แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 3

รหัสโครงการ 58-03812
สัญญาเลขที่ 58-00-2080

ชื่อโครงการ ซุปเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติ บ้านปะติมะ
รหัสโครงการ 58-03812 สัญญาเลขที่ 58-00-2080
ระยะเวลาตามสัญญา 15 กันยายน 2015 - 15 ตุลาคม 2016

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นางเบญจา รัตนมณี
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2 นายศราวุธ รัตนมณี / นางสาวกุลิสรา วรรณ์แก้ว
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 16 สิงหาคม 2016
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 15 ตุลาคม 2016
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 น.ส.สุวรรณดี เทียมทัน 16 หมู่ที่ 14 ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร 09 3675 6852
2 นางจุไรรัตน์ สังข์ดี 6/1 หมู่ที่ 14 ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร 09 7181 6302
3 นางอรอุมา สุวรรณเรือง 79/2 หมู่ที่ 14 ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร 09 0281 5516
4 นางบังอร ทองหัตถา 15 หมู่ที่ 14 ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร 08 1088 6737

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อส่งเสริมสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชนที่เข้มแข็ง

  1. มีการประชุมเรื่องการบริหารจัดการชุมชนทุกเดือน
  2. ร้อยละ 80 ของสมาชิกสภาผู้นำชุมชนเข้าร่วม
  3. การประชุมทุกครั้งมีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นๆ ของชุมชน

2.

เพื่อทำให้สมาชิกในชุมชนมีความตระหนักในการใช้ทรัพยากรป่าไม้อย่างคุ้มค่าและลดการใช้สารเคมี ?

  1. ครัวเรือนลดการใช้สารเคมีลงร้อยละ 50
  2. ครัวเรือนปลูกไม้ยืนต้นแซมในพืชเชิงเดี่ยว ร้อยละ 50
  3. ครัวเรือนในชุมชนปลูกผักสวนครัวกินเองตามวิถี ร้อยละ 80

3.

เพื่อส่งเสริมให้เกิดกลไกการดำเนินงานที่เข้มแข็ง ?

  1. คนในชุมชนปฏิบัติตามกติกาชุมชน
  2. ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานอื่น
  3. แลกเปลี่ยนเรียนรู้

4.

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

  1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด
  2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม
  3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
  4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : ทบทวนติดตามประเมินโครงการพร้อมสรุปแก้ไขi

6,250.00 50 ผลผลิต

จัดประชุมคณะกรรมการโครงการ จำนวน 1 ครั้ง กรรมการโครงการเข้าร่วมทั้ง 5 คน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

คณะกรรมการโครงการจัดให้มีการประชุมทบทวนกิจกรรมที่ดำเนินการในแต่ละครั้ง หากไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้คณะกรรมการจะให้มีการทบทวนและปรับกิจกรรม ให้สอดคล้องกันและนำเสนอสมาชิกเพื่อขอมติร่วมก่อนนำไปดำเนินการ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 10 ครั้ง

คณะกรรมการโรครงการซุปเปปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติ

625.00 625.00 50 8 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้แนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องการการเข้าร่วมกิจกรรมของ ชาวบ้านและผู้นำ

คณะผู้รับผิดชอบโครงการ

625.00 625.00 50 5 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการทั้ง 5 คน ได้ร่วมประชุมทบทวนกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้ว เมื่อเทียบกับแผนงานที่วางไว้ พบว่าบางกิจกรรมมีการจัดทำเพิ่มเติมโดยไม่ใช้งบของโครงการ เช่น การสร้างความสัมพันธ์ของสมาชิกชุมชนในการเข้าร่วมแข่งขันแพในวันปีใหม่หลังทำบุญเลี้ยงพระ ร่วมกับหมู่บ้านใกล้เคียง ส่งผลให้เกิดความสามัคคีทั้งในและนอกชุมชน ทั้งเด็ก เยาวชนและครอบครัว เป็นต้น นอกจากนี้ได้วางแผนการลงรายงานซึ่งอาจต้องไปเช่าอินเตอร์เน็ตของร้านในตัวอำเภอหรืออาจขอใช้บริการจากเทศบาล(ชุมชนนี้ไม่มีอินเตอร์เน็ตและสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่เสถียร)

คณะกรรมการโครงการซุปเปอร์มาร์เก็ตและคณะกรรมโครงการ

625.00 625.00 25 25 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ข้อสรุปจากการประชุม ทางคณะกรรมการไก้จัดทำกิจกรรมของโครงการต่อในงวดที่ 2 ส่งผลให้สมาชิกชาวบ้าน มีการต่อยอดจัดกิจกรรมภายในหมู่บ้านคืองานกีฬา สมาชิกส่งรายการกีฬาบอลเล่บอลซักซ้อมและเตรียมความพร้อมเพื่อไปแข่งขันกีฬาสัมพันธ์ ในงาน อบต.พะโต๊ะ ในวันที่ 8 เมษายน 2559

คณะกรรมการโครงการซุปเปอร์มาร์เก็ต ชาวบ้าน

625.00 625.00 50 53 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ข้อสรุปจากเวทีประชุม

  • ชาวบ้านมีความเห็นว่าการเล่นกีฬาจะทำให้ทุกคนได้ออกกำลังกายร่วมกัน และจะช่วยเสริมสร้างความสามัคคี ความผูกพันธ์ของคนในชุมชนร่วมกันให้ดีมากขึ้น จึงได้มีการนัดหมายเพื่อออกกำลังกายในตอนเย็นของทุกวัน
  • เตรียมส่งตัวแทนนักกีฬาชายหญิง ไปร่วมแข่งขันกีฬาวอลเลบอลในงานกีฬา อบต.พะโต๊ะ
  • ได้แบ่งหน้าที่ประสานงานและจัดการงานกีฬา อบต.พะโต๊ะ ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 9 เมษายน 59

คณะกรรมการ สมาชิกโครงการซุปเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติ

625.00 625.00 50 28 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สมาชิก ชาวบ้าน มีความรักความสามัคคี มีความคิดร่วมกันที่จะก่อสร้างสนามบอลเล่บอลให้เป็นมาตรฐานเพื่อการซ้อมในคราวต่อไป และจะประสานงานกับ อบต.พะโต๊ะ ในการสร้างสนามกีฬาในเบื้องต้น และใช้เป็นสถานที่ออกกำลังกายในตอนเย็นของชาวบ้าน

คณะกรรมการโครงการ สามชิกโครงการ

625.00 625.00 50 25 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สมาชิกโครงการซุปเปอร์มาร์เก็ตธรรมชาติได้แนวทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องการสัญจรไม่สะดวก หญ้าขึ้นปกคลุมสองข้างทาง ทำให้ไม่สะดวกในการขับรถ ทำให้ลดระยะการมองเห็น มีความคิดร่วมกันในการพัฒนาสองข้างทาง โดยการถางหญ้าที่กีดขวาง โดยนัดกันในวันที่ 12 พฤษภาคม 59

ชาวบ้าน สมาชิก ผู้รับผิดชอบโครงการ อสม. ผู้นำชุมชนชน

625.00 625.00 50 28 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทบทวนกิจกรรมการศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ หนองใหญ่ เมื่อวันที่ 27/05/59 สมาชิกมีความประทับใจ ในการทำน้ำยาล้างจาน บางรายก็ซื้อชุดน้ำยาล้างจานกลับมาทำใช้เองที่บ้าน และยังได้แวะเข้าศึกษาเรื่องส้วมโลกที่ สวนนายดำ และมีการวางแผนในการดำเนินกิจกรรมปลูกป่ารักษาต้นน้ำในวันที่ 12 มิถุนายน 59

อสม ชาวบ้าน สมาชิก ผู้รับผิดชอบโครงการ

625.00 625.00 50 53 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สมาชิกโครงการ ทบทวนกิจกรรม ปลูกป่า สรุป ผลผลิตจากผักและประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกปลูกผักข้างบ้าน ในเหลียงเริ่มแตกยอด และนำมาขาย และผูรับผิดชอบโครงการสอบถามปัญหาของชุมชน เพื่อการแก้ไข สมาชิกเสนอการช่วยกันระดมเงินเพื่อซ้อมถนนทางเข้าหมู่บ้าน 1 จุด ที่ 3 แยกคลองหรั่ง ในวันที่ 11/07/59

ผู้รับผิดชอบโครงการ สมาชิก คณะกรรมการ

625.00 625.00 50 25 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีคนเข้าร่วมจำนวน 25 คน มีสมาชิกมาวิเคราะห์กิจกรรมของโครงการที่ผ่านมา ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่ลงความเห็นกันว่าเป็นโครงการที่ที่ได้ผลเกินเป้าหมายตามโครงการที่วางไว้และเป็นโครงการที่ช่วยให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วม และยังเกิดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ตัวอย่างเช่น การเก็บขยะที่ศูนย์หมู่บ้าน

อสม. ผู้รับชอบโครงการ  สมาชิกโครงการ

625.00 625.00 50 27 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กำหนดการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านและดนตรีท้องถิ่น ในวันที่ 29/09/59 และสถานที่จัด บ้าน นางสายหยุด เพ็ญดารา ได้กำหนดการจัดกิจกรรมสรุปผลงานที่ศูนย์ประจำหมู่บ้านใน วันที่ 8/10/59

กิจกรรมหลัก : กิจกรรม อนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านและดนตรีท้องถิ่นi

4,500.00 52 ผลผลิต

ชุมชนจัดกิจกรรมอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้าน 1 ครั้ง สมาชิกเข้าร่วม 52 คน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

วิทยากรในชุมชน(ผู้สูงอายุ ปราชญ์ชุมชน)ให้ความรู้เรื่องดนตรีพื้นบ้าน แก่เยาวชน เช่นกลองยาว และเพลงพื้นบ้าน และกลุ่มเยาวชน นำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดในที่สาธารณะ เช่น งานบุญต่างๆในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

ชาวบ้าน ผู้รับผิดชอบโครง

4,500.00 4,500.00 52 54 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนเรื่องดนตรีพื้นบ้านกลองยาว วิทยากรพูดเรื่องดนตรีพื้นบ้านกลองยาวแต่ปัหาปัจบันชุมชนบ้านปะติมะนั้น ขณะนี้ กลองยาวเริ่มพุพัง เนื่องจากหนังวัว ที่นำมาทำกลองยาวเริ่มพัง สิ่งที่ได้ในวันนี้คือข้อเสนอ ของนางกาญนาวันนริโก เสนอให้นำเอาดนตรีพื้นบ้านมาเปิดเพื่อการร่วมกลุ่มกันออกกำลังกายตอนเย็นๆ ของผู้ที่สนใจ

กิจกรรมหลัก : กิจกรรม สรุปผลงานi

9,300.00 100 ผลผลิต

จัดกิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ มีสมาชิกเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 78 คน ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่วางไว้ 100 คน แต่สมาชิกที่เข้าร่วมมาจากหลากหลายกลุ่ม ทั้งกลุ่มผู้นำชุมชน ผู้สูงอายุ แกนนำชุมชน เด็กและเยาวชน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ผลการดำเนินงานครอบคลุมกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการของโครงการ ส่งผลให้สมาชิกชุมชนได้มีผักปลอดสารพิษไว้บริโภค แจกและจำหน่ายให้เพื่อนสมาชิกและยังได้ขยายครัวเรือนปลูกผักเพิ่มขึ้นจากการนำผลงานมาเสนอในที่ประชุม นอกจากนี้ยังสังเกตเห็นความสัมพันธ์ของสมาชิกที่พูดคุยกันอย่างพี่น้อง สนุกสนานเป็นกันเอง ในขณะที่กลุ่มเยาวชนยังมีการแสดงออกด้วยการขอโอกาสให้พวกเขาได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของชุมชนบ้าง อย่างคิดว่าพวกเขามีหน้าที่เรียนอย่างเดียวในขณะนี้การเรียนเปลี่ยนไปแล้วต้องเรียนควบคู่การทำประโยชน์ให้สังคม เป็นการสะท้อนให้ผู้ใหญ่ได้ทราบว่าเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่สามารถทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มอื่นๆได้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

สมาชิกโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการ อสม.เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ผู้นำชุมชน สมาชิกชุมชน รวม 78 คน

9,300.00 9,300.00 100 78 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากการจัดประชุมสมาชิกโครงการเพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานของโครงการตลอดระยะเวลาที่รับสัญญากับ สสส. มีผู้เข้าร่วม จำนวน 78 คน ได้มีการแสดงความคิดเห็นต่อโครงการ ของสมาชิก มอบของที่ระลึกกับผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมสรุปผลงาน พูดคุยปรึกษาต่อยอดเพื่อดำเนินการ
  • ให้คำแนะนำเรื่องการจะต่อยอดโครงการในปีต่อไปที่ต้องวิเคราะห์กันให้ชัดเจนว่าจะดำเนินการในส่วนไหนกลุ่มไหนให้ครอบคลุมทุกกลุ่มวัยและไม่ซ้ำซ้อนกับงบประมาณของส่วนอื่นๆที่จะเข้ามาดำเนินการในพื้นที่ เช่น งบ อสม./การปรับพฤติกรรมเรื่องการสูบบุหรี่(บุหรี่มือสอง)การรวมกลุ่มกันในการดำเนินกิจกรรมทั้งในด้านการเกษตร ด้านท่องเที่ยวชุมชนที่กำลังจะให้เกิดในพื้นที่ หากมีกลุ่มที่เข้มแข็งจะทำให้การพัฒนาเกิดความยั่งยืน การเข้ามาช่วยเหลือของภาคส่วนอื่นๆทำได้ง่าย หากเราแตกแยกต่างคนต่างทำความยั่งยืนจะไม่เกิด

พี่เลี้ยงโครงการและผู้ช่วย

0.00 0.00 2 5 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พี่เลี้ยงโครงการและผู้ช่วยเข้าร่วมรับฟังการสรุปผลการดำเนินงานของโครงการตลอดทั้ง 2 งวดของการดำเนินงาน โดยที่ในงวดที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นและปิดโครงการไปแล้ว ส่วนในงวดนี้จะสรุปปิดโครงการในวันนี้ ซึ่งมีสมาชิกเข้าร่วมเกือบครบตามเป้าหมายที่วางไว้ทั้งที่บรรยากาศไม่เอื้ออำนวย ฝนตกหนักมากตั้งแต่เช้า(05.00 น.) เส้นทาง(ถนน)ไม่เป็นใจเป็นหลุมบ่อขนาดใหญ่ แต่ยังมีสมาชิกเข้าร่วมประชุมถึง 78 คน ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย คณะกรรมการโครงการ ผู้นำชุมชน(ผู้ใหญ่บ้าน) สภาผู้นำ เด็กและเยาวชน ที่ประชุมมีการชี้แจงผลการดำเนินงานตลอด 1 ปี ที่ผ่านมา โดยให้สมาชิกได้แสดงความคิดเห็นพร้อมให้ข้อเสนอแนะ และมีสมาชิกส่วนใหญ่เสนอให้มีการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการต่อ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนที่มีจำนวนมากกว่า 30 คน ขอโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนบ้าง น้องเหมยกล่าวกับที่ประชุม นอกจากนี้ที่ประชุมยังมีการนำเสนอบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคด้วยการปลูกผักกินเองแจกจ่ายและขายในราคากันเอง ซึ่งมีครัวเรือนที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจำนวน 6 ครัวเรือน มีการมอบกระบวยรถน้ำให้เป็นกำลังใจ

กิจกรรมหลัก : การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามi

10,000.00 2 ผลผลิต

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานโครงการ มีการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส. สจรส.ม.อ.และพี่เลี้ยงในงวดที่ 3 จำนวน 4 ครั้ง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

กิจกรรมทบทวนประเมินผลงานในงวดที่ 3 การจัดทำรายงานปิดงวดที่ 2 การจัดทำหลักฐานทางการเงิน การเข้าร่วมงานคนใต้สร้างสุข และการจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 11 ครั้ง

ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้บันทึกข้อมูล

2,800.00 2,800.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เข้าใจแนวทางในการลงโปรแกรม และสามารถบันทึกรายงาน

ผู้รับผิดชอบโครงการและเจ้าหน้าที่การเงิน

100.00 100.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการเดินทางไปธนาคารถอนเงินตามจำนวนเงินเปิดสมุดไว้ เป็นเงิน 100 บาท ออกจากสมุดบัญชีเงินฝาก ทำให้ยอดเงินที่มีตรงกับการสนับสนุนของสสส.ในงวดที่ 1

คณะกรรมการโครงการ

1,500.00 1,440.00 2 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะกรรมการโครงการนำเอกสารโครงการ เอกสารการเงิน และเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องเข้าพบพี่เลี้ยง สจรส.มอ.และพี่เลี้ยงจังหวัดที่โรงแรมร้อยเกาะเพื่อร่วมตรวจสอบความถูกต้องและร่วมเรียนรู้เรื่องการลงรายงานที่ถูกต้อง และเรื่องการยื่นและหักภาษี ณ ที่จ่ายของโครงการในการดำเนินการกิจกรรมต่างๆในโครงการ โดยที่กรณีจ่ายเงินของโครงให้ผู้รับจ้างหรือผู้ประกอบการเกิน 1,000 บาท ให้ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นต้น

ผู้รับผิดชอบและเจ้าหน้าที่การเงินโครงการ

800.00 1,120.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สามารถลงรายงานกิจกรรมต่างๆที่ดำเนินการไปแล้วพร้อมรูปภาพประกอบเป็นปัจจุบัน ในส่วนของเอกสารทางการเงินพี่เลี้ยงตรวจสอบแล้วยังไม่เรียบร้อยต้องกลับไปดำเนินการให้ถูกต้อง

ผู้รับผิดชอบโครงการ และฝ่ายการเงิน

800.00 1,120.00 5 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการตรวจสอบของพี่เลี้ยงจังหวัดและพี่เลี้ยง สจรส.มอ พบว่าการเลือกกิจกรรมหลักยังไม่ถูกต้อง รายงานการเงินมีต้องแก้ไขปรับปรุง ซึ่งพี่เลี้ยงจังหวัดและคณะกรรมการโครงการได้แก้ไขจนถูกต้อง จนสามารถสรุปปิดโครงการงวดที่ 1 และส่งรายงานการเงิน ง1 ส1 ประจำงวดที่ 1 ได้

พี่เลี้ยงโครงการและผู้ช่วย

0.00 0.00 4 4 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พี่เลี้ยงโครงการและผู้ช่วยลงพื้นที่ติดตามโครงการ พบสมาชิกชุมชน จำนวน 50 คน กำลังกำลังร่วมกันจัดทำถนนคอนกรีตจากถนนเดิมที่เป็นถนนลูกรังผสมดินเหนียว และช่วงที่ทำเป็นทางลาดและลื่นหากมีฝนตกลงมา และมักเกิดรถลื่นไถลล้มเกิดอันตรายแก่เยาวชนที่ต้องไปโรงเรียน งบประมาณที่ใช้มาจากการร่วมลงขันและลงแรงของสมาชิกชุมชน โดยไม่ต้องรอพึ่งงบประมาณของหน่วยงานใดๆ ได้ถนนยาว 50 เมตร ซึ่งสามารถบรรเทาอันตรายจากการสัญจรได้ระดับหนึ่ง

พี่เลี้ยงโครงการและผู้ช่วย

0.00 0.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พี่เลี้ยงโครงการและผู้ช่วย จำนวน 3 คน ได้รับเชิญให้ลงพื้นที่ร่วมพัฒนา ปลูกป่า และปรับภูมิทัศน์สองข้างทางเข้าน้ำตกคลองหรั่ง เพื่อให้สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน สมาชิกจำนวน 55 คน ได้ร่วมกันตัดตกแต่งต้นไม้กิ่งไม้ และเก็บกวาดขยะและเศษบวดเศษแก้วที่คนไปเที่ยวทิ้งไว้ จนสะอาดเหมาะที่ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวเข้าไปพักผ่อน

ผู้รับผิดชอบโครงการ และการเงิน

0.00 872.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ลงบันทึกกิจกรรมให้เป็นปัจจุบัน และเพิ่มเติมหลักฐานบ้างกิจกรรมที่ยังไม่เรียบร้อย

ผู้รับผิดชอบโครงการ การเงิน พี่เลี้ยงและผู้ช่วย

0.00 0.00 3 4 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการและการเงินโครงการ นำเอกสารหลักฐานทางการเงินที่จัดกิจกรรมไปแล้วให้พี่เลี้ยงช่วยตรวจสอบความถูกต้อง ซึ่งพบว่าการลงรายงานยังไม่เป็นปัจจุบัน ให้ลงให้เรียบร้อยเป็นปัจจุบัน หลักฐานทางการเงิน บางกิจกรรมขาดรายชื่อผู้เข้าร่วม บางกิจกรรมชุมชนทำกันโดยไม่ใช้เงินของโครงการแต่อย่างใด แต่ใช้การลงแรงและบริจาคค่าอาหารว่างและอาหารกลางวัน ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของชุมชนในการพัฒนาโดยเฉพาะสามารถระดมทุนในการแก้ไขปัญหาอันตรายที่เกิดจากการสัญจรบนถนนที่เสี่ยงภัย 

ผู้รับผิดชอบ/การเงิน

800.00 872.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • รายงานฉบับสมบูรณ์ยังไม่เรียบร้อย ต้องแก้ไขเอกสารการเงินบางรายการ และเพิ่มเติมข้อมูลรายงานกิจกรรม ทำให้ไม่สามรถส่งรายงานได้

ผูรับผิดชอบโครงการ /การเงิน

3,200.00 3,000.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้เรียนรู้เรื่ององค์ความรู้มาพัฒนาในชุมชน นำความรู้ที่ได้เห็น มาบอกเล่าให้ชุมชน เป็นตัวจุดประกายที่อยากจะทำต่อ คือฝายมีชีวิต

กิจกรรมหลัก : ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงานi

3,000.00 2 ผลผลิต

มีรายงานฉบับสมบูรณ์และรูปภาพประกอบ ส่ง สสส.ได้ทันในเวลา


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ได้รับความรู้เรื่องการเขียนรายงานผลโครงการ ที่สามารถนำไปปรับใช้กับโครงการอื่นได้

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

ผู้รับผิดชอบจัดทำป้าย

1,000.00 1,000.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ป้ายบอกโครงการซุปเปอร์มาร์เก็ตและป้ายสัยลักษณ์เขตปลอดบหรี่ที่ชัดเจน

ผู้รับผิดชอบและการเงินโครงการ

1,000.00 542.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • พี่เลี้ยงได้ตรวจสอบความเรียบร้อยของรายงาน พบว่า รายงานการเงินถูกต้องสอดคล้องกับเอกสารการเงิน และข้อมูลการรายงานผลเรียบร้อย สามารถส่งรายงานให้ทาง สจรส.เพื่อรายงานความก้าวหน้างวดที่ 1 ได้ทันในเวลา

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะกรรมการ

1,000.00 1,000.00 2 5 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะกรรมการโครงการทั้ง 5 คน ร่วมกันตรวจสอบเอกสารการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรมซึ่งมีบางกิจกรรมที่ยังไม่เรียบร้อยได้ช่วยกันเพิ่มเติมให้สมบูรณ์ถูกต้องครบถ้วน ช่วยกันตรวจสอบหลักฐานการเงินซึ่งพบว่าบางกิจกรรมคณะกรรมการ(การเงิน)ลงลายมือชื่อไม่ครบถ้วนได้ให้ดำเนินการลงลายมือชื่อครบถ้วนทุกกิจกรรม ร่วมกันตรวจสอบภาพถ่ายกิจกรรมจัดหาภาพถ่ายให้ครอบคลุมพร้อมจัดทำรายงานฉบับสมบรูณ์
2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
นางอุไรรัตน์ สังข์ดี บ้านเลขที่ 6/1 หมู่ที่14 ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพ

เป็นแกนนำด้านการบริโภคที่ปลอดภัย และการใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย(เศรษฐกิจพอเพียง)

นางอนงค์ เทียมทัน บ้านเลขที่ 16 หมู่ที่ 14 ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร

เป็นแกนนำด้านการบริโภคที่ปลอดภัย การออกกำลังกายสม่ำเสมอ และการใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย(เศรษฐกิจพอเพียง)

นางพัชรี เชียงพิมาย บ้านเลขที่ 10 หมู่ที่ 14 ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร

เป็นแกนนำด้านการบริโภคที่ปลอดภัยและการใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย(เศรษฐกิจพอเพียง)

นางบังอร ทองหัตถา บ้านเลขที่ 15 หมู่ที่ 14ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะจังหวัดชุมพร

เป็นแกนนำด้านสุขภาพ(หมอพื้นบ้าน) การบริโภคที่ปลอดภัย การออกกำลังกายและการใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย(เศรษฐกิจพอเพียง)

นางปรีดา รวดเร็ว บ้านเลขที่ 23 หมู่ที่ 14 ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร

เป็นแกนนำด้านการบริโภคที่ปลอดภัยและการใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย(เศรษฐกิจพอเพียง)

นางยุพา รวดเร็ว บ้านเลขที่ 23/2 หมู่ที่ 14 ตำบลพะโต๊ะอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร

เป็นแกนนำด้านการบริโภคที่ปลอดภัยและการใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย(เศรษฐกิจพอเพียง

นางจุรีย์ คงแก้ว บ้านเลขที่21 ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะจังหวัดชุมพร

เป็นแกนนำด้านการบริโภคที่ปลอดภัยและการใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย(เศรษฐกิจพอเพียง)

นางจิม เทียมทัน บ้านเลขที่ หมู่ที่ 14 ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะจังหวัดชุมพร

เป็นแกนนำด้านการออกกำลังกาย

นางสาวบานชื่น วันริโก เลขที่ หมู่ที่ 14ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะจังหวัดชุมพร

เป็นแกนนำด้านการออกกำลังกาย

นางกาญจนา วันริโก บ้านเลขที่ หมู่ที่14 ตำบลพะโต๊ะ อำเภอพะโต๊ะจังหวัดชุมพร

เป็นแกนนำด้านการออกกำลังกาย

2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ถนนทางเข้าหมู่บ้านเป็นระเบียบ มีความสะดวกสบายเป็นช่วงๆ

สมาชิกชุมชนมีการช่วยเหลือดูแลพื้นที่สาธารณะกันมากขึ้น ทำให้ถนนหนทางสะดวกสบายมากขึ้น

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม

ปัญหาที่พบส่วนใหญ่เป็นเรื่องสภาพดินฟ้าอากาศที่มีฝนตกชุกตลอดปี เส้นทางการเข้าออกหมู่บ้านไม่ค่อยสะดวก

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานจะเลือกวันที่มีแดด ซึ่งเมื่ออากาศดีจะเรียกสมาชิกเข้าร่วมทำกิจกรรม ในกรณีที่ต้องเชิญหน่วยงานนอกพื้นที่เข้าร่วมจะใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวคือมีหนังสือเชิญไปก่อนส่วนวันใช้การโทรแจ้งว่าอากาศโปร่งปลอดภัย

พี่เลี้ยงจะคอยชี้แนะเรื่องการปรับเปลี่ยนวันในการจัดกิจกรรมและการเชิญองค์กรนอกพื้นที่ให้ทำหนังสือไปก่อนส่วนวันที่สามารถทำได้จริงให้แจ้งทางโทรศัพท์ส่วนตัว แต่ในส่วของพี่เลี้ยงโทรตามได้ทุกวัน ถ้าว่างจะเข้าไปทุกครั้ง

3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

มีการดำเนินงานและคณะทำงานปฏิบัติตามกรอบโครงสร้างที่วางไว้ชัดเจน

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

คณะทำงานมีศักยภาพและมีทักษะในการดำเนินงานที่ค่อนข้างสมบูรณ์

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

ผลลัพาหมายที่วางไว้ธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงานเป็นไปตามเป้

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

มีการทำงานอย่างเป็นระบบ วางคนวางงานไว้ชัดเจนและสามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.2 การใช้จ่ายเงิน

เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

2.3 หลักฐานการเงิน

หลักฐานครบถ้วนถูกต้อง

ผลรวม 0 0 0 0
ผลรวมทั้งหมด 0 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

 

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

ดำเนินงานตามแผน สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตัวชี้วัดที่ตั้งไว้

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

ชุมชนสามารถดำเนินการกิจกรรมต่างๆของโครงการตามแผนงานที่วางไว้ ดังนี้

1.เกิดสภาผู้ชุมชนมีการประชุมร่วมกับคณะกรรมการโครงการและสมาชิกมีการติดตามผลการดำเนินงานทุกครั้ง รวมทั้งผลการดำเนินงานของหมู่บ้าน

2.สมาชิกในชุมชนมีความตระหนักในการใช้ทรัพยากรป่าไม้อย่างคุ้มค่าและลดการใช้สารเคมี ดังนี้

ปุ๋ยเคมีที่ใช้จะใส่ในสวนปาล์มและสวนยางส่วนสวนผลไม้และพืชผักใช้ปุ๋ยที่ทำเองจากขยะทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 60 ครัวเรือนปลูกไม้ยืนต้นแซมในพืชเชิงเดี่ยวร้อยละ 35 ครัวเรือนในชุมชนปลูกผักสวนครัวกินเองตามวิถี ร้อยละ 80 มีการปลูกผักสวนครัวกินเองและขาย

3.เกิดกลไกการดำเนินงานที่เข้มแข็ง สมาชิกส่วนใหญ่ ร้อยละ 90 ปฏิบัติตามกติกาที่พวกเขาได้จัดทำกันไว้ มีงบประมาณกระตุ้นเสรษฐกิจ(งบตำบลละ 5 ล้าน) ชุมชนได้รับจัดสรร 250,000 บาท โดยชุมชนนำไปทำถนนเชื่อมต่อในจุดเสี่ยงที่เหลือเพื่ออำนวยความสะดวกให้สมาชิก และจากการไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการพระราชดำริหนองใหญ่ ทำให้สมาชิกได้ทราบความเป็นมาของโครงการและได้เห็นพื้นที่เศรษฐกิจพอเพียงแบบครบวงจร รวมทั้งได้ทดลองการทำน้ำยาเอนกประสงค์ และสมาชิกได้นำกลับมาปฏิบัติ ไม่ว่าการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ การปลูกไม้ยืนต้นแซมในสวนยาง สวนปาล์ม การนำไร่ข้าว การปลูกพืชสวนครัว มีการนำไปขายเพิ่มรายได้ 2 มีการจัดตั้งกองทุนภัยพิบัติที่สมาชิกรวมตัวกันจัดตั้งขึ้น โดยมีการอาสาเป็นคณะกรรมการ มีทะเบียนสมาชิก มีระเบียบการใช้เงินที่ชัดเจน มีการประชุมพิจารณาทั้งคณะกรรมการและสมาชิกก่อนนำเงินไปใช้ การเก็บเงินเบื้องต้นลงขันกันครัวเรือนละ 100 บาท ส่วเดือนต่อไปเก็บทุกเดือนๆละ 20 บาทต่อครัวเรือน

4.เกิดการพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ คณะทำงานมีการเข้าร่วมประชุมที่จัดโดย สจรส.ม.อ.ทุกครั้ง (ร้อยละ 100)มีการจัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่และป้ายชื่อโครงการ รวม 2 ป้าย ใช้ติดในการจัดทำกิจกรรมโครงการทุกครั้ง เป็นการประชาสัมพันธ์โครงการ มีการถ่ายภาพกิจกรรมทุกกิจกรรม และสามารถจัดทำรายงานส่งสสส.ตามระยะเวลาที่กำหนด

สร้างรายงานโดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์