directions_run

ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของชุมชนทรัพย์อนันต์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของชุมชนทรัพย์อนันต์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2 ”

บ้านทรัพย์อนันต์ หมู่ที่ 2 ต.ทรัพย์อนันต์ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร

หัวหน้าโครงการ
นางวงเดือน ศรีสุเทพ

ชื่อโครงการ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของชุมชนทรัพย์อนันต์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2

ที่อยู่ บ้านทรัพย์อนันต์ หมู่ที่ 2 ต.ทรัพย์อนันต์ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร จังหวัด ชุมพร

รหัสโครงการ 57-02590 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0126

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 20 ตุลาคม 2557 ถึง 20 พฤศจิกายน 2558


กิตติกรรมประกาศ

"ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของชุมชนทรัพย์อนันต์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2 จังหวัดชุมพร" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านทรัพย์อนันต์ หมู่ที่ 2 ต.ทรัพย์อนันต์ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของชุมชนทรัพย์อนันต์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2



บทคัดย่อ

โครงการ " ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของชุมชนทรัพย์อนันต์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2 " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านทรัพย์อนันต์ หมู่ที่ 2 ต.ทรัพย์อนันต์ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร รหัสโครงการ 57-02590 ระยะเวลาการดำเนินงาน 20 ตุลาคม 2557 - 20 พฤศจิกายน 2558 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 168,150.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 250 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการรักษาสิ่งแวดล้อมชุมชนให้มีความปลอดภัย
  2. เพื่อสนับสนุนและเพิ่มขีดความสามารถของครัวเรือนให้มีความปลอดภัยจากมลพิษที่เป็นควันดำและน้ำเสีย
  3. เพื่อพัฒนาและติดตามโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ปฐมนิเทศ

    วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการชี้แจงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการทำโครงการและการประชุม และขั้นตอนการจัดทำรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการแนะนำทีมงานจากสสส. สจรส.มอ.และทีมพี่เลี้ยงในครั้งนี้ อาจารย์พงษ์เทพชี้แจงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการทำโครงการและการประชุม วิทยากรจากสสส.และสจรส.แนะนำวิธีการจัดทำรายงานที่ถูกต้องทั้งทางอินเตอร์เน็ตและรายงานการเงิน การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของทีมพี่เลี้ยง และการได้รู้จักเพื่อน ๆ โครงการจากทุกจังหวัดที่เข้าร่วมโครงการของภาคใต้

     

    2 2

    2. ประชุมชี้แจงโครงการ

    วันที่ 9 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการนางวงเดือน ศรีสุเทพกล่าวเปิดงาน มีนางสมใจ ด้วงพิบูลย์พูดคุยเรื่องสิ่งแวดล้อมและสารตกค้าง นายยกอบต.ทรัพย์อนันต์พูดเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้แทนโรงงานแจ้งเรื่องการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมของชุมชน นายคนึง เล็กบรรจงกล่าวขอบคุณผู้ให้ความร่วมมือในกิจกรรมและกล่าวปิดงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชุมชนและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจ มีส่วนร่วมกันรับผิดชอบในชุมชนหมู่2 บ้านทรัพย์อนันต์กันมากขึ้น ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงแนะนำโครงการที่ผ่านมาบอกวัตถุประสงค์ของโครงการใหม่บอกความเข้าใจที่ถูกต้องของการอยู่ร่วมกันของชุมชน พร้อมเปิดรับสมัครและคัดเลือกเยาวชนและผู้สนใจที่จะเข้าร่วมศึกษาและเป็นแกนนำในการรักษาสิ่งแวดล้อมจำนวน30คน มีการประสานขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่รพ.ท่าแซะพูดคุยเรื่องสิ่งแวดล้อมและพิษภัยของสารตกค้างและร่วมกำหนดแบบฟอร์มการสำรวจข้อมูลของชุมชนบ้านเรา นายสนอง สร้างเกตุ นายยกอบต.ทรัพย์อนันต์พูดคุยเรื่องปัญหาและวิธีแก้ไขการอยู่ร่วมกันในชุมชน นายพิมล จุลมูลกำนันตำบลทรัพย์อนันต์ให้สัญญาและข้อคิดเห็นในการที่จะทำให้ประชาชนทั้งตำบลมีความสุขและมีสุขภาพดีพร้อมทั้งจะตรวจสอบสถานการณ์ของโรงงานต่างๆ ในพื้นที่ให้ดำเนินการอย่างถูกต้องและชุมชนมีความปลอดภัย ผู้แทนโรงงานวิจิตรภัณฑ์นำ้มันปาล์มจะให้การสนับสนุนชุมชนในการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และชุมชนพูดคุยซักถามปัญหาและหาแนวการแก้ไขเบื้องต้นร่วมกัน

     

    250 135

    3. จัดตั้งกลุ่มอาชีพพืชผักปลอดสารพิษ

    วันที่ 5 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมชี้เเจงบอกวัตถุประสงค์การจัดตั้งกลุ่มและแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโดยมีนางวงเดือน ศรีสุเทพเป็นประธานกลุ่มนายทรง ยิ่งยุทธเป็นเลขานุการ และมีสมาชิกคือนางโสภา นุ่นแก้วนางจำเริญ ศรีนาค นางสุข ธรรมมา นางปราณี พรหมเทพ นางสุพัตรา เล็กประทุม นางจ้าย ฤทธิจำนงค์ นางสุรินทร์ โพธิ์น้อย นางพรชุลี พรหมเทพ นางวิลัยวรรณ นิ่มน้อย นางประคอง เรณชนะ นางชฎานิศ รังษี นางวรรณนา ปานเทพ นางชุลีรัตน์  จินดาชื่น นางบุญส่ง สมมุติ นางบัวไข  บุญพิทักษ์นายคนึง เล็กบรรจง นางเตือนจิต  มาน้อยและนางจุไร ยวงงาม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้กลุ่มและได้ประชุมทบทวนผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาและอุปสรรค การบริหารจัดการตลาดรวบรวมผลผลิตกำหนดระเบียบของกลุ่มด้วยการจำหน่ายขายส่งผักปลอดสารพิษที่ปลูกให้กับลูกค้าทั้งปลีกและส่ง ประชาสัมพันธ์ทุกด้านทั้งชุมชนและรับผลผลิตจากชุมชนพร้อมเก็บเงิน20%จากรายได้ที่ได้จากการขายผักเข้ากองทุนโดยเป็นค่าบริหารจัดการ5%และอีก15%เป็นเงินออมของกลุ่มพร้อมมีการประชุมเดือนละครั้งเป็นเวลา 10 เดือน

     

    20 20

    4. วางแผนการดำเนินงาน

    วันที่ 24 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการวางแผนดำเนินการสำรวจข้อมูล ตามแบบที่ออกโดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลท่าแซะ "การสำรวจข้อมูลชุมชน หมู่่ที่ 2 (บ้านนาหวาน) ต.ทรัพย์อนันต์ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร พ.ศ.2557" เพื่อใช้สำหรับสำรวจจำนวนครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจากระบบสิ่งแวดล้อม จำนวน 205 ครัวเรือน โดยมีการแบ่งผู้รับผิดชอบในการสำรวจ จำนวน 30 คน ๆ ละ 7 ครัวเรือน ในวันที่ 26-28 มกราคม พ.ศ. 2558

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการมอบหมายผู้รับผิดชอบ โดยนักวิชาการสาธารณสุข ผู้รับผิดชอบงานอนามัยสิ่งแวดล้อมของโรงพยาบาลท่าแซะ ได้ชี้แจง และทำความเข้าใจถึงวิธีการสำรวจข้อมูลตามแบบฟอร์มที่กำหนด ส่งภายในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เพื่อจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลในช่วงต่อมา และจะนำข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วเสนอต่อที่ประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน ในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2558 

     

    30 40

    5. สำรวจข้อมูลชุมชน

    วันที่ 26 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    สำรวจข้อมูลชุมชน ตรวจสอบความถูกต้องและสมบูรณ์ของข้อมูล และพร้อมนำส่งข้อมูลให้นักวิชาการเพื่อทำการวิเคราะห์ ทำการเก็บข้อมูล 3 วันตั้งแต่วันที่ 26-28 มกราคม 2558

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ข้อมูลตามแบบสำรวจข้อมูลที่วางแผนไว้ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของผู้ถูกสัมภาษณ์ จำนวน9 ข้อ ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป้นอยู่ จำนวน 5 ข้อ ปัญหาความเดือดร้อนในปัจจุบันทั่วไป และปัญหาด้านสุขภาพส่งให้ผู้รับผิดชอบโครงการตรวจสอบความสมบูรณ์ถูกต้อง และพร้อมนำส่งข้อมูลให้นักวิชาการเพื่อทำการวิเคราะห์

     

    30 30

    6. วิเคราะห์ข้อมูลชุมชน

    วันที่ 31 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำข้อมูลจากแบบสำรวจที่รวบรวมแล้ว แจ้งให้สมาชิกกลุ่มที่เข้าสำรวจพื้นที่ทราบ หาแนวทางแก้ไขเพื่อจะได้ดำเนินการต่อไป 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ซึ่งมีผลดังนี้ผู้ให้ข้อมูลเป็นชาย 83 คน หญิง 117 คน อายุ 40-49ปี ร้อยละ31 มีการศึกษาระดับประถมศึกษามากสุดร้อยละ45.5 อาชีพทำสวนร้อยละ37 รายได้ต่อเดือน5,001-10,000บาทมากสุดร้อยละ17 มากกว่า100,000บาทร้อยละ 5.5 มีการออมของรายได้1-5%ต่อเดือนสูงสุดร้อยละ 41.5และไม่ออมร้อยละ38.5

     

    35 40

    7. รวบรวมข้อมูลจากการวิเคราะห์ข้อมุลชุมชน

    วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการนำข้อมูลจากการสำรวจข้อมูลชุมชนที่ได้ ประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานชุมชน จำนวน 200 ครัวเรือน(โดยตัวแทนครัวเรือนละหนึ่งคน) มีรายรับ/จ่ายครัวเรือน ด้านสุขภาพ/การเจ็บป่วย สิทธิการรักษา ความพึงพอใจต่อความสะอาดของสิ่งแวดล้อม ปัญหาความเดือดร้อน/อาชีพ/รายได้/หนี้สิน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผลจากการประชุมครั้งนี้ได้นำเข้าสู่การทำแผนชุมชนของหมู่บ้าน และนำเข้าสู่แผนพัฒนาตำบลของอบต.ประกอบด้วยโครงการสนับสนุนส่งเวริมกลุ่มอาชีพเสริมแก่เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย การปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ และส่งเสริมอาชีพการทำดอกไม้จันทร์ และโครงการส่งเสริมการผลิตปู๋ยอินทรีย์ พร้อมทั้งโครงการก่อตั้งศูนย์สุขภาพและลานกีฬาชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนจากโรงงานอุตสาหกรรมทั้งสองโรง

     

    30 43

    8. ร่างมาตรการชุมชน

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำร่างมาตรการชุมชนในการจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการขยะ การพบปะพุดคุยกันในวันสำคัญ เป้นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กรรมการชุมชน ผู้นำท้องถิ่น แกนนำในการรักษาสิ่งแวดล้อม ตัวแทนโรงงานและนักวิชาการร่วมจัดทำมาตรการชุมชนที่ประกอบด้วย ชุมชนต้องร่วมกันปลุกต้นไม่้ริมทางด้วยพันธ์ุไม้ยืนต้นใบหนา ช่วยกันดูแลหน้าบ้านตนเอง ไม่ทิ้งก้นบุหรีในพื้นที่สาธารณะ จัดเจ้าหน้าที่ชรบ.และอปพร.ร่วมกันดูแลความปลอดภัยของชุมชน และเส้นทางถนนเพชรเกษมที่เป็นจุดเสี่ยงในช่วงเทศบาล จัดรณรงค์การออกกำลังกายที่บ้านและศูนย์สุขภาพชุมชน จัดวันกตัญญููที่วัดและร่วมกันพัฒนาคูคลองส่งนำ้ เป็นต้น

     

    50 50

    9. นำเสนอข้อมูลให้กับชุมชน

    วันที่ 5 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงานนำเสนอผลการร่างมาตรการ พร้อมทั้งขอข้อมูลสนับสนุนการทำมาตรการ และแจ้งผลการการพัฒนาชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงานนำเสนอผลการร่างมาตรการ พร้อมทั้งขอข้อมูลสนับสนุนการทำมาตรการ การจัดทำพืชผักปลอดสารพิษของชุมชนขึ้นทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนภายใต้ชื่อพืชผักไร้สารบ้านทรัพย์อนันต์ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีของชุมชน พร้อมทั้งแจกคู่มือแก่สมาชิกผู้เข้าร่วมออมทรัพย์เริ่มต้นคนละอย่างน้อย 30บาทต่อเดือน และแจ้งการทำกิจกรรมร่วมกันของชุมชนที่วัดประชาอุทิศซึ่งเป็นจุดศูนย์รวมของชุมชนในวันที่ 12 มีนาคม 2558 ต่อไป

     

    30 34

    10. จัดทำศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงภายใต้สิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษด้วยการจัดทำแปลงสาธิตภายในสวนยางและสวนปาล์ม

    วันที่ 17 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดหาสถานที่ ประสานงานช่าง/ผู้สนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม ดำเนินการก่อสร้างจำนวน3 วันตั้งแต่วันที่ 17-19 มีนาคม 2558

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการโครงการ แกนนำชุมชน เยาวชน ประชาชนและพนักงานโรงงาน จัดทำศูนย์เรียนรู้โดยร่วมกันก่อสร้างอาคาร ทำหลังคาจากเดิมเป็นหลังคาจากเปลี่ยนสังกะสี เทพื้นปูนซีเมนต์ กั้นอาคาร อย่างสวยงามและแข็งแรง

     

    30 30

    11. ทบทวนร่างมาตรการครั้งที่ ๒

    วันที่ 20 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทบทวนการร่างมาตรการครั้งที่๒ เพื่อจัดทำเป็นร่างมาตรการฉบับสมบูรณ์ พร้อมประกาศใช้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการและผู้นำชุมชนโดยท่านนายกอบต.สนอง สร้างเกตุ กล่าวถึงทีี่มาของโครงการแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง พี่เลี้ยงชี้แจงผลการดำเนินงานและการตรวจสอบกิจกรรม มีการให้ความรู้เพิ่มเติมโดยนายสว่าง โกดี เกษตรอำเภอท่าแซะ ทั้งในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง การลอรายจ่ายเพิ่มรายได้ด้วยการบริโภคทุกอย่างที่ปลูก ปลูกทุกอย่างที่กิน ไม่ต้องซีื้อผักจากภายนอกรวมทั้งการปลูกพิืชเศรษฐกิิจเช่นปาล์ม ยางพาราโดยใช้ปู่ยอินทรีย์ที่ทำเอง เป็นการประหยัดรายจ่ายและได้ผลผลิตเพิ่ม นางตวงพร ลิ้มสวัสดิ์ พัฒนาอำเภอกล่าวถึงการจัดทำข้อมูลชุมชนโดยเน้นยำ้ให้ประชาชนบอกข้อมุูลตามเป็นจริงเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง ทีมงานสรุปมาตรการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้เพื่อนำไปประกาศใช้เป้นมาตรการชุมชนบ้านทรัพย์อนันต์ที่สมบูรณ์ในการประชุมครั้งต่อไป พร้อมทั้งเปิดศูนย์เรียนรู้อย่างไม่เป็นเป็นทางการ

     

    50 69

    12. ปรับปรุงร่างมาตรการ

    วันที่ 27 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะทำงานในการร่างมาตรการทั้งหมดและปรึกษาเจ้าหน้าที่ในข้อมูลร่างมาตรการที่ได้กำหนดไว้แล้ว พร้อมทั้งปรับปรุงให้เป็นฉบับจริง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้มาตรการที่คณะกรรมการทุกคนเห็นสมควรซึ่งประกอบด้วย 1) ร่วมกันปลูกต้นไม้ริมทางด้วยพันธ์ุไม้ใบหนา 2) ช่วยกันดูแลหน้าบ้านตนเองให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย 3) ไม่ทิ้งก้นบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ 4)จัดเจ้าหน้าที่ชุดรักษาความสงบประจำหมู่บ้านและอปพร.ร่วมกันดูแลความปลอดภัยของชุมชน 5) เฝ้าระวังเส้นทางถนนเพชรเกษมที่เป็นจุดเสี่ยงในช่วงเทศกาล 6) จัดรณรงค์การออกกำลังกายที่บ้านและศูนย์สุขภาพชุมชน 7) จัดวันกตัญญูที่วัดและร่วมกันพัฒนาคูคลองส่งน้ำ8) สมาชิกกลุ่มพืชผักไร้สารบ้านทรัพย์อนันต์ มีเงินฝากเข้ากลุ่มอย่างน้อย 30 บาทต่อเดือน  โดยกลุ่มมีคณะกรรมการที่สำคัญ 3 คนประกอบด้วย นางชุลีรัตน์ จินดาชื่อน เป็นประธาน นายทรง  ยิ่งยุทธ เป็นรองประธาน และนางวงเดือน  ศรีสุเทพ เป็นเลขาฯและเหรัญญฺิก

     

    30 25

    13. จัดเวทีประชาคมในชุมชนเพื่อรับรองมาตรการและประกาศใช้

    วันที่ 5 เมษายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่บ้านประกาศมาตรการตามที่คณะกรรมการชุมชนเห็นชอบโดยก่อนที่จะรับหลักการมีนักวิชาการสาธารณสุขโรงพยาบาลท่าแซะคุณชุลีรัตน์  จินดาชื่น กล่าวถึงการดูแลสุขภาพของตนเองเน้นในเรื่องอาหารดีที่นำพืชผักสมุนไพรที่ตนเองและเพื่อนบ้านปลูกนำมาแลกเปลี่ยนกันเพื่อที่จะให้ตนเองได้บริโภคพืชผักได้หลากหลายและเสริมด้วยสมุนไพรไทยที่ตนเองปลูกในส่วนของขิง ข่า ตะไคร้ มะนาว มะกรูด และขมิ้น เป็นต้น คุณครูคะนึง เล็กบรรจงได้กล่าวถึงการออกกำลังกายง่าย ๆที่สามารถทำได้ในครัวเรือนคือการทำแปลงดินไว้ ปลูกผัก การทำสวนด้วยตนเองให้ได้ระยะเวลาที่ติดต่อกัน 45 นาที ก็ทำให้สุขภาพดีได้ และร่วมกันออกกำลังกายในศูนย์สุขภาพชุมชนที่มีแกนนำเป็นวิทยากรนำอยู่แล้ว และตัวแทนโรงงานไฟฟ้าได้แนะนำตนเองที่เข้ามาอยู่ใหม่และโรงงานจะเปิดดำเนินการอีกรอบหนึ่ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทุกคนที่เข้าร่วมประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ในการรับรองมาตรการที่กำหนดและจะประชาสัมพันธ์กับผู้อื่น และชุมชนใกล้เคียงต่อไปทั้ง 8 ข้อ ประกอบด้วย1) ร่วมกันปลูกต้นไม้ริมทางด้วยพันธ์ุไม้ใบหนา 2) ช่วยกันดูแลหน้าบ้านตนเองให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย 3) ไม่ทิ้งก้นบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ 4)จัดเจ้าหน้าที่ชุดรักษาความสงบประจำหมู่บ้านและอปพร.ร่วมกันดูแลความปลอดภัยของชุมชน 5) เฝ้าระวังเส้นทางถนนเพชรเกษมที่เป็นจุดเสี่ยงในช่วงเทศกาล 6) จัดรณรงค์การออกกำลังกายที่บ้านและศูนย์สุขภาพชุมชน 7) จัดวันกตัญญูที่วัดและร่วมกันพัฒนาคูคลองส่งน้ำ8) สมาชิกกลุ่มพืชผักไร้สารบ้านทรัพย์อนันต์ มีเงินฝากเข้ากลุ่มอย่างน้อย 30 บาทต่อเดือน

     

    250 250

    14. เตรียมจัดประชุมต่างๆและการจัดการประสานโรงงานไฟฟ้าและโรงงานวิจิตรภัณฑ์ในการศึกษาดูงาน

    วันที่ 5 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะกรรมการชุมชน และทีมผู้รับผิดชอบโครงการในการจัดเตรียมความพร้อมในการเข้าร่วมศึกษาดูงานในสถานประกอบการที่ทำให้เกิดมลภาวะกับชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการกำหนดตารางเข้าเยี่ยมชมโรงงานโดยเวลา9.00น.จะเข้าที่โรงงานไฟฟ้า 10.30 น.จะเข้าโรงงานวิจิตรภัณฑ์ โดยให้นายคะนึง  เล็กบรรจงเป็นผู้ประสานงาน น.ส.พัชนียา ดำคูหา จะเป็นผู้ประสานผู้เข้าร่วมเยี่ยมชมโรงงาน และนางวงเดือน ศรีสุเทพจะเป็นผู้บริหารจัดการทั่วไปที่จะดูความเป็นระเบียบของผู้เข้าศึกษาดูงานและเก็บรายงาน

     

    30 41

    15. จัดทำน้ำหมักชีวภาพและอีเอ็มบอล

    วันที่ 7 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมเชิงปฏิบัติการในการทำอีเอ็มบอลจากน้ำหมักชีวภาพที่เตรียมไว้แล้วผสมกับส่วนประกอบอื่น ประกอบด้วยดินเหนียว  กากน้ำตาล อีเอ็ม รำข้าวและพด.2

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สมาชิกผู้เข้าร่วมจัดทำอีเอ็มบอลได้ทั้งหมด195 ลูก นำไปตากให้แห้ง 3 สัปดาห์ เพื่อที่จะนำไปใส่ในบริเวณที่มีน้ำเสียล้นจากโรงงานทั้งสองแห่ง ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2558

     

    50 50

    16. ศึกษาดูงานในโรงงานโรงงานปาล์มและโรงงานไฟฟ้าชีวมวล

    วันที่ 28 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ตัวแทนชุมชน ทั้งหมดได้เข้าร่วมศึกษาดูงานที่โรงงานอุตสาหกรรมนำ้มันปาล์ม 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ตัวแทนชุมชน ทั้งหมดได้เข้าร่วมศึกษาดูงานที่โรงงานอุตสาหกรรมนำ้มันปาล์ม มีเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี ให้ความรู้ ถึงขั้นตอนการผลิต จำนวนน้ำมันที่ได้ กากของปาล์มที่จะนำไปใช้ประโยชน์ตามรายละเอียดที่ทางบริษัทให้มา 

     

    50 50

    17. ทบทวนและบันทึกรายงาน

    วันที่ 5 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะกรรมการโครงการ แกนนำชุมชนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานได้สรุปผลการศึกษาดูงานที่โรงงานปาล์ม ได้ใส่อีเอ็มบอลในน้ำหลังจากการใช้ของโรงงานเพื่อระงับกลิ่น มีเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลท่าแซะให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับการล้างมือและรับประทานอาหารที่ปลอดสารพิษจากพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ที่ปลูกกันเอง พร้อมทั้งสนุบสนุนให้ปลูกพืชสมุนไพรเพื่อใช้ในครัวเรือนให้มากขึ้นด้วน และเตรียมการสำหรับการรณรงค์การออกกำลังกายในวันที่ 14 มิถุนายน ต่อไป

     

    30 48

    18. กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ต้านโรค

    วันที่ 14 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมให้ความรู้ในเรื่อง อาหารดี ถูกหลักโภชนาการ มีคุณค่าและราคาไม่แพง และร่วมรณรงค์ออกกำลังกายด้วยการขี่จักรยาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนได้รับความรู้ก่อนที่จะออกปั่นจักรยาน เริ่มตั้งแต่การวอร์มร่างกาย  อาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายดี มีอารมณ์แจ่มใสไม่ทุกข์ ตลอดจนไม่สูบบุหรีและไม่ดิ่มสุรา มีการพักผ่อนในสถานที่สรบและปลอดภัย

     

    205 120

    19. จัดทำรายงานทุกขั้นตอน

    วันที่ 5 กรกฎาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่จากหลายหน่วยงานให้ความรู้เรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และลงมติสร้างร้านค้าชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการกล่าวถึงผลการขายพืชผักในร้านค้าพบว่าร้านค้าไม่มีหลังคาและอุปกรณ์การขายที่ไม่ถาวร ปลัดอบต.เสริมว่าจะให้งบประมาณเพื่อสร้างร้านค้าชุมชน จำนวน 1 หลัง บริเวณตลาดนัดชุมชนหน้าโรงพยาบาลท่าแซะซึ่งมีการขายทุกวันจันทร์,พฤหัสบดีแต่หลังจากทำอาคารแล้วจะขายทุกวัน และบริษัทฟิวเจอร์ยูนิลิตี้ประเทศไทยจำกัดได้ให้ความรู้เรื่องน้ำสะอาดโดยผ่านเครื่องกรองของบริษัทช่วยให้ประชาชนมีน้ำดื่มสะอาดและปลอดภัยโดยให้ประชาชนใช้นำ้ในราคาถูก และแจ้งเรื่องการจัดกิจกรรมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้สะอาด  ปลูกต้นไม้ต้นไม้ริมทางและแจกพันธ์ุพันธ์ให้ไปปลูกที่เพื่อกันฝุ่นละอองในวันถัดมา

     

    30 48

    20. ทบทวนและบันทึกรายงาน

    วันที่ 5 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมประจำเดือนของคณะกรรมทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา การเตรียมความพร้อมในการตรวจบ้านสะอาด และประกาศให้แกนนำชุมชนประสานงานให้สมาชิกเข้าร่วมรับต้นไม้ในวันที่ 12 สค.และการรณรงค์ควันดำด้วยการปลูกต้นไม้ พร้อมร่วมประชุมหมู่บ้านกับหน่วยงานมหาดไทย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการและทีมงานได้ทบทวนถึงหลักเกณฑ์การประกวดบ้านสะอาดที่ต้องปฏิบัติตามกติกาที่กำหนดที่จะต้องเป็นสมาชิกปลูกผัก/พืชสมุนไพรอย่างน้อย 5 อย่างใช้ในครัวเรือน บ้านสะอาดเป็นระเบียบ และมีการจัดการขยะอย่างถูกวิธี  และประกาศให้แกนนำชุมชนประสานงานให้สมาชิกเข้าร่วมรับต้นไม้ในวันที่ 12 ส.ค.58และการรณรงค์ควันดำด้วยการปลูกต้นไม้ ในวันที่13 ส.ค.58  พร้อมร่วมประชุมหมู่บ้านกับหน่วยงานมหาดไทยในเรื่องวันแม่ด้วยการใส่เสื้อสีฟ้า การพัฒนาหมู่บ้านวันที่ 11 ส.ค.58 นัดวันปั่นจักรยาน 16 ส.ค.58 เกษตรอำเภอพูดถึงการปลูกปาล์มและมีบริษัทสำคํญ จำนวน 7แห่ง และประชาคมการจัดตั้งอำเภอใหม่(เทพรัตน์)และตั้งโรงไฟฟ้าชีวภาพ (ประชาชนไม่เห็นด้วย)

     

    30 40

    21. กิจกรรมบ้านน่าอยู่น่ามองโดยชุมชนประกาศให้ประชาชนทุกครัวเรือนทำความสะอาดบ้านของตนเองในสัปดาห์ทำความสะอาดใหญ่ วันแม่ของแผ่นดิน

    วันที่ 12 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การจัดทำความสะอาดบ้านของแต่ละครัวเรือน ร่วมทำพิธีวันแม่ และแจกต้นไม้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนแต่ละครัวเรือนร่วมกันทำความสะอาดบ้านของตนเองในวันแม่แห่งชาติ ร่วมกิจกรรมวันแม่และแจกต้นไม้ให้กับตัวแทนครัวเรือนเพื่อลดมลพิษควันดำในอากาศ โดยมีทีมแกนนำและพี่เลี้ยงโครงการเข้าร่วมกิจกรรม

     

    205 80

    22. จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ชุมชนทั้งหมดร่วมกันลดควันดำและสารพิษ

    วันที่ 13 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชาชน  แกนนำชุมชน  เยาวชน  ประชาชนและพนักงานโรงงานร่วมกันปลูกต้นไม้บริเวณริมถนนสายห้วยแก่ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกันปลูกต้นไม้ในสถานที่สาธารณะและในบ้านของตนเอง เพื่อต่อไปให้ใบของต้นไม้ช่วยลดสารพิษ ในควันดำจากโรงงานอย่างมีส่วนร่วมของประชาชน โรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เกษตรอำเภอ พี่เลี้ยง เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลท่าแซะ ฯลฯ) 

     

    300 60

    23. กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์

    วันที่ 16 สิงหาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนอื่น ๆ ในกิจกรรมออกกำลังกายต้านโรค

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทีมงานร่วมกับผู้นำชุมชน ร่วมปั่นจักรยานร่วมกันจำนวน 25 กิโลเมตร ทุกคนมีความสุขและสัญญากันที่จะร่วมกันออกกำลังกายสัปดาห์ละ 3 ครั้ง

     

    250 125

    24. เข้าร่วมงานรวมพลังสร้างสุขภาคใต้

    วันที่ 4 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมประชุม จัดนิทรรศการและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกิจกรรมพื้นที่ต่าง ๆ ในภาคใต้14 จังหวัด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้เข้าร่วมกิจกรรมของเวทีสานพลัง เริ่มตั้งแต่การแสดงศิลปวัฒนธรรม "กีปัสเรนัง" การเปิดงานโดยผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ การเสวนาเรื่องพลังเครือข่ายสุขภาพภาคใต้เพื่อการขับเคลื่อนประเทศไทย รู้เรื่องความมั่นคงของสุขภาวะทั้งในด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ ด้านอาหารและความมั่นคงของมนุษย์ และลานสร้างสุขที่สอนให้ทำกิจกรรมต่าง ๆเช่น ข้าวยำ -น้ำบูดู /ชิมชาใบขลู่ /การถักหมวกจากถุงพลาสติก/ การสาธิตทำน้ำหมักจากหอยเชอรี่ /พิธีทำขวัญข้าว และการสาธิตการใช้โซลาร์เซลล์ผลิตไฟฟ้าในครัวเรือน เป็นต้น พร้อมทั้งได้เรียนรู้นวตกรรมของเพื่อน ๆแต่ละพื้นที่ -ได้เพื่อนใหม่- ได้ความคิดที่จะนำไปทำต่อของตนเองบ้างเพื่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนต่อไป

     

    3 4

    25. ประสานชุมชนในการสอบถามความพึงพอใจของประชาชน

    วันที่ 13 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านทำหน้าที่ชี้แจงข้อราชการแทนผู้ใหญ่บ้าน(ร่วมงานสานพลังสร้างสุขเครือข่ายภาคใต้ที่มอ.หาดใหญ่ โดยมีทีมงานเข้าร่วมจัดนิทรรศการ 3 คนตั้งแต่4-6 กย.) คณะกรรมการร่วมกันสอบถามความพึงพอใจของแกนนำประชาชนที่เข้าร่วมประชุม พร้อมทั้งสรุปผล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านทำหน้าที่ในที่ประชุม นำเรื่องที่ได้รับจากการประชุมประจำเดือนที่อำเภอแจ้งให้ทราบในเรื่องข้อราชการ การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก การเฝ้าระวังควันดำจากโรงงานถ้าผิดปกติให้รายงานให้ทราบเพื่อจะดำเนินารต่อไป พร้อมทั้งสอบถามถึงเรื่องความพึงพอใจในการที่มีกิจกรรมโครงการของสสส.เข้ามาทำให้ชาวบ้านได้ประโยชน์ได้ เยี่ยมชมโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งปกติไม่ได้เข้าไป การรวมกลุ่มปลูกและจำหน่ายผักปลอดสารพิษที่โรงพยาบาลและตลาดนัดทำให้มีรายได้เสริมและไม่ปล่อยเวลาว่างให้เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ เป็นต้น และจะทำต่อไป ถึงแม้นว่าจะไม่ใช้งบฯจากสสส.

     

    30 30

    26. จัดเตรียมข้อมูลในการทำรายงานสรุปผลโครงการ

    วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่บ้านชี้แจงข้อราชการจากการประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้านประจำเดือน  การวางแผนการดำเนินการในป้งบประมาณใหม่ และสรุปผลการดำเนินโครงการของผู้รับผิดชอบโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการประชุมชี้แจงให้ประชาชนทราบในเรื่องการขยายเขตประปา การขุดลอกคลองนาหวานเพื่อให้มีน้ำเพียงพอกับการเพาะปลูก  การขึ้นทะเบียนผู้ที่คลอดตั้งแต่ ๑ ตค.-๓๑ ตค.๕๘เพื่อรับเงินช่วยเหลือ และกองทุนเงินล้าน เป็นต้น และร่วมกันทบทวนกิจกรรมโครงการทั้งหมด ที่ยังเหลืออยู่ในเรื่องการประชุมจัดทำรายงานสรุปผลงานและร่างนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งนัดวันประชุมสรุปปิดโครงการในวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๕๘

     

    30 30

    27. จัดทำร่างรายงานเพื่อเตรียมนำเสนอผู้นำท้องถิ่นและประชาชนในชุมชน

    วันที่ 13 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานโครงการเพื่อจัดทำร่างสรุปผลการดำเนินงานทั้งการทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาพร้อมทั้งสรุปปัญหาและอุปสรรคของการทำงานของคณะกรรมการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการทบทวนกิจกรรมของชุมชนตั้งแต่เริ่มแรกจาก1) การประชุมชี้แจงประชาชนวันเปิดโครงการมีผู้สมัครเข้าร่วมแกนนำรักษาสิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยเยาวชน แกนนำชุมชน ผู้สูงอายุ และกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 30 คน 2) เพื่อสำรวจข้อมูลชุมชนที่ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ประชาชนมีทั่งหมด 598  คน ผู้สูงอายุ คน เยาวชน คน มีทั้งหมด217 ครัวเรือน มีโรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม1 แห่ง และโรงงานไฟฟ้าชีวมวล 1แห่ง ที่เป็นต้นตอของการมีฝุ่นละออง น้ำเสีย ควันที่มีกลิ่นเหม็นรบกวนทั้งในส่วนของความรำคาญ และเกิดโรค เช่น หอบหืด ไอ และผิวหนังฝื่นคัน เป็นต้น 3) ต่อมามีการทำแผนในการป้องกันผลกระทบจากโรงงานด้วยการ ปลูกต้นไม้ 4)การศึกษาดูงานบริษัทเป็นการเรียนรู้ การนำEM บอล์ลที่มีการจัดทำขึ้นใส่ในน้ำทิ้งของโรงงาน การตรวจสภาพน้ำเสีย/อากาศของชุมชนโดยบริษัท และบริษัทมีการแก้ไขปัญหาน้ำเสียก่อนปล่อยลงบ่อสุดท้ายที่สามารถปลูกพืชน้ำได้  5)จัดทำมาตรการชุมชนประกอบด้วยชุมชนต้องร่วมกันปลูกต้นไม้ริมทางพันธ์ุไม้ยืนต้นใบหนา-ช่วยกันดูแลหน้าบ้านตนเอง-ไม่ทิ้งก้นบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ-จัดเจ้าหน้าที่ชุดรักษาความสงบประจำหมู่บ้านและอปพร.ร่วมกันดูแลความปลอดภัยของชุมชน-เฝ้าระวังเส้นทางถนนเพชรเกษมที่เป็นจุดเสี่ยงในช่วงเทศกาล-จัดรณรงค์การออกกำลังกายที่บ้านและศูนย์สุขภาพชุมชน-จัดวันกตัญญูที่วัดและร่วมกันพัฒนาคูคลองส่งน้ำ -ครัวเรือนมีการจัดการขยะ 6)นำมาตรการผ่านเวทีประชาคมหมู่บ้าน 7) จัดตั้งกลุ่มและสมาชิกกลุ่มพืชผักไร้สารพิษบ้านทรัพย์อนันต์ต้องมีเงินฝากเข้ากองทุนอย่างน้อยเดือนละ 30 บาท โดยมีกรรมการประกอบด้วยนางจุรีรัตน์ จินดาชื่น ,นายทรง  ยิ่งยุทธ และนางวงเดือน  ศรีสุเทพ 8)มีการประชุมสภาชุมชนทุกเดือน 9) จัดกิจรณรงค์ชุมชนด้วยการออกกำลังกาย:ขี่จักรยาน10 ) จัดทำศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและ11) จัดเวทีสรุปผลการดำเนินงานเตรียมความพร้อมมอบเกียรติบัตร

     

    30 50

    28. จัดเวทีสรุปผลการดำเนินงาน

    วันที่ 30 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้ใหญ่หมู่ที่ 2 แจ้งผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล 5 ล้านบาท-โครงการจัดสร้างลานกีฬาหมู่บ้านที่วัดประชาอุทิศ งบ 6.5แสนบาท และโครงการจัดซื้อเครื่องเสียงที่ใช้ในศาลาหมู่บ้าน 1.2 แสนบาท และจากการประชุมชุมของชุมชน พีี่เลี้ยงสรุปผลโครงการ ได้เวลากล่าวรายงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ประธานกล่าวเปิดงาน ให้โอวาทและมอบเกียรติบัตรแก่ครัวเรือนต้นแบบและบุคคลต้นแบบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกับทีมงานแจ้งถึงผลการดำเนินงาน พี่เลี้ยงสรุปผลการดำเนินงานและชวนเชิญให้ประชาชนกลุ่มอื่นๆเข้าร่วมกิจกรรมกับสสส.ในโอกาศต่อไป ผู้ใหญ่บ้านสรุปผลจากการประชุมหัวหน้าส่วนราชการ และปลัดอำเภอท่าแซะนาย  ศราวุฒิ พรหมขุนทอง ได้กล่าวถึงการใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ชื่นชมผู้ทำกิจกรรมโครงการที่เป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่น ๆถึงแม้โครงการจะสิ้นสุดลงให้ชุมชนเน้นปลูกพืชผักปลอดสารพิษ และ ออกกำลังกายต่อไปถือเป็นเรื่องที่ดีให้ปฏิบัติต่อไป พร้อมทั้งมีการมอบเกียรติบัตรให้กับสวนต้นแบบ ประกอบด้วย นางบัวไข  บุญพิทักษ์ รต.สุรินทร์  โพธิ์น้อย และนางวงเดือน  ศรีสุเทพ เกียรติบัตรแก่แกนนำชุมชน /เยาวชนที่เป็นต้นแบบจำนวน 10คน และรางวัลบ้านน่าอยู่น่ามองจำนวน 10คน พร้อมทั้งมีการมอบของขวัญให้กับสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมโดยได้รับของขวัญของรางวัลจำนวน 27 ชิ้น จากบริษัทวิจิตรภณฑ์ฯ ,ไบโอแมส,นายกสนอง  สร้างเกตุ ,กำนันนายพิมล จุลมูล,และผู้อุปการะคุณอื่น ๆ นายกกล่าวปิดโครงการ และแขกเข้าเยี่ยมชมศูนย์เรียนรู้

     

    250 290

    29. เพื่อจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 2 พฤศจิกายน 2558 เวลา 16:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พบพี่เลี้ยงเพื่อตรวจสอบรายงาน และการจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จัดทำรายงานและภาพถ่ายเพื่อประกอบการรายงานและตรวจสอบความสมบูรณ์ก่อนทำฉบับจริง และเตรียมจัดส่งให้สจรส.มอ.และสสส.ต่อไป

     

    5 10

    30. ถอดบทเรียนชุมชน

    วันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำผลสรุปการดำเนินโครงการมาถอดบทเรียน จัดทำเป็นข้อมูลชุมชน ให้พร้อมที่จะนำไปใช้ต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทีมคณะทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ในผลที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงของการถอดบทเรียนในเรื่องที่เกี่ยวกับคน สิ่งแวดล้อม และกลไกที่ทำให้เห็นว่ามีหน่วยสนับสนุนชุมชนเป็นอย่างดีในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนเป็นหมู่บ้านต้นแบบในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงพร้อมทั้งมีศูนย์เรียนรู้ที่มีชีวิตและเป็นศูนย์กลางของชุมชน และเป็นที่สนใจของหน่วยต่าง ๆที่พร้อมจะให้งบประมาณสนับสนุนต่อไป มีเงินของการบริหารจัดการกลุ่ม 2 ส่วน ในส่วนของการบริหารจัดการร้อยละ20เป็นเงิน 15,430 บาท และเงินฝากเป็นทุน 12,030 บาท

     

    30 50

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการรักษาสิ่งแวดล้อมชุมชนให้มีความปลอดภัย
    ตัวชี้วัด : 1. เกิดกลุ่มรักษ์ทรัพย์อนันต์ 2. มีมาตรการชุมชนในการรักษาสิ่งแวดล้อมชุมชน 3. แกนนำชุมชนเข้าร่วมประชุมและสามารถจัดการสิ่งแวดล้อมได้ร้อยละ60
    1. เกิดกลุ่มรักษ์ทรัพย์อนันต์จำนวน 30คนที่มาจากการมีส่วนร่วมของชุมชนซึ่งมีการดำเนินงานในการรักษาสิ่งแวดล้อมชุมชนให้มีความปลอดภัยตามมติชุมชนและมาตรการชุมชน
    2. มีมาตรการชุมชนในการรักษาสิ่งแวดล้อมชุมชนประกอบด้วย1) ร่วมกันปลูกต้นไม้ริมทางด้วยพันธ์ุไม้ใบหนา 2) ช่วยกันดูแลหน้าบ้านตนเองให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย 3) ไม่ทิ้งก้นบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ 4)จัดเจ้าหน้าที่ชุดรักษาความสงบประจำหมู่บ้านและอปพร.ร่วมกันดูแลความปลอดภัยของชุมชน 5) เฝ้าระวังเส้นทางถนนเพชรเกษมที่เป็นจุดเสี่ยงในช่วงเทศกาล 6) จัดรณรงค์การออกกำลังกายที่บ้านและศูนย์สุขภาพชุมชน 7) จัดวันกตัญญูที่วัดและร่วมกันพัฒนาคูคลองส่งน้ำ8) สมาชิกกลุ่มพืชผักไร้สารบ้านทรัพย์อนันต์ มีเงินฝากเข้ากลุ่มอย่างน้อย 30 บาทต่อเดือน
    3. แกนนำชุมชนจำนวน 30คน เข้าร่วมประชุมและสามารถจัดการสิ่งแวดล้อมได้ร้อยละ 100
    2 เพื่อสนับสนุนและเพิ่มขีดความสามารถของครัวเรือนให้มีความปลอดภัยจากมลพิษที่เป็นควันดำและน้ำเสีย
    ตัวชี้วัด : 1. ครัวเรือนสามารถป้องกันตนเองจากมลพิษโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ 2. เกิดศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียงที่ปลอดภัย 3. ชุมชนมีการจัดระเบียบในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้อย่างปลอดภัย
    1. ครัวเรือนสามารถป้องกันตนเองจากมลพิษโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยการสร้างร่างกายให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกาย การทำสวนและปลูกต้นไม้ใบหนาเพิ่มเติมในสวนปาล์ม ยางพาราและสวนผลไม้ จำนวน 30 ครัวเรือน การนำอีเอ็มบอลใส่ในบ่อน้ำทิ้งของโรงงานอุตสาหกรรม 1ครั้ง 5.เกิดศูนย์เรียนรู้เกษตรพอเพียงที่ปลอดภัย และมีนางดวงเดือนศรีสุเทพเป็นวิทยากรที่มีความสามารถในการให้ความรู้กับชุมชนและหมู่บ้านใกล้เคียงได้ 6.ชุมชนมีการจัดระเบียบในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชนได้อย่างปลอดภัยด้วยการบริโภคพืชผักปลอดสารพิษที่ปลูกเอง จำนวน 30 ครัวเรือน และการออกกำลังกายจำนวน 125 คนที่ทำกิจกรรมร่วมกัน รวมทั้งการรณรงค์ให้มีการประชุมกันอย่างต่อเนื่องทั้งเป็นทางการทุกเดือน และสภากาแฟที่บ้านผู้ใหญ่บ้านทุกวัน
    3 เพื่อพัฒนาและติดตามโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1.มีการพัฒนาและติดตามโครงการ

    ทีมผู้รับผิดชอบ 5 คน มีความรู้และสามารถในการดำเนินกิจกรรมได้อย่างเต็มศักยภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการรักษาสิ่งแวดล้อมชุมชนให้มีความปลอดภัย (2) เพื่อสนับสนุนและเพิ่มขีดความสามารถของครัวเรือนให้มีความปลอดภัยจากมลพิษที่เป็นควันดำและน้ำเสีย (3) เพื่อพัฒนาและติดตามโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของชุมชนทรัพย์อนันต์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2

    รหัสโครงการ 57-02590 รหัสสัญญา 58-00-0126 ระยะเวลาโครงการ 20 ตุลาคม 2557 - 20 พฤศจิกายน 2558

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดกลุ่ม 2 กลุ่ม ได้แก่1)กลุ่มพืชผักปลอดสารพิษที่สมาชิกมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกลุ่มที่มีทีม -มีการลงทุน -การขาย/การตลาด -การออม และการบริหารจัดการ พร้อมทั้งมีคณะกรรมการที่ปรึกษาที่มีความสามารถและมีความชำนาญ 2)กลุ่มรักษ์ทรัพย์อนันต์ที่ดูแลเรื่องส้่งแวดล้อมชุมชนให้ปลอดภัยอย่างมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชนทุกกลุ่ม

    ภาพถ่ายและการบริหารจัดการกลุ่มที่มีเงินทุน/ทีมงาน

    เชื่อมกับท้องถิ่นในการดำเนินการต่อเนื่องในการทำให้ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านทรัพย์อนันต์ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ประกอบด้วยบอร์ดให้ความรู้ อุปกรณ์สาธิต และนางวงเดือนศรีสุเทพเป็นวิทยากรประจำศูนย์

    ภาพถ่ายกิจกรรม

    เป็นจุดศูนย์กลางของชุมชนทั้งในและนอกชุมชนบ้านทรัพย์อนันต์ได้เรียนรู้ในการเป็นชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    ชุมชนมีการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อบริโภคเองในชุมชน ทุกครัวเรือน ซึ่งในปีแรกมีเพียงครัวเรือนต้นแบบ 30 ครัวเรือน

    รายงานที่ศุนย์เรียนรู้และข้อมูลชุมชน

    มีการบริโภคเองในชุมชน เหลือแล้วนำมาขายให้กับกลุ่มฯเพิ่มขึ้น โดยมีสถานที่จำหน่ายที่โรงพยาบาลท่าแซะ และตลาดนัดชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    มีการรณรงค์การขี่จักรยานออกกำลังกายของสมาชิกชุมชน จำนวน 125 คน และมีการลงมติกันว่าทุกวันสำคัญของชาติจะร่วมกันขี่จักรยานทุกครั้งและจะทุกคนจะออกกำลังกาย 3วันในหนึ่งสัปดาห์ตามความเหมาะสมกับเวลาและสถานที่

    ภาพถ่ายกิจกรรม

    มีกลุ่มที่ออกกำลังกายด้วยการขี่จักรยานทุกวัน และในวันสำคัญ ๆจะรณรงค์ให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    ชุมชนสามารถปรับสภาพพื้นที่และสิ่งแวดล้อมในการอยู่ร่วมกับโรงงานอุตสาหกรรมได้ มีการเรียนรู้ร่วมกัน มีการสนับสนุนและช่วยเหลือกิจกรรมที่ชุมชนจัดขึ้นรวมทั้งมีการปลูกต้นไม้ใหญ่ใบหนาเพื่อลดควัน และปลูกพืชผักสมุนไพรที่ใช้ในครัวเรือนทั้งใช้เป็นเครื่องแกงและยารักษาโรคเป็นต้น

    รายงาน และข้อมูลชุมชน

    นำข้อมูลที่สำรวจได้นำไปจัดทำแผนชุมชน ที่นำไปสู่แผนระดับจังหวัด ซึ่งสามารถบูรณาการได้กับทุกภาคส่วน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    ประชาชนมีส่วนร่วมกันมากขึ้น เห็นความสำคัญของการดูแลตนเอง ในเรื่องการใช้ชีวิตประจำวัน การออม การมีอาชีพเสริม การลดหนี้ครัวเรือน และการมีสัมพันธภาพที่ดีของคนในชุมชน

    ข้อมูลชุมชน และการรวมกลุ่มของชุมชนในกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้นในชุมชนรวมทั้งการร่วมมือกับภายนอก

    ครัวเรือนมีอาชีพเสริมและสามารถลดหนี้ได้ และไม่มีหนี้สินเพิ่ม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    ชุมชนมีการใช้สารอินทรีย์ในแปลงพืชผักสวนครัวและพืชสวนทั้งปาล์ม ยางพารา และผลไม้ เพิ่มขึ้น การใช้สารเคมีน้อยลง รวมทั้งปลูกต้นไม้ใบหนา/ไม้ยืนต้นเพิ่มขึ้นในครัวเรือนต้นแบบ 30 ครัวเรือน

    ภาพถ่ายกิจกรรมและข้อมูลชุมชน

    มีการปลูกไม้ยืนต้นเพิ่มมากขึ้นในสวนปาล์ม/ยางพาราและสวนผลไม้ รวมทั้งจัดการสองข้างทางถนนให้สะอาด ด้วยการเก็บขยะ ตัดหญ้า และการปลูกต้นไม้เพิ่ม เป็นต้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    ชุมชนมีอาชีพเสริมจากปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ การขายปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยหมักที่ชุมชนทำขึ้นใช้เองและขายให้กับชุมชนเพื่อลดรายจ่ายทางการเกษตร และมีทุนจากการรวมกลุ่มจำนวน12,030 บาทและรายได้จากหักร้อยละ20เป็นจำนวนเงิน15,430บาท

    ภาพถ่ายบุคคลต้นแบบที่มีนายกสนองสร้างเกตุ ประธานอสม. เป็นต้นแบบ เป็นต้น

    มีการส่งผลผลิตชุมชนไปขายให้กับชุมชนอื่น ๆ และส่งออกอย่างมีคุณภาพโดยประสานกับหน่วยงานอบต. ,เกษตรอำเภอ และหน่วยงานอื่น ๆที่เกี่ยวข้อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    มีมาตรการที่ผ่านความเห็นชอบของชุมชนที่ต้องมี1) ร่วมกันปลูกต้นไม้ริมทางด้วยพันธ์ุไม้ใบหนา 2) ช่วยกันดูแลหน้าบ้านตนเองให้สะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย 3) ไม่ทิ้งก้นบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ 4)จัดเจ้าหน้าที่ชุดรักษาความสงบประจำหมู่บ้านและอปพร.ร่วมกันดูแลความปลอดภัยของชุมชน 5) เฝ้าระวังเส้นทางถนนเพชรเกษมที่เป็นจุดเสี่ยงในช่วงเทศกาล 6) จัดรณรงค์การออกกำลังกายที่บ้านและศูนย์สุขภาพชุมชน 7) จัดวันกตัญญูที่วัดและร่วมกันพัฒนาคูคลองส่งน้ำ8) สมาชิกกลุ่มพืชผักไร้สารบ้านทรัพย์อนันต์ มีเงินฝากเข้ากลุ่มอย่างน้อย 30 บาทต่อเดือน

    ข้อมูลรายงานการประชุม

    มีการใช้มาตรการอย่างต่อเนื่องและจริงจังต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    มีการเชื่อมประสานกับอบต.ทรัพย์อนันต์ ในการส่งต่อกิจกรรมโครงการให้มีความต่อเนื่องในการสนับสนุนงบประมาณและรถเข็นขายสินค้า แพ็คกิ้งรวมทั้งการนำเป็นต้นแบบให้กับชุมชนอื่น ๆและสำนักงานเกษตรอำเภอได้ประสานเรื่องการตลาดของพืชผักในการส่งออก

    ข้อมูลชุมชน

    มีการเชื่อมเครือข่ายกับกลุ่มเกษตรอินทรีย์และพืชผักปลอดสารพิษอื่น ๆทั้งในและนอกเครือข่ายโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    มีการขับเคลื่อนของกลุ่มรักษ์ทรัพย์อนันต์เพื่อการลดควันพิษจากโรงงานไฟฟ้าชีวมวล จนต้องปิดโรงงานเพื่อปรับปรุงให้มีมาตรฐานมากขึ้นเป็นเวลา 3 เดือน

    ข้อมูลชุมชน

    มีทีมที่เฝ้าระวังพื้นที่อย่างเข็มแข็งเพื่อต่อรองและรายงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    ผู้รับผิดชอบโครงการนางวงเดือน ศรีสุเทพมีความภาคภูมิใจในตนเองมากที่สามารถทำให้ประชาชนในชุมชนที่เดิมไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมที่จัด ปัจจุบันเข้ามามีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น และเชื่อถือในความสามารถของตนเองมากขึ้น

    สัมภาษณ์ และสอบถามผู้ใกล้ชิด

    เป็นบุคคลต้นแบบในการเป็นแกนนำชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    ชุมชนมีความเอื้ออาทรและแบ่งปันกันมากขึ้น

    สังเกตได้จากประชาชนที่มาติดต่อประสานงานบ้านผู้ใหญ่(บ้านเดียวกับผู้รับผิดชอบโครงการ)มีการนำอาหารมาปรุงและร่วมรับประทานด้วยกัน และผู้ใหญ่บ้านมีการสำรองอาหารไว้ตลอดวัน

    อบต.เห็นความสำคัญของชุมชนทรัพย์อนันต์พร้อมทั้งให้เป็นต้นแบบกับชุมชนอื่น ๆ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    มีการทำประชาคมร่วมกันของประชาชนและคณะกรรมการชุมชน รวมทั้งปราชญ์ชุมชนในการทำกิจกรรมของชุมชน

    รายงานการประชุมประจำเดือน

    สามารถเพิ่มเติมความรู้ให้กับชุมชนในการจัดตั้งเป็นสภาชุมชนได้ต่อไป

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพของชุมชนทรัพย์อนันต์ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2 จังหวัด ชุมพร

    รหัสโครงการ 57-02590

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางวงเดือน ศรีสุเทพ )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด