แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


“ ซุปเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติ บ้านปะติมะ ”

บ้านปะติมะ หมู่ที่ 14 ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร

หัวหน้าโครงการ
นางสาว สุวรรณดี เทียมทัน

ชื่อโครงการ ซุปเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติ บ้านปะติมะ

ที่อยู่ บ้านปะติมะ หมู่ที่ 14 ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร จังหวัด ชุมพร

รหัสโครงการ 58-03812 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2080

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559


กิตติกรรมประกาศ

"ซุปเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติ บ้านปะติมะ จังหวัดชุมพร" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน บ้านปะติมะ หมู่ที่ 14 ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ซุปเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติ บ้านปะติมะ



บทคัดย่อ

โครงการ " ซุปเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติ บ้านปะติมะ " ดำเนินการในพื้นที่ บ้านปะติมะ หมู่ที่ 14 ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร รหัสโครงการ 58-03812 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 116,500.00 บาท จาก เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 120 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชนที่เข้มแข็ง
  2. เพื่อทำให้สมาชิกในชุมชนมีความตระหนักในการใช้ทรัพยากรป่าไม้อย่างคุ้มค่าและลดการใช้สารเคมี ?
  3. เพื่อส่งเสริมให้เกิดกลไกการดำเนินงานที่เข้มแข็ง ?
  4. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     


    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. การประชุมร่วมและการปฐมนิเทศ สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ครั้ง ที่ 1

    วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ได้รับคำแนะนำจาก สจรส.พี่เลี้ยง และ อาจารย์ได้ให้ความรู้เรื่องการทำโครงการที่ถูกต้อง เกี่ยวกับเอกสารทางการเงิน การจัดเก็บข้อมูล การลงบันทึกโครงการทางเวปไซด์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เข้าใจแนวทางในการลงโปรแกรม และสามารถบันทึกรายงาน

     

    2 2

    2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    วันที่ 7 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดทำป้านโครงการ และป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้ป้ายบอกโครงการซุปเปอร์มาร์เก็ตและป้ายสัยลักษณ์เขตปลอดบหรี่ที่ชัดเจน

     

    2 2

    3. จัดเวทีประชุมชี้แจงโครงการ

    วันที่ 8 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ทำความเข้าใจกับชาวบ้านและทีมผู้นำชชุมชนเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการ มีอาหารว่างเลี้ยง และ เลี้ยงอาหารเที่ยง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านและทีมงานในพื้นที่มีความเข้าใจตรงกันเพื่อสามารถดำเนินกิจกรรมต่อไปได้อย่างถูกต้อง และชุมชนได้ประโยชน์สูงสุด สามารถทำงานได่อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการที่ได้ประชุมร่วม และร่วมตกลงร่วมกัน

     

    80 82

    4. ถอนเงินค่าเปิดบัญชี

    วันที่ 8 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการถอนเงินออกจากบัญชีเงินฝาก จำนวน 100 บาท ตามที่ได้เปิดบัญชีไว้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ผู้รับผิดชอบและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการเดินทางไปธนาคารถอนเงินตามจำนวนเงินเปิดสมุดไว้ เป็นเงิน 100 บาท ออกจากสมุดบัญชีเงินฝาก ทำให้ยอดเงินที่มีตรงกับการสนับสนุนของสสส.ในงวดที่ 1

     

    2 2

    5. กิจกรรม การทำแผนชุมชน

    วันที่ 22 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กำหนดวิสัยทัศน์แนวทางในการทำกิจกรรมการทำผนชุมชน วิเคราะห์ชุมชน(SWOT) ถอดจุดเด่น จุดด้อยภายในชุมชน กำหนดยุทธศาสตร์/เป้าประสงค์ฯ ถอดทุกข์ (Mind map) ระดมความคิดเห็นของชาวบ้าน โยงใยปัญหาและจัดลำดับความสำคัญ จัดทำแผนชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านในชุมชนบ้านปะติมะได้มีส่วนร่วมในการกระตุ้นจิตสำนึกและ ความรับผิดชอบของคนในชุมชนให้มีจิตสาธารณะ  แล้วร่วมกันคิด  ร่วมกันจัดหา  ร่วมกันเรียนรู้/วิเคราะห์  เพื่อให้รู้และเข้าใจตนเองโดยใช้กระบวนการกิจกรรม การทำแผนชุมชน  คือการสำรวจข้อมูลปัญหาและศักยภาพของชุมชน การวิเคราะห์สาเหตุ/แนวทางแก้ไข  แล้วกำหนดอนาคตและทิศทางการพัฒนาตหมู่บ้าน ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็ง และพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนของชุมชน  กิจกรรมการทำแผนชุมชนบ้าน.ปะติมะ โดยได้รวบรวมข้อมูลของชุมชนด้านต่างๆ ตลอดจนสภาพปัญหาของชุมชน แล้วกำหนด    ทิศทางที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาชุมชนสู่อนาคตที่ชุมชนต้องการ ตลอดจนเป็นบทเรียนในการพัฒนาหมู่บ้านโดยภาพรวม    ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและให้การสนับสนุนของส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม

     

    10 27

    6. กิจกรรม การทำแผนชุมชน

    วันที่ 23 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กำหนดวิสัยทัศน์แนวทางในการทำกิจกรรมการทำผนชุมชน วิเคราะห์ชุมชน(SWOT) ถอดจุดเด่น จุดด้อยภายในชุมชน กำหนดยุทธศาสตร์/เป้าประสงค์ฯ ถอดทุกข์ (Mind map) ระดมความคิดเห็นของชาวบ้าน โยงใยปัญหาและจัดลำดับความสำคัญ จัดทำแผนชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านในชุมชนบ้านปะติมะได้มีส่วนร่วมในการกระตุ้นจิตสำนึกและ ความรับผิดชอบของคนในชุมชนให้มีจิตสาธารณะแล้วร่วมกันคิดร่วมกันจัดหาร่วมกันเรียนรู้/วิเคราะห์เพื่อให้รู้และเข้าใจตนเองโดยใช้กระบวนการกิจกรรม การทำแผนชุมชนคือการสำรวจข้อมูลปัญหาและศักยภาพของชุมชน การวิเคราะห์สาเหตุ/แนวทางแก้ไขแล้วกำหนดอนาคตและทิศทางการพัฒนาตหมู่บ้าน ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็ง และพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนของชุมชนกิจกรรมการทำแผนชุมชนบ้าน.ปะติมะ โดยได้รวบรวมข้อมูลของชุมชนด้านต่างๆ ตลอดจนสภาพปัญหาของชุมชน แล้วกำหนดทิศทางที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาชุมชนสู่อนาคตที่ชุมชนต้องการ ตลอดจนเป็นบทเรียนในการพัฒนาหมู่บ้านโดยภาพรวมซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและให้การสนับสนุนของส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม

     

    10 27

    7. กิจกรรม การทำแผนชุมชน

    วันที่ 24 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กำหนดวิสัยทัศน์แนวทางในการทำกิจกรรมการทำผนชุมชน วิเคราะห์ชุมชน(SWOT) ถอดจุดเด่น จุดด้อยภายในชุมชน กำหนดยุทธศาสตร์/เป้าประสงค์ฯ ถอดทุกข์ (Mind map) ระดมความคิดเห็นของชาวบ้าน โยงใยปัญหาและจัดลำดับความสำคัญ จัดทำแผนชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านในชุมชนบ้านปะติมะได้มีส่วนร่วมในการกระตุ้นจิตสำนึกและ ความรับผิดชอบของคนในชุมชนให้มีจิตสาธารณะ  แล้วร่วมกันคิด  ร่วมกันจัดหา  ร่วมกันเรียนรู้/วิเคราะห์  เพื่อให้รู้และเข้าใจตนเองโดยใช้กระบวนการกิจกรรม การทำแผนชุมชน  คือการสำรวจข้อมูลปัญหาและศักยภาพของชุมชน การวิเคราะห์สาเหตุ/แนวทางแก้ไข  แล้วกำหนดอนาคตและทิศทางการพัฒนาตหมู่บ้าน ซึ่งเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็ง และพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนของชุมชน  กิจกรรมการทำแผนชุมชนบ้าน.ปะติมะ โดยได้รวบรวมข้อมูลของชุมชนด้านต่างๆ ตลอดจนสภาพปัญหาของชุมชน แล้วกำหนด    ทิศทางที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาชุมชนสู่อนาคตที่ชุมชนต้องการ ตลอดจนเป็นบทเรียนในการพัฒนาหมู่บ้านโดยภาพรวม    ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและให้การสนับสนุนของส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม

     

    10 29

    8. กิจกรรมค้นหา ผู้นำธรรมชาติ สภาหมู่บ้าน สภาผู้นำ

    วันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    กล่าวรายละเอียดของกิจกรรม ค้นหาผู้นำธรรมชาติ สภาหมู่บ้าน สภาผู้นำ ร่วมกันแลกเปลียนเรียนรู้เพื่อหาผู้นำตามความถนัด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้มีการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นมีสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทุกคนมีความเข้าใจตรงกันมีโอกาสในการแสดงความคิดเห็นและสร้างความพึงพอใจในกิจกรรมในครั้งนี้ในการสรรคหาผู้นำธรรมชาติ

     

    50 50

    9. ย้อนวิถีชีวิต

    วันที่ 13 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เล่าวิถีชีวิตดั้งเดิมความเป็นมา ของชุมชน ความเป็นอยู่ วัฒนธรรมประเพณี การดำรงชีวิตประจำวันในยุคเก่าหรือเมื่อก่อน โดย ปราญช์ชุมชน
    จับกลุ่มเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ในการดำรงชีวิตเพื่อนำมาประยุคปรับใช้กับยุคปัจจุบัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    1. ได้การรวมกลุ่ม
    2. ได้แนวทางในการใช้ชีวิตความเป็นอยู่เมื่อก่อนมาปรับใช้ปัจจุบัน
    3. เยาวชนได้รับทราบบถึงประวัติความเป็นมาของชุมชน

     

    70 72

    10. ทบทวนติดตามประเมินโครงการพร้อมสรุป ครั้งที่ 1

    วันที่ 6 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ประเมินงานตามโครงการที่ผ่านมาเพื่อหาข้อผิดพลาดเป็นแนวทางแก้ไขปัญหา

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ได้แนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องการการเข้าร่วมกิจกรรมของ ชาวบ้านและผู้นำ

     

    50 8

    11. สร้างฐานอาหาร (ซุปเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติ บ้านปะติมะ)

    วันที่ 8 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุม ประชุมชี้แจง ชาวบ้าน ให้ความรู้แก่ชาวบ้านเพื่อการปลูกพืชผัก ให้เมล็ดพันธู์ผักแก่ชาวบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชาวบ้านได้ความรู้ในการปลูกผักพืชสวนครัวและสามารถนำเอาไปปฎิบัติจริง โดยนำเมล็ดผักตามที่โครงการซุปเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติ บ้านปะติมะ แจกไปปลูกในครัวเรือน สามารถลดรายจ่ายโดยการนำผลผลิตมารับประทานเองในครัวเรือน

     

    35 37

    12. กลุ่มสร้างฐานอาหาร (ซุปเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติ)

    วันที่ 9 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1.จัดหาสมาชิกกลุ่มปลูกผัก 2. แจกเมล็ดพันธ์ุผัก 3. แบ่งกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมในการปลูกผัก

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

      ชาวบ้านเกิดการรวมกลุ่มเพื่อปลูกผัก

     

    35 35

    13. กิจกรรมปลูกป่า รักษ์ ษา ต้นน้ำ ครั้งที่ 1

    วันที่ 12 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบพร้อมคณะทำงาน จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ ในพิ้นที่ โดยมีเจ้าหน้าที่ป่าไม้ร่วมปลูกและอำนวยความสะดวกในกิจกรรมครั้งนี้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ส่วนผู้รับผิดชอบพร้อมคณะทำงานจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ ในพิ้นที่ จำนวนต้นไม้ที่ปลูก 400 ต้น ในพื้นเขตอุทยานน้ำตกหงาว บ้านปะตืมะ หมู่ที่ 14 ซอยคลองพละ

     

    47 59

    14. อบรมการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน โดย สจรส.ม.อ.

    วันที่ 12 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    คณะกรรมการโครงการนำเอกสารโครงการ เอกสารการเงิน และเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องเข้าพบพี่เลี้ยง สจรส.มอ.และพี่เลี้ยงจังหวัดที่โรงแรมร้อยเกาะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะกรรมการโครงการนำเอกสารโครงการ เอกสารการเงิน และเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องเข้าพบพี่เลี้ยง สจรส.มอ.และพี่เลี้ยงจังหวัดที่โรงแรมร้อยเกาะเพื่อร่วมตรวจสอบความถูกต้องและร่วมเรียนรู้เรื่องการลงรายงานที่ถูกต้อง และเรื่องการยื่นและหักภาษี ณ ที่จ่ายของโครงการในการดำเนินการกิจกรรมต่างๆในโครงการ โดยที่กรณีจ่ายเงินของโครงให้ผู้รับจ้างหรือผู้ประกอบการเกิน 1,000 บาท ให้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นต้น

     

    2 0

    15. ตั้งกติกาชุมชน

    วันที่ 28 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    1. จัดการประชุมทำความเข้าใจกับชาวบ้าน หาแนวทางในการแก้ไขปัญหา 2.โดยให้ชาวบ้านเป็นผู้เสนอแนวคิดและปัญหา เพื่อหาแนวทางร่วมในการจัดตั้งกติกาชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ประชาชนและแกนนำต่างๆในชุมชนร่วมกันกำหนดกติกาของชุมชน และร่วมกันประชาคมจนได้กติกาหรือมาตรการของชุมชน จำนวน 12 ข้อ ได้แก่
    1. กำหนดให้มีการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านและกลุ่มต่างๆทุกวันที่ 8 ของเดือน โดยให้มีตัวแทนครัวเรือนอย่างน้อยบ้านละ 1 คน เข้าร่วมประชุม 2. กำหนดให้มีการพัฒนาเส้นทางเข้าหมู่บ้านในทุกๆ 3 เดือน โดยกำหนดเป็นทุกวันที่ 10 ของเดือนนั้นๆ 3. เรื่องของกองทุนภัยพิบัติที่มีการระดมทุนทุกเดือนๆละ 20 บาท จะมีการบริหารจัดการในลักษณะโซน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนกำหนดการแบ่งเก็บเป็น 3 โซน ได้แก่ 1)โซนคลองหรั่ง 2) โซนคลองพละ 3) โซนกลางบ้าน ให้ประชาชนส่งได้ที่ตัวแทนกรรมการที่รับผิดชอบของแต่ละโซน 4. เรื่องขยะในชุมชน ห้ามทิ้งขยะบริเวณเส้นทางสัญจรของหมู่บ้านทุกเส้นทาง และให้แต่ละบ้านมีการคัดแยกขยะก่อนทิ้งเพื่อลดปริมาณขยะ 5. ให้ทุกคนร่วมกันอนุรักษ์ป่าและเพิ่มพื้นที่ป่าด้วยการปลูกป่าปีละครั้ง 6. ห้ามทุกคนล่าสัตว์ป่าสงวนในพื้นที่ป่า หากผ่าฝืนจำเป็นต้องนำตัวส่งเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการตามกฏหมาย 7. ห้ามลักขโมยของ ของผู้อื่น หากมีการทำผิดต้องนำตัวส่งตำรวจเพื่อดำเนินการตามกฏหมาย 8. ห้ามนำยาเสพติดเข้ามาในหมู่บ้านหากพบเจอจำเป็นต้องปฏิบัติตามหน้าที่จับและนำตัวส่งตำรวจ 9. ให้ทุกคนดูแลรักษาและทรัพยากรธรรมชาติของหมู่บ้านไว้ให้เสมือนเป็นทรัพย์สมบัติของตนเอง

     

    100 72

    16. กิจกรรมเสริมการมีส่วนร่วม พายแพ ม.14

    วันที่ 1 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    เข้าร่วมในกิจกรรมพายแพร่วมกับ หมู่ที่ 1 บ้านเขาตะเภาทองจัดขึ้น เพื่อสร้างความสัมพันธ์ ความรักสามัคคีร่วมกันของสมาชิกในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ชุมชนได้จัดกิจกรรมเนื่องในวันปีใหม่ โดยช่วงเช้ามีการทำบุญตักบาตร และในช่วงสาย ได้ร่วมกับชุมชนบ้านเขาตะเภาทองจัดกิจกรรมให้สมาชิกชุมชนได้ร่วมสนุกสนานและสร้างความสัมพันธ์ร่วมกัน สร้างความรักสามัคคี ระหว่าง สมาชิกทั้งในชุมชนเองและนอกชุมชน มีชาวบ้านเข้าร่วมถึง 100 คน จากที่ตั้งเป้าไว้ 50-60 คน และจากจัดกิจกรรมครั้งนี้ทำให้เห็นการมีส่วนร่วมในการจัดงานของชาวบ้าน ตั้งแต่ร่วมบริจาคเงินเป็นค่าอุปกรณ์เชียร์และค่าแต่งกายของกองเชียร์ ร่วมสนับสนุนอาหารคาวหวาน อาหารว่าง(พี่เลี้ยงนำนมและน้ำผลไม้มาสนับสนุน 80 กล่อง) เห็นจุดเด่นและข้อบกพร่องภายในชุมชนนำไปสู่การแก้ไขพัฒนาให้ชุมชน น่าอยู่ต่อไป

     

    50 100

    17. พบพี่เลี้ยง

    วันที่ 21 มกราคม 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    นำเอกสารโครงการและเอกสารการเงินที่ดำเนินการไปแล้วให้พี่เลี้ยงทำการตรวจสอบ ครั้งที่ 1 พร้อมการลงรายงานให้เป็นปัจจุบัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    สามารถลงรายงานกิจกรรมต่างๆที่ดำเนินการไปแล้วพร้อมรูปภาพประกอบเป็นปัจจุบัน ในส่วนของเอกสารทางการเงินพี่เลี้ยงตรวจสอบแล้วยังไม่เรียบร้อยต้องกลับไปดำเนินการให้ถูกต้อง

     

    2 2

    18. ทบทวนติดตามประเมินโครงการครั้งที่ 2

    วันที่ 25 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    จัดประชุมคณะทำงานประเมิณผลของกิจกรรมเพื่อเสนอ แก้ไขกันต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    คณะทำงานโครงการทั้ง 5 คน ได้ร่วมประชุมทบทวนกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เมื่อเทียบกับแผนงานที่วางไว้ พบว่าบางกิจกรรมมีการจัดทำเพิ่มเติมโดยไม่ใช้งบของโครงการ เช่น การสร้างความสัมพันธ์ของสมาชิกชุมชนในการเข้าร่วมแข่งขันแพในวันปีใหม่หลังทำบุญเลี้ยงพระ ร่วมกับหมู่บ้านใกล้เคียง ส่งผลให้เกิดความสามัคคีทั้งในและนอกชุมชน ทั้งเด็ก เยาวชนและครอบครัว เป็นต้น นอกจากนี้ได้วางแผนการลงรายงานซึ่งอาจต้องไปเช่าอินเตอร์เน็ตของร้านในตัวอำเภอหรืออาจขอใช้บริการจากเทศบาล(ชุมชนนี้ไม่มีอินเตอร์เน็ตและสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่เสถียร)

     

    50 5

    19. ติดตามโครงการ ครั้งที่ 2

    วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00-16.00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    ผู้รับผิดชอบโครงการพร้อมกับเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ เข้ารับการติดตามโครงการจากทีม สจรส มอ.

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    จากการตรวจสอบของพี่เลี้ยงจังหวัดและพี่เลี้ยง สจรส.มอ พบว่าการเลือกกิจกรรมหลักยังไม่ถูกต้อง รายงานการเงินมีต้องแก้ไขปรับปรุง ซึ่งพี่เลี้ยงจังหวัดและคณะกรรมการโครงการได้แก้ไขจนถูกต้อง จนสามารถสรุปปิดโครงการงวดที่ 1 และส่งรายงานการเงิน ง1 ส1 ประจำงวดที่ 1 ได้

     

    5 2

    20. ทบทวนติดตามประเมินโครงการพร้อมสรุป ครั้งที่ 3

    วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมคณะกรรมการโครงการ เรื่อง จัดตารางเวลาทำกิจกรรมในงวดที่ 2 และทบทวนกิจกรรมที่ทำผ่านมา วิเคราะห์ข้อมูลหาข้อสรุปในการดำเนินกิจกรรมต่อไป

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ข้อสรุปจากการประชุม ทางคณะกรรมการไก้จัดทำกิจกรรมของโครงการต่อในงวดที่ 2 ส่งผลให้สมาชิกชาวบ้าน มีการต่อยอดจัดกิจกรรมภายในหมู่บ้านคืองานกีฬา สมาชิกส่งรายการกีฬาบอลเล่บอลซักซ้อมและเตรียมความพร้อมเพื่อไปแข่งขันกีฬาสัมพันธ์ ในงาน อบต.พะโต๊ะ ในวันที่ 8 เมษายน 2559

     

    25 25

    21. จัดทำรายงานความก้าวหน้างวดที่ 1

    วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยง เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยของรายงานงวดที่ 1 ก่อนส่งให้ สจรส.ม.อ.เพื่อส่ง สสส.อีกครั้ง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • พี่เลี้ยงได้ตรวจสอบความเรียบร้อยของรายงาน พบว่า รายงานการเงินถูกต้องสอดคล้องกับเอกสารการเงิน และข้อมูลการรายงานผลเรียบร้อย สามารถส่งรายงานให้ทาง สจรส.เพื่อรายงานความก้าวหน้างวดที่ 1 ได้ทันในเวลา

     

    2 2

    22. กิจกรรมเรียนรู้การจัดทำ บัญชีครัวเรือน รายรับ-รายจ่าย

    วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดเวทีให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำบัญชีครัวเรือน โดยวิทยากรนาย บุญเชิญ ดำคำ ที่มีความรู้เกี่ยวกับการทำบัญชีครัวเรือนมาพูดคุยสร้างความเข้าใจให้กับชาวบ้าน และคณะกรรมการโครงการซุปเปอร์มาร์เก็ต เข้าใจและสามารถนำไปปฎิบัติได้

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชาวบ้านสมาชิกโครงการซุปเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติ รู้จักการวางแผน การใช้จ่ายในครัวเรือน สามารถ จดบันทึก รายรับ รายจ่าย ช่วยบันทึกความจำในแต่ละวัน เพื่อเป็นข้อมูลฐานะทางการเงิน ช่วยพัฒนานิสัยในการทำงานอย่างเป็นระบบ ช่วยพัฒนาให้มีความรับผิดชอบรู้จักการประหยัดค่าใช้จ่ายเพื่อกำหนดเป้าหมายทางการเงิน ก่อนปิดประชุมทางชาวบ้านจะกลับไปจดบันทึกรายรับรายจ่าย เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนจัดการหนี้สินอีกครั้ง

     

    100 100

    23. ทบทวนติดตามประเมินโครงการพร้อมสรุป ครั้งที่ 4

    วันที่ 8 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการโครงการได้ประชุมสร้างความเข้าใจและพัฒนาให้กับชาวบ้านในชุมชน พูดคุยทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา สรุปกิจกรรมและเตรียมนัดหมายวางแผนการจัดงานกีฬา อบต.พะโต๊ะ สำหรับนักกีฬาบอลเล่บอลในวันที่ 9 เมษายน 2559

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    ข้อสรุปจากเวทีประชุม

    • ชาวบ้านมีความเห็นว่าการเล่นกีฬาจะทำให้ทุกคนได้ออกกำลังกายร่วมกัน และจะช่วยเสริมสร้างความสามัคคี ความผูกพันธ์ของคนในชุมชนร่วมกันให้ดีมากขึ้น จึงได้มีการนัดหมายเพื่อออกกำลังกายในตอนเย็นของทุกวัน
    • เตรียมส่งตัวแทนนักกีฬาชายหญิง ไปร่วมแข่งขันกีฬาวอลเลบอลในงานกีฬา อบต.พะโต๊ะ
    • ได้แบ่งหน้าที่ประสานงานและจัดการงานกีฬา อบต.พะโต๊ะ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 9 เมษายน 59

     

    50 53

    24. เด็กเยาวชน คลาสสิควิ่งบุญ

    วันที่ 29 มีนาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมทีมคณะกรรมการแบ่งบทบาทประสานงานและจัดการงาน เด็กเยาวชนคลาสสิควิ่งบุญ
    • ประสานเจ้าหน้าที่ป่าไม้อำนวยความสะดวกในการจัดงาน
    • เด็กเยาวชน และคณะกรรมการร่วมเดินรณรงค์การดูแลป่าต้นน้ำพะโต๊ะ ในระหว่างที่เดินได้มีการขอรับบริจาคระดมเงินทุนมาสร้างเป็นกองทุนรักษ์สิ่งแวดล้อม
    • ในกิจกรรมมีการมอบทุนการศึกษาให้กับเยาวชนในหมู่บ้าน โดยเยาวชนรถซิ่งวิ่งบุญ จากจังหวัดชุมพรมอบทุนให้เด็กชาย ธนทัศน์ นครทาม และเด็กชาย ธรภัทร นครทาม จำนวน 13000 บาท
    • เดินสำรวจขึ้นไปยังป่าต้นน้ำที่น้ำตกคลองหรั่ง ทางคณะกรรมการได้ชวนพูดคุยและให้ทีมเยาวชนสะท้อนบอกเล่าปัญหาที่พบในชุมชน และระดมแนวทางแก้ไขร่วมกัน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    เยาวชนได้สะท้อนปัญหาในชุมชน ดังนี้

    1. ปัญหาทรัพยากรป่าไม้ถูกทำลาย ทีมเยาวชนมีความหวงแหนป่าไม้ที่สวยงาม หากป่าถูกทำลายจะทำให้ไม่มีน้ำ และจะไม่มีน้ำตกให้มานั่งเล่น จึงมีแนวทางเสนอจัดตั้งกลุ่มเยาวชนร่วมกันดูแลป่าไม้ โดยคอยประชาสัมพันธ์บอกกับเพื่อน ๆ ให้ช่วยกันปลูกต้นไม้ โดยเริ่มจากปลูกต้นไม้ที่บ้าน
    2. ปัญหาเรื่องขยะในบริเวณน้ำตก มีข้อเสนอให้จัดตั้งถังขยะเพิ่ม และติดป้ายรณรงค์ห้ามทิ้งขยะหากฝ่าฝืนจะถูกปรับ โดยทางแกนนำกลุ่มเยาวชนจะช่วยสอดส่องและช่วยกันเก็บขยะด้วย

     

    80 85

    25. ทบทวนติดตามประเมินโครงการพร้อมสรุป ครั้งที่ 5

    วันที่ 8 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะกรรมการโครงการพูดคุยทบทวบกิจกรรมที่ผ่านมา หาข้อสรุป เพื่อต่อยอด

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิก ชาวบ้าน มีความรักความสามัคคี มีความคิดร่วมกันที่จะก่อสร้างสนามบอลเล่บอลให้เป็นมาตรฐานเพื่อการซ้อมในคราวต่อไป และจะประสานงานกับ อบต.พะโต๊ะ ในการสร้างสนามกีฬาในเบื้องต้น และใช้เป็นสถานที่ออกกำลังกายในตอนเย็นของชาวบ้าน

     

    50 28

    26. กีฬาในชุมชน

    วันที่ 12 เมษายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ชาวบ้าน สมาชิกโครงการฯ ไปแข่งขันกีฬา เนื่องในวันกีฬาของ อบต.ต.พะโต๊ะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • นักกีฬาแข่งขันบอลเล่บอลได้รางวัลรองชนะเลิศ ได้กล่าวชมเชย นักกีฬาบอลเล่บอลที่ อบต. พะโต๊ะ ซึ่งได้รับรางวัล รองชนะเลิศ พูดคุยหารือในการจะจัดเก็บเงินเพื่อสร้างสนามบอลเล่บอลให้ได้มาตรฐาน เนื่องจากการขาดหน่วยงานสนับสนุน

     

    20 25

    27. ทบทวนติดตามประเมินโครงการพร้อมสรุป ครั้งที่ 6

    วันที่ 8 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมพูดคุยกิจกรรมที่ผ่านมา หาข้อสรุป เพื่อต่อยอด และประชุมหาแนวทางในการพัฒนาสองข้างทาง

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกโครงการซุปเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติได้แนวทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องการสัญจรไม่สะดวก หญ้าขึ้นปกคลุมสองข้างทาง ทำให้ไม่สะดวกในการขับรถ ทำให้ลดระยะการมองเห็น มีความคิดร่วมกันในการพัฒนาสองข้างทาง โดยการถางหญ้าที่กีดขวาง โดยนัดกันในวันที่ 12 พฤษภาคม 59

     

    50 25

    28. ปรับภูมิทัศน์สองข้างทาง

    วันที่ 12 พฤษภาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการโครงการ เยาวชน และชาวบ้านร่วมกันปรับภูมิทัศน์ สองข้างทาง ให้รถสัญจร สะดวก โดยประสานขอความร่วมมือจากชาวบ้าน แต่ละคนได้เตรียมมีดพร้า จอบ และอุปกรณ์อื่น ๆ มาช่วยกันตัดแต่งสองข้างทาง ได้แบ่งทีมทำงานออกแบ่ง 2 ทีม เพื่อแบ่งโซนในการทำงาน คือ ซอยคลองหรั่ง และ ซอยคลองพระ ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ผลจากการร่วมมือตัดแต่งสองข้างทาง ทำให้รถสามารถสัญจรได้สะดวกขึ้น ทุกคนรู้สึกมีความสุขที่ได้ช่วยเหลือคนที่เดินทางไปมาให้มีความสะดวกและปลอดภัย

     

    35 35

    29. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

    วันที่ 27 พฤษภาคม 2559 เวลา 08:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สมาชิกทีมงานโครงการศึกษาดูงาน ณ ศูนย์การเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาใน โครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ จ.ชุมพร ต.บางลึก อ.เมือง ได้พูดคุยแลกเปลี่ยน ดูบันทึกเทปของพระเจ้าอยุ่หัว ในการจัดทำเขื่อนโครงการแก้มลิง ดูการปลูกพืชผักแบบปลอดสารพิาษ การเลี้ยงปลากระชัง การทำน้ำยาเอนกประสงค์ เพื่อใช้ในครัวเรือน ก่อนกลับได้สรุปถอดบทเรียนสมาชิกที่ไปดูงาน ว่า ได้เรียนรู้เรื่องใดบ้าง และจะนำไปปรับใช้ในชุมชนอย่างไร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ชาวบ้าน สมาชิก โครงการซุปเปอร์มาร์เก็ต ธรรมชาติ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ นอกสถานที่ ได้ไปดูงานตามศาตร์พระราชา และสามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ มีผู้นำตามความถนัดในเรื่องต่างๆ การปลูกผักปลอดสารพิษโดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ใช้ปุ๋ยคอก การทำน้ำยาเอนกประสงค์ เช่น น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก แชมพูฯขึ้นในชุมชน เกิดการร่วมตัวของชาวบ้านในการทำกิจกรรมกลุ่ม กระตุ้นแรงจูงใจให้สมาชิกในการทำกิจกรรมร่วมของสภาผู้นำ มีการพัฒนาทีมงานสภาผูนำธรรมชาติให้มีกำลังใจ

     

    50 53

    30. ทบทวนติดตามประเมินโครงการพร้อมสรุป ครั้งที่ 7

    วันที่ 8 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมคณะกรรมการโครงการในการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา และ แจ้งการจัดทำโครงการปลูกป่า รักษ์ต้นน้ำให้ทีมสมาชิกทราบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ทบทวนกิจกรรมการศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ หนองใหญ่ เมื่อวันที่ 27/05/59 สมาชิกมีความประทับใจ ในการทำน้ำยาล้างจาน บางรายก็ซื้อชุดน้ำยาล้างจานกลับมาทำใช้เองที่บ้าน และยังได้แวะเข้าศึกษาเรื่องส้วมโลกที่ สวนนายดำ และมีการวางแผนในการดำเนินกิจกรรมปลูกป่ารักษาต้นน้ำในวันที่ 12 มิถุนายน 59

     

    50 28

    31. กิจกรรม ปลูกป่า รักษ์ ษา ต้นน้ำ ครั้งที่ 2

    วันที่ 12 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการโครงการ เด็กเยาวชน และ อสม.ได้ปรับแนวทาง ปรับภูมิทัศน์สองข้างทางบริเวณน้ำตกคลองหรั่ง ร่วมกันปลูกป่า เก็บขยะ ขวดกระเบื้อง รับประทานอาหารร่วมกัน เมื่อทานเสร็จ ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชวนคุยแนวทางการแก้ปัญหาในชุมชน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกโครงการก่อให้เกิดความรักความสามัคคี รักหวงแหนป่า และน้ำตก
    • ชาวบ้านโครงการซุปเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติฯ เสนอเรื่องการจัดทำป้าย
    • ชาวบ้านโครงการซุปเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติฯ เสนอกิจกรรมถางทางไฟป้องกันไฟฟ้าดับ ในวันที่ 24/06/59

     

    45 55

    32. ถางทางไฟ

    วันที่ 24 มิถุนายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ชาวบ้านและสมาชิกในโครงการ ช่วยกันระดมความคิดในการแก้ไขปัญหาไฟฟ้าดับบ่อย เนื่องจากต้นไม้ปกคลุมสายไฟบนเสาไฟฟ้าเป็นปัญหาทำให้ไฟดับ จึงมาช่วยกันตัดแต่งต้นไม้ใต้สายไฟ และถางหญ้าข้างเสาไฟฟ้า

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • การตัดแต่งกิ่งไม้ใต้สายไฟจะช่วยลดปัญหาไฟฟ้าดับในหมู่บ้านได้ ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น

     

    25 25

    33. ทบทวนติดตามประเมินโครงการพร้อมสรุป ครั้งที่ 8

    วันที่ 8 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมประจำเดือนหมู่บ้าน ประชุมสมาชิกโครงการฯ สรุปโครงการ ปลูกป่ารักษาต้นน้ำที่ผ่านมา ผู้รับผิดชอบสอบถามความก้าวหน้าของกิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษบริเวณบ้าน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • สมาชิกโครงการ ทบทวนกิจกรรม ปลูกป่า สรุป ผลผลิตจากผักและประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกปลูกผักข้างบ้าน ในเหลียงเริ่มแตกยอด และนำมาขาย และผูรับผิดชอบโครงการสอบถามปัญหาของชุมชน เพื่อการแก้ไข สมาชิกเสนอการช่วยกันระดมเงินเพื่อซ้อมถนนทางเข้าหมู่บ้าน 1 จุด ที่ 3 แยกคลองหรั่ง ในวันที่ 11/07/59

     

    50 53

    34. ซ่อมถนน

    วันที่ 11 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นั่งคุยปรึกษาสร้างความเข้าใจ รับทราบ ปัญหาร่วมกัน ระดมเงินเพื่อซื้อหิน และวางแผนการเกลี่ยหิน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้เงินที่ระดมจำนวน 2000 บาทเพื่อซื้อหิน ปูถนน ชาวบ้านสามารถแก้ปัญหาได้โดยไม่ต้องรอหน่วยงานของรัฐ

     

    25 25

    35. ทบทวนติดตามประเมินโครงการพร้อมสรุป ครั้งที่ 9

    วันที่ 8 สิงหาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา ให้คณะกรรมการช่วยตรวจสอบเอกสารเพื่อนำให้พี่เลี้ยงตรวจสอบต่อ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีคนเข้าร่วมจำนวน 25 คน มีสมาชิกมาวิเคราะห์กิจกรรมของโครงการที่ผ่านมา ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ลงความเห็นกันว่าเป็นโครงการที่ที่ได้ผลเกินเป้าหมายตามโครงการที่วางไว้และเป็นโครงการที่ช่วยให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วม และยังเกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ตัวอย่างเช่น การเก็บขยะที่ศูนย์หมู่บ้าน

     

    50 25

    36. พบพี่เลี้ยง

    วันที่ 12 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • นำเอกสารหลักฐานทางการเงินให้พี่เลี้ยงตรวจสอบ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ลงบันทึกกิจกรรมให้เป็นปัจจุบัน และเพิ่มเติมหลักฐานบ้างกิจกรรมที่ยังไม่เรียบร้อย

     

    2 2

    37. จัดทำรายงาน งวดที่ 2และรายงานปิดโครงการ

    วันที่ 18 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • ประชุมจัดทำรายงานงวดที่ 2 ร่วมกับพี่เลี้ยงและทีม สจรส.ม.อ. ได้นำเอกสารการเงินมาให้ตรวจและได้รับคำแนะนำในการแก้ไขรายงาน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • รายงานฉบับสมบูรณ์ยังไม่เรียบร้อย ต้องแก้ไขเอกสารการเงินบางรายการ และเพิ่มเติมข้อมูลรายงานกิจกรรม ทำให้ไม่สามรถส่งรายงานได้

     

    2 2

    38. ทบทวนติดตามประเมินโครงการพร้อมสรุป ครั้งที่10

    วันที่ 20 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • สมาชิกโครงการ ประชุมเรื่องกิจกรรมที่เหลือเพื่อสรุปโครงการฯ กำหนดการกิจกรรมที่เหลือ และจัดเตรียมเอกสาร

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • กำหนดการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านและดนตรีท้องถิ่น ในวันที่ 29/09/59 และสถานที่จัด บ้าน นางสายหยุด เพ็ญดารา ได้กำหนดการจัดกิจกรรมสรุปผลงานที่ศูนย์ประจำหมู่บ้านใน วันที่ 8/10/59

     

    50 27

    39. กิจกรรม อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านและดนตรีท้องถิ่น

    วันที่ 29 กันยายน 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ดนตรีพื้นบ้าน ม.14 เรื่องการละเล่นกลองยาว ให้กับเยาวชน ชาวบ้านและผู้สนใจในชุมชน โดยมีวิทยากร นางบังอรทองหัตถา เป็นครูสอน

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนเรื่องดนตรีพื้นบ้านกลองยาว วิทยากรพูดเรื่องดนตรีพื้นบ้านกลองยาวแต่ปัหาปัจบันชุมชนบ้านปะติมะนั้น ขณะนี้ กลองยาวเริ่มพุพัง เนื่องจากหนังวัว ที่นำมาทำกลองยาวเริ่มพัง สิ่งที่ได้ในวันนี้คือข้อเสนอ ของนางกาญนาวันนริโก เสนอให้นำเอาดนตรีพื้นบ้านมาเปิดเพื่อการร่วมกลุ่มกันออกกำลังกายตอนเย็นๆ ของผู้ที่สนใจ

     

    52 54

    40. ร่วมงานสร้างสุขคนใต้

    วันที่ 2 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • เข้าร่วมประชุมงานสร้างสุขภาคใต้ จัดขึ้นในวันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภาคีเครือข่ายภาคใต้ เช่น การปลูกผักปลอดสารพิษ การทำฝายชะลอน้ำ การทำเครื่องแกง ฯลฯ และเข้าฟังการเสวนาขับเคลื่อนสู่นโยบายสาธารณะ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • ได้เรียนรู้เรื่ององค์ความรู้มาพัฒนาในชุมชน นำความรู้ที่ได้เห็น มาบอกเล่าให้ชุมชน เป็นตัวจุดประกายที่อยากจะทำต่อ คือฝายมีชีวิต

     

    2 2

    41. จัดเวทีนำเสนอผลงานตามโครงการ

    วันที่ 8 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • จัดเวทีสรุปผลงานการดำเนินงาน ในระยะ 1 ปี โดยมีการเสนอผลของแต่ละกลุ่ม มอบของที่ระลึก ให้แก่ชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมตลอดโครงการ

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • จากการจัดประชุมสมาชิกโครงการเพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานของโครงการตลอดระยะเวลาที่รับสัญญากับ สสส. มีผู้เข้าร่วม จำนวน 78 คน ได้มีการแสดงความคิดเห็นต่อโครงการ ของสมาชิก มอบของที่ระลึกกับผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมสรุปผลงาน พูดคุยปรึกษาต่อยอดเพื่อดำเนินการ
    • ให้คำแนะนำเรื่องการจะต่อยอดโครงการในปีต่อไปที่ต้องวิเคราะห์กันให้ชัดเจนว่าจะดำเนินการในส่วนไหนกลุ่มไหนให้ครอบคลุมทุกกลุ่มวัยและไม่ซ้ำซ้อนกับงบประมาณของส่วนอื่นๆที่จะเข้ามาดำเนินการในพื้นที่ เช่น งบ อสม./การปรับพฤติกรรมเรื่องการสูบบุหรี่(บุหรี่มือสอง)การรวมกลุ่มกันในการดำเนินกิจกรรมทั้งในด้านการเกษตร ด้านท่องเที่ยวชุมชนที่กำลังจะให้เกิดในพื้นที่ หากมีกลุ่มที่เข้มแข็งจะทำให้การพัฒนาเกิดความยั่งยืน การเข้ามาช่วยเหลือของภาคส่วนอื่นๆทำได้ง่าย หากเราแตกแยกต่างคนต่างทำความยั่งยืนจะไม่เกิด

     

    100 78

    42. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    วันที่ 9 ตุลาคม 2559 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

    • คณะกรรมการโครงการทั้ง 5 คน ร่วมกันตรวจสอบเอกสารการดำเนินงานตลอดโครงการและจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    • คณะกรรมการโครงการทั้ง 5 คน ร่วมกันตรวจสอบเอกสารการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรมซึ่งมีบางกิจกรรมที่ยังไม่เรียบร้อยได้ช่วยกันเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ถูกต้องครบถ้วน ช่วยกันตรวจสอบหลักฐานการเงินซึ่งพบว่าบางกิจกรรมคณะกรรมการ(การเงิน)ลงลายมือชื่อไม่ครบถ้วนได้ให้ดำเนินการลงลายมือชื่อครบถ้วนทุกกิจกรรม ร่วมกันตรวจสอบภาพถ่ายกิจกรรมจัดหาภาพถ่ายให้ครอบคลุมพร้อมจัดทำรายงานฉบับสมบรูณ์

     

    2 5

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

     

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อส่งเสริมสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชนที่เข้มแข็ง
    ตัวชี้วัด : 1. มีการประชุมเรื่องการบริหารจัดการชุมชนทุกเดือน 2. ร้อยละ 80 ของสมาชิกสภาผู้นำชุมชนเข้าร่วม 3. การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นๆ ของชุมชน

    1.เกิดสภาผู้ชุมชนมีการประชุมร่วมกับคณะกรรมการโครงการและสมาชิกมีการติดตามผลการดำเนินงานทุกครั้ง รวมทั้งผลการดำเนินงานของหมู่บ้าน

    2 เพื่อทำให้สมาชิกในชุมชนมีความตระหนักในการใช้ทรัพยากรป่าไม้อย่างคุ้มค่าและลดการใช้สารเคมี ?
    ตัวชี้วัด : 1. ครัวเรือนลดการใช้สารเคมีลงร้อยละ 50 2. ครัวเรือนปลูกไม้ยืนต้นแซมในพืชเชิงเดี่ยว ร้อยละ 50 3. ครัวเรือนในชุมชนปลูกผักสวนครัวกินเองตามวิถี ร้อยละ 80

    สมาชิกในชุมชนมีความตระหนักในการใช้ทรัพยากรป่าไม้อย่างคุ้มค่าและลดการใช้สารเคมี ดังนี้

    ปุ๋ยเคมีที่ใช้จะใส่ในสวนปาล์มและสวนยางส่วนสวนผลไม้และพืชผักใช้ปุ๋ยที่ทำเองจากขยะทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 60 ครัวเรือนปลูกไม้ยืนต้นแซมในพืชเชิงเดี่ยวร้อยละ 35 ครัวเรือนในชุมชนปลูกผักสวนครัวกินเองตามวิถี ร้อยละ 80 มีการปลูกผักสวนครัวกินเองและขาย

    3 เพื่อส่งเสริมให้เกิดกลไกการดำเนินงานที่เข้มแข็ง ?
    ตัวชี้วัด : 1. คนในชุมชนปฏิบัติตามกติกาชุมชน 2. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานอื่น 3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้

    เกิดกลไกการดำเนินงานที่เข้มแข็ง สมาชิกส่วนใหญ่ ร้อยละ 90 ปฏิบัติตามกติกาที่พวกเขาได้จัดทำกันไว้ มีงบประมาณกระตุ้นเสรษฐกิจ(งบตำบลละ 5 ล้าน) ชุมชนได้รับจัดสรร 250,000 บาท โดยชุมชนนำไปทำถนนเชื่อมต่อในจุดเสี่ยงที่เหลือเพื่ออำนวยความสะดวกให้สมาชิก และจากการไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการพระราชดำริหนองใหญ่ ทำให้สมาชิกได้ทราบความเป็นมาของโครงการและได้เห็นพื้นที่เศรษฐกิจพอเพียงแบบครบวงจร รวมทั้งได้ทดลองการทำน้ำยาเอนกประสงค์ และสมาชิกได้นำกลับมาปฏิบัติ ไม่ว่าการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ การปลูกไม้ยืนต้นแซมในสวนยาง สวนปาล์ม การนำไร่ข้าว การปลูกพืชสวนครัว มีการนำไปขายเพิ่มรายได้ 2 มีการจัดตั้งกองทุนภัยพิบัติที่สมาชิกรวมตัวกันจัดตั้งขึ้น โดยมีการอาสาเป็นคณะกรรมการ มีทะเบียนสมาชิก มีระเบียบการใช้เงินที่ชัดเจน มีการประชุมพิจารณาทั้งคณะกรรมการและสมาชิกก่อนนำเงินไปใช้ การเก็บเงินเบื้องต้นลงขันกันครัวเรือนละ 100 บาท ส่วเดือนต่อไปเก็บทุกเดือนๆละ 20 บาทต่อครัวเรือน

    4 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
    ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

    เกิดการพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ คณะทำงานมีการเข้าร่วมประชุมที่จัดโดย สจรส.ม.อ.ทุกครั้ง (ร้อยละ 100)มีการจัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่และป้ายชื่อโครงการ รวม 2 ป้าย ใช้ติดในการจัดทำกิจกรรมโครงการทุกครั้ง เป็นการประชาสัมพันธ์โครงการ มีการถ่ายภาพกิจกรรมทุกกิจกรรม และสามารถจัดทำรายงานส่งสสส.ตามระยะเวลาที่กำหนด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชนที่เข้มแข็ง (2) เพื่อทำให้สมาชิกในชุมชนมีความตระหนักในการใช้ทรัพยากรป่าไม้อย่างคุ้มค่าและลดการใช้สารเคมี ? (3) เพื่อส่งเสริมให้เกิดกลไกการดำเนินงานที่เข้มแข็ง ? (4) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

    ชื่อโครงการ ซุปเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติ บ้านปะติมะ

    รหัสโครงการ 58-03812 รหัสสัญญา 58-00-2080 ระยะเวลาโครงการ 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

    แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

    • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
    • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
    • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
    • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
    • กระบวนการชุมชน
    • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่

    1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

    ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

    ภาพถ่าย

    หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. กระบวนการใหม่

    เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหา การวางแผนแก้ไขช่วยเหลือ ซึ่งสมาชิกไม่ค่อยได้มีโอกาสได้ร่วมกันปรึกษาหารือ เดิมต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างอยู่ เมื่อมีโครงการนี้เข้ามาทำให้ต้องมีการจัดประชุมพูดคุยกันทุกเดือน จนเกิดเป็นการประชุมประจำเดือนของชุมชนที่มีข้อมูลจากที่อื่นๆมาแจ้งให้สมาชิกได้รับทราบทั่วกัน

    ภาพถ่าย/บันทึกการประชุม

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

    มีการใช้วิธีการจัดการใหม่ที่ชุมชนไม่เคยทำมาก่อน เช่น การจัดทำบุญหมู่บ้าน การเชื่อมความสัมพันธ์กับหมู่บ้านใกล้เคียงด้วยกิจกรรมแข่งแพ เป็นต้น

    ภาพถ่าย

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

    มีการจัดโครงสร้างชุมชน เช่นมีการนำเอาเยาวชนเข้ามาเป็นสมาชิกสภาผู้นำของชุมชน จนเกิดสภาเยาวชน ที่สมาชิกวางไว้ว่าจะให้เยาวชนกลุ่มนี้สานต่องานในชุมชน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

    แหล่งเรียนรู้ด้านเสรษฐกิจพอเพียง ด้านการจัดการตนเอง

    ภาพถ่าย พื้นที่ชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    99. อื่นๆ

     

     

     

    2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

    สมาชิกส่วนใหญ่ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล ปฏิบัติตาม สุขบัญญัติ 10 ประการ อย่างสม่ำเสมอ

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การบริโภค

    สมาชิกมีการปลูกผักปลอดสารพิษและส่วนใหญ่ไ่ด้ออกไปหาซื้อนอกชุมชน จึงทำให้สมาชิกในชุมชนมีการบริโภคที่ปลอดภัย

    นางอุไรรัตน์สังข์ดีเลขที่ 6/1หมู่ที่14ตำบลพะโต๊ะอำเภอพะโต๊ะจังหวัดชุมพร

    นางอนงค์เทียมทันเลขที่ 16หมู่ที่ 14ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะจังหวีดชุมพร

    นางพัชรีเชียงพิมายเลขที่ 10หมู่ที่ 14ตำบลพะโต๊ะอำเภอพะโต๊ะจังหวัดชุมพร

    นางบังอรทองหัตถาเลขที่ 15หมู่ที่ 14ตำบลพะโต๊ะอำเภอพะโต๊ะจังหวัดชุมพร

    นางปรีดารวดเร็วเลขที่ 23หมู่ที่ 14ตำบลพะโต๊ะอำเภอพะโต๊ะจังหวัดชุมพร

    นางยุพารวดเร็วเลขที่ 23/2หมู่ที่ 14ตำบลพะโต๊ะอำเภอพะโต๊ะจังหวัดชุมพร

    นางจุรีย์คงแก้วเลขที่21ตำบลพะโต๊ะอำเภอพะโต๊ะจังหวัดชุมพร

    หมู่บ้านเกษตรอินทรีย์

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การออกกำลังกาย

    สมาชิกชุมชนส่วนใหญ่ไม่ค่อนให้ความสำคัญกับการออกกำลังกาย เนื่องจากช่วงเช้ามืดจนถึงช่วงสาย(เก้าถึงสิบโมงยังอยู่ในสวนยาง)มีบางส่วนที่มีการออกกำลังกายอย่างค่อนข้างสม่ำเสมอ

    นางสาวสุวรรณดีเทียมทันเลขที่ 16/1 หมู่ที่ 14ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร

    นางอนงค์เทียมทันเลขที่ 16หมู่ที่ 14ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะจังหวีดชุมพร

    นางบังอรทองหัตถาเลขที่ 15หมู่ที่ 14ตำบลพะโต๊ะอำเภอพะโต๊ะจังหวัดชุมพร

    นางสาวสายหยุดเพ็ญดาราเลขที่ หมู่ที่ 14ตำบลพะโต๊ะอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร

    นางยุพารวดเร็วเลขที่ 23/2หมู่ที่ 14ตำบลพะโต๊ะอำเภอพะโต๊ะจังหวัดชุมพร

    นางจิมเทียมทัน เลขที่ ตำบลพะโต๊ะอำเภอพะโต๊ะจังหวัดชุมพร

    นางสาวบานชื่น วันริโกเลขที่ หมู่ที่ 14ตำบลพะโต๊ะอำเภอพะโต๊ะจังหวัดชุมพร

    นางกาญจนาวันริโกเลขที่ ตำบลพะโต๊ะอำเภอพะโต๊ะจังหวัดชุมพร

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

    สมาชิกบางส่วนที่ดื่มเหล้า จะไม่สูบบุหรี่ และที่สูบบุหรี่ส่วนมากเป็นใบจาก

    สมาชิกที่เลิกเหล้าได้ มี นายสมศักดิ์พุ่มสุวรรณ นายหัสชัยแดงชนะ

    ลด ละบุหรี่ มี นายธีรพงษ์ทองหัตถา บ้านเลขที่ 15/3 หมู่ที่ 14 ตำบลพะโต๊ะอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร นายสมศักดิ์พุ่มมสุวรรณ บ้านเลขที่ 19/7 หมู่ที่ 14ตำบลพะโต๊ะอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร นายหัสชัยแดงชนะบ้านเลขที่ 16/2ตำลบลพะโต๊ะอำเภอพะโต๊ะจังหวัดชุมพร ส่วนที่เลิกบุหรี่
    นายเสถียรทอง หัตถาบ้านเลขที่15/1หมู่ที่14ตำบลพะโต๊ะอำเภอพะโต๊ะจังหวัดชุมพร
    นายจำนง รวดเร็วบ้านเลขที่72/2 หมู่ที่14ตำบลพะโต๊ะอำเภอพะโต๊ะจังหวัดชุมพร นายนันทพงษ์ สุวรรณแย้มบ้านเลขที่6ตำบลพะโต๊ะอำเภอพะโต๊ะจังหวัดชุมพร

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

    การดำรงชีวิตในชุมชนนี้ ยังคงมีการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศที่ออกไปนอกพื้นที่ลำบาก จึงยังคงใช้ปพทย์แผนไทยและสมุนไพรในการดูแลสุขภาพ เช่น การกวาดทราง การปวดท้อง ปวดหัว ยังคงให้หมอพื้นบ้านกวาดทราง ต้มยา ตำสมุนไพรพอกบริเวณเจ็ปปวด เป็นต้น

    นางบังอรทองหัตถาเลขที่ 15หมู่ที่ 14ตำบลพะโต๊ะอำเภอพะโต๊ะจังหวัดชุมพร(หมอพื้นบ้านและอสม.)

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

    สมาชิกชุมชนร่วมกับคณะกรรมการโครงการร่วมกันระดมทุนในการปรับปรุงถนนจุดเสี่ยงภายในหมู่บ้าน ให้ลดความเสี่ยงลงเด็กและเยาวชนสามารถเดินทางไปเรียนหนังสือในช่วงฤดูฝนได้สะดวกขึ้น

    ภาพถ่าย/บัญชีกองทุน

    ชุมชนจัดการตนเอง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    9. อื่นๆ

     

     

     

    3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

    มีการปลูกป่าในพื้นที่น้ำตกปรับสภาพแวดล้อมของน้ำตกให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยทำร่วมกับป่าไม้ในพื้นที่และเจ้าหน้าที่จากอุทยานหงาว มีการจัดทำป้ายน้ำตก ส่งผลให้น้ำตกเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวจากน้อกพื้นที่เข้าไปเที่ยว มีการปรับภูมิทัศน์สองข้างทางเข้าชุมชน มีการจัดการขยะคัดแยกและนำไปทำปุ๋ยใช้แทนสารเคมี

    ภาพถ่าย/กติกาชุมชน

    หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

    มีอาสาที่มาจากสมาชิกชุมชนช่วยเหลือสอดส่องความสงบเรียบร้อยของหมู่บ้าน มีการปรับถนนจากที่เป็นดินเหนียวปนลูกรังที่ลื่นในช่วงฟดูฝนและมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจนบางครั้งเด็กนักเรียนไม่ได้ไปโรงเรียนเพราะออกไปไม่ได้ ปรับเป็นใส่หินคลุก บ้าง ทำคอนกรีตบ้างแล้วแต่งบที่สมาชิกบริจาค ในส่วนที่มีความเสี่ยง เพราะอุปกรณ์ทุกอย่างที่ทำสมาชิกชุมชนช่วยกันบริจาค

    ภาพถ่าย/กติกาชุมชน

    หมู่บ้านต้นแบบด้านการจัดการตนเอง

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

    สมาชิกชุมชนมีการปลูกผักปลอดสารพิษ ทำเครื่องจักรสาน รวมตัวกันนำผลผลิตไปขายโดยเฉพาะผลไม้ มีการต่อรองราคา ทำให้ราคาค่อนข้างดีขึ้นจากต่างคนต่างขาย สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น เศรษฐกิจของชุมชนดีขึ้น

    ภาพถ่าย/พื้นที่ชุมชน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. อื่นๆ

     

     

     

    4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

    ชุมชนมีการร่วมกันจัดทำข้อตกลงร่วมกันในการอยู่กันของสมาชิก

    1. กำหนดให้มีการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านและกลุ่มต่างๆทุกวันที่ 8 ของเดือน โดยให้มีตัวแทนครัวเรือนอย่างน้อยบ้านละ 1 คน เข้าร่วมประชุม 2. กำหนดให้มีการพัฒนาเส้นทางเข้าหมู่บ้านในทุกๆ 3 เดือน โดยกำหนดเป็นทุกวันที่ 10 ของเดือนนั้นๆ 3. เรื่องของกองทุนภัยพิบัติที่มีการระดมทุนทุกเดือนๆละ 20 บาท จะมีการบริหารจัดการในลักษณะโซน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนกำหนดการแบ่งเก็บเป็น 3 โซน ได้แก่ 1) โซนคลองหรั่ง 2)โซนคลองพละ 3) โซนกลางบ้าน ให้ประชาชนส่งได้ที่ตัวแทนกรรมการที่รับผิดชอบของแต่ละโซน 4. เรื่องขยะในชุมชน ห้ามทิ้งขยะบริเวณเส้นทางสัญจรของหมู่บ้านทุกเส้นทาง และให้แต่ละบ้านมีการคัดแยกขยะก่อนทิ้งเพื่อลดปริมาณขยะ 5. ให้ทุกคนร่วมกันอนุรักษ์ป่าและเพิ่มพื้นที่ป่าด้วยการปลูกป่าปีละครั้ง 6. ห้ามทุกคนล่าสัตว์ป่าสงวนในพื้นที่ป่า หากผ่าฝืนจำเป็นต้องนำตัวส่งเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการตามกฏหมาย 7. ห้ามลักขโมยของ ของผู้อื่น หากมีการทำผิดต้องนำตัวส่งตำรวจเพื่อดำเนินการตามกฏหมาย 8. ห้ามนำยาเสพติดเข้ามาในหมู่บ้านหากพบเจอจำเป็นต้องปฏิบัติตามหน้าที่จับและนำตัวส่งตำรวจ 9. ให้ทุกคนดูแลรักษาและทรัพยากรธรรมชาติของหมู่บ้านไว้ให้เสมือนเป็นทรัพย์สมบัติของตนเอง

    ธรรมนูญตำบล

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. มีธรรมนูญของชุมชน

     

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

     

     

     

    5. เกิดกระบวนการชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

    มีการประสานเชื่อมโยงกับหน่วยงานทั้งในและนอกชุมชนรวมทั้งเชื่อมประสานกับหมู่บ้านอื่นๆ มีการระดมสมาชิกไปช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยเฉพาะการพัฒนาหมู่บ้าน

    ภาพถ่ายกิจกรรมที่ร่วมกัน เช่น การเทหินคลุก การทำถนน จะมีภาคีจากหมู่ 12 หมู่ 15 และหมู่ 1 มาร่วมพัฒนา ในขณะที่หากหมู่บ้านเหล่านี้มีกิจกรรมหมู่บ้านปะติมะจะไปร่วมงานด้วย เป็นการสร้างสัมพันธ์ที่เรียกว่า "ตามแรง" ที่คนสมัยก่อนเขาใช้กันมาฟื้นฟู เพื่อให้เด็กรุ่นหลังได้เห็นและสานต่อ

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

    มีการจัดเวทีนำปัญหาของชุมชนที่เกิดขึ้นหรือพบใหม่มาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันจนตกผลึกจึงจะนำไปวางแผนแก้ไขและปฏิบัติ ประเมินผลซึ่งจะมีสมาชิกบางส่วนที่เป็นฝ่ายติดตามประเมินผลรวมทั้งสมาชิกชุมขนทั่วไปพบเห็นนำมาเปิกเวทีพูดคุยกันและปรับปรุงแก้ไขต่อไป

    ภาพถ่ายการจัดเวที/ประเด็นปัญหาที่พบหามาสู่การแก้ไข เช่น ถนนลื่นช่วงฤดูฝนนักเรียนไปโรงเรียนไม่ได้ นำสู่การจัดตั้งกองทุนภัยพิบัติ นำเงินส่วนนี้มาปรับปรุงถนน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

    มีการจัดตั้งกองทุนภัยพิบัติที่สมาชิกรวมตัวกันจัดตั้งขึ้น โดยมีการอาสาเป็นคณะกรรมการ มีทะเบียนสมาชิก มีระเบียบการใช้เงินที่ชัดเจน มีการประชุมพิจารณาทั้งคณะกรรมการและสมาชิกก่อนนำเงินไปใช้ การเก็บเงินเบื้องต้นลงขันกันครัวเรือนละ 100 บาท ส่วเดือนต่อไปเก็บทุกเดือนๆละ 20 บาทต่อครัวเรือน

    สมุดเงินฝาก/ทะเบียนสมาชิก/ระเบียบการใช้เงิน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

    มีการเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่องทั้งในส่วนของกองทุนภัยพิบัติ การทำเศรษฐกิจพอเพียง และการดำเนินตามกติกาชุมชนที่วางไว้ ฯลฯ

    ภาพถ่ายกิจกรรม

    พัฒนาเป็นวัฒนธรรมองค์กร

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

    มีการใช้ข้อมูลของชุมชนมาจัดการปัญหาและมีการทบทวนถอดบทเรียนผลงานหรือกิจกรรมที่ทำเพื่อสรุปนำเสนอสมาชิกหมู่บ้าน

    ภาพถ่าย/การบันทึกการถอดบทเรียน

    จัดเก็บและจัดทำเป็นการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อให้คนรุ่นหลังได้นำไปปรับใช้

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

    จากการทำโครงการครั้งนี้ทำให้คณะกรรมการได้รู้ถึงวิธีการที่เป็นระบบไม่ได้เกิดจากความรู้สึกแต่เป็นการนำข้อมูลที่เกิดขึ้นจริงมาถกแถลงกันก่อนตัดสินใจนำไปปฤิบัติการหรือทำแผนพัฒนา

    บันทึกรายงานการประชุม

    บันทึกรายงานการประชุมของชุมชน

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    7. อื่นๆ

     

     

     

    6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

    ผู้ช่วยแอ๊ส(นางสาวสุวรรณดี เทียมทัน) กล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่างานนี้ทุกคนในชุมชนมีส่วนช่วยให้เกิดขึ้น ดีใจที่ทุกคนให้ความไว้วางใจ ทั้งที่ตอนแรกคิดว่าอาจทำได้ไม่ดี เพราะผู้ใหญ่ไม่เข้ามามีส่วนร่วมแต่ผู้ใหญ่รับรู้ไม่ขัด นอกจากสมาชิกในชุมชนจะสนับสนุนแล้วยังได้สมาชิกจากหมู่บ้านใกล้เคียงที่เข้ามาร่วมทำกิจกรรมด้วย ทำให้ชุมชนมีการพัฒนาในหลายเรื่อง โดยเฉพาะน้ำตกที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชม ถนนที่ไม่ต้องนั่งรองบจากหน่วยงานรัฐ แต่สามารถทำกันเองได้ อาจช้าแต่สามารถขยายไปได้ ทำให้คนจากภายนอกสามารถเข้ามาในชุมชนได้ ที่ผ่านมาเมื่อใครจะมาเยี่ยมเห็นทางเข้าหมู่บ้านแล้วจะถอยเกือบทุกราย(ทางเข้าหมู่บ้านเชื่อมกับถนนสายหลักของอำเภอ) แต่เป็นถนนที่ไม่มีหน่วยงานเข้าไปพัฒนาเนื่องจากพื้นที่บางส่วนเป็นพื้นที่ป่า คงมีแต่หน่วยงานป่าไม้ที่ให้การสนับสนุนเต็มที่เพราะหน่วยงานตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชน
    น้องอร(นางบังอร ทองหัตถา) เป็นตัวตั้งตัวตีในการจัดการเรื่องอาหาร เรื่องการประสานงาน น้องอรบอกว่าหมู่บ้านนี้ไม่มีใครเขาเข้ามาเหลียวแล มีแต่กลุ่มป้าเบญที่เข้ามาเป็นกลุ่มแรก เกิดอะไรดีในหมู่บ้านเยอะมาก หมู่บ้านได้รับการพัฒนา หากป้าเบญไม่เข้ามาและไม่ไปเชื่อมกับอำเภอก็คงเดียวดายเหมือนเดิมแต่ตอนนี้หลายส่วนของรัฐได้เข้ามาเยี่ยมมาสนับสนุนมากขึ้น หากทีมงานป้าไม่เข้ามาสิ่งต่างๆที่เห็นเหล่านี้จะมีหรือไม่ก็ไม่รู้ ยังอยากให้เข้ามาร่วมสนับสนุนให้กำลังใจอีกอย่างต่อเนื่อง พี่เหน่ง (นายเสน่ห์สอนสุทธิ์) ซึ่งเป็นปราญช์ชาวบ้านที่เข้าร่วมกิจกรรมของหมู่บ้านทุกครั้ง พี่เขาบอกว่าที่ชอบมากๆคือเวลาประชุมมีข้อกำหนดว่าไม่ให้สูบบุหรี่ และถ้าใครสูบจะถูกไล่ให้ออกไปสูบที่อื่น บอกให้เคารพสถานที่บ้างเขาติดป้ายแขวนไว้ควรให้เกียรติถ้าหากหมู่บ้านมีการจัดกิจกรรมแบบนี้อีกจะให้ความร่วมมือทุกครั้งไป

    นางสาวสุวรรณดีเทียมทัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นางบังอรทองหัตถาคณะกรรมการโครงการ นายเสน่ห์สอนสิทธิ์ปราชญ์ชาวบ้าน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

    ส่วนใหญ่มองว่าประโยชน์ของตนเองสำคัญแต่ถ้าเป็นของส่วนรวมน่าจะสำคัญกว่า เพราะทำแล้วได้ประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของชุมชน

    นางสาวสุวรรณดีเทียมทัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นางบังอรทองหัตถาคณะกรรมการโครงการ นางจุไรรัตน์ สังข์ดี คณะกรรมการโครงการ นายเสน่ห์สอนสิทธิ์ปราชญ์ชาวบ้าน

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

    สมาชิกส่วนใหญ่ในชุมชนออกไปติดต่อนอกพื้นที่ส่วนน้อยเพราะเส้นทางไมาสะดวก เมื่อได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงก็กลับมาทำให้ชุมชน ทำให้ส่วนใหญ่ใช้ทุกอย่างที่สร้างในพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ โดยเฉพาะเรื่องการบริโภค ส่วนประกอบอาหารมีอยู่ในชุมชนสมกับที่สมาชิกต้องการให้เป็นซุปเปอร์มาเก็ตหาได้ทุกอย่างไม่ว่ากุ้ง หอย ปู ปลา(น้ำจืด) ส่วนผักมีทุกชนิด ไม่จำเป็นต้องไปหาซื้อนอกพื้นที่

    นางสาวสุวรรณดีเทียมทัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน นางบังอรทองหัตถาคณะกรรมการโครงการ นางจุไรรัตน์ สังข์ดี คณะกรรมการโครงการ นางอรอุมาหิรัญเรือง คณะกรรมการโครงการและอสม.

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

    ชุมชนมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการลงแรงกันหมุนเวียนในงานบุญ งานแต่ง งานบวช ในชุมชน ใครมีความเดือดร้อนให้การช่วยเหลือ เป็นที่ปรึกษากันและกัน

    ภาพถ่าย

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

    มีการพูดคุยร่วมกันอย่างมีเหตุมีผลก่อนการตัดสินใจเรื่องใดๆในชุมชน

     

     

    คุณค่าที่เกิดขึ้น
    ประเด็น
    ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
    ใช่ไม่ใช่
    6. อื่นๆ

     

     

     

    ซุปเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติ บ้านปะติมะ จังหวัด ชุมพร

    รหัสโครงการ 58-03812

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( นางสาว สุวรรณดี เทียมทัน )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด