แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ สร้างหลาด(ตลาด)ในห้วยที่บ้านห้วยไม้ไผ่ ”

บ้านห้วยไม้ไผ่ หมู่ 12 ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นาง สุมณฑา ทองนาคขาว

ชื่อโครงการ สร้างหลาด(ตลาด)ในห้วยที่บ้านห้วยไม้ไผ่

ที่อยู่ บ้านห้วยไม้ไผ่ หมู่ 12 ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 58-04005 เลขที่ข้อตกลง 58-00-1907

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"สร้างหลาด(ตลาด)ในห้วยที่บ้านห้วยไม้ไผ่ จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านห้วยไม้ไผ่ หมู่ 12 ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
สร้างหลาด(ตลาด)ในห้วยที่บ้านห้วยไม้ไผ่



บทคัดย่อ

โครงการ " สร้างหลาด(ตลาด)ในห้วยที่บ้านห้วยไม้ไผ่ " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านห้วยไม้ไผ่ หมู่ 12 ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง รหัสโครงการ 58-04005 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 185,530.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 250 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้คนในชุมชนได้เรียนรู้ด้านการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัยและนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกิน
  2. เพื่อปรับสภาพพื้นที่ของครัวเรือนในชุมชนให้เป็นครัวเรือนต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ
  3. เพื่อพัฒนาศักยภาพกลไกในบริหารจัดการโครงการ
  4. เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน
  5. เพื่อให้คนในชุมชนผลิตอาหารปลอดภัยกินเอง
  6. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. เข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศน์โครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้

    วันที่ 29 กันยายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมประชุมการจัดประชุมปฐมนิเทศน์โครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ ประจำปี 2558 รหว่างวันที่ 29-30 กันยายน 2558 ณ โรงแรมธรรมรินทร์ธนา จ.ตรัง ในช่วงวันที่ 1 ทีม สจรส.ม.อ.ให้ความรู้เรื่องหลักการบริหารจัดการโครงการ การรายงานในเวบไซต์คนใต้สร้างสุข การจัดทำเอกสารการเงินโครงการและการเขียนรายงานในเวบไซต์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการเข้าร่วมประชุมปฐมนิเทศน์โครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ ทำให้ได้รับทราบถึงแนวทางกระบวนการดำเนินงานที่เป็นระบบมีการถ่ายทอดความรู้จากท่านวิทยากรที่มีประสบการณ์สามารถเรียนรู้และเข้าใจง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการกำหนดปฏิทินการดำเนินงานของโครงการ การแบ่งกิจกรรมย่อยต่างๆรวมถึงการบันทึกการทำกิจกรรมรายงานผู้รับผิดชอบ เป็นต้น

     

    2 2

    2. ทำป้ายเขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 9 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดจ้างทำป้ายเขตปลอดบุหรี่จำนวน 1 ป้าย นำไปติดในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการติดป้ายเขตปลอดบุหรี่อย่างชัดเจน ไม่พบบุคคลที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ในพื้นที่่หรือบริเวณใกล้เคียง ในช่วงทำกิจกรรม

     

    100 100

    3. ประชุมเปิดตัวโครงการ

    วันที่ 9 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เริ่มต้นการดำเนินกิจกรรมโดยการประชาสัมพันธ์การเปิดตัวโครงการโดยทางโทรศัพท์ ผ่านเวทีการประชุมแกนนำ อสม.และการบอกต่อให้ทราบอย่างทั่วถึงและมีการจัดตัวแทนไปจัดจ้างทำป้ายโครงการจำนวน 1 ป้าย มีการมอบหมายการจัดเตรียมอาหารและอาหารว่างจัดเลี้ยงผู้เข้าร่วมประชุมและมีการติดต่อขอสนับสนุนวิทยากรผ่านทางพี่เลี้ยงโครงการ มีการจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรมและการจัดเตรียมสถานที่ประชุมให้มีความพร้อมต่อการรองรับสมาชิกที่เข้าร่วมประชุมเปิดตัวโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในการจัดประชุมเปิดตัวโครงการได้รับความสนใจจากสมาชิกในชุมชน ได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถในการแนะนำแนวทางการดำเนินโครงการ ทำให้สมาชิกสามารถเข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการได้อย่างชัดเจน มีวิธีการบรรยายที่ทำให้สมาชิกในชุมชนสามารถร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและเสนอแนวคิดที่แตกต่างออกมา ซึ่งทำให้สมาชิกสนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมโครงการมากขึ้น

     

    100 100

    4. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 1

    วันที่ 20 ตุลาคม 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประสานงานคณะทำงานและสภาผู้นำ นัดวันเวลาการประชุม เตรียมเนื้อหาการประชุม มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบในการจัดประชุมและสรุปผลการประชุมเพื่อนำข้อมูลมาประกอบการรายงานผลการดำเนินโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ในการจัดประชุมทีมสภาผู้นำมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในมุมมองที่แตกต่างกันบ้าง แต่มีการสรุปแนวทางการดำเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีเป้าหมายที่เหมือนกันคืออยากเห็นพี่น้องในชุมชนได้รับการบริโภคอาหารที่ปลอดภัยอย่างยั่งยืน

     

    30 25

    5. ประชุมออกแบบข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคของแต่ละครัวเรือน

    วันที่ 25 ตุลาคม 2558 เวลา 10:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประสานงานผู้เกี่ยวข้อง นัดวันเวลา มอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ จัดประชุม สรุปผลการดำเนินกิจกรรม
    • จัดประชุมคณะทำงานทีมสภาผู้นำ และเยาวชน ได้ประชุมกันเพื่อออกแบบเครื่องมือ และ ข้อมูล ที่จะใช้ในการสำรวจเรื่องพฤติกรรมการบริโภคของแต่ละครัวเรือน ได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรื่องที่จะไปสำรวจโดยมีพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการนำเสนอการออกแบบข้อมูลจากหัวหน้าโครงการและให้คณะทำงานร่วมแสดงความคิดเห็น โดยมีมติให้ออกแบบข้อมูลดังนี้

    • ส่วนที่ 1. ข้อมูลสมาชิกในครัวเรือน
    • ส่วนที่ 2. ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ
    • ส่วนที่ 3. ข้อมูลด้านพฤติกรรมด้านสุขภาพและพฤติกรรมการบริโภคอาหาร

    โดยเพิ่มเนื้อหารายละเอียดที่ครอบคลุมในทุกๆด้าน

     

    30 27

    6. ประชุมหมู่บ้าน

    วันที่ 9 พฤศจิกายน 2558 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เสนอวาระต่อผู้ใหญ่บ้านเพื่อประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของโครงการ แจ้งความคืบหน้าของการดำเนินโครงการต่อที่ประชุมซึ่งมีผู้เข้าร่วมการประชุมให้ความสนใจเข้าร่วมประชุมจำนวน 96 คน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีสมาชิกในชุมชนเข้าร่วมประชุมจำนวน 96 คน สรุปผลความคืบหน้าการดำเนินโครงการ แนวทางขั้นตอนที่จะทำต่อไป นัดคณะทำงานประชุมเพื่อกำหนดวันลงสำรวจข้อมูลพื้นฐานและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของแต่ละครัวเรือน

     

    50 96

    7. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 2

    วันที่ 10 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประสานงานคณะทำงานทั้ง 30 คนเพื่อนัดหารือถึงการดำเนินกิจกรรมต่อไป รวมถึงการจัดคณะทำงานลงพื้นที่สำรวจข้อมูล 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รายชื่อคณะทำงานที่จะลงสำรวจข้อมูล จำนวน 18 คน และแบ่งเขตการลงพื้นที่ตามเขตรับผิดชอบของ อสม.และนัดวัน เวลา การลงพื้นที่พร้อมกันในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2558 ถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2558

     

    30 26

    8. อบรมการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน

    วันที่ 22 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดอบรมการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน ณ วิทยาลัยภูมิปัญญา มหาวิทยาลัยทักษิณ เริ่มประชุม เวลา 09.00 น.ทีม สจรส.ม.อ.ได้อธิบายวิธีการดำเนินโครงการที่มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมในด้านการจัดเก็บเอกสารการเงิน เช่น การหักภาษี ณ ที่จ่ายใน การแนะนำการเขียนรายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมที่ปฏิบัติจริง ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรมทั้งในด้านผลิตและผลลัพธ์ รวมถึงการตรวจเอกสารการเงินในส่วนของโครงการที่ผ่านการดำเนินกิจกรรมมาแล้ว

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากการเข้าร่วมประชุมตลอดวันทำให้ได้ทราบถึงวิธีการดำเนินโครงการที่มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมในด้านการจัดเก็บเอกสารการเงิน เช่น การหักภาษี ณ ที่จ่ายในหมวดค่าตอบแทน ค่าจ้าง ค่าอาหาร ที่มีงบประมาณการจ่าย 1,000 บาทขึ้นไป โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 และรวบรวมเงินที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ส่งสรรพากร ภายในวันที่ 1 - 7 ของทุกเดือน เริ่มส่งเดือน มกราคม 2559
    • สำหรับการแนะนำการเขียนรายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมที่ปฏิบัติจริง ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรมทั้งในด้านผลิตและผลลัพธ์ รวมถึงการตรวจเอกสารการเงินในส่วนของโครงการที่ผ่านการดำเนินกิจกรรมมาแล้วนั้น ได้ผ่านการตรวจเอกสารจากพี่เลี้ยง ผลเป็นที่น่าพอใจ ส่วนการกรอกข้อมูลรายงานผลในระบบก็ได้รับการสุ่มตรวจจากในที่ประชุมผลก็เป็นน่าพอใจและได้รับคำแนะนำเพิ่มเติมจากวิทยากรในบางกิจกรรมที่สามารถนำไปปรับปรุงข้อมูลให้สมบูรณ์มากขึ้น

     

    3 3

    9. ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลพื้นฐานและการบริโภคอาหารของครัวเรือน

    วันที่ 5 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • กำหนดวันลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลและการส่งคืนข้อมูลให้ผู้รับผิดชอบเพื่อสรุป
    • สำรวจข้อมูลจำนวน 5 วัน เริ่มตั้งแต่่วันที่ 5 - 9 ธันวาคม 2558 ในวันแรกจะประสานคณะทำงานและตัวแทนเยาวชน ทำความเข้าใจข้อมูลก่อนลงสำรวจ ก่อนแยกย้ายลงไปสำรวจข้อมูลตามเขตรับผิดชอบของ อสม.จำนวน 21 เขต มีทีมสำรวจทั้งหมด 18 คน แบ่งหน้าที่กันคนละ 1 เขต บางคนก็ 2 เขต สำรวจพร้อมกับ อสม.
    • การสำรวจใช้วิธีการสัมภาษณ์รายครัวเรือนจำนวน 250 ครัวเรือน โดยสัมภาษณ์พร้อมกับมีแบบสอบถามให้กรอกข้อมูล

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากการสำรวจจำนวน 5 วัน สามารถสัมภาษณ์ครัวเรือนได้ครบ 250 ครัวเรือน โดยการช่วยเหลือจาก อสม.ในเขตที่รับผิดชอบ พบข้อมูลจากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล ทำให้ทราบถึงข้อมูลความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชนที่ชัดเจนขึ้น เช่น ด้านการพักอาศัย ข้อมูลด้านการประกอบอาชีพ พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อสุขภาพและด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารของแต่ละครัวเรือน รวมถึงได้ครัวเรือนที่สมัครเป็นสมาชิกเข้าร่วมโครงการสร้างหลาดในบ้านห้วยไม่ไผ่ถึง 120 ครัวเรือน

     

    21 18

    10. จัดประชุมหมู่บ้านเพื่อนำเสนอผลจากการลงสำรวจข้อมูล

    วันที่ 9 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประสานคณะทำงานเก็บข้อมูล เพื่อเตรียมข้อมูลที่จะนำเสนอ และแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน ทั้งด้านวิทยากร ด้านการจัดสถานที่ประชุม ด้านการต้อนรับ ลงทะเบียนและด้านอาหาร
    • เปิดเวทีประชุมและชี้แจงวัตถุประสงค์ และนำเสนอการทำโครงการ
    • ผู้รับผิดชอบโครงการ เล่าการทำกิจกรรมที่ผ่านมาให้ผู้คนในชุมชนได้รับทราบ
    • นำเสนอผลการสำรวจข้อมูลโดยเขียนผลที่ได้ลงในกระดาษคลิปชาร์ต และนำเสนอในที่ประชุม
    • แลกเปลี่ยนร่วมกันระหว่างคนในชุมชนและคณะกรรมการทำโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การจัดกิจกรรมได้รับความสนใจจากแกนนำรัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมถึง 105 คน เป็นจำนวนที่เกินเป้าหมายที่วางไว้ ในการประชุมได้มีการสรุปผลการลงสำรวจข้อมูลในทุกๆด้านให้สมาชิกรับทราบ รวมถึงการสมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกในโครงการจำนวน 125 คน รวมถึงการบอกกล่าวถึงการดำเนินงานในกิจกรรมต่อไป โดยเน้นย้ำการมีส่วนร่วมของสมาชิกเป็นสำคัญ
    • ข้อมูลที่นำเสนอจากการสำรวจ ประกอบด้วย 1. รายได้ ชาวบ้านส่วนใหญ่มีรายได้จากการเลี้ยงสัตว์ ทำสวนยาง ปลูกผัก และรับจ้าง 2. อาชีพ ชาวบ้านจะมีอาชีพหลักและอาชีพเสริม 3. การบริโภค และ 4.ค่าใช้จ่าย

     

    100 105

    11. จัดทำเวทีวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ

    วันที่ 14 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • มีการติดต่อประสานงานคณะทำงานและสภาผู้นำ นัดวันเวลาการจัดประชุม และประเด็นเนื้อหาที่ต้องคุย แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในทุกๆด้านตามความเหมาะสมของแต่ละคน
    • ประชุมวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากเวทีนำเสนอข้อมูลจากการสำรวจ ซึ่งข้อมูลหลักที่ได้จากเวทีในครั้งนั้น คือ สมาชิกครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 105 ครัวเรือน นำไปสู่การวางแผนหารือเพื่อดำเนินโครงการสร้างหลาด (ตลาด) ตามบ้าน ซึ่งคาดหวังไว้ว่า แต่ละบ้านจะมีสินค้าผลิตได้เอง เช่น บ้านนี้เลี้ยงปลาดุก อีกบ้านปลูกผักปลอดสารพิษ ใครต้องการจะแลกเปลี่ยนหรือซื้อสินค้า สามารถไปซื้อตามบ้านนั้นได้ หรือเอาสินค้าไปแลกเปลี่ยนกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากข้อมูลที่ได้รับจากการสำรวจพบว่า สมาชิกสมัครเข้าร่วมโครงการมากกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ทำให้ทราบว่าโครงการนี้ได้รับความสนใจจากสมาชิกในชุมชนเป็นอย่างมาก จึงมีการหารือถึงการดำเนินกิจกรรมที่มีงบประมาณจำกัดต่อการดำเนินกิจกรรมในอนาคต ผลสรุปคือ ให้สมาชิกทุกคนที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรมมีโอกาสเข้าร่วมได้ โดยจะมีการบริหารจัดการงบประมาณให้เพียงพอตามความเหมาะสม โดยเน้นย้ำให้สมาชิกมาร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตามแผนงานโครงการที่กำหนดไว้ ซึงมติจากที่ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำ จะให้การสนับสนุนการทำกิจกรรมกับสมาชิกที่เข้าร่วมทำกิจกรรมอย่างจริงๆมีการคุยเพิ่มเติมในส่วนของการทำกิจกรรมต่อไป ในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้การผลิตอาหารปลอดภัยของหมู่บ้าน ซึ่งตอนนี้ยังไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องเกิดฝนตกอย่างต่อเนื่อง มติที่ประชุมจึงให้มีการเลื่อนไปจัดกิจกรรมในตอนที่ฝนแล้งเพื่อความสะดวกต่อการดำเนินกิจกรรมที่คล่องตัวยิ่งขึ้น

     

    30 25

    12. ประชุมสภาผู้นำ ครั้งที่ 3

    วันที่ 21 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประสานงานในการนัดประชุมนอกสถานที่ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานและเปลี่ยนบรรยากาศการประชุม โดยมีการนัดประชุมที่ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านคุณทนงค์ แสงเกิด ม.3 บ้านม่วง ต.เขาย่า อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง ได้ประชุมหารือ เรื่อง แนวทางการพัฒนาการจัดทำศูนย์เรียนรู้การผลิตอาหารปลอดภัย ซึ่งที่ไปจัดประชุมนั้นเป็นศูนย์เรียนรู้ให้ได้ศึกษากันด้วย

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำในครั้งนี้ เป้าหมายคือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในจัดการศูนย์เรียนรู้ด้านการผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อนำไปปฏิบัติในพื้นที่ผลสรุปจากการประชุมได้มีแนวทางเกี่ยวกับการพัฒนาศูนย์เรียนรู้บ้านหวยไม้ไผ่ ที่จะจัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีองค์ประกอบด้านการเลี้ยงปลาเลี้ยงไก่และแนวทางการปลูกผักแบบปลอดภัยเพื่อเป็นจุดสาธิดด้านการผลิตอาหารปลอดภัยอย่างครบวงจร

     

    30 28

    13. จ่ายภาษี ณ สรรพากรอำเภอ

    วันที่ 7 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รวบรวมเงินค่าภาษีที่หักไว้ จ่ายให้สรรพากร อำเภอป่าพะยอม  จังหวัดพัทลุง เป็นจำนวนเงิน 158 บาท

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้จ่ายเงินภาษีให้สรรพากรตามวันเวลาที่กำหนดไว้

     

    1 1

    14. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 4

    วันที่ 9 มกราคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประสานงานคณะทำงานโดยการทำหนังสือเชิญเข้าร่วมประชุม ดำเนินเวทีโดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมเสนอความคิดเห็นเพื่อวางแผนการปฏิบัติงานในกิจกรรมต่อไป โดยนัดวันทำกิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้การผลิตอาหารปลอดภัยในปลายเดือนนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นัดวันทำกิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้การผลิตอาหารปลอดภัยในปลายเดือนนี้ กำหนดการที่แน่ชัดทางหัวหน้าโครงการจะแจ้งเป็นหนังสือเชิญประชุมในโอกาสต่อไป

     

    30 30

    15. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 5

    วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประสานงานสภาผู้นำและคณะทำงาน นัดวันเวลาการประชุมพร้อมกัน
    • จากการกำหนดการจัดกิจกรรมพัฒนาศูนย์เรียนรู้การผลิตอาหารปลอดภัยที่ผ่านมาเจอกับภาวะฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมดังกล่าวได้ จึงหารือถึงการเปลี่ยนปฏิทินการดำเนินโครงการเพื่อเลื่อนไปให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มติที่ประชุมจึงให้ขยายเวลาไปตามความเหมาะสม โดยหัวหน้าโครงการจะนัดวันประชุมและแจ้งเป็นหนังสือเชิญประชุมในโอกาสต่อไป

     

    30 29

    16. ถอนเงินค่าเปิดบัญชี

    วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ดำเนินการหักเงินค่าเปิดบัญชีคืน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการได้ดำเนินการหักค่าเปิดบัญชีธนาคารจำนวน 500 บาท เป็นที่เรียบร้อย

     

    3 3

    17. พบพี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสารการเงินและรายงานกิจกรรม

    วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รับการประสานงานจากพี่เลี้ยงถึงการนัดประชุมเพื่อตรวจสอบข้อมูลต่างๆและการจัดเก็บหลักทางการเงินที่ถูกต้องชัดเจน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบโครงการและการเงินของโครงการ ได้มีการตรวจสอบหลักฐานที่เกี่ยวข้องจนถูกต้องครบถ้วน และสามารถนำไปสู่การรายงานผลงวดที่ 1 ได้

     

    2 2

    18. พัฒนาศูนย์เรียนรู้การผลิตอาหารปลอดภัย

    วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หัวหน้าโครงการจัดทำหนังสือเชิญคณะทำงานและแกนนำสมาชิกที่สมัครเข้าร่วมโครงการ โดยมีการประชุมหารือถึงแนวทางการพัฒนาศูนย์ในรูบแบบการผลิตอาหารปลอดภัยของชุมชน โดยจัดทำเป็นแปลงส่วนรวมในการปลูกผัก เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ มีคณะกรรมการดูแลรับผิดชอบการผลิตอาหาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการประชุมทำให้ทุกคนมีความคิดตรงกันเกี่ยวกับการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ด้านการผลิตอาหารปลอดภัย โดยแบ่งหน้าที่ต่างๆให้กับคณะทำงานที่เข้าประชุมในการจัดซื้อวัสดุ การจัดทำป้าย การจัดทำแปลงสาธิตการผลิตอาหารปลอดภัยและแปลงเพาะชำพันธุ์พืชและสมุนไพรอาหารอย่างต่อเนื่อง โดยมีการนัดทำกิจกรรมร่วมกันอีกในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 13.00 น.

     

    30 25

    19. ประชุมจัดทำรายงานความก้าวหน้า งวด 1

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงนำเอกสารการเงินส่งให้เจ้าหน้าที่ สจรส.ม.อ.ตรวจสอบความถูกต้องก่อนส่งรายงานงวด 1

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้รับคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ในการจัดทำเอกสารการเงินให้ถูกต้อง และส่งรายงานงวด 1 ให้ สจรส.ม.อ.

     

    2 1

    20. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 6

    วันที่ 9 พฤษภาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดประชุมชี้แจงความคืบหน้าของการดำเนินโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาสัมพันธ์การพัฒนาศูนย์เรียนรู้การผลิตอาหารปลอดภัยและการให้บริการพันธุ์พืชอาหารและสมุนไพรให้กับสมาชิก หารือแนวทางการดำเนินกิจกรรมต่อไปนัดวันประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 9 มิถุนายน 2559

     

    30 25

    21. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 7

    วันที่ 9 มิถุนายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง แจ้งความคืบหน้าของการจัดสรรงบประมาณงวดที่ 2 และกิจกรรมที่จะต้องดำเนินการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีคณะทำงานเข้าร่วมประชุม 24 คน ได้รับทราบข้อมูลความคืบหน้าของโครงการและร่วมคิดแนวทางการดำเนินกิจกรรมต่อไป โดยกำหนดจัดการประชุมหารือการจัดอบรมให้ความรู้แก่สมาชิกโครงการในวันที่ 29 มิถุนายน 2559

     

    30 24

    22. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 23 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • รับการประสานงานจากพี่เลี้ยงโครงการ ให้เข้าร่วมประชุมตอบสัมภาษณ์ถึงผลการดำเนินโครงการฯที่ผ่านมา
    • ให้สัมภาษณ์ถอดบทเรียนผลการทำโครงการที่ผ่านมา โดยมีคุณถนอม ขุนเพ็ชร ทำหน้าที่สังเคราะห์โครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้ตอบสัมภาษณ์แก่เจ้าหน้าที่ สจรส.มอ.ถึงผลการดำเนินงานโครงการฯที่ผ่านมาและกิจกรรมที่จะทำต่อไปในอนาคต
    • เกิดแรงบันดาลใจในการทำโครงการปีต่อไป

     

    2 2

    23. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 8

    วันที่ 29 มิถุนายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดคณะทำงานมาประชุมปรึกษาหารือถึงรูปแบบการจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่สมาชิกโครงการฯในเรื่องต่างๆ เช่นการผลิตอาหารปลอดภัย การเลี้ยงปลา การเลี้ยงไก่ เพื่อการบริโภค ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน เป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    นัดคณะทำงานมาประชุมปรึกษาหารือถึงรูปแบบการจัดกิจกรรมให้ความรู้แก่สมาชิกโครงการฯในเรื่องต่างๆ เช่นการผลิตอาหารปลอดภัย การเลี้ยงปลา การเลี้ยงไก่ เพื่อการบริโภค ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ในครัวเรือน เป็นต้น โดยนัดวันอบรมเป็นวันท่ี 14-15 กรกฎาคม 2559 ณ ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชน เวลา 09.00 น.ถึง 16.30 น.โดยจะออกเป็นหนังสือเชิญและตอบรับการเข้าร่วมกิจกรรม ส่งถึงสมาชิกทุกคน

     

    30 25

    24. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 9

    วันที่ 6 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประสานนัดแนะวันเวลาเข้าร่วมประชุม  กำหนดหัวข้อการประชุมและนำประเด็นมาหารือพร้อมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการประชุมได้ผลสรุปดังนี้
    - การกำหนดกิจกรรมการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป โดยให้มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการผลิตอาหารปลอดภัยแก่สมาชิกที่เข้าร่วมโครงการฯจำนวน 80 คนเป็นเวลา 2 วัน โดยเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ในประเด็นต่างๆ เช่น การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ลดเสี่ยง ลดโรค ศัตรูพืชและการจัดการ การทำปุ๋ยหมัก  การทำน้ำหมักชีวภาพ การทำปลาดุกร้า ปลาดุกแดดเดียวและไข่เค็ม ในวันที่ 14-15 กรกฎาคม 2559 ณ ศูนย์สาธารณสุขมูลฐานชุมชนบ้านห้วยไม้ไผ่ โดยมอบหมายให้ตัวแทนคณะทำงานประสานความร่วมมือจากวิทยากรที่มีความรู้มาเป็นวิทยากรในกิจกรรมดังกล่าว และนัดแจ้งความคืบหน้าในการประชุมสภาผู้นำในวันที่ 9 กรกฎาคม 2559

     

    30 25

    25. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 10

    วันที่ 9 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประสานงานนัดแนะการประชุม กำหนดประเด็นแลกเปลี่ยนและประเด็นที่ติดตามต่อเนื่องเพื่อการดำเนินกิจกรรมต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการนำเสนอความคืบหน้าการติดต่อประสานงานวิทยากรในการอบรมส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการผลิตอาหารปลอดภัยแก่สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ โดยรับความมือจาก ผอ.รพ.สต.บ้านบ่อทรายในหัวข้อการดำเนินชีวีตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ลดเสี่ยง ลดโรค เจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดินในหัวข้อการทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ เกษตรอำเภอป่าพะยอมในหัวข้อศัตรูพืชและการจัดการ แกนนำกลุ่มปลาดุกร้าในหัวข้อการถนอมอาหารโดยการทำปลาดุกร้าและปลาดุกแดดเดียว โดยกำหนดการเชิญหนังสือเข้าร่วมอบรมพร้อมแบบตอบรับการเข้าอบรมผ่านคณะทำงานและสภาผู้นำ โดยนำแบบตอบรับมาคืนมาเพื่อจะได้ทราบจำนวนผู้เข้าร่วมอย่างชัดเจน ส่วนเรื่องอาหารว่างและอาหารกลางวันจัดให้มีผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจนด้วย เน้นให้เป็นไปตามรายละเอียดที่กำหนดไว้้ในโครงการ นัดคณะทำงานและสภาผู้มาถึงที่อบรมก่อนเวลา 08.30 น.

     

    30 25

    26. อบรมส่งเสริมการเรียนรู้ครั้งที่ 1

    วันที่ 14 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หลังจากกำหนดการอบรมชัดเจนทางคณะทำงานได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในด้านต่างๆ เช่นการติดต่อประสานงานวิทยากรการส่งหนังสือเชิญแก่สมาชิก การจัดเตรียมสถานที่สำหรับการอบรมและการจัดการด้านอาหารว่างและอาหารกลางวัน เป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การจัดอบรมในช่วงเช้า ได้รับความร่วมมือจาก คุณอัษฎาวุธ ศิริธร ผอ.รพ.สต.บ้านบ่อทราย มาเป็นวิทยากรในหัวข้อ การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ลดเสี่ยง ลดโรคและผลกระทบจากการบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพ ในช่วงบ่ายได้รับความร่วมมือจากคุณนิภาพร ชูกิจ นวก.การเกษตรชำนาญการ จากสถานีพัฒนาที่ดิน จ.พัทลุง มาให้ความรู้ในหัวข้อ คุณอัษฎาวุธ ศิริธร ผอ.รพ.สต.บ้านบ่อทราย มาเป็นวิทยากรในหัวข้อ การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ลดเสี่ยง ลดโรคและผลกระทบจากการบริโภคอาหารที่มีผลต่อสุขภาพ โดยการใช้ปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพ ซึ่งทางสมาชิกให้ความสนใจต่อกิจกรรมเป็นอย่างมาก สังเกตุจากการร่วมกิจกรรมในการแลกเปลี่ยนความรู้ในเวทีการอบรม ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและร่วมเสนอแนวคิดเพื่อนำไปสู่แนวทางการปฏิบัติจริง

     

    80 65

    27. อบรมส่งเสริมการเรียนรู้ ครั้งที่ 2

    วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    หลังจากกำหนดการอบรมชัดเจน  ทางคณะทำงานได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในด้านต่างๆ เช่นการติดต่อประสานงานวิทยากร  การส่งหนังสือเชิญแก่สมาชิก การจัดเตรียมสถานที่สำหรับการอบรมและการจัดการด้านอาหารว่างและอาหารกลางวัน เป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การจัดอบรมในช่วงเช้า ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานเกษตรอำเภอป่าพะยอม มาเป็นวิทยากรในหัวข้อ ศัตรูพืชและการจัดการ การปลูกผักปลอดสารพิษ การป้องกันและกำจัดโรคในผักโดยเน้นความปลอดภัยต่อการบริโภค ในช่วงบ่ายได้รับความร่วมมือจากแกนนำเกษตรกร มาให้ความรู้ในหัวข้อ การถนอมอาหารโดยการทำปลาดุกร้าและปลาดุกแดดเดียว ซึ่งทางสมาชิกให้ความสนใจต่อกิจกรรมเป็นอย่างมาก สังเกตุจากการร่วมกิจกรรมในการแลกเปลี่ยนความรู้ในเวทีการอบรม ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันและร่วมเสนอแนวคิดเพื่อนำไปสู่แนวทางการปฏิบัติจริง

     

    80 67

    28. จัดกิจกรรมดูงานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านอาหารปลอดภัย

    วันที่ 20 กรกฎาคม 2559 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นัดประชุมคณะทำงานกำหนดพื้นที่ที่จะไปดูงาน กำหนดวันเวลา มอบหน้าที่การประสานงาน จัดทำหนังสือส่งสมาชิก ลงพื้นที่ศึกษาดูงาน จัดทำกิจกรรมประเมินผลและสรุปผลการศึกษาดูงาน
    • เดินทางศึกษาดูงานเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ณ สวนบ้านคุณทนงค์ แสงเกิด ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ณ อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง และดูงานพื้นที่ อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การเดินทางไปศึกษาดูงานในครั้งนี้ได้มีการประสานงานที่ดี ทำให้การเดินทางเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ส่วนทางพื้นที่ก็ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี มีการนำเสนอการดำเนินกิจกรรมของแต่ละพื้นที่อย่างมีเนื้อหาสาระชัดเจน

    • จุดแรกที่ไปคือบ้านของคุณทนงค์ แสงเกิด เป็นหมอดินอาสาดีเด่น อยู่ในพื้นที่ อ.ศรีบรรพต ซึ่งเป็นต้นแบบการดำเนินชีวิตโดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีการปลูกผักปลอดภัย โดยเน้นการทำปุ๋ยหมักใช้เอง มีการเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ไข่ กินเองและเพิ่มรายได้ลดรายจ่ายให้กับครอบครัวตลอดมา
    • จุดที่ ๒ เป็นพื้นที่ของหมอดินอาสาอีกเช่นกัน บ้านคุณนิยม อรุณรัตน์ อยู่พื้นที่ ต.หานโพธิ์ อ.เขาชัยสน ซึ่งมีลูกชายคือคุณประยุทธ อรุณรัตน์ อดีตเจ้าหน้าที่แบงค์ พลักผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรอย่างเต็มรูปแบบ มีการดำเนินชีวิตอยู่อย่างพอเพียงเช่นกัน จุดนี้ได้เรียนรู้ถึงการใช้พื้นที่ทุกตารางนิ้วที่เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ปลูกทุกอย่างที่กินโดยเน้นการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ การทำอาชีพเสริมโดยการเลี้ยงผึ้ง และอาศัยการทำบัญชีครัวเรือนเพื่อนำไปสู่การรู้ตนเอง รู้รายรับ รู้รายจ่าย และแนวทางการหารายได้เพิ่มในอนาคต
    • จุดที่ 3 เป็นพื้นที่หมู่ที่ ๑๕ ต.โคกม่วง อ.เขาชัยสน มีผู้ใหญ่วิโรจน์ เหตุทองเป็นคนนำเสนอ มีภาคีเครือข่ายร่วมแลกเปลี่ยนการดำเนินกิจกรรมอย่างเป็นระบบ พื้นที่นี้เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ ที่ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหัวใจหลักในการดำเนินกิจกรรม มีการดำเนินกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การปลูกผักปลอดภัย การเลี้ยงหมูโดยหยวกหมัก การเลี้ยงไก่ไข่ การเพาะเห็ด การเลี้ยงปลา การเลี้ยงผึ้ง เป็นต้น
    • ซึ่งจากการไปดูงานในครั้งนี้ สมาชิกได้ประเมินความพีงพอใจออกมา ผลอยู่ในระดับดีมาก เพราะ ๑. เป็นการได้ออกมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่างพื้นที่นั้น สามารถนำมาเป็นแรงกระตุ้นให้มีการพัฒนาตัวเองและครอบครัวได้ ๒.ได้มีแนวคิดดีๆที่จะนำมาพัฒนาตัวเอง ครอบครัวและชุมชนได้ ๓.เป็นครั้งแรกของสมาชิกหลายๆคนที่มีโอกาสได้ไปศึกษาดูงานแบบนี้ เพราะได้ทั้งเนื้อหาสาระ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และได้ดูพื้นที่การปฏิบัติจริง จึงอยากให้จัดกิจกรรมแบบนี้อีกอย่างต่อเนื่อง

     

    60 50

    29. ประชุมทีมเฝ้าระวังการบริโภคอาหารครั้งที่ 1

    วันที่ 22 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการประสานงาน หารือแนวทางการจัดกิจกรรม โดยเน้นความร่วมมือของทีมงานและสมาชิกในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีทีมเฝ้าระวังการบริโภคอาหารที่มีความพร้อมที่จะลงพื้นที่เยี่ยมครัวเรือนเป้าหมายครบตามเป้าหมายที่วางไว้ จำนวน 15 คน มีการกำหนดรูปแบบการเฝ้าระวังด้านอาหารปลอดภัยดังนี้ 1.ด้านความสะอาดถูกสุขลักษณะ 2.ด้านการบริโภคอาหารที่ปลอดภัย 3.การลดการใช้สารเคมีในการผลิตอาหาร 

     

    15 15

    30. ประชุมทีมเฝ้าระวังการบริโภคอาหาร ครั้งที่ 2

    วันที่ 6 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทีมเฝ้าระวังการบริโภคอาหารปลอดภัย ลงพื้นที่เยี่ยมครัวเรือนเป้าหมายตามกำหนดการที่วางไว้  โดยแบ่งเขตรับผิดชอบออกเป็น 7 ชุด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทีมเฝ้าระวังการบริโภคอาหารปลอดภัย ลงพื้นที่เยี่ยมครัวเรือนเป้าหมายตามกำหนดการที่วางไว้  โดยแบ่งเขตรับผิดชอบออกเป็น 7 ชุด ได้ลงเยี่ยมครัวเรือนเป้าหมายจนครบ และได้รับการตอบรับที่ดีจากครัวเรือนต่างๆ

     

    15 15

    31. ประชุมกลุ่มกำหนดรายละเอียดและกติกาในการทำกิจกรรมของแต่ละกลุ่มครั้งที่ 1

    วันที่ 9 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นัดแนะสมาชิกเข้าร่วมประชุมตามเวลานัดหมาย จัดประชุมโดยเน้นการมีการมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นเพื่อการพัฒนาการผลิตอาหารปลอดภัย 

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการจัดประชุม ทำให้มีการกำหนดรายละเอียดและกติกาในการทำกิจกรรมของแต่ละกลุ่ม ดังนี้ กลุ่มปลูกผัก เน้นการลดการใช้ปุ๋ยเคมีและงดการใช้ยาฆ่าแมลง เน้นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพในการปลูกผัก กลุ่มเลี้ยงไก่ เน้นการเลี้ยงไก่ไข่กินเอง และหากมีเหลือให้มีการจัดจำหน่ายในหมู่บ้าน กลุ่มเลี้ยงปลา เน้นการผลิตปลากินเองและเน้นการถนอมอาหารเช่น การทำปลาดุกร้าไว้กินเองและจำหน่าย

     

    80 74

    32. ประชุมกลุ่มกำหนดรายละเอียดและกติกาในการทำกิจกรรมของแต่ละกลุ่ม

    วันที่ 10 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมต่อเนื่องของกลุ่มผลิตอาหารปลอดภัยเป็นวันที่ 2 มีการกำหนดกติกาการผลิตอาหารปลอดภัย รวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการรวมตัวกันจัดจำหน่ายในหมู่บ้าน ทั้งในด้านของผักปลอดภัย ไข่ไก่ และปลา เป็นต้น

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการจัดประชุมทำให้มีข้อตกลงร่วมกันว่า จะมีการผลิตอาหารปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดค่าใช้จ่าย ส่งเสริมรายได้ให้ครัวเรือน โดยเน้นการผลิตอาหารกินเองและหากมีเหลือก็ให้จัดจำหน่าย โดยจัดให้มีการนำผลผลิตมารวมกันจำหน่ายที่หอประชุมหมู่บ้านในทุกวันที่ 9 ของเดือน และจะมีตัวแทนสมาชิกสภาผู้นำชุมชน ผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นตัวกลางในการประสานงานด้านการตลาดให้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการประสานความร่วมมือกับหมู่บ้านอื่นๆที่สนใจให้มารับซื้อผลผลิตในพื้นทีต่อไปด้วย

     

    80 70

    33. ประชุมทีมเฝ้าระวังการบริโภคอาหารครั้งที่ 3

    วันที่ 17 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กำหนดวันเวลาและรายละเอียดการประชุม นัดคณะทำงานจากสภาผู้นำชุมชน ร่วมประชุมพร้อมกัน ร่วมเสนอความคิดเห็นผลการลงประเมินครัวเรือนต่างๆและแนวทางการทำกิจกรรมต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับทราบผลการลงพื้นที่ในการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารปลอดภัย

     

    15 14

    34. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

    วันที่ 21 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เดินทางเข้าประชุม 2 คนเพื่อรับการประเมินและตรวจสอบผลการดำเนินงานจากพี่เลี้ยง

    1. ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงาน
    2. ตรวจสอบความถูกต้องความสมบูรณ์ในเว็ปไซต์
    3. ตรวจสอบความสมบูรณ์ถูกต้องของเอกสารทางการเงิน
    4. ปรับแผนการดำเนินงานให้สามารถปิดโครงการได้ตามที่กำหนดไว้ในโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    พี่เลี้ยงแนะนำเรื่องการทำเอกสารการเงิน ต้องทำให้เป็นชุดกิจกรรม และเขียนรายละเอียดให้ครบถ้วน เก็บใส่แฟ้มให้เรียบร้อย

     

    2 2

    35. ประกวดครัวเรือนผลิตอาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ

    วันที่ 22 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมสภาผู้นำ กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินครัวเรือนต้นแบบผลิตอาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ ดังนี้

    • บ้านคงทนแข็งแรงอาศัยอยู่ได้เกิน๑๐ปี
    • มีการจัดระเบียบบริเวณรอบบ้านและภายในบ้านรวมถึงการจัดเก็บอุปกรณ์ภายในครัวเป็นระเบียบเรียบร้อย ปราศจากลูกน้ำ
    • คนในครัวเรือนปลอดอบายมุข
    • มีการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต
    • มีการปลูกผักกินเองเพียงพอต่อการบริโภคในครัวเรือน
    • มีการปลูกสมุนไพรที่จำเป็นไว้ใช้ไม่น้อยกว่า ๑๐ ชนิด
    • มีการเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่กินเอง
    • ครอบครัวมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือชุมชน
    • มีการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทย
    • ครอบครัวมีการออมและไม่เป็นหนี้นอกระบบ

    โดยมีการจัดตั้งตัวแทนสภาผู้นำเพื่อเป็นคณะกรรมการประเมิน ประสานงานกับแกนนำนิสิต คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ เป็นคณะกรรมการประเมิน นัดวันเวลาลงประเมินนำคะแนนการประเมินมาสรุปผล จัดลำดับผลการประเมิน มอบเกียรติบัตรเพื่อยกย่องผู้ผ่านการรับการประเมินตามลำดับ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการลงพื้นที่การประเมินและคัดเลือกครัวเรือนตันแบบการผลิตอาหารปลอดภัย มีผู้ผ่านการประเมินโดยการจัดลำดับคะแนนตามเกณฑ์การประเมินดังนี้

    • รางวัลชนะเลิศ นายเจิม ฤทธิไพโรจน์ รองอันดับ 1
    • นายประเสริฐ ทองนาคขาว รองอันดับ 2
    • นางประคอง หนูคง รองอันดับ
    • นายซิ่น รามหนู รองอันดับ
    • นางลัดดาวัลย์ ผุดปลอด

    รางวัลชมเชย 10 รางวัล คือ

    1. นางสุจินต์ สิทธิชัย
    2. นายประสพ หมวดอินทอง
    3. นางคิ่น มากรอด
    4. นางหวานใจ เทพปาน
    5. นายกิติพงษ์ ชินดำรงทรัพย์
    6. นายสิทธิเดช ยอดตระกูลชัย
    7. นางจินดา ด้วงเกตุ
    8. นางยุคนธ์ เแก้วเขียว
    9. นางสำลี ชินดำรงทรัพย์
    10. นายนันท์ ถัดสีทัย

    โดยมีการกำหนดมอบรางวัลในวันปิดโครงการ

     

    80 85

    36. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 11

    วันที่ 3 กันยายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประสานงานคณะทำงาน/สภาผู้นำชุมชน นัดวันเวลาประชุม จัดประชุมแลกเปลี่ยนและสรุปการดำเนินกิจกรรม กำหนดแนวทางการจัดกิจกรรมต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีสมาชิกเข้าร่วมประชุม 25 คน มีพี่เลี้ยงโครงการมาเยี่ยมและติดตามการดำเนินกิจกรรมโครงการ ประเด็นคุยถึงการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา แจ้งความก้าวหน้าของโครงการ ผลการไปประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง การปรับปรุงแบบประเมินและเฝ้าระวังการผลิตอาหารปลอดภัยของครัวเรือน และประเด็นการเสนอแนะจากพี่เลี้ยงโครงการ มีการขอรายชื่อตัวแทนโครงการเข้าร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ 3-5 ตุลาคม 2559 โดยที่ประชุมมอบหมายนางสุมณฑา ทองนาคขาวและนางยุคนธ์ แก้วเขียว ไปร่วมกิจกรรมดังกล่าว

     

    30 25

    37. ประชุมทีมเฝ้าระวังการบริโภคอาหารครั้งที่ 4

    วันที่ 7 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประสานงาน จัดประชุมแลกเปลี่ยนการลงพื้นที่เฝ้าระวังการผลิตอาหารปลอดภัยในครัวเรือน หารือแนวทางการจัดกิจกรรมในครั้งต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    การลงพื้นที่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ครัวเรือนให้การตอบรับที่ดีในการร่วมกิจกรรมและมีการพัฒนาครัวเรือนมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้การลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมสะดวกขึ้นเพราะสมาชิกให้ความสนใจในการดำเนินกิจกรรมและมีการพัฒนาครัวอย่างต่อเนื่อง

     

    15 15

    38. ประชุมทีมเฝ้าระวังการบริโภคอาหารครั้งที่ 5

    วันที่ 15 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประสานการจัดประชุม นำผลการลงพื้นที่มาแลกเปลี่ยนและสรุปกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้เข้าร่วมประชุมครบตามกำหนด รายงานผลการลงพื้นที่ สรุปผลการเฝ้าระวังการบริโภคอาหารในครัวเรือนแลกเปลี่ยนเรียนร่วมกัน จากการลงพื้นที่ของทีมงานจะพบถึงความแตกต่างของการดำรงชีวิตของสมาชิกแต่ละครัวเรือน ซึ่งล้วนแต่ทำให้มองเห็นแนวทางการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การจัดทำโครงการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องในอนาคต

     

    15 15

    39. ประชุมทีมเฝ้าระวังการบริโภคอาหารครั้งที่ 6

    วันที่ 22 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการประสานงานนัดแนะวันเวลาประชุม นำข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ มาสรุปและแลกเปลี่ยนกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการลงพื้นที่เฝ้าระวังการผลิตอาหารปลอดภัย ทำให้ได้ทราบถึงความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน ทั้งด้านการผลิตอาหาร พฤติกรรมการบริโภคอาหาร การดูแลสุขภาพของคนในครัวเรือนนั้นๆ รวมถึงการดูแลสภาพแวดล้อมบริเวณบ้าน พบว่าส่วนใหญ่แล้ว แต่ละครัวเรือนมีอาชีพหลักคือทำสวนยาง มีการเร่งรีบในการประกอบอาชีพ ทำให้มีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสม จากการพูดคุยและแนะนำ ทำให้สมาชิกมีแนวคิดคล้อยตามและหันมาสนใจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองเพิ่มขึ้น

     

    15 15

    40. ประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ งวด 2

    วันที่ 24 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รับการติดต่อการประสานงานจากพี่เลี้ยง นัดแนะทีมงานในการไปร่วมกิจกรรมเคลียร์เอกสารเพื่อรับการตรวจสอบ

    1. ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงาน
    2. ตรวจสอบความถูกต้องความสมบูรณ์ในเว็ปไซต์
    3. ตรวจสอบความสมบูรณ์ถูกต้องของเอกสารทางการเงิน
    4. ปรับแผนการดำเนินงานให้สามารถปิดโครงการได้ตามที่กำหนดไว้ในโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รับการตรวจสอบด้านเอกสาร ด้านข้อมูลด้านการเงิน ได้รับคำแนะนำและตรวจสอบจากพี่เลี้ยงโครงการ เพื่อให้เอกสารครบถ้วนสมบูรณ์

     

    2 2

    41. ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 12

    วันที่ 29 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการนัดแนะวันเวลา ประสานงาน จัดรูปแบบการประชุมโดยเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินกิจกรรมในรอบปี มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน สรุปผลการใช้จ่าย วางรูปแบบการกิจกรรมประชุมปิดโครงการ 

     

    30 25

    42. ประชุมปิดโครงการ

    วันที่ 29 กันยายน 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.ลงทะเบียน 2.จัดสถานที่จุดวางสินค้าของสมาชิก 3.ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลการดำเนินงาน 4.ประธานมอบเกียรติบัตรครัวเรือนต้นแบบการผลิตอาหารปลอดภัย 5.ประธานพบปะพูดคุยกับสมาชิกและปิดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีการสรุปผลการดำเนินงานโครงการที่ได้ทำอย่างครบถ้วนเพื่อรายงาน สจรส. โดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานในการปิดโครงการภายในเวที่มีการนำผลผลิตจากชุมชนมาจำหน่ายด้วย เช่น กล้วย ผักต่างๆ ไข่ไก่ ผลไม้และสินค้าที่มีการแปรรูปจากในชุมชน เช่นลูกหยี เป็นต้น มีการนำเสนอผลการดำเนินตั้งแต่เริ่มต้นในทุกกิจกรรมที่ทำและมีการมอบเกียรติบัตรให้กับครัวเรือนต้นแบบการผลิตอาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ 81 ราย จากการดำเนินโครงการมา 1 ปีทำให้ชุมชนมีครัวเรือนต้นแบบการผลิตอาหารปลอดภัยครบตามเป้าหมายที่วางไว้จำนวน 81 ครัวเรือน มีครัวเรือนปลูกผักร่วมยางที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ได้จำนวน 2 แปลง มีศูนย์เรียนรู้ด้านการผลิตอาหารปลอดภัยจำนวน 1 แห่งซึ่งจะมีธนาคารพันธุ์ผักพื้นบ้านและสมุนไพรอาหารที่พร้อมสำหรับการบริการสมาชิกและสามารถรองรับการศึกษาเรียนรู้จากชุมชนภายนอกได้

     

    100 91

    43. ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้

    วันที่ 3 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    รับการนประสานงานจากพีี่เลี้ยง คัดเลือกผู้เป็นตัวแทนเข้าร่วมจากเวทีสภาผู้นำ นัดวันเวลานัดหมาย เข้าร่วมกิจกรรมตามกำหนดการ ในการร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ วันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นเวลา 3 วัน ทำให้ได้เรียนรู้การถึงการดำเนินงานของชุมชนต้นแบบในพื้นที่ต่างๆ ทั้งรูปแบบการกลวิธีการดำเนินงาน กิจกรรมที่โดดเด่นและประสบผลสำเร็จ แนวทางการดำเนินกิจกรรมที่หลากหลาย ชมบู๊ทการจัดนิทรรศการที่บ่งบอกถึงวิถีชีวิตของชุมชนต่างๆ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางการขับเคลื่อนงานต่อไปได้

     

    2 2

    44. ค่าล้าง อัด ขยายถ่ายภาพ

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    มีการมอบหน้าที่ให้มีการรับผิดชอบด้านการถ่ายภาพกิจกรรม  ถ่ายภาพทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรม

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทำให้ได้ภาพกิจกรรมที่ทำให้เห็นถึงการดำเนินโครงการอย่างชัดเจนและสามารถนำถ่ายทอดสู่ชุมชนได้

     

    2 2

    45. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 13:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ค่าจัดทำรายงานและเข้าเล่มรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้รายงาน 1 เล่ม สามารถส่งให้ สสส.ได้ภายในเวลา

     

    2 2

    46. ติดตามผลการดำเนินงานโครงการภาพรวมประจำงวดที่ 2

    วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประชุมจัดทำรายงานร่วมกับพี่เลี้ยงและทีม สจรส.ม.อ.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้คำแนะนำเรื่องการเขียนรายละเอียดในเอกสารการเงิน การเพิ่มข้อมูลรายงานผลกิจกรรม ซึ่งกลับไปแก้ไข และส่งให้ สจรส.อีกครั้ง

     

    2 2

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อให้คนในชุมชนได้เรียนรู้ด้านการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัยและนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกิน
    ตัวชี้วัด : 1.1 ตัวแทนจำนวนครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมรับรู้การดำเนินโครงการร้อยละ 80 ของครัวเรือนทั้งหมด 250 ครัวเรือน 1.2 ประชาชนร้อยละ 80 รับรู้ข้อมูลด้านสถานการณ์แล้วเกิดความตระหนักในด้านความปลอดภัยของการบริโภคอาหาร 1.3 มีการกำหนดกฎ กติกา มาตรการของชุมชน หรือข้อตกลงเพื่อถือปฏิบัติร่วมกันของหมู่บ้าน จำนวน 1ชุด
    • คนในชุมชนร่วมรับรู้การดำเนินงานโครงการและเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 80 ของครัวเรือนทั้งหมด จำนวน 250 ครัวเรือน
    • มีครัวเรือนสมัครใจเข้าร่วมเป็นครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 120 ครัวเรือน จากที่กำหนดไว้ จำนวน 80 ครัวเรือน
    2 เพื่อปรับสภาพพื้นที่ของครัวเรือนในชุมชนให้เป็นครัวเรือนต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ
    ตัวชี้วัด : 1.1 มีครัวเรือนต้นแบบในการผลิตอาหารอาหารปลอดภัยอย่างน้อย 80 ครัวเรือน แบ่งการผลิตเป็น 3 ฐานได้แก่ครัวเรือนผลิตพืชผักปลอดภัย 60 ครัวเรือน ครัวเรือนเลี้ยงไก่พื้นเมือง 10 ครัวเรือน และครัวเรือนเลี้ยงปลา 10 ครัวเรือน 1.2 มีศูนย์เรียนรู้ธนาคารพันธุ์ผักพื้นบ้านและสมุนไพรอาหาร จำนวน 1 แปลงโดยมีผักและสมุนไพรอย่างน้อย 25 ชนิด 1.3 มีแปลงผักร่วมสวนยางพารา(สวนสมรม) จำนวน 2 แปลง 1.4 มีคณะกรรมการตรวจสอบอาหารปลอดภัย จำนวน 1 ชุด
    • มีครัวเรือนต้นแบบในการผลิตอาหารอาหารปลอดภัยอย่างน้อย 80 ครัวเรือน แบ่งการผลิตเป็น 3 ฐานได้แก่ครัวเรือนผลิตพืชผักปลอดภัย 60 ครัวเรือน ครัวเรือนเลี้ยงไก่พื้นเมือง 10 ครัวเรือน และครัวเรือนเลี้ยงปลา 10 ครัวเรือน

    • มีศูนย์เรียนรู้การผลิตอาหารปลอดภัย โดยมีฐานการเรียนรู้ จำนวน 5 ฐาน ได้แก่ ฐานปลูกผัก ฐานเลี้ยงปลา ฐานเลี้ยงไก่ ฐานผลิตปุ๋ยชีวภาพและฐานการจัดทำบัญชีครัวเรือน

    • มีธนาคารพันธุ์ผักพื้นบ้านและสมุนไพรอาหาร จำนวน 1 แปลงโดยมีผักและสมุนไพรอย่างน้อย 25 ชนิด
    • มีแปลงผักร่วมสวนยางพารา(สวนสมรม) จำนวน 2 แปลง
    3 เพื่อพัฒนาศักยภาพกลไกในบริหารจัดการโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1.1 มีคณะทำงานโครงการ 15 คน 1.2 มีการประชุมคณะทำงานทุกเดือน 1.3 มีการติดตามผลการดำเนินโครงการเป็นระยะอย่างน้อย 3 เดือน / ครั้ง
    • มีคณะทำงานโครงการ จำนวน 15 คน
    • มีการประชุมทุกเดือน
    4 เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน
    ตัวชี้วัด : 1. มีสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน จำนวน 30 คน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน แกนนำกลุ่มบ้าน กรรมการหมู่บ้าน ประธานชมรม อสม. แกนนำกลุ่มสตรี แกนนำกลุ่มผู้สูงอายุ แกนนำกลุ่มอาชีพ แกนนำกลุ่มเครื่องแกง กลุ่มสวัสดิการ เป็นต้น 2. สภาหมู่บ้านมีการประชุมทุกเดือน 3. ในการประชุมแต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบ 4. ในการประชุมแต่ละครั้ง มีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน
    • มีสภาผู้นำชุมชนที่ขับเคลื่อนงาน บริหารจัดการชุมชน จำนวน 35 คน และมีการแบ่งบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน
    • มีการประชุมทุกเดือน
    • ใช้วงคุยประชุมประจำเดือน เป็นวงในการวางแผน เตรียมงาน สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผลการทำงาน อย่างชัดเจน
    5 เพื่อให้คนในชุมชนผลิตอาหารปลอดภัยกินเอง
    ตัวชี้วัด : 1. มีครัวเรือนต้นแบบในการผลิตอาหารปลอดภัยกินเอง จำนวน 80 ครัวเรือน
    • เกิดครัวเรือนต้นแบบในการผลิตอาหารปลอดภัยกินเอง จำนวน 120 ครัวเรือน
    6 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
    • มีคณะทำงาน และผู้รับผิดชอบโครงการ เข้าร่วมกิจกรรมทุกครั้ง
    • มีการจัดทำป้ายรณรงค์สถานที่นี้ปลอดบุหรี่ จำนวน 2 ป้ายติดไว้ในสถานที่ประชุมและศูนย์เรียนรู้ฯ

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้คนในชุมชนได้เรียนรู้ด้านการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัยและนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการกิน (2) เพื่อปรับสภาพพื้นที่ของครัวเรือนในชุมชนให้เป็นครัวเรือนต้นแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ (3) เพื่อพัฒนาศักยภาพกลไกในบริหารจัดการโครงการ (4) เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน (5) เพื่อให้คนในชุมชนผลิตอาหารปลอดภัยกินเอง (6) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ สร้างหลาด(ตลาด)ในห้วยที่บ้านห้วยไม้ไผ่

    รหัสโครงการ 58-04005 รหัสสัญญา 58-00-1907 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    ฐานการเรียนรุ้การผลิตอาหารปลอดภัยของชุมชน

    ศูนย์เรียนรู้อาหารปลอดบ้านห้วยไม้ไผ่

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    ครัวเรือนเป้นแบบอย่างในการผลิตอาาหรที่ปลอดภัย

    ครัวเรือนต้นแบบจำนวน 10 ครัวเรือน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    ครัวเรือนลดใช้สารเคมีในการเกษตร

    ครัวเรือนต้นแบบจำนวน 10 หลัง

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    ข้อตกลงร่วมกันว่า จะมีการผลิตอาหารปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดค่าใช้จ่าย ส่งเสริมรายได้ให้ครัวเรือน

    รายงานกิจกรรม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    สร้างหลาด(ตลาด)ในห้วยที่บ้านห้วยไม้ไผ่ จังหวัด พัทลุง

    รหัสโครงการ 58-04005

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นาง สุมณฑา ทองนาคขาว )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด