directions_run

ชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อมดี ที่บ้านพังสาย หมู่ 7 ต.กะดังงา อ.สทิงพระ จ.สงขลา

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อมดี ที่บ้านพังสาย หมู่ 7 ต.กะดังงา อ.สทิงพระ จ.สงขลา ”

ชุมชนบ้านพังสาย หมู่ที่ 7 ตำบลกระดังงา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นาย หม๊าด มรรคโช

ชื่อโครงการ ชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อมดี ที่บ้านพังสาย หมู่ 7 ต.กะดังงา อ.สทิงพระ จ.สงขลา

ที่อยู่ ชุมชนบ้านพังสาย หมู่ที่ 7 ตำบลกระดังงา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 58-03836 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2164

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"ชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อมดี ที่บ้านพังสาย หมู่ 7 ต.กะดังงา อ.สทิงพระ จ.สงขลา จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ชุมชนบ้านพังสาย หมู่ที่ 7 ตำบลกระดังงา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อมดี ที่บ้านพังสาย หมู่ 7 ต.กะดังงา อ.สทิงพระ จ.สงขลา



บทคัดย่อ

โครงการ " ชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อมดี ที่บ้านพังสาย หมู่ 7 ต.กะดังงา อ.สทิงพระ จ.สงขลา " ดำเนินการในพื้นที่ ชุมชนบ้านพังสาย หมู่ที่ 7 ตำบลกระดังงา อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 58-03836 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 195,125.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 340 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนประมงพื้นบ้านในการอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำ และสิ่งแวดล้อมในชุมชน
  2. เพื่อสร้างความสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำ และ ระบบนิเวศที่ดีของชุมชน
  3. เพื่อสร้างพัฒนากลไกชุมชนบริหารจัดการทรัพยากรร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หน่วยงานเครือข่ายเกี่ยวข้องอย่างมีส่วนร่วม
  4. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. ประชุมปฐมนิเทศโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ฯ ร่วมกับ สสส. สจรส.มอ.

    วันที่ 29 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้รับผิดชอบโครงการ และฝ่ายการเงิน เตรียมวัสดุอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้อง เช่น คอมพิวเตอร์ โนตบุ๊คเอกสารคู่มือที่ สสส.ส่งมาให้
    • เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้การบริหารจัดการโครงการฯ ดำเนินงานโดยทีม สจรส. พี่เลี้ยง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผู้รับผิดชอบโครงการ และฝ่ายการเงิน จำนวน 2 คน ได้ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการ การดำเนินโครงการ การวางแผน กิจกรรม การเขียนรายงานการเงิน รูปภาพประกอบ เอกสารการเงิน ที่เกี่ยวข้อง เช่น บิลใบเสร็จ ใบลงทะเบียนประกอบการรายงาน กิจกรรมแต่ละครั้ง

    • พี่เลี้ยงผู้ติดตาม ได้ความรู้ข้อมูลดังกล่าว และการเขียนรายงานผ่านเวปไซด์ที่สะดวกรวดเร็ว โปรแกรมสำเร็จรูปที่ทาง สจรส.จัดทำไว้ เพื่อทำให้ในการเขียนรายงานกิจกรรมแต่ละครัง รวดเร็วขึ้น และสามารถปรับแก้ไขข้อมูลได้ตลอดเวลา ก่อนส่งรายงานจริงให้ สสส.

     

    13 2

    2. ประชุมคณะทำงานดำเนินงานโครงการ ครั้งที่ 1

    วันที่ 14 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    วงคุยนั่งกินกาแฟขนม พูดคุยทำความเข้าใจ กิจกรรมรายละเอียดโครงการเพื่อได้วางแผนการทำกิจกรรมในแต่ละเดือนและการหาคนในชุมชน และเครือข่ายที่ทำกิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์กัน เข้ามาทำงานหนนเสริมเพิ่ม่ขึ้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วาระการประชุม

    1.การทำความเข้าใจที่มาที่ไปโครงการ

    2.คณะทำงาน บทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบ

    3.การรายงานกิจกรรม การเงินเอกสารที่เกี่ยวข้อง( รูปกิจกรรม2รุุป/กิจกรรม ,การเบิกธนาคารเดือนละครั้ง,เงินสดคงเหลือในมือไม่เกิน 5000 บาท,ค่าใช้จ่ายเกิด 1000 บาทแนนสำเนาบัตรประชาชน) เกิดแผนการดำเนินงาน ก.ย.-ต.ค.58

    1.เวทีเปิดประชาสัมพันธ์โครงการฯ วันที่ 26 ตุลาคม 2558 ณ.สมาคมประมงพื้นบ้านชายฝั่งอ่าวไทย อ.สทิงพระ เวลา 09.30-15.00

    2.การสรุปเคลียร์ค่าใช้จ่ายการจัดกิจกรรม ให้เสร็จเรียบร้อยในแต่ละครั้ง

    3.การรายงานกิจกรรม สสส.

     

    35 20

    3. ประชาสัมพันธ์เปิดโครงการ

    วันที่ 26 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. คณะทำงานจัดเตรียมสถานที่ริมทะเล บ้านพังสาย ม.7 ต.กระดังงา อ.สทิงพระ (เต้นท์ โต๊ะ เก้าอี้,อาหาร กาแฟ ผลไม้ ป้าย)
    2. ผู้เข้าร่วมจำนวน 140 คน คนในชุมชน เครือข่ายชาวประมง,อสม., เกษตรอำเภอสทิงพระ,ธนาคาเพื่อการเกษตรและสหกรณ์,
    3. นายอนุสรตันโชติกุล นายอำเภอสทิงพระ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดโครงการชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากรสิ่งแวดล้อมดีที่บ้านพังสาย
    4. นายชูศักดิ์บริสุทธิ์ประมงอำเภอสทิงพระ ร่วมพูดคุยเรื่องกฏหมายประมง และงานอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากร เวทีเปิดโครงการกลุ่มชาวประมงในพื้นที่ และเครือข่ายตัวแทนหน่วยงาน ให้ความสำคัญเข้ามาร่วมเป็นจำนวนมาก ในการได้รับรู้ที่มาที่ไปของโครงการฯวัตถุประสงค์เป้าหมาย ระยะเวลาดำเนินงานและงบประมาณเพื่อให้ทุกส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรทะเล ชายฝั่งสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับคนในชุมชน และนักท่องเที่ยวผู้คนทั่วไป ตัวแทนหน่วยงานโดยเฉพาะในส่วนของนายอำเภอ และประมงอำเภอสทิงพระยินดีกับโครงการ และยินดีให้ความร่วมมือกันชุมชนเพื่อให้กิจกรรมเกิดประโยชน์กับชุมชนและส่วนรวมมากที่สุด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • เวทีเปิดโครงการฯเปรียบเสมือนการเช็คความพร้อม ความร่วมมือ การให้ความสำคัญกับการเข้ามามีส่วนร่วมการดำเนินงานร่วมกันซึ่งในเวทีประเด็นสำคัญที่ต้องการเสนอให้ผู้เข้าร่วมได้เข้าใจกระบวนการขั้นตอนการเกิดโครงการ ฯได้รู้จักสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) อย่างละเอียด เกี่ยวกับตัวโครงการการทำกิจกรรมที่สามารถตอบโจทย์ของ สสส. และตรงกับปัญหาความต้องการของโครงการ ซึ่งในเวทีได้คุณเสณี จ่าวิสูตรเป็นบุคคลที่มีความรู้ในการได้พูดคุยแลกเปลี่ยนทำความเข้าใจกับคนในชุมชน และหน่วยงานผู้เข้าร่วม ได้เป็นอย่างดีได้ทำความเข้าใจประเด็นหลักๆ เช่น การบริหารจัดการ การทำรายงานเอกสาร การเงิน บิลใบเสร็จ ที่ถูกต้อง การใช้จ่ายแต่ละกิจกรรมต้องดูในแต่ละหมวดค่าใช้จ่ายให้ละเอียดมีการรายงานอย่างสม่ำเสมอต้องถูกต้องโปร่งใสและตรวจสอบได้ ซึ่งการตรวจสอบเป็นสิ่งที่ดี ที่จะทำให้การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพประจวบกับในพื้นที่หน่วยงานในท้องถิ่นให้ความสำคัญ กับการเข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชน
    • นายอนุสร ตันโชติกุล นายอำเภอสทิงพระ ได้เข้ามาเป็นประธานเปิดโครงการฯ ด้วยความเป็นกันเอวงกับชุมชนและยินดีให้ความร่วมมือ สนับสนุนให้ชุมชนเกิดการจัดการทรัพยากรฯสิ่งแวดล้อมสร้างคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดีขึ้น โดยโครงการชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากรสิ่งแวดล้อมดีที่บ้านพังสาย ที่ได้งบสนับสนุนจาก สสส. นั้น จากความร่วมมือของสมาคมรักษ์ทะเลไทยที่ได้ทำงานหนุนเสริมศักยภาพประมงพื้นบ้านมาอย่างต่อเนื่อง การสร้างความเข้มแข็งการจัดการทรัพยากรขององค์กรชุมชนประมงพื้นบ้านการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่และระดับนโยบาย ซึ่งสมาคมประมงพื้นบ้านชายฝั่งอ่าวไทย อ.สทิงพระ เป็นหนึ่งองค์กรชุมชนประมงที่ได้ทำงานหนุนเสริมกันมาตลอดได้ร่วมกันพัฒนาโครงการฯ ร่วมกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.) มอ.หาดใหญ่ และผลสรุปเวทีกิจกรรม ที่เห็นปัญหาของชุมชนที่ชุมชนให้ความสำคัญชุมชนมีทีมงาน ชุมชนมีความตั้งใจ หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ให้ความสำคัญในการเข้ามาหนุนเสริมขับเคลื่อนงานร่วมกันให้ประสบผลสำเร็จ

     

    140 120

    4. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 26 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะทำงาน ออกแบบขนาดป้ายราคา และร้านทำป้าย(นายหม๊าด มรรคโช และนายวิรัตน์ เอียดประดิษฐ์ ผู้รับผิดชอบจัดทำ)

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่  เพื่อประกอบการจัดกิจกรรม โครงการ  เพื่อรณรงค์การลดละเลิกบุหรี่ กับคนในชุมชน 

     

    340 340

    5. หักค่าเปิดบัญชีธนาคาร

    วันที่ 26 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานเดินทางถอนเงินเพื่อคืนเงินค่าเปิดบัญชีคืนเรียบร้อยแล้ว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการได้หักเงินค่าเปิดบัญชีคืนเรียบร้อยแล้ว

     

    3 2

    6. ประชุมคณะทำงานฯ

    วันที่ 21 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 -15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นายหม๊าด มรรคโช ผู้รับผิดชอบโครงการ และทีมงานเครือข่ายประมงพื้นบ้าน ทำหน้าฝ่ายประสานงานผู้เข้าร่วมประกอบด้วย คณะทำงานหลัก, คณะกรรมการเครือข่ายสมาชิกสมาคมประมงพื้นบ้านชายฝั่งอ่าวไทยอำเภอสทิงพระแกนนำและแกนนำ คนในชุมชน จำนวน 22 คน . ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวสวัสดีผู้เข้าร่วมประชุม กำหนดประเด็น,ประชุม,ฝ่ายบันทึกสรุปเป็นเอกสาร พร้อมรายงานลงเวปไซด์โดยพี่เลี้ยงในเบื้องต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปผลการดำเนินงานกิจกรรม ที่ผ่านมากันยายน - พฤศจิกายน 2558 จำนวนผู้เข้าร่วม 22 คน ผลสำเร็จปัญหาอุปสรรค และร่วมวางแผนการทำกิจกรรม โครงการในช่วงธันวาคม 2558 (ประชุมคณะทำงาน,การประเมินผล - มกราคม 2559 การพูดคุยแลกเปลี่ยนการดำเนินงานกิจกรรมที่เกี่ยวข้องที่สามารถเกิดผลสำเร็จร่วมกันกับโครงการชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากรสิ่งแวดล้อมดีที่บ้านพังสาย โดยกลุ่มเป้าหมายร่วมดำเนินงานที่หลากหลาย ทั้งคนในชุมชน เครือข่ายประมงพื้นบ้านที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่นภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ที่จะนำสู่เกิดความร่วมมือกันทำงานที่ต่อเนื่อง หนุนเสริมช่วยเหลือกันที่ยั่งยืน

     

    35 22

    7. การจัดทำเอกสารรายงานกิจกรรม,การเงิน

    วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ผู้เข้าร่วม (ผู้รับผิดชอบโครงการ และฝ่่ายการเงิน จัดเตรียมรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องการฝึกอบรม
      เช่น สมุดบันทึกรับจ่าย สมุดธนาคาร สัญญาโครงการ บิลใบเสร็จ

    2. เข้าสู่กระบวนการอบรม โดยทีมพี่เลี้ยง และทีมสจรส.

    3. แลกเปลี่ยนซักถามข้อสงสัย

    4. นำความรู้จากการฝึกอบรมไปปฏิบัติได้ถูกต้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานจำนวน 2 คนเกิดความรู้ และสามารถทำรายงานกิจกรรม รายงานการเงินการเสียภาษีได้ถูกต้องตามระเบียบ สสส. และคณะทำงานต้องมีการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ในการดำเนินโครงการ เพื่อให้เกิดผลสำเร็จการดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์เป้าหมายโครงการกิจกรรมโครงการ และกิจกรรมต่อยอดที่สามารถเชื่อมสู่การอยู่ดีกินดี มีสุขภาวะที่ดีของคนในชุมชน

     

    2 2

    8. พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน,แกนนำเรียนรู้กฏหมายประมงที่เกี่ยวข้อง

    วันที่ 10 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงาน แกนนำ เข้าร่วมเรียนรู้ กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ วิถีของประมงพื้นบ้าน ร่วมกับเครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช และเครือข่ายจังหวัดต่างๆที่เกี่ยวข้อง
    • นำประเด็น พรก.ประมง 2558 ที่มีเนื้อหาสาระในบางมาตราที่ส่งผลกระทบต่อประมงพื้นบ้าน จึงอยากให้ทุกคนได้ทำความเข้าใจ เนื้อหากฏหมายให้เข้าใจถูกต้อง แล้วมีการเผยแพร่บอกข้อมูลให้กับชาวประมง และติดตามสถานกาณ์ต่อเนื่อง โดยมีเครือข่ายที่จะสนับสนุนด้านข้อมูลให้กับประมงพื้นบ้านอย่างต่อเนื่อง เช่น สมาคมรักษ์ทะเลไทย,สมาคมสมาพันธ์ประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    กฏหมายประมง ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2490 เป็นกฏหมายที่ล้าหลัง ไม่สามารถบังคับใช้กฏหมายกับผู้กระทำความผิดด้านการทำประมงผิดกฏหมายได้จริงทำให้เกิดปัญหาการทำประมงทำลายล้างสัตว์น้ำวัยอ่อน ของกลุ่มประมงพานิชที่ขาดซึ่งจิตสำนึกความรับผิดชอบ การใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนร่วมกันเมื่อเข้ายุคของรัฐบาล คสช.จากปัญหาการทำประมงทำลายล้าง การใช้แรงงานเถื่อน ทำให้ประมงเทศไทย ได้รับใบเหลืองจากสหภาพยุโรป (EU) ว่าทำประมงที่ทำลายล้างขาดความรับผิดชอบ ขาดการรายงาน ซึ่งหากรัฐบาลไม่แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น สินค้าสัตว์น้ำประเทศไทย ไม่สามารถส่งออกไปในประเทศยุโรปได้เป็นผลให้รัฐบาล คสช.ได้มีการยกร่างพระราชกำหนดกฏหมายประมง 2558 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวแต่รายละเอียด ในแต่ละมาตรา ของตัวกฏหมาย ยังขัดกับวิถีอาชีพประมงพื้นบ้านอยู่หลายๆ มาตราเช่นการให้ประมงพื้นบ้าน ประมงชายฝั่ง ออกทำประมงห่างจากฝั่งในระยะไม่เกิน 3 ไมล์ หรือ 5.4 กิโลเมตรซึ่งที่ผ่านมาชาวประมงพื้นบ้านออกทำประมงห่างจากฝั่งประมาณ ตั้งแต่ 3 ไมล์ ถึง 20 ไมล์ตามแหล่งช่วงฤดูกาลของสัตว์น้ำแต่ละชนิดซึ่งถ้าหากกฏหมายให้ประมงพื้นบ้านทำประมงไม่เกิน 3 ไมล์ ชาวประมงไม่สามารถอยู่ได้ไม่สอดคล้องกับวิถีอาชีพความเป็นจริง ซึ่งประมงพื้นบ้านก็ต้องมีข้อเสนอแนะปรับปรุงเพิ่มเติมตัวกฏหมายให้สอดคล้องกับการทำประมงของแต่ละพื้นที่นั้นๆ

     

    35 32

    9. พัฒนาศักยภาพแกนนำ

    วันที่ 14 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วม
    2. สถานที่ประชุม, วัสดุอุปกรณ์,อาหาร,น้ำ
    3. กำหนดวาระการประชุม
    4. พูดคุยแลกเปลี่ยนเป็นกลุ่มวงกลม เริ่มจากแกนนำหลักผู้เข้าร่วมเสนอแสดงความคิดเห็น
    5. สรุปประเด็น วางแผนการดำเนินงานในข้างหน้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การพัฒนาศักยภาพแกนนำชุมชนในพื้นที่ดำเนินโครงการ และ เครือข่ายแกนนำพื้นที่เกี่ยวข้อง ได้มีวงคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จากแกนนำที่มีความรู้ประสบการณ์ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ การจัดการทรัพยากรกฏหมายที่เกี่ยวข้องกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมชนสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับคนในชุมชนได้เช่นเรื่องกฏหมายประมงที่เกี่ยวข้องกับประมงพื้นบ้านโดยตรง การพูดคุยแลกเปลี่ยนในแต่ละประเด็นที่สำคัญๆ เช่น เรื่องของงานอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ ในทะเลหน้าบ้าน เป็นสิ่งที่ชาวประมงทุกคนต้องเห็นเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องช่วยกันเพื่ออาชีพ รายได้ชาวประมงที่ดีขึ้นย่อมส่งผลเชื่อมโยงให้ชาวประมงมีความสุข มีสุขภาวะที่ดีขึ้น ท่ามกลางอาชีพ รายได้ และสิ่งแวดล้อมที่ดี
    • จากการพูดคุยวงประชุมได้มีข้อสรุปมติร่วมกัน ที่จะร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ จากกิจกรรมต่างๆ เช่น การทำเขตอนุรักษ์ การปล่อยพันธุสัตว์น้ำ การทำซั้งกอเป็นต้นโดยกำหนดจัดประชุมร่วมกันในวันที่ 18 มกราคม 2559 เพื่อทำความเข้าใจ วางแผนการจัดการทรัพยากร ร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

     

    35 32

    10. ประชุมคณะทำงาน

    วันที่ 14 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การประชุมพบปะกันของคณะทำงาน และผู้นำ แกนนำในชุมชน เพื่อได้มาร่วมกันสรุปทบทวน วางแผนการทำกิจกรรมร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สรุปทบทวน การทำกิจกรรมและการจัดทำเอกสาร รายงานงวดที่ 1ใบเสร็จรับเงิน ,ใบลงทะเบียน การลงหมวดค่าใช้จ่ายได้ถูกต้อง กับงบกิจกรรม

     

    35 33

    11. ค่าเดินทางในการไปชำระภาษีสรรพากร

    วันที่ 7 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการ ไปชำระภาษี ที่สรรพากร อ.สทิงพระ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในการดำเนินโครงการต้องไปเสียภาษีต่อสรรภากร ร้อยละ 1

     

    1 1

    12. การประเมินผลการดำเนินงานโครงการ

    วันที่ 14 มกราคม 2559 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นายหม๊าด มรรคโช ผู้รับผิดชอบโครงการ ประสานทีมงาน และแกนนำเครือข่ายชาวประมง เข้าร่วมประชุมประจำเดือน เพื่อได้สรุปการทำกิจกรรมที่ผ่านมา และ การประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา การวางแผนทำกิจกรรมในข้างหน้าให้มีประสิทธิภาพร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ในการดำเนินงานที่ ผ่านมา กิจกรรมต่างบรรลุตามเป้าหมายในส่วนของคณะทำงาน ,แกนนำ,ผู้นำในชุมชน และเครือข่ายการมีส่วนร่วมกับการดำเนินงานดีมากแต่เป้าหมายหลักๆ คือทำอย่างไร ให้ผลการดำเนินโครงการ เกิดรูปธรรม ชัดเจน ทั้งในส่วนของกลุ่มคน เครือข่าย หน่วยงาน และชุมชน ที่จะร่วมกันขับเคลื่อนงานต่อเนื่อง ถึงตัวโครงการ ระยะเวลา งบประมาณ นี้จะหมดไปในที่ประชุม นายเจริญ ทองมา นายกสมาคมประมงพื้นบ้านชายฝั่งอ่าวไทย อ.สทิงพระได้เสนอแนะว่าเราควรมีเวทีประชุมร่วมกันของเครือข่ายประมงพื้นบ้าน 3 อำเภอ เพื่อได้ร่วมกันทำความเข้าใจเกี่ยวการดำเนินงานและ ปัญหาสถานการณ์ทรัพยาการสัตว์น้ำในทะเลหน้าบ้าน ที่ขณะนี้อยู่ในช่วงวิกฤติตนจึงมีแนวคิดในวงประชุมนี้ว่า ควรจะต้องทำอะไรที่จะส่งผลให้สัตว์น้ำเพิ่มขึ้น เราต้องดูพื้นที่อื่นๆ เขาที่มีการปิดอ่าวปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำทำซั้งกอบ้านปลา หรือประการังเทียม ห้ามทำประมง เพื่อให้สัตว์น้ำวัยอ่อน ได้เติบโตขยายเพิ่มปริมาณ เพราะหลายพื้นที่ก็ทำแบบนี้กัน แล้วเกิดประโยชน์กับประมงพื้นบ้านมาแล้ว
    • ประเด็นที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับประมงพื้นบ้าน คือ พรก.ประมง 2558 ที่เกิดผลกระทบโดยตรงกับประมงพื้นบ้าน เพราะพรก.นี้กำหนดขึ้นจากรัฐบาล คสช. กลุ่มประมงพานิชข้าราชการนักการเมือแต่ประมงพื้นบ้านไม่ได้มีส่วนร่วมกับการให้ข้อมูลเนื้อหาสาระประกอบ พรก.นี้เลยดังนั้น พรก.ประมง 2558 นี้ มีหลายๆ มาตราที่่ส่งผลกระทบกับประมงพื้นบ้านมากๆเช่น การจดทะเบียนทำการประมง รายละ 10,000 บาท , การเสียค่าธรรมเนียมเครื่องมือประมงแต่ละชนิด หรือ การห้ามประมงพื้้นบ้านออกทำประมงเกิน 3 ไมล์ทะเล จากฝั่งเหล่านี้เป็นต้นดูๆแล้วพรก.ประมง 2558 นี้กระทบกับประมงพื้นบ้าน มากกว่า กฏหมายประมง 2490 เพระพรก.ประมง 2558 นี้ประมงพื้นบ้านไม่มีส่วนร่วมกับการร่างระดมข้อมูลพรก.นี้เลย
    • โครงการที่พืนที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเวทีประชุม

     

    30 32

    13. การเก็ขข้อมูลชุมชน ข้อมูลทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง

    วันที่ 14 มกราคม 2559 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    การพูดคุยหัวข้อประเด็นวัตถุประสงค์ เรื่องการเก็บข้อมูลชุมชน ข้อมูลทรัพยากร เช่น อาชีพ รายได้  สถานการณ์ปัญหาทรัพยากรสัตว์น้ำ  ปริมาณ  ราคา เปรียบเทียบในอดีตกับปัจจุบัน 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    วงคุยประเด็นการเก็บข้อมูล การขึ้นกระดาษคลืปชาตตั้งหัวข้อประเด็น เช่น

    1. ชนิด พันธุ์สัตว์น้ำ
    2. ฤดูกาลช่วงจับสัตว์น้ำ ฤดูกาลสัตว์น้ำชุกชมแต่ละชนิด
    3. เครืองมือจับสัตว์น้ำแต่ละชนิด
    4. ปฏิทินการจับสัตว์น้ำ
    5. สถานการณ์ทรัพยากรสัตว์น้ำในอดีต และปัจจุบัน
    6. ข้อมูลชุมชน ทั่วไป เช่น ประชาการอาชีพรายได้

    ผู้เข้าร่วมวงคุยเก็บข้อมูล ร่วมระดมความรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับประเด็นการเก็บช้อมูลเบื้องต้นการเชื่อมโยงให้เห็นถึงทรัพยาการสัตว์น้ำ สิ่งแวดล้อม กับคุณภาพชีวิตประมงพื้นบ้านความสุขที่ทรัพยากรสัตว์น้ำสมบูรณ์ กับ ความทุกข์ที่ทรัพยากรสัตว์น้ำลดลง ทรัพยากรทางทะเลถูกทำลาย

    เพื่อสรุปข้อมูลจัดทำเป็นรูปเล่มข้อมูลชุมชน ข้อมูลทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง ประกอบการรายงาน และเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์ส่วนรวมต่อไป

     

    80 96

    14. ประชุมคณะทำงาน

    วันที่ 14 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมประจำเดือน ได้วางแผน ป้องกันแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นระหว่างดำเนินงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านงบกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการใช้จ่าย ของ สสส.
    การวางแผนดำเนินงาน ได้สอดคล้องกับระยะเวลา สิ้นสุดงวด และสิ้นสุดโครงการ

     

    35 25

    15. เวทีแลกเปลี่ยนทำความเข้าใจ ความคืบหน้าการดำเนินโครงการ การวางแผนงาน ร่วมกับเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    วันที่ 18 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงาน แกนนำเครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ.ระโนด อ.สทิงพระ อ.สิงหนคร และอ.จะนะ ร่วมเวทีทำความเข้าใจในพื้นที่เก่ียวกับพรก.ประมง 2558 มาตรา 34 ที่ส่งผลกับประมงพื้นบ้านโดยตรง เพราะห้ามไม่ให้ประมงพื้นบ้าน ออกทำมาหากินจากฝั่งไปเกิน 3ไมล์ทะเล หรือ 5.4 กิโลเมตร ดังนั้นทางเครือข่ายประมงพื้นบ้านจะร่วมกันยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ให้ยกเลิก มาตรา 34 ของพรก.ประมง 2558 ร่วมกันที่ศาลากลางจังหวัดสงขลา เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของประมงพื้นบ้าน ที่ได้รับผลกระทบ ไม่ได้มาประท้วงหรือสร้างความเสียหายต่างๆ ใดๆ ทั้งสิ้นแต่ทั้งนี้เมือพรก.ประมงฯดังกล่าว เกิดผลกระทบต่อการประกอบอาชีพทำการประมงของชุมชนประมงพื้นบ้านโดยตรง ทุกคนเห็นร่วมกันว่าเป็นปัญหาแน่ๆ ถ้าเป็นอย่างนี้จึงต้องร่วมกันยื่นหนังสือดังกล่าว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ประเด็นการวางแผนการดำเนินงานโครงการ ร่วมกับเครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ.สทิงพระในการทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ คือการทำเขตอนุรักษ์ ,การปิดอ่าว, การทำซั้งกอ แต่ทั้งนี้ต้องเข้าเวทีประชุมใหญ่ร่วมกับกลุ่มประมงพื้นบ้าน 3 อำเภอ คือ ระโนด ,สทิงพระ และสิงหนคร ในช่วงเดือนมกราคม- กุมภาพันธ์ หรือให้ผ่านหน้ามรสุมไปก่อน
    • ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประมงพื้นบ้านโดยตรง คือ พรก.ประมง 2558โดยเฉพาะ ม.34 ที่ให้ประมงพื้นบ้านหากินจากฝั่งออกไป ไม่เกิน 3 ไมล์ทะเล หรือ 5.4 กิโลเมตรซึ่งมันขัดกับหลักความเป็นจริงที่ประมงพื้นบ้านทำมาหากินกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ กล่าวคือ ประมงพื้นบ้านสามารถออกจับปลาห่างจากฝั่ง ได้ถึง 20-30 ไมล์ทะเล ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพคลื่นลม และช่วงฤดูกาลของสัตว์น้ำ และที่ผ่านมาพื้นที่3 ไมล์ทะเลจากฝั่ง เป็นพื้นที่อนุรักษ์ฟื้นฟูของประมงพื้นบ้าน คือทำซั้งกอบ้าง ประการังเทียมบ้าง เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำบ้างการห้ามจับสัตว์น้ำนวัยอ่อน การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำบ้างเพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ ปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น นั่นเอง
    • ดังนั้น พรก.ประมง 2558จึงไม่สอดคล้องกับวิถีอาชีพ ประมงพื้นบ้าน การขับเคลื่อนการยกเลิกโดยเฉพาะ มาตรา 34จึงเป็นหน้าที่ของประมงพื้นบ้านโดยตรงโดยเครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดสงขลา ได้ร่วมกันยื่นหนังสือให้ยกเลิก ม.34 พรก.ประมง 2558ถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา

     

    85 64

    16. ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำซั้งกอ

    วันที่ 23 มกราคม 2559 เวลา 09:00-15.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    พบปะพูดคุยกันระหว่างประมงพื้นบ้าน จ.สงขลา กับประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช  พร้อมดูการต่อเรือของกลุ่มประมงพื้นบ้านฯ ท่าศาลา  แกนนำ  ,วิทยากรชาวบ้าน, เจ้าหน้าที่สมาคมรักษ์ทะเลไทย  ร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ประสบการณ์ การจัดการปัญหาทรัพยากรทะเล ถูกทำลาย  พร้อมให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นร่วมกัน  มีฝ่ายสรุปบันทึกประสบการณ์ องค์ความรู้ พร้อมภาพถ่ายขณะดำเนินกิจกรรม 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นางจินดา จิตตะนัง เจ้าหน้าที่สมาคมรักษ์ทะเลไทย พื้นที่อำเภอท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช กล่าวต้อนรับคณะดูงาน อย่างเป็นกันเอง ยินดีกับพี่น้องทุกคนที่มาเยี่ยมเยียนที่นี่ ก็จะได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจัดการทรัพยากร และการจัดตั้งกลุ่มองค์กรชุมชน อย่างเป็นกันเองกับพี่น้อง ที่จะได้ซักถามแลกเปลี่ยนการบริหารจัดการของพื้นที่ประมงพื้นบ้านจ.สงขลา เช่นกันด้วย โดยวันที่ทางประมงพื้นบ้านอำเภอท่่าศาลา ในนามของสมาคมประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา จะมีแกนนำ(วิทยากร) ที่จะมาชวนคุยกับพืีน้องประมงพื้นบ้าน จ.สงขลา คือ นายเจริญ โต๊ะสอ นายกสมาคมฯท่าศาลา และทีมงาน
    • กลุ่มประมงพื้นบ้านทะเลนอก นำโดยนายหม๊าด มรรคโช ผู้รับผิดชอบโครงการ และทีม จำนวน 8 คน เกิดความรู้ประสบการณ์การจัดการทรัพยากรของประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา สถานการณ์ทรัพยากรสัตว์น้ำอดีต และปัจจุบันภาคีองค์กรทำงานร่วมกับชุมชน ปัญหา แนวทางการแก้ปัญหา กลุ่มองค์กรทุน ข้อมูล กระบวนการจัดการที่สามารถนำไปจัดการทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม กับกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูที่ชุมชนได้ทำกันมาอย่างต่อเนื่อง เช่น ซั้งกอ
    • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นกฏหมายประมง พรก.ประมง 2558เพิ่มเติมซึ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องมีส่วนได้ส่วนเสียกับประมงพื้นบ้านโดยตรง เพื่อที่จะร่วมกันขับเคลื่อนตัวกฏหมายให้สอดคล้องกับอาชีพวิถี ประมงพื้นบ้าน
    • ได้ข้อมูลองค์ความรู้การจัดการทรัพยากรฯกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ เช่น การทำเขตอนุรักษ์,การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ, การเฝ้าระวังฯ, การทำธนาคารปูม้า, และการทำซั้งกอ เป็นต้น ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์กับการจัดการพื้นที่ได้เหมาะสม
    • เกิดการเชื่อมร้อยเครือข่ายของกลุ่มประมงพื้นบ้าน ในเครือข่ายจังหวัดภาคใต้ที่เหนียวแน่น และต่อเนื่องส่ิงหนึ่งที่ทำให้ประมงพื้นบ้านมีความสุขที่ได้พบกับเครือข่าย ที่ส่วนใหญ่ก็ได้ร่วมเวทีกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูฯ กันมาบ้างมีความสุขที่ได้เห็นเครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ.ท่าศาลา อยู่ท่ามกลางความสมบูรณ์ของสัตว์ีน้ำ อาชีพ รายได้ของชาวประมงดี มีความสุขที่อยากทำให้ทะเลชุมชนของประมงพื้นบ้าน จ.สงขลา สัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะอ่าวสทิงพระ ต.กระดังงา ต.บ่อแดง เป็นต้น

     

    20 23

    17. ค่าเดินทางไปชำระภาษีสรรพากร

    วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการไปเสียภาษีที่สรรพากร อ.สทิงพระ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชำระภาษีสรรพากรประจำเดือนมกราคม 59 ไปแล้วจำนวน 2 ครั้ง

     

    1 1

    18. ประชุมคณะทำงาน

    วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการ สรุปกิจกรรมที่ดำเนินงานผ่านไปประเด็นสำคัญของการทำเอกสารรายงานกิจกรรมการเงินให้ถูกต้อง เพื่อจัดส่ง สสส.เพื่อปิดงวดที่ 1มีการสรุปกิจกรรมที่ดำเนินงานแล้ว เป็นที่พึงพอใจ และกิจกรรมที่ทำแล้วแต่ชุมชนไม่ตระหนักเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้นัดพบคณะทำงาน และแกนนำในชุมชน ได้มาพูดคุยถึงการทำงานโครงการ เดือนละครั้ง เพื่อให้ทุกคนได้เข้ามาพูดคุยปรึกษาหารือกัน ถึงการทำกิจกรรม ที่ผ่านมา ที่จะได้ร่วมกันคิดหาวิธีการ ทำกิจกรรมต่างๆ ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด สามารถมีกิจกรรมต่อยอดได้หากโครงการหมดระยะเวลาไปการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ เป็นสิ่งที่ทุกคนเห็นว่าควรช่วยกัันเป็นอันดับแรก เพราะเกี่ยวกับวิถีความเป็นอยู่ของคนในชุมชนเกือบทุกคน เพราะถ้าหากสัตว์น้ำกลับมาสมบูรณ์ คนในชุมชนก็มีอาชีพ รายได้ ก็มีความสุข เป็นงานของส่วนรวม ไม่ไช่งานคนใดคนหนึ่ง ส่วนประเด็น เวทีการติดตามหนุนเสริมการดำเนินงานงวดที่ 1 วันที่ 16 ก.พ.59เป็นกิจกรรมที่สำคัญเช่นกัน เพราะเมื่อเราได้โครงการมาดำเนินงาน ก็ต้องมีการรายงานกิจกรรม รายงานการเงิน ต่อแหล่งทุน คือ สสส. เราต้องทำให้ถูกต้อง โปร่งใส และตรวจสอบได้เพื่อไม่ให้ชุมชนของเราเสียชื่อ

     

    35 30

    19. ติดตามหนุนเสริมการดำเนินงานโครงการงวดที่ 1

    วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    -นายหม๊าด มรรคโช ผู้รับผิดชอบโครงการ ฝ่ายการเงินรวบรวมเอกสารการเงิน หมวดค่าใช้จ่ายกิจกรรม งวดที่ 1 ก.ย.58 -ก.พ. 59 จัดเรียงลำดับการทำกิจกรรมให้เป็นชุด เช็คความถูกต้องการใช้จ่าย บิลใบเสร็จ ใบลงทะเบียนการรายงานผ่านเวปไซด์ ให้ถูกต้อง ก่อนเข้าร่วมประชุมดูเอกสารร่วมกับทีม สจรส.มอ. เพื่อส่ง สสส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทีมงานจำนวน 3 คนได้เรียนรู้พื้นฐาน การจัดทำเอกสาร การรายงานกิจกรรมรายงานการเงินเอกสารการใช้จ่ายตามกฏระเบียบ สสส.

     

    2 2

    20. รายงานกิจกรรม การเงิน ปิดงวดที่ 1

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมกับทีมพี่เลี้ยง และทีมสจรส.มอ. ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น บิลใบเสร็จ ค่าใช้จ่าย หมวดกิจกรรม การเสียภาษีสรรพากร การรายงานกิจกรรมส่ง สสส. ปิดงวดที่ 1 โครงการได้รับการสนับสนุนปี 2558 เพื่อทำการเบิกจ่ายงบงวดที่ 2 ต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการ และฝ่ายการเงิน,ฝ่ายหนุนเสริมกิจกรรม จำนวน 3 คน ได้เรียนรู้การจัดทำเอกสารรายงานกิจกรรม รายงานการเงินที่ถูกต้องตามระเบียบของ สสส.  ได้รับทราบปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากความไม่เข้าใจในเบื้องต้น เพื่อที่จะเกิดความรู้ทักษะการทำเอกสารดังกล่าวในงวดต่อๆไป ได้ถูกต้องรวดเร็วขึ้น

     

    3 3

    21. จัดทำเอกสารรายงานกิจกรรม รายงานการเงินปิดงวด

    วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโครงการ

    2เข้าร่วมให้ทางสจรส.ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อปิดงวดที่ 1

    3 คณะทำงานปรับปรุงแก้ไขเอกสารให้ถูกต้อง ตามคำแนะนำของสจรส.มอ.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การจัดทำรายงานกิจกรรม  รายงานการเงิน  เอกสารที่เกี่ยวข้อง ในแต่ละหมวดกิจกรรม  รูปภาพกิจกรรม 

     

    2 2

    22. ประชุมคณะทำงานครั้งที่6

    วันที่ 14 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1ลงทะเบียน กินกาแฟ ขนม ตามอัธยาศัย

    2วาระการพูดคุย

    3ผู้รับผิดชอบโครงการนำคุยแลกเปลี่ยน

    4กินข้าวเที่ยง

    5สรุป,วางแผนการดำเนินงานในแต่ละเดือน

    6จัดทำเอกสารรายงานกิจกรรม การเงินที่เกี่ยวข้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงาน และแกนนำในชุมชน ได้รับทราบข้อมูลผลการดำเนินงานที่ผ่านมาโดยเฉพาะการจัดทำเอกสารรายงานกิจกรรม รายงานการเงิน ส่งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ไปแล้วในงวดที่ 1 เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งมีประเด็นสำคัญหลายๆเรื่องที่ต้องมีการปรับปรุง วางแผนการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น คือ การจัดทำเอกสารรายงาน  เนื้อหา รูปภาพประกอบ  การจัดทำเอกสารการเงิน การเบิกจ่ายในแต่ละหมวดกิจกรรมให้ถูกต้อง  โดยเฉพาะการจัดทำเอกสารบิลใบเสร็จต่างๆ ให้เสร็จไปในแต่ละครั้งที่จัดกิจกรรม ไม่ใช้ต้องมาไล่ทำเอาภายหลัง ซึ่งมันส่งผลให้การส่ง ตรวจสอบเอกสารล่าช้า  การอนุมัติเงินในงวดต่อไปด้วย  ได้ร่วมกันวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน ในเดือนต่อไปการป้องกันแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงาน   

     

    40 28

    23. ประชมคณะทำงาน สภาผู้นำชุมชน

    วันที่ 11 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1ลงทะเบียน กินกาแฟ ขนม ตามอัธยาศัย

    2วาระการพูดคุย

    3ผู้รับผิดชอบโครงการนำคุยแลกเปลี่ยน

    4กินข้าวเที่ยง

    5สรุป,วางแผนการดำเนินงานในแต่ละเดือน

    6จัดทำเอกสารรายงานกิจกรรม การเงินที่เกี่ยวข้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานได้ประชุมสภาผู้นำชุมชน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ที่ได้มาพบปะพูดคุยถามทุกข์สุขของแต่ละคน นอกเหนือจากวาระการประชุม ทีจะได้สร้างความสามัคคี ความสัมพันธ์ที่ต่อกัน ได้เกิดความเชื่อใจเข้าใจกันและกัน การทำงานร่วมกันที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในการประชุมสภาผู้นำทุกๆเดือน จะเกิดแนวคิดแผนงานโครงการ และงานที่เกี่ยวข้องกับชุมชนร่วมกันเสมอ เช่น แนวคิดการปิดอ่าวทะเลอ่าวไทย เลหน้าบ้าน อำเภอสทิงพระเพื่อให้สัตว์น้ำวัยอ่อนได้เจริญเติบโต ขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณมากขึ้นแนวคิดของการมีกองทุนช่วยเหลือประมงพื้นบ้าน ซื้อซ่อมเครื่องมือทำการประมงเป็นต้น

     

    40 25

    24. ประชุมคณะทำงานสภาผู้นำชุมชน

    วันที่ 27 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1ลงทะเบียน กินกาแฟ ขนม ตามอัธยาศัย

    2วาระการพูดคุย

    3ผู้รับผิดชอบโครงการนำคุยแลกเปลี่ยน

    4กินข้าวเที่ยง

    5สรุป,วางแผนการดำเนินงานในแต่ละเดือน

    6จัดทำเอกสารรายงานกิจกรรม การเงินที่เกี่ยวข้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประเด็นหลัก -ของการดำเนินงานโครงการในงวดที่ 1 ที่ส่วนใหญ่ทุกพื้นที่จัดทำรายงานกิจกรรม รายงานการเงิน ค่อนข้องช้า ที่ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขร่วมกับทาง สจ.รส.มอ. กันทำให้การจัดส่งรายงานส่งงวดที่ 1 ให้กับทาง สสส.ล่าช้าตามไปด้วยประจวบกับสถาณการณ์เรื่องภาษีของโครงการที่ลงสู่ชุมชนจึงต้องมีเวทีพูดคุยร่วมกันของ สสส. สตง. สรรพากร และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม เพื่อให้ได้ข้อสรุปเรื่องนี้กันจนในที่สุดก็ได้ข้อสรุปว่าพื้นที่ดำเนินโครงการไม่ต้องเสียภาษี เพราะโดยส่วนใหญ่คณะทำงานหรือผู้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานการจ่ายเงินให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมแต่ละครั้ง ไม่ว่าค่าอาหารค่าเหมารถซึ่งบุคคลเหล่านี้ไม่มีรายได้ประจำ แค่จัดทำอาหาร หรือได้ค่าเหมารถที่มีการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้งแค่นั้นเอง ในส่วนของคณะทำงานก็ไม่มีรายได้ประจำที่จะต้องเสียภาษีกรณีโครงการที่ได้ร่วมกันดำเนินการ เพระเป็นโครงการของชุมชน ส่วนรวมวัตถุประสงค์เป้าหมาย ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรมเป็นของส่วนรวม
    -การร่วมกันวางแผนงานให้เข้ากับสถานการณ์พื้นที่ยังไม่ได้รับเงินงวดที่ 2 ทำให้มีการประชุมคณะทำงานที่ต้องมีการประชุมทุกๆเดือน คณะทำงานต้องสำรองเงินใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมไปก่อนเพื่อไม่ให้การดำเนินงานหยุดช่วงไป คณะทำงาน ชุมชนจะได้รับรู้ข้อมูลสถานการณ์ต่างๆ ดังกล่าวได้เข้าใจร่วมกันด้วย

     

    40 20

    25. เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานโครงการ

    วันที่ 31 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1ลงทะเบียน กินกาแฟ ขนม ตามอัธยาศัย

    2วาระการพูดคุย

    3ผู้รับผิดชอบโครงการนำคุยแลกเปลี่ยนผลการดำเนินงานโครงการ ปัญหาอุปสรรค การป้องกันแก้ไข

    4กินข้าวเที่ยง

    5สรุป,วางแผนการดำเนินงานในแต่ละเดือน

    6จัดทำเอกสารรายงานกิจกรรม การเงินที่เกี่ยวข้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การประเมินผลการดำเนินงานโครงการในครั้งที่ 2  มีหลายๆ ประเด็นที่ต้องนำมาพูดคุยในเวที    ด้านทีมงาน  แกนนำหนุนเสริมดำเนินงาน พื้นที่บ้านพังสาย มีความพร้อมอยู่มาก ด้วยเป็นพื้นที่ของประมงพื้นบ้านที่มีกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายประมงอำเภอระโนด อำเภอสทิงพระ และอำเภอสิงหนคร  ที่เรียกว่าเป็นกลุ่มประมงพื้นบ้าน 3 อำเภอ ที่ขับเคลื่อนงานอนุรักษ์ฟื้นฟู การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาระดับนโยบายร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 10 ปี  ซึ่งโครงการสสส.ที่ลงสู่พื้นที่บ้านพังสาย  ประเด็นของฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อมในชุมชน ซึ่งตรงกับประเด็นปัญหาที่มีอยู่ในชุมชน    คือ สัตว์น้ำลดลง และขยะมูลฝอยในชุมชนและริมหาดที่ไม่ได้มีการจัดการให้เป็นระบบ  แต่หลังจากที่ได้มีโครงการ ได้มีวงคุยกันมากขึ้น ถึงปัญหาสถานการณ์  การระดมความคิดเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาในชุมชน  คนในชุมชนได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันมากขึ้น  แกนนำได้พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายมากขึ้น เช่น ร่วมเวทีสมัชชาชาวประมงพื้นบ้าน จ.ประจวบคีรีขันธ์  เข้าร่วมเวทีเรียนรู้กับสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทยที่เป็นองค์กรสำคัญในการขับเคลื่อนงานอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากร  การขับเคลื่อนการแก้ปัญหาระดับนโยบาย  ที่จะทำให้ชุมชนมีความ่เข้มแข็งด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรเพิ่มขึ้น 

     

    30 30

    26. เพื่อได้วางแผนการวางซั้งกอร่วมกันของชุมชน

    วันที่ 9 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1ลงทะเบียน กินกาแฟ ขนม ตามอัธยาศัย

    2ประเด็นการพูดคุย

    3ผู้รับผิดชอบโครงการนำคุยแลกเปลี่ยนการทำซั้งกอ

    4กินข้าวเที่ยง

    5สรุป,วางแผนการดำเนินงานในแต่ละเดือน

    6จัดทำเอกสารรายงานกิจกรรม การเงินที่เกี่ยวข้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นายหม๊าด มรรคโช ผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมกับชุมชน ได้วางซั้งกอ โดยชุมชนมาบ้างแล้วตั้งแต่ปี 2558โดยมีการทำซั้งกอไปแล้วประมาณ 15-20 กอห่างจากฝั่งประมาณ 3-4 กิโลเมตรระดับน้ำลุกประมาณ 10 เมตร ซึ่งก็ได้ผลดีในระดับหนึ่งที่ทำให้สัตว์น้ำเข้ามาอาศัย ขยายพันธุ์ โดยเฉพาะ ปลากุเลาโดยในกิจกรรมปฏิบัติการวางซั้งกอ นั้นมีงบประมาณในการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ทำซั้งน้อยมากดังนั้นการซ่อมแซมซั้งกอเดิม เพื่อให้มีความสมบูรณ์ สัตว์น้ำเข้าอาศัย ขยายพันธุ์ได้ ดังนั้นวันนี้ ได้ข้อสรุปในการปฏิบัติการวางซั้งกอ ร่วมกันในวันที่ 28 กรกฏาคม 2559เพราะเป็นช่วงคลื่นลมสงบ หรือมีการเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาการวางซั้งกอที่เหมาะสม

     

    80 66

    27. ประชุมคณะทำงานสภาผู้นำชุมชน

    วันที่ 14 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียน กินกาแฟ ขนม ตามอัธยาศัย

    2. วาระการพูดคุย

    3. ผู้รับผิดชอบโครงการนำคุยแลกเปลี่ยน

    4. กินข้าวเที่ยง

    5. สรุป,วางแผนการดำเนินงานในแต่ละเดือน

    6. จัดทำเอกสารรายงานกิจกรรม การเงินที่เกี่ยวข้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ข้อสรุปสำคัญการประชุม คือ  ยังไม่ได้รับ เงินงวดที่ 2 ทำให้การจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ผ่านมาไม่สามารถดำเนินการได้เต็มที่  เพราะมีข้อจำกัดเรื่องของงบจัดกิจกรรมที่ทางพื้นที่ก็ไม่มีเงินสำรองจ่ายได้จำนวนมากๆ  และมีบางกิจกรรมที่ได้จัดไปแล้ว เช่น การวางแผนการทำซั้งกอ ในวันที่9 มิถุนายน 2559 เพื่อให้กิจกรรมไปกองอยู่ช่วง1-2 เดือนก่อนปิดโครงการฯ และ ที่จัดทุกๆเดือนคือการประชุมคณะทำงาน สภาผู้นำชุมชนเดือนละครั้ง  ซึ่งคณะทำงานก็ร่วมกันสำรองจ่ายไปก่อน เพื่อให้เห็นความตั้งในในการทำงานของชุมชน  แต่ทุกคนก็ได้ร่วมกันวิเคราะห์ วางแผนการทำกิจกรรมในงวดที่ 2  ร่วมกัน หากทำไม่ทันจริงๆ ก็ต้องขอทำเรื่องขยายเวลาดำเนินงานกับ สสส.ต่อไป

     

    40 20

    28. ประชุมคณะทำงานครั้งที่9

    วันที่ 14 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียน

    2. ผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินการจัดประชุมเดือนละครั้ง บรรยากาศการพูดคุย นั่งลักษณะเป็นตัวยูกินกาแฟ ขนม พูดคุยกันไป

    3. ได้ข้อมูลจากการแลกเปลี่ยน

    4. อาหารเที่ยง

    5. สรุปบันทึกการถ่ายภาพกิจกรรมการจัดทำเอกสารรายงาน การเงิน ให้เรียบร้อย ในการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้ง เป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นายหม๊าด มรรคโชผู้รับผิดชอบโครงการได้พูดประเด็นสำคัญ เกี่ยวกับโครงการชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อมดีที่บ้านพังสายยังไม่ได้รับเงินดำเนินงานในงวดที่ 2นับตั้งแต่ได้ส่งเอกสารรายงานกิจกรรมรายงานการเงินไปแล้วตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ 2559ซึ่งเมื่อไปดูโครงการที่ได้จัดส่งเอกสารไปพร้อมกัน ไม่ว่าโครงการร่วมสร้างสุขให้ชุมชนด้วยการฟื้นเลบ้านคูขุดสทิงพระ หรือ ร่วมสร้างสุขด้วยซั้งกอที่บ้านทะเลนอก สิงหนคร ได้รับเงินในงวดที่ 2 ไปตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม 2559 ดังนั้นโครงการฯบ้านพังสาย ก็จะมีระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ แค่ 1-2 เดือนก็จะปิดโครงการ การทำกิจกรรมต่างๆให้แล้วเสร็จจึงเป็นช่วงระยะเวลาที่กระชั้นชิดมากดังนั้นวันนี้จึงต้องให้คณะทำงาน และผู้เข้าร่วมได้มาร่วมกันวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมที่เหลืออยู่อย่างละเอียด เพื่อให้เกิดผลกระทบการดำเนินงานน้อยที่สุดการได้รับอนุมัติเงินในงวดที่ 2 ในเดือนกรกฏาคม 2559 ในที่ประชุมก็ได้มีมติร่วมกันที่จะวางแผนดำเนินงาน จัดกิจกรรมในเดือนกรกฏาคมดังนี้ (หมายเหตุซึ่งบางกิจกรรมได้ดำเนินการไปบ้างแล้วในเดือนมิถุนยน)เพื่อไม่ให้กิจกรรมมีมากเกินไปในระยะ1-2เดือนก่อนปิดโครงการฯ

    1.การวางแผนการทำซั้งกอฯ

    2.การคืนข้อมูลฯให้กับชุมชน

    3.ปฏิบัติการวางซั้งกอฯ

    ซึ่งทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงวันเวลาจัดกิจกรรมตามความเหมาะสมต่อไป

     

    40 20

    29. เพื่อรณรงค์คนในชุมชน กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องส่วนร่วมการอนุรักษ์ฟื้นฟุสัตว์น้ำ และสิ่งแวดล้อมในชุมชน

    วันที่ 17 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1ลงทะเบียน

    2ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงรายละเอียดกิจกรรม

    3 ผู้เข้าร่วมและคนในชุมชนร่วมกันเก็บขยะริมหาด

    4อาหารเที่ยง,กาแฟ น้ำขนม

    5สรุป,วางแผนกิจกรรมครั้งต่อไป

    6จัดทำเอกสารรายงาน การเงินที่เกี่ยวข้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    -ลักษณะกิกรรมผู้เข้าร่วมรับฟังการทำความเข้าใจการดำเนินงานโครงการกิจกรรมวันนี้ และกิจกรรมโดยรวม เพื่อให้คนในชุมชนได้รับรู้ และได้เข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมโครงการเพราะทุกกิจกรรมไม่ว่าเป็นเวทีประชุม หรือปฏิบัติการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในชุมชน ล้วนเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม คือคนในชุมชน และที่เกี่ยวข้อง โดยนายหม๋าด มรรคโช ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่าวันนี้ตนได้ประสานให้คนในชุมชนโดยเฉพาะชาวประมง กลุ่มเยาวชนโรงเรียนสทิงพระวิทยา จำนวน 12 คน เพื่อให้พวกเขาได้เข้ามามีส่วนร่วม ได้เรียนรู้เพื่อเกิดความรักทรัพยากร สิ่งแวดล้อมท้องถิ่นของตนและกลุ่มชาวประมงในละแวกใกล้เคียงที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในทะเล คือสัตว์น้ำ และใช้ประโยชน์จากบนพื้นดิน หาดทราย ได้มาร่วมกันทำความสะอาดชายหาดทะเลบ้านเรา เพื่อให้มีความสะอาด ทั้งหาดทรายอากาศที่ดี เมื่อสิ่งแวดล้อมดี สุขภาพจิต สุขภาพกายก็ดีตาม คนในชุมชนก็จะมีความสุข

    ในวันนี้ในวงคุยเพื่อทำความเข้าใจเรื่องการดำเนินงานโครงการชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากรสิ่งแวด่ล้อมดีที่บ้านพังสายทุกคนจะได้รู้เข้าใจ และเข้ามาร่วมกับการดำเนินงานโครงการฯ ได้อย่างภาคภูมิใจประเด็นหลักๆ ในชุมชนที่ต้องการให้ทุกคนช่วยกันคือ

    1.การประกอบอาชีพ รายได้ของชาวประมงลำบากมากเพราะตั้งแต่มีการขุดเจาะน้ำมันในทะเลหน้าบ้านตั้งแต่ปี 2551 สัตว์น้ำลดน้อยลงตามลำดับโดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2555 ถึงปัจจุบัน สัตว์น้ำลดลงอย่างรุนแรง ออกทำประมงมีรายได้อยู่ที่ประมาณ 300-500 บาท แต่ต้นทุการทำประมงไม่ได้ลดน้อยลง แต่กลับยิ่งเพิ่มขึ้นจากชาวประมงต้องออกไปจากฝั่งไกลขึ้น30-40 กิโลเมตรก็อยากให้ทุกคนได้ตระหนักในเรื่องนี้ได้ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ

    2.สิ่งแวดล้อมในชุมชนอยากให้ทุกคนสร้างนิสัยการรักความสะอาดทิ้งขยะให้เป็นทีีชุมชนเราขยะมีตลอดบริเวณชายหาด บ้างก็เป็นขยะที่เกิดจากคนในชุมชน เกิดจากคนภายนอก หรือขยะที่ลอยมาจากทะเลบ้าง
    วันที่เกิดการเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมดังกล่าว จำนวน 121 คน ทั้งกลุ่มผู้สูงอายุ คนหนุ่มสาวกลุ่มเยาวชน ที่ทางผู้รับผิดชอบโครงการ ได้ประสานไปยังโรงเรียนสทิงพระวิทยา เพื่อให้เยาวชนได้เข้ามาร่วมกิจกรรมดังกล่าวกับผู้ใหญ่ การเก็บขยะชายหาด ตลอดแนวถนนริมทะเล ระยะทางไม่น้อยกว่า 200 เมตรเกิดความสะอาดน่ามองนาอยู่

    -จากกิจกรรมนี้สามารถต่อยอดเกิดกลุ่มเยาวชนที่ได้เข้ามาเรียนรู้ ร่วมทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อม ต่อยอดกับกลุ่มเครือข่ายประมงพื้นที่ละแวกใกล้เคียง โดยเฉพาะเครือข่ายประมงพื้นบ้าน 3 อำเภอ คือ อำเภอระโนด,อำเภอสทิงพระ และอำเภอสิงหนคร ที่สามารถร้อยเชื่อมทำงานร่วมกันได้ต่อเนื่องการทำงานต่อยอดกับองค์กร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ประมงอำเภอสทิงพระ , สมาคมรักษ์ทะเลไทย เป็นต้น

     

    150 121

    30. การให้ข้อมูลการจัดการทรัพยากร สร้างความตระหนักการเข้ามาจัดการร่วมกันของชุมชน

    วันที่ 22 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1ลงทะเบียน

    2ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงรายละเอียดกิจกรรม

    3 ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการทรัพยากร

    4อาหารเที่ยง,กาแฟ น้ำขนม

    5สรุป,วางแผนกิจกรรมครั้งต่อไป

    6จัดทำเอกสารรายงาน การเงินที่เกี่ยวข้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

          นายหม๊าด มรรคโช ผู้รับผิดชอบโครงการ และแกนนำสนับสนุนการดำเนินงาน ได้พูดคุยประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการทำกิจกรรมในช่วงเดือนกรกฏาคม-สิงหาคม 2559 ที่ค่อนข้างถี่ก่อนปิดโครงการ ส่งเอกสารรายงาน ในเดือนตุลาคม 2559  ซึ่งตนต้องขอขอบคุณพี่น้อง คนในชุมชนที่ได้ให้ความสำคัญ และเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการอย่างดี  วันนี้ประเด็นการถ่ายทอดความรู้คืนข้อมูลการจัดการทรัพยากรให้กับชุมชนนั้น  ดังที่รู้ๆ กันอยู่แล้วว่าชุมชนบ้านพังสาย ส่วนใหญ่คนประกอบอาชีพประมงมาตั้งแต่บรรพบุรุษ แต่ก็เกิดปัญหาจุดเริ่มต้นสาเหตุที่ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลลดลง คือการเริ่มขุดน้ำมัน ปี 2551 ในทะเลหน้าบ้านห่างจากฝั่งออกไปประมาณ 15-35 กิโลเมตร  ซึ่งจุดนั้นเป็นพื้นที่ทำการประมงของพวกเรา  แท่นขุดเจาะเพิ่มจาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 3 และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นอีก  ซึ่งในช่ว2-3 ปีของการขุดเจาะคือ ปี 2551-2554 ยังพอมีสัตว์น้ำได้จับกันได้บ้าง แต่หลังจากนั้นสัตว์น้ำลดลงเรื่อยๆ จนลดลงอย่างรุนแรงในปัจจุบัน
        นายวิรัตน์ เอียดประดิษฐ์  แกนนำชาวประมงสนับสนุนการดำเนินงานโครงการชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากรสิ่งแวดล้อมดีที่บ้านพังสาย  บอกว่าตนประกอบอาชีพประมงส่งลูกเรียนจนจบปริญญาตรี ในปี 2554  ตนคิดว่าถ้าลูกไม่จบก่อนปี 2554 ตนไม่สามารถมีรายได้จากทำประมง ส่งลูกเรียนให้จนปริญญาได้แน่นอน เพราะสัตว์น้ำลดลงอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน    จนชาวประมงหลายๆ คนต้องหยุดทำประมง บ้างก็เปลี่ยนไปทำงานรับจ้างนอกชุมชน
    นายหม๊าด มรรคโช ผู้รับผิดชอบโครงการฯ  บอกว่าอาชีพประมงพื้นบ้านพังสาย  หากย้อนไปก่อนไม่มีการขุดเจาะน้ำมัน สัตว์น้ำชุกชุมมาก  ออกทะเลแต่ละครั้งมีรายได้ 5000-10,000 บาทต่อลำเรือ  อย่างที่แย่ๆ แล้วจับสัตว์น้ำได้น้อยก็มีรายได้ 1,500- 3,000 บาท  แต่ในปัจจุบันออกทำประมงแต่ละครั้งมีรายได้ประมาณ 300-800 บาทไม่พอค่าน้ำมันเรือ  ค่ากิน หรือแบ่งปันให้กับญาติๆ ที่ออกไปทำประมงช่วยกัน     แกนนำผู้เฒ่าชาวประมงพื้นบ้านหลายๆ คนไม่ยอมแพ้กับปัญหาที่เกิดขึ้น การเรียกร้องให้บริษัทที่ขุดเจาะน้ำมันชดเชยรายได้ให้กับประมงพื้นบ้าน  จนประสบผลสำเร็จบริษัทขุดเจาะน้ำมันยอมชดเชยรายได้ให้กับประมงพื้นบ้านถึงจำนวนเงินไม่มาก แต่ก็ยังดีกว่าบริษัทไม่รับผิดชอบใดๆ  โดยได้ค่าชดเชยรายได้ให้กับชาวประมงจำนวนเงิน 1600 บาทต่อลำเรือ ต่อเดือน  โดยเริ่มชดเชยให้กับชาวประมงพื้นบ้าน ในปี 2552 มาจนถึงปัจจุบัน
        ด้านสิ่งแวดล้อม ขยะส่วนใหญ่ริมชายหาดก็มาจากทะเลในช่วงมรสุม    และมีขี้น้ำมัน จากการขุดเจาะน้ำมันในทะเล ที่กระแสน้ำพัดพามาริมหาด มีความสกปรก เหม็น    หลายๆ กิจกรรมที่ประมงพื้นบ้านเข้าร่วมผลักดันการแก้ไขปัญหาทั้งในระดับพื้นที่และระดับนโยบาย เช่น  การปิดท่าเรือน้ำลึกปี 2551 กดดันบริษัทที่เกี่ยว่ข้องที่ทำลายทรัพยากรระบบนิเวศ สัตว์น้ำลดลง ชาวประมงเดือดร้อน  หรือ การยื่นหนังสือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพระราชกำหนดประมง 2558 ที่มีเนื้อหาสาระ ในแต่ละมาตรา ที่ไม่สอดคล้องกับวิถี อาชีพ การพึ่งพา การจัดการทรัพยากรของชุมชน

     

    150 138

    31. วางซั้งกอในทะเลอ่าวไทย

    วันที่ 28 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1ลงทะเบียน

    2ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงานชี้แจงรายละเอียดกิจกรรม

    3 ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนฯ

    4อาหารเที่ยง,กาแฟ น้ำขนม

    5สรุป,วางแผนกิจกรรมครั้งต่อไป

    6จัดทำเอกสารรายงาน การเงินที่เกี่ยวข้อง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

        กลุ่มผู้เข้าร่วมเห็นความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาการลดลงของสัตว์น้ำ  การอนุรักษ์ฟื้นฟูเป็นหนทางเดียวที่พอจะทำให้มีสัตว์น้ำให้จับได้บ้าง การวางซั้งกอเป็นสิ่งที่ดีเพราะในทะเลก็มีประการังเทียมที่กรมประมงได้วางไว้แล้วบ้าง  ส่วนซั้งกอที่ชาวประมงชาวบ้านได้ร่วมกันทำ ก็จะนำไปวางใกล้ๆ บริเวณประการังเทียม เพื่อจะเป็นที่อยู่ หลยภัย ขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำ  ซึ่งวันนี้ชุมชนได้ร่วมมือกันนำซั้งกอไปวางในทะเลหน้าบ้านห่างจากฝั่งออกไปประมาณ 3000 เมตร ระดับน้ำลึกประมาณ 10 เมตร ซึ่งพื้นที่วางซั้งกอดังกล่าว เป็นเขตอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำของชุมชน  ห้ามการทำประมงทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อน  โดยเฉพาะเรือประมงพานิชย์ พวกอวนลาก อวนรุน  เรือปั่นไฟ  ที่มีขนาดตาอวนถึ่มากจับสัตว์น้ำวัยอ่อน และทำลายระบบนิเวศใต้ทะเลจนเกิดความเสื่อมโทรม
        เกี่ยวกับ พรก.ประมง 2558  มาตรา 34 ที่กำหนดให้ประมงพื้นบ้านออกทำประมงห่างจากฝั่งไม่เกิด 3 ไมล์ทะเล หรือ 5.4 กิโลเมตร  ชุมชนประมงพื้นบ้านมีความเห็นร่วมกันว่ากฏหมายดังกล่าวขัดแย้งกับอาชีพ วิถีประมงพื้นบ้านอย่างสิ้นเชิง  เพราะประมงพื้นบ้านไม่ได้ทำประมงในเขต 3 ไมล์ดังกล่าว แต่ประมงพื้นบ้านสามารถออกทำประมงจับสัตวน้ำได้ตามสภาพลมฟ้า อากาศ สภาพของเรือเครื่องมือประมง ซึ่งที่ผ่านมาตั้งแต่บรรพบุรุษออกทำประมงห่างจากฝั่งถึง 20-30 ไมล์ หรือมากกว่านี้  เพราะว่าในเขต 3 ไมล์ ดังกล่าวเป็นเขตอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำของประมงพื้นบ้าน  ถ้ากฏหมายจะมาบังคับให้ประมงพื้นบ้านแย่งหากินกันในเขตดังกล่าวไม่ถูกต้อง  ตรงกันข้ามกลับไม่ห้าม หรือปราบ เรือประมงพานิชย์ ที่ทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อน
          การวางซั่งกอทำให้สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นจริง จากประสบการณ์ความสำเร็จของเครือข่ายประมงพื้นบ้านสนามชัย อำเภอสทิงพระ  ที่มีแกนนำเข้ามาสนับสนุนการดำเนินงานโครงการฯ บ้านพังสายด้วย  กล่าวว่า หลังจากวางซั้งกอในทะเลหน้าบ้าน สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นจริง เช่นปลาทู ปลาขี้ตัง  ชาวประมงได้จับกันบ้างมีรอยยิ่มกันบ้าง  แต่ก็มีประเด็นของคนในชุมชนโดยเฉพาะชาวประมงที่มีบางคน บางพื้นที่ไม่ได้ลงมือทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำอย่างจริงจัง  พอพื้นที่ไหนอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำมีสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นก็มาจับสัตว์น้ำ  แต่ไม่เคยเข้ามาร่วมมือในการทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูของชุมชนนั้นๆ
        นายหม๊าด มรรคโช  ผู้รับผิดชอบโครงการ  ได้ให้ทุกคนมาสรุปกิจกรรมวันนี้ และวางแผนอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำต่อไปอย่างไร กรณีสิ้นสุดโครงการของ สสส.  พี่เลี้ยงก็เสนอให้ชุมชนระดมกองทุนฟื้นฟูทรัพยากร หรื่อการดูช่องทางการเสนอโครงการขอสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น  องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา  เพื่อให้ชุมชนได้สามารถจัดการ  มีกองทุนในการร่วมกันทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ และสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง  และอีกประเด็นที่อยากให้ชุมชนทำคือกองทุนคนทำงานเพื่อส่วนรวม เพราะจะได้ช่วยเหลือกันในระยะยาว ไม่ว่าเรื่องของการเดินทางแลกเปลี่ยนเรียนรู้  อาหารระหว่างเดินทางเป็นต้น  หรือสวัสดิการช่วยเหลือกันยามเจ็บไข้ เป็นต้น  เพราะแกนนำ หรือคนในชุมชนที่เข้ามาทำงานจุดนี้ ไม่มีค่าตอบแทน ทำงานด้วยความเสียสละจริงๆ  จึงไม่อยากให้ในการทำงานดังกล่าวต้องลำบากกาย ลำบากใจ เช่น กรณีเดินทางไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือพัฒนาศักยภาพประมงพื้นบ้านร่วมกับหน่วยงาน ไม่ต้องควักเงินของตน เพราะลำพังรายได้ชาวประมงก้ไม่ดีเท่่าที่ควร โดยเฉพาะบ้านพังสาย
      ข้อสรุปของชุมชนในการวางแผนอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ คือ  ซั้งกอที่ได้ร่วมกันวางในทะเลวันนี้ ได้งบบางส่วนที่ได้รับสนับสนุนจาก สสส. แต่ก็มีจำนวนไม่มาก หากชุมชนสามารถทำซั้งกอนำไปวางในทะเลจำนวนมากๆ จะทำให้สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน  แต่มีข้อจำกันในเรื่องของเงิน จึงต้องระดมทุนเองบ้าง ขอสนับสนุนหน่วยงานทีเกี่ยวข้องบ้าง  ทำงานร่วมกับเครือข่ายให้มากขึ้น เพื่อมีช่องทางต่างๆ ที่ได้ช่วยเหลือกัน 

     

    170 157

    32. จัดทำข้อมูลชุมชน การจัดการทรัพยากร เผยแพร่ชุมชน สาธารณะชนฯ

    วันที่ 1 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หม๊าด มรรคโช ผูัรับผิดชอบโครงการ และคณะทำงาน ตั้งวงคุย แลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วม นั่งคุยกัน กินขนม กาแฟ กันไปตามอัธยาศัย  เพื่อระดมความคิดเห็นข้อมูลการจัดการทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมในชุมชน  สรุปประเด็นข้อมูล ถ่ายภาพ  จัดทำเอกสารข้อมูล  และเอกสารค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง และจัดทำรายงานส่ง สสส.ต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประเด็นแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการทรัพยากร ของชุมชนบ้านพังสาย ที่มีการจัดการทำงานหนุนเสริมร่วมกับกลุ่มประมงพื้นบ้าน อ.ระโนด อ.สทิงพระ และ อ.สิงหนคร มาอย่างต่อเนื่องการจัดการทรัพยากร การอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำในทะเล เป็นกิจกรรมที่ประมงพื้นบ้านร่วมกันขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 10 ปีโดยเฉพาะปัญหาการลดลงของสัตว์น้ำ ที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับความเป็นอยู่ของครอบครัวทะเลที่เคยอุดมสมบูรณ์ต้องมาเปลี่ยนแปลง จากการขุดเจาะน้ำมันในทะเลในปี 2551ที่แท่นขุดเจาะเข้ามาใกล้ฝั่งทุกๆที คือประมาณ 15-30 กิโลเมตร จากฝั่ง (ซึ่งพื้นที่ตั้งแท่นขุดเจาะน้ำมันดังกล่าว แต่ก่อนเป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำที่ชุกชุม)โดยที่ประชุมการระดมความคิดข้อมูลสัตว์น้ำแต่ละชนิด ช่วงฤดูกาลจับ ปริมาณ ราคาสัตว์น้ำการเปรียบเทียบย้อนไป 10 ปี ก่อนและหลังการขุดเจาะน้ำมันทะเลอ่าวไทยพื้นที่ตำบลกระดังงา ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระได้รับผลกระทบจากการขุดเจาะน้ำมันที่ส่งผลให้สัตว์น้ำหนีหาย ลดลงอย่างรุนแรงอาชีพประมงสร้างรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัวแต่ละวันชาวประมงส่วนหนึ่งก็ทนไม่ได้กับสภานการณ์ไม่มีสัตว์น้ำให้จับ ต้องปรับเปลี่ยนอาชีพ ไปทำงานรับจ้างภายนอกชุมชนแต่ก็มีชาวประมงอีกจำนวนหนึ่งซึ่งมากกว่ากลุ่มแรก ที่ยังรักมีความสุขที่ได้ประกอบอาชีพ ได้อยู่กับครอบครัว ได้พบปะเพื่อนชาวประมงด้วยกันในแต่ละวันพวกเขาเหล่านี้ได้ร่วมกับเครือข่ายประมงพื้นบ้าน 3 อำเภอ คือ อำเภอระโนด,อำเภอสทิงพระ และอำเภอสิงหนคร ที่ได้รวมกันขับเคลื่อนผลักดันการแก้ไขช่วยเหลือปัญหาของพวกเขา ร่วมกัน คือทรัพยการสัตว์น้ำลดลง ทรัพยากรทะเล ระบบนิเวศเสื่อม จากการขุดเจาะน้ำมันพวกเขารวมตัวกันผลักดันบริษัทผู้ได้รับสัมปทานขุดเจาะน้ำมัน ให้ชดเชยความเสียหายต่ออาชีพ รายได้ของชาวประมง นี่เป็นหนทางเดียวที่พอจะได้รับการช่วยเหลือเยียวยา รับผิดชอบของบริษัทขุดเจาะ โดยพวกเขาได้รับการชดเชยต่ออาชีพ รายได้ ที่ต้องสูญเสียไป ให้เรือประมงลำละประมาณ 1700 บาทต่อเดือนซึ่งเงินจำนวนนี้ชาวประมงบอกว่ามันไม่พอกับรายจ่ายในครัวเรือนเลยเพราะหากเปรียบเทียบกับทะเลตอนไม่มีการขุดเจาะน้ำมันพวกเขาออกทะเลแต่ละครั้งได้วันละ 3,000-4,000 บาท เป็นอย่างต่ำ แต่มาถึงปัจจุบันต้องยอมกับรับกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ หม๊าด มรรคโช ผู้รับผิดชอบโครงการ ยังให้ข้อมูลเรื่องการผลักดันการแก้ไขกฏหมายประมงที่เกี่ยวข้อง (พรก.ประมง 2558 ) ที่มีเนื้อหาสาระขัดกับวิถีอาชีพประมงพื้นบ้านอย่างสิ้นเชิงเช่น มาตรา 34 ห้ามไม่ให้ประมงพื้นบ้านออกทำการประมงจากฝั่งเกิน 3 ไมล์ทะเล หรือ 5.4 กิโลเมตรซึ่งความเป็นจริงพวกเขาออกทำการประมงตั้งแต่บรรพบุรุษ ออกจากฝั่งไปไกลถึง 20-30 ไมล์ ซึ่งจากการเข้าร่วมยื่นหนังสือการแก้ไขพรก.ดังกล่าวกับเครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดสงขลา พวกเขาเป็นกลุ่มประมงพื้นบ้านที่มีความเข้มแข็ง มีการพบปะพูดคุยงานอนุรักษ์ฟื้นฟู การผลักดันการแก้ปัญหาระดับนโยบายทุกคนมีแผนอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำต่อเนื่อง ไม่ว่าการทำซั้งกอ การระดมทุนช่วยเหลือกลุ่มแกนนำ สวัสดิการช่วยเหลือเครือข่ายประมงพื้นบ้านและการเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพร่วมกันเครือข่าย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องงานอนุรักษ์ฟื้นฟูฯ อยู่ในหัวใจของพวกเขาตลอดเวลา และมีความหวังร่วมกันว่าซักวันสัตว์น้ำทะเลหน้าบ้านจะกลับมาอุดมสมบูรณ์ ให้พวกเขามีความสุขกับอาชีพ รายได้อยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อม ครอบครัวที่อบอุ่นตลอดไป

     

    80 70

    33. เพื่อพัฒนาศักยภาพประมงพื้นบ้านคนในชุมชนได้ร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ และสิ่่งแวดล้่อม

    วันที่ 13 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หม๊าด มรรคโช ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงานประสานผู้เข้าร่วมประเด็นพูดคุยปรึกษา กิจกรรมต่อยอดสรุปภาพถ่ายรายงานฯ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    หม๊าด มรรคโช  ผู้รับผิดชอบโครงการ  ชี้แจงภาพรวมของการดำเนินงานโครงการ ที่ได้รับการสนับสนุน จาก สสส.  เรื่องของการจัดการทรัพยากร สิ่งแวดล้อมในชุมชน  ซึ่งก็เห็นความร่วมมือของพี่น้องในชุมชนเข้ามาอย่างต่อเนื่อง  ปัญหาทรัพยากร การลดลงของสัตว์น้ำเป้นปัญหาใหญ่ในพื้นที่ของเรา  ตั้งแต่มีการขุดเจาะน้ำมันในทะเลหน้าบ้าน ตั้งแต่ปี 2551 มาถึงปัจจุบัน  การขุดเจาะมีขั้นตอนที่ไปกระทบต่อระบบนิเวศใต้ทะเล  สัตว์น้ำย้ายถิ่นฐานอยู่่ไม่ได้ มีเสียงดัง และการปล่อยของเสียจากการขุดเจาะ เช่น คราบน้ำมัน  ขี้น้ำมัน  ทำให้ชาวประมงหากินลำบากมากทุกวันนี้ จากอดีตก่อนปี 2551ที่เคยออกทำการประมงมีรายได้ถึง 20000-10000 บาทต่อวัน มาปัจจุบันออกทำการประมงโดยเฉลี่ยมีรายได้แต่ละครั้งเพียง 200-ึ600 บาท ทำให้ไม่เพียงพอในการนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว  ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่มีสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ ชาวประมงเองก็ต้องรับชะตากรรม  แม้นได้รับเงินชดเชยจากบริษัทขุดเจาะให้กับชาวประมงเดือนละประมาณ 1600 บาทต่อเดือนต่อ1 ลำเรือ(หากชาวประมงคนไหนมีเรือ 2 ลำก็รับ 3200 บาทต่อเดือนเป็นต้น  แต่ลำพังเงินชดเชยเพียงนี้ ไม่สามารถเพียงพอกับรายจ่ายในแต่ละวัน  แต่ถึงอย่างไรก็มีชาวประมงจำนวนหนึ่งที่ไม่ยอมเลิกอาชีพ แต่กลับสร้างความร่วมมือ กับหน่วยงานเครือข่าย เพื่อได้ร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ ให้อาชีพ รายได้ดีขึ้น  เช่นการทำซั้งกอ (บ้านปลา)  ร่วมกันเสนอกฏหมายประมงให้มีบทลงโทษกับกลุ่มทำประมงทำลายล้างให้หนัก และไม่เข้ามาทำประมงในเขตอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำโดยเด็ดขาด  เพราะกลุ่มทำประมงทำลายล้างสัตว์น้ำวัยอ่อน เช่น อวนลาก  อวนดำ เรือปั่นไฟปลากระตัก  เป็นกลุ่มที่ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำลดลงด้วยเช่นกัน
        การเผยแพร่ข้อมูลปฏิทินฤดูกาลจับสัตว์น้ำ  การเปรียบเทียบราคา ชนิดสัตว์น้ำ ก่อนและหลังมีการขุดเจาะน้ำมัน
        ด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชน  การจัดการขยะอยากให้เป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องช่วยกันสร้างวินัยรักความสะอาด ทั้งในหมู่บ้าน และริมทะเล  ควรช่วยกันเก็บขยะอย่างน้อยเดือนละครั้งเพื่อให้ชุมชน ชายหาดบ้านพังสายสวยงาน  สะอาด ต่อนักท่องเที่ยวหรือใครไปผ่านมา 

     

    150 128

    34. เพื่อประสภาผู้นำชุมชนประจำเดือนสิงหาคม 2559

    วันที่ 14 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1ลงทะเบียน กาแฟ ขนม ตามอัธยาศัย

    2หม๊าดมรรคโช ผู้รับผิดชอบโครงการ นำพูดคุยแลกเปลี่ยนการทำงานของคณะทำงาน

    3เจริญทองมา นายกสมาคมประมงพื้นบ้าน่ชายฝั่งอ่าวไทย อ.สทิงพระ เข้ามาแลกเปลี่ยนปัญหาสถานการณ์ทรัพยากร และกฏหมายประมงที่เกี่ยวข้องกับประมงพื้นบ้าน

    3 กลุมแกนนำหนุนเสริมการดำเนินงานโครงการ พูดคุยแลกเปลี่ยนกันไป กินกาแฟขนม ตามอัธยาศัย

    4ระดมความคิดการป้องกันแก้ไขปัญหาอุปสรรค การวางแผนการดำเนินงานโครงการ โ

    5อาหารเที่ยง

    ุ6สรุปบันทึกถ่ายรูปจัดทำเอกสารรายงานกิจกรรมรายงานการเงิน
    ุ7ปิดการประชุม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1 ผู้รับผิดชอบโครงการได้ใช้เวทีสภาผู้นำ การประชุมคณะทำงานวันนี้ ในการให้แกนนำ และผู้เข้าร่วมได้รับรู้ถึงผลการดำเนินงาน โครงการเป็นไปได้ด้วยความราบรื่น ทั้งนี้มีส่วนสำคัญกับพี่น้องคนในชุมชนที่ให้ความร่วมมือกับการทำกิจกรรมต่างๆ ในโครง ทีมงานที่มีประสบการณ์ที่ได้ร่วมกันทำงานมานานแกนนำหนุนเสริมการดำเนินงาน ทั้งในและนอกชุมชน ที่มีทักษ์การทำบัญชีรับจ่าย การเงินได้ดีระดับหนึ่ง เป็นผลให้การทำกิจกรรมไม่มีปัญหาอุปสรรคถึงแม้นว่าการโอนเงินสนับสนุนในงวดที่ 2 มาค่อนข้างล่าช้ามาก็ตามซึ่งทั้งนี้ก็ต้องเข้าใจถึงกระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารรายงานกิจกรรม รายงานการเงิน ของ สสส.ที่มีความละเอียดรอบคอบ ทั้งนี้การจัดประชุมคณะทำงานทุกๆเดือน ก็ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน คือจะได้ร่วมกันวางแผนการดำเนินงาน ทำกิจกรรมให้สอดคล้องกับระยะเวลาดำเนินงานโครงการฯในส่วนของสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็งนั้น ต้องประกอบด้วยผู้นำเป็นทางการ และไม่เป็นทางการตัวแทนจากกลุ่มก้อนต่างๆ ที่มีอยู่ในชุมชนได้มีการจัดตั้งประธาน การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละฝ่ายการจัดประชุมแต่ละครั้งที่ทุกคนได้มาแสดงความคิดเห็นในการที่จะพัฒนาชุมชนร่วมกันและการประสานสภาผู้นำชุมชนทำงานเชื่อมร้อยกับองค์กร หน่วยงานต่างๆเพื่อให้การบริหารจัดการเกิดประสิทธิภาพสู่งสุด 2 เจริญ ทองมา นายกสมาคมประมงพื้นบ้านชายฝั่งอ่าวไทย อ.สทิงพระแกนนำหนุนเสริมกิจกรรมคนสำคัญพูดถึงปัญหาการลดลงของสัตว์น้ำ ที่ส่งผลกระทบต่อประมงพื้นบ้านมาร่วม 7-8 ปี ปัญหาที่ซ่ำเติมให้กับประมงพื้นบ้านขึ้นอีก คือพรก.ประมง 2558ที่มีเนื้อหาสาระในบางมาตราทำให้ประมงหากินยากลำบากมากขึ้น เช่น มาตรา 34ห้ามประมงพื้นบ้านออกทำการประมงห่างจากฝั่งเกิน 3 ไมล์ (5.4 กิโลเมตร) การเก็บค่าธรรมเนียม ค่าจดทะเบียนเครื่องมือประมงเพิ่ม เหล่านี้เป็นต้น

     

    40 25

    35. เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนในการได้แลกเปลี่ยนสรุปถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการ ผลที่เกิด ปัญหาอุปสรรค โอกาศกิจกรรมต่อยอด

    วันที่ 25 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1ลงทะเบียนกิจกรรม กาแฟ ขนม

    2ชี้แจงวัตถุประสงค์เป้าหมาย โดยผู้รับผิดชอบโครงการ

    3แลกเปลี่ยนประเด็นการดำเนินงานโครงการ ผลดี ปัญหาอุปสรรค และการต่อยอด

    4สรุปบันทึก.ถ่ายรูป รายงานกิจกรรม รายงานการเงิน จัดทำเอกสารให้ถูกต้อง

    5อาหารเที่ยง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1.การถอดบทเรียนโครงการฯ ที่เชื่อมร้อยกับปัญหาการจัดการทรัพยากรในชุมชน  โดยเฉพาะปัญหาการลดลงอย่างรุนแรงของสัตว์น้ำ ที่ส่ผลกระทบต่อวิถีอาชีพ ของคนในชุมชนที่ประกอบอาชีพทำการประมง ซึ่งสาเหตุการลดลงของสัตว์น้ำ เกิดความเสือมโทรมของระบบนิเวศในทะเล  เกิดจากขุดเจาะน้ำมันในทะเล ที่มีจำนวนแท่นขุดเจาะเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งชาวประมงก็มีการเผ้าสังเกตุอยู่ตลอดเวลาว่าหลังมีการขุดเจาะน้ำมัน สัตว์น้ำเริ่มหนีหาย ลดลงไปอย่างรวดเร็ว จนถึงปัจจุบัน ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า อาชีพประมงมีรายได้เลี้ยงครอบครัวไม่พอแล้ว

     

    150 120

    36. การประเมินผลการดำเนินงานครั้งที่ 3

    วันที่ 30 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. ลงทะเบียน

    2. ประเด็การแลกเปลียน

    3. ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนการประเมินผลการดำเนินงาน

    4. อาหารเที่ยง

    5. สรุปบันทึก

    6. จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบการรายงาน สสส.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สาระสำคัญของการประเมินผลการดำเนินงานโครงการครั้งที่ 3  โดยรวมการดำเนินงานโครงการชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากรสิ่งแวดล้อมดีที่บ้านพังสาย เป็นไปได้ด่วยดีจากความร่วมมือของพี่น้องคนในชุมชน และเครือข่ายชาวประมงในละแวกใกล้เคียง ที่มีการรู้จัก สนิทสนม การทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องกับ นายหม๊าด มรรคโช ผู้รับผิดชอบโครงการ  ทำให้การทำกิจกรรมแต่ละครั้งมีคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นอย่างดี  มีการประชุมคณะทำงานวางแผนการทำกิจกรรมในทุกๆเดือน โดยต้องทำกิจกรรมที่ค่อนข้างกระชั้นชิด ทั้งนี้สืบเนื่องจากการได้รับเงินอุดหนุนในงวดที่ 2 ล่าช้า แต่ก็ไม่มีปัญหาเรื่องการจัดเวทีกิจกรรม  โดยได้คุยกันว่าต้องจัดเวทีกิจกรรมให้แล้วเสร็จต้นเดือนกันยายน 2559 เพื่อที่จะมีเวลามานั่งดูรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน เช่น รายงานกิจกรรม ใบลงทะเบียน ผู้เข้าร่วม เนื้อหา รูปภาพประกอบ  เอกสารค่าใช้จ่ายในแต่ละหมวดถูกต้องไหม เพื่อให้มีความถูกต้องก่อนส่ง สสส.  แต่ทั้งนี้ผู้รับผิดชอบโครงการ ก็ยังต้องพูดคุยทำความเข้าใจกับบางคนในชุมชน(ส่วนน้อย)ที่ยังไม่เข้าใจการดำเนินงานโครงการ  จึงต้อมมีเวทีพูดคุยการบริหารจัดการโครงการ โดยเฉพาะการอธิบาย การจัดการงิน ความถูกต้องโปร่งใส ให้กับคนที่กังวลหรือไม่เข้าใจ  และก็สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ จากเวทีพูดคุยทำความเข้าใจ    ในที่ประชุมมีข้อสรุปร่วมกันว่า การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ และสิ่งแวดล้อมในชุมชน ต้องร่วมกันทำอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้นว่าโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส.จะสิ้นสุดในเดือนกันยายน -ตุลาคม 2559 นี้  ซึ่งงานอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำ ทุกคนทุกฝ่ายต้องร่วมกันกัน ทำกิจกรรมที่จะให้สัตว์น้ำเพิ่มปริมาณ  เช่น การทำซั้งกอ  วางปะการังเทียม  จัดทำเขตอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำวัยอ่อน ซึ่งต้องทำร่วมกันเป็นเครือข่ายกลุ่มชาวประมง 3 อำเภอ คือ(ระโนด,สทิงพระและสิงหนคร)  เป็นต้น  ส่วนงานด้านสิ่งแวดล้อม  ผู้รับผิดชอบโครงการได้ประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนโดยเฉพาะที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ริมฝั่งทะเล ให้ทุกคนต้องมีสำนึก มีระเบียบ ในการคัดแยกขยะ  การทำลาย  ที่ถูกต้อง ไม่ทิ้งหรือวางขยะ บริเวณริมหาด ทั้งนี้เพื่อสร้างความสะอาด ความสวยงามให้กับคนในชุมชน และนักท่องเที่ยว   

     

    30 32

    37. จัดเตรียมเอกสารรายงานกิจกรรม รายงานการเงิน ให้สจรส. มอ. ตรวจสอบครั้งที่1

    วันที่ 8 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1ผู้รับผิดชอบโครงการจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง

    2 เดินทางนำเอกสารฯมาตรวจดูความถูกต้องร่วมกับสจรส. และผู้เลี้ยงผู้ติดตาม

    3 การปรับแก้เอกสารให้ถูกต้องก่อนส่งรายงานฯ สสส.ปิดงวดที่ 2

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผุ้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน ร่วมกันตรวจสอบการดำเนินงานโครงาการ เพื่อปิดงวดที่ 2 ส่งให้กับ สสส.  โดยมีประเด็นสำคัญๆ เช่น  เรื่องการทำกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ในโครงการ  การตรวจเชคค่าใช้จ่ายในแต่ละกิจกรรม ให้ตรงกับหมวดค่าใช้จ่ายนั้นๆ  บิลใบเสร็จ  ลายเซนต์  ใบลงทะเบียน  ให้ตรงกับระเบียบของสสส.  ภาพถ่ายประกอบกิจกรรม  อย่างน้อย 2 ภาพต่อ 1 กิจกรรม    การใช้จ่ายงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน  ยอดใช้จ่าย  ยอดคงเหลือ หรือ การใช้จ่ายเกินงบ  ต้องมีการปรับแก้ไขให้ถูกต้องตามระเบียบของสสส.

     

    15 15

    38. งานสร้างสุขฯ ภาคใต้

    วันที่ 5 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ลงทะเบียน พูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกับเครือข่าย บูธนิทรรศการ หน่วยงานต่างๆ ร่วมเวทีเปิดงานสร้างสุข แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องสัมมนา และร่วมกับเครือข่ายตามอัธยาศัย รับประทานอาหาร วันที่ 3 ต.ค. มื้อค่ำพร้อมขนมน้ำผลไม้ วันที่ 4 มื้อเที่ยง,เย็น และวันที่ 5 มื้อเที่ยง ข้อเสนอจากโครงการฯ ต่อ สสส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เวทีปิดงานสร้างสุข


    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    งานสร้างสุขฯคืองานที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ในรูปแบบของการปฏิบัติการ  การสื่อสาร  เอกสารองค์ความรู้  คือการรวมตัวกันของบุคคล  กลุ่ม หน่วยงาน  เครือข่าย  เพื่อได้ร่วมกันที่จะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในระดับพื้นที่ และระดับนโยบาย ที่ให้ความสำคัญกับชุมชนที่จะหนุนเสริมการจัดการตนเอง สุขภาวะ  ทรัพยากร ด้วยชุมชนเอง เพื่อที่จะให้เกิดสุขภาวะที่ดี  เกิดความมั่นคงด้านอาหาร  เกิดการใช้พลังงานธรรมชาติที่ยั่งยืน และปลอดภัย  จากหลายคน หลายกลุ่ม หลายหน่วยงาน  ผู้เข้าร่วมนับ 1, 000 คน  การบริหารจัดการชุมชนน่าอยู่ของ สสส. สจรส. และพี่เลี้ยง (ภาคใต้) ที่มีประสิทธิภาพมาก หากเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา หรือกับการจัดการของภาคอื่นๆ  นับว่าเป็นความสำเร็จ ความภาคภูมิใจร่วมกัน  ที่จะสร้างพลัง สร้างแรงใจ แรงกาย ในการขับเคลื่อนทำงานร่วมกันที่มั่นคง และยั่งยืน 

     

    2 4

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนประมงพื้นบ้านในการอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำ และสิ่งแวดล้อมในชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. เกิดการประชาสัมพันธ์โครงการคณะทำงานและคนในชุมชนได้เรียนรู้และตระหนักในการเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ ไม่น้อยกว่า 100 คน 2. เกิดเวทีกระบวนการจัดเก็บข้อมูลทรัพยากรและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ 3. เกิดการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นแผนการดำเนินงานโครงการที่ชัดเจน 4. เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ และการสร้างกลุ่มเด็กและเยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมไม่น้อยกว่า 40 คน
    • เกิดการประชาสัมพันธ์โครงการคณะทำงานและคนในชุมชนได้เรียนรู้และตระหนักในการเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ 120 คน
    • มีกระบวนการจัดเก็บข้อมูลทรัพยากร วิเคราะห์ข้อมูล เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ และการสร้างกลุ่มเด็กและเยาวชน จำนวน 150 คน
    2 เพื่อสร้างความสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำ และ ระบบนิเวศที่ดีของชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. มีแผนการจัดการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยกรสัตว์น้ำร่วมกันของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. มีกฏกติกาการจัดการเขตอนุรักษ์ และกิจกรรมฟื้นฟูสัตว์น้ำ เช่น - ปฏิบัติการทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรการวางซั้งกอ จำนวน 25 กอ - การเพาะเลี้ยงพันธุ์สัตว์น้ำ - การทำธนาคารปูม้า
    • มีแผนการจัดการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยกรสัตว์น้ำร่วมกันของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีกฏกติกาการจัดการเขตอนุรักษ์ และกิจกรรมฟื้นฟูสัตว์น้ำ
    3 เพื่อสร้างพัฒนากลไกชุมชนบริหารจัดการทรัพยากรร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หน่วยงานเครือข่ายเกี่ยวข้องอย่างมีส่วนร่วม
    ตัวชี้วัด : 1. ข้อมูลองค์ความรู้ชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชนทั่วไป 2. เกิดเครือข่ายกลุ่มเยาวชนไม่น้อยกว่า50คนที่เกิดความรู้ความเข้าใจและเข้ามาร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง 3. มีคณะทำงานในชุมชนจำนวน 15 คน มีการประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงานทุกๆเดือน ในการสรุปทบทวนข้อมูล ปัญหาอุสรรค การติดตามประเมินผล 4. เกิดกลุ่มอาสาสมัคร และกลุ่มวิทยุเฝ้าระวัง การปกป้องทรัพยากร จำนวน 30 คน
    • ข้อมูลองค์ความรู้ชุมชนกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณชนทั่วไป
    • เกิดเครือข่ายกลุ่มเยาวชนไม่น้อยกว่า50คนที่เกิดความรู้ความเข้าใจและเข้ามาร่วมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรอย่างต่อเนื่อง
    • มีคณะทำงานในชุมชนจำนวน 15 คน มีการประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงานทุกๆเดือน ในการสรุปทบทวนข้อมูล ปัญหาอุสรรค การติดตามประเมินผล
    • เกิดกลุ่มอาสาสมัคร และกลุ่มวิทยุเฝ้าระวัง การปกป้องทรัพยากร จำนวน 30 คน
    4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนประมงพื้นบ้านในการอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำ และสิ่งแวดล้อมในชุมชน (2) เพื่อสร้างความสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำ และ ระบบนิเวศที่ดีของชุมชน (3) เพื่อสร้างพัฒนากลไกชุมชนบริหารจัดการทรัพยากรร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หน่วยงานเครือข่ายเกี่ยวข้องอย่างมีส่วนร่วม (4) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อมดี ที่บ้านพังสาย หมู่ 7 ต.กะดังงา อ.สทิงพระ จ.สงขลา

    รหัสโครงการ 58-03836 รหัสสัญญา 58-00-2164 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    รูปแบบการวางปะการัง ซั้งกอ จากภูมิปัญญาประมงพื้นบ้าน สัตว์น้ำเข้ามาอาศัย หลบภัย ขยายพันธุ์และป้องกันการเข้ามาทำประมงทำลายล้างจากกลุ่มประมงพานิช

    การวางปะการังในพื้นที่หมู่4 ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระ จ.สงขลา

    ระดมทุน ประสานการทำปะการังเทียม ซั้งกอจากหน่วยงาน เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

    การวางซั้งกอที่ใช้วัสดุทางมะพร้าว ไม้ไผ่ มาเป็นการใช้เชื่อกทำซั้งกออายุของซั้งกอยาวนานขึ้นกว่าจะผุพัง

    สมาคมประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

    ระดมทุน ประสานการทำปะการังเทียม ซั้งกอจากหน่วยงาน เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    การทำงานอนุรักษ์ฟื้นฟู เดิมข้อมูลจากการระดมความคิด การแลกเปลี่ยนร่วมกับเครือข่ายไม่มีการบันทึกรวบรวมข้อมูลมามีการจัดการทำข้อมูลแผนการอนุรักษ์ฟื้นฟูที่ชัดเจน

    สมาคมประมงพื้นบ้่านชายฝั่งอ่าวไทยอำเภอสทิงพระ

    การรวบรวมข้อมูลการอนุรักษ์ฟื้นฟูเป็นเอกสาร ได้ใช้ประโยชน์ได้ทันที

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    การทำงานที่มีขั้นตอนมากขึ้น การวางแผน การแบ่งงานตามความสามารถ บทบาทหน้าที่

     

    เรียนรู้พัฒนาทักษะร่วมกับสสส.สจรส.มอ.และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม และหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    เกิดกลุ่มของแกนนำที่รวมกันจากหลายๆกลุ่มของประมงพื้นบ้าน เช่น กลุ่มสมาคมประมงพื้นบ้านชายฝั่งอ่าวไทยอำเภอสทิงพระ,กลุ่มสหกรณ์ประมงพื้นบ้านสงขลาและกลุ่มประมงพื้นบ้าน 3 อำเภอ ได้มาร่วมกันทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูฯ เป็นกลุ่มเดียวร่วมกัน

     

    โครงสร้างกลไกกลุ่มในการขับเคลื่อนงานฟื้นฟูฯและกฏหมายประมงระดับนโยบาย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    รูปแบบการวางปะการังของชุมชน (แบบคันนา) ซั้งกออยู่ด้านใน ล้อมรอบด้วยปะการังที่ทำด้วยแท่นปูนซิเมนต์

    สมาคมประมงชายฝั่งอ่าวไทย อำเภอสทิงพระ

    การวางปะการังเพิ่มจากการสนับสนุนของชุมชนและหน่วยงานภายนอก

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    แกนนำบางคนให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพมากขึ้น เช่น โทษของบุหรี่ การออกกำลังกายทำให้สุขภาพดี

    สสส.

    การลดละเลิกบุหรี่ในอนาคต

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    การให้ความสำคัญกับความสะอาด ปลอดภัยของอาหารที่บริโภค เช่น สัตว์น้ำที่จับโดยประมงพื้นบ้าน หาวันต่อวัน ไปเช้า เย็นกลับ หรือไปดึกกลับเช้าสัตว์น้ำสดสะอาดรวมถึงการบริโภคพืชผัก การปลูกผักไว้กินเอง จะปลอดภัยกว่าพืชผักตามท้องตลาด

    สสส.

    ประมงพื้นบ้านต้องให้ความสำคัญกับสัตว์น้ำที่จับได้ต้องสะอาด ไม่มีสารเคมีตกค้างจากการแช่รักษาคุณภาพสัตว์น้ำ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    แกนนำหนุนเสริมการดำเนินงานให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง

    สสส.

    การปั่นจักรยาน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    การให้ความสำคัญกับการลดละเลิกการพนันในชุมชน คนเล่นการพนันน้อยลงดื่มเหล้าน้อยลง

    สสส.

    การบันทึกรับจ่าย ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในครอบครัว ทำให้ลดค่าใช้จ่ายด้านอบายมุข

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

    การให้คำปรึกษาตักเตือนเด็กเยาวชนในชุมชน ให้รู้และป้องกันปัญหาทางเพศ และอุบัติเหตุ

    สสส.

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

    สร้างความสัมพันธ์กับคนในชุมชน ละแวกใกล้เคียง และเครือข่ายอย่างสม่ำเสมอมองบวกอยู่อย่างพอเพียง

    -

    การได้พบปะพูดคุยกันประจำ ได้ช่วยเหลือ ได้รับฟังเรื่องต่างๆ ที่เพื่อนต้องการเล่าการไปเรียนรู้แลกเปลี่ยนกับหน่วยงาน หรือเครือข่าย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    การนวดคลายเส้นจากภูมิปัญญาผู้เฒ่าในชุมชน

    -

    การสืบทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    สร้างความสันธ์ที่ดีต่อสมาชิกในครอบครัว ชุมชนทุกคนกล้าพูดปรึกษากันได้เสมือนเป็นเพื่อนมีน้ำใจ มีความสามัคคี ที่จะได้ช่วยเหลือกันและกัน

    -

    เข้าร่วมกิจกรรมดีที่เกี่ยวข้องให้ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    ชุมชนให้ความสำคัญกับชายหาดที่ต้องสะอาด ช่วยกันรักษาความสะอาด มีกิจกรรมเก็บขยะริมหาดร่วมกันในชุมชน กลุ่มเด็กเยาวชนเข้าร่วม

    -

    มีโอกาศได้เข้าร่วมกับโครงการ กิจกรรมดี เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม ขยะสารเคมีนำมาปรับใช้กับครอบครัว ชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

    บัตรทองเข้าบริการโรงพยาบาลสุขภาพตำบล ,โรงพยาบาลในเมือง

     

    การเข้าถึงสิทธิการรักษาพยาบาลที่รวดเร็วขึ้น มีหลักประกัน มีกองทุนสวัสดิการให้กับประชาชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    ชุมชนสร้างกฏกติกาในการขับเคลื่อนสร้างเสริมสุขภาพ ร่วมกับหน่วยงานในและนอกพื้นที่

    สสส.

    ผลักดันให้ภาครัฐกำหนดนโยบายคุ้มครองดูแลสุขภาพประชาชนที่เป็นรูปธรรม

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

    สัตว์น้ำที่จับโดยประมงพื้นบ้านต้องสะอาด ปลอดภัยกรณีรับซื้อโดยตรงจากชาวประมง

     

    ผลักดันให้เกิดการจัดตั้งกลุ่มเศรษฐกิจชุมชน หรือร่วมกับเครือข่ายจำหน่ายสินค้าอินทรีย์สร้างมูลค่ารายได้ให้ดีขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    ชุมชนมีการทำงานเชื่อมโยงกับเครือข่ายประมงพื้นบ้าน และหน่วยงานที่หลากหลาย

    -

    การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การสร้างภาคีเครือข่ายหน่วยงานในการทำงานร่วมกันให้เกิดความเข้มแข็งยิ่งขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    ชุมชนเกิดการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการ เพิ่มขึ้นจากทักษะการทำประมง

    สสส.สจรส.พี่เลี้ยง

    การพัฒนาทักษะความรู้เพิ่มขึ้น รู้จักวางแผนการติดตามประเมินปัญหา และการป้องกันแก้ไขปัญหา

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    มีการระดมทุนจากการรวมกลุ่มกันของประมงพื้นบ้าน และการสนับสนุนจากภายนอก เพื่อเกิดกองทุนได้ช่วยเหลือกัน คนทำงาน แกนนำ หรือคนในชุมชน

    -

    กองทุนเครื่องมือประมง บริการให้ทุนสมาชิกไปซื้อ ่ซ่อม เครื่องมือประมง หรือนำไปเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในครอบครัว

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    มีกลุ่มองค์กรที่ใช้เป็นฐานในการขับเคลื่อนงานร่วมกันของชุมชน คือ กลุ่มประมงพื้นบ้าน 3 อำเภอ กลุ่มสหกรณ์ประมงพื้นบ้านสงขลาจำกัด และสมาคมประมงพื้นบ้านชายฝั่งอ่าวไทย

    -

    การขับเคลื่อนงานสานต่อกับกลุ่มองค์กรภายนอกทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    มีการจัดทำข้อมูลการอนุรักษ์ฟื้นฟุ ที่ชัดเจน ที่สามารถเผยแพร่ หรือนำไปใช้ได้ทันที

    -

    ชุดข้อมูลการอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำ โดยชุมชน และแผนการวางซั้งกอ ปะการังเทียมโดยชุมชน การขยายทำร่วมกับหน่วยงาน เครือข่าย

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    ใช้ฐานข้อมูลชุมชน ผสมกับองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการตัดสินใจทำแผนปฏิบัติการ

     

    นำไปปรับใช้ให้สอดคล้องสมดุลกับแผนภายนอก

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    ประมงพื้นบ้านภูมิใจในภูมินิเวศของตน ถึงแม้นบางครั้งเกิดวิกฤต ที่ต้องย้ายออกไป เช่นประสบภัยพิบัติทุกคนก็ไม่สามารถทิ้งถิ่นฐานไปได้การอยู่ร่วมกันของคนในชุมชนที่มีความผูกพันธ์รักใคร่ทุกคนเป็นพี่น้องกัน

    -

    การพัฒนาชุมชนท้องถิ่นประมงพื้นบ้าน ให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ชุมชนปลอดยาเสพติดปลอดอุตสาหกรรมชายฝั่ง ส่งเสริมอาชีพ รายได้ คุณภาพชีวิตประมงพื้นบ้านให้ดีขึ้น

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    ใช้กิจกรรมที่เกิดประโยชน์กับส่วนรวม ในการสร้างการเข้ามามีส่วนร่วมของคนในชุมชน ทำกิจกรรมร่วมกัน

    สมาคมประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราบ

    การทำกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมเกิดประโยชน์กับชุมชนให้มากขึ้น มากกว่าการพูดคุย เช่น ทำปะการังเทียม จัดตั้งกองทุนประมงพื้นบ้าน แกนนำ คณะทำงานก็ได้รับประโยชน์ร่วมกัน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    ประมงพื้นบ้านเป็นกลุ่มคน ชุมชนที่มีวิถีชีวิตอย่างพอเพียงมาตั้งแต่บรรพบุรุษ

     

    ยึดหลัก เศรษฐกิจพอเพียง ปลูกทุกอย่างที่กินกินทุกอย่างที่ปลูก ลดรายจ่ายในครัวเรือน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    ชุุมชนอยู่ร่วมกัน ประกอบอาชีพส่วนใหญ่เหมือน กัน เป็นคนดั้งเดิมเป็นส่วนใหญ่ ทั้งหมดเสมือนเป็นญาติกัน

    -

    การช่วยเหลือออกปาก ออกแรง หรือทุนตามกำลังของแต่ละคน ในกรณีคนในชุมชนประสบความเดือดร้อน หรือขอความช่วยเหลือ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    ชุมชนให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการกำหนดตัดสินใจร่วมกัน

    -

    ผู้มีทักษะความรู้การทำประมง มีส่วนตัดสินใจสำคัญในการทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับฤดูกาลนั้นๆ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อมดี ที่บ้านพังสาย หมู่ 7 ต.กะดังงา อ.สทิงพระ จ.สงขลา จังหวัด สงขลา

    รหัสโครงการ 58-03836

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาย หม๊าด มรรคโช )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด