แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ข้างถนนกินได้สร้างรายได้บ้านในถุ้ง(ต่อยอด) ”

บ้านในถุ้ง หมู่ที่ 5 ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

หัวหน้าโครงการ
นางอารีย์ โต๊ะกานี

ชื่อโครงการ ข้างถนนกินได้สร้างรายได้บ้านในถุ้ง(ต่อยอด)

ที่อยู่ บ้านในถุ้ง หมู่ที่ 5 ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช จังหวัด นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 57-02587 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0075

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 ตุลาคม 2014 ถึง 20 พฤศจิกายน 2015


กิตติกรรมประกาศ

"ข้างถนนกินได้สร้างรายได้บ้านในถุ้ง(ต่อยอด) จังหวัดนครศรีธรรมราช" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านในถุ้ง หมู่ที่ 5 ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ข้างถนนกินได้สร้างรายได้บ้านในถุ้ง(ต่อยอด)



บทคัดย่อ

โครงการ " ข้างถนนกินได้สร้างรายได้บ้านในถุ้ง(ต่อยอด) " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านในถุ้ง หมู่ที่ 5 ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช รหัสโครงการ 57-02587 ระยะเวลาการดำเนินงาน 20 ตุลาคม 2014 - 20 พฤศจิกายน 2015 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 206,500.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 150 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้คนปรับเปลี่ยนความคิดจากการนำขยะไปทิ้งมาเป็นการคัดแยกขยะ นำมาทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้และจำหน่าย เพิ่มรายได้ให้ครอบครัว
  2. เพื่อเพิ่มเส้นทางข้างถนนกินได้ให้มีระยะทางมากขึ้นและนำผลผลิตจากผักสวนครัวและน้ำหมักปุ๋ยในครัวเรือนแจกจ่ายและจำหน่ายสร้างรายได้ให้คนในชุมชน
  3. เพื่อให้เกิดกติกาชุมชน และมีข้อบัญญัติของท้องถิ่นเรื่องการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพดีของชุมชน
  4. เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมเตรียมการชี้แจงโครงการทำกติกากลุ่ม

    วันที่ 23 ตุลาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานโครงการได้มายังสถานที่จัดกิจกรรมและได้เชิญกลุ่มเป้าหมายนั่งประชุมร่วมกัน โดยมี นายมนิตย์ ใบเต้ โต๊ะอีมำ นางกรุณา มิตรกูล กลุ่มหัวหน้ามุสลีม๊ะ เป็นคนคอยประสานงานกับผู้ร่วมโครงการ
    ประธานโครงการได้ให้นายมนิตย์ เป็นผู้ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการในครั้งนี้ โดยนายมนิตย์ ได้ชี้แจงผู้เข้าร่วมโครงการตามหัวข้อที่ได้ระบุไว้ในโครงการ และผู้เข้าร่วมโครงการได้มีข้อเสนอแนะดังนี้ 1.จัด ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดทำโครงการฯ ให้แก่ผู้นำชุมชน/แกนนำ ได้รับทราบ ถึงวัตถุประสงค์ และกระชับพื้นที่ดำเนินโครงการ
    ผลของการประชุมในหัวข้อนี้คือ วัตถุประสงค์ของโครงการในครั้งนี้เป็นการต่อยอดโครงการจากครั้งที่แล้ว(ปี56) ซึ่งโครงการครั้งที่แล้วถือว่าประสบความสำเร็จในหลายด้านเช่น1. คนในชุมชนได้รู้จักการปลูกต้นไม้ข้างสองทางถนนที่คิดว่าไม่สามรถทำได้เนื่องจากพื้นที่เคยเกิดน้ำท่วม 2. ได้กำจัดแหล่งถึงขยะขนาดใหญ่ของชุมชนที่เคยทิ้งกันมาร่วม20 ปีแต่โครงการได้ทำให้ชาวบ้านเห็นถึงความร่วมมือที่จะพัฒนาชุมชนให้สะอาดจึงไม่เอาขยะมาทิ้งอีก 3. ถนนสายที่จัดกิจกรรมได้มีถังขยะจากหน่วยงาน อบต.ท่าศาลา ซึ่งรถเข้ามาจัดเก็บขยะในวันหัส ขยะที่จัดเก็บไปคือขยะที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ทั้งที่ก่อนหน้าจะมีโครงการเคยมีการรวมตัวของชาวบ้านไปขอถังจากหน่วยงานหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ ดังนั้นโครงการจึงมีส่วนสำคัญมากในการขอถังและรถเก็บขยะ
    2. ประชาสัมพันธ์เผยแพร่โครงการ
    นางสุนิต้าได้เสนอให้ทำการประชาสัมพันธ์โดยให้โต๊ะอีมำประกาศทางมัสยิดหากมีการจัดกิจกรรม 3. ประชุมระดมความคิด เพื่อกำหนดกติกาของผู้ร่วมกิจกรรม 1) มีความสมัครใจที่เข้าร่วมโครงการ 2) มีเวลาที่จะเข้าร่วมฝึกอบรม และทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง 3.)ให้ความร่วมมือกับโครงการในการเรียนรู้ ในทุกๆเรื่องที่โครงการได้เสนอแนะ ผู้เข้าร่วมโครงการตกลงจะทำตามกติกา แต่มีข้อเสนอแนะว่าหากไม่มีเวลา หรือกิจกรรมบางกิจกรรมที่ไม่สะดวก อาจจะเข้าร่วมไม่ได้ก็จะส่งลูกหลานไปแทน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -การทำกิจกรรมในครั้งนี้ถือว่าได้รับความร่วมมือดีมากจากผู้ร่วมโครงการ ได้มีการวางแผนงานกันเป็นขั้นเป็นตอน ใช้เวลาได้เหมาะสมไม่ยืดเยื้อเหมือนปีก่อน และสิ่งที่สำคัญคือข้อตกลงร่วมกันที่ผู้ร่วมโครงการบอกว่า จะร่วมทำโครงการอย่างต่อเนื่อง โครงการนี้ทำให้ชุมชนพัฒนาขึ้นมากสร้างบรรยากาศที่ดีสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนและผู้นำก็ให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี มีการปลูกต้นไม้กันอย่างแพร่หลาย เมื่อก่อนคนในชุมชนบอกว่าซื้อตะใคร้มัดละ10บาท อาทิตย์หนึ่งก็กินไม่หมด หลังจากที่มีโครงการนี้ขึ้นมา ความคิดก็เปลี่ยนไปไม่ต้องซื้อตะใคร้แล้วเพราะสามารถไปเอาจากข้างถนนได้ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งเป็นผลพลายได้จากโครงการของปีที่แล้ว -นัดแนะการทำโครงการตลอดปี ทำปฏิทินโครงการ แบ่งงานรับผิดชอบ และเตรียมการจัดกิจกรรมในวันพรุ่งนี้ มีฝ่ายสถานที่คือครูสอนศาสนา ผู้ใหญ่มาร่วมคุยเพื่อวางแผน นางอัลเลาะหืเตรียมอาหาร เลขาไปเชิญชวน ผู้รับผิดชอบประสานงานวิทยากร และอุปกรณ์ เจ้าของสถานที่ โต๊ะอีหม่าม เหรัญญิกรับผิดชอบการจัดการเตรียมอุปกรณ์ มีการนัดพุดคุยในสภาผู้นำ ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน อบต. ครูสอนศาสนา ผู้ช่วยผู้ใหญ่ คณะกรรมการ เชิญโต๊ะอีหม่ามเป็้นวิทยาร และเชิญปราชญน์ชาวบ้านมาช่วย ชวนแม่ค้า ชวนคนที่ทำแล้วมาร่วม มาเล่าเรื่องที่ทำแล้ว

     

    150 150

    2. ฝึกอบรมในการคัดแยกขยะ 2

    วันที่ 30 ตุลาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วิทยากรได้ให้ความรู้แก่ผู้ฝึกอบรมในการหมักปุ๋ยจากเศษขยะในครัวเรือน โดยวิทยากรได้นำเศษขยะต่างๆเช่น เปลือกกุ้ง ก้างปลา ข้าวเย็นที่เหลือจากการกิน และเปลือกผลไม้มาเป็นตัวอย่างในการหมักปุ๋ยขยะในครัวเรือนครั้งนี้ ประเด็นหลักที่วิทยากรบอกไว้ก็คือ การหมักปุ๋ยนั้นต้องหมักในภาชนะที่มิดชิด ไม่ให้ปุ๋ยส่งกลิ่นได้ และสิ่งที่สำคัญที่สุด ควรล้างเศษอาหารก่อนทุกครั้งที่จะนำมาหมัก เพราะในเศษอาหารอาจมีกรดต่างๆทำให้เกิดแรงดันข้างในภาชนะหมักได้ซึ่งอาจเป็นอันตรายในการระเบิดภายในครัวเรือน และได้ทำการแบ่งกลุ่มผู้ร่วมโครงการออกมาบอกถึงชนิดของขยะที่สามารถนำมาหมักได้ โดยส่งตัวแทนมากลุ่มละหนึ่งคน ส่วนใหญ่ผลการตอบของผู้ร่วมโครงการจะตอบไปทางเดียวกันว่าขยะที่นำมาหมักได้คือเศษอาหารที่กินเหลือในแต่ละวัน เช่นข้าว เปลือกหอย ก้างปลา เป็นต้น ส่วนสูตรการหมักมีดังนี้ - เตรียม ถังหมักมีฝาปิด ขนาดใดก็ได้แบ่งเป็น 10 ส่วน - เติมกากน้ำตาล 1 ส่วน - เติมจุลินทรีย์ 1 ส่วน แล้วคนให้เข้ากันก่อน - เติมน้ำ 2 ส่วน - เติมขยะที่ต้องการหมักลงไปเรื่อยๆ จนครบ 9 ส่วน - เหลือพื้นที่ว่างไว้ประมาณ 1 ส่วน -นำขยะที่ผ่านขบวนการหมักไว้ 21 วัน มาแยกส่วน -เนื้อขยะเอาไปให้สัตว์เลี้ยงและทำปุ๋ย และปิดท้ายประธานโครงการได้นัดผู้ร่วมกิจกรรม อีกครั้ง ในเดือนต่อไป เพื่อติดตามปุ๋ยขยะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ผู้ร่วมโครงการมีความสนใจ ในการร่วมกิจกรรมดีมาก พร้อมทั้งคุณครูโรงเรียนบ้านในถุ้งก็เข้ามาร่วมทำกิจกรรมด้วย ผอ.โรงเรียนได้ขอถ่ายเอกสารโครงการหนึ่งชุดและบอกให้โครงการมาจัดกิจกรรมอีกถ้ามีโอกาส ผู้ร่วมโครงการ ดีใจที่ได้กลับไปหมักขยะกันเองที่บ้านพร้อมทั้งจะไปสอนสูตรการหมักให้กับผู้ปกครอง หลังจากกลุ่มเป้าหมายได้อบรมครั้งที่2 มีความเข้าใจในขยะประเภทที่สามารถนำมาทำเป็นขยะหอมได้ตามสูตรที่วิทยากรได้สอนและได้ลงมือปฏิบัติจริงแต่ละกลุ่มได้เข้าใจและสามารถทำได้ตามสูตร มีความยินดีที่จะไปทำต่อที่บ้านและบอกผู้ปกครองให้ทำต่อเพื่อลดขยะในครัวเรือน ใช้ประโยชน์ในการรดน้ำต้นไม้ -ได้เรียนรู้การทำขยะให้มีกลิ่นหอม นำอุปกรณ์หัวปลา เศษกุ้ง มาทำ เด็กไก้ร่วมกลุ่มทำ ฝึกทำกันรอบที่สอง ทำให้ถูกต้อง ทำขยะให้เป็ยปุ๋ย ใส่อ้อยด้วย เศษอาหารหาได้ง่าย ผสมได้ถูกสัดส่วน เก็บไว้ และดูแลถูกวิธี
    -ครั้งที่สองได้เรียนรู้แบบใหม่คือ ไม่ต้องใส่น้ำเพราะถ้าใส่น้ำจะทำให้เหม็น แต่ถ้าไม่ใส่ทำให้หอม เก็บไว้หนึ่งสัปดาห์ จะหอม

     

    150 150

    3. เรียนรู้เรื่องการทำและประเมินผลการจัดทำบัญชีครัวเรือนครอบครัวแบบใหม่ 1

    วันที่ 28 พฤศจิกายน 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการเรียนการสอนเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนของผู้เข้าร่วมโครงการ โดยการนำของอาจารย์สุนิตา ใบเต้ อาจารย์โรงเรียนชาฏิอุ้ลอามาล2 โดยได้บอกถึงกระบวนการของการทำบันชีครัวเรือน เริ่มจาก ใครทำ ทำที่ไหน และทำอย่างไร โดยอาจารย์ได้ขอให้ผู้เข้าร่วมโครงการช่วยกันออกแบบบัญชีครัวเรือนที่จะทำนี้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร และในที่ประชุมได้ข้อสรุปว่า เมื่อก่อนการทำบัญชีครัวเรือนนั้น เราเอารายจ่ายขึ้นเป็นหลักแล้วที่เหลือให้ถือเป็นเงินออม แต่ต่อไปนี้ให้ใช้หลักใหม่คือ ให้ออมก่อนแล้วจึงนำมาใช้จ่าย โดยสูตรนี้อ้างอิงมาจาก สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเมืองท่าหลา ที่ทำไมสมาชิคในสหกรณ์ถึงมีเงินเหลือมาออม ก็เพราะหารายได้มาแล้วออมก่อนค่อยใช้จ่าย ยกตัวอย่าง ของ นางไรดล แหวมามุ หาเงินได้ วันละ 500 บาท ให้นางไรดล ออมก่อน 100 บาทที่เหลือให้นำไปจัดสรรค์ใช้จ่ายตามความจำเป็น หากเหลืออีกจะเอามาออมอีกก็ย่อมได้ และให้เปลี่ยนจากประชุมรายเดือนมาเป็นรายอาทิตย์ เพื่อดูบัญชีครัวเรือนกันอย่างให้เห็นผลที่สุด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ที่ประชุมเงินด้วยกับการทำบัญชีครัวเรือนแบบใหม่นี้ และตกลงกันว่าจะใช้แนวทางนี้ในการออมเงินของตนเองและครอบครัว พร้อมทั้งหาอาชีพเสริมจากการปลูกผัก ที่สามารถส่งขายให้คนขายเครื่องแกง โดยนางวันทนีย์ เจ๊ะหมัด จะเป็นคนรับซื้อผลผลิตของทางผู้ร่วมโครงการทุกคน ตัวชี้วัดคือเงินออมที่เพิ่มขึ้น เมื่อเส็จสิ้นโครงการในเดือนกันยายน ปี58 

     

    50 55

    4. ปฐมนิเทศโครงการ

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้เรียนรูการทำเว็บไซร์ การลงปฏิทิน การเขียนใบเสร็จ การวางแผนงานในการจัดกิจกรรม ฝึกการทำงานเป็นกระบวนการ คือ การกำหนดตาราง วัน เวลา หัวข้อที่จะดำเนินในการประชุม (โดยดูตัวอย่างจาก สจรส มอ) คือมีขั้นตอนในการประชุม เช่น กำหนดวัน เวลา สถานที่ มีหัวข้อ และมีบัตรเชิญ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้บันทึกปฏิธินสำเร็จ เข้าใจการเขียนใบเสร็จ การลงชื่อ และการจัดกระบวนการในการประชุมแต่ละครั้ง ซึ่งต้องเอามาปรับใช้ในการจัดกิจกรรมครั้งต่อๆไปของโครงการ

     

    3 3

    5. เรียนรู้เรื่องการทำและประเมินผลการจัดทำบัญชีครัวเรือนครอบครัวแบบใหม่ 2

    วันที่ 5 ธันวาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 9.00น. นางฮารีดะ ประธานกลุ่มมุสลีม๊ะ มาถึงที่ประชุม โดยเรียนให้ผู้เข้าร่วมคนอื่นๆมานั่งเพื่อทบทวนและ โชว์ผลงานบัญชีครัวเรือนของตนเอง ที่ได้ทำมาในรอบหนึ่งอาทิตย์ นางฮารีด๊ะ เริ่มต้นบอกของตัวเองก่อน คืด นางฮารีด๊ะ มีอาชีพขายข้าวยำในตอนเช้า มีรายได้จากการขายวันละ 400 บาท หักต้นทุนเหลือกำไร 150 บาท นำเงิน 50 บาท ไปออมในกระปุกแป้งเด็กแคร์ แล้วเงิน100 บาท นำไปซื้อกับข้าวหรือของกิน 40 บาท ให้หลาน2คน คนละ 30 บาท ส่วนหลานก็ได้สอนให้ออมอีกที แต่ไม่ได้เอามาบอกกล่าวในวันนี้ และเมื่อนางฮารีด๊ะบอกกล่าวจบ อาจารย์ สุนิต้า ได้สรุปอีกครั้งว่า สิ่งที่ทำถูกต้องแล้ว ทุกคนจะมีเงินเหลือหากออมก่อนจ่าย แต่ในกรณีของนางฮารีด๊ะ อาจจะมีรายได้น้อยแต่ออมมากไป จึงเสนอว่าให้ออมสัก20-30 บาทต่อวันจะได้หรือไม่ ซึ่งนางฮารีด๊ะก็เห็นด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมโครงการพอใจกับผลตอบรับของตัวเองในการทำบัญชีครัวเรือนแบบใหม่นี้ เนื่องจากมีเงินออมเพิ่มขึ้นจริง พิสูตรได้ และอยากให้โครงการเริ่มกิจกรรมปลูกต้นไม้เร็วๆเพื่อได้รายได้เสริม แต่ประธานโครงการก็ได้ชี้แจงเหมือนกับที่ผู้ใหญ่และสภาผู้นำชี้แจงไปแล้ว ผู้ร่วมโครงการก็เข้าใจ แต่ด้วยความ อยากที่จะได้รายได้เสริมจึงพูดกดดันประธาน ก็อาจจะเป็นไปได้ ก็ได้นะ

     

    50 50

    6. เรียนรู้เรื่องการทำและประเมินผลการจัดทำบัญชีครัวเรือนครอบครัวแบบใหม่ 3

    วันที่ 12 ธันวาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ร่วมประชุมร่วมกันเล่าประสบการณ์การออมและการทำบัญชีครัวเรือนของตัวเองและลูกหลาน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันว่าใครได้ทำไปถึงไหนแล้วสำหรับบางคนที่ทำบ้างลืมทำ หรือทำบ้างไม่ทำบ้างก็ได้มาเก็บตกกันในที่ประชุมครั้งนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้ร่วมโครงการได้ปรับทำบัญชีครัวเรือนของตนเองให้เป็นปัจจุบัน และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน หลังจากได้ทำบัญชีครัวเรือนไป2ครั้ง ทำให้รู้ว่าค่าใช้จ่ายเท่าไร มีการประหยัดมากขึ้น ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็น และมีเงินออมมากขึ้น

     

    50 50

    7. ประชุมทุกเดือน

    วันที่ 17 ธันวาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันที่15 ผู้ใหญ่บ้าน นายอามาตย์ ไทรทอง ได้ประกาศบนมัสยิดว่าในวันที่17 จะมีการประชุมกันที่ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่5 ในหัวข้อ โครงการข้างถนนกินได้ สร้างรายได้บ้านในถุ้ง และการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน และเมื่อมาถึงวันที่17 ธันวาคม เวลา9.00น. ผู้ร่วมโครงการและผู้นำชุมชนมารวมตัวกันที่ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน ทางโครงการได้เลี้ยงขนมจีน และขนมรังต้อ ให้ผู้ประชุมทั้งหมดได้กินกัน หลังจากนั้นผู้ใหญ่ได้เปิดประชุม โดยเริ่มจากการบอกกล่าวสมาชิกทั้งหมดในที่ประชุมว่าโครงการ นี้ได้ทำมา2 ปีแล้ว สมาชิกผู้ร่วมประชุมทุกคนก็รับรู้กันดีเพราะได้ร่วมกันมาเมื่อปีก่อนแล้วจากนั้นผู้ใหญ่ได้ให้ประธานโครงการ ชี้แจงรายละเอียดทั้งหมดของโครงการ ว่ามีกิจกรรมอะไรบ้าง ส่วนไหนที่ผู้ใหญ่ อบต จะช่วยเสริม หรือช่วยได้บ้าง ประธานได้แจกแจงว่า การหมักขยะมาทำปุ๋ยสมควรให้เด็กๆทั้งสองโรงเรียนเป็นคนขับเคลื่อน บัญชีครัวเรือนควรให้แม่บ้านเป็นคนขับเคลื่อน การปรับพื้นที่ควรทำร่วมกันทั้งหมดของคนในชุมชน ทั้งมนุษย์5วัยส่วนการปลูกต้นไม้ข้างถนนและในครัวเรือนให้ แต่ละครอบครัววางแผนกันเอง สุดท้ายผู้ใหญ่ได้พูดต่อในประเด็นการปลูกต้นไม้ข้างถนน ที่ประธานโครงการได้คุยไว้กับพี่เลี้ยง และขอข้อสรุปจากที่ประชุมส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะปลูกต้นไม้หลักจากพ้นฤดูน้ำท่วม(มีนาคม) 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทุกคนที่เข้าร่วมประชุมมีส่วนร่วมในการประชุมในครั้งนี้ดีมาก มีข้อเสนอแนะ มีความสนใจในการที่จะเข้าร่วมโครงการและตกลงกันว่าจะเข้าประชุมอีกในเดือนต่อไป แสดงความเห็นในการที่จะปลูกต้นไม้ ที่ต้นไม้สามารถอยู่ได้นานๆ มีประโยชน์ในด้านโภชนาการและสร้างความสามัคคีด้วยกัน ช่วยเหลือกันในการดูแลต้นไม้สามารถเอาพันธุ์ผักได้ เช่น พริก มะเขือ ตะใคร้ ไปปลูกที่บ้านได้ ถ้าใครสามารถปลูกและดูแลได้ทั้งการดูแลรอบบ้านให้ปลอดขยะจะมีรางวัลให้เป็นบ้านตัวอย่าง เพื่อสร้างแรกกระตุ้นให้แก่ชาวบ้าน

     

    50 50

    8. เรียนรู้เรื่องการทำและประเมินผลการจัดทำบัญชีครัวเรือนครอบครัวแบบใหม่ 4

    วันที่ 19 ธันวาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เมื่อได้เวลาฝึกอบรมในครั้งนี้ได้ให้นำบันชีครัวเรือนของนาง เยนะ จอมแก้ว มานำเสนอ ผลได้ดังนี้ เดิมนางเยนะ มีอาชีพประมงเรือเล็กมีรายได้จากการออกเรือหาปลาเพียงอย่างเดียว ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนก็เอามาจากอาชีพนี้เท่านั้น แต่หลังจากนางเยนะได้ฝึกอบรมในปี56 และให้ ด.ชฟาริส ลูกชาย ซึ่งเรียนอยู่โรงเรียนบ้านในถุ้งนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมการทำปุ๋ยหมักจากขยะ นำมาใช้ปฏิบัติจึงทำให้เกิดรายได้จากการปลูกผักและใช้ปุ๋ยที่ทำเองในครัวเรือน ในสัปดาห์นี้ นางแยนะมีรายได้เฉลี่ยวันละ 200 บาท จากการทำประมง และได้รายได้เสริมจากการขายพริกให้กับร้านส้มตำกะหยอย วันละประมาณ 40 บาท จึงนำเงินส่วนนี้ ออมทั้งหมดโดยใช้หลักการเดิมคือ หามาได้ออมก่อนแล้วค่อยจ่าย หลังจากนั้นผู้ร่วมโครงการก็ได้หารือกันถึงการมีรายได้เสริมจากการปลูกผัก และใช้น้ำหมักของลูกๆที่ได้อบรมมาก่อนหน้า จึงได้ข้อตกลงร่วมว่า ในกิจกรรมที่จะปลูกต้นไม้ข้างถนน จะให้นำต้นไม้ส่วนหนึ่งไปปลูกที่บ้านด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเป้าหมายได้ร่วมกันเล่าประสบการณ์ของตัวเองและได้ฟังการบันทึกบันชีของตัวอย่างในวันนี้อย่างให้ความสนใจและจะนำไปแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมสิ่งที่ตัวเองยังขาดหาย และสามารถหารายได้จากการปลูกผักเพื่อเพิ่มรายได้จากอาชีพหลัก และได้บอกเล่ากับผู้เข้าร่วมอบรมให้เอาไปทำบ้าง เพื่อได้ออมกันอย่างไม่ต้องลำบากและได้เห็นผลจริง ได้ออมก่อนจ่าย ทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น

     

    50 50

    9. เรียนรู้เรื่องการทำและประเมินผลการจัดทำบัญชีครัวเรือนครอบครัวแบบใหม่ 5

    วันที่ 26 ธันวาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการเรียนรู้การทำประเมินผลการจัดทำบันชีครัวเรือนแบบใหม่ให้เข้ากับหลักศาสนาอิสลาม ซึ่งก็มีหลายสิ่งที่เหมือนกับหลักสากลคือ ให้อดออม ประหยัด ซึ่งในอิสลามนั้นการออมเป็นส่วนหนึ่งของคำสอนของศาสดา โดยผู้ที่มาทำการบรรยายให้ในวันนี้คือ ครูสุวิทย์ ชัยเจริญ คูสอนศาสนาของโรงเรียนชาฎิอุ้ลอามาลบ้านในถุ้ง 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การนำเสนอการออมนั้นเป็นแบบอย่างที่ดีของศาสนา เพราะจะทำให้เราไม่เป็นหนี้สิน เมื่อไม่เป็นหนี้สินก็จะไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับเงินดอก ซึ่งผิดหลักของศาสนาอย่างร้ายแรง ดังนั้นโครงการนี้จึงได้รับการสนับสนุนจากผู้นำและครู โดยการส่งเสริมให้เพิ่มรายได้ เพิ่มการออม ลดสิ่งสกปรกในชุมชน สร้างความสูขในครัวเรือน พ่อ แม่ ลูก จะได้หันหน้ามาคุยกันได้ทุกเรื่อง เพื่อความสุขที่ยั่งยืนตามหลังสอนของศาสนา

     

    50 50

    10. ฝึกอบรมในการคัดแยกขยะ 3

    วันที่ 27 ธันวาคม 2014 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ให้ผู้ร่วมโครงการแบ่งกลุ่มเป็น15กลุ่ม กลุ่มละ10คน ให้ส่งตัวแทนแต่ละกลุ่มมานำเสนอ สิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักหรือขยะหอม จากการฝึกอบรมทั้ง2ครั้ง โดยให้นำเสนอในแบบมาย mind map หลังจากนั้นแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนมาพูดถึงประประโยชน์ในการทำขยะหอม ส่วนใหญ่จะตอบไปทางเดียวกันว่านำไปรดน้ำต้นไม้ และนำไปขายให้คนปลูกต้นไม้ปลอดสารพิษ ส่วนอุปสรรคก็มีบางกลุ่มเสนอว่าเหมือนถึงจะระเบิด เพราะบางครั้งล้างขยะบ้างไม่ล้างบ้าง ทางโครงการจึงให้ข้อเสนอแนะว่าควรล้างทุกครั้งก่อนนำลงถังหมัก 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเป้าหมายได้ทำปุ๋ยหมักจากขยะเป็นเกือบทุกคน และได้นำความรู้ที่ได้ไปสอนต่อคนในครอบครัว จนครัวเรือนเป้าหมายสามารถหมักขยะหอมได้เกือบทุกครัวเรือน มีการแยกน้ำหมักที่หมักอยู่ในถังแล้วเทใส่ในขวด ติดชื่อกลุ่ม 1.กลุ่มพริกขี้หนู 2. กลุ่ม BNT 3. กลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แต่ละกลุ่มสามารถบอกเล่าถึงวิธีการทำและประโยชน์ของน้ำหมัก โดยมีรางวัลให้ 1,2,3,และรางวัลชมเชย เพื่อสร้างความภาคภูมิใจให้แก่นักเรียน ได้ไปตามดูที่บ้าน พบว่าเด็กนำหมักมาโชว์ เด็กทำได้ พ่อแม่ดีใจที่ลูกทำได้ ช่วยกันปลูกต้นไม้เพิ่ม เรียนรู้การใช้น้ำหมักกันในครัวเรือน

     

    150 150

    11. เรียนรู้เรื่องการทำและประเมินผลการจัดทำบัญชีครัวเรือนครอบครัวแบบใหม่ 6

    วันที่ 2 มกราคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในเวลา9.00น.ผู้ร่วมโครงการพร้อมกันที่โรงเรียนชาฏิอุ้ลอามาลบ้านในถุ้งและได้มีการแลกเปลี่ยนการจดบันทึกการทำบันชีครัวเรือนกันเป็นกลุ่มย่อย ให้แต่ละคนศึกษาการหาเงินและจ่ายเงินของ คนอื่น นำข้อบกพร่องของตัวเอง และจุดแข็งของคนอื่นมาปรับใช้ในการออมของตนเอง และหาแนวทางเพิ่มรายได้ให้มากขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ผู้ร่วมโครงการปรับทุกข์ เล่าบัญหาให้เพื่อนฟัง พร้อมทั้งร่วมกันหาทางออกของปันหาได้อย่างลุล่วง มีความเห็นอกเห็นใจกันในชุมชน โดยแต่ละกลุ่มให้ยกตัวอย่างของแต่ละคนที่ได้ประสบมา และสามารถแก้ปัญหาของตนและของเพื่อนได้

     

    50 50

    12. เรียนรู้เรื่องการทำและประเมินผลการจัดทำบัญชีครัวเรือนครอบครัวแบบใหม่ 7

    วันที่ 9 มกราคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้เข้าร่วมโครงการมาทบทวนการทำบัญชีครัวเรือน ว่าตัวเองทำได้ผลอย่างไรบ้าง และร่วมกันเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนอื่นๆในบรรดาผู้ร่วมโครงการด้วยกัน โดยมีการยกตัวอย่างของความล้มเหลวของการทำบัญชีครัวเรือนแบบเก่า และยกตัวอย่างความสำเร็จของการทำบัญชีครัวเรือนแบบใหม่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การทำบัญชีครัวเรือนแบบใหม่ส่งผลดีต่อผู้ร่วมโครงการมากกว่าแบบเก่า เนื่องจาก สามารถเพิ่มเงินออมได้มากขึ้น ทำให้ครอบครัวเข้มแข็งมากขึ้น

     

    50 50

    13. เรียนรู้เรื่องการทำและประเมินผลการจัดทำบัญชีครัวเรือนครอบครัวแบบใหม่ 8

    วันที่ 16 มกราคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กิจกรรมในครังนี้ได้เย้ายมาจัดที่ร้านค้าชุมชน โดยได้เชิญเจ้าหน้าที่สหกนณ์เครดิตยูเนี่ยนมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์การออมเงินโดยใช้บัญชีครัวเรือนแบบใหม่ และให้กลุ่มเป้าหมายได้บอกเล่าเรื่องที่จัดทำบัญชีครัวเรือน ตลอดอาทิตย์ที่ผ่านมา โดยกล่าวถึงความคืบหน้าในบัญชีครัวเรือนของตน ยกตัวอย่าง นาง สุนีย์ ปริงทอง ขายขนมรังผึ้ง รายได้วันละ350 บาท มีเงินเก็บวันละ30 บาท 1 อาทิตย์เก็บได้210 บาท สร้างความพอใจให้นางสุนีย์มาก จากเมื่อก่อนที่ไม่เข้าร่วมโครงการไม่เคยจดบันทึกเลย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การนำเสนอบัญชีครัวเรือนของแต่ละคน ทำให้ทราบความก้าวหน้า และ สร้างความสุขให้กับครัวเรือนเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก มีเงินเก็บมากขึ้น ตามลำดับของอาชีพแต่ละคน โดยครั้งนี้มีวิทยากรรับเชิญมาช่วยบอกเล่าเรื่องสหกรณ์ เพื่อการออกแบบใหม่และแนวทางใหม่

     

    50 30

    14. ประชุมทุกเดือน

    วันที่ 19 มกราคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จำนวนคน/ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจริง 22 คน รายละเอียดกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม คณะกรรมการชุมชน คระกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการโครงการ กลุ่มแม่บ้าน ครูสอนศาสนา ครูสอนบัญชีครัวเรือน หัวหน้าทีมจัดการขยะแบ่งตามถนน 3 สาย รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง ผู้รับผิดชอบโครงการ นำพูดคุยการดำเนนิกิจกรรมการทำบัญชีครัวเรือน ผลงานการทำน้ำหมัก การเตรียมปลูกผัก การจัดการขยะที่ทำในโครงการ และติดตามผลลัพธ์จากโครงการ นัดแนะการทำต่อเนื่อง แบ่งสายงานการจัดการขยะตามถนน 3 สาย มีผู้รับผิดชอบดูแลแต่ละสาย พี่เลี้ยงเพิ่มเติมการดำเนินงานให้ได้ตามเป้าหมาย ให้กรรมการสรุปผลงานและวางแผนการดำเนินงานต่อเนื่อง นัดแนะการติดตามครั้งต่อไป 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การจัดการทีม พบว่ามีกลุ่มแกนนำชุมชน ได้แบ่งหน้าที่ดำเนินงานตามความถนัด มีครูสอนบัญชีครัวเรือน และมีผู้นำกลุ่มสตรีร่วมดำเนินงาน มีผู้ใหญ่บ้าน และทีมจาก อบต.ท่าศาลาร่วมด้วย ทีมมีเป้าหมายการดำเเนินงานตรงกับวัตถุประสงค์โครงการ เป็นปัญหาของหมู่บ้านที่ต้องร่วมกันแก้ปัญหาอยู่แล้ว ส่งผลให้การดำเนินงานตามโครงการสามารถทำได้ดี มีผู้เข้าร่วมหลากหลาย มีทุกวัย และมีหน่วยงานมาร่วมขับเคลื่่อน คณะกรรมการได้ทำข้อตกลงร่วม 4 เรื่อง (ดังภาพ) เพื่อให้ทุกคนในหมู่บ้านได้ร่วมกันทำ นัดแนะการติดตามครั้งต่อไป ต้องมีครัวเรือนตัวอย่าง การออม การทำบัญชีครัวเรือน การทำน้ำหมัก และปลูกผักริมทางเพิ่มอีก 2 สาย วางแผนประกวดครัวเรือนในปีต่อไป

     

    50 31

    15. เรียนรู้เรื่องการทำและประเมินผลการจัดทำบัญชีครัวเรือนครอบครัวแบบใหม่ 9

    วันที่ 23 มกราคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้เข้าร่วมโครงการได้มาทบทวนการทำบัญชีครัวเรือนให้ง่ายขึ้นหลังจากได้ข้อคิดดีๆจากพี่เลี้ยงในการประชุมครั้งก่อน โดยพี่เลี้ยงได้แนะนำแนวทางการทำบัญชีครัวเรือนหลากหลายแบบให้สอดคล้องกับที่ทำอยู่และสอดคล้องกับหลักการศาสนาและครั้งนี้ที่ประชุมเห็นว่าเมื่อครบเดือนในการออม จะนำเงินไปเปิดบัญชีกับสหกรณ์ เพื่อสิ้นปีจะมีเงินปันผลอีกด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เมื่อมีการออมของครัวเรือนครบกำหนดหนึ่งเดือนจะนำเงินไปฝากกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน เมืองท่าหลา จำกัด เพื่อรับเงินปัญผลสิ้นปี และถือเป็นการลงทุนที่ไม่เสี่ยง โดยผู้ร่วมประชุมแต่งตั้งให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นแกนนำในการติดต่อกับสหกรณ์และเป็นตัวแทนของกลุ่มด้วย โดยการสมัครตามกฏกติกาให้ออมวันละ7บาท เมื่อครบเดือนจึงเอามาฝากที่สหกรณ์ โดยมีประธานโครงการช่วยประสานงานให้

     

    50 40

    16. เรียนรู้เรื่องการทำและประเมินผลการจัดทำบัญชีครัวเรือนครอบครัวแบบใหม่ 10

    วันที่ 30 มกราคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เวลา 9.00น กลุ่มเป้าหมายได้มาที่ รร ชาฎิอุ้ลอามาลบ้านในถุ้ง เพื่อประชุมบัญชีครัวเรือนเป็นนัดสุดท้ายสำหรับโครงการนี้ โดยได้ร่วมกันอธิบายถึงข้อดีของการทำบัญชีครัวเรือน แบบใหม่ ที่เข้าใจง่ายและทำง่าย สะดวกในการลงบันทึก และได้เปิดบัญชีออมทรัพย์กับสหกรณ์ ไปบ้างแล้ว17คน โดยคนที่เหลือ ทางผู้รับผิดชอบโครงการจะทะยอยนำรายชื่อสมัครเป็นสมาชิคของสหกรณ์ในลำดับต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การทำบัญชีครัวเรือนแบบใหม่ถือว่าประสบความสำเร็จ80% สำหรับคนที่ทำและตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและพัฒนาตนเองร่วมกับโครงการ โดยเข้าร่วมฝึกอบรมทุกครั้ง ทำตามวิทยากร และทำตามครูสอนบัญชีครัวเรือนแนะนำ ผู้ร่วมโครงการที่ทำอย่างนี้ก็จะได้ประโยชน์จากโครงการอย่างมาก จากการเข้าร่วมในโครงการโดยได้ความรู้ใหม่และสามารถทำเองได้ในครัวเรือน ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถบริหารและจัดการการใช้จ่ายของตัวเองและคนในครอบครัวอย่างมีวินัย

     

    50 50

    17. ประชุมทุกเดือน3

    วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    บอกเล่ากิจกรรมที่ได้ทำมาแล้วทั้งหมด ในการทำกิจกรรมในโครงการและคิดวางแผนการดำเนินงานในการทำโตรงการในครั้งต่อไป ผู้ใหญ่บ้านได้เสนอว่าให้จัดกิจกรรมให้ตรงกับกิจกรรมที่ได้เสนอโครงการไว้กับ สสส. ครูสอนศาสนาได้วิเคราะห์ว่าจะปรับพื้นที่ในกิจกรรมต่อไป ว่าจะปลูกพืชชนิดใดบ้าง และจัดการให้ใครดูแล และจะส่งเสริมให้ไปสู่เป้าหมาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การจัดหัวหน้าทีมงานให้ นายสงคราม เจ๊ะหมัด เป็นการนำในการช่วยปรับพื้นที่ร่วมกับ อบต ให้นายรุสดีและผู้ร่วมโครงการดูแลพืชที่ปลูก และให้ทุกคนที่เข้าร่วมโครงการทำตามกติกากลุ่มที่ตั้งไว้

     

    50 31

    18. ประชุมทุกเดือน4

    วันที่ 3 มีนาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    บอกเล่าเรื่องราวที่จะพัฒนาในชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งและให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น
    สร้างความสำนึกรักชุมชนและร่วมกันรับผิดชอบสิ่งแวดล้อมในชุมชน ในเวลา 13.00 น. อบต.ดรเราะหมาน ปริงทอง ได้ชี้แจ้งในการประชาคมในหมู่บ้าน โดยเฉพาะการทำแผนชุมชน สร้างความมั่นคงในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คนในชุมชนได้มาร่วมคิดร่วมวิเคราะห์ว่าจะทำอย่างไร ให้หมู่บ้านจะได้พัฒนาขึ้นโดยเสนอนโยบายยุทธศาสตร์ ในการดำเนินงาน เพื่อจะได้ขับเครื่องการพัฒนาส่วนต่างๆได้บรรลุผล และสร้างความสมัคคีในชุมชนและหน่วยงานต่างๆ โดยประธานได้คุยกับนายก อบต. ในเรื่องที่หมู่5ได้รับโครงการต่อยอดเพื่อพัฒนาในหมู่5 นายกมีความยินดีและพร้อมที่จะช่วยเหลือในการทำงานและพัฒนาหมู่บ้านต่อไป

     

    50 32

    19. ประชุมทุกเดือน5

    วันที่ 2 เมษายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    อาจารย์พี่เลี้ยงนัดประชุมเพื่อติดตามโครงการ ชี้แจงการทำงานใหม่ และให้ทำกิจกรรมต่อเนื่อง มีผู้ใหญ่มารับทราบและเป็นผู้นำทำงานต่อเนื่อง 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ข้อสรุปการทำงานต่อเนื่อง 1. ให้ทุกคนช่วยกันทำตามโครงการ โดยทำที่ทำได้จริง 2. จัดกิจกรรมเพิ่มเรื่องการสอนคัดแยกขยะ ทำเก็บตก ทำต่อเนื่อง 3. มีการตรวจสอบการทำงานโดยคณะกรรมการหมู่บ้าน และรายงานให้อาจารย์ทราบเป็นระยะ 4. กรรมการตกลงกันว่าทำกิจกรรมในชุมชน กำหนดซอยทำการจัดการขยะ 4 จุด

     

    20 32

    20. คัดแยกขยะ

    วันที่ 9 เมษายน 2015 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดแกนนำมาที่ซอยเครื่องแกง แล้วแกนนำเดินตามบ้าน ให้ทุกคนในซอยเครื่องแกงนำขยะออกมาจากบ้าน นำถังเขียวมาแยกขยะแต่ละอย่าง แยกเป็นเศษอาหาร ขยะเปียก ขยะรีไซเคิล คัดแยกขยะ มาทั้งหมดทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ 40 คน มาทำแล้วถ่ายรูป เก็บภาพ กินขนม 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คนในชุมชนได้พูดคุยว่า ดีมาก
    1. ก่อนนี้ไม่เคยเก็บ ป๋องนมก็ทิ้ง แต่ตอนนี้ไม่ทิ้งแล้วนำมาขาย มีคนมารับซื้อถึงบ้าน ทำเป็นวัสดุได้ 2. ขวดน้ำ นำมาขายได้ และนำไปปลูกถั่วงอกได้ นำมาทำวัสดุอื่นๆ และไปหาความรู้มาทำเพิ่มรายได้ 3. เศษอาหาร เศษปลา ขยะเปียกนำไปทำปุ๋ยตามบ้าน ทำตามบ้านเป็ฯแล้ว ได้เรียนรู้กันแล้วที่โรงเรียน ทำเป็นขยะหอมได้ (ขี้ปลาจะหอม ทำโดยไม่ต้องใส่น้ำ) 4. ตอนนี้ข้างถนนที่มีกลิ่นเหม็น ตอนนี้ไม่มีกลิ่นแล้ว 5. ต่อไปให้มาร่วมกันทำปุ๋ยน้ำเพื่อชำระล้างไม่ให้บ้านมีกลิ่นเหม็น ช่วยกันทำและเรียนรู้

     

    40 40

    21. คัดแยกขยะ

    วันที่ 10 เมษายน 2015 เวลา 15.00-19.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำที่ซอยหน้าบ้านผู้ใหญ่ มีทีมงานของผู้ใหญ่ เมียผู้ใหญ่ คนรับซื้อปลาจากทะเล มาชวนคนให้มาทำ ร้านขายของให้ขยะเพื่อให้มาเรียนรู้ ให้คำแนะนำเรื่องการทำน้ำหมักแม่ น้ำหมักพ่อ พ่อทำจากใบไม้ แม่ ทำจากเปลือกผลไม้ ช่วยกันทำและพูดคุยเพื่อจัดการขยะกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีคนขายปลา มีเมียผู้ใหญ่ มีสมาชิกชุมชนมาเพิ่ม และพูดคุยสรุปกัน 1. คัดแยกขยะเป็นมากขึ้น แม้แต่ขี้เถ้าก็นำมาทำได้ มาล้างจานได้ 2. น้ำมันทอดแล้วนำมาขายเพื่อไปทำไบโอดีเซล มีรถกะบะมารับซื้อ ไม่ทิ้งแล้ว และลดการทอดซ้ำได้ ลดการเกิดกลิ่นเหม็นได้ เมื่อก่อนทิ้งแล้วเหม็น 3. มะขามเปียกนำมาขัดของในบ้าน ขัดเครื่องประดับได้ 

     

    40 40

    22. คัดแยกขยะ

    วันที่ 12 เมษายน 2015 เวลา 15.00-19.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีคนมาร่วมและถามว่าทำอย่างไร กรรมการได้สาธิตให้เห็น แล้วให้คนที่มาร่วมทำ แต่ละซอยมาร่วมเพิ่ม วันนี้ทำที่หน้าบ้านโต๊ะอีหม่าม มีคนที่ขับรถผ่าน จอดรถมาดู และรวมกันช่วยทำ ลากถังขยะ คนที่มามัสยิด เข้ามาเพิ่ม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. มีคนที่มามัสยิดมาช่วย ช่วยลากถังขยะมาร่วมกันคัดแยก บางคนไม่เคยเห็นว่าเขาแยกกันอย่างไร
    2. เมื่อก่อนวัยรุ่นไม่เคยมาแต่วันนี้มาร่วม ขับรถผ่านไปผ่าานมาจอดรถแล้วลงมาช่วย สนใจ ให้ความร่วมมมื อและได้รู้ ไปทำต่อที่บ้านได้
    3. ได้บอกจุดรับซื้อขยะ ให้ทุกคนไม่ทิ้งเพ่นพ่าน มีจุดรับซื้อที่หน้าซอยเครื่องแกง มาเกือบทุกวัน นำมารวมกันแล้วโทรบอก
    4. ทุกคนได้รู้เพิ่ม ว่าขยะไม่ทิ้ง นำมาคัดแยก อย่าทิ้งรวม แล้วช่วยเพิ่มรายได้

     

    40 40

    23. คัดแยกขยะ

    วันที่ 13 เมษายน 2015 เวลา 15.00-19.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำกันที่ซอยหลังสุสาน ข้างร้าานน้ำยา ที่กรงนก มีคนมายืนดูมาก บ้านมีถังคัดแยก ที่ร้านขายของมาร่วม มาทำเป็นตัววอย่าง มีคนมาทำกันมากริมถนน มีคนมามุลดู คิดว่าเกิดเหตุ ไม่เคยมี คนไม่เคยเห็นว่าทำกันที่ชุมชน ก่อนนี้ไม่มีทำ ร่วมกันทำให้ทุกคนเห็น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. เกิดจุดคัดแยกขยะ 4 จุด ในพื้นที่ ได้แก่ ซอยเครื่องแกง ปากซอยหน้าบ้านผู้ใหญ่ ซอยหน้าบ้านโต๊ะอีหม่าม ซอยหลังสุสาน ทำให้เกิดการเรียนรู้
    2. ได้รู้เรื่องการจัดการขยะเพิ่มมากขึ้น ไม่ทิ้งขยะตกหล่นตามถนน มีคนมาเก็บขยะมาก
    3. เกิดรายได้ให้คนพิการ 3 คน เมื่อก่อนไม่เคยเก็บขยะ ตอนนี้มาเก็บขยะ พาถุงเินเก็บตามริมถนน รู้ว่าขยะแบบไหน คัดแยกอย่างไร นำไปไว้ที่ไหน พาถุงเดินเก็บทั่วหมู่บ้าน มาเก็บขยะจนมีเงิน ยิ่งคนหญิงจะเก่งมาก เดินรอบหมู่บ้าน รู้จักประหยัด เลี้ยงแม่ได้ 

     

    30 30

    24. ประชุมทุกเดือน6

    วันที่ 3 พฤษภาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในการประชุมในครั้งนี้ได้มีตัวแทนเข้าร่วมประชุมในหัวข้อ ความคืบหน้าของโครงการที่ได้ทำมาตลอดหลายเดือน ว่าตอนนี้ทำไปถึงไหนกันบ้างแล้ว และในอนาคตคาดว่าจะดำเนินการในรูปแบบใดบ้าง ที่จะให้สอดคล้องกับแนวทางของหมู่บ้านพร้อมกับแนวทางของโครงการ เพื่อจะได้ปฎิบัติร่วมกัน เป็นการจับมือร่วมกันของคนทุกฝ่ายในหมู่บ้านและ ทางโครงการยินดีให้ความร่วมมือกับกิจกรรมอื่นๆที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน และโครงการที่ไกล้ที่สุดก็คือโครงการต้อนรับเดือนรอมฏอลที่กำลังจะมีขึ้นในอีกไม่เกิน2เดือนนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทางผู้นำชุมชน ผู้นำโครงการ และชาวบ้านเห็นด้วยที่จะ พัฒนาชุมชนในถุ้งให้ดีขึ้นในทุกๆด้าน การประชุมครั้งนี้ไม่ได้พูดถึงแต่เรื่องโครงการอย่างเดียวเหมือนที่ผ่านมา แต่ได้นำเรื่องอื่่นๆในผมู่บ้านมาร่วมกันประชุมถกเถียงกันภายใต้การประชุมในครั้งนี้ นางสุนิต้า ใบเต้ เลขาโครงการเห็นว่าครั้งนี้นับเป็นเครื่องหมายที่ดีที่โครงการได้เป็นส่วนหนึ่งในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของหลายฝ่ายมาประชุมร่วมกันและประชุมหลายเรื่องอีกด้วย

     

    50 24

    25. ทำป้ายรณรงค์ปลอดบุหรี่

    วันที่ 4 พฤษภาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้เข้าร่วมโครงการที่ปลูกผัก ทำปุ๋ยหมัก  และนักเรียนกอเนาะที่เข้ามาร่วมโครงการ กลุ่มอนุรักษ์มาลิเตาะ โต๊ะอีแต จำนวน 100 ครัวเรือน ได้รับป้ายปลอดบุหรี่ไปปิดตามบ้าน เพื่อร่วมกันรณรงค์เขตปลอดบุหรี่ 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กลุ่มเป้าหมายได้นำป้ายปลอดบุหรี่มาติดตามบ้านตนเอง เพื่อเป็นการรณรงค์เขตปลอดบุหรี่ นำต้นไม้ไปปลูกและติดตามผลการจัดกิจกรรมของโครงการ มาร่วมประชุมทุกครั้งที่จัดกิจกรรม

     

    100 100

    26. ประชุมทุกเดือน7

    วันที่ 3 มิถุนายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานโครงการได้แจ้งกับที่ประชุมว่าเงิน สสส ในงวดที่2 ยังไม่เข้าในบัญชีเลย แต่จากการสอบถามเจ้าหน้าที่คาดว่าจะเข้าเร็วๆนี้ ทางประธานจึงโทรถามพี่เลี้ยง จึงได้คำตอบว่าให้จัดกิจกรรมไปก่อนได้เลย เมื่อประธานแจ้งเส็จก็ได้เข้าเรื่องการประชุมของวันนี้คือ จากที่ประธานแจ้งมาว่าเงินยังไม่เข้าหากโครงการไม่รีบทำกิจกรรมอาจจะทำให้โครงการล้าช้าได้ และอาจจะปิดโครงการไม่ทันที่อื่น ทาง นายสงคราม เจ๊ะหมัด จึงเสนอขึ้นว่าควรจัดกิจกรรมโดยการสำรองจ่ายเงินไปก่อน เพราะหากไม่จัดภายในเดือนนี้ เดือนหน้าทั้งเดือนก็คงไม่ได้จัด เนื่องจากเป็นเดือนรอมฎอลที่สมาชิกทุกคนในหมู่บ้านต้องถือศีลอดไม่สามารถมานั่งประชุมหรือมาทำกิจกรรมใดๆได้ เรื่องนี้ทางโครงการจึงสรุปว่าจะจัดกิจกรรมกันก่อนแม้เงินยังไม่เข้าก็ตาม ส่วนเรื่องที่คุยกันค้างในการประชุมเดือนก่อนคือเรื่องงานต้อนรับเดือนรอมฎอลทางโครงการได้หารือกับแกนนำชุมชนว่าโครงการจะช่วยอะไรได้บ้าง ทางแกนนำชุมชุนจึงขอให้โครงการขึ้นไปเล่าเรื่องของโครงการบนเวที ประธานโครงการจึงเสนอ ให้ตัวแทนเด็กและเยาวชนเป็นคนนำเสนอแทนประธานโครงการเพื่อเป็นการตอกย้ำการเข้าร่วมกิจกรรมของเด็กและเยาวชน แต่นางเมตตา ศิริสุข แกนนำโครงการได้ขอค้านในการจัดกิจกรรมบนเวที ซึ่งเป็นกิจกรรมที่7 เพราะว่าภายในเดือนเดียวคงจัดกิจกรรมที่6ไม่ทัน หากทำได้ก็คงจัดได้แค่กิจกรรมที่5เท่านั้น ซึ่งการจัดกิจกรรมสลับกันโครงการยังไม่เคยทำมาก่อน แต่ประธานโครงการได้ชี้แจงต่อที่ประชุมในเรื่องนี้ว่าเคยได้ปรึกษากับพี่เลี้ยงแล้วในช่วงก่อนหน้านี้ว่าสามารถจัดกิจกรรมสลับกันได้ แล้วแต่สถานการณ์และความเหมาะสม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การจัดกิจกรรมจะดำเนินต่อไปแม้ว่ายังไม่ได้เงินในงวดที่2ก็ตาม เพราะหากคอยเงิน สสส กลัวว่าโครงการจะล้าช้า และอาจจะจัดกิจกรรมเผยแพร่โครงการก่อนการจัดกิจกรรมตั้งกติกากลุ่ม

     

    50 28

    27. กิจกรรมที่5 ปรับพื้นที่

    วันที่ 6 มิถุนายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รายละเอียดวันที่1 มีผู้เข้าร่วมโครงการ38 คน ประธานโครงการได้พูดคุยว่าแต่ละคนต้องการจะปลูกผักอะไรมั้ง บางคนบอกว่า พริก ต้นชะอม และมีตระไคร้บ้างแต่ละคนที่มาประชุมพูดถึงซอยเครื่องแกงว่าจะปลูกผักเลื่อย เช่น บวบ ขี้พร้า ต่อมาสักพักผู้ช่วยก็ได้เข้ามาประชุมร่วมด้วย พร้อมกับมาแนะนำในการปลูกพริกและพืชต่างๆในวิธีที่เหมาะสมกับพื้นที่บ้านเรา หลังจากนั้นประธานได้กล่าวปลูกจิตสำนึกรักชุมชนให้ผู้ร่วมประชุมฟังและสร้างแรงบรรดาลใจคิดฝันถึงชุมชนบ้านในถุ้งที่เต็มไปด้วย พืชผัก ไม่มีขยะอีกต่อไป รายละเอียดวันที่2 มีผู้เข้าร่วมโครงการ42 คน ไปประชุมกันบ้านผู้ใหญ่หมู่5 โดยผู้ใหญ่ได้พูดถึงโครงการนี้ว่าจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้มากและยังจะมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกที่สำคัญยังช่วยลดปริมาณขยะหมักหมมในชุมชนให้กลายเป็นภูมิทัศน์ที่สวยงาม อีกอย่างคือได้สร้างจิตสำนึกให้เด็กๆในชุมชนรู้จักปลูกต้นไม้ ดูแลต้นไม้ สำนึกรักชุมชนตั้งแต่ยังตัวเล็กๆ ทั้งนี้ในการประชุมครั้งนี้ได้สรุปกันว่าในซอยนี้จะปลูก กล้วย มะละกอ ต้นมะกอก และถ้าใครอยากปลูกอย่างอื่นก็สามารถนำมารวมกันได้ และทิ้งท้ายไว้ว่าใครอยากจะได้พันธ์ไม้ชนิดไหนก็ให้มาแจ้งได้ ทางโครงการจะไปขอให้กับเกษตรตำบล รายละเอียดวันที่3 มีผู้เข้าร่วมโครงการ32 คน เป็นการประชุมกันที่บ้านโต๊ะอีหมำ โดยทางเจ้าภาพได้คุยถึงโครงการนี้ว่าเข้ากับหลักการของศาสนาที่ว่า ความสะอาดเป็นส่วนหนึ่งของการศัทรธา เพราะโครงการนี้ได้กำจัดขยะที่เต็มไปด้วยความสกปรกให้หมดไปทำให้ข้างทางมีต้นไม้สวยงาม ผักที่สามารถขายและบริโภคได้ โดยผู้เข้าประชุมส่วนใหญ่ ต้องการปลูกตะไคร้และชะอมเพื่อกั้นเป็นรั่วบ้าน รายละเอียดวันที่4 มีผู้เข้าร่วมโครงการ34 คน ประชุมกันที่ร้านน้ำชาบังดะริ แหมอะเนาะ เป็นการประชุมพูดคุยกันในเรื่องของคลองข้างถนนที่เต็มไปด้วยขยะว่าจะสร้างคลองข้างถนนตรงนี้ให้มีพืชผักได้ยังไง โดยคนในที่ประชุมเสนอว่าให้ปลูกผักบุ้ง ใบรา โหรพา มะละกอ ชะอม มะม่วง ให้บริเวณตรงนี้กลายเป็นภูมิทัศน์ที่สวยงาม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในการทำกิจกรรมทั้ง4 วันในครั้งนี้ นับว่าได้รับความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชนเป็นอย่างมาก ทั้งผู้นำชุมชน ทั้งเยาวชน ร่วมใจกันเข้าร่วมโครงการและได้สรุปผลกันว่าในการจัดกิจกรรมในครั้งที่2 ในบริเวณสุสานนั้น จะมาร่วมกันทำอย่างต่อเนื่องแน่นอน และได้มีการเสนอแนะว่าควรรีบจัดให้เสร็จก่อนที่จะเข้าสู่เดือนรอฎอนเพราะถ้าจัดในเดือนรอมฎอนจะไม่มีใครมาร่วมกิจกรรม เนื่องจากต้องถือศีลอด ทางผู้รับผิดชอบโครงการก็เห็นสมควรตามนี้จึงนัดกันอีกทีวันเสาร์ โดยครั้งนี้จะให้เด็กๆมาร่วมด้วยเพราะต้องใช้แรงในการกรับพื้นที่มาก

     

    150 146

    28. กิจกรรมที่5 ปรับพื้นที่ครั้งที่2

    วันที่ 13 มิถุนายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันเสาร์ที่13 มิย ได้มีการรวมตัวกันที่บริเวณหลังสุสานบ้านในถุ้งเพื่อจัดกิจกรรมปรับพื้นที่รอบๆสุสานที่เต็มไปด้วยขยะ ให้สะอาดเรียบร้อยเพื่อจะได้ทำการปลูกต้นไม้ต่างๆในครั้งต่อไป โดยการปรับพื้นที่ในครั้งนี้คาดว่าจะใช้ไม้ประดับในการปลูกเนื่องจากว่าบริเวณสุสานปกติมันดูน่ากลัวแต่หากมีต้นไม้สวยงามมาปลูกไว้จะทำให้ดูร่มรื่นขึ้นบ้าง โดยในการพูดคุยเสวนาระหว่างโต๊ะเซี้ยะกับประธานโครงการได้มีการเสนอว่าควรจะให้เด็กๆมาเยี่ยมเยี่ยนสุสานบ้างในวันหยุดไม่ใช่มาแต่วันรายอเท่านั้น เพื่อที่จะได้สร้างจิตสำนึกที่ดีในการระลึกถึงความตาย ไม่ต้องใช้ชีวิติแบบประมาท ทางครูสอนศาสนาก็เห็นชอบด้วย และจะได้ให้เด็กๆมาช่วยกันปลูกต้นไม้บริเวณสุสานให้สวยงาม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ทั้งนี้เนื่องจากได้มีการเตรียมพร้อมกันมาเป็นอย่างดีทำให้ผู้ร่วมโครงการ มากันมาก

     

    150 150

    29. กิจกรรมที่7 กิจกรรมการ เผย แพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานข้างถนนกินได้ สร้างรายได้บ้านในถุ้ง

    วันที่ 17 มิถุนายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ชุมชนบ้านในถุ้งได้มีการจัดงานรวมพลังศัทธาขึ้นในชุมชนเพื่อต้อนรับการถือศีลอด ภายในงานได้มีกิจกรรมบนเวทีต่างๆมากมาย ทั้งการถามตอบปัญหาศาสนาของเยาวชน มีการออกร้านจำหน่ายสินค้าต่างๆและบนเวทีในงานมีการเสวนาพูดคุยถึงกิจกรรมต่างๆของหมู่บ้านซึ่งมีกลุ่มต่างๆมาร่วมพูดคุยมากมายและทางคณะกรรมการหมู่บ้านได้ยกตัวอย่างโครงการ ข้างถนนกินได้สร้างรายได้บ้านในถุ้ง ให้เป็นกรณีศึกษาในการพัฒนาชุมชน ในด้านสภาพแวดล้อมพร้อมทั้งเชิญผู้ร่วมโครงการขึ้นมาพูดคุยบนเวที โดยมีนายเอกชัย อะลีแอ เป็นผู้ซักถามเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการ และผู้เข้าร่วมโครงการก็ได้ตอบคำถามได้เป็นอย่างดีและนายเอกชัย ก็ปิดท้ายว่า โครงการนี้สร้างประโยชน์ให้หมู่บ้านในด้านของการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้สะอาดพร้อมทั้งลดค่าใช้จ่ายในครอบครัว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในการจัดกิจกรรมขึ้นในครั้งนี้ อันที่จริงโครงการไม่คิดว่าจะร่วมกันจัดพร้อมกับทางหมู่บ้านแต่ด้วยการเห็นพ้องของหลายฝ่ายจึงต้องจัดกิจกรรมขึ้น เพราะเนื่องจาก กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่7 ซึ่งตอนนี้ยังไม่จัดกิจกรรมที่6เกรงว่าจะผิดระเบียบ แต่พี่เลี้ยงเคยบอกว่าจัดสลับกันได้เลยจัดขึ้น และผลงานที่ออกมาก็ถือว่าเป็นที่น่าพอใจเป็นอย่างมากเพราะไม่เพียงแต่เผยแพร่ให้คนในชุมชนได้รับทราบเท่านั้นยังมีการเผยแพร่ให้คนในชุมชนไกล้เคียงได้รู้ถึงโครงการและการสนับสนุนของ สสส อีกด้วย ทำให้มีหลายหมู่บ้านอยากทำโครงการเสนอ เพื่อพัฒนาชุมชนของตัวเอง

     

    150 150

    30. ประชุมทุกเดือน8

    วันที่ 3 กรกฎาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประธานโครงการได้พูดถึงการวางกติกาที่จะเกิดขึ้นในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไป ให้แกนนำได้ช่วยกันนำเสนอ ว่าจะให้ใครดูแลซอยต่างๆยังไง สำหรับต้นไม้ที่ได้ปลูกไปแล้วนั้น ในการประชุมในครั้งนี้ ได้มีตัวแทนเสนอว่าซอยใครของใครก็ให้คนนั้นรับผิดชอบ และค่อยนำการประชุมนี้ไปประชุมกันอีกครั้งหนึ่งในวันจัดกิจกรรม โดยจะให้ชาวบ้านและลูกหลานมาประชุมร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทุกฝ่ายยินดีที่จะเข้าร่วมประชุมในกิจกรรมการตั้งกติกากลุ่มและจะให้ลูกหลานของตัวเองเข้าร่วมประชุมด้วย เพื่อที่จะได้สอดส่องดูแลต้นไม้ให้เจริญเติมโต

     

    50 25

    31. กิจกรรมที่6 ผู้ร่วมโครงการเข้าร่วมประชุมเพื่อตั้งกติกา ระเบียบ การดูแล

    วันที่ 24 กรกฎาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วันนี้ได้พานักเรียนและเยาวชนรวมทั้งแกนนำ และชาวบ้าน ได้มาร่วมกันตั้งกติกากลุ่ม ตามซอยต่างๆ เพื่อวางกฎระเบียบในการดูแลตามซอย เพื่อให้เด็กตามริมถนน ได้ช่วยกันดูแลต้นไม้ต่างๆที่ปลูกไว้ และได้วางคนที่จะดูแลดังนี้ ซอยเครื่องแกงให้นางสุณีย์ ปริงทอง เป็นผู้ดูแล ซอยโต๊ะอีม่าม ให้นางสุนิต้า เป็งคนดูแล ซอยครั้งสุสาน ให้นางมาชีเตาะ ดูแล ซอยบ้านผู้ใหญ่ให้นายอาหมาด ไทรทอง เป็นผู้ดูแล แต่ละคนได้พูดถึงความเจริญงอกงามของต้นไม้ในซอยบ้านตน
    ตอนบ่ายได้ประชุมในเรื่องของผลผลิตที่เกิดขึ้นในแต่ละซอยและในแต่ละครัวเรื่องของตน ว่าจะทำอย่างไรดี โดยได้ปรึกษากันว่า หากเหลือจากกินแล้ว ให้นำไปขายที่ตลาดคาร และแจกจ่ายให้กับคนอื่นที่ยังเข้าไม่ถึงในโครงการนี้ เพื่อคนเหล่านั้นจะสนใจโครงการนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้มีกติกาดั่งนี้ 1. ให้คนแต่ละซอยดูแลต้นไม้ตามที่ได้รับมอบหมาย 2. หลังจากเหลือกินแล้ว ให้นำไปขาย และนำไปแจกจ่ายให้กับคนอื่น 3. หลังจากโครงการนี้เสร็จสิ้น จะคอยดูแลต้นไม้และขยายพันธุ์สืบต้นไป

     

    150 150

    32. กิจกรรมที่ 8 ประเมินผลของโครงการ

    วันที่ 2 สิงหาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในการประชุมในครั้งนี้ได้มีการจัดประชุมกันที่ อาคารโรงเรียนชาฏิอุ้ลอามาลบ้านในถุ้งโดยมีบุคคลต่างๆมากมายเข้าประชุมแต่ที่มากที่สุดก็คือชาวบ้านผู้ได้ร่วมโครงการจากการจัดกิจกรรมต่างๆ ในเวลาที่ผ่านมา ในการประชุมครั้งนี้ทางโครงการได้มอบหน้าที่ให้นายมนิตย์ เป็นผู้ดำเนินการประชุมพร้อมทั้งเป็นวิทยากร โดยเปิดประเด็นการประชุมกันในหัวข้อต่างๆดังนี้ 1. จากการทำโครงการในปีที่1-2มีผู้เข้าร่วมโครงการลดหรือเพิ่มอย่างไร -ทางโครงการได้ชี้แจงว่าเพิ่มขึ้น นายมนิตย์ถามว่าดูจากไหน โครงการตอบว่ามองจากการประชุมที่มีผู้เข้าร่วมเพิ่มขึ้นแต่ละครั้ง โดยอธิบายว่าขาประจำที่เข้าร่วมอย่างน้อย40-45คนและขาจรอีกหลายคนอย่างเช่นวันนี้ก็มีขาจรเพิ่มขึ้นหลายสิบคน
    2. สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง -ทางโครงการได้ชี้แจงให้ผูเข้าร่วมฟังว่าที่เห็นได้ชัดคือภูมิทัศน์ที่ดูสะอาดตาขึ้นไม่ว่าจะเป็นบริเวณข้างถนนหรือบริเวณข้างๆบ้านของแต่ละคน 3. ทางด้านความสำนึกรักความสะอาดเป็นอย่างไร -ทางโครงการตอบว่าปีที่1ในการทำโครงการมีคนรักษาความสะอาดบริเวณข้างถนนและบริเวณที่สาธารณะ และปกป้องช่วยเก็บขยะเมื่อมีคนทิ้งอย่างน้อย15 คน แต่ปีนี้มีคนมีจิตสำนึกเพิ่มขึ้นประมาณ40 คน นายมนิษย์ถามว่าใครมั้ง โครงการตอบว่า ขาประจำที่เข้าร่วมประชุมทุกครั้ง 4. หากโครงการสิ้นสุดจะยังมีการพัฒนากันในรูปแบบใด จะต่อเนื่องหรือไม่ - โครงการและชาวบ้านลงความเห็นกันว่าต้องต่อเนื่อง เพราะทุกวันนี้ ต้นไม้ก็ได้ปลูกบริเวณบ้านของตน ไม่ใช้แต่ข้างถนนเท่านั้น ปุ๋ยก็หมักเป็นกิจวัตประจำวันอยู่แล้ว หากโครงการจะได้รับสนับสนุนอีกก็ค่อยประชุมกันอีกทีว่าจะพัฒนากันในรูปแบบไหน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการให้ความร่วมมืออย่างดีจากผู้นำชุมชน และผู้เข้าร่วมโครงการ โดยโครงการและผู้ร่วมโครงการได้อธิบายการทำฃานที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดีพร้อมทั้งยกตัวอย่างความเปลี่ยนแปลงได้ยังชัดเจน และยังบอกให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนเข้าไปดูภาพประเมินในเว็บไซคนใต้สร้างสุขเพื่อเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงก่อนหลังการทำโครงการ

     

    150 136

    33. ประชุมทุกเดือน9

    วันที่ 3 สิงหาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้มาประชุมกันที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน โดยมีการประชุมในครั้งนี้ว่าด้วยเรื่องของการจะจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป ว่าจะจัดกันในรูปแบบไหนดี ผู้ใหญ่บ้านได้เสนอว่าควรจะจัดกิจกรรมถอดบทเรียนกันเป็นกลุ่มย่อยๆแล้วนำผลสรุปของแต่ละซอยมาประเมินอีกทีในการประชุมแกนนำในครั้งสุดท้าย ผู้ใหญ่บ้านได้กล่าวขอบคุณผู้ร่วมโครงการทุกคนที่ได้ร่วมกันพัฒนาหมู่บ้านให้สภาพแวดล้อมในชุมชนดีขึ้นจากเดิมมาก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ให้จัดกิจกรรมถอดบทเรียนแบ่งเป็นกลุ่มย่อยแล้วนำมาสรุปในการประชุมสภาผู้นำเดือนสุดท้าย

     

    50 25

    34. กิจกรรมที่ 9 ถอดบทเรียน

    วันที่ 15 สิงหาคม 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การจัดกิจกรรมในการประชุมถอดบทเรียนในครั้งนี้ ได้จัดขึ้นหลายหน ในวันเดียวกัน ตามพื้นที่ต่าง ๆ และเนื้อหาในการประชุมมีดังนี้ คนมีจิตสำนึกเรื่องขยะ ที่ต้องช่วยกันดูแล เมื่อเห็นในชุมชนจะช่วยกันเก็บและร่วมมือกันพัฒนาชุมชนทุกมิติ โดยเฉพาะบริเวรครัวเรือนของตัวเอง ที่จะต้องเอาใจใส่ ทั้งนี้ผู้ใหญ่บ้านได้บอกกล่าวแก่ที่ประชุมในทุกครั้งว่า ชุมชนเรานั้นสะอาดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีกฏกติกาในชุมชนเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม มีฝ่ายรับผิดชอบงานด้านสิ่งแวดล้อม มีการเชื่อมโยงเครือข่ายกลุ่มต่างในชุมชน ให้ได้พบปะกัน ในการพัฒนาร่วมกันมีการพัฒนาของถนนอย่างเห็นได้ชัด มีพืชผักข้างถนนที่ขึ้นสวยงามน่ามอง สามารถนำมาประกอบอาหารและขายได้ สามารถตอบโจทย์โครงการที่ว่าข้างถนนกินได้และสรา้งรายได้ให้ชุมชน จิตสำนึกของคนในชุมชนที่ร่วมโครงการนั้นเปลี่ยนแปรงไปในทางที่ดีขึ้น มีความสำนึกรักบ้านเกิดมากขึ้นและสุดท้ายคือบริเวรสุสาน ที่ได้พัฒนาร่วมกันของคนทุกฝ่าย ทำให้ผู้คนในละแวกนั้นไม่ทิ้งขยะ คูคลองระบายน้ำได้ดี และที่สำคัญที่สุด ที่ที่เคยทิ้งขยะกลับกลายมาเป็นที่ปลูกต้นไม้ที่สวยงาม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลสรุปจากการประชุมคือ
    ชุมชนสะอาด
    คนมีมารยาทในการทิ้ง

    เอาผักที่ปลูกข้างทางมาเก็บกิน
    สร้างกติกาที่เห็นผลจริงในชุมชน

    สุสานไม่น่ากลัว
    ในครัวมีอาหารกิน
    คูคลองได้ระบายน้ำทิ้ง
    สร้างความยั่งยืนจริงๆในชุมชน

     

    150 114

    35. ประชุมทุกเดือน10

    วันที่ 3 กันยายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในการประชุมครั้งนี้ มีแกนนำชุมชนได้มาร่วมประชุมกัน เพื่อที่จะประชุมในการจัดกิจกรรมสรุปโครงการ ที่จะจัดขึ้นหลังวันรายอ ในวันที่ 26 เดือนนี้ ซึ่งการประชุมในการสรุปนั้นทางโครงการได้เสนอแนะว่า จะสรุปโครงการกันเป็นระยะ คือ ระยะต้น กลาง ปลาย และให้ผู้รับผิดชอบโครงการทุกคนได้สรุปร่วมกัน เพื่อที่จะได้แจกแจงในวันจัดงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทุกคนได้เข้าใจในการประชุมครั้งนี้นี้ ได้มอบหมายหน้าที่กัน ให้แต่ละคนได้ทำงาน โดยจะให้มีคนขึ้นไปกล่าวสรุปบนเวที และให้ผู้เข้าร่วมทุกคนมาร่วมกันฟังการสรุปโครงการในวันงาน

     

    50 29

    36. ความมั่นคงทางสุขภาวะ วาระสร้างสุขของคนใต้ปี2558

    วันที่ 4 กันยายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้เข้าร่วมประชุมและได้เข้าชมนิทัศการที่มาจากเครือข่ายต่างๆได้พบกับผู้จัดการกองทุน สสส ได้รับฟังการเสวนาของนายประยงค์ รณรงค์ อ.สุกรี หลังปูเต๊ะ นายบรรจง นะแส มีการแบ่งหัวข้อย่อยภหัวข้อ และได้รับฟังการเสวนาเรื่องการออกแบบกลไกและทิศทางการทำงานเครือข่ายสุขภาพของภาคใต้โดยเครือข่าย สสส และได้เข้าฟังทุกหัวข้อที่มีในหมายกำหนดการที่ส่งมา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เข้าร่วมประชุมครบทุกครั้ง ได้ความรู้เพื่มขึ้น และจะนำความรู้มาพัฒนาชุมชนต่อไป

     

    3 2

    37. สรุปโครงการ

    วันที่ 26 กันยายน 2015 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ได้มีการวางแผนงานเป็นอย่างดี และมีผู้เข้าร่วมฟังการสรุปโครงการจำนวนมาก ผลของการสรุปโครงการมีดังนี้
    1. ระยะต้นโครงการสรุปได้ว่า ในช่วงแรกของการดำเนินโครงการนั้นมีการพัฒนาของชุมชน ดังต่อไปนี้
    1.1 คน มีแกนนำหมู่บ้านเข้าร่วมโครงการ 4 คน คือ อบต. ผู้ใหญ่ ปราชญ์ชาวบ้าน กรรมการหมู่บ้าน คณะครู และชาวบ้าน ซึ่งเป็นเด็กเสียส่วนมาก 1.2 เครื่อข่าย ในระยะต้นได้มีเครื่อข่ายของ อสม. คือนางดวงใจ นะหู ได้ร่วมเข้าพัฒนาโครงการ เยี่ยมชมโครงการ และให้คำแนะนำ เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ
    1.3 สิ่งแวดล้อม ในระยะต้นนั้น แม้ว่าโครงการจะดำเนินการมาแล้ว 1 ปี แต่การพัฒนายังไม่ครอบคุมในหลายพื้นที่ ริมถนนยังมีขยะอยู่บ้างส่วน โครงการจึงเข้ามาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 1.4 จิตสำนึก คนที่ร่วมโครงการในระยะต้น ที่เห็นขยะแล้วเก็บทันที มีเพียง 10 คน และมีความตระหนักเข้าใจในการรักษาสิ่งแวดล้อม มี 20 คน 2ระยะกลาง 2.1 คน มีแกนนำเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก มีครู 2 โรงเรียนในชุมชน อบต เข้าร่วมทั้ง 2 คน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้เข้าร่วมโครงการ จากระยะต้นมีเพียงเด็กเป็นตัวขับเครื่องโครงการ แต่ระยะกลางนั้น มีผู้ปกครองเข้าร่วมมากมายร่วมทั้งกลุ่มเยาวชน เข้ามาร่วมอีกหลากหลายกลุ่ม
    2.2 เครื่อข่าย เพิ่มขึ้นจากระยะต้นหลายกลุ่ม คือ เครือข่ายจากนายกอบต ศูนย์การเรียนรู้ในอำเภอ กลุ่มต่างๆที่เคยมีอยู่ในชุมชนก็มาเข้าร่วม เช่น กลุ่มออมทรัพย์ชายทะเลป่าสน 2.3 สิ่งแวดล้อม ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการขุดลอกคูคลอง เพื่อให้น้ำไหลผ่านได้สะดวกโดยที่ไม่ติดขยะ บริเวรบ้านของผู้เข้าร่วมโครงการ ที่ทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทางก็ได้รับการคัดแยกก่อนทิ้งมีการสร้างรายได้จากขยะเกิดขึ้น มีการนำขยะไปหมักเพื่อทำเป็นปุ๋ย ชุมชนดูสะอาดตาขึ้น
    2.4 จิตสำนึก คนที่เห็นขยะแล้วเก็บทันที มีเพิมขึ้นเป็น 15 คน และคนที่ตระหนักรู้ถึงการรักษาความสะอาดในชุมชนมีประมาณ 25 คน 3. ระยะปลาย 3.1 คน มีแกนนำเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก คือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ครู  2 โรงเรียนในชุมชน อบต เข้าร่วมทั้ง 2 คน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้เข้าร่วมโครงการ เด็กและชาวบ้าน  มีผู้ปกครองร่วมทั้งกลุ่มเยาวชน และเด็กเปาะเนาะครูเบญ 3.2 เครือข่าย เพิ่มขึ้นจากระยะต้นและระยะกลางคือ เครือข่ายจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ดร.พ้วน) เครือข่ายจากมหาวิทยาลัยราชภัฎ (นักศึกษา) เครือข่ายจาก สสส ชะอวด
    3.3 สิ่งแวดล้อม ชุมชนดูสะอาดตาขึ้น กองขยะที่พัฒนาแล้วได้หมดไป คูคลองไม่กลายเป็นที่ทิ้งขยะ บริเวรสองข้างทาง และบริเวรบ้านผู้เข้าร่วมโครงการ มีผักสวนครัวได้เก็บกิน ทำให้ภูมิทัศน์ในชุมชนสวยงาม 3.4 จิตสำนึก คนที่เห็นขยะแล้วเก็บทันที มีประมาณ 20 คน และคนที่ตระหนักรู้ถึงการรักษาความสะอาดในชุมชนมีประมาณ 40 คน 3. ระยะปลาย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การประชุมในครั้งนี้มีผลสรุปว่า โครงการได้ดำเนินการมาถูกทางแล้ว เพราะการพัฒนาโครงการในครั้งนี้ทั้ง 2 ปี ได้ทำให้ชาวบ้านในถุ้ง ได้สร้างรายได้จากขยะ ที่มีการคัดแยกแล้ว ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักในการประกอบอาหารในแต่ละวัน รู้จักควบคุมรายจ่ายโดยดารทำบัญชีครัวเรือนแบบใหม่ และส่งผล ให้ชุมชนน่าอยู่มากยิ่งขึ้น และสุดท้ายคือหากโครงการได้ต่อในปีที่ 3 ทางแกนนำโครงการและแกนนำชุมชน คิดว่า จะจัดตั้งกองทุน จากรายได้ของการคัดแยกขยะและการขายผักข้างทาง หรืออาจจะทำต้นกล้า ไว้ขาย แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับทาง สสส.ว่าจะให้ต่อโครงการหรือไม่ 

     

    150 400

    38. จัดทำรายงานสรุปโครงการกับพี่เลี้ยงโครงการ

    วันที่ 14 ตุลาคม 2015 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการโครงการและพี่เลี้ยงร่วมสรุปผลงาน จัดทำรายงานสรุปโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดทำรายงานสรุปโครงการ สรุปข้อมูลเพิ่มเติม ทำรายงานฉบับสมบูรณ์ส่งได้ทันเวลา

     

    5 4

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้คนปรับเปลี่ยนความคิดจากการนำขยะไปทิ้งมาเป็นการคัดแยกขยะ นำมาทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้และจำหน่าย เพิ่มรายได้ให้ครอบครัว
    ตัวชี้วัด : 1.1 คนในชุมชนสามารถนำขยะเปียกมาทำเป็นปุ๋ยหมัก ร้อยละ 60 1.2 คนในชุมชนเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งขยะถูกต้อง ร้อยละ 70 1.3 คณะกรรมการร่วมกันติดตามประเมินผลการจัดการขยะในท่ประชุมทุกครั้ง 1.4 ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจการดำเนินงานในโครงการร้อยละ 95

    1.1 คนในชุมชนสามารถนำขยะเปียกมาทำเป็นปุ๋ยหมัก ได้ 20 ครัวเรือนมีสมาชิกช่วยกันทำในครัวเรือน อย่างน้อยครัวเรือนละ 4 คน รวมสมาชิก 80 คน คิดเป็นร้อยละร้อยละ 53 (จากที่ตั้งไว้ 150 คน)
    1.2 คนในชุมชนเปลี่ยนพฤติกรรมการทิ้งขยะถูกต้องมี 2 แบบ คือ คนที่เปลี่ยนมากและทำเป็นรายได้เสริม จำนวน 25 คน คนที่ปรับเปลี่ยนแต่ไม่ได้ทำเป็นรายได้เสริม 70 คน รวม 95 คน ร้อยละ 63
    1.3 คณะกรรมการร่วมกันติดตามประเมินผลการจัดการขยะในท่ประชุมทุกครั้ง
    1.4 ผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจการดำเนินงานในโครงการร้อยละ 95

    2 เพื่อเพิ่มเส้นทางข้างถนนกินได้ให้มีระยะทางมากขึ้นและนำผลผลิตจากผักสวนครัวและน้ำหมักปุ๋ยในครัวเรือนแจกจ่ายและจำหน่ายสร้างรายได้ให้คนในชุมชน
    ตัวชี้วัด : 2.1 ข้างไหล่ทางถนนที่เป็นแหล่งทิ้งขยะ กลายเป็นข้างถนนกินได้ ร้อยละ 80 2.2 ชุมชนมีผักสวนครัว(ปลอดสารพิษ) บริโภค โดยไม่ต้องซื้อ ร้อยละ 60 2.3 ชุมชนมีรายได้จาก การขายน้ำหมักปุ๋ยในครัวเรือน และผักข้างถนน ร้อยละ 50

    2.1 ข้างไหล่ทางถนนที่เป็นแหล่งทิ้งขยะ กลายเป็นข้างถนนกินได้ ที่กำหนดไว้ทั้งหมด 3 สาย สายที่ 1 ข้างสุสาน ได้ปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่ปลูกผัก มี อบต.มาช่วยปรับพื้นที่ให้ชาวบ้านได้ปลูก สายที่ 2 มี 2 ซอย (1) ซอยโต๊ะอีหม่าม ปลูกชะอมและตะไคร้และปลูกผักสวนครัวขยายผลไปตามบ้าน (2) ซอยเครื่องแกง ปลูกบวบ ขมิ้น พริก ผักบุ้ง ชะอม หวัมัน กะเพรา กล้วย สายที่ 3 ซอยบ้านผู้ใหญ่ ปลูกกล้วยขิง ข่า มะเขือพวง รวมประเมินแล้วทำได้ ร้อยละ 80

    2.2 ชุมชนมีผักสวนครัว(ปลอดสารพิษ) บริโภค โดยไม่ต้องซื้อ ประเมินผลว่าสิ่งที่ไม่ปลูกก็ต้องซื้อ แต่ที่ปลูกแบ่งปันกัน เหลือได้ขาย มีเด็กและผู้สูงอายุช่วยรดน้ำ มี อบต.ช่วยปรับพื้นที่ ร้อยละ 60

    2.3 ชุมชนมีรายได้จาก การขายน้ำหมักปุ๋ยในครัวเรือน และผักข้างถนน ประเมินผลว่าน้ำหมักได้ใช้ในครัวเรือนส่วนใหญ่ ได้ขายเป็นรายได้ 2 บ้าน ส่วนผักได้ขายร้อยละ 50

    3 เพื่อให้เกิดกติกาชุมชน และมีข้อบัญญัติของท้องถิ่นเรื่องการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพดีของชุมชน
    ตัวชี้วัด : 3.1 มีกติกาการจัดการขยะของหมู่บ้าน 3.2 มีคณะกรรมการชุมชนชุดติดตามการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ

    3.1 มีกติกาการจัดการขยะของหมู่บ้าน ได้แก่ มีผู้รับผิดชอบซอยดูแลต้นไม้บริเวณของเดิมที่เคยเป็นที่ทิ้งขยะ ตอนนี้เป็นสวนผัก พืชผักที่ได้นำไปแบ่งปันให้คนในหมู่บ้านที่เหลือได้ขาย เอาเงินไปซื้อเมล็ดพันธุ์ และรวมเป็นกองทุนเพื่อพัฒนาหมู่บ้าน มีการติดตามผลจากกรรมการอย่างต่อเนื่อง

    3.2 มีคณะกรรมการชุมชนชุดติดตามการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ โดยมีการนำเสนอในที่ประชุมหมู่บ้านทุกเดือน มีกิจกรรมร่วมกับโซนบ้าน และตำบล เป็นตัวอย่างให้ตำบลอื่นๆ

    4 เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ
    ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งในการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส. หรือ สจรส.มอ.

    ได้เข้าร่วมกับ สจรส.มอ. 3 ครั้ง และได้ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง 6 ครั้ง

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้คนปรับเปลี่ยนความคิดจากการนำขยะไปทิ้งมาเป็นการคัดแยกขยะ นำมาทำปุ๋ยหมักเพื่อใช้และจำหน่าย เพิ่มรายได้ให้ครอบครัว (2) เพื่อเพิ่มเส้นทางข้างถนนกินได้ให้มีระยะทางมากขึ้นและนำผลผลิตจากผักสวนครัวและน้ำหมักปุ๋ยในครัวเรือนแจกจ่ายและจำหน่ายสร้างรายได้ให้คนในชุมชน (3) เพื่อให้เกิดกติกาชุมชน และมีข้อบัญญัติของท้องถิ่นเรื่องการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพดีของชุมชน (4) เพื่อบริหารจัดการและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ข้างถนนกินได้สร้างรายได้บ้านในถุ้ง(ต่อยอด)

    รหัสโครงการ 57-02587 รหัสสัญญา 58-00-0075 ระยะเวลาโครงการ 20 ตุลาคม 2014 - 20 พฤศจิกายน 2015

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    สูตรการทำปุ๋ยน้ำหอม (น้ำหมักชีวภาพมีกลิ่นหอม) ทำจากขยะในครัวเรือน

    บ้านแกนนำโครงการ และบ้านกลุ่มเป้าหมายในโครงการ 25 หลังคาเรือน

    ขยายผลให้ประชาชนในหมู่บ้านได้ร่วมเรียนรุ้และนำไปปฏิบัติเพิ่มมากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    การจัดการกลุ่มเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมที่ดีให้คงไว้อย่างต่อเนื่อง

    กติกาหมู่บ้าน

    ติดตามการปฏิบัติตามกติกา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    ถนนกินได้ 3 สาย

    ถนนกินได้ในหมู่บ้านในถุ้ง

    พัฒนาเป็นฐานเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะในชุมชนแออัด

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    การจัดการขยะในครัวเรือน

    ครัวเรือนตัวอย่าง 25 ครัวเรือน

    ชยายผลเพิ่มเติมในหมู่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    จัดการขยะเป็นระบบ ในครัวเรือน และบริเวณถนนในชุมชน

    ถนนกินได้ 3 สาย

    พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้การจัดการขยะชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    เพิ่มรายได้จากการจัดการขยะ

    ครอบครัวตัวอย่าง 25 ครอบครัว

    ขยายผลเพิ่มเติมในหมู่บ้าน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    กติกาการจัดการขยะของชุมชน

    กติการของหมู่บ้านในถุ้ง

    ติดตามผลการปฏิบัติต่อเนื่อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาอบต. กศน. มาร่วมเพิ่ม

    รายงานกิจกรรมโครงการ

    เพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    ภูมิใจที่สามารถปรับเปลี่ยนกองขยะมาเป็นสวนพืชผักได้

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ข้างถนนกินได้สร้างรายได้บ้านในถุ้ง(ต่อยอด) จังหวัด นครศรีธรรมราช

    รหัสโครงการ 57-02587

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางอารีย์ โต๊ะกานี )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด