดการเรียนรู้นอกชั้นเรียน และเป็นกิจกรรมสร้างการเรียนรู้ให้กับเด็ก เยาวชน ให้เรียนรู้วิถีของพ่อ แม่

     

    60 60

    21. อาสาสมัครชุมชน ออกตรวจลาดตระเวนพื้นที่เขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำ (ครั้งที่ 31-40)

    วันที่ 23 กรกฎาคม 2558 เวลา - 21:00น. - 23.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -เวลา21:00น. น. อาสาสมัครกลุ่มอนุรักษ์ รวมกันที่จุดนัดพบ ที่บ้านประธานกลุ่มเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ นายสาโรช คังฆะมโน เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น แล้วลงเรือออกตรวจรอบพื้นที่เขตอนุรักษ์สัตว์น้ำบ้านหัวลำภูและพักจุดพัดที่ศาลาเฝ้าระวัง กลางเขตอนุรักษ์ เพื่อสังเกตเหตุการณ์ในเขตอนุรักษ์และรอบทะเลสาบ ประมาณ 2-3 ชั่วโมง (ดูว่าไม่มีอะไรผิดปกติ หรือผิดสังเกต) กลับเข้าฝั่ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ลดการลักลอบการทำประมงในเขตอนุรักษ์ ซึ่งมีผลกระทบต่อสัตว์น้ำ การใช้มาตรการอาสาสมัครเฝ้าระวังทำให้ทรัพยากรในชุมชนได้รับการดูแลปกป้อง

    -สมาชิกกลุ่มอนุรักษ์มีความสามัคคี มีความเอื้ออาทรแบ่งบัน

     

    34 34

    22. อบรม/ขั้นตอนการทำ EM ball ปรับสภาพน้ำให้กับชุมชนรวมทั้งผู้สนใจหลังจากคณะกรรมการโครงการได้ไปศึกษาดูงานที่บ้านช่องฟืนและนำมาต่อยอดให้กับชุมชน (ครั้งที่ 1)

    วันที่ 26 กรกฎาคม 2558 เวลา 10:30 น. - 14.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ขั้นตอนการทำ EM Ball

    วัสดุที่ต้องการใช้ในการ EM Ball

    ได้แก่

    – รำละเอียด – รำหยาบ – น้ำ – หัวเชื้อ EM – กากน้ำตาล – ดินทรายละเอียด

    ขั้นตอนการทำ EM Ball

    – นำรำละเอียด 2 ส่วน รำหยาบ 2 ส่วน ดินทรายละเอียด 1 ส่วน มาผสมกัน คลุกเคล้าให้ทั่ว (บางสูตรอาจจะใช้อัตราส่วนเท่ากันหมดก็ได้) – EM 10 ช้อนแกง กากน้ำตาล 10 ช้อนแกง น้ำ 10 ลิตร ผสมให้เข้ากัน – จากนั้นนำทั้งสอง อย่างมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แนะนำว่า ค่อยๆเทน้ำ EM ที่ผสมแล้วลงไป เพราะถ้าเทรวดเดียวหมดแล้วมันเหลวไป ปั้นเป็นก้อนไม่ได้ ก็ต้องไปผสม ส่วนผสมใน ข้อ 1 เพิ่ม – จากนั้นพอปั้นเป็นก้อน ก็ให้นำไปวางผึ่งลมให้แห้งถ้าหากเอาไปผึ่งแดด เราจะได้ก้อนดินเท่านั้น เพราะเชื้อตาย – หลังจากนั้นควรเก็บไว้อีกซัก 10-15 วัน เพื่อให้เชื่อเริ่มทำงานหากนำEM Ballเพิ่งแห้ง โยนลงไปอาจจะทำให้ไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควร ควรรอซักระยะให้เชื้อเริ่มขยายจำนวนก่อน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ประชาชนในชุมชนมีความรู้ในการทำอีเอ็มบอล

    -มีอีเอ็มบอลที่ชุมชนผลิตได้นำไปใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำในพื้นที่ทะเลสาบสงขลา และพื้นที่ฟาร์มทะเล

    -อีเอ็มบอล ที่ผลิตขึ้นหลังจากกิจกรรมอบรมแล้วเสร็จ สามารถนำไปโยนในพื้นที่ทะเลสาบหมู่ 1 บ้านหัวลำพู ทำให้ปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น และการบำบัดน้ำเสีย

     

    64 64

    23. อาสาสมัครชุมชน ออกตรวจลาดตระเวนพื้นที่เขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำ (ครั้งที่ 41-50)

    วันที่ 30 กรกฎาคม 2558 เวลา 21:00 น. - 23.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -เวลา9.00 น. - 23.30 น. อาสาสมัครกลุ่มอนุรักษ์ รวมกันที่จุดนัดพบ ที่บ้านประธานกลุ่มเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ นายสาโรช คังฆะมโน เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น แล้วลงเรือออกตรวจรอบพื้นที่เขตอนุรักษ์สัตว์น้ำบ้านหัวลำภูและพักจุดพัดที่ศาลาเฝ้าระวัง กลางเขตอนุรักษ์ เพื่อสังเกตเหตุการณ์ในเขตอนุรักษ์และรอบทะเลสาบ ประมาณ 2-3 ชั่วโมง (ดูว่าไม่มีอะไรผิดปกติ หรือผิดสังเกต) กลับเข้าฝั่ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -จากการเฝ้าระวังของกลุ่มอาสาสมัครอย่างแข็งขัน ทำให้ชาวบ้านเกิดความจิตอาสามากขึ้นถึงแม้ว่าจะไม่มาเฝ้าระวัง แต่เมื่อมีคนลักลอบเข้ามาในเขตอนุรักษ์ ก็จะบอก และแจ้งให้กรรมการทราบทันที

    -ลดการเข้ามาทำประมงผิดกฎหมายในเขตอนุรักษ์ทำให้สัตว์น้ำมีปริมาณเพิ่มขึ้น

    -เกิดความสามัคคีของกลุ่มสมาชิกในกลุ่มอนุรักษ์

    -เมื่อทะเลสาบมีความสมบรูณ์ทำให้คนที่ประกอบอาชีพประมงมีรายได้ที่มั่นคง สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ ตลอดจนการมีอาหารทะเลที่ปลอดภัยไว้บริโภคในครัวเรือนและจำหน่ายให้กับผู้บริโภค

     

    34 34

    24. สภาผู้นำชุมชน คณะทำงานประชุมติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานโครงการ (ครั้งที่ 6)

    วันที่ 3 สิงหาคม 2558 เวลา 19:00 น - 21.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รายงานผลการดำเนินกิจกรรมในเดือนที่ผ่านมา ปัญหา อุปสรรค์ในการทำงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เกิดการทำงานร่วมกันของกลุ่มแกนนำ

    -เกิดความสามัคคีของแกนนำชุมชน

     

    34 34

    25. จัดทำร่างระเบียบข้อตกลงในการทำประมงในเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำร่วมกับส่วนราชการ

    วันที่ 5 สิงหาคม 2558 เวลา 10:00 น. - 14.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หามาตรการป้องกัน ข้อตกลงของชุมชนในใช้ทรัพยากรประมงร่วมกัน ของคนในชุมชน และนอกชุมชนที่เข้ามาทำประมงในเขต เครื่องมือประมงแบบทำลายล้างมีจำนวนลดลง ทรัพยากรประมงมีความสมบรูณ์เพิ่มมากขึ้นในการประชุมครั้งนั้น ปลัดอำเภอสิงหนคร ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลป่าขาด ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2,3,4,5 เข้าร่วมเพื่อหาข้อสรุปในการทำร่างข้อตกลงในการทำการประมงในเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในการประชุมหาข้อตกลงในการจัดการเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ ทางโครงการได้จัดประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือร่วมกันทุกหมู่บ้านเนื่องจากมีสิทธิในการใช้ประโยชน์เท่าเทียมกัน ผู้เข้าร่วม ปลัดอำเภอสิงหนคร , อบต. ป่าขาด , ผู้ใหญ่บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ทุกหมู่บ้านในตำบลป่าขาด , กลุ่มแกนนำโครงการเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ , ประชาชนในให้ความสนใจ ในการประชุมครั้งนี้ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมในห้องประชุมได้ทั้งหมดดังนั้นในการประชุมจึงใช้ตัวแทนที่มีความสำคัญเข้าร่วมประชุม แลัวแต่ละหมู่บ้านก็มาวาระการประชุมให้กลับลูกบ้านของแต่ละหมู่บ้านฟัง ในการประชุมในครั้งนี้ยังหาขอยุติยังไม่ชัดเท่าที่ควรเพราะจะต้องรู้กฎหมายต่างๆ ที่ควบคุมการใช้ประโยชน์อยู่อีกมาก จึงอาจจะมีการประชุมการอีกครั้งในวาระของตำบลป่าขาด

     

    90 90

    26. อาสาสมัครชุมชน ออกตรวจลาดตระเวณพื้นที่เขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำ (ครั้งที่ 51-60)

    วันที่ 10 สิงหาคม 2558 เวลา 21:00น. - 23.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    อาสาสมัครกลุ่มอนุรักษ์ รวมกันที่จุดนัดพบ ที่บ้านประธานกลุ่มเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ นายสาโรช คังฆะมโน เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น แล้วลงเรือออกตรวจรอบพื้นที่เขตอนุรักษ์สัตว์น้ำบ้านหัวลำภูและพักจุดพัดที่ศาลาเฝ้าระวัง กลางเขตอนุรักษ์ เพื่อสังเกตเหตุการณ์ในเขตอนุรักษ์และรอบทะเลสาบ ประมาณ 2-3 ชั่วโมง (ดูว่าไม่มีอะไรผิดปกติ หรือผิดสังเกต) กลับเข้าฝั่ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ลดการเข้ามาทำประมงผิดกฎหมายในเขตอนุรักษ์ทำให้สัตว์น้ำมีปริมาณเพิ่มขึ้น

    -เกิดความสามัคคีของกลุ่มสมาชิกในกลุ่มอนุรักษ์

    -เมื่อทะเลสาบมีความสมบรูณ์ทำให้คนที่ประกอบอาชีพประมงมีรายได้ที่มั่นคง สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ ตลอดจนการมีอาหารทะเลที่ปลอดภัยไว้บริโภคในครัวเรือนและจำหน่ายให้กับผู้บริโภค

     

    34 0

    27. ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในเขตอนุรักษ์ (ครั้งที่ 1)

    วันที่ 11 สิงหาคม 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ติดต่อขอความอนุเคราะห์พันธุ์สัตว์น้ำ จาก กรมประมง
    2. ทั้งหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน เยาวชน
      ร่วมกันปล่อยสัตว์น้ำสัตว์น้ำที่ปล่อย คือ กุ้งแซบ๊วย จำนวน 30,0000 ตัว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พื้นที่ทะเลสาบ หมู่ 1 บ้านหัวลำพู มีปริมาณจำนวนกุ้งแซบ๊วย เพิ่มขึ้นกุ้งแซบ๊วยถือเป็นสัตว์เศรษฐกิจของชุมชนในด้านอาชีพประมง และในพื้นที่ทะเลสาบสงขลา
    การเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำในพื้นที่จะทำให้คนในชุมชนมีความมั่นคงทางอาหารและความมั่นคงในการประกอบอาชีพของคนในชุมชน

     

    94 94

    28. ฝึกอบรมให้ความรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความผิด เกี่ยวกับการทำลายทรัพยากร

    วันที่ 18 สิงหาคม 2558 เวลา 10:00 น. - 14.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ฝึกอบรมให้ความรู้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความผิดเรื่องทรัพยากร เช่น คดีอาญา ,คดีแพ่ง และวิธีการไกล่เกลี่ยและประณีประนอมกับคู่กรณีซึ่งวิทยากรได้ให้ความรู้
    1. ดูวิดีโอเกี่ยวกับการจัดการข้อพิพาษการใช้ทรัพยากรร่วมและวิธีการแก้ปัญหา ของบ้านลีเล็ด จังหวัดสุราษฎร์ธาณี

    1. ให้ชุมชนเล่าถึงปัญหาที่ตนเองพบเจอเกี่ยวกับกรณีพิพาษ การใช้ทรัพยากร

    2. อบรมข้อกฎหมายต่าง เช่น พรบ.ประมง 2547 และอื่น ๆ

    3. ทดลองให้ผู้เข้าร่วมลองไกล่เกี่ย เป็นกลุ่ม โดยให้กรณีศึกษา

    4. สรุป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ต้วแทนหรือผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวการการใช้กฎหมาย และกรณีพิพาษ มากยิ่งขึ้น และสามารถนำมาปรับใช้ในการประกอบอาชีพ และชีวิตประจำวันได้
    • เจ้าหน้าที่ตำตรวจสถานีตำรวจภูธรปากรอ และ ศูนย์บริหารจัดการประมงภาคใต้ตอนล่าง สงขลา ร่วมให้ความรู้ในการอบรมในครั้งนี้

     

    40 40

    29. อบรมวิธีในการปราบปรามเฝ้าระวังและการใช้วิทยุ (ครั้งที่ 1)

    วันที่ 25 สิงหาคม 2558 เวลา 18:30 น - 21.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. รู้จักวิธีการใช้วิทยุสื่อสารได้อย่างถูกวิธีและเป็นประโยชน์ในการสื่อสาร สามารถออกตรวจตราดูแลพื้นที่เขตอนุรักษ์ได้
    2. วิธีลดแรงปะทะและความขัดแย้งกันระหว่างคู่กรณี สามารถตกลงข้อพิพาส ได้ง่ายขึ้น
    3. ปลูกฝังจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนมีความหวงแหนในการใช้ทรัพยากรชองชุมชน
    4. สร้างกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบให้กับเด็กและเยาวชน
    5. สภาผู้นำและแกนนำกลุ่มประมงเกิดการเรียนรู้กระบวนการจัดการเขตอนุรักษ์ฯ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในการทำกิจกรรมครั้งที่ 1 ทางสมาชิกจัดในเวลากลางคืน เวลา 18.30 น. - 21.00 น. เพราะในช่วงเวลากลางวันกลุ่มและผู้ที่สนใจไม่สะดวก จึงสรุปเวลาว่างพร้อมกันในช่วงนี้ มาประชุมและให้ความรู้ในการใช้วิทยุ เนื่องจากมีสมาชิกบางท่านเคยได้รับการอบรมหลักสูตรการใช้วิทยุมาแล้ว คือประทานกลุ่ม คือ นายสาโรช ฆังคะมโณ และนายณรงค์ แดงขวาง มาให้ความรู้ในเบื้องตนก่อน และได้นัดเจ้าหน้าที่วิทยุกรมประมงมาในเวลา 1 ทุ่ม มาสอนวิธีการใช้ต่าง ๆ

     

    40 40

    30. โยน EM boll เพื่อปรับสภาพน้ำ (ครั้งที่ 2)

    วันที่ 30 สิงหาคม 2558 เวลา 10:00 น. - 13.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ในการ โยน EM Boll ครั้งนี้ จำนวน1,500 ลูก อีกทั้งมีตัวแทนองค์กรภาคเอกชนบริษัทพิธานพาณิชย์ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมกับชุมชน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การฟิ้นฟูทะเลสาบสงขลา และการอนุรักษ์สัตว์น้ำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -อีเอ็มบอล เป็นจุรินทรีย์ที่ช่วยการบำบัดน้ำเสียจุรินทรีย์ที่ชุมชนได้ร่วมกันทำที่มีส่วนผสม เช่น รำข้าว ซึ่งเป็นอาหารของปลา

    -คนในชุมชน และตัวแทนของบริบัท ที่เข้าร่วมกิจกรรม มีความรู้ ความเข้าใจในการฟื้นฟูทะเลสาบ

     

    64 54

    31. สภาผู้นำชุมชน คณะทำงานประชุมติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานโครงการ (ครั้งที่ 7)

    วันที่ 30 สิงหาคม 2558 เวลา 10:00 น. - 12.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดหมายวัน เวลาสถานที่ประชุม
    2. ให้แต่ละคนสรุปการทำงานของตนเอง ผลสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรคที่ผ่านมา และวิธีแก้ไข
    3. นำเรื่องต่างๆ มาเล่าสู่กันฟัง เพื่อให้กลุ่มหรือทีมนำปัญหา ความสำเร็จ และวิธีการแก้ไข มาปรับใช้กับงานที่ได้รับมอบหมายของตนในครั้งต่อไป
    4. เรื่องอื่นๆ
    5. ประธานสรุป และปิดประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การประชุมติดตามการทำงานครั้งนี้ จัดพร้อมกับการทำกิจกรรมโยน EM boll ร่วมกับภาคีเครือข่าย (บริษัทพิธานพาณิชย์)
    • ในการจัดประชุมติดตามการทำงานในครั้งนี้ทางกลุ่มคิดว่าน่าจะลอง ทำไปพร้อม ๆ กัน ว่าหากเกิดปัญหา เฉพาะหน้าทางกลุ่มสามารถแก้ไขปัญหาได้หรือไม่ (ในกิจกรรมนี้เป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมาก)

     

    34 34

    32. งานสร้างสุขโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใต้

    วันที่ 4 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินโครงการชุมชนน่าอยู่และภาคีการดำเนินงานของเครือข่ายอื่น ในประเด็นวาระสร้างสุขคนใต้เช่น ความมั่นคงทางอาหาร ,ปัจจัยเลี่ยงเหล้า บุหรี่ ,สปสช, สช.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เรียนรู้การทำงานของภาคีเครือข่ายต่างๆ

    -มีเครือข่ายต่างๆที่จัดบูธนิทรรศการ เพื่อเผยแพร่ผลงาน และกิจกรรมที่ขับเคลื่อนในพื้นที่

     

    2 1

    33. สภาผู้นำชุมชน คณะทำงานประชุมติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานโครงการ (ครั้งที่ 8)

    วันที่ 7 กันยายน 2558 เวลา 19:00 น. - 21.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดหมายวัน เวลาสถานที่ประชุม
    2. ให้แต่ละคนสรุปการทำงานของตนเอง ผลสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรคที่ผ่านมา และวิธีแก้ไข
    3. นำเรื่องต่างๆ มาเล่าสู่กันฟัง เพื่อให้กลุ่มหรือทีมนำปัญหา ความสำเร็จ และวิธีการแก้ไข มาปรับใช้กับงานที่ได้รับมอบหมายของตนในครั้งต่อไป
    4. เรื่องอื่นๆ
    5. ประธานสรุป และปิดประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ประชุมติดตามการทำงาน ในเรื่องปัญหาและอุสรรคที่ผ่านมาจากการทำกิจกรรมในแต่ครั้ง และหาข้อสรุปร่วมกัน เพื่อทบทวนกิจกรรมต่างๆ ที่ผ่านมา

     

    34 34

    34. สภาผู้นำชุมชน คณะทำงานประชุมติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานโครงการ (ครั้งที่ 9)

    วันที่ 11 กันยายน 2558 เวลา 19:00 น - 21.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สภาผู้นำติดตาม ชุมชน คณะทำงานประชุมและประเมินผลการดำเนินงานโครงการ และปัญหา อุปสรรค ที่เกิดขึ้นในการทำกิจกรรม และหาวิธีทางแก้ไข รวมถึง กิจกรรมที่จะดำเนินการต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ประชุมติดตามการทำงานโดยทั่วไปและความเป็นไปในชุมชน ในช่วงนี้เป็นช่วงที่ชาวบ้านต้องรีบทำประมงเพราะไกลถึงฤดูฝนทำให้น้ำในทะเลสาบจืดสัตว์น้ำไม่มาอาศัย ดังนั้นในช่วงนี้ไม่ได้ทำกิจกรรมมากนัก

     

    34 34

    35. ปลูกป่าชายเลน และทำความเข้าใจ ให้ความรู้เกี่ยวกับประโยขน์ของป่าชายเลนให้กับเด็กเยาวชนและคนในชุมชนได้ตระหนักและเห็นคุณค่า

    วันที่ 13 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น. - 12.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -วิทยากรให้ความรู้สร้างความเข้าใจถึงประโยชน์จากป่าชายเลนให้เยาวชนและประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรม

    -สมาชิกร่วมกันปลูกต้นลำพู ต้นโกงกาง และต้นตีนเป็ดในพื้นที่ริมตลิ่ง เพื่อลดการกัดเซาะชายฝั่ง และเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เยาวชนและประชาชนได้รับความรู้และตระหนักถึงคุณค่าจากป่าชายเลน

    -เยาวชนและประชาชนมีส่วนร่วมในการปลูกเพิ่มป่าชายเลน

    -เกิดพื้นที่อนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนในพื้นที่ทะเลสาบ หมู่ 1 บ้านหัวลำพู

     

    94 94

    36. สภาผู้นำชุมชน คณะทำงานประชุมติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานโครงการ (ครั้งที่ 10)

    วันที่ 13 กันยายน 2558 เวลา 19:00 น. - 21.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. นัดหมายวัน เวลาสถานที่ประชุม
    2. ให้แต่ละคนสรุปการทำงานของตนเอง ผลสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรคที่ผ่านมา และวิธีแก้ไข
    3. นำเรื่องต่างๆ มาเล่าสู่กันฟัง เพื่อให้กลุ่มหรือทีมนำปัญหา ความสำเร็จ และวิธีการแก้ไข มาปรับใช้กับงานที่ได้รับมอบหมายของตนในครั้งต่อไป
    4. เรื่องอื่นๆ
    5. ประธานสรุป และปิดประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -การประชุมติดตามการทำงานครั้งที่ 10 พูดคุยกันในเรื่องการจัดกิจกรรมปิดโครงการออกแบบกิจกรรมที่จะมีในวันปิดโครงการ มอบหมายหน้าที่ผู้รับผิดชอบ และพูดคุยกันเรื่องปัญหาอุปสรรคที่ผ่านมา รวมถึงเรื่องทั่ว ๆ ไป ของชุมชน

     

    34 34

    37. อาสาสมัครชุมชน ออกตรวจลาดตระเวนพื้นที่เขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำ (ครั้งที่ 61-70)

    วันที่ 14 กันยายน 2558 เวลา 21:00 น. - 23.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -เวลา 21.00 น. อาสาสมัครกลุ่มอนุรักษ์ รวมกันที่จุดนัดพบ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เพื่อพูดคุยและเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น แล้วลงเรือออกตรวจรอบพื้นที่เขตอนุรักษ์สัตว์น้ำบ้านหัวลำภูและพักจุดพัดที่ศาลาเฝ้าระวัง กลางเขตอนุรักษ์ เพื่อสังเกตเหตุการณ์ในเขตอนุรักษ์และรอบทะเลสาบ ประมาณ 2-3 ชั่วโมง (ดูว่าไม่มีอะไรผิดปกติ หรือผิดสังเกต) กลับเข้าฝั่ง เวลา 23.30 น.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ลดการเข้ามาทำประมงผิดกฎหมายในเขตอนุรักษ์ทำให้สัตว์น้ำมีปริมาณเพิ่มขึ้น

    -เกิดความสามัคคีของกลุ่มสมาชิกในกลุ่มอนุรักษ์

    -เมื่อทะเลสาบมีความสมบรูณ์ทำให้คนที่ประกอบอาชีพประมงมีรายได้ที่มั่นคง สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ ตลอดจนการมีอาหารทะเลที่ปลอดภัยไว้บริโภคในครัวเรือนและจำหน่ายให้กับผู้บริโภค

     

    34 34

    38. อบรมวิธีในการปราบปรามเฝ้าระวังและการใช้วิทยุ (ครั้งที่ 2)

    วันที่ 17 กันยายน 2558 เวลา 11:30 น. - 14.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. รู้จักวิธีการใช้วิทยุสื่อสารได้อย่างถูกวิธีและเป็นประโยชน์ในการสื่อสาร สามารถออกตรวจตราดูแลพื้นที่เขตอนุรักษ์ได้
    2. วิธีลดแรงปะทะและความขัดแย้งกันระหว่างคู่กรณี สามารถตกลงข้อพิพาส ได้ง่ายขึ้น
    3. ปลูกฝังจิตสำนึกให้เด็กและเยาวชนมีความหวงแหนในการใช้ทรัพยากรชองชุมชน
    4. สร้างกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบให้กับเด็กและเยาวชน
    5. สภาผู้นำและแกนนำกลุ่มประมงเกิดการเรียนรู้กระบวนการจัดการเขตอนุรักษ์ฯ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -สมาชิกกลุ่มอนุรักษ์มีความรู้ความเข้าใจในการใช้วิทยุสื่อสาร

    -การใช้วิทยุสื่อสารจะทำให้การออกตรวจลาดตระเวณของกลุ่มอนุรักษ์ ทำให้การปฎิบัตงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

     

    40 40

    39. อาสาสมัครชุมชน ออกตรวจลาดตระเวนพื้นที่เขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำ (ครั้งที่ 71-80)

    วันที่ 25 กันยายน 2558 เวลา - 21:00น. - 23.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -เวลา21:00น. น. อาสาสมัครกลุ่มอนุรักษ์ รวมกันที่จุดนัดพบ ที่บ้านประธานกลุ่มเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ นายสาโรช คังฆะมโน เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น แล้วลงเรือออกตรวจรอบพื้นที่เขตอนุรักษ์สัตว์น้ำบ้านหัวลำภูและพักจุดพัดที่ศาลาเฝ้าระวัง กลางเขตอนุรักษ์ เพื่อสังเกตเหตุการณ์ในเขตอนุรักษ์และรอบทะเลสาบ ประมาณ 2-3 ชั่วโมง (ดูว่าไม่มีอะไรผิดปกติ หรือผิดสังเกต) กลับเข้าฝั่ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -เพื่อให้กลุ่มคนที่มาลักลอบจับปลาในเขตอนุรักษ์ได้รู้ว่ามีการเฝ้าระวัง ทำให้ลดการใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายและการจับปลาในบริเวณฟาร์มทะเล

    -เกิดการสร้างความเข้าในการจับสัตว์น้ำในพื้นที่เขตอนุรักษ์


    หมายเหตุ : ในการออกตรวจในสัปดาห์นี้ของอาสาสมัครเฝ้าระวัง มีรายงานมาจากชาวบ้านว่ามีผู้ลักลอบเข้ามาทำประมงในเขตอนุรักษ์ (ฟาร์มทะเล) จึงรีบไปจับกุม และได้มีการตักเตือน เป็นครั้งที่ 1 และได้ยึดสัตว์น้ำที่จับได้ไว้ แล้วให้ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายรักษาความสงบ บันทึกประวัติไว้

     

    34 34

    40. จัดเวทีชุมชน ให้มีความรู้ ความเข้าใจ และความสำคัญของการเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไขปัญหาทรัพยากรชายฝั่งทะเล

    วันที่ 26 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น. - 15.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ประธานโครงการประกาศเสียงตามสาย หมู่ที่ 1 และประชาชนทั่วไป ทราบ เรื่องการจัดเวทีให้ความรู้ ความเข้าใจในการจัดการทรัพยากรประมงในเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำของชุมชน

    2. เชิญตัวแทนต่างๆ ในชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เข้ามาให้ให้ความความเข้าใจถึงการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรในชุมชน

    3. ในการประชุมครั้งนี้ มีวาระการประชุม เพื่อร่วมวางแผนในกิจกรรมต่อไป
      -การให้ความรู้ ความเข้าใจ และความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยกรในชุมชน

    -ประชุมร่างข้อตกลงในการใช้ประโยชน์การใช้ทรัพยากรในชุมชุน (ครั้งที่ 2)

    -ปลูกป่าชายเลน

    4.ปิดประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -หน่วยงานต่าง ๆ ให้ความสนใจ และเข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชนมากขึ้น เช่น หน่วยงานเอกชนที่เข้ามามีส่วนร่วมในครั้งนีั บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ ได้เข้ามามีส่วนร่วมและให้ความรู้กับชุมชน

     

    85 85

    41. อาสาสมัครชุมชน ออกตรวจลาดตระเวนพื้นที่เขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำ (ครั้งที่ 81-90)

    วันที่ 13 ตุลาคม 2558 เวลา - 21:00น. - 23.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -เวลา21:00น. น. อาสาสมัครกลุ่มอนุรักษ์ รวมกันที่จุดนัดพบ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น แล้วลงเรือออกตรวจพื้นที่เขตอนุรักษ์สัตว์น้ำบ้านหัวลำภูและพักจุดพัดที่ศาลาเฝ้าระวัง กลางเขตอนุรักษ์ เพื่อสังเกตเหตุการณ์ในเขตอนุรักษ์และรอบทะเลสาบ ประมาณ 2-3 ชั่วโมง (ดูว่าไม่มีอะไรผิดปกติ หรือผิดสังเกต) กลับเข้าฝั่ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีผู้แจ้งว่ามีคนนอกพื้นที่เข้ามาทำประมงในเขตอนุรักษ์ โดยใช้เครื่องมือผิดกฎหมายใช้ช๊อตไฟฟ้าเพื่อให้สัตว์น้ำวิ่งเข้าไปในเครืองมือปรของตนเอง ดังนั้น อาสาสมัครเฝ้าระวังไปตรวจและตักเตือนไป 1 ครั้ง

     

    34 34

    42. ร่วมหารือกับพี่เลี้ยงทำรายงานปิดโครงการ

    วันที่ 17 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น. - 16.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -รายงานความก้าวหน้าของโครงการ กิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว และยังคงเหลืออีกกี่กิจกรรม และทางสมาชิกได้ประชุมวางแผนในการทำงานกิจกรรมที่เหลือให้ทราบ

    -ตรวจเอกสารการใช้จ่ายเงิน

    -ทางพี่เลี้ยงโครงการได้อธิบายการรายงานหน้าเว้ปไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ดำเนินงานตามคำแนะนำของพี่เลี้ยง ในการจัดทำรายงานปิดงวด 2

     

    1 1

    43. อาสาสมัครชุมชน ออกตรวจลาดตระเวนพื้นที่เขตอนุรักษ์พันธ์สัตว์น้ำ (ครั้งที่ 90-96)

    วันที่ 28 ตุลาคม 2558 เวลา 21:00 น. - 23.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -เวลา21:00น. น. อาสาสมัครกลุ่มอนุรักษ์ รวมกันที่จุดนัดพบ ที่บ้านประธานกลุ่มเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ นายสาโรช คังฆะมโน เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น แล้วลงเรือออกตรวจรอบพื้นที่เขตอนุรักษ์สัตว์น้ำบ้านหัวลำภูและพักจุดพัดที่ศาลาเฝ้าระวัง กลางเขตอนุรักษ์ เพื่อสังเกตเหตุการณ์ในเขตอนุรักษ์และรอบทะเลสาบ ประมาณ 2-3 ชั่วโมง (ดูว่าไม่มีอะไรผิดปกติ หรือผิดสังเกต) กลับเข้าฝั่ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ลดการเข้ามาทำประมงผิดกฎหมายในเขตอนุรักษ์ทำให้สัตว์น้ำมีปริมาณเพิ่มขึ้น

    -เกิดความสามัคคีของกลุ่มสมาชิกในกลุ่มอนุรักษ์

    -เมื่อทะเลสาบมีความสมบรูณ์ทำให้คนที่ประกอบอาชีพประมงมีรายได้ที่มั่นคง สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ ตลอดจนการมีอาหารทะเลที่ปลอดภัยไว้บริโภคในครัวเรือนและจำหน่ายให้กับผู้บริโภค

     

    34 34

    44. โยนจุลินทรี EM boll เพื่อปรับสภาพน้ำให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้น (ครั้งที่ 3)

    วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 เวลา 10:00 น. - 13.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะสภาผู้นำชุมชนประชาชน ร่วมกันโยน EM boll จำนวน 3,000 ลูก ลงในพื้นที่เขตอนุรักษ์ ฟาร์มทะเล และพื้นที่ทะเลสาบสงขลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -คนในชุมชนเกิดความรู้ ใหม่ในการปรับคุณภาพน้ำโดยใช้ em boll

    -พื้นที่ฟาร์มทะเลบ้านหัวลำพู และทะเลสาบสงขลา มีความสมบรูณ์ขึ้น เนื่องจากอีเอ็มบอลมีส่วนผสมของจุรินทรีย์ และส่วนประกอบอื่น เช่น รำข้าว ทำให้เป็นอาหารของปลา ตลอดจนจุรินทรีย์ยังช่วยในการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ

     

    64 64

    45. ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในเขตอนุรักษ์ (ครั้งที่ 2)

    วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น. - 15.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่ธรรมชาติ เพื่อขยายพันธุ์ให้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น จำนวน 10,000 ตัว ซึ่งในการทำกิจกรรมปล่อยสัตว์น้ำในครั้งนี้ มีหน่วยงานเอกชน บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ เข้ามาช่วยจัดหาสัตว์น้ำมาให้ชุมชน จำนวน 78,200 ตัว ทำให้ชาวบ้านมีความสนใจกันเป็นส่วนมาก และเข้ามาช่วยกันปล่อยสัตว์น้ำในเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ หมู่ที่ 1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ปริมาณสัตว์ในพื้นที่เขตอนุรักษ์ และทะเลสาบสงขลามีปริมาณเพิ่มมากขึ้น

    -คนในชุมชนเกิดความตระหนักในการอนุรักษ์ และการเห็นความสำตัญในการเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำนำไปสู่ความมั่นคงในอาชีพประมง

    -เกิดความร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชน ทั้งเด็ก เยาวชน และแกนนำชุมชน

     

    94 94

    46. ทำพิธีบวชทะเล เพื่ออนุรักษ์สัตว์น้ำ

    วันที่ 3 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น. - 13.00 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -มีการทำพิธีบวชทะเลในช่วงเช้า โดยมีพระภิกษุสงฆ์ประกอบพิธีทางศาสนา

    -ผญ.บ้าน นายถาวร เถี้ยมไล่ ได้สรุปผลการดำเนินงานให้ประชาชนที่ร่วมกิจกรรมได้รับรู้ข้อมูล การดำเนินงานโครงการในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา

    -ช่วงบ่ายได้มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในพื้นที่ทะเลสาบ พร้อมทั้งโยนอีเอ็มบอล ไปพร้อมกัน

    -ติดตั้งป้ายเขตอนุรักษ์ บริเวณศูนย์เฝ้าระวัง หมู่ 1 บ้านหัวลำพู

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -พีธีบวชทะเล ในกิจกรรมนี้ชุมชนให้ความสำคัญมาก ต่างก็เห็นความสำคัญในการทำบุญทะเล และให้ความเห็นว่าควรจะมีการทำพิธีบวชทะเลให้เป็นกิจกรรมประจำปีของชุมชน เพื่อหล่อหลอมความสามัคคีของคนในชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรของชุมชน

     

    140 58

    47. ส่งรายงานงวดที่ 2

    วันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น. - 15.30 น. น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำรายงานงวดที่ 2 เช่น รายงาน ส.3 รายงานการเงิน ง.1 ,ง. 2 ตลอดจนแก้ไขและปรับเอกสารสารการการเงินให้เรียบร้อย และสามารถส่งปิดงวดที่ 2 ได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ส่งรายงานส่งงวดที่2

    -ตรวจสอบความเรียบร้อยของใบเสร็จรับเงิน และปรับแก้ให้มีความถูกต้อง

     

    3 3

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้มีสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง
    ตัวชี้วัด : 1.1.เกิดสภาผู้นำชุมชนที่มาจากองค์กรและกลุ่มต่างๆในชุมชน จำนวน 19 คน เป็นกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ และสร้างการเรียนรู้ กระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 1.2.มีการติดตามและประเมินผลโครงการและมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ1ครั้ง

    1.1 เกิดสภาผู้นำ จำนวน 15 คน ซึ่งมาจากตัวแทน แกนนำชุมชน เช่น ปราช์ญชาวบ้าน จำนวน 3 คน, กลุ่มอาชีพ จำนวน3 คน , เด็ก เยาวชนจำนวน 2 คน ,ตัวแทนครูโรงเรียนวัดป่าขาดจำนวน2 คน คณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน3 คน , คณะกรรมการฟาร์มทะเล จำนวน2 คน

    1.2 มีการประชุมสภาผู้นำ เดือนละ 1 ครั้ง ในวงประชุมหมู่บ้าน ซึ่งการประชุมมิใช่หารือเฉพาะการดำเนินงานโครงการ และรวมถึงวาระอื่นๆของชุมชนด้วย

    2 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งโดยชุมชน
    ตัวชี้วัด : 2.1 ร้อยละ 60 คนในชุมชนเกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญ ในทรัพยากรประมง เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง 2.2 ร้อยละ 25 ของจำนวนครอบครัวชาวประมงบ้านหัวลำภู มีการสืบสานอาชีพประมงต่อจากบรรพบุรุษ 2.3 มีกติกา ข้อตกลง และแผนงานในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งฯ 1 แผน 2.4 มีการฟื้นฟูเขตอนุรักษ์ทางทะเลและชายฝั่ง โดยการปลูกป่าริมเล ไม่น้อยกว่า 3 ชนิด ,ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ปีละ 2 ครั้ง,การทิ้งอีเอ็มบอลในพื้นที่ทะเลสาบสงขลา ไม่น้อยกว่า 10,000 ลูกและการทำซั้งบ้านปลา จำนวน 30 ลูก ( ซั้งบ้านปลา คือ ปะการังเทียม ที่นำเอาวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่น เช่น ไม้ใฝ่,ทางมะพร้าว )

    2.1 ร้อยละ 80 เกิดความตระหนักและเห็นความสำคัญในการมีส่วนร่วมของการจัดการเขตอนุรักษ์ ทำให้ชุมชนหรือหมู่บ้านไกลเคียง ตลอดจนองค์กรเอกชน ,นักเรียน นักศึกษา ได้เข้ามาเรียนรู้ และศึกษาการทำเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำด้วย เช่น บ้านทำนบ

    2.2 ร้อยละ 25 ของครอบครัวชาวประมงบ้านหัวลำภู มีการสืบต่ออาชีพประมง ด้วยสภาพพื้นที่ตามภูมิศาสตร์ของบ้านหัวลำภูประกอบอาชีพประมง และด้วยสภาพทรัพยากรมีความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งคนในชุมชนให้ความสำคัญกับการจัดการทรัพยากร

    2.3 มีร่างกติกา ข้อตกลง การใช้ประโยชน์และการจัดการเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำร่วมกับส่วนราชการ และ อปท. โดยมีการทำงานร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

    -มีคณะกรรมการออกตรวจลาดตระเวณร่วมกับศูนย์บริหารประมงทะเลภาคใต้ตอนล่าง สงขลา เป็นประจำ

    -เมื่อมีการตรวจพบผู้ที่เข้ามาทำประมงในเขตอนุรักษ์ ครั้งที่ 1 ตักเตือนพบครั้งที่ 2 ปรับ 1,000 บาท พบครั้งที่ 3 ยึดเครื่องมือประมงและสัตว์ที่จับได้ทั้งหมด

    2.4 มีการฟื้นฟูเขตอนุรักษ์ โดยมีการปลูกป่าชายเลน และปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน 2 ครั้ง /ปีสัตว์น้ำ 78200 ตัว และทิ้งอีเอ็มบอล 9,000 ลูก และทำซั้งบ้านปลา จำนวน 40 ลูก

    3 เพื่อให้เกิดมาตรการ การเฝ้าระวัง ลาดตะเวน และการบริหารแนวเขตอนุรักษ์อย่างเป็นรุปธรรมและมีความยั่งยืน
    ตัวชี้วัด : 3.1 เกิดกลุ่มอาสาสมัครเฝ้าระวังทางทะเลและชายฝั่ง จำนวน 15 คน 3.2 หน่วยงานที่มีความพร้อม สามารถออกตรวจจับและปราบปราม รวมกับชุมชน อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง การวัดและหน่วยการวัดติดตามจากตารางการทำงานของชุดเฝ้าระวังเขตอนุรักษ์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผลทางคดี พร้อมกับลงพื้นที่สำรวจ เดือนละครั้ง 3.3 มีป้าย กติกาข้อตกลงเขตอนุรักษ์ ในการทำประมงในแนวเขตอนุรักษ์ จำนวน 3 ป้าย

    3.1 เกิดกลุ่มอาสาสมัครเฝ้าระวังทางทะเล จำนวน 15 คน

    3.2 กลุ่มอาสาสมัครเฝ้าระวังมีความพร้อม และสามารถออกตรวจลาดตระเวณเขตอนุรักษ์ได้ และนอกจากนี้ยังมีเครือข่ายในชุมชนที่คอยเป็นหูเห็นตาในการเผ้าระวังเมื่อเห็นผู้ที่ลักลอกเข้ามาในเขตอนุรักษ์

    3.3 มีป้ายรณรงค์ และประชาสัมพันธ์ในพื้นที่เขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ จำนวน 1 ป้าย และปักแนวเขตอนุรักษ์

    4 ประชุมติดตามการดำเนินโครงการโดย สสส.สจรส.
    ตัวชี้วัด : 4.1. การเข้าร่วมประชุมติดตามการดำเนินงานจากทีม สสส.,สจรส.มอ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 4.2. การจัดทำรายงานโครงการ (ส.1 ,ส.2 ,ง.1 ,ง.2 ,ส.3)

    4.1 มีการเข้าร่วมประชุมร่วมกับ สสส., สจรส มอ. ทุกครั้งที่ได้จัดขึ้น

    4.2 มีการดำเนินการการจัดทำรายงานเรียบร้อยและดำเนินการปิดงวดได้

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้มีสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง (2) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและกระบวนการเรียนรู้ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งโดยชุมชน (3) เพื่อให้เกิดมาตรการ การเฝ้าระวัง ลาดตะเวน และการบริหารแนวเขตอนุรักษ์อย่างเป็นรุปธรรมและมีความยั่งยืน (4) ประชุมติดตามการดำเนินโครงการโดย สสส.สจรส.

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ฟื้นชีวิตเล คืนวิถีชีวิตชุมชน บ้านหัวลำภู

    รหัสโครงการ 57-02559 รหัสสัญญา 58-00-0094 ระยะเวลาโครงการ 15 ตุลาคม 2557 - 15 พฤศจิกายน 2558

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    การทำอีเอ็มบอล (จุรินทรีย์ก้อน) ใช้ในการบำบัดน้ำเสียปรับเพิ่มค่าออกซิเจนในน้ำ อีกทั้งทำให้ทรัพยากรสัตว์มีปริมาณเพิ่มขึ้น

    1.กลุ่มอนุรักษ์ฟาร์มทะเล หมู่ 1 บ้านหัวลำพู ต.ป่าขาด อ.สิงหนคร จ.สงขลา

    2.รายงาน ส.3

    3.รายงานเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    จัดให้อยู่ในแผนงานของ อบต. ป่าขาดในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    เกิดสภาผู้นำ จำนวน 15 คน ที่มีตัวแทนที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ ซึ่งวงสภาผู้นำมีการประชุมประจำเดือน วาระการประชุมนอกจากการรายงานผลกิจกรรมการดำเนินโครงการฟื้นชีวิตเล คืนวิถีชีวิตชุมชน บ้านหัวลำพูแล้ว ยังมีการแจ้งวาระอื่นของชุมชนร่วมด้วย เช่น งานประเพณีชุมชน งานบุญ แผนพัฒนาของ อบต.ป่าขาด

    1.รายงานการประชุมของหมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านหัวลำพู

    2.รายงานเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    3.รายงาน ส. 3

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    ใช้วงสภาผู้นำในการเป็นวงคุย ปรึกษาหารือ ในการพัฒนาหมู่บ้าน สถานการณ์ของชุมชน ทั้งที่เป็นปัญหา และไม่เป็นปัญหา

    1.รายงานการประชุมของหมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านหัวลำพู

    2.รายงานเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    3.รายงาน ส. 3

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดโครงสร้างของสภาผู้นำ ที่ถูกเลือกโดยคนในชุมชนที่มาจากตัวแทนทางการและไม่เป็นทางการ จำนวน 15 คน ประกอบด้วยปราช์ญชาวบ้าน จำนวน 3 คน, กลุ่มอาชีพ จำนวน3 คน , เด็ก เยาวชนจำนวน 2 คน ,ตัวแทนครูโรงเรียนวัดป่าขาดจำนวน2 คน คณะกรรมการหมู่บ้านจำนวน 3 คน , คณะกรรมการฟาร์มทะเล จำนวน 2 คน

    1.รายงานการประชุมของหมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านหัวลำพู

    2.รายงานเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    3.รายงาน ส. 3

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    เขตอนุรักษ์ฟาร์ทะเล หมู่ 1 บ้านหัวลำพู ที่มีการอนุรักษ์สัตว์น้ำโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยการทำซั้งบ้านปลา เพื่อใช้เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน ที่อยู่อาศัย หลบภัย และวางไข่

    1.รายงานการประชุมของหมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านหัวลำพู

    2.รายงานเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    3.รายงาน ส. 3

    จัดให้อยู่ในแผนงานของ อบต. ป่าขาดในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    การบริโภคอาหารที่ชุมชนผลิตเอง เช่น การทำนา การทำประมง และการทำน้ำตาลโตนด ปลุกผัก

    บ้านหัวลำพู หมู่ 1 ตำบลป่าขาด อ.สิงหนคร จ.สงขลา

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    บ้านหัวลำพู หมู่ 1 มีวิถีชุมชน แบบ โหนด นา เล เพื่อการยังชีพ และดำรงอยู่ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

    -ในด้านการประกอบอาชีพประมงมีการฟื้นฟู อนุรักษ์สัตว์น้ำ คือ การทำซั้งบ้านปลาการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ และการออกตรวจลาดตระเวณเครื่องมือผิดกฎหมาย และเครื่องมือทำลายล้างทรัพยากรสัตว์น้ำ

    -วิถีโหนด มีการทำน้ำตาลโหนด จาวตาล น้ำส้มโหนด และสเหวียนหม้อจากก้านตาลโหนด

    -วิถีนา มีการทำนาปี โดยใช้พันธู์ข้าวท้องถิ่น เช่น ข้าวสังข์หยด ข้าวลูกปลา

    ทำให้อาหารที่ได้มีความสดใหม่ มีความปลอดภัย ในการบริโภค

    บ้านหัวลำพู หมู่ 1 ตำบลป่าขาด อ.สิงหนคร จ.สงขลา

    จัดทำเป็นหลักสูตรการเรียนรู้ของชุมชน ทั้งในระดับโรงเรียน และนอกโรงเรียน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    มีการจัดการอนุรักษ์ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา โดยมีการใช้อีเอ็มบอล (จุรินทรีย์ก้อน ) ในปรับปรุงคุณภาพน้ำ และการบำบัดน้ำเสีย

    1.รายงานการประชุมของหมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านหัวลำพู

    2.รายงานเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    3.รายงาน ส. 3

    จัดให้อยู่ในแผนงานของ อบต. ป่าขาดในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    มีการนำเอาศาสนา และวัฒนธรรมความเชื่อมาใช้ เช่น การบวชทะเล เพื่อสร้างความตระหนักให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าของทรัพยากรสัตว์น้ำ และเชื่อว่าการบวชทะเล จะเป็นการทำบุญให้กับพระแม่คงคา

    1.รายงานการประชุมของหมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านหัวลำพู

    2.รายงานเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    3.รายงาน ส. 3

    จัดให้อยู่ในแผนงานของ อบต. ป่าขาดในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    วิถีความเป็นอยู่ โหนด นา เลเป็นวิถีของพื้นที่คนในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเป็นวิถีที่สร้างการเรียนรู้ให้กับคนที่สนใจ และสร้างอาชีพรายได้ให้กับคนในพื้นที่ เช่น ผลิตภัณฑ์ต่างๆจากตาลโหนด

    บ้านหัวลำพู หมู่ 1 ตำบลป่าขาด อ.สิงหนคร จ.สงขลา

    จัดให้อยู่ในแผนงานของ อบต. ป่าขาดในการอนุรักษ์ และพัฒนาคุณภาพชีวิต

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    การทำประมงในเขตอนุรักษ์ และการใช้เครื่องมือประมงในการจับสัตว์น้ำ

    1.รายงานการประชุมของหมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านหัวลำพู

    2.รายงานเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    3.รายงาน ส. 3

    จัดให้อยู่ในแผนงานของ อบต. ป่าขาด และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    การทำประมงในเขตอนุรักษ์ และการใช้เครื่องมือประมงในการจับสัตว์น้ำกรณีการทำผิดกฎระเบียบ กล่าวคือ ครั้งที่ 1 ตักเตือนพบครั้งที่ 2 ปรับ 1,000 บาท พบครั้งที่ 3 ยึดเครื่องมือประมงและสัตว์น้ำที่จับได้

    1.รายงานการประชุมของหมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านหัวลำพู

    2.รายงานเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    3.รายงาน ส. 3

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    การทำงานร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น ศูนย์บริหารประมง ตลอดจนองค์กรภาคเอกชน เช่น บริบัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ พิธานพานิช เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และทำกิจกรรมอนุรักษ์

    1.รายงานการประชุมของหมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านหัวลำพู

    2.รายงานเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    3.รายงาน ส. 3

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    สถานการณ์ปัญหาการทำประมง สัตว์น้ำในทะเลสาบลดลง ทำให้แกนนำได้รวมกลุ่มทำกิจกรรมอนุรักษ์ เช่น การทำซั้งบ้านปลา เขตฟาร์มทะเล ทำให้ปัจจุบันปริมาณสัตว์เพิ่มขึ้น ตลอดจนสัตว์น้ำเศรษฐกิจ เช่น ปลาขี้ตัง และมีครัวเรือนที่ทำประมงเพิ่มขึ้น

    1.รายงานการประชุมของหมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านหัวลำพู

    2.รายงานเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    3.รายงาน ส. 3

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    การรวมตัวของคนทำประมงเกิดเป็นกลุ่มแกนนำฟาร์ทะเลร่วมกันทำซั้งบ้านปลา ในเขตอนุรักษ์

    1.รายงานการประชุมของหมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านหัวลำพู

    2.รายงานเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    3.รายงาน ส. 3

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา เช่น การปลูกป่าชายเลนปล่อยพันธุ์สัตว์ และซั้งบ้านปลา

    1.รายงานการประชุมของหมู่บ้าน หมู่ 1 บ้านหัวลำพู

    2.รายงานเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

    3.รายงาน ส. 3

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    -ซั้งบ้านปลา เป็นภูมิปัญญาของชุมชน เพื่อให้ปลาเล็กๆ ได้อยู่ อาศัย และวางไข่

    -การทำตาลโหนด

    -การทำนา

    กลุ่มอนุรักษ์ฟาร์มทะเล บ้านหัวลำพู หมู่ 1 ต.ป่าขาด อ.สิงหนคร จ.สงขลา

    จัดให้อยู่ในแผนงานของ อบต. ป่าขาด และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    วิถีชนบท ที่มีอยู่แบบเครือญาติ พึ่งพาอาศัยกัน มีการสืบต่ออาชีพจากบรรพบุรุษ เช่น การทำนา การทำประมง การทำอาชีพจากตาลโหนด

    กลุ่มอนุรักษ์ฟาร์มทะเล บ้านหัวลำพู หมู่ 1 ต.ป่าขาด อ.สิงหนคร จ.สงขลา

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    กลุ่มอนุรักษ์ฟาร์มทะเล เป็นแกนนำหลักในการสร้างจิตสำนัก ร่วมฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในพื้นที่ทะเลสาบให้สมบรูณ์ทำให้คนในชุมชนที่ประกอบอาชีพประมง และคนในชุมชนได้มีอาหารประเภทโปรตีนไว้บริโภคในครัวเรือน

    กลุ่มอนุรักษ์ฟาร์มทะเล บ้านหัวลำพู หมู่ 1 ต.ป่าขาด อ.สิงหนคร จ.สงขลา

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    วิถีชนบท ที่มีอยู่แบบเครือญาติ พึ่งพาอาศัยกัน มีการสืบต่ออาชีพจากบรรพบุรุษ เช่น การทำนา การทำประมง การทำอาชีพจากตาลโหนด

    บ้านหัวลำพู หมู่ 1 ต.ป่าขาด อ.สิงหนคร จ.สงขลา

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    มีการช่วยเหลือในงานชุมชน เช่น งานบุญ งานบวช กิจกรรมของโรงเรียน วัด

    บ้านหัวลำพู หมู่ 1 ต.ป่าขาด อ.สิงหนคร จ.สงขลา

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    กลุ่มอนุรักษ์ฟาร์มทะเล เป็นแกนนำหลักในการสร้างจิตสำนัก ร่วมฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในพื้นที่ทะเลสาบให้สมบรูณ์ทำให้คนในชุมชนที่ประกอบอาชีพประมง และคนในชุมชนได้มีอาหารประเภทโปรตีนไว้บริโภคในครัวเรือน

    กลุ่มอนุรักษ์ฟาร์มทะเล บ้านหัวลำพู หมู่ 1 ต.ป่าขาด อ.สิงหนคร จ.สงขลา

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ฟื้นชีวิตเล คืนวิถีชีวิตชุมชน บ้านหัวลำภู จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 57-02559

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นายถาวร เถี้ยมไล่ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด